Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[สาระ] นิยายแปลให้อ่านฟรีไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
———————

แสดงความคิดเห็น

>

48 ความคิดเห็น

อัจฉราโสภิต 9 ธ.ค. 59 เวลา 12:14 น. 1
4. การนำงานมาใช้และเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาหรือให้เครดิตผู้สร้างสรรค์เพียงพอหรือไม่ที่จะไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ตอบ การนำงานมาใช้และเผยแพร่ ต้องอ้างอิงที่มาหรือให้เครดิตเสมอ จึงจะไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
และต้องเป็นกรณีที่ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมทั้งต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรด้วย

อ่านให้ดีๆนะครับ มันชัดเจนมากเลยนะ

ถ้าจะถามว่าขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ยังไง หรือปฏิเสธว่ามันไม่ขัด ก็ไม่รู้จะพูดยังไงแล้วครับ หลายคนพูดไปหลายกระทู้แล้ว ถ้าไม่รับรู้ก็ไม่รู้จะทำไงให้รับรู้แล้ว
0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

แฟนพันธ์อ่าน 9 ธ.ค. 59 เวลา 12:17 น. 4

นั้นสิ อย่างข้อ6 ก้ไม่ได่เอาแปลหวังผล กำไร อยู่แล้วนิ ส่วนนิยายที่ปล่อยซื้อตอน(บริจาค) ก้ให้ทางwm แบน หรือตักเตือนไปก้ได้ ไม่น่าจะเหมารวมเลย ปกติสมัยนี้พวกเราก้ โหลดเพลง แชร์ เพลง กันเป็นปกติ แต่ก็ไม่ได้เอาไปหากำไรอะไร ไม่น่าจะมีปัญหาไรนะ

0
อัจฉราโสภิต 9 ธ.ค. 59 เวลา 12:31 น. 5
สำหรับข้อ 6. ขอยกที่ตอบไว้ในอีกกระทู้มาตอบครับ

ข้อ 6. นี่แหละ ที่ผมคิดว่าไม่เคลียร์ที่สุด

แต่การไม่เคลียร์ที่สุดนั้นมันก็ยังมีความเคลียร์ครับ

- กรณีที่ไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ ต้องเป็นการใช้ในปริมาณพอสมควร เช่น นำมาใช้ในการวิจัยหรือศึกษางานซึ่งไม่ใช่เพื่อหากำไร

การแปลนิยายลงเว็บ ไม่ได้เป็นการใช้เพื่อการวิจัยหรือศึกษางาน (ถ้าจะบอกว่าเอามาแปลเพื่อวิจัยหรือเพื่อการศึกษา ต้องพิสูจน์ครับ งานวิจัยต้องมีกรอบมีจุดประสงค์ในการวิจัย การศึกษาก็เช่นกัน แปลเพื่ออะไร เผยแพร่ให้คนหมู่มากเพื่ออะไร)

- ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท

ผู้ใช้เว็บจำนวนมหาศาลไม่ถือว่าเป็นครอบครัวหรือญาติสนิทครับ

- ใช้ในการติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

ข้อนี้ไม่เคลียร์ที่สุด แต่ก็อย่างว่าครับ ความ "ไม่เคลียร์ที่สุด" ผมหมายถึงในเชิงเปรียบเทียบ (Comparative) เพราะข้ออื่นมันเคลียร์มากว่าห้าม มีข้อนี้ที่มีช่องโหว่ แต่มันก็ยังถือว่าเคลียร์ในตัวเอง

ข้อนี้เคลียร์ยังไง

หนึ่ง ติชม วิจารณ์นี่ตัดทิ้งไปได้ เพราะไม่ได้มีบทวิจารณ์ และไม่ได้แปลมาเพื่อวิจารณ์

สอง แนะนำผลงาน ย่อมมีจุดประสงค์เพื่อให้เจ้าของผลงานนั้นได้ประโยชน์มากขึ้น มีลักษณะการเขียนและการเผยแพร่ที่นำไปสู่จุดประสงค์นั้น แต่การแปลนิยายลงเป็นเรื่องๆไม่เข้าข่ายครับ เพราะสามารถพิสูจน์ได้ว่าขัดผลประโยชน์ ทำลายผลประโยชน์อันพึงได้ของเจ้าของลิขสิทธิ์ และสามารถโต้แย้งได้ว่าถ้าจะแปลเพื่อแนะนำผลงาน ไม่จำเป็นจะต้องแปลทั้งหมดเลย

ข้อนี้ผมคิดว่าหมายถึงพวกนิตยสารหรือบทความวิจารณ์หนังหรือการ์ตูน ที่อาจเอาข้อความ ภาพ หรือบางส่วนของหนังมาเพื่อวิจารณ์ ติชม หรือแนะนำ หรือในสถานศึกษาที่เอาบางส่วนของหนัง ของการ์ตูน ของนิยายมาเพื่อช่วยในการสอนครับ (เช่นตัวอย่างว่าฉากนี้ๆ ควรถ่ายยังไง เป็นต้น) ไม่ใช่การแปลนิยายลงทั้งเรื่อง

และแม้จะพิสูจน์ได้ว่าทำไปเพื่อแนะนำจริง ดังนั้นข้อ 6. ตกไป แต่คำตอบข้อ 4. ก็ยังมีผลครับ (ถ้าเป็นข้อกฎหมาย ต่อให้หลุดในวรรคหนึ่ง แต่ผิดของอีกวรรค ก็ถือว่าผิด ไม่ได้แปลว่าหลุดข้อหนึ่งแล้วจะหลุดหมด) ในเมื่อการทำซ้ำดัดแปลงนั้นขัดผลประโยชน์ของเจ้าของผลงาน (อย่างมากด้วย) คุณก็ไม่สามารถทำได้ครับ
0
ซ่อนนาม 9 ธ.ค. 59 เวลา 12:37 น. 6

อ่านรายละเอียดให้ดี ๆ นะ อย่าตีความเข้าข้างตนเอง

ถึงอย่างนั้นจะให้ชัวร์สุด ก็ต้องดูว่าสากลมีแนวทางปฏิบัติยังไง แล้วยึดตามนั้น

0
คุณหน้าผีใจดี 9 ธ.ค. 59 เวลา 12:37 น. 7

อ่านดีๆให้ละเอียดสิครับข้อสี่ คุณเห็นคำว่า และ ไหม เข้าใจความหมายของมันไหม

ผมนี่งงเลย นึกว่ารองอธิปดีสนับสนุนคนให้ไทยผิดลิขสิทธิ์ซะเอง55555

0
Mckinley 9 ธ.ค. 59 เวลา 12:58 น. 9
รับโดเนท เงินเข้ากระเป๋านักแปลเมื่อใดคือละเมิดลิขสิทธิ์
เพราะคือการแสวงหาผลประโยชน์เข้านักแปลที่ไม่ใช่เจ้าของผลงาน
ผลประโยชน์ไม่ได้ตกโดยตรงแก่เจ้าของผลงานก่อนนำมาแปล



2
ซ่อนนาม 9 ธ.ค. 59 เวลา 13:02 น. 9-1

ผิดแล้ว ที่จริงถึงไม่รับก็ละเมิดลิขสิทธิ์

เพียงแต่ปรกติ ถ้าไม่กระทบต่อผลประโยชน์ที่ควรจะได้หรือแสวงหาผลประโยชน์จากเขา ตัวเขาก็ไม่ฟ้อง
ดังนั้นการกระทำในระดับดังกล่าว ในทางปฏิบัติจึงอนุโลมให้สามารถทำได้
แต่หากจะฟ้องจริง ๆ ก็ทำได้อยู่ดี (ทว่าก็ไม่ค่อยมีใครทำกัน)

0
Mckinley 12 ธ.ค. 59 เวลา 07:45 น. 9-2

ในส่วนที่ไม่ได้โดเนท ลุงไม่ได้ระบุไว้ บอกแต่เพียงโดเนทผิดเต็มๆ
แต่ละไว้ว่าถ้าไม่ได้ขออนุญาตมาก่อนแม้ไม่ได้โดเนทก็มีค่าเท่ากับก๊อปมานั่นเอง
(ก๊อปมาแล้วแปล)

0
totooque 9 ธ.ค. 59 เวลา 13:12 น. 10

ผิดคะ  มีฎีกาพิพากษาให้ผิดนะคะ  ไม่มีประเทศไหนในโลกที่เอานิยายแปลมาเผยแพร่โดยไม่ขออนุญาตเจ้าของแล้วไม่ผิด

0
.: ธิญโณ :. 9 ธ.ค. 59 เวลา 13:42 น. 11

อ่านซ้ำอีกรอบแล้วทำความเข้าใจครับ
ผิดตั้งแต่เอางานมาแปลและเผยแพร่สู่สาธารณะแล้วไม่ว่าจะรับโดเนทรึไม่
จะไม่ผิดก็ต่อเมื่อเจ้าของผลงาน(ลิขสิทธิ์)
ให้สิทธิในการแปล

ถ้าจะกล่าวว่า แปลเพื่อการศึกษา
จากบทความที่ยกมาก็ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าไม่ได้ครอบคลุมถึงการเผยแพร่สู่สาธารณะ

ปล.การลงเว็บไซต์ที่เปิดให้เข้าชม = สาธารณะ

0
MuI2asaki [紫] 9 ธ.ค. 59 เวลา 13:48 น. 12

ภาพที่แปะ ให้สาระ ค่ะ
แต่ ไร้สาระ เพราะการตีความของ จขกท. ค่ะ

เอางานเขียนที่ นักเขียน มีไว้หากิน เลี้ยงชีพตัวเอง 
มาแปลให้อ่านฟรี ยังถือว่าไม่กระทบต่อตัวนักเขียนอีกเหรอคะ
แทนที่งานของเขา อาจจะขายได้ในต่างประเทศ กลับมีมือดีเอามาแปลก่อน
สนพ.ในประเทศนั้น จะซื้อลิขสิทธิ์ ก็ต้องชั่งใจแล้วว่าเอามาดีไหม? (กระทบ 50:50)
และถ้าสุดท้าย สนพ.ไม่ซื้อ เพราะมีคนลักลอบนำมาแปล นำมาเผยแพร่แล้ว (กระทบ 100%)

ไม่ใช่มาอ้างว่า นักอ่าน...รักงานแปล
แต่ไม่สนใจผลกระทบที่ตามมาภายหลัง 
แบบนี้เขาเรียกว่า นักอ่าน...เห็นแก่ตัวค่ะ

0
ราชินีโพแดง[ไหหมิง] 9 ธ.ค. 59 เวลา 14:08 น. 14

ก็ยังจะพยายามกลับผิดให้เป็นถูกจนได้นะคะ ถือว่ามีความพยายามดีค่ะ เสียแต่ว่าเป็นความพยายามที่ไม่ถูกที่ถูกทางเท่าไหร่

0
beeforandafter 9 ธ.ค. 59 เวลา 14:25 น. 16

ผมว่าตอนนี้ประเด็นมันน่าจะเป็น ถูกต้องVsถูกใจแล้วละครับ ถึงจะหาข้อมูลหรืออะไรมาอ้างอิงก็คงจะเห็นเป็นเรื่องไร้สาระหาเหตุผลไม่ได้สำหรับทั้งสองฝ่ายที่มีจุดยืนแตกต่างกัน แต่จุดหมายเดียวกันคืออยากให้คนคล้อยตามและเข้าใจ

ผมว่ามันถึงเวลาแล้วครับ ใครเข้าใจแบบไหนหรือชอบแบบไหนก็คงจะไปเปลี่ยนความคิดกันไม่ได้ก็คงต้องให้เลือกทางเดินของตัวเองครับ 

พื้นที่แต่ละที่มันมีที่สมควรอยู่ของมันเองครับผมว่าแล้วแต่เราจะเลือกไปจุดไหน ทุกอย่างมันเป็นสองด้านเสมอ

ผมว่าตามใจใครตามใจมันเถอะนะครับ

0
คุณพีทคุง พิธันดร 9 ธ.ค. 59 เวลา 16:38 น. 18

ตามเพื่อนๆ ข้างบนครับ คุณ จขกท เข้าใจข้อ 4 ผิดพลาดไปครับ เพราะยังต้องมีเงื่อนไขตั้งแต่บรรทัดที่ 2 ถึง 4 ประกอบด้วย ใช้แค่บรรทัดที่ 1 กับบรรทัดที่ 2 ครึ่งแรกเท่านั้น ยังไม่พอครับ



0
คุณพีทคุง พิธันดร 9 ธ.ค. 59 เวลา 16:43 น. 19

สำหรับเพื่อนข้างบน เรื่อง ข้อ 6 ก็ชัดตามที่คุณอัจฉราโสภิตอธิบายไว้ครับ ผมก็เขียนอธิบายไว้ในสองสามกระทู้แล้วเหมือนกัน การเผยแพร่ ไม่เข้าข่ายข้อ 6 (มาตรา 32) ครับ

0
Waranvit 9 ธ.ค. 59 เวลา 17:12 น. 20

ถ้ามีคนจีนเอานิยายไทยไปแปลลงบนเว็บให้อ่านฟรีโดยไม่รับบริจาค  นักเขียนไทยเดือดร้อนหรือไม่  โดยถ้านิยายเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ในไทยยอดขายในไทยจะลดลงมั้ย  
การแปลนั้นละเมิดลิขสิทธิอันนี้เถียงไม่ได้หรอก  แต่ถ้ามองในแง่ผลประโยชน์นักเขียนไทย
จะสูญเสียรายได้หรือปล่าว  

สำหรับนิยายแปลที่เปิดรับบริจาคถือเป็นเรื่องที่แย่มากๆ  เอางานของคนอื่นมาหาเงินเข้ากระเป๋า
ในเมื่อเว็บเด็กดีไม่ต้องการให้ลงนิยายแปลที่ยังไม่ได้ขออนุญาตจากผู้เขียนก็ต้องยอมรับความจริงกันไป  

1
อัจฉราโสภิต 9 ธ.ค. 59 เวลา 17:16 น. 20-1

เสียครับ

การเสียรายได้ เสียผลประโยชน์ ไม่ได้มองแค่รายได้ในประเทศ แต่มองรายได้ทั้งหมดที่จะพึงได้ จึงหมายรวมถึงต่างประเทศด้วย

ถึงจะมีโอกาสน้อยที่สำนักพิมพ์จีนซื้อนิยายไทยไปแปล แต่ถ้ามีคนทำแบบนั้นจริง ก็เสียรายได้แน่นอน

0