Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทำไม???? คนถึงมองว่าราชภัฎไม่ดีเท่ามหาลัย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ในความคิดของคนแต่ละคน เราจะไปบังคับให้คนทุกคนคิดเหมือนเราก็ไม่ได้ ก็ความคิดใครความคิดมันเนาะ เข้าเรื่องเลยก็แล้วกัน ผมขอแนะนำตัวเองก่อนก็แล้วกัน ตอนนี้ผมเรียนอยู่ม.6 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่วิ่งหาสอบ วิ่งหาที่เรื่องนู้นนี่นั่น วิ่งหนหัวหมุนก็ยังไม่ได้ที่เรียน ในความคิดแรกๆคอนที่ยังไม่รู้อะไรยอมรับเลยว่าคิดว่าราชภัฎไม่ดีเท่ามหาลัย แค่ผมก็รู้เลยว่าผมคิด " ผิด " เพราะอะไรนั้นหรอครับ เพราะ ผมได้เข้าไปสอบคัดเลือกโครงการของราชภัฎแห่งหนึ่ง ซึ่งผมยอมรับเลยว่าที่นี้เป็นราชภัฎที่ดีมาก มีการคัดเลือกแบบต้องการคนที่มีความต้องการเข้าเรียนคณะนั้นจริงๆ คัดเลือกแล้วคัดเลือกอีก สอบเก็บคะเเนนไม่รู้กี่รอบ สอบทุกอย่างวัดทุกอย่างจริงๆ ผมแบบนี้อึ้งเลยแต่ผมไม่กล้าบอกว่าทำอะไรบ้างเพราะมันเปนวิธีการคัดเลือกของราชภัฎนั้นจริงๆก็เป็นเพราะผู้นำที่มีความเป็นผู้นำสูงคิดก้าวไกลคิดที่จะพัฒนาประเทศจริงๆ คือท่านจะรับนักศึกษาจำนวนไม่กี่คน คือทุกคนต้องมีคุณภาพจริงๆไม่ใช่รับนักศึกษาจำนวนมากๆแล้วไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง " เด็กทุกคนต้องไม่โดนทิ้งไว้ข้างหลัง " นี่คือคำพูดของรองศาสตราจารย์ท่านหนึ่ง
ซึ่งหลังจากการคัดเลือกผมบอกเลยเป็นราชภัฎหนึ่งที่มีการคัดเลือกมาตรฐานมาก เข้ายากมาก ก็อย่างที่บอกว่าคัดจริงๆ เค้าต้องการได้เด็กที่อย่างเรียนจากเบื้องลึกของจิตใจจริง บางครั้งมหาลัยบางที่ยังเข้าง่ายกว่าเลย มันก็เลยทำให้ตัวผมเองคิดว่า จะราชภัฎหรือมหาลัยเค้าก็ต้งมีมาตรฐานเหมือนกันมั้ย ทำไมคนอีกจำนวนไม่น้อยถึงมองว่าราชภัฎอย่างงั้นราชภัฎอย่างงี้ ผมไม่รู้แหละว่าคนอื่นจะมองราชภัฎที่อื่นว่าเป็นยังไง แต่ราชภัฎที่นี่ผมมองว่า " ดีจริงๆ " ไม่แพ้มหาลัยเลย
ผมก็แค่อย่างมาเล่าประสบการณ์ทางความคิดเฉยๆนะครับ เล่าตามความรู้สึก ขอบคุณที่อ่านครับ

แสดงความคิดเห็น

>

13 ความคิดเห็น

ชะชะชะชะชะชะชิ 7 ม.ค. 60 เวลา 08:42 น. 1

ราชภัฏมีหลายสาขานะครับ เกือบ 40 สาขาทั้งประเทศ มีน้อยสาขาที่คนส่วนใหญ่มองว่ามีคุณภาพ ซึ่งหนึ่งในนั้นคงจะเป็นที่ ๆ จขกท. ไปสอบ 

1
เอ็มมี่ 9 ก.ย. 64 เวลา 18:51 น. 1-1

ไม่ใช่เเล้ว ตอนนี้ ม.ราม มีสาขาเยอะกว่า เเละมี.การกีฬา ด้วยจ๊ะ

0
Shalnark T Diabolus 7 ม.ค. 60 เวลา 10:16 น. 2

ข้อ1 ราชภัฏก็เป็นมหาลัยครับ
ข้อ2 คุณคิดว่าราชภัฏมีกี่ที่ คิดว่ามีกี่ที่ที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้ม.ดังๆ และมีกี่ที่ที่ด้อยกว่า
ข้อ3 เรื่องของคณาจารย์ งานวิจัย อะไรเทือกนั้นไม่ต้องพูดถึง แต่ที่ต่างแน่นอนคือน.ศ. เพราะว่า...เด็กเก่งก็ทุ่มไปกันแต่ม.มีชื่อเสียง ที่เหลือมาถึงราชภัฏก็เลยมีแต่ระดับธรรมดาถึงอ่อน คุณอาจไม่รู้ว่ามันต่าง แต่เชื่อเถอะต่างจริงๆ ม.ที่ผมจบมาก็เป็น ม.ผมเป็ม.เปิดใหม่อายุไม่ถึง30ปี ในยุคแรกเริ่มพวกคณาจารย์ก็ดึงตัวมาจากฬ เพราะงั้นพวกคณาจารย์หรืองานวิจัยจึงแทบไม่ด้อยกว่า แต่พอมาดูที่น.ศ.มันก็แตกต่างอยู่ดี แตกต่างด้วยเหตุผลเดียวกับม.ราชภัฏนั่นละ คือ...ชื่อเสียงไม่เพียงพอที่จะดึงดูดคนเก่งจำนวนมากๆเข้ามา

1
Zeafy 10 ม.ค. 60 เวลา 22:28 น. 2-1

อ. เคยบอกเหมือนกันค่ะ เรื่องหัวเราอาจจะไม่อาจเทียบจุฬา เกษตร มธ. แต่คนที่สามารถจบราชภัฏไป มีไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จ นั่นเพราะเราต้องพยายามเป็นสองเท่าของมอเหล่านั้น อดทนเป็นสองเท่าทั้งจากการเรียนและสังคม เพื่อผลักดันตัวเองค่ะ สู้สู้

0
ต่มนั้น 7 ม.ค. 60 เวลา 11:55 น. 3

เด็กห้องบ๊วยรร.วัดลิงขบเทียบกับเตรียมอุดมศึกษา มันเทียบกันไม่ได้ครับ

เคยอ่านพันทิปนานละ สมัยก่อนราชภัฎเป็นวิทยาลัยครูเเต่คนที่สอบวิทยาลัยครูได้ส่วนใหญ่คือพวกเอ็นท์มหาลัยอื่นไม่ติดเลยไปลงวิทยาลัยครูกันหมด เหมือนเป็นที่รวมเด็กบ๊วย(คนเก่งอาจมีเเต่น้อย)ต่อมาคนจบวิทยาลัยครูไม่เป็นที่ต้องการของบริษัทไม่มีไครอยากรับเข้าทำงาน จึงต้องหนีมาสอบราชการ มาอยู่ในวงการศึกษา (การศึกษาไทยมันจึงล้มเหลวเเบบนี้เพราะได้เด็กท้ายห้องไปเป็นครูประเทศไทยขาดเเคลนครูเก่งจนเคยมีกระเเสจบคณะอื่นก็เป็นครูได้จนมีเด็กครุราชภัฎจำนวนไม่น้อยออกมาต่อต้านวิชาชีพครุ เพราะไม่งั้นเด็กราชภัฎจะไม่มีที่ยืนเลยเพราะความรู้เทียบคนจบเฉพาะสายมหาลัยดังๆไม่ได้เลย) กลับมาที่วิทยาลัยครู ตอนนั้นเพราะคนจบจากวิทยาลัยครูไม่มีไครรับเข้าทำงาน จึงมีการรวมตัวกันของเด็กวิทยาลัยครูให้ยกฐานะจากวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย เเละด้วยพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่9ได้พระราชทานนาม"ราชภัฏ"ขึ้นเป็นสถาบันราชภัฏ(ต่อมาเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ) เเต่นั้นเเหละครับนั้นมันเเค่ชื่อไม่ได้เกี่ยวกับคุณภาพเเต่อย่างได

เอาง่ายๆครับ มีปัจจัยอะไรของรนชภัฏที่เป็นบวกบ้างเมื่อเทียบกับมหาลัยชั้นนำ

Input
ม.ชั้นนำ เด็กที่สอบติดคือเด็กเก่งมีวินัยในการเรียนอย่างมาก บางคนเด็กโอลิมปิคหรือเเม้เเต่นักเรียนเเลกเปลี่ยน บางคนเเข่งขันเหรียญโล่เกียรติบัตรเต็มไปหมด
ม.ราชภัฏ เด็กที่สอบติดส่วนใหญ่เป็นเด็กท้ายห้องสมัยเรียนเกเรเกรดน้อยๆสอบได้คะเเนนน้อย

Process
อาจารย์ม.ชั้นนำ คุณวุฒิสูงๆตำแหน่งทางวิชาการสูงๆเกือบทั้งหมดจบมหาลัยระดับชั้นนำของโลก หลายท่านเป็นนักวิจัยเเห่งชาติ หลายท่านเป็นศิลปินเเห่งชาติ หลายท่านเป็นราชบัณฑิต

อาจารย์ราชภัฏ. คุณวุฒิไม่ได้สูงมาก มีคนจบม.ชั้นนำของโลกไปเป็นอ.ราชภัฏนับคนได้เลย


เเค่2ปัจจัยนี้ราชภัฏก็เทียบม.ดังไม่ไดละครับ
นี่ยังำม่นับสวัสดิการนักศึกษา ความพร้อมทางด้านเเหล่งคว่มรู้ห้องสมุด หรือเเม้เเต่เครือข่ายศิษย์เก่ารวมทั้งทุนการศึกษา

สิ่งที่ต้องทำคือไม่โลกสวยเเละยอมรับความจริง เป็นไปได้สอบติดม.ดังให้ได้ก่อนครับ ถ้าไม่ไหวจริงค่อยไปลงราชภัฏ

1
AAAA 12 ม.ค. 60 เวลา 18:35 น. 3-1

เราขอแย้งตรง "การศึกษาไทยมันจึงล้มเหลวเเบบนี้เพราะได้เด็กท้ายห้องไปเป็นครูประเทศไทยขาดเเคลนครูเก่ง" เราว่าคิดแบบนี้มันโทษที่ปลายเหตุค่ะ การศึกษาไทยล้มเหลวนี่ไม่ได้อยู่ที่ครูอย่างเดียวแต่อยู่ระบบ รากเหง้าของระบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอำนาจ ระบบการบริหาร แนวความคิดที่ปลูกฝังมาอย่างยาวนานอะไรเทือกนั้น รร.เราครูส่วนใหญ่จบ จุฬา ธรรมศาสตร์หรือโทจากตปท.มา บางคนนี่ยังสอนไม่ได้เรื่องเลย โตแต่ตัววุฒิภาวะไม่มี อีโก้สูง ในขณะที่ครูบางคนที่จบแค่ราชภัฎมาสอนได้ดีกว่า เข้าถึงนร.ได้มากกว่าเพราะคนเหล่านี้เขาคงเจียมตัวอะค่ะ ในส่วนที่เหลือเราก็เห็นด้วยเนื่องจากเราติดภาพลักษณ์ราชภัฎเข้าง่าย เด็กบ๊วยก็เข้าได้มันเลยทำให้เราคิดได้แค่ว่าราชภัฎคงไม่ดีเท่าม.ดังๆ ฉะนั้นก็ต้องยอมรับความจริงค่ะ

0
Minny 7 ม.ค. 60 เวลา 13:09 น. 4

ถามง่ายๆ ถ้าเลือกได้ สมมุติจะเข้าวิศวะอยากเข้า ม.ดัง สีชมพู เหลืองแดง หรือ ราชภัฏ เอาแค่นี้แหละ ลองตอบตัวเองดู

ม.ราชภัฏ คนที่เข้าไปเรียน ส่วนมากคือสอบ ม.ดัง ไม่ได้ แล้วทำไมคนถึงไม่อยากเข้าไปเรียน ก็เพราะจบมาแล้วหางานทำยากน่ะสิ ส่วนใหญ่เค้ารับ ม.ดัง ก่อนทั้งนั้น เพราะว่ากว่าคุณจะเข้า ม.ดัง มาได้ก็ต้องพยายามอ่านหนังสือแย่างหนัก ชนะคนมาเป็นพัน คุณภาพก็ต้องดีกว่าแน่นอน ไหนจะระหว่างเรียน ม.ดัง คุณภาพอาจารย์ดีกว่า เด็กทุกคนเรียนเก่ง ทำให้ทุกคนแอคทีฟ คุณภาพก็ดีไปตามๆกัน ไม่จ้องรอให้อาจารย์มาเข็นคุณแบบที่ อ.ราชภัฏท่านนั้นพูดหรอก โตถึงมหาลัยแล้ว ความรับผิดชอบมันต้องมี

จบ ม.ดัง ยังไงหางานง่ายกว่าแน่นอน ม.ดัง มีชื่อเสียง เค้าแข่งกันเข้าทั้งนั้น ต่อให้สอบเข้าไม่ได้ ไปเรียนวิทยาเขตก็ยังดีกว่าราชภัฏ มันเป็นแบบนี้จริงๆต้องยอมรับ

จขกท ควรสอบเข้า ม.ดัง ให้ได้ พยายามให้เต็มที่ก่อน ถ้าไม่ได้ค่อยไป ม.ราชภัฏ ยังไง ม.ดัง โอกาสดีๆในเกือบทุกด้านก็มากกว่าราชภัฏแน่นอน


1
Minny 7 ม.ค. 60 เวลา 13:11 น. 4-1

แก้ไข

ยกตัวอย่างวิศวะ อยากเข้า ชมพู พระจอม เกษตร หรือราชภัฏ ?
บัญชี อยากเข้า ฬ มธ หรือราชภัฏ ?

ถามแค่นี้แหละ

0
โลกอาจจะไม่สวย 7 ม.ค. 60 เวลา 17:36 น. 5

ในขณะที่ปากก็พร่ำบอกให้สังคมยอมรับ มรภ แต่พอมีโอกาสคุณก็พยายามที่จะหลีกหนีคำว่า ราชภัฏ ไปใช้ชื่ออื่น

ลองคิดดูสิ สองสิ่งทำไมมันดูย้อนแย้งในตัวเอง

1
AAAA 12 ม.ค. 60 เวลา 18:38 น. 5-1

ในฐานะผู้บริโภคเราก็ต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเองนี่คะ

0
แรมม 7 ม.ค. 60 เวลา 17:42 น. 6

เด็กนั่นแหละครับที่สร้างมหาวิทยาลัย ม.ดังที่ดูดีกว่า ม.ไม่ดัง ก็เพราะเด็กเก่งๆก็อยากจะเข้าแต่ ม.ดัง ที่นี้คนเรียนราชภัฏส่วนมากจะเป็นเด็กไม่เก่ง เลยทำให้มหาวิทยาลัยดูด้อย ม.ราชภัฏบางที่ยื่นใบสมัครก็แทบจะได้เข้าเรียนแล้ว ต่างจาก ม.ดังๆที่ต้องมาแข่งขันกัน สมมติถ้าเด็กเก่งๆมารุมเรียนราชภัฏ ราชภัฏก็จะกลายเป็น ม.ดังเองแหละ สังคมมีทั้งคนเก่งคนอ่อนครับ มหาวิทยาลัยก็เป็นการคัดคนอย่างนึง แต่มันก็ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต

0
Zeafy 8 ม.ค. 60 เวลา 00:41 น. 8

เห็นด้วยเลยค่ะ ล่าสุดเพิ่งโดนมา หน้าชามาก จริงๆในครอบครัวคุณแม่เป็นคนที่รับได้ ท่านบอกที่ไหนๆถ้าเราตั้งใจมันก็ดีค่ะ ส่วนคุณพ่อ เหมือนจะไม่เต็มใจนิดนึง 555 แต่คุณย่าท่านค่อนข้างโบราณ

วันก่อนมีคนมาหา ซึ่งหลานๆทางฝั่งนั้นมีเรียนพยาบาล แล้วเขาก็ถามเราว่าเรียนอะไร เราก็บอกไปว่า มอ... แล้วคุณย่าก็เสริมทันทีเลยค่ะ เนี่ย เรียน มอ... เนี่ย เรียนไม่เก่งค่ะ

หน้าชามาก คุยกับญาติเลยนะคะ แล้วย่ามาบอกด้วยว่าหลานตัวเองไม่เก่งงี้ อันที่จริงก็มีติดมอรัฐแต่เราอย่างเรียนที่นี่ เกรดปีแรกก็ยังออกไม่ครบ แค่เท่าที่ออกมาก็จัดว่าดี แต่ย่าบอกหลานไม่เก่งซะแล้วหรอ

8
Shalnark T Diabolus 8 ม.ค. 60 เวลา 00:57 น. 8-1

เอกชนสินะ ธรรมดา คนแก่ อะไรที่เป็นของรัฐของหลวงดีเลิศเพอร์เฟค

0
ความจริง 8 ม.ค. 60 เวลา 09:50 น. 8-2

เรียน.ไม่ดังเกนดสูงอย่าดีใจไปครับไม่ได้มีค่าอะไรมาก เรียนม.ดังๆเกรด2.5คือเก่งกว่า3.5ราชภัฏอีกครับนี่เจอมากับตัว ความยากในการให้เกนดการปีนมีนมันต่างกันมาก 3กว่าของราชภัฎคือกลวงมาก นี่พูดความจริง

0
Shalnark T Diabolus 8 ม.ค. 60 เวลา 10:22 น. 8-3

8-2 ความดังน่ะมันมีหลายด้านนะครับ มันอยู่ที่ว่าคุณมองด้านไหนด้วย ม.ที่ผมจบมาเป็นตัวอย่างนึง อายุม.ไม่ถึง30 ด้วยอายุที่น้อยช่วงเวลาสั่งสมชื่อเสียงก็น้อยทำให้ความดังมันไม่พอจะเรียกเด็กเก่งๆไปรวมกัน แต่ในด้านคณาจารย์ ในยุคแรกเริ่มนั้นมีการดึงตัวมาจากฬ ต่อมาเมื่อหาคณาจารย์เพิ่มเกณจึงค่อนข้างเข้มเพื่อไม่ให้ด้อยกว่ากัน ซึ่งสิ่งนั้นสะท้อนออกมาในรูปงานวิจัย และก็เป็นที่แน่ชัดว่าม.ผมติดtop10ในด้านวิจัยเทียบเคียงม.ที่เก่าแก่และโด่งดังกว่าอีก9ม. ที่คุณว่ามา ชื่อเสียงบ่งบอกประสิทธิภาพ มันก็ถูกครับ ถ้าคุณมองได้ถูกด้านน่ะนะ

0
ความจริง 8 ม.ค. 60 เวลา 11:21 น. 8-4

8-3 ผมมองถูกครับ ไม่ต้องเตือน

งานวิจัยนี่เเทบจะไม่ได้มีผลอะไรต่อเด็กป.ตรีเลย

ต่อให้ได้อาจารย์ระดับเก่งมากเเต่หัวเด็กไม่สมกับศักยภาพอาจารย์ก็เท่านั้นเเหละครับ เหมือนเอานักวิจัยแห่งชาติไปสอนเด็กหลังห้อง คงช่วยอะไรได้ไม่มาก อาจมีปาฏิหาริย์สักคนสองคนเเค่นั้น

0
Shalnark T Diabolus 8 ม.ค. 60 เวลา 14:18 น. 8-5

ไม่ครับ คุณมองปนมั่วไปหมด ผมยกตัวอย่างงานวิจัยเพราะมันเห็นชัด ก็ถูกที่ว่าเอาอาจารย์เก่งไปสอนเด็กอ่อนมันมีขีดจำกัดที่ตัวผู้เรียน แต่คอมเม้นของคุณพูดถึงเกรดกลวงๆของม.ไม่ดังไม่ใช่เหรอ ผมถึงยกตัวอย่างม.ผมที่คณาจารย์ การเรียนการสอน การออกเกรด หรือโดยรวมก็คือ...มาตรฐานไม่ด้อยไปกว่าม.ชื่อดังครับ เพื่อบอกว่ามันมีเคสแบบนี้อยู่

0
ความจริง 8 ม.ค. 60 เวลา 17:09 น. 8-6

อื้อหืมมมมมมมมมมมมคิดลึกคิดละเอียดเก็บทุกหยด ทุกเม็ดตีความอย่างเเคบเเทบทุกตัวอักษร ตัวผมเองตอนเมนท์ยังไม่คิดขนาดนั้นเลยด้วยความสัตย์จริง 555

นี่ถ้าคุณเรียนกฎหมายคงรุ่งมากเเน่ๆเก็บรายละเอียดตีความได้ทักเม็ดทุกหยดขนาดนี้ละเอียดยิบจนผมเเทบเอามือทาบอกเพราะอึ้งมาก

#ปรบมือล้านทีพร้อมโบกธงขาว
#เอาที่สบายใจ

0
ป้อม 9 ก.ย. 64 เวลา 18:48 น. 8-7

สอนคนให้เป็นคน สอนยากนะ ให้เกียรติเเละมารยาทควรที่จะเป็น #ทีมมรภ.

0
อิง 9 ก.ย. 64 เวลา 18:49 น. 8-8

บางทีเขาก็กำหนดไปเลยว่า มอ.ไหน รับเกรดเท่าไร #ประสบการณ์ก็สำคัญ นะ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

คิดถึงความหลัง 8 ม.ค. 60 เวลา 01:22 น. 10

ขอตอบในฐานะเด็กซิ่วจากม.ดังแล้วมาเรียนราชภัฏนะคะ
สิ่งที่เราได้รับจากสองที่บอกเลยว่าต่างมาก ถามว่าราชภัฏแย่กว่าม.ดังเหรอ บอกตรงนี้เลยนะคะ ว่าแย่กว่า(จากประสบการณ์ตรงที่เรียนราชภัฏที่หนึ่งมา ย้ำว่าที่หนึ่งนะคะ เราไม่รู้ว่าราชภัฏอื่นเป็นยังไง แต่ที่เราเจอเป็นแบบนี้ค่ะ)

1.เกณฑ์การให้เกรด จริงๆเราค่อนข้างชอบนะ เพราะเกรดได้ง่ายดี555 ตอนม.เก่าคะแนนเก็บสูงสุดไม่เคยเกิน30%ค่ะ บางวิชา(วิชาทั่วไปด้วยนะ) ไม่มีคะแนนเก็บนะคะ สอบล้วน แต่ที่มรภ.คะแนนสอบไม่เคยเกิน40% เคยเจอวิชาหนึ่งค่ะ อ.บอกจะเก็บคะแนนสอบ50% เด็กร้องกันทั้งห้องเลย
2.เรื่องเวลา อันนี้เราไม่รู้ว่าที่มรภ.อื่นเป็นมั้ย แต่ไม่เคยตรงเวลาเลยซักครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม งาน หรือเวลาเรียน ที่ม.เก่าเราค่อนข้างโดนฟิกเรื่องนี้มากค่ะ สายนิดเดียวก็คือสาย แต่ที่นี่ถ้ามีเรียน8โมง อ.มา9ครึ่งยังเคยเจอมาแล้วเลยค่ะ
3.ระบบ อันนี้ไม่เข้าใจว่าจะอวยกันไปถึงไหน ที่เราเรียนเขาชอบบอกว่าของเขาดีที่สุดค่ะ เคยชนะนั่นนี่ คือถ้าเราเป็นเด็กจบม.6ที่เพิ่งเคยเข้ามหาลัยคงจะเชื่อค่ะ แต่พอเคยเจอระบบที่ดีมาแล้ว มาเจอแบบนี้ก็รู้สึกแย่ค่ะ (พวกการสอนจริงๆเราชอบนะอ.เข้าถึงง่ายกว่าม.เก่ามาก เพราะม.เก่าอ.บางท่านเขาทำงานที่กระทรวงด้วย นัดเจอแต่ทีลำบากมาก)
4.อันนี้เราค่อนข้างมีปัญหาสำหรับเรามากเลย คือสังคม มันสืบมาจากข้อ3.ค่ะ พอเขาคิดว่าดีทีนี้ก็ชอบบังคับค่ะ เราโดนปี2-4มาชอบกด อันนี้ไม่เข้าใจนะแบบรู้ว่าตัวเองเป็นรุ่นพี่สั่งรุ่นน้องได้? บางคนชอบบอกว่าต้องอย่างนั้นสิ อย่างนี้สิ แบบบางคนมันไม่เหมือนกัน สาขาเรารุ่นพี่บางคนชอบนัดให้น้องมาตอนเย็นค่ะ เราเคยไปครั้งหนึ่งเพราะอยากจะรู้จักเพื่อนไรงี้ แต่ที่นัดไปเชื่อมั้ยค่ะ เค้านัดกันไปกินเหล้ากันค่ะ ซึ่ง...แบบนัดจริงจังนะ แต่แค่ไปกินเหล้าเนี่ยนะ บางคนชอบบอกว่าต้องแต่กายเรียบร้อยนะ แต่ตัวเองใส่สั้น ทำสีผมมาซะกลัวเขาจะรู้ว่าเป็นคนมีการศึกษา? พอรุ่นพี่เป็นแบบนี้กลายเป็นว่าเพื่อนในสาขาเราบางคนเริ่มทำตามรุ่นพี่แล้วค่ะ
5.เกรดไม่ตรงกับที่ควรจะเป็น อันนี้เราไม่ได้โดนค่ะ แต่รุ่นน้อง(ที่ตอนนี้มันเป็นรุ่นพี่ปี3เรา)โดนมาเล่าให้ฟัง ว่าอ.บางคนไม่เคยให้ทำงานเป็นชิ้นเป็นอัน แต่สุดท้ายเกรดกลับออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง บางคนไม่เข้าห้องกลับได้เอ รุ่นน้องเราเรียนตลอด ข้อสอบก็ทำได้แต่กลับได้C+มา พอท้วงก็วกเข้าข้อ2.ค่ะคือดำเนินเรื่องช้ามาก เห็นว่าเรื่องตั้งแต่ปี2 ตอนนี้อยู่ปี3แล้วยังไม่ได้เรื่อง เกรดก็ออกมาเป็นทรานสคิปแล้ว คงได้แต่ทำใจเท่านั้น

อันนี้คือที่เราเจอมานะ แต่เราไม่รู้ว่าจะเป็นเหมือนกันทุกที่มั้ย บางวิทยาเขตอาจไม่ใช่แบบของเราก็ได้ แต่ที่เราเจอบอกเลยว่าทำให้เรารู้สึกเสียใจมากที่ซิ่วออกมา ตอนแรกที่ซิ่วเราเคยคิดนะว่าถ้าเราขยันได้เรียนคณะที่อยากเรียนที่ไหนก็คงเหมือนกัน แต่พอเจอกับตัวบอกเลยว่าผิดหวังกับที่อยู่ตอนนี้มาก แต่คงต้องเรียนต่อเพราะอย่างที่บอกว่าที่นี่ให้เกรดง่ายและตอนนี้เราหวังแค่ใบปริญญาแล้วละ ความรู้ประสบการณ์ค่อยไปหาที่อื่นเอา ยังไงจขกท.ก็สู้ๆนะ ถ้าอยากเรียนที่นั่นก็ลองดู อันนี้แค่ของวิทยาเขตเรา ของจขกท.อาจไม่เป็นแบบเราก็ได้

2
เพ้อเจ้อ 20 ม.ค. 62 เวลา 01:21 น. 10-1

ตอแ_ลไม่เนียนไปเรียน มาใหม่นะ ซิ่วจาก ม.ดัง มาราชภัฎ เพ้อเจ้ออะไม่มีใครเค้าทำกันหรอกนะ

0
เข็ม 9 ก.ย. 64 เวลา 18:46 น. 10-2

เขียนให้ถูกก่อน มาว่า คนอื่น เห็นอวยเเต่มอตัวเอง ดีเลิศ ประเสริฐสุดในรูกี ราชภัฏ เขียนมี ฏ #ทำเป็นอวด หายเร่อยัง????

0
ความจริง 8 ม.ค. 60 เวลา 10:00 น. 11

ราชภัฏเกนดง่ายจะตายบางคนมา3.5อวดเกนดลงเฟชเเต่โทษทีเหอะกลวงมาก เคยรับเด็กอิ้งราชภัฏสอนพิเศษเกรดเเบบสวยมาก3.6 ปรากฎไม่เก่งตามเกรดเลย คือถ้าอักษรเอกอิ้งจุฬา3.6นี่โทอิกนี่ไม่ต่ำกว่า850-900เเน่นอนขนาดเด็กเตรียมอุดมเก่งเด็กนานาชาติหรือเเม้เเต่เด็กเเลก้ปลี่ยเก่ายังไม่ค่ิยจะได้เลย3.6เนี่ย เเต่ของราชภัฏนี่3.6ไวยากรณ์ยังไม่เเม่นเลยครับเสียชื่อมากเด็กเรียนด้วยบ่นว่าพี่เขาสอน error ใม่ได้ บางทีก็งงทำไมปล่อยเกรดมาได้ง่ายๆเเบบนั้น ไม่เเปลกเลยบางคนขนาดเกียรตินิยมราชภัฏไปสมัครงานคนไม่ค่อยอยากรับ เพราะเกรดมันกลวงมาก

1
มองหลายๆมุมนะ 8 ม.ค. 60 เวลา 14:07 น. 12

ทำไมชอบเอา มรภ. ไปเทียบกับ ม.รัฐดังๆแบบ จฬ. หรือ มธ. กันครับ. มันแพ้กันตั้งแต่เริ่มจนจบทุกเรื่องเลย. ถึงให้เอาม.รัฐ คะแนนกลางๆไปเทียบกับ จฬ. มธ. มันก็สู้ไม่ได้เหมือนกันแหละครับ คะแนนสอบเข้ามันฟ้องเหมือนกันแหละ. ผมว่าม.รัฐคะแนนกลางๆถึงต่ำ อาจจะมาตรฐานแพ้หรือพอๆกับ มรภ.ดังๆ หรือ. มทร. หรือ ม.เอกชนก็ได้นะ. และแต่ละมหาลัยก็ไม่ได้เก่งทุกคณะนะ. บางคณะ. มรภ. มทร. ดีกว่าด้วยเป็นที่ยอมรับจริง. เด็กแย่ๆมีทุกมหาลัยครับ. อย่าชื่นชมเกินจริงว่าม.รัฐบาลดีทุกแห่ง. หรือ. มรภ. มทร. เอกชนแย่ทุกแห่งเลย. ช้างเผือกเกิดทุกที่รรับ. จากประสบการณ์จริงตลอดชีวิตที่ร่วมงานมาแทบทุกมหาลัยแล้วครับ. เรียนคณะที่รักชอบให้รู้จริงค่อยมาวัดหาประสบการณ์อีกเยอะ. ดูกันช่วงกลางและปลายดีกว่านะครับ

4
ความจริง 8 ม.ค. 60 เวลา 17:13 น. 12-1

คุณภาพเด็ก ย้ำ คุณภาพเด็ก ราชภัฏสวนสุนันทา(อันดับ1ราชภัฎ)น่าจพอๆกับคนที่สอบม.รัฐพวกนี้ ม.พะเยา ม.อุบล ม.วลัยลักษณ์ ม.เเม่โจ้ ม.ทักษิณ ม.เทคโนสุรนารี เเละ ม.บูรพาบางคณะ ม.นเรศรบางคณะ ม.มหาสารคามบางคณะ สามพระจอมเกล้าฯบางคณะ

0
นัท 9 ก.ย. 64 เวลา 18:41 น. 12-4

ความจริง ตอนนี้ มหาวิทยาลัยเป็นธุริิจการศึกษาไปเรียบร้อยเเล้ว เนื่องจากผู้เรียนมีน้อยขึ้น เเทบทุกปี

0
ไม่ขอออกนาม 8 ม.ค. 60 เวลา 20:18 น. 13

เราว่ามันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของการศึกษาด้วยอ่ะค่ะ ที่มันนำพาความเหลื่อมล้ำให้กับมหาลัยต่างๆเหล่านี้ จะ #ทีมมอชื่อดัง หรือ #ทีมมรภ กันก็ตามแต่ ก็อยากให้มองเห็นปัญหาจริงๆของเรื่องนี้เหมือนกันที่ว่า ตัวองค์กรที่รับผิดชอบดูแลด้านการศึกษานั้นไม่ได้ใส่ใจมันเลย (และคงไม่สนใจ/ไม่รู้สึกว่ามันเป็นปัญหาต่อไปเช่นกัน เพราะว่าคนเหล่านั้นก็ต้องการซื้อสังคมให้บุตรหลานของตนทั้งนั้น เพื่อปูconnectionในอนาคตต่อไป)



ในสังคมตอนนี้น่ะ 'ผู้แข็งแกร่งที่่สุดเท่านั้น ที่อยู่รอด' จะอ้างคุณธรรมใดก็ช่าง ทฤษฏีนี้ก็ไม่เปลี่ยนแปลง

1
บีบี 9 ก.ย. 64 เวลา 18:43 น. 13-1

ใช่ไง เหมือนสอบอะไรเเล้วน้า สอบราชการเฉพาะญาติ อ่า #ชีวิตหนอ ชีวิตเเต๊ๆๆๆ

0