Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อยากเป็นนักเขียนที่ดีมีฝีมือ ควรตั้งหลักจากการเขียนพล็อต หรือฝึกสำนวนการใช้ภาษาในนิยายที่เขียนก่อนดี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ตอนนี้ประสบปัญหาครั้งใหญ่ สับสนว่าเราเริ่มต้นการเขียนนิยายผิดไปหรืออย่างไร สับสนถึงขนาดที่คิดว่าตัวเองไม่เหมาะกับการเป็นนักเขียนแล้ว
เรามีพล็อตนิยายอยู่และเขียนให้ปมมันซับซ้อนเท่าที่จะทำได้และเราก็สนุกกับมัน แต่ก็มาติดที่สำนวนเขียนไม่สามารถสื่อสารให้คนอ่านเข้าใจตามที่ตนเองเขียนออกมาได้
ถ้าเขียนนิยายแต่คนอ่านไม่เข้าใจก็ไม่สมควรเขียนต่อแล้วใช่มั้ย และถ้าอยากเขียนจริงๆก็จงเก็บเอาไว้อ่านเองซะจะดีกว่ารึเปล่า? เราคิดผิดไปรึเปล่าที่เราคิดว่าเราน่าจะเขียนนิยายได้
มีใครเคยตกอยู่ในสภาวะแบบนี้กันบ้างมั้ย?

ถ้ากระทู้นี้รกต้องขอโทษด้วย

แสดงความคิดเห็น

>

18 ความคิดเห็น

เรลัล 15 ม.ค. 60 เวลา 16:23 น. 1

ผมยกมือครับ ปัญหาเดียวกัน

แต่ก็ยังพยายามต่อไปนะไม่ได้ทิ้งหาย คิดว่าการที่เรารู้จุดด้อยของตัวเองเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ ไม่เคยดูถูกว่าการเขียนนิยายเป็นเรื่องง่าย เราอาจจะแค่ต้องค่อยๆเรียนรู้ไป

ส่วนคุณจะเริ่มจากส่วนไหนคงไม่สำคัญ เพราะเส้นชัยคือที่เดียวกันสมบูรณ์ทั้งพล็อตและสำนวน

ผมอาจยังธรรมดาอยู่แต่ทักผมได้นะผมยินดีช่วยเท่าที่ช่วยได้

0
grattheone1 15 ม.ค. 60 เวลา 16:28 น. 2

เป็นประจำ ฉากมาเต็มหัวแต่  แล้วจะเขียนเริ่มจากอะไรก่อนดี?    เอาเถอะมั่วๆไปเรื่อยเดี๋ยวก็ชินเอง

0
นาโอมิToey 15 ม.ค. 60 เวลา 16:30 น. 3

เราว่าควรจะเขียนต่อนะคะ แต่อาจจะต้องรีไรท์ ปรับปรุงสำนวนการใช้ภาษาให้ง่ายขึ้น น่าจะเป็นวิธีการที่แก้ปัญหาได้ตรงประเด็นมากกว่า ปกติเราก็มีปัญหาการใช้สำนวนเหมือนกันค่ะ คือบรรยายได้เข้าใจ แต่อ่านแล้วไม่ค่อยให้ความลื่นไหล บวกกับการใช้คำผิดค่ะ สู้ๆนะคะ เราก็มีจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไข้เหมือนกัน

0
=RAY= 15 ม.ค. 60 เวลา 17:02 น. 5

ส่วนตัวมองว่า ฝึกการเขียนก่อน น่าจะดีกว่า เพราะพล็อต จริงๆคือใครก็คิดได้ แต่ทักษะการเล่าเรื่อง การบรรยายต่างหาก ที่จะทำให้ทุกคนแตกต่าง ที่จะทำให้คนอ่านอินไปกับเนื้อหาที่เรานำเสนอ บางคนพล็อตเบสิค แต่การเล่าน่าสนใจก็สนุกได้

ขั้นแรกอาจจเริ่มต้นที่การเล่า เรียบเรียงให้คนอ่านเข้าใจก่อนก็ได้

แล้วค่อยพัฒนาไปในจุดอื่นๆ ค่อยปรับปรุงสำนวนภาษา ค่อยปรับปรุงเทคนิค จังหวะเรื่องไปเรื่อยๆ

ที่เคยลองกับตัวเอง คือปมซับซ้อน สำหรับตอนเพิ่งเริ่มต้นจะยากมาก ต้องใช้เวลาและประสบการณ์พอควรถึงจะสามารถเขียนออกมาได้ดี คิดว่าถ้าเริ่มต้นฝึกเขียนใหม่ๆ เก็บพล็อตปมซับซ้อนเอาไว้ก่อน แล้วมาเริ่มต้นพล็อตเบสิค ปมง่ายๆจะดีกว่า ถึงเวลาที่เรามีฝีมือพอ จะกลับเอาพล็อตปมซับซ้อนมาเขียนอีกที ก็ไม่เสียหาย

ส่วนคำถามว่า เขียนแล้วคนอ่านไม่เข้าใจ ไม่สมควรเขียนต่อหรือเปล่า นี่ก็ตอบยาก แล้วแต่คนเขียนมากกว่าว่า จะหยุดพัก เอาไปแก้ไขก่อนมั้ย หรือจะลองเขียนฝึกฝีมือไปเรื่อยๆก็ตามแต่ คำถามอื่นๆก็คงจะตอบเหมือนๆกัน ว่าแล้วแต่คุณว่าอยากจะเขียนเก็บไว้ก่อนหรือจะอัพลงให้คนอื่นลองอ่านก็ได้

0
คาระ 15 ม.ค. 60 เวลา 17:32 น. 6

โชคดีจังที่คิดพล็อตซับซ้อนได้

เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังให้ดี จะช่วยให้คนเข้าใจง่ายขึ้น

ขอให้ฝึกฝนต่อไปเรื่อย ๆ นะคะ

0
peiNing Zheng 15 ม.ค. 60 เวลา 18:17 น. 7

สมมุติว่าเด็กคนหนึ่ง ทั้งชีวิตอยู่เมืองไทย ได้เรียนภาษาอังกฤษเฉพาะในคาบที่ได้เรียน ไม่ได้ทบทวน ไม่เคยดูหนังภาษาอังกฤษเลย อยู่มาวันหนึ่ง เด็กคนนั้นพบกับหนังสือเล่มหนึ่ง เป็นนักเขียนไทยที่เขียนบทความภาษาอังกฤษลงนิตยสารที่เด็กคนนั้นประทับใจมาก จึงตั้งปณิธานให้ตัวเองว่า

'ฉันจะเขียนบทความภาษาอังกฤษ'

เด็กคนนั้นบอกว่า มีเค้าโครงทุกอย่างหมดแล้ว เหลือแต่ลงมือเขียนเท่านั้น แต่เมื่อลงมือเขียนจริง กลับพบว่าอุปสรรคร้ายแรงของการเขียนคือ ไม่สามารถสื่อสารให้คนอ่านเข้าใจได้ (อาจจะด้วยคำศัพท์ไม่พอ อาจจะด้วยโครงสร้างไวยกรณ์ไม่แน่น อาจจะด้วยไม่เคยเห็นชั้นเชิงของการใช้ภาษาของต้นฉบับมามากพอ) แล้วก็เลยมาถามว่าถ้าเขียนให้คนอ่านเข้าใจไม่ได้ ไม่สมควรเขียนแล้วใช่ไหม ควรเก็บไว้ให้ตัวเองดูอย่างเดียวใช่ไหม

ท่านสำคัญกับคำถามของเด็กคนนั้นว่าอย่างไร?

สื่อไม่ได้แปลว่าน่าจะอ่านหนังสือมาไม่เพียงพอ คำศัพท์ที่มียังใช้ไม่ได้มาก ชั้นเชิงในการถ่ายทอดเรื่องภาษายังน้อยไป นั่นคือ ขีดจำกัดทั้งหมดที่ต้องก้าวผ่านค่ะ

รักจะเป็นนักเขียนก็เขียนต่อไป เมื่อไรที่หยุดเมื่อนั้นคือการก้าวถอยหลัง ทำงานของตัวเองให้ดีที่สุด ดีเท่าที่ศักยภาพของเราในตอนนี้พึงจะทำได้ แต่ก็ต้องหัด "ให้อภัย" ตัวเองด้วยเหมือนกัน หากพล็อตอันบรรเจิดของเราไม่สามารถทำให้มันดีได้อย่างที่คิดเพราะข้อจำกัดของตัวเราเอง และมันไม่ได้ดีเลยในสายตาของใคร

หัด "ให้อภัย" งานเขียนของเราให้ได้นะคะ ที่มันยังอ่อนหัด มันอาจจะต้องเก็บเข้าตู้ มันอาจถูกคนอ่านประณาม มันอาจถูกตัวเราหยามเหยียด มันอาจจะเป็นหลักฐานอันด่างพร้อยของเส้นทางนี้

แต่เพราะมี "มัน" เป็นบันได เราถึงก้าวต่อไปในเส้นทางนักเขียนต่อได้ คาดหวังกับงานทุกชิ้นว่าคือสิ่งที่ดีที่สุดของความสามารถของเราในตอนนี้ แต่อย่าคาดหวังว่างานทุกชิ้นจะดีที่สุดในสายตาของใคร

ไปอ่านหนังสือ ไปสั่งสมคลังคำให้มากกว่านี้ค่ะ ถ้าทำมากพอแล้วค่อยมาโอดครวญก็ยังไม่สาย (มากพอของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่มีใครบอกได้ว่าขนาดไหน แต่ขนาดที่ว่าคุณรู้สึกว่าเขียนแล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องการสื่อสารอีกน่ะค่ะ)

0
Death With Love 15 ม.ค. 60 เวลา 19:02 น. 8

ถ้าคิดว่าสำนวนทักษะภาษายังไม่ดี ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ก็ฝึกบรือและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ครับ

ปัญหาของจขกท.ตอนนี้คือ ไม่พึงพอใจฝีมือเขียนของตัวเอง
ความคิดล้ำหน้าการสื่อสาร คล้ายเป็นเครื่องยนตร์ F1 ในรถเต่า จะพุ่งเต็มกำลังก็ไม่ได้ คว่ำแน่ๆ

อยู่ที่ตัดสินใจแล้วล่ะครับ
จะขัดเกลาฝีมือเขียนไปกับพล็อตในตอนนี้ หรือจะเปลี่ยนไปฝึกเล่าเรื่องด้วยพล็อตที่ง่ายกว่า
เลือกทางใดก็ไม่ผิด ไม่ควรกดดันตัวเอง แค่เรายังไม่พร้อม เตรียมตัวอีกหน่อยแล้วจะดีขึ้นครับ

0
มัณทนา 15 ม.ค. 60 เวลา 19:12 น. 9
สำหรับนักเขียนมือใหม่บางคน
ก่อนอื่นต้องใช้คำภาษาไทยง่ายๆอย่าง "คะ" "ค่ะ" "นะคะ" และ "ครับ" ให้ถูกต้องก่อนนะคะ
0
น้ำมิ้ม / ประดับยศ 15 ม.ค. 60 เวลา 20:28 น. 11
เราว่าควรพัฒนาไปพร้อมๆกันค่ะ เราว่าสำคัญไม่แพ้กัน ^^
แต่ที่สำคัญคือ ถ้ามีปัญหาเรื่องสำนวนหรือการใช้ภาษา
สิ่งแรกที่ควรทำเลยก็คือ ลองเล่าเรื่องราวที่เราคิดไว้ออกมาเป็นภาษาพูดง่ายๆก่อน
จากนั้นก็ลองปรับแก้ให้มาเป็นภาษาเขียน เพิ่มบริบท เพิ่มการบรรยาย 
เพราะบางครั้งการเขียนนิยายปมที่ซับซ้อนมากๆ บางทีเราซึ่งเป็นคนเขียนจะรู้และเข้าใจปมทั้งหมดอยู่คนเดียว
แต่บางครั้งคนอ่านอาจจะยังมองไม่ออกเพราะเขารู้เท่าที่เราเล่าให้เขาฟัง ดังนั้นการใช้สำนวนภาษาในการเล่าหรือบรรยายจึงมีส่วนสำคัญค่ะ
นักเขียนบางครั้งก็เหมือนนักเล่านิทานนะคะ ถ้าลองได้เล่าได้ส่งต่อจินตนาการของเราไปสู่คนอื่นๆได้ นั่นคือสิ่งที่น่าภาคภูมิใจค่ะ ดังนั้นอย่าท้อแท้ไปค่ะ
[bb-009]
0
valerie[วิฬารี] 15 ม.ค. 60 เวลา 20:41 น. 12
มันก็ควรไปด้วยกันทั้งสองอย่าง
แปลกใจที่ จขกท.รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องเลือกเพียงหนึ่งเดียวขนาดนั้น

อย่าเอาคำว่า "อยากเป็นนักเขียนที่มีฝีมือ" มากดดันตัวเองเลย
ค่อยๆพัฒนาผลงานแล้วเก็บเล็กผสมน้อยจนได้แนวทางของคุณดีกว่า
0
พลทวนไร้พันธะ 15 ม.ค. 60 เวลา 21:47 น. 13

ฝึกอะไรก่อนไม่สำคัญเท่าฝึกนานพอหรือเปล่า
เริ่มจากอะไรก็ได้ แต่พอเริ่มแล้วฝึกส่วนอื่นครบไหม และฝึกนานพอหรือไม่
ถ้าฝึกนานพอก็จะเก่งเองครับ

0
คุณพีทคุง พิธันดร 16 ม.ค. 60 เวลา 02:54 น. 14

ฝึกพร้อมกันได้ครับ การเขียนใช้องค์ประกอบและทักษะหลายอย่างพร้อมๆ กัน ต้องสอดประสานกัน มันถึงจะได้งานดีมีคุณภาพ ด้านไหนยังอ่อนก็ฝึกมากๆ ให้ทันด้านอื่นครับ

ส่วนตัวผมเองรู้สึกว่าคิดพล็อตให้สนุกนี่ยากนะ ถ้าถนัดตรงนี้และอยากเขียนถ่ายทอดด้วยตัวเองก็ฝึกไปเรื่อยๆ ครับ ฝีมือพัฒนาได้อยู่แล้ว

0
Louis Forest 16 ม.ค. 60 เวลา 06:13 น. 15

ถึง จขกท นิรนาม

ผมเองก็ฝึกเขียนอยู่ ยังไม่มีผลงาน สิ่งที่ผมพูดมันอาจจะไม่ถูกก็ได้ แต่ผมขอบอกเลยว่า

ผมเป็นอย่างจขกทเช่นกัน เล่าไม่เป็น เรื่องซับซ้อน ตัวละครเยอะ ข้อมูลมาก ฯลฯ

ในความคิดเรา จขกทครับ วาดไว้สวยว่ามันจะดี แต่ทำออกมาไม่ได้ดั่งใจด้วยกันทั้งนั้น ก็อย่าไปสนใจครับ ถึงมันไม่ได้เรื่องก็เขียนไป

ทำเท่าที่ทำได้ครับ อย่าหยุด

เราต้องเขียนทุกวันครับ เดี๋ยวประสบการณ์จะนำทางเราเองครับผม 

ต่อไปเป็นการเหน็บ 

บางคนเขียนเก่งแล้ว สำนวนดี โน่นนั่นดีได้ เขายังดอง เขายังไม่เขียนเลยครับ เขากลัวอะไรผมก็ไม่รู้ ผมบอกไม่ได้

นักเขียน คือ คนที่เขียน เก่งไม่เก่งนั่นอีกเรื่อง

นักเขียนที่ดอง ผมมองเขาเป็นนักดอง เก่งกาจมาจากไหน ภูมิใจไหก็เท่านั้น

Louis Forest

2
White Frangipani 16 ม.ค. 60 เวลา 07:16 น. 15-1

คุณเมากาแฟมาแน่ๆสินะคะนี่... อรุณสวัสดิ์ค่ะ

"ต่อไปเป็นการเหน็บ"...เหน็บแนมชาวบ้าน เป็นบาปนะคะคุณป่า :(

คุณต้องให้กำลังใจเจ้าของกระทู้สิคะ เขาได้มีกำลังใจฝึกหัดเขียนเยอะๆ เขาได้เก่งขึ้นค่ะ

เศร้าจัง

0
Louis Forest 16 ม.ค. 60 เวลา 07:42 น. 15-2

โทษกาแฟไม่ได้หรอกครับ ต้องโทษสตาร์บัคส์! //เผ่น

0
FLADHEAD 16 ม.ค. 60 เวลา 19:25 น. 16

สำนวนครับ นี่พูดเลย
เนื้อหาถึงมันจะไม่เอาอ่าวขนาดไหน แต่ถ้าบรรยายให้อ่านได้ลื่นไหลนักอ่าน(อย่างผม)ก็ไม่มีทางหยุดอ่านหรอก บรรยายให้ลื่น เห็นภาพ ไม่มากไม่น้อยไป เพราะถ้ามากเกินไปตอนอ่านก็เหนื่อยเกิน เรื่องบทพูดของตัวละครก็สำคัญครับ ใช้คำพูดที่ดูเป็นภาษานิยายไม่จำเป็นต้องเลียนเสียงที่พูดออกมาเหมือนจริงเป๊ะ พยายามอย่าให้ตัวละครสลับกันพูดมากเกินไป ประมาณว่าพูดสองสามคำแล้วเปลี่ยนกัน อย่างเช่นการถามตอบว่าสบายดีไหม กินข้าวหรือยัง พวกนี้อยาจใช้ในช่วงแรกๆ ของการพบกันของตัวละครสองตัว เพื่อสื่อถึงความเอาใจใส่หรือเน้นเรื่องบุคลิคของตัวละคร หลังๆ ให้พยายามตัดทิ้งไป
แต่ไม่แน่ว่าแนวการเขียนในสมัยนี้อาจเปลี่ยนไปบ้าง เพราะนักอ่านส่วนหนึ่ง(หรือส่วนใหญ่หว่า) เริ่มติดสำนวนการเขียนของไลท์โนเวลต่างๆ เข้ามามากพอตัว ซึ่ง ถ้าถามว่ามันแตกต่างจากนิยาย(โนเวล)อย่างไร เท่าที่ผมสังเกตก็คือ บทบรรยายต่างๆ จะลดลงอย่างมาก การบรรยายจะถูกเน้นไปที่ตัวพล๊อต(ใคร-ทำอะไร)และบทสนทนาเป็นหลัก ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะครับ แต่มันไม่ถูกจริตของผมเองมากกว่า
ถ้าชอบหรือสนใจแนวทางการเขียนแบบไหน โปรดศึกษาและพัฒนาต่อไปครับ

อ่อ ลืมบอกไปครับ พล๊อตนะคิดง่าย แต่บรรยายให้ดีนั้นคิดยากกว่านะครับ

0
P'YinG Columnist 17 ม.ค. 60 เวลา 11:42 น. 17

อยากเขียนนิยายให้ดี ความสำคัญมันอยู่ที่การสื่อสารนี่ล่ะ ถึงพล็อตเรื่องจะดีงามเลิศเลอขนาดไหน แต่ถ้าเขียนให้คนอ่านเข้าใจ อินไปกับเนื้อหาไม่ได้ ก็คือจบ

ดังนั้นแนะนำ ให้หนังสือให้เยอะเข้าไว้ ศึกษาว่าเข้ามีวิธีการเขียนการบรรยายอย่างไร แล้วเอามาปรับใช้กับนิยายของเรา (แต่ไม่ได้ให้ไปลอกสำนวนเขามานะคะ) จากนั้นก็เริ่มฝึกเขียนเลย ถ้าพล็อตเก่ามันยากเกินไป อาจจะเริ่มฝึกกับพล็อตที่มีความซับซ้อนน้อยลงกว่าเดิม หรือไม่ก็เรื่องสั้นก็ได้ ฝึกไปเรื่อยๆ ก็จะดีขึ้นมาเอง เป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปค่ะ ท้อได้แต่ห้ามหยุดพยายามนะคะ สู้ๆ

0
virgindevil 18 ม.ค. 60 เวลา 21:34 น. 18

เรามองว่า ต้องทำทั้งสองอย่างไปพร้อมๆกันค่ะ

ถ้าอยากจะเขียนให้ได้ดี ก็ต้องเขียน
ถ้าอยากจะแต่งเรื่องให้ดี ก็ต้องคิดพล็อต

แต่นิยาย มันต้องไปพร้อมๆกัน ดังนั้นอยากบอกว่า เขียนต่อไปเถอะค่ะ
เพราะเมื่อคุณไม่หยุดคิด ไม่หยุดเขียน มันจะเกิดพัฒนาการเอง
คุณจะทำมันได้ดีขึ้นเรื่อยๆ เอง

เพราะเมื่อบรรยายออกมาไม่ได้ แล้วไม่ได้พยายามจะบรรยาย
แล้วมันจะออกมาได้ยังไง จะฝึกกับอะไร ถ้าไม่ใช่ฝึกเขียนมันออกมา

ระหว่างนั้นก็พยายามอ่านเยอะๆ การอ่านเยอะๆ ทำให้คลังคำในสมองมีเยอะ
วิเคราะห์วิธีการบรรยายของนักเขียนที่คุณชอบ ดูว่าเขาใช้คำยังไง แบบไหน
อย่าปล่อยให้การอ่านของคุณคือการอ่านผ่านๆ และอย่าปล่อยให้งานเขียนของคุณ
คือบันทึกความทรงจำ ย้อนกลับไปอ่านงานเขียนของตัวเองเป็นระยะๆ จะทำให้คุณเห็น
ทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของตัวเอง

สู้ๆนะคะ เชื่อเถอะว่าถ้าไม่หยุดพัฒนา คุณทำได้อย่างที่คุณตั้งใจแน่นอนค่ะ

0