Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

All about การอ่านหนังสือ :)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีค้าบวันนี้เราขอมาแชร์เทคนิคการอ่านหนังสือให้เพื่อนๆหรือน้องๆทุกคน เราค่อนข้างรวบรวมเนื้อหามาเยอะพอสมควร ยังไงอยากให้ติดตามกันนะฮะอ่านหมดยิ่งดีเพราะกรั่นออกมาละเอียดมากกก ขอแทนตัวเองว่าพี่นะฮะ

ก่อนที่จะอ่านเราต้องถามตัวเองว่า...


"เราชอบการเรียนรู้แบบไหน?"


เพราะว่าทุกคนมีประสิทธิภาพการเรียนรู้ไม่เท่ากัน และแน่นอนว่าบางคนไม่ชอบอ่านหนังสือ เชื่อหรือไม่ว่าบางคนไม่อ่านหนังสือเลยแต่สอบติดได้ ? 



สิ่งที่ทุกคนทำกันทั้งหมดเรียกว่า "การรับข้อมูล" ซึ่งถ้าการรับเราก็ต้องมีผู้ให้ใช่ไหม ? แล้วใครเป็นผู้ให้ ? แยกเป็น2อย่างง่ายๆคือ การที่เรารอให้คนป้อนให้ หรือการที่เราป้อนตัวเอง (กินเองนั้นเอง) การป้อนให้ก็ได้แก่ การกวดวิชา การรออาจารย์สอน บลาๆ แต่การป้อนตัวเองคือ การอ่านหนังสือนั้นเอง แล้วเขาป้อนอะไรให้เรา ? เป็นการส่งข้อมูลผ่านสื่อการเรียนรู้ต่างๆ หนังสือ วีดีโอติว ก็นับว่าเป็นสื่อ หรือแม้กระทั่งคำพูดก็นับว่าเป็นการสื่อสารนั้นเอง 


แล้วการเรียนรู้แบบไหนที่มีประสิทธิภาพที่สุด พี่คงตอบไม่ได้ว่าแบบไหน เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกัน พี่จะแนะนำวิธีเวลาที่เราเจอเหตุการณ์เหล่านี้ละกัน


1. ขี้เกียจ
สำหรับบุคคลประเภทเหล่านี้ อยากให้ถามว่าทำไมเราไม่ลงมือทำ ? อะไรที่เป็นอุปสรรค? ร้อยทั้งร้อยที่ไม่ทำเพราะไม่มีแรงจูงใจหรือไฟในการอ่านหนังสือ เราต้องหาอะไรบางอย่างที่มากระตุ้นตัวเอง เช่น การเข้าไปส่องStudygramชาวบ้าน หรือการที่เราเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม หาสถานที่เงียบๆ หรือร้านกาแฟในการอ่านหนังสือ ถ้ารู้ตัวว่าเป็นประเภทนี้ จงหาสาเหตุและแก้ไขมันซะ การแก้ไขมีหลายรูปแบบแต่แนะนำให้หาวิธีที่เหมาะสมและพยายามเปิดใจรับมัน มองอีกมุมว่าการอ่านหนังสือช่วยอะไรเรา 


2.อ่านกับเพื่อนเวิร์คไหม
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำให้เราได้ความคิดใหม่ๆเข้ามา ซึ่งการอ่านกับเพื่อนก็เป็นตัวช่วยเช่นกัน แต่กลุ่มเพื่อนต้องเป็นประเภทพวกเรียนเป็นเรียน เล่นเป็นเล่น รู้จักเวลา แน่นอนว่าการอ่านกับเพื่อนดีกว่าอ่านคนเดียว แต่สำหรับมนุษย์ประเภทไม่เข้าสังคมอาจไม่เหมาะหน่อย ในการอ่านกับเพื่อนเราลองคุยกันว่าวันนี้เราจะอ่านวิชาอะไร มาช่วยกันทำโจทย์ หรืออาจอ่านใครมันแล้วพอไม่เข้าใจค่อยถามเพื่อนคนนั้น หรือช่วยวิชาที่เราถนัดติวให้เพื่อน การอ่านกับเพื่อนจะอ่านได้นานกว่าอ่านคนเดียวนิดนึง ซึ่งถือเป็นการสร้างสิ่งแวดล้่อมกระตุ้นให้เราแอคทีฟมากขึ้น คล้ายๆสังคมกวดวิชานั้นเอง


3.อ่านนานแค่ไหน?
อันนี้แล้วแต่ความอดทนแต่ละคน แต่การอ่านนานกับไม่นาน ไม่สามารถวัดกันได้ บางคนอ่านนานแต่เก็บได้ไม่กี่บท หรืออ่านเท่ากับคนอ่านไม่นาน เพราะฉะนั้นอย่าไปตั้งเวลาว่าวันนี้จะอ่านนานได้แค่ไหนอะไรยังไงในช่วงแรกๆ พยายามกำหนดเป้าหมายว่าวันนี้เราจะอ่านเรื่องอะไรนั้นเอง เช่น วันนี้พี่มีเวลาหลังเลิกเรียน1-2ชม. พี่ตั้งใจจะทำข้อสอบCU-TEPพาร์ทErrorซัก2ชุด พี่ก็ต้องทำตามกำหนดเป้าหมายให้เสร็จ ซึ่งในการกำหนดเป้าหมายเราสามารถทำ "Studyplanner"ได้นั้นเอง หรือแพลนเนอร์ที่เรียกๆกัน จะเป็นการอ่านที่มีเป้าหมายมากขึ้น ดีกว่าอ่านไปเรื่อยๆ


4.หนังสือเล่มไหนดีที่สุด
ในการเลือกหนังสือสิ่งเหล่านี้ต้องพึ่งรีวิวจากทางอินเตอร์เน็ต ยิ่งเวลาSATแนะนำให้หารีวิวฝรั่งเว็บดังๆก็มีพวกMagoosh Prepscholar เป็นต้น หรือChannelในยูทูป จะมีรีวิวหนังสือไว้อยู่ อย่างไรก็ตามก่อนซื้อแนะนำให้แกะออ่านคร่าวๆก่อนว่าเราเข้าใจเนื้อหาเล่มนี้ไหม ไม่ใช่ซื้อมาแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง หนังสือทุกเล่มไม่ได้เขียนให้ทุกคนรู้เรื่องเสมอไป บางคนเคมีไม่เข้าเล่มนี้ก็เสียเวลาอีก ยังไงลองอ่านคร่าวๆก่อนซื้อนะ


5.วิธีอ่านหนังสือ 
อันนี้แล้วแต่เราเลยว่าชอบแบบไหน แต่ร้อยละ80 ทุกคนอ่านมากกว่า2รอบในเล่มเดียว เพราะการที่เราจะจำเนื้อหาและเข้าใจคือการย้ำทำ ลองนึกถึงนักร้องทำไมเขาจึงจำเนื้อร้องได้ เพราะเขาย้ำทำ ไม่ใช่การท่องจำนะ แต่การเป็นทำเป็นประจำหรือการฝึกฝนนั้นเอง ซึ่งในการฝึกฝนหรืออ่านหนังสือ แล้วแต่เลยว่าถนัดแบบไหน บางคนจะทำมายแมป บางคนจะช็อตโน้ตหรืออะไรก็ว่าไป แต่วิชาเดียวที่ยกเว้นคือเลข วิชานี้ต้องฝึกทำโจทย์มากกว่าการทำหรือนั่งท่องทฤษฎีนั้นเอง


6.แก้ง่วง
อาการง่วงเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือสมองล้า ง่ายๆก็คือสมองเราไม่เปิดรับเนื้อหาเหล่านี้ ช่วงแรกๆถ้าใครโหมมีง่วงนอนแน่ๆ เพราะว่าฝืนสมองมากเกินไป อยากให้ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ไม่แนะนำให้ดื่มกาแฟ เพราะมีคาเฟอีนสูง แต่แนะนำให้ดื่มโอวััลติน ช้อคโกแลต โกโก้ มีคาเฟอีนนะพวกนี้แต่จะออกฤทธิ์ช้าๆ สิ่งสำคัญที่สุดคือการทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ5หมู่ในแต่ละวัน อย่าลืมออกกำลังกายล่ะพราะจะไปช่วยในการทำงานร่างกายเรา ใครที่ยังไม่ดูแลสุขภาพหันมาดูแลได้แล้ว เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อการอ่านหนังสือ


7.การจัดตาราง
พี่ว่าเรื่องนี้ค่อนข้างซับซ้อนนั้นเอง แต่จะขอพูดคร่าวๆว่าหาวันเวลาที่แน่นอนหรือประมาณในการสอบคณะที่เราต้องการมา มาเรียงดูว่ามีกี่วิชา ทำตารางเลยว่าเดือนนี้จะเอาวิชาไหน วันไหนอ่านอะไรหรือสลับกัน เน้นอะไรตรงไหนก่อน 


ขั้นตอนพี่ไม่ซับซ้อนมาก แต่อยากให้น้องๆเริ่มสำรวจตามสเต็ปดังนี้


ขั้นตอนที่ 1 เช็คเวลาว่าง
ก่อนที่น้องจะลงมือวางแผนตารางอ่านหนังสือพี่ือยากให้น้องสำรวจว่าเราว่างวันไหนคร่าวๆ มีเวลากี่ชั่วโมง เพราะว่าการอ่านหนังสือในช่วงเวลาเปิดเทอมค่อนข้างจำกัดเวลาไม่ได้ฟรีเหมือนเปิดเทอม นอกจากเสาร์อาทิตย์ ถ้าให้น้องอ่านทั้งวันเบื่อแน่ๆ


ขั้นตอนที่ 2 เช็คว่าต้องอ่านวิชาไหนบ้างและต้องสอบอะไร
สำหรับน้องๆภาคไทยแต่ละคนค่อนข้างแตกต่างกันโดยเฉพาะสายศิลป์และสายวิทย์ ไหนจะคณะเฉพาะทางอีก แต่สำหรับฝั่งอินเตอร์ น้องๆจะสอบ2วิชาหลักคือ วิชาเฉพาะความถนัดภาษาอังกฤษกับวิชาSAT หรือบางคณะมีข้อเขียนนั้นเอง ให้น้องมองภาพรวมก่อน เช่นอินเตอร์ทั่วๆไปใช้แค่วิชาเลขกับภาษาอังกฤษ น้องก็ต้องมองเข้าไปรายละเอียดเฉพาะว่าภาษาอังกฤษแยกเป็น TU-GET or CU-TEP or IELTS , SAT or CU-AAT และ ข้อสอบคณะข้อเขียน (optional) จะแยกเป็นหลักๆ ให้น้องสำรวจว่าอันไหนสอบวันไหน อันไหนต้องใช้ก่อน ภาคไทยก็เช่นกัน ให้น้องตรวจสอบวันสอบที่แน่นอน



ขั้นตอนที่ 3 วางตารางวิูชา
ในแต่ละวิชาการอ่านและการฝึกฝนค่อนข้างแตกต่างกัน เช่น วิชาเลขอาศัยการทำโจทย์เป็นหลัก เพราะสะสมไปเรื่อยๆ วิชาอังกฤษคือการจับหลักการและนำไปใช้ในโจทย์ ทุกวิชาล้วนมีหลักการของมัน แต่ที่แตกต่างคือข้อสอบ ภาษาอังกฤษของCU-TEPกับSATค่อนข้างแตกต่างกันมากพอสมควร ทั้งเนื้อหาและสิ่งที่ต้องการวัด ระดับความยากเช่นกัน ไม่ว่าน้องจะจัดวิชาไหนก่อน อยากให้มองว่าเราไม่ถนัดวิชาไหน ควรอุดจุดบอดก่อนนั้นเอง สมมติพี่จะสอบBBA สิ่งที่พี่ต้องใช้คือSAT กับ IELTS หรือวัดระดับภาษาอังกฤษอื่นๆ พี่ก็ไปดูเนื้อหาว่าการสอบมีไรบ้างซึ่งSATแยกย่อยเป็น2วิชา และอีก3พาร์ท พี่เป็นคนไม่ถนัดเลข พี่จึงเลือกทำเลขก่อน แล้วค่อยตามด้วยวิชาที่เหลือ พี่ไม่ได้บอกให้เน้นวิชาเดียว ให้ทำควบคู่แต่ให้เน้นว่าอันไหนสำคัญมากกว่ากันนั้นเอง พี่ก็จัดตารางทำเลขเป็นหลักแล้วสลับอังกฤษ พอพี่รู้สึกว่าเลขโอเคพี่จึงค่อยมาเน้นทำอังกฤษนั้นเอง


สำหรับภาคไทย น้องๆสายวิทย์จะมีวิชาค่อนข้างหนักพอสมควีรหรือสายอินเตอร์วิศวะเช่นกัน พี่อยากให้น้องแยกวิชาไหนที่น้องรู้สึกว่าหนักกับเบาเป็น2ฝั่ง แล้วทำตารางแบ่งวิชาสลับกัน เช่น พี่จะสอบวิศวะ พี่รู้สึกว่าฟิสิกส์หนักสำหรับพี่ เลขค่อนข้างเบา และอังกฤษพี่ถนัด พี่ก็จะเอาฟิสิกส์กับอังกฤษไว้วันที่1 และเลขไว้วันที่2 เป็นต้น เดี่ยวจะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดตารางเวลา 



ขั้นตอนที่ 3 เขียนตารางภาพรวม
เมื่อน้องมีข้อมูลในมือแล้วว่าวิชาไหนเป็นอย่างไร สอบวันไหน ให้น้องเริ่มวางแผนรายเดือนว่าเดือนนี้น้องควรจะเน้นวิชาไหน หรือทำวิชาไหนให้ทันก่อนวันสอบที่จะถึง ในการจัดตารางสอบของแต่ละภาคไทยหรือภาคอินเตอร์นั้นเน้นจุดสำคัญที่น้องต้องดูวันและเวลาสอบ รวมถึงเนื้อหาที่จะอ่าน สำหรับวิชาที่พี่แนะนำให้น้องทำสม่ำเสมอคือพาร์ทที่ต้องใช้คำนวณเป็นหลัก เช่น พี่ลงสอบSATเดือนตุลาคม และCU-TEPไว้เดือนกันยายน ตอนนี้พี่จะเปิดเทอม พี่จะวางไว้ว่าพี่ต้องสอบCU-TEPก่อน แต่SATยากกว่าCU-TEPพี่ก็เลยจะวางตารางในช่วงพ.ค.ถึงก.ค.ว่าพี่ต้องอ่านSATจบเพื่อจะได้มีเวลาไปเตรียมCU-TEP หรือพี่จะรีบเตรียมCU-TEPให้เสร็จแล้วจะได้ไปเตรียมSAT ในขณะที่พี่เตรียมเสร็จในพาร์ทนั้นๆพี่ก็จะไม่ลืมที่จะนำวิชาที่เหลือมาทวนทำโจทย์แต่พี่จะให้ความสำคัญกับวิชาดังกล่าวน้อยลงหน่อย



ขั้นตอนที่ 3 วางตารางเวลาในแต่ละวัน
น้องวางภาพรวมใหญ่ๆได้แล้ว นั้นหมายความว่าเราจะมาดูแต่ละวันว่าเรามีเวลาเท่าไหร่ เปิดเทอมจะมีงานยุ่งไหม ไหนจะการบ้านอีก ให้มากสุด2ช.ม. และน้องไม่ควรนอนดึกเกิน5ทุ่ม เพื่อสุขภาพของน้องเอง 1อาทิตย์มี5วัน ให้น้องอ่านวันละวิชา อย่าฝืนวันละ3-4วิชา อย่างมาก2วิชาและควรเป็นวิชาเบาและหนักคู่กัน อย่าจัดตารางเป็นวิชาหนักคู่กันเพราะสมองคนเราจะรับไม่ไหวและล้าในที่สุด หากใครเรียนพิเศษในวันนั้น พี่ไม่แนะนำให้น้องอ่านวิชาอื่นแต่ให้เอาที่เรียนพิเศษมาทวนและทำโจทย์หรือช้อตโน้ตอะไรก็ว่าไหากใครขี้เกียจไม่อยากอ่านทุกวัน ก็ขึ้นอยู่กับความสบายใจของน้อง น้องอาจอ่านวันเว้นวัน แล้วไปหนักเสาร์อาทิตย์ก็ได้ ส่วนเสาร์-อาทิตย์หรือวันไหนที่ว่าง พี่ไม่อยากให้น้องโหมหนักมาก อาจจัดเป็น 2-3-2 2ตอนเช้า 3ตอนบ่าย 2ตอนค่ำ ระหว่างอ่านน้องควรพักทุกๆ1ชม.เพราะสมองคนเรารับข้อมูลได้แค่นั้น เวลาพักน้องจะทำอะไรก็ได้ ที่ไม่คิดมากและพักสมอง ประมาณ10-15นาที หรือใครจะงีบก็ได้ไม่ว่ากัน แต่อย่าหลับยาว การจัดตารางก็ควรเอาวิชาเบาหนักสลับกันเพื่อให้สมองผ่อนคลายนั้นเอง อย่าโหมมากเกินไป



ขั้นตอนที่ 4 การหาหนังสือ 
ในการหาหนังสือพี่เคยพูดไปแล้วว่าให้ดูรีวิวในเน็ตจากรุ่นพี่หรือเว็บที่น่าเชื่อถือ แต่สิ่งสำคัญคือการอ่านก่อนซื้อว่าถูกชะตาหรือเปล่านั้นเอง วิธีการอ่านหนังสือแต่ละวิชาไม่เหมือนกัน แต่คราวหน้าพี่จะมาแนะแนวการอ่านหนังสือว่าควรเริ่มอะไรยังไง น้องไม่ควรซื้อมาทีเดียวแต่ควรซื้อเล่มที่น้องจะอ่านในเดือนนั้นๆพอ หรือถ้าเล่มไหนนิยมมาก ซื้อมาไว้ก่อนก็ไม่เสียหายนั้นเอง



ขั้นตอนที่ 5 กำหนดเป้าหมายในแต่ละวัน !
เมื่อเราจัดตารางเวลาไปแล้วเราก็จะรู้ว่าวันนี้เราควรอ่านอะไรคร่าวๆ เช่นวันนี้พี่จัดตารางว่าอ่านCU-TEP พี่ก็จะดูว่ามีจุดไหนทีพี่บกพร่องหรือไม่ พี่ไม่เก่งแกรมม่าพี่ก็จะทำแอเร่อประมาณ2-3ชุดในเวลา1-2ชม.นั้นเอง น้องควรกำหนดเป้าหมายดีกว่าการอ่านไปเรื่อยๆ เพราะจะมีประสิทธิภาพที่ชัดเจนมากกว่านั้นเอง หรือน้องจะตั้งเป้าหมายรายสัปดาห์ก็ได้ไม่ว่ากัน


จบไปแล้วนะสำหรับการจัดตารางอ่านหนังสือ ส่วนตัวพี่เองก็อยากบอกว่าการจัดตารางค่อนข้างสำคัญเพราะเป็นก้าวแรกของการอ่านหนังสือ ยังฝึกการจัดระบบและระเบียบของเราได้อีกด้วย 

การอ่านหนังสือพี่ขอแบ่งเป็น2ส่วนนั้นคือ เนื้อหากับโจทย์ ทำไมพี่ต้องแบ่ง? เพราะวิธีการแตกต่างกันนั้นเอง ถ้าถามพี่ว่าอันไหนหนักกว่ากันมันหนักคนละอย่าง 555 ในการอ่านเนื้อหานั้นค่อนข้างอาศัยสมาธิและไม่ใช้สมองเท่ากับการทำโจทย์ เป็นแค่การรับข้อมูลเข้ามานั้นเอง พี่จะขอพูดถึงการอ่านเนื้อหาก่อนแล้วค่อยไปการทำโจทย์เด้อ


1. การอ่านเนื้อหา
ในการอ่านเนื้อหาในแต่ละวิชาอาศัยความเข้าใจเป็นหลัก ตามลงมาด้วยการท่องจำ แล้วจะจำได้อย่างไร คือการย้ำคิดย้ำทำเข้าไปนั้นเอง การอ่านแบบอาศัยการสะสม ทำวันละนิดวันละหน่อย แต่การอ่านเนื้อหานั้นเริ่มกันอย่างไร มีขั้นตอนดังนี้


การอ่านเนื้อหานั้นจะง่ายกว่าการทำโจทย์เพราะอาศัยความเข้าใจแค่เรื่องเดียวไม่ได้ใช้สมองหลายเรื่อง ประสิทธิภาพในการรับรู้ของแต่ละคนไม่เท่ากันอย่าฝืนตัวเองว่าต้องอ่านให้นานเท่านี้ แต่ให้กำหนดว่า
"อ่านได้แค่ไหน" นั้นหมายถึงการกำหนดเป้าหมายนั้นเอง น้องจะกำหนดในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์แล้วแต่น้องแต่พี่ย้ำว่าน้องต้องมี"เป้าหมายในการอ่านทุกครั้ง"


การกำหนดเป้าหมาย
การกำหนดเป้าหมายนั้น เป็นเรื่องของการกำหนดว่าบทนี้เราควรอ่านเรื่องอะไรหัวข้ออะไรโดยดูขากเนื้อหาในบทก่อนว่ามีอะไรที่เราต้องเน้นเป็นพิเศษอันไหนจะใช้เวลานานมากไหม  ในกรณีที่บางบทอาจกินพลังชีวิตเราไปมากนั้นเอง การอ่านเรื่อยๆก็ได้อยู่ แต่การกำหนดเป้าหมายจะดีกว่าการอ่านเรื่อยๆแล้วสูบพลังชีวิตเราไป


1.1 ดูหัวข้อใหญ่แล้วดูหัวข้อย่อย
ให้ดูหัวข้อใหญ่ก่อนว่าเรื่องนี้เรื่องอะไรจากนั้นไปดูรายหัวข้อเล็กจะทำให้เรารู้ว่า มีจุดไหนที่เราต้องเน้นเรื่องอะไรบ้าง ในระหว่างการอ่านน้องๆจะได้
สโคปเนื้อหาได้ถูกไม่อ่านไปเรื่อยๆโดยไม่รู้ว่าเรากำลังไปหัวข้อไหน หรืออะไรเชื่อมกับอะไรนั้นเอง


1.2 อ่านแบบละเอียดรอบแรก
ในการอ่านรอบนี้ อยากให้น้องๆทำเหมือนน้องกำลังอ่านนิยายหรือการอ่านแบบละเอียดนั้นเอง
ไม่ใช่การอ่านแบบSkimหรือScan แต่เป็นการอ่านหนังสือจริงๆ ถ้าน้องอ่านไปบรรทัดไหนแล้วรู้สึกว่าสำคัญให้น้องไฮไลท์ไว้


1.3 ทำความเข้าใจ
เมื่อจบแต่ละหัวข้อย่อยแล้วให้น้องทำความเข้าใจด้วยตนเอง ง่ายๆคือพยายามอธิบายให้ตนเองเข้าใจก่อนในใจหรือด้วยคำพูดก็ได้ แล้วค่อยเขียนออกมาช็อตโน้ตย่อๆก่อนอย่าเพิ่งลงโน้ตจริง ถ้าไม่เข้าใจให้เรากลับไป ณ ข้อความนั้นและพยายามอ่านให้ละเอียดอีกครั้ง


1.4 อ่านรอบที่ 2 
คราวนี้การอ่านรอบต่อไปคือการอ่านเอาใจความสำคัญนั้นเอง ให้ขีดข้อความที่เราคิดว่าสำคัญ และอ่านย้ำอีกรอบในจุดที่เราไม่แน่ใจ 


1.5 ช็อตโน้ต
ในการช็อตโน้ตนั้น น้องสามารถเปิดหนังสือไปด้วยช้อตไปด้วยได้ แต่การช็อตโน้ตไม่เปิดหนังสือจะดีที่สุด ถ้าไม่เข้าใจเนื้อหาค่อยเปิ ในการเปิดหนังสือแล้วเขียนไปด้วยนั้นให้เราเน้นข้อความสำคัญที่เราเปิด สามารถเขียนตามความเข้าใจของเราได้เลย ใครจะทำมายแมปหรือว่าเขียนปกติก็ได้
ช็อตโน้ตที่ดีไม่ควรมีภาษาแบบเรียงความ ควรเป็นการสรุปสั้นกระชับให้มากที่สุด ให้น้องๆใช้สีหลากหลายจะช่วยเพิ่มสีสันและทำให้จำได้มากกว่าสีเดียว //เหมือนที่พี่กำลังเน้นข้อความนี้ไง อิอิ


พี่ไม่บังคับว่าน้องจะต้องช้อตโน้ตแบบไหน
ขอให้น้องเขียนตามความเข้าใจของน้องแต่ควรสั้นและกระชับที่สุด การอ่านเนื้อหาถ้าได้เขียนจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าอ่านแล้วจำเพราะการเขียนเราต้องเรียบเรียงข้อมูลที่เราจะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรในขณะเดียวกันการพูดนั้นไม่ค่อยซับซ้อนเท่าขั้นตอนกระบวนการเขียน 


ในการอ่านเนื้อหา
น้องๆควรเอามาทวนทุกครั้งที่มีโอกาสเพราะยิ่งเราเขียนไปแล้วไม่เอามาทวนพอนานวันเราจะลืม ที่พี่ย้ำว่าการย้ำคิดย้ำทันนั้นสำคัญมาก เนื่องจากหากเราไม่ได้ทำเป็นประจำเราสามารถลืมได้ และการไม่ได้ใช้ก็เป็นปัจจัยนึงที่สำคัญสามารถทำให้เราลืมเนื้อหาได้ แล้วเราสามารถใช้ได้อย่างไร คำตอบคือการทำโจทย์นั้นเอง


2.การทำโจทย์
ในการทำโจทย์นั้นค่อนข้างอาศัยการใช้สมองในการดึงข้อมูลในหัวมาใช้นั้นเอง การทำโจทย์เป็นการวัดความเข้าใจว่าเราเข้าถึงเนื้อหาในหัวข้อนั้นมากน้อยแค่ไหน นั้นคือการนำข้อมูลที่เราป้อนเข้ามาใช้นั้นเอง ในการจำโจทย์พี่ขอแบ่งเลเวลในการทำดังนี้


2.1 การทำโจทย์โดยอาศัยความเข้าใจ
ในการจำโจทย์ขั้นตอนนี้จะอาศัยความเข้าใจเป็นหลักโดยการไม่จับเวลา ข้อนี้อาจนานหน่อยให้เวลาเราคิดมากกว่าวิธีแบบอื่น การทำแบบนี้เราอาจลองวัดสปีดเราดูว่าถ้าเราไม่จับเวลาเราจะใช้เวลานานแค่ไหนเผื่อที่เราจะได้รู้ว่าตอนสอบจริงๆเราควรทำพาร์ทไหนอะไรยังไงก่อนนั้นเอง รู้จุดบกพร่องว่าตรงไหนมันทำให้เราเสียเวลาแล้วเราจะได้กลับไปอ่าน ณ จุดนั้น


2.2 การทำโจทย์แบบจับเวลา
ในการทำโจทย์แบบจับเวลาเปรียบเสมือนการวัดว่า
เราเข้าใจและเร็วแค่ไหน ในการทำโจทย์แต่ละครั้งนั้นๆในการจับเวลาอยากให้ทุกคนเริ่มจากการจับเวลาจริงเลย เช่น การสอบCU-TEP จับเวลา30นาทีแอเร่อ พี่ก็ทำข้อสอบโดยการจับเวลา30นาทีจริงๆ ถ้าหมดคือหมด ต้องหยุด แต่ถ้าทำเสร็จก่อนพี่ก็จะทวนอีกรอบ จนหมดเวลา ถ้าบางคนรู้สึกว่าทวนแล้วกลัวผิดอยากให้มองมุมกลับมา ทวนข้อที่เราสงสัยติีกไว้ว่าไม่แน่ใจ ยิ่งเราทำซ้ำ ความเร็วในการทำก็จะเร็วขึ้นนั้นเอง เหมือนว่าเราชินเราจับหลักได้ เราก็จะสามารถทำได้คล่องแคล่ว



นอกจากว่าจะแบ่งประเภทของการทำโจทย์ได้แล้ว พี่ยังมีเกร็ดทั้งเวลาทำโจทย์และหลังทำโจทย์เช่นกัน เอ๊ะ ทำไมถึงต้องมีหลังด้วยก็เพราะว่าในการ
ทำโจทย์นั้นเราต้องเช็คข้อผิดข้อถูก และเราต้องนำข้อผิดพลาดมาตรวจสอบอีกครั้งนั้นเอง เดี่ยวพี่จะอธิบายในพาร์ทต่อไป


1.ระหว่างการทำโจทย์ 
ในการทำโจทย์พี่อยากให้น้องเผื่อเวลาไว้5-10นาที เพื่อตรวจทานคำตอบหรือกลับไปทำโจทย์ที่ยังไม่ได้ทำ ก่อนทำโจทย์อยากให้น้องเปิดดูก่อนว่ามีข้ออะไรข้อไหนที่เราทำได้หรือไม่ได้ พาร์ทไหนที่ง่ายยาก แล้วค่อยลงมือทำแต่อยากให้เผื่อเวลาทวนไว้ด้วย ไม่ก็ถ้าใครมั่นในว่าทำแบบรอบคอบไม่เผื่อเวลาก็ขอให้ทำไปด้วยความเข้าใจ ถ้าข้อไหนที่น้องไม่มั่นใจหรือกินเวลานานให้ข้ามไปก่อนแล้วค่อยกลับมาย้อนทำ การที่น้องฝึกทำโจทย์บ่อยๆจะทำให้น้องๆทำเร็วมากขึ้นนั้นเอง



2.หลังทำโจทย์
หลังจากที่น้องตรวจสอบข้อผิดถูกแล้ว ให้น้องย้อนกลับไปหาข้อผิดพร้อมกับหาสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้เราพลาดข้อนี้ ถ้าเป็นเรื่องของเนื้อหาแนะนำให้กลับไปทวนเนื้อหาจุดนั้นและทำโจทย์ของบทนั้น เพื่อย้ำความเข้าใจให้เรา การเริ่มต้นใหม่ไม่เสียหายแต่กลับเป็นการสร้างฐานเพื่อที่จะก้าวไปสู่ขั้นต่อไปอย่างมั่นคง พยายามจดข้อผิดแยกสมุดไว้โดยเฉพาะ เวลาก่อนสอบเราสามรถนำสมุดนั้นมาทวนได้และรู้ว่า เราผิดจุดนี้นะ เราไม่ควรจะพลาดจุดนี้ 

 


ในการทำโจทย์ที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่การทำโจทย์ที่ได้คะแนนเยอะทุกครั้งแต่เป็นการที่เรารู้จุดบอดและจัดการจุดบอดได้ในครั้งต่อไปต่างหาก การจับเวลาสำคัญเช่นกันสำหรับการทำโจทย์ 



ไม่ว่าจะอ่านเนื้อหาหรือการทำโจทย์พี่อยากบอกว่าน้องควรจะมีไฟและนึกเสียว่าครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้่ายแล้วนะที่เราจะได้อ่านหนังสือ ทำให้เต็มที่ พอเราเริ่มคุ้นชินกับมันเราจะรู้สึกสนุกไปกับมันนั้นเอง 

ยาวหน่อยนะสุดท้ายใครอ่านจบพี่ขอฝากเพจ (ธรรมเนียมเดิม) เกี่ยวกับเทคนิคเหล่านี้แหละ พี่คือแอด... ไม่บอกว่ะ ไปหากันเอาเองอิอิ จิ้มเลย ! >>    https://www.facebook.com/LearningCafebydom9914 
อัพเกรดมีรูปเพิ่ม อิอิ 

ไลค์กันด้วย !! โฮ๊ะๆๆๆ สงสัยอะไรสอบถามคอมเม้นได้จ้า ขออภัยถ้าอะไรที่ไม่ครบถ้วน


 

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

Canyonlox 2 พ.ค. 60 เวลา 13:49 น. 1-1

จะพยายามเอาจากประสบการณ์มานะคะ555555+ นี่ก็คร่าวๆก่อนอยากได้พาร์ทไหนเฉพาะบอกได้น้า

0
Tiara_R 2 พ.ค. 60 เวลา 00:55 น. 2

ขอบคุณค่ะ นี่ก็นัดกับเพื่อนไว้ว่าจะอ่านหนังสือด้วยกัน คิดว่ามันคงมีแรงกระตุ้นมากกว่าอ่านคนเดียวแน่ๆ

1
Canyonlox 2 พ.ค. 60 เวลา 13:50 น. 2-1

อ่านกับเพื่อนช่วยได้จริงค่ะแต่ต้อวควบคุมตัวเองพอสมควรและเพื่อนควรทำเหมือนครูคือเตรียมการสอยมา ถ้ามาด้นสดก็ต้องทำโจทย์ไปด้วยกันเลยอันนี้จะเวิร์คกว่าพาร์ทเนื้อหามาก อ่านกับเพื่อนแนะนำอย่าร้านกาแฟค่ะสิ่งเร้ารบกวนพอสมควร พยายามอ่านที่เวียบๆน้า ไม่ก็Co-working spaceไรงี้

0
Canyonlox 2 พ.ค. 60 เวลา 13:51 น. 4-1

จะพยายามปั่นมาเรื่อยๆค่ะ555+ ขอบคุณนะคะ

0
Canyonlox 2 พ.ค. 60 เวลา 13:52 น. 5-1

วิธีนี้นำไปใช้ได้ทุกวัยค่ะ ถ้ามหาลัยอาจช่วยได้นิดหน่อยแต่ขึ้นม.4 อันนี้มห้สำหรับมอปลายโดยเฉพาะเยยสู้ๆนะคะ

0