Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[USA]ต่อนอกเองดีกว่า! สมัครมหาวิทยาลัยในอเมริกาด้วยระบบ CommonApp

ตั้งกระทู้ใหม่

สวัสดีครับ หลังจากที่มีรีเควสเข้ามา วันนี้เลยจะมาแนะนำการสมัครมหาวิทยาลัยในประเทศอเมริกาผ่านระบบ Common Application อันเป็นระบบที่มหาวิทยาลัยส่วนมากใช้จ้า

รู้หรือไม่ว่าเกือบๆทุกมหาวิทยาลัยในอเมริกามีนักเรียนต่างชาติเรียนอยู่มากถึง 10%! (อาจจะฟังดูไม่เยอะแต่ถ้ามหาวิทยาลัยมีสี่พันคนก็มีนักเรียนต่างชาติถึงสี่ร้อยเลยนะ!) มหาวิทยาลัยเหล่านี้มีนโยบายรับนักเรียนต่างชาติเพื่อสร้างความหลากหลายและโอกาสให้นักศึกษาในสถาบันตัวเองได้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ
เกือบๆทุกมหาวิทยาลัยเองก็มีคนไทยเรียนอยู่เช่นกัน
รู้แบบนี้แล้ว ไปดูวิธีสมัครกันเลยดีกว่า!

 

1. รู้จักกับ Common App

Common app คือ เว็บไซต์สำหรับสมัครมหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกาจ้า

อันดับแรกเราก็สร้างแอคเคาท์ก่อนที่ www.commonapp.org (สร้าง student account นะ)

ล็อกอินแล้วเราจะเข้ามาถึงหน้าหลัก

ตอนแรกก็จะโล่งๆ เพราะเรายังไม่ได้สมัครมหาวิทยาลัยอะไร

ทีนี้อยากสมัครมหาวิทยาลัยอะไร ก็กด college search พิมพ์ชื่อมหาวิทยาลัยลงไป จะได้แบบนี้


 

จากนั้นก็ติ๊กที่กล่องข้างหน้าแล้วกดแอด
เสร็จแล้วทีนี้ก็มหาวิทยาลัยนั้นก็จะขึ้นมาในหน้า Dashboard และ My college จ้า

จะเป็นสรุปรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เราจะสมัคร

เด็กอเมริกาจะสมัครมหาวิทยาลัยประมาณ 10-14 แห่งโดยจะพยายามบาลานซ์โอกาสได้เป็นสามกลุ่มเท่าๆกัน คือ Reach - ติดก็บุญ เช่นพวกไอวี่ลีกก์ สแตนฟอร์ด

            Possible - ความยากกลางๆตรงกับโปรไฟล์เรา

           Safety - ที่ที่เราน่าจะได้แน่ๆ เอาไว้เผื่อพลาดสองประเภทบน

เราก็ลองค้นหามหาวิทยาลัยที่ตรงตามความต้องการเรา
แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีความโดดเด่นแตกต่างกันไป เช่น
Brown University มี Free Curriculum -- คือเราสามารถเลือกวิชาเรียนได้เองทั้งหมด อยากเรียนอะไรก็เรียน ไม่มีข้อจำกัดใดๆ ถ้าผ่าน requirement ก็จะได้ปริญญา เช่น จะจบ Computer Science ต้องมีคอร์สตามลิสต์นี้ 17 คอร์สเป็นต้น (มีคนจบสามปริญญาในสี่ปีด้วย!)
หรือ
Boston University มีชื่อเสียงเรื่องการที่รับนักเรียนจากทั่วโลก ทำให้มีศิษย์เก่าอยู่ทั่วโลก แถมตัวโรงเรียนยังตั้งอยู่ในเมืองบอสตันที่เป็นเมืองประวัติศาสตร์อีกด้วย
จะเห็นว่าแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีจุดเด่นแตกต่างกันไป
เมื่อมีมหาวิทยาลัยให้เลือกกว่าสี่พันแห่ง เราจึงจะต้องทำการสืบค้นเพื่อหามหาวิทยาลัยที่เหมาะสมกับความสามารถและความต้องการของเราผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย (ก็มีเว็บช่วย search เพื่อตีวงลงมาเช่นกัน เช่น https://bigfuture.collegeboard.org/college-search นอกจากนี้ใน bigfuture ยังมีคำแนะนำเกียวกับการค้นหามหาวิทยาลัยที่เหมาะสมกับตัวเราด้วย)

 

พอแอดครบจะได้หน้าตาแบบนี้ มีสรุปเดดไลน์ส่งใบสมัครให้ด้วย


(แต่ของเราจะไม่มีเครื่องหมายถูกนะ ของผู้เขียนมีเพราะกดส่งไปแล้ว)

2. กรอกข้อมูลประจำตัว

เมื่อ add มหาวิทยาลัยเข้ามาเสร็จเรียบร้อย ให้กดไปที่แท็บ Common App

ก็จะมีให้กรอกข้อมูลประจำตัวพื้นฐานจ้า

สิ่งที่เราจะจะต้องเตรียมไว้ก่อนกรอก มีดังนี้

2.1 ใบทรานสคริปต์เรา เอาไว้กรอกเกรดกับคอร์สที่ปีนี้เทค (ถ้าเรียนรร.ไทยก็เหนื่อยหน่อย เป็นยี่สิบสามสิบคอร์ส เมืองนอกเทคกันปีละประมาณ 10 คอร์สเองจ้า)

2.2 คะแนนสอบต่างๆ โดยเราต้องมี

2.2.1 คะแนน SAT หรือ ACT​(SAT เต็ม 1600 ACT เต็ม 36 เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)

เป็นการสอบวัดทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนต่อของเรา จะมีเลขกับภาษาอังกฤษ คะแนนตัวนี้สำคัญมาก!

2.2.2 คะแนน SAT Subject

เป็นการสอบวิชาต่างๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ภาษาจีน ประวัติศาสตร์ คะแนนเต็ม 800 อันนี้ขึ้นกับมหาวิทยาลัยว่าบังคับไหม

2.2.3 คะแนน TOEFL ibt

เป็นคะแนนการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับชาวต่างชาติ คะแนนเต็ม 120 มี อ่าน พูด ฟัง เขียน พาร์ทละ 30

มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะมีคะแนนขั้นต่ำ เช่น 100 คะแนนโดยทุกพาร์ทต้องได้เกิน 21 เป็นต้น

2.2.4 คะแนน AP

เป็นคะแนนสอบรายวิชาที่ทำให้เรา skip คลาสอินโทรของมหาลัยได้ อันนี้ไม่มีก็ไม่เป็นไร


นอกจากจะกรอกเองแล้ว คะแนนทุกอย่างเรายังต้องให้สถาบันที่จัดสอบส่งผลสอบไปให้มหาวิทยาลัยด้วย


2.3 Personal Essay

อันนี้เป็นงานเขียนภาษาอังกฤษ​ที่นำเสนอความเป็นตัวเรา ความยาวไม่เกิน 650 คำ

ดูพร๊อมป์ได้ตามลิงค์นี้จ้า

http://www.commonapp.org/whats-appening/application-updates/common-application-announces-2017-2018-essay-prompts

ปกติแล้วจะเป็นการเล่าเหตุการณ์นึงที่มีความหมายในชีวิตเราและแสดงให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงตัวตนของเรา

จากนั้นเราก็กรอกกิจกรรมที่เคยทำ รางวัลที่เคยได้รับ ประวัติการศึกษา ประวัติครอบครัว บลาๆ
มาดูตัวอย่างเอสเสที่ผู้เขียนติดมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University กัน
https://apply.jhu.edu/apply/essays-that-worked/

 

3. คำถามเฉพาะมหาวิทยาลัย

หลังจากที่กรอกใบสมัครพื้นฐานที่ใช้สมัครทุกมหาวิทยาลัยไป เราก็จะมากรอกคำถามเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีคำถามที่ไม่เหมือนกัน

เช่น ถามภาคเรียนที่อยากเริ่ม ถามข้อมูลติดต่อ และส่วนใหญ่ก็จะมีให้เขียนเอสเสเพิ่มด้วย

เช่น ทำไมอยากเรียนมหาวิทยาลัยนี้ หรือ เขียนจดหมายถึงรูมเมท(เค้าไม่ให้รูมเมทอ่านจริงๆหรอกนะ แค่ดูว่าเราจะพรีเซ้นตัวตนเรายังไง) หรือ จงหา x หรือ ให้บรรยายท้องถิ่นของเรา    -

อย่างโคลัมเบียจะมีพร็อมเอสเสให้เขียนเพิ่มแยกมาเป็น Writing Supplement

4. ดูนโยบาย Financial aid และทำตามขั้นตอน

มหาวิทยาลัยในอเมริกาค่าเทอมแพงมากกกกกกกกกกกกกกกกก

40000-60000 ดอล ต่อปี หรือประมาณ หนึ่งล้านห้าแสนบาทถึงสองล้านบาท

แต่เด็กมหาลัยก็ไม่ได้เป็นเศรษฐีทุกคน

เราจึงสามารถขอ Financial Aid จากมหาวิทยาลัยได้ ฝรั่งก็ขอ

โดยส่วนมากแล้ว ถ้ารายได้ครอบครัวเราน้อย เปอเซนที่ได้ก็จะเยอะตามไปด้วย

เราอาจจะได้ 100% 70% 30% อะไรแบบนี้ ขึ้นกับแต่ละมหาวิทยาลัย

ทางเลือกที่ดีของเด็กไทยอย่างเราๆอีกทางคือการหาทุนการศึกษา

เช่น ทุนรัฐบาลไทยต่างๆกว่า 60 ทุนทุกปี เป็นทุนเต็มจำนวนจ้า

ของแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีเงื่อนไขการให้ Financial aid ไม่เหมือนกัน ต้องเข้าไปดูเว็บไซต์มหาวิทยาลัย
 

5. ส่งแอพพลิเคชั่นและจ่ายตังค์

เดดไลน์ของมหาวิทยาลัยส่วนมากจะเป็นวันที่ 1 มกราคม

เมื่อกรอกเสร็จหมดแล้ว เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ตรวจทานความเรียบร้อย

ส่งใบสมัครออนไลน์ พร้อมกับชำระค่าสมัครประมาณ $70 ต่อมหาวิทยาลัย

หลังจากนั้นเราต้องขอให้อ.สองคน ครูวิทย์หนึ่งคน ครูอังกฤษหนึ่งคน เขียน recommendation ให้เรา

ซึ่ง recommendation นี้ก็จะเป็นเหมือนการให้ครูรีวิวเรานั่นเอง ว่าอยู่ในคลาสเป็นคนยังไง

เมื่อขออาจารย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เข้ามากด assign อีเมลอาจารย์เป็นผู้เขียน recommendation
(บางมหาวิทยาลัยจะต้องให้มีครูแนะแนวส่ง recommendationไปอีกอันด้วย)

นอกจากนี้รร.จะต้องเข้าไปส่งเกรดเราให้เว็บไซต์ด้วยตัวโรงเรียนเองอีกด้วย (อาจจะต้องไปคุยกับครูแนะแนวให้ประสานกับฝ่ายทะเบียนให้)
 

หลังจากนั้นประมาณ 1 อาทิตย์ถึง 1 เดือน มหาวิทยาลัยก็จะติดต่อมาทางอีเมลเพื่อเซ็ตอัพ portal สำหรับติดตามผลและตรวจสอบเอกสารว่ามหาวิทยาลัยได้รับครบไหม

ประมาณกลางถึงปลายเดือนมีนาคมผลมหาวิทยาลัยก็จะออกมาจ้า

ผลมหาวิทยาลัยก็จะขึ้นกับทุกอย่างในใบสมัครเรา เรียกว่าระบบ hollistic review หรือการประเมินองค์รวม โดยปัจจัยหลักๆที่ใช้ในการประเมิน
1. เกรดกับคอร์สที่เทค ดูว่าเราจะเข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยเขาไหวหรือเปล่า
2. คะแนนสอบต่างๆ
3. Recommendation Letter
4. ลิสต์กิจกรรม ดูการใช้เวลานอกห้องเรียนของเรา
5. Personal Essay ดูว่าเราเป็นคนยังไง

 

 

นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยดีๆอีกหลายมหาวิทยาลัยที่ไม่ร่วมระบบ Common Application เช่น Massachusett Institute of Technology, University of California -ปัสต่างๆ เช่น เบิร์คลี่และUCLA, University of Washington, University of Illinois Urbana-Champaign เป็นต้นจ้า

สำหรับมหาวิทยาลัยพวกนี้ถ้าอยากสมัครก็สามารถเข้าไปสมัครได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเลย หน้าตาจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่เนื้อหาที่กรอกก็เหมือนๆกันครับ (ระวังว่าบางมหาวิทยาลัยเดดไลน์ปลายเดือนพฤศจิกายนนะ เร็วกว่าส่วนใหญ่ของคอมมอนแอป)

แค่นี้เราก็สามารถเรียนต่อเมืองนอกด้วยตัวเองได้แล้ว!ฆฤ

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น