Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

AFS โครงการแลกเปลี่ยนที่ให้มากกว่าโครงการแลกเปลี่ยน :3

ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดี น้องๆทุกคนนะ พี่ชื่อ ปิ้ก นะะ เป็นนักเรียนโครงการAFSรุ่น56 ไปประเทศอิตาลี่จ้า ทำไมถึงไปอิตาลี่อะหรอ เรื่องมันยาวน่ะ 55555 พี่เชื่อว่าน้องๆทุกคนก็อยากจะเป็นนักเรียนAFSมั่ง วันนี้พี่ก็จะมาแนะนำวิธีการเป็นเด็กโครงการตั้งแต่สมัครจนถึงเลือกประเทศ แต่นี่เป็นกระทู้แรกของพี่ พี่เลยไม่กล้าที่จะทำคนเดี่ยว กลัวข้อมูลไม่แน่น พี่ก็ได้พี่กำปั้นอิตาลี่อีกคนมาช่วยเขียน





AFS คืออะไรเอ่ยยย??enlightened


ถ้าพูดถึงโครงการแลกเปลี่ยน หลายๆคนก็จะนึกถึงโครงการ AFS แล้ว AFS คืออะไร? AFS คือ American Field Service เป็นโครงการ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของเยาวชน เริ่มต้นโดยประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งช่วงแรก จะเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยที่ อเมริกาเป็นจุดศูนย์กลาง แต่ปัจจุบัน เครือข่ายเริ่มกว้างขึ้น ทำให้เรามีตัวเลือกมากขึ้นว่าจะไปประเทศไหน ซึ่งมีทั้งยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ รวมไปถึงเอเชียด้วยนะ หลายๆคนอาจจะคิดว่า AFS จะเหมือนโครงการ Summer Camp ทั่วๆไปที่จะมีการเที่ยว,เรียน หรือทำกิจกรรมต่างๆร่วมด้วย แต่มันไม่ใช่ AFS คือโครงการที่จะส่งเราไปประเทศอุปถัมภ์โดยตัวคนเดียว ไปเพื่อเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ และถ่ายทอดวัฒนธรรมของประเทศไทยให้กับเพื่อนๆเราในประเทศอุปถัมภ์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยอะนะ



     สำหรับในบางคนที่คิดว่าไปแลกเปลี่ยนกลับมาก็ต้องมาซ้ำชั้น1ปี มันไม่เสียเวลาหรอ? ใช่ มันเสียเวลาไปเกือบ1ปีแต่ที่น้องๆเพื่อนๆทุกคนจะได้คือประสบการณ์ชีวิตที่หาที่ไหนก็ไม่ได้อีกแล้ว อีกอย่างเดี๋ยวนี้บางโรงเรียนก็เปิดโอกาสให้เอาคะแนนที่นู่นมาเทียบได้ก็จะทำให้ได้เกรดมาเหมือนกันหรือไม่ก็ตามงานเพื่อเก็บคะแนนเอาถ้าจะต้องการจบพร้อมเพื่อนๆที่ไทยแล้ว ซึ่งก็เอื้ออำนวยมาก เอาล่ะแล้วต้องทำยังไงมั่ง? ขั้นตอนการสมัครมีอะไร ไปดูกันนน!



ก่อนที่จะสมัคร น้องๆที่จะสมัครจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามนี้ก่อนถึงจะสมัครได้



คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ

-สัญชาติไทย

-ต้องเกิดระหว่าง 30 มิถุนายน 2543 ถึง 31 ธันวาคม 2545

-กำลังจะศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-4-5 หรือเทียบเท่า ในปีการศึกษา พ.ศ.2560 ต้องมีสถานภาพเป็นเยาวชน และกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในประเทศไทยที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะตั้งแต่สมัครเข้าร่วมโครงการจนกระทั่งเสร็จสิ้นการเข้าร่วมโครงการ

หมายเหตุ เยาวชนที่รับการศึกษาแบบนอกระบบ หรือการศึกษาตามอัธยาศัย และนักเรียน Home School ไม่สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้

-ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมเป็นนักเรียนในโครงการแลกเปลี่ยนในต่างประเทศมากกว่า 6 เดือน หากเคยพานักอยู่ในต่างประเทศ
ต้องกลับมาพานักในประเทศไทย และกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี

-เป็นผู้มีความประพฤติดี

-ต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรคประจาตัวทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่เป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคใดๆที่จะเป็นอุปสรรคในการเข้าร่วมโครงการ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ ไทรอยด์ เบาหวาน เป็นต้น รวมทั้งเป็นผู้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามข้อกาหนดในการเลือกประเทศอุปถัมภ์ ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งต้องได้รับการพิจารณาตัดสินเด็ดขาดโดยแพทย์ที่มูลนิธิมอบหมาย

-มีระดับผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) ภาคเรียนสุดท้าย ขณะสมัครเข้าร่วมโครงการ และก่อนการเดินทางไม่ต่ากว่า 2.30 และต้องไม่มีผล การเรียนติด 0,ร,มผ และมส

ข้อมูลจาก : www.afsthailand.org







การกรอกใบสมัคร


-เข้าตามลิงค์นี้ไปโลดด  http://www.afsthailand.org/study-abroad#Year Programs


หลังจากกรอกใบสมัครเสร็จ ให้น้องๆริ้นใบสมัครออกมา แปะรูปเราขนาด 1นิ้ว แล้วไปยื่นที่ศูนย์ประสานงานการรับสมัครและสอบคัดเลือกในเขตและจังหวัดที่โรงเรียนสังกัดอยู่น้าาา


สำหรับน้องๆ อัสสัมธนฯ สามารถยื่นใบสมัครได้ที่ ม.อลงกรณ์ แสงโชติ นะะ


การเตรียมตัวสอบข้อเขียน



สำหรับพี่

-ก่อนวันสอบ1วันที่ศูนย์สอบAFS ศึกษานารีได้มีการจัดติวให้โดยใช้ข้อสอบของปีที่แล้วมาติว ซึ่งมันก็มีตรงบ้างไม่ตรงบ้างและ แต่พี่แนะนำว่าก่อนสอบประมาณ2 สัปดาห์ควรไปหาหนังสือติวสอบAFSมานั่งทำสัก2เล่มก็จะเป็นผลดีต่อน้องๆเองน้ะจ้ะ และที่สำคัญการทำข้อสอบควรที่จะตั้งสติให้ดี แบ่งเวลาให้ถูกและเหมาะสม ข้อไหนทำไมได้ก็ข้ามไปก่อน พยายามทำข้อที่มั่นใจแล้วก่อนนะ

คำแนะนำจากพี่กำปั้นที่สอบคนละสนามสอบ

สวัสดีครับ วันนี้จะมาพูดถึงการเตรียมตัวของผมก่อนการสอบข้อเขียนนะครับ ผมสอบที่ กทม. เขตของโรงเรียนโยธินบูรณะ ก่อนการสอบผมบอกเลยว่าผมเตรียมตัวจริงๆแค่2วันก่อนวันสอบข้อเขียน ผมได้เพื่อนและคุณครูช่วยติวให้โดยการเอาข้อสอบของรุ่น 55 มาใช้ในการติว โดยการติวของผมนั้นจะเน้นหลักๆไปที่ ตอนนี่1 หรือ error อย่างเดียว! ซึ่งเอาตรงๆไหมผมก็ไม่รู้เรื่องมากหรอก แล้วที่เหลือเรื่องอื่นผมก็ลองทำจับเวลา และดูเฉลย ลองทำดูครับ เป็นอะไรที่ทำแล้วเพลิน แถมยังรู้ว่าความสามารถของเราเอาข้อสอบอยู่ไหมอีกด้วยครับ


หลังจากสอบเสร็จสัก2-3วันก็จะเป็นการประกาศผล ซึ่งหากผ่านการคัดเลือกก็จำเป็นต้องกรอกข้อมูลเพื่อสอบสัมภาษณ์และที่พีคที่สุดก้คือการเลือกประเทศ

การเลือกประเทศ

การเลือกประเทศนั้นให้เลือกตามความชอบเลย! แต่จะมีบางประเทศที่จำกัดอายุเช่น สวีเดน เยอรมัน แคนนาดา ที่จะต้องอายุ16ปีขึ้นไปหรือเกิดช่วงไหนท่านั้นถึงจะเลือกได้

การเดินทางของโครงการAFSมีช่วงคือ ภาคพื้นทวีปเหนือและใต้

ภาคพื้นทวีปเหนือ คือช่วงเดินทางประมาณระหว่าง สิงหาคม – ตุลาคม และจะกลับประมาณ พฤษภาคม-กรกฎาคม ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศแถบยุโรป

ภาคพื้นทวีปใต้ คือช่วงเดินทางระหว่าง มกราคม-มีนาคม จะกลับมาในช่วงตุลาคม-ธันวาคม โดยส่วนใหญ่จะเป็นประเทศแถบละตินอเมริกา

ตอนที่พี่สอบนะ พี่เลือกประเทศที่ดูแล้วน่าไปและดูดี พี่เลือก เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก และก็อุรุกวัย

ส่วนพี่กำปั้นที่ช่วยพี่เขียนกระทู้นี้ก๊เลือก เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และ ญป. ไป

การสอบสัมภาษณ์

ในการสอบสัมภาษณ์ เราจะแต่งตัวอย่างไรไปก็ได้ แต่.. อย่าโป๊ อย่าสั้นเกินไป ให้อยู่ในความสุภาพเรียบร้อยและเหมาะสมกับสถานที่

-โดยของพี่ปิ้ก การสอบสัมภาษณ์แบ่งเป็น2รอบคือเช้ากับบ่าย ซึ่งช่วงเช้านั้นจะเป็นการสอบสัมภาษณ์เดี่ยว ซึ่งจะเป็นการถามคำถามเกี่ยวกับตัวเองและเหตุผลที่เลือกประเทศนั้นๆ และการแก้ปัญหาหากมีปัญหากับโฮส โดยการสัมภาษณ์จะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด! ซึ่งคนที่รอสอบก็จะได้พูดคุยกับพี่รีเทินนีย์(สะกดงี้ป่าวไม่รู้ ขอโทษจ้า) โดยพี่เค้าจะเล่าประสบการณ์ชีวิตแลกเปลี่ยนที่ไปมาให้ฟังและก็คำแนะนำในการทำกิจกรรมช่วงบ่าย

ในช่วงบ่ายจะเป็นการทำกิจกรรมกลุ่ม ในช่วงนี้จะเป็นการดูศักยภาพของตัวน้องๆในการแก้ปัญหาต่างๆ เช่น หากมีปัญหากับโฮสยังงี้จะทำอย่างไร และก็จะมีการแสดงเล็กๆเพื่อนเป็นบททดสอบตัวเราเอง เราก็ควรที่จะแสดงให้เต็มที่เพื่อที่เค้าจะได้รู้ว่าเราเป็นคนที่กล้าแสดงออก



อันนี้ของพี่กำปั้น อิตาลี่56เหมือนกันน้ะจ้ะ

-การสอบสัมภาษณ์ของ AFS ! จะว่ายังไงดีหล่ะ จะสนุกมันก็สนุก แต่มันก็มีช่วงตึงเครียดเหมือนกัน

ช่วงสนุกไม่สปอยมากละกัน เอาเป็นว่า เขาจะมีพี่รีเทิร์นนี 1คน ต่อห้องสอบ1ห้อง (อันนี้คือรูปแบบของศูนย์โยธิน) ที่จะมาพาพวกเราทำกิจกรรม เต้น เฮฮา แนะนำให้ใส่ให้สุดๆ ไม่ต้องไปอาย นี่อยากจะบอกว่า คือเรียนชายล้วนมาเว้ย แล้วแบบเข้าใจอารมณ์แบบ อยู่จนเอียนเว้ย เจอ ผช ทุกวัน ใน รร ก็มีแต่ ผช แล้วแบบ พอไปเจอ ผญ มันจะเขิน แบบไม่กล้าสบตาด้วย อายมากๆ แล้วแบบภาวนาให้ในห้องสอบมี ผช มาด้วยสักคน2คนก็ยังดี แต่แล้ว! ฝันนั้นก็สลายไปในพริบตา เมื่อผู้หญิง 8คนเดินเขามา จับลูกบิดประตูเข้าห้องไป 55555 แต่ยังดีที่ได้สอบห้องเดียวกับคนในโรงเรียน แต่คือ น้องเค้าเป็น LADY BOY เว้ย น้ำตาจะไหลลล แล้วแบบน้องเค้าเข้ากับคนอื่นได้ดีมาก กลับมาดูที่กู แค่คุยยังไม่กล้า แต่ตอนทำกิจกรรมก็พยายามใส่ให้แรงๆแบบไม่น่าเกลียดนะ แต่ก็ทำให้ได้เพื่อน ผญ ในรอบ 5ปีมาตั้ง 8คน55555 ภูมิใจไปอีก เอากลับมาๆ นอกเรื่องไปเยอะละ ช่วงสนุกไว้ไปรอเจอกันเอง มาฟังช่วงตึงเครียดกันดีกว่า ก็คือ การสอบสัมภาษณ์มันจะแบ่งเป็นช่วงเช้ากับบ่าย เช้าก็อย่างที่บอก กิจกรรม เฮฮา บันเทิง ทำตัวให้เฟรนลี่เข้าไว้ ยิ้มเยอะๆ ส่วนช่วงบ่ายจะเป็นสอบสัมภาษณ์รายบุคคล โดยจะมีกรรมการนั่งเรียงหน้ากันอยู่ในห้อง 3 คน แล้วจะเรียกเราเข้าไปตามรายชื่อทีละคนๆ แล้วแบบคนเข้าไปแรกๆออกมาก็มาเล่าแบบถามยาก ถามโหด ตอบไม่ได้เลย ก็คิดในใจละ ชห.กูจะรอดไหม ไอเราก็รอไปๆ จนมาถึงรอบที่เราเข้าไป พอเข้าไปก็ขออนุญาตนั่งลง แต่ถ้าเขาเชิญนั่งก็นั่งได้เลย ควรขอนะคับ เขาจะดูความมีมารยาทของเราด้วยอันนี้ได้ยินมาจาก ครูที่เป็นกรรมการคุมสอบ อันดับแรกเลยเขาจะให้เราแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษ ก็ร่ายยาวๆไป อย่าเกร็ง พูดให้เข้าใจพอ สื่อสารรู้เรื่อง แกรมม่าไม่ต้องเน้นมาก ต่อมากเขาก็จะถามเกี่ยวกับปท.ที่เราเลือกไว้อันดับ1 ก็ตอบไปตามความจริง

นี่เลือกอันดับ1 เนเธอร์แลนด์เว้ย เหตุผลตอนนั้นคิดไม่ออก เลยแถๆเกี่ยวกับอยากไปดูภูมิประเทศบ้านเค้าว่าเป็นยังไง ศึกษาหาข้อมูลว่า ประเทศเขาเป็นประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล จากนั้นมีคำถามนึง เขาถามว่า "ถ้าน้ำท่วมที่นู่นจะทำไง" นี่ก็แบบว่าอึ้งค้างนานไปหลายวิอยู่  คิดไม่ออกเลยตอบๆแบบไปว่า ติดต่อโฮส ก็โดนตอกกลับมาว่าเขาก็จมอยู่กับเธอจะช่วยอะไรได้ จะตอบพ่อแม่ก็บอกว่าอยู่คนละประเทศ อยู่ไกลกัน สรุปแล้วนะถ้าเจอคำถามแนวๆนี้ให้ตอบว่า ติดต่อกงสุลของไทยที่อยู่ที่ปท.แลกเปลี่ยน (จำไปจนตาย5555) แล้วต่อมาก็จะเป็นช่วงแสดงความสามารถพิเศษนี่ก็เอาอูคูเลเล่ไปดีดเพลงพระราชนิพนธ์ ใกล้รุ่งเว้ย เขาชอบกันมาก แล้วพอดีในใบเขียนว่าเล่นกลเป็นด้วน เขาเลยรีเควสมาเลยว่าอยากดูกล ไอเราก็กะไว้แล้วเลยเอาไพ่มาด้วย ก็โชว์ไปเขาก็งงกันใหญ่ อึ้งดิๆ555555

แล้วก็จบการสอบสัมภาษณ์ไปด้วยดี

หลังจากสอบสัมภาษณ์ 3-4 วันก็จะเป็นวันประกาศผล ใครที่ได้เป็นตัวจริงก็ดีไป ส่วนใครที่เป็นสำรองก็ไม่ต้องเสียใจเพราะพี่เป็นสำรองอันดับ135ของ สนามสอบศึกษานารีแต่พี่ก็ได้ไปนะขอบอก ส่วนพี่กำปั้นก็ได้สำรองอันดับ34 ตอนนั้นก็ทำใจไว้ละว่ายังไงก็ไม่ได้ไป แต่ก็ได้ไปเฉย




**ฝากไว้ใครคิดว่าได้อันดับสูงๆแล้วจะไม่ได้ไป คิดใหม่เลยนะ อันดับ100ยังเรียกไปถึงกันเลย555**

การปฐมนิเทศ


น้องๆคนไหนที่ได้โควตาตัวจริงแล้วต้องการเข้าร่วมโครงการ ต้องไปเข้าร่วมปฐมนิเทศทุกคนน้ะจ้ะ รวมถึงน้องๆคนที่ได้สำรองด้วยหากไม่ไปปฐมนิเทศก็จะไม่มีสิทธิ์ที่จะได้เลื่อนสถานภาพเพราะว่าในการไปปฐมนิเทศนั้นเขาจะมีใบเลือกประเทศใหม่ซึ่งสำคัญในเลื่อนสถานภาพมาก หากไม่ส่งก็จะหมดสิทธิ์ โดยมีทั้งภาคพื้นทวีปเหนือภาคพื้นทวีปใต้ สามารถเลือกได้ภาคพื้นละ5อันดับ ซึ่งการเลือกครั้งนี้มีผลอย่างมากเพราะว่าเราจะเลือกประเทศอื่นเพิ่มไม่ได้แล้ว การเลือกประเทศควรเลือกตามที่น้องๆต้องการจะไปตามลำดับเลย อย่าเลือกตามเพื่อน! อันนี้สำคัญ สมมติว่าน้องๆอยากไปเยอรมัน แต่น้องไปเลือกฮังการีตามเพื่อนซึ่งไม่ได้อยากไป พอAFSส่งโควตามาให้แล้วได้ฮังการีแต่น้องไม่อยากไป น้องก็จะเสียสิทธิ์ที่จะรอโควตาประเทศอื่นไปเลย



โดยการส่งโควตาจะส่งมาทางไปรษณีย์ และแบ่งเป็น3รอบได้แก่

1.รอบเขต โดยจะเรียงตามอันดับจากการสอบสัมภาษณ์ จะมีโควต้ามาเรื่อยๆหลังจากปฐมนิเทศเพราะว่าอาจจะจะมีคนสละสิทธิ์

2.รอบภูมิภาค พี่จำไม่ค่อยได้ แต่รู้สึกจะจัดอันดับตามคะแนนข้อเขียน จะมาช่วง กันยายน-ตุลา

3.รอบประเทศ เป็นรอบสุดท้ายแล้ว ซึ่งอาจจะได้โควตาเพิ่มจากประเทศอุปถัมภ์ จะมาช่วงประมาณเดือน พฤษจิกายน-มีนาคม



ในช่วงกลางเดือนของทุกเดือน AFSก็จะส่งโควตาเพิ่มเติมมาให้ ซึ่งอาจจะไม่มีประเทศที่เราอยากไป หรือถ้ามีประเทศที่เราอยากไปหลุดมาก็ควรที่ติดต่อเขาโดยเร่งด่วนที่สุด! เพราะว่าอาจจะมีมาแค่1-2 โควตา


การเตรียมเอกสารนานาชาติ

อันนี้ก็เป็นปัญหาระดับชาติของทุกคนเลยย ซึ่งพี่ก็อธิบายได้ไม่หมดหรอก ให้เปิดคู่มือดูเอา มันช่วยเราได้เยอะมากก ซึ่งคนที่ได้โควต้าสำรองนั้น แนะนำเลยว่าให้รีบทำเลยเพราะว่ามันเยอะมาก จะทำตอนที่ได้โควต้ามันก็ไม่ดีเพราะว่าเวลามันน้อยมากก แล้วแถมAFS บอกมาว่าใครที่ทำเอกสารเสร็จก่อนนั้น อาจจะมีโอกาสได้โควต้าก่อนคนอื่นนน ดีงามพระราม8มากก 5555 ซึ่งพี่ก็แนะนำเลยว่าอันไหนที่ทำได้ไม่ลำบากมากนักก็ให้ๆทำไปก่อนเลย จะได้ไม่เสียเวลามากกกเพราะว่าเราต้องมีการไปตรวจร่างกาย หรือทำอะไรนู่นนี่อีกเยอะแยะมากก


ค่ายเตรียมความพร้อมม

สุดท้ายนี้เมื่อน้องๆได้โควตาแล้ว จะมีการจัด-ป์เพื่อเตรียมความพร้อม ซึ่งถ้าเป็นภาคพื้นทวีปใต้จะมีอยู่ค่ายเดียว แต่ภาคพื้นทวีปเหนือจะมี 4 ค่ายได้แก่


1. USA ซึ่งจะเป็นค่ายเฉพาะของอเมริกา ใช่สิ้ AFS เป็นของเมกา เขาก็ต้องเน้นเมกาเป็นหลักอยู่ละ


2. EU1 จะเป็นค่ายของยุโรปสะส่วนใหญ่เช่น ฝรั่งเศษ ฮังการี เดนมาร์ก เป็นต้น แล้วก็จะมีประเทศในแถบอเมริกาเหนือมาเหมือนกัน

3. EU2 เป็นค่ายของยุโรปตะวันตกสะส่วนใหญ่ มียุโรปตะวันออก หลงมานิดๆ อย่างพวกตุรกี ออสเตรีย อะไรงี้และก็มีแถบละตินอเมริกา

4. CHN เป็นค่ายของประเทศจีน และ จีนหอพัก และจะเป็นค่ายเก็บตกสำหรับคนที่ไปค่ายต่างๆไม่ได้ก็จะมาอยู่ค่ายนี้รวมถึงคนที่ได้โควต้าช้าๆอย่างเพื่อนพี่ได้โควต้าเนเธอร์แลนด์ก่อนค่าย EU1 ไป 1 วัน เพื่อนพี่ก็เลยมาค่ายนี้แทนซึ่งกิจกรรมก็ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก

ซึ่งค่ายพวกนี้จะมีพี่ๆรีเทิร์นนีย์ผู้แสนน่ารักทุกคนมาเป็นคนดูแลค่ายและก็จะครูของAFSมาอธิบายประโยชน์ของกิจกรรมต่างๆ และที่สำคัญ! นี่อาจจะเป็นค่ายที่พีคที่สุดของน้องๆเลยก็ได้่เพราะว้าความสนุกที่พี่ๆรีเทิร์นนีย์มีให้นั้นมันล้นมากกกก! 



สำหรับพี่ พี่ว่าAFSไม่ใช่แค่โครงการแลกเปลี่ยน แต่เป็นครอบครัวอีกครอบครัวนึงของพี่เลย เพราะว่าหากเรามีปัญหาอะไร เพื่อนๆพี่ๆ ทุกคนพร้อมให้คำปรึกษาเสมอ

พี่ขอฝาก ครอบครัวAFS ไว้ในดวงใจทุกๆคนด้วยน้า


สำหรับคนที่อยากติดต่อพี่ๆ

FB : Parit Chaisujyakorn (พี่ปิ้ก)
       Kampan Nk (พี่กำปั้น)


ปล. แทรกรูปไม่เป็นฮือออsad

ปล. กระทู้แรกติชมได้จ้าา

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

นักส่องแสงยามเย็น 19 พ.ค. 60 เวลา 07:28 น. 2

ขอเพิ่มเติมหน่อย เราก็สอบสัมภาษที่โยธินเหมือนกัน เราจำได้ว่าเขาให้ใส่ชุดพละของโรงเรียนตัวเองไปสัมภาษนะ ไม่ใช่ชุดไรก็ได้... ละก็ห้องเรามีคนสัมภาษณ์3คน คือ ครูคนไทยที่โยธิน1คน และพี่รีเทินนี2คน แล้วตอนสัมภาษณ์เรา เขาถามเป็นภาษาไทยเกือบหมดเลยนะ55555555 อยู่ที่ดวงเลยจ้าว่าจะเจอคนสัมภาษณแบบไหน 

เรื่องเอกสาร แนะนำว่าให้รีบทำแต่เนิ่นๆ เพราะมันเยอะเกินบรรยาย หนักสุดก็น่าจะเป็น เขียนจดหมายถึงโฮส2ฉบับ(ของเรากับของพ่อแม่อย่างละฉบับ) เป็นภาษาอังกฤษ!ยาวอย่างน้อย2หน้าA4 ขนาดfont ~12มั้ง ถ้าจำไม่ผิด555

ค่ายหนุกมากกกกกกกกก พยายามทำความรู้จักเพื่อนๆไว้เยอะๆนะ


สุดท้ายอยากบอกว่า มันเป็นโอกาสเดียวในชีวิต ม.ปลายนะ ถ้าน้องมีความฝันอยากเป็น นร.แลกเปลี่ยนจริงๆ อยากได้ประสบการณ์ใหม่ๆเอาไป-ับเพื่อนได้ อย่าลังเล สมัครเบยยยยย


มีไรก็ถามเราได้นาาาาา

#afs56 #ไม่บอกหรอกไปว่าไปประเทศไหน555555


1
Kampan 20 พ.ค. 60 เวลา 08:53 น. 2-1

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมะครับ

0
PANXER 19 พ.ค. 60 เวลา 15:55 น. 3-1

ฮัลโหลลล มาอีกคน ใครว่ะเนี่ย 55555 ใช้เป็น Guest ด้วยนะ

0
Maybe2580 19 พ.ค. 60 เวลา 14:56 น. 4

ขอถามได้ไหมคะ ว่าเราสามารถซื้อหลังสือเตรียมสอบ afs ได้ที่ไหนอะคะ คือพอดีหาแล้วไม่เจอเลยอะค่ะ

1
PANXER 19 พ.ค. 60 เวลา 15:54 น. 4-1

ถ้าเป็นข้อสอบรุ่นก่อน จะมีขายที่สำนักงานใหญ่ของ AFS นะคับ แต่ถ้าในโรงเรียนมีครูที่เป็นครูมาจาก afs บอกครูเขาได้เลย เขาหามาให้ได้คับ

0
ปิ้กเอง 20 พ.ค. 60 เวลา 00:37 น. 5-1

ขอบคุณคับ พอดีภูมิศาสตร์ไม่แม่นละก้ขี้เกียจรีเสิชด้วยย

0
Atae 21 พ.ค. 60 เวลา 21:10 น. 7

สอบถามเรื่องคุณสมบัติค่ะ

ปีนี้ขึ้น ม.3 แต่วันเกิด หลัง 31 ธค. 2545 , สมัครได้มัยค่ะ

1
PANXER 22 พ.ค. 60 เวลา 09:22 น. 7-1

น่าจะติดปัญหาตรงอายุอ่ะคับ เพราะเกิดหลัง 2545 งั้นผมแนะนำว่าให้เป็นปีหน้าดีกว่าเพราะ อายุมีผลต่อการเลือกประเทศด้วย ประเทศบางประเทศมีขอบเขตของอายุคับ ว่าต้องอายุถึงเท่านี้ถึงจะไปได้

0
PANXER 22 พ.ค. 60 เวลา 22:05 น. 8-1

ขอบริจาค ซัลซิลสีเขียว สักขวดได้ไหมคับ

0