Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คนรุ่นใหม่ทำไมถึงอยากเรียน/เป็นแพทย์ ??

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อยากสำรวจความคิดเห็นเพื่อนๆพี่ๆน้องๆหน่อยค่ะ อย่างที่หลายคนน่าจะทราบกันดีช่ว่งนี้มีประเด็นดราม่าเรื่องการประกอบอาชีพแพทย์ออกสู่สื่อโซเชี่ยลมากมาย ซึ่งข้อเสียต่างๆที่แจกแจงมาส่วนตัวเราคิดว่าก็หนักหนาเอาการเหมือนกัน 

-จะมีใครชอบโดนปลุกกลางคันระหว่างนอนหลับ คือเรานอนน้อยได้นะแต่ให้โดนปลุกถี่ๆนี่ทำใจยากจริงๆ
-จะมีใครชอบโดนกระแสสังคมกดดันตลอดเวลา มีคำว่าจริยธรรมค้ำคออยู่ กระดิกนู่นนิดนี่หน่อยเป็นอันมาม่า ทั้งที่บางทีสิ่งที่เราทำมันก็ไม่ผิด หมอก็เป็นคนๆนึงเหมือนกัน
-จะมีใครอยากประกอบอาชีพที่เสี่ยงถูกฟ้องร้องตลอดเวลา คนสมัยใหม่กล้าคิดกล้าทำ ไม่ค่อยยอมๆหยวนๆกันเหมือนแต่ก่อนแล้ว
-จะมีใครอยากเรียนหนักจนไม่ได้กลับบ้าน เรียนวนไปอยู่อย่างนั้น จบแล้วก็ต้องต่อเฉพาะทางไปเรื่อยๆ(แน่นอนเค้าไม่ได้อ้าแขนรอรับพวกเราหรอก แข่งขันกันไม่น้อยไปกว่าตอนสอบเข้า) หนทางแสนยาวไกลไม่เห็นปลายทาง เราคิดถึงที่บ้านมาก ที่บ้านก็คิดถึงเราไม่แพ้กัน เมื่อไรความสำเร็จของเราจะประจักษ์โชดช่วงซะที เมื่อไหร่จะได้ดูแลได้อยู่กับคนที่เรารักได้อย่างเต็มที่เต็มเวลา กว่าจะตั้งตัวอยู่ตัวได้รู้ตัวอีกทีตีนกาถุงใต้ตามาเยือนถาวรแล้ว 
-ทุกข์กายจากภาระหน้าที่แล้วยังต้องมาเผชิญความทุกข์ใจอีก ทั้งสถานที่ทำงาน เพื่อนร่วมงาน คนไข้ ญาติคนไข้ ระบบสาธารณะสุขไทย ระบบเส้นสาย การแข่งขัน การเอารัดเอาเปรียบต่างๆมากมายที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ 
-ในรพ.รัฐปัญหาทั้งหมดรับไปเต็มๆ จะหนีไปคลินิกความงามหรือรพ.เอกชนก็หนีเสือปะจรเข้ รายรับมากขึ้นการอยู่เวรลดลง แต่ความมั่นคงหล่นฮวบ ความเป็นพานิชย์ต่างๆมากมายให้ต้องปรับตัว


ลองอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้จากlinkบางส่วนนะคะ 

https://www.facebook.com/JarvisChaisiriLancelotWipat1412/posts/727087227498375

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1535219389849682&set=a.343773375660962.78322.100000849076650&type=3&theater

https://www.hfocus.org/content/2017/07/14227

https://www.facebook.com/495293923990186/photos/a.496712713848307.1073741829.495293923990186/705051226347787/?type=3&theater

นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของเบื้องหลังbehind the sceneที่เด็กๆอย่างเราน้อยคนจะได้สัมผัส ตอนเรียน6ปีหนักแค่ไหนจำเยอะแค่ไหนเราสู้ตาย แต่จบออกไปทำงานของช่วงอายุที่เหลือนี่สิ บอกสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น แต่พอเห็นจริงๆก็กลับลำไม่ทันแล้ว งานเบื้องหน้าที่เราเห็นแน่นอนมันสวยหรู นั่งตรวจopdวินิจฉัยโรค ได้จ่ายยา ได้ทำหัตถการผ่าตัด ได้รักษาคน ได้เดินราวน์วอร์ด เป็นอาชีพมีเกียรติ เป็นที่รู้จักเป็นที่นับหน้าถือตา เป็นที่ภาคภูมิใจ เราก็ยอมรับค่ะว่าแพทย์เป็นอาชีพที่ดีและสมเหตุสมผลที่จะเป็นคณะอันดับ1มาอย่างยาวนาน เป็นความใฝ่ฝันของหลายๆคน แต่หากได้ลองชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียดูแล้ว มันคุ้มกันหรือไม่ ทำไมคะแนนกสพท.ถึงยังสูงขึ้นเรื่อยๆ demandยังคงล้นsupplyต่อเนื่อง อยากฟังความเห็นของทุกคนค่ะ  เอาแบบจริงๆนะแลกเปลี่ยนความเห็นกัน แบบมาเป็นสคริปไว้ตอบอาจาย์ตอนสัมภาษณ์ ตอบประกวดนางงามขอข้ามไปก่อนเน้อ555

ปล.ไปอ่านในคอมเม้นจากลิ้งค์ที่แปะไว้ให้เออก็แอบสงสัยเหมือนกันเนอะว่าทำไมพี่หมอบอกไม่ดีอย่างนู่นอย่างนี้ แต่สุดท้ายมีลูกกี่คนก็ส่งเสริมสนับสนุนเรียนแพทย์กันทั้งนั้น ไม่ติดม.รัฐส่งม.เอกชนกันไม่น้อย
 

แสดงความคิดเห็น

30 ความคิดเห็น

คิดว่า 16 ก.ค. 60 เวลา 10:04 น. 1

ทุกอาชีพ ก็จะมีความยากต่างกันไป คิดว่าคงไม่มีอาชีพไหนหรอกที่จะสมบูรณ์แบบทุกอย่าง

0
คิดว่าเหมือนกัน 16 ก.ค. 60 เวลา 10:32 น. 2

ก็นานาจิตตัง ต้องเข้าใจก่อนเลยว่า คนที่จะสามารถสอบเข้าเรียนหมอได้เป็นเด็กเก่งพอตัว ส่วนพวกเก่งกำมะลอ ต้องมโนเอาเองว่าอยากเป็นหมอ คนที่สอบเข้าได้เขามีข้อมูลอยู่แล้ว จากแหล่งสืบค้นต่างๆที่เป็นจริง ว่าหมอเรียนยาก เรียนหนักและนาน 6ปีแล้วเพิ่มพูนทักษะ1-3ปี (+ต่อเฉพาะทาง3ปี+ต่อยอดอีก2 ถ้าได้เรียนต่อและจบตามเวลา) ปัญหาต่างๆอาจเกิดได้ตลอด แต่ทุกอย่างมีที่มาที่ไปและแก้ไขได้ สอบเข้าเรียนได้แล้ว เรื่องอดหลับอดนอน อยู่เวรลงวอร์ด เป็นเรื่องปกติ จบไปตั้งใจทำงาน ปฏิบัติตามขั้นตอนในการรักษา ตั้งใจฝีกเพิ่มพูนทักษะให้เก่ง ไม่มีหมอที่ไหนเขาคิดว่าน่ากลัวอะไรเลย ตรงข้ามคิดว่าดีใจที่ได้ช่วยรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคได้ ที่มากลัวแทนแท้จริงคือคนที่ไม่มีโอกาสได้เรียน

ที่สำคัญเวลานี้ หมอเมืองไทยยังขาดแคลนอีกมาก ได้คนเก่งมาเรียนหมอเยอะๆยิ่งดีมากกว่า.....

3
Lookdeeper 16 ก.ค. 60 เวลา 14:27 น. 2-1

อันนี้ขอเถียงนะว่าไม่ใช่ทุกคนที่มีความสุขกับการทำงานในลักษณะนี้ ก่อนเข้ามาศึกษาดีแค่ไหนก็ไม่รู้ความจริงหรอกค่ะถ้าไม่ได้ประสบกับตัวเอง คนที่กลัวและหลีกเลี่ยงไหวตัวทันก่อนอาจจะมีปัญญาสอบได้ก็ได้แค่เลือกที่จะไม่เรียน

0
เด็กหลังห้อง 17 ก.ค. 60 เวลา 18:21 น. 2-2

ก็แหงเธอ ปี61รู้คะแนนก่อน เลือกในรอบ3 คนที่รู้ว่าคะแนนรวมนิดเดียว60ต้นๆ คงหลีกเลี่ยงไหวตัวทัน ไม่ใช่เลือกที่จะไม่เรียน แตปัญญาไม่ถึงจึงไม่เลือกมากกว่า อีกอย่างยังไม่มีสิทธิเข้าไปเรียนได้เลย จะประสบกับตัวเองได้ไง ต้องหาข้อมูลจากแหล่งข่าวทั้งนั้นแหละ

0
Hello??! 18 ก.ค. 60 เวลา 04:45 น. 2-3

#2-2 ใจเย็นๆตั้งสติ อ่านใหม่ดีๆนะเค้าบอกว่าคนไหวตัวทันอาจจะมีปัญญาสอบได้ก็ได้ แต่เลือกไม่เรียน มีเยอะแยะ ที่เห็นชัดๆเป็นข่าวดังอย่างเมื่อปีก่อนที่คะแนนท็อปแอดมิชชั่น ที่1คณะนิเทศจุฬาก็มาจากสายวิทย์ คณะคณิตประกันภัยจุฬา เศรษฐศาสตร์ แม้กระทั่งทันตะ ก็มีปัญญาสอบติดแพทย์ได้สบาย นี่ยังไม่นับตัวท็อปๆของคนอื่นคณะอื่นอีก แค่ไม่ได้ออกสื่อแค่นั้น

ที่บอกว่ายังไม่เข้าไปเรียนจะรู้ได้ไง มาจากแหล่งข่าวทั้งนั้น ได้อ่าน#2-1ป่ะก็บอกอยู่ว่าหาแหล่งข่าววงนอกวงในขนาดไหนก็ไม่มีทางรู้เท่ากับเป็นเอง เค้าถึงมานั่งวิเคราะห์กันไงว่าทำไมเด็กๆถึงยังกล้าเสี่ยงเลือกมาเรียนกันอยู่ เข้ามาเม้นแบบเด๋อด๋ามาก ย้อนแย้งสุดไรสุด

0
กัลย์ 16 ก.ค. 60 เวลา 10:36 น. 3

ความเห็นส่วนตัว

-ถ้าไม่ได้อยู่เวร จะไม่ถูกปลุกหรอก เว้นแต่อยู่เวร แล้วหลับเวร ก็ต้องถูกปลุกมาปฏิบัติหน้าที่แน่นอน เพราะอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

-ทำงานราชการ เช่น อัยการ ผู้พิพากษา หรือตำแหน่งราชการอื่นๆ ก็ต้องมีกรอบจริยธรรมกำหนดไว้อยู่แล้ว ถ้าไม่ทำเลว ก็จะไม่มีปัญหาอะไร ถ้าทำดี มีแต่คนยกย่อง แต่ถ้าทำเลว แล้วกระทบถึงคนอื่นๆ ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เสียหาย เช่น อัยการมีอำนาจเหนือตำรวจจนเคยตัว สั่งให้ตำรวจไปส่งร้านลาบ ตำรวจไม่ยอมไปส่ง ก็จะไปเอาเรื่องตำรวจ อย่างนี้ก็สมควรโดนกระแสสังคมกดดัน เพราะทำตัวเลว ผู้พิพากษาอย่าไปทำเรื่องดังออกสื่อ ก็ไม่มีปัญหาอะไร ทุกวงการมีคนดี คนเลวทั้งนั้น ถ้าไม่มีกรอบจริยธรรมกำหนดไว้ จะยิ่งไปกันใหญ่

-ทุกอาชีพมีความเสี่ยงถูกฟ้องร้องทั้งนั้น ถ้าทำดีแล้ว ตั้งใจทำเต็มที่แล้ว ทุกคนจะเห็นใจ ไม่เอาเรื่อง ยกเว้นทำงานบกพร่อง วิเคราะห์ผิดพลาดอยู่เสมอ ลืมอะไรในท้องคนไข้ ไม่มีความรับผิดชอบหน้าที่ คนสมัยใหม่ฉลาดขึ้นกว่าแต่ก่อน ย่อมถูกฟ้องร้องแน่นอน ลองคิดดู ถ้าพ่อแม่เราเป็นคนไข้ แล้วถูกระทำแบบนี้ จะยอมหรือไม่

-ถ้าเราไม่หวังความก้าวหน้าในชีวิต ไม่หวังเงินเดือนสูงๆกว่าเดิม ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนเฉพาะทางก็ได้ จบแพทย์ปี 6 ออกไปทำงานต่างจังหวัด หรือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็มีเงินเหลือเฟือแล้ว

คนส่วนมากไม่กลัวต้องเรียนแพทย์หนักหรอก แต่กลัวตกงานมากกว่า ถ้าเรียนคณะอื่น จบมาแล้ว จะมีงานทำหรือไม่ ยังไม่รู้ แต่เรียนหมอ รู้ตั้งแต่ จบ ม.6 แล้วว่า ถ้าจบแพทย์ออกมา มีงานทำแน่นอน เพราะทำสัญญาไว้แล้ว ขอยกตัวอย่างเรียนนิติศาสตร์จบมาแล้ว ยังไม่รู้จะเป็นอะไร ส่วนมากตกงาน ถ้าไม่จบเกียรตินิยม หรือจบเนติบัณฑิต ไม่อยู่ในลำดับที่ 1-500 จะสอบติดผู้พิพากษา อัยการหรือไม่ ยังไม่รู้ คนส่วนมากจบปริญญาตรีนิติศาสตร์แล้ว 5 ปี ยังสอบไม่ติดผู้พิพากษา อัยการเยอะแยะไป ไม่มีงานทำ ต้องไปขายเต้าฮวย

-ถ้าเรียนจบ ออกไปทำงานแล้ว ทุกคนก็จะเจอปัญหากันทั้งนั้น ทั้งเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง คนติตต่องาน การแข่งขัน การชิงดีชิงเด่น มีทั้งนั้น มันอยู่ที่มนุษยสัมพันธ์ของเรา การเข้ากับคน ถ้าเป็นคนที่ไม่มีปัญหาอะไรมาก ไม่เอาแต่ใจตัวเอง ก็สามารถผ่านปัญหาทุกอย่างไปได้อย่างสบายๆแน่นอน วิชานี้สอนกันไม่ได้ อยู่การปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆของแต่ละครอบครัว สังเกตุได้ คนที่มีปัญหา ไปทำงานที่ไหน ก็มีแต่จะสร้างปัญหา

-คนที่หนีไปคลินิกความงาม หรือรพ.เอกชน อาจจะเพราะหวังรายได้สูงๆ งานสบายๆ อยู่ในเมือง ไม่ได้ดูผลในระยะยาวๆ มีประสบการณ์น้อย ไม่ได้หวังประสบการณ์ในโรงพยาบาลรัฐ ไม่ยอมลำบาก อนาคตจะดีได้อย่างไร คนทำงานมากกว่า เหนื่อยมากกว่า มีเคสให้ปฏิบัติมากกว่า ย่อมเก่งกว่า และจะประสบความสำเร็จมากกว่าแน่นอน บางคนทำงานใช้ทุนในโรงพยาบาลต่างจังหวัด งานมากจนไม่มีเวลาโทรศัพท์กลับบ้าน ไม่รับโทรศัพท์บ้าน อาจจะกลับบ้านกรุงเทพฯปีละหน ก็ต้องเก่งกว่าคนที่อยู่สบายๆ ทำงานสบายๆแน่นอน


สรุป มีงานทำ ดีกว่าตกงาน(ไม่มีงานทำ)

ใช้เงินบ้านเรียนปริญญาโท ปริญญาเอกต่อไปเรื่อยๆ(ไม่ยอมทำงาน)


2
สุดยอด 18 ก.ค. 60 เวลา 00:09 น. 3-2

ชอบอ่ะ อ่านแล้วแบบบบ มันความจริง โป๊กๆๆๆ เลย ชอบความคิดคิด(ความจริง) นี้มากครับ

0
คิดว่า 16 ก.ค. 60 เวลา 12:35 น. 4

คนไทยส่วนใหญ่ก็คนฐานะปานกลางและผู้มีรายได้น้อยเป็นธรรมดาที่อยากเรียนในด้านที่มีงานทำแน่นอน รายได้ดี มั่นคงกับชีวิตกันทั้งนั้น แต่คนฐานะดีอยู่แล้วก็จะเลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบเป็นหลัก

3
แป้ง 16 ก.ค. 60 เวลา 17:31 น. 4-1

อันนี้เราเถึยงนะ เพราะเราเห็นข้างบ้านเรา เขาเ็นหมอฐานะดีมากๆ ก็เพราะทำงานเป็นหมอเนี่ยแหละ

แกมีลูก3คน คนโตเพิ่งจบหมอไปใช้ทุนอยู่ปี1(ขับรถอย่างหรู) คนที2กำลังเรียนหมอจุฬาปี6 คนท้ายสุดอยู่เตรียมห้องคิง คุณป้าหมอ แกบอก ก็คงให้เรียนหมอ เหมือนเดิม คนที่เขาอาบนํ้าร้อนมาก่อนเขามองโลกตามจริงมากกว่า มองโลกสวย เรียนหมออาจหนักและเหนื่อยตอนแรก แต่พอยืนระยะได้ไม่นาน ยังไงก็สบายเอง แม้อาจไม่รวยมากมายอะไรแต่ก็ไม่จนแน่นอน

ความเห็นของคุณอากัลย์ น่่าจะเป็นจริงมากที่สุด ในสังคมปัจจุบัน คือมีงานทำ ดีกว่าตกงาน

0
#4#4 16 ก.ค. 60 เวลา 18:15 น. 4-2

#4-1 กลับไปวิเคราะห์ดีๆ

................คนฐานะดีอยู่แล้วก็จะเลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบเป็นหลัก...............

คนฐานะดีอยู่แล้วเขาก็อาจอยากเป็นหมอก็ได้ครับ

0
IMO. 16 ก.ค. 60 เวลา 14:42 น. 6

นั่นสิผมก็รู้สึกแบบนั้น คือเหตุผลหลักๆเลยน่าจะมาจากครอบครัว หลายคนก็อยากตอบแทนพ่อแม่ที่ส่งเสียรับส่งไปเรียนนู่นนี่ ก็อยากเอนท์แพทย์ให้ติด เป็นหน้าเป็นตาเป็นความภาคภูมิใจ ไปไหนคนเฒ่าคนแก่ก็ชื่นชม เหตุผลต่อมาคือเรียนเก่งมากแต่ใจไม่ถึงพอที่จะเจาะจงลงลึกไปในสาขาวิชาที่ตัวเองเก่ง เช่นคณะวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ (อาจเพราะสังคมไทยไม่เอื้อด้วย) ไม่รู้จะเรียนอะไรก็ลงเอยที่แพทย์ อีกเหตุผลคือสื่อต่างๆซีรี่ย์ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ลักษณะการทำงานที่เห็นแต่เบื้องหน้าอย่างที่จขกท.พูด มันดูสวยหรู หลายคนจึงเป็นภาพติดตา ไหนจะความมั่นคง การทำงานที่ไม่จำเจแต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากจนคาดเดาไม่ได้


จริงๆอีกอาชีพที่คิดว่าดีคือทันตแพทย์ เรื่องรายได้ไม่ต้องพูดถึง เวลาว่าง ความเบาของการทำงาน ประเด็นต่างๆที่แจกแจงมาแทบจะไม่มี รับสมัครปีนึงก็น้อยไม่น่าจะตกงาน แต่สงสัยว่าทำไมคะแนนแพทย์ก็ยังนำอยู่เรื่อยๆ ถ้าย้อนเวลากลับไปจะเลือกเรียนทันตะมากกว่า อายุงานสั้นกว่าหน่อยแต่กว่าจะวางมือก็ตั้งตัวได้ระดับนึงแล้ว

4
noonk gnow 16 ก.ค. 60 เวลา 17:04 น. 6-2

เนอะๆ ทันตะเป็นอาชีพที่ดูชีวิตดีย์ 555555 แต่อาจจะติดตรงที่ว่าอายุงานไม่นานจริงๆ เป็นงานต้องใช้ความละเอียดพออายุมากหน่อยความน่าไว้วางใจอาจจะลดลง ใช้สายตามากปวดหลังปวดท้ายทอย บวกกับพื้นที่ทำงานเฉพาะในช่องปาก ในห้องสี่เหลี่ยมแค่นั้น คอนเนคชั่นก็ไม่เยอะเท่าหมอคนเพราะทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเองเสร็จสรรพ หลายคนเลยไม่ค่อยชอบมั้งคะ

0
แค่ผ่านมา 19 ก.ค. 60 เวลา 23:26 น. 6-3

ขอเถียงในฐานะ เพราะตอนนี้เป็นเรียนทันตะ

อายุงานไม่นาน อาจารย์ทันตแพทย์ แก่ๆเยอะนะคะ ที่ยังทำงานอยู่ เน้นว่าทำงานทันตกรรม

ถามว่าทำไมคนถึงคิดว่าอายุงานไม่นาน เพราะต้องทำในพื้นที่ที่เล็กและละเอียด ทำให้ผิดท่าทางตามการยศาสตร์ แต่ถ้ามอง indirect (เมื่อชำนาญ เพราะตอนนี้บางจุดที่มองยาก ยังใช้ direct บ้างแต่อาจารย์รุ่นใหม่จะสอนหรือพยายามให้มองแบบ indirect ในตำแหน่งที่ผิดท่าการยศาสตร์ เพื่อให้ได้ท่าทางที่ถูกต้องอยู่แล้วนะคะ และสมัยก่อนอาจไม่ได้เรียนพวกการนั่ง การวางเครื่องมือ และอุปกรณ์ยังไม่ทันสมัยเท่าตอนนี้ เลยทำให้เกิดโรคปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดคอ ที่เค้าว่า ก้ม เอียง บิด ได้ ถ้าบอกว่า ทันตะอายุงานไม่นาน ขึ้นอยู่กับคน เช่นเดียวกับหมอค่ะ ถ้างี้ หมอ ER หมอ sur ไม่แย่หรอคะ ยืนขาโป่ง ทำงานผ่าตัดหลายๆชั่วโมงกว่า หรือER อดหลับอดนอน เห็นมั้ย มันก็มีอายุงานตามแต่การเลือกปฏิบัติของตนเองค่ะ


เรื่องทันตะล้นนี่ คิดว่า มีการผลิตเพิ่มมากกว่าแต่ก่อน แต่เดี๋ยวก่อน คือที่ว่าเยอะ ก็เพราะว่าการกระจายตัวมันไม่เท่ากันมากกว่า ส่วนมากไม่อยู่จังหวัดห่างไกลเท่าไหร่ กระจุกตัวอยู่ตัวเมือง จังหวัดใหญ่ กทม และปริมณฑล ทำให้มันดูล้น เช่นเดียวกับหมอ คลินิกจิ้มสิว เปิดตึกเว้นตึก คลินิกทันตะก็เช่นกัน แต่ลองออกไปจังหวัดห่างไกล จะพบว่าขาดแคลนมาก และการผลิตปีนึงยังไม่ได้เยอะ แม้เปิดหลายแล้วก็ตาม แต่ก็ผลิตได้อย่างมาก มอใหม่ก็ 30คน มอเก่าๆก็ 70-80 คน


เรื่องคอนเนคชั่น ยอมรับว่า ทันตะค่อนข้างแยกตัวออกมาจากวิชาชีพอื่น แต่ก็ไม่ใช่ขาดคอนเนคชั่นขนาดนั้น

เรื่องหมอทำเองได้เสร็จสรรพ ฟังดูดี แต่ก็รู้ๆกันนะว่า GP ทำได้เยอะแค่ไหนกัน จะพูดว่า จบ6ปีใครทำงานในสายอาชีพตัวเองได้มากกว่า หรือ ทันตะต้องมีผู้ช่วย? จริง(แต่ตอนเรียนทำเองเฟ่ย) แล้วหมอไม่มี? พยาบาล เภสัช เทคนิค เผลอๆต้องมีผู้ช่วยเยอะกว่าอีกนะ จบๆ ไม่ได้จะมาบลัฟหมอหรืออะไร แค่ชี้แจง

0
noonk gnow 20 ก.ค. 60 เวลา 01:17 น. 6-4

ขอบคุณที่มาชี้แจงให้ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ

แต่ตรงที่บอกว่าทำเองได้เสร็จสรรพเราหมายถึงทันตแพทย์นะคะเนี่ย เหมือนอย่างที่บอกเลยงานในโรงพยาบาลแผนกทันตกรรมจะมีเพียงทันตแพทย์กับผู้ช่วย ไม่ต้องง้อฝ่ายอื่นๆก็สามารถรักษาได้ แต่ของแพทย์คือต้องประสานกับพยาบาล เภสัช นักเทคนิค รังสี รวมถึงแพทย์ด้วยกันเองอย่างที่เข้าใจเลยค่ะgpรักษาได้วงแคบมากต้องrefer caseไปสาขาเฉพาะทาง แต่ละสาขาก็ต้องมีการconsultกันอีก ระดับผู้บริหารรพ.ก็ต้องประชุมกับนักบริหาร นักกฏหมาย เราเลยคิดว่าconnectionของแพทย์น่าจะมากกว่าของทันตะหน่อยนึงอ่ะค่ะ

(นี่หมายถึงในเวลางานนะคะ ถ้านอกเวลางานอันนี้ก็น่าจะแล้วแต่คนเลย ซึ่งคห.นี้ก็ไม่ได้บลัฟฝั่งทันตะเช่นกัน ส่วนตัวคิดว่ามันแล้วแต่ลักษณะงานใครชอบแบบไหน บางคนชอบบางคนไม่ชอบ)

0
เกย์อักษรฯเอกปรัชญา 16 ก.ค. 60 เวลา 17:52 น. 7

ตอบในฐานะที่เรียนปรัชญามาละกัน...


เรามองว่าปัจจัยแรกที่บรรดาผู้ใหญ่สนับสนุนให้เด็กๆเรียนแพทย์ก็เพราะว่าปัจจัยแรกที่สำคัญที่สุดคือการที่อาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่ "ผูกขาด" การเข้ามาเป็นแพทย์ ได้สำเร็จสูงสุด ในระดับเดียวกับวิศวกร นิติกร สถาปนิก และอื่นๆ หากนึกไม่ออกลองเทียบกับคนอย่างผมที่เรียนปรัชญาหรือพวกเรียนประวัติศาสตร์ก็ได้ จะได้เห็นภาพง่ายขึ้น นั่นก็คือ ถ้ากำหนดให้โอกาสทางเลือกในอาชีพของคนเรียนอักษรศาสตร์เป็น x จะได้ว่าโอกาสทางเลือกในอาชีพของคนเรียนแพทย์ วิศวฯ สถาปัตย์ฯ นิติฯ ครุฯ และอื่นๆที่ผูกขาดการเข้ามาทำงานของคนที่ไม่ได้เรียนมาเฉพาะทางด้านนั้นๆ มีสูตรเป็น x+1

เช่น ถ้าฝั่งอักษรบอกจบไปแล้วจะประกอบอาชีพ x ได้ ฝั่งแพทย์ก็จะได้ x+1 พอนึกออกไหมครับ

เอาชัดๆนะเช่น.....

ถ้าฝั่งอักษรบอกจบไปแล้วเป็นแอร์ได้ ฝั่งแพทย์ก็มีสิทธิเป็นแอร์ได้ แต่มีสิทธิเพิ่มอีก 1 คือเป็นแพทย์ได้ด้วย

ถ้าฝั่งอักษรบอกจบไปแล้วเป็นนักเขียนได้ ฝั่งแพทย์ก็มีสิทธิเป็นนักเขียนได้ แต่มีสิทธิเพิ่มอีก 1 คือเป็นแพทย์ได้ด้วย

ถ้าฝั่งอักษรบอกจบไปแล้วเป็นไกด์หรือทำงานโรงแรมได้ได้ ฝั่งแพทย์ก็มีสิทธิเป็นไกด์หรือทำงานโรงแรมได้ได้ แต่มีสิทธิเพิ่มอีก 1 คือเป็นแพทย์ได้ด้วย

ถ้าฝั่งอักษรบอกจบไปแล้วเป็นบรรณาธิการได้ ฝั่งแพทย์ก็มีสิทธิเป็นบรรณาธิการได้ แต่มีสิทธิเพิ่มอีก 1 คือเป็นแพทย์ได้ด้วย

ถ้าฝั่งอักษรบอกจบไปแล้วเป็นอาจารย์อักษรได้ ฝั่งแพทย์ก็มีสิทธิเป็นอาจารย์แพทย์ได้ แต่มีสิทธิเพิ่มอีก 1 คือเป็นแพทย์ได้ด้วย

ถ้าฝั่งอักษรบอกจบไปแล้วเป็นทูตได้ ฝั่งแพทย์ก็มีสิทธิเป็นทูตได้ แต่มีสิทธิเพิ่มอีก 1 คือเป็นแพทย์ได้ด้วย

ถ้าฝั่งอักษรบอกจบไปแล้วเป็นล่าม/นักแปลได้ ฝั่งแพทย์ก็มีสิทธิเป็นล่าม/นักแปลได้ แต่มีสิทธิเพิ่มอีก 1 คือเป็นแพทย์ได้ด้วย

ถ้าฝั่งอักษรบอกจบไปแล้วเป็นโปรแกรมเมอร์ได้ ฝั่งแพทย์ก็มีสิทธิเป็นโปรแกรมเมอร์ได้ แต่มีสิทธิเพิ่มอีก 1 คือเป็นแพทย์ได้ด้วย

ประมาณนี้น่ะครับ คือไม่ว่าฝั่งอักษรจะอ้างว่าประกอบอาชีพอะไรใดๆ ก็จะมีโอกาสทางอาชีพน้อยกว่าแพทย์อยู่ตรง +1 ฉะนั้นการผูกขาดสายอาชีพได้สำเร็จถือเป็นปัจจัยอันดับ 1 ที่สำคัญที่สุด


ปัจจัยรองลงมาก็คือ ความต้องการทางการแพทย์ไม่มีวันหมดไปอย่างแน่นอน ในขณะที่ supply อย่างอื่นในตลาดมันล้นเกินไปแล้ว supply ทางการแพทย์ไม่เคยพอ มี demand อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย คาดว่าคงไม่ต้องยกตัวอย่างนะ อันนี้น่าจะชัดเจน

เนี่ยแหละหลักๆ มันก็มี 2 ปัจจัยนี้แหละ


แต่....จากเหตุผลที่ผมได้ให้ไป คุณอยากรู้ไหมว่าอะไรคือเหตุผลที่ผมตัดสินใจเรียนปรัชญา ทั้งๆที่รู้ว่าจะเสียเปรียบเชิงโอกาสทางอาชีพ ขอ response ว่าอยากรู้ก่อนนะผมถึงจะให้เหตุผล :3

12
noonk gnow 16 ก.ค. 60 เวลา 18:37 น. 7-1

สรุปตามที่เราเข้าใจคือเป็นต่อทางวิชาชีพ และการันตีว่าไม่ตกงาน 2ประเด็นนี้ถูกมั้ยคะ ขอบคุณที่เข้ามาแชร์ความเห็นกันนะคะ อยากรู้ค่ะว่าทำไมถึงเลือกเรียนปรัชญา คือส่วนตัวเราว่าวิชานี้เป็นอีกวิชาที่หลายๆคนสนใจรวมถึงจขกท.เองด้วย แต่น้อยคนที่จะกล้าเสี่ยงเลือก

0
อยากรู้ 17 ก.ค. 60 เวลา 05:13 น. 7-3

อยากรู้ครับ ว่าเรียนเพราะชอบและถนัด หรือมีเส้นสายทางนี้

0
เกย์อักษรฯเอกปรัชญา 17 ก.ค. 60 เวลา 20:00 น. 7-4

ขอโทษที่มาตอบช้านะครับ พอดีวันนี้ติดธุระทั้งวัน ตอนนี้มาตอบละ

ตอบคุณ noonk gnow #7-1 นะครับ

ความเข้าใจที่ว่าเป็นต่อทางวิชาชีพก็ถูกส่วนนึงครับ แต่ผมอยากให้ใช้คำว่า "ผูกขาด" เพราะว่ามันก็ผูกขาดจริงๆ แล้วก็เมื่อบอกว่าอาชีพแพทย์นั้นผูกขาด เราก็จะสามารถนำไปอธิบายเชิงเศรษฐศาสตร์ได้อีกด้วย ซึ่งเราคงจะไม่ปฏิเสธว่าส่วนหนึ่งของคำตอบสำหรับคำถามที่ว่าทำไมคนอยากเรียนแพทย์หรืออะไรเป็นแรงจูงใจให้เรียนแพทย์นั้นต้องเกี่ยวพันกับคำอธิบายเชิงเศรษฐศาสตร์อยู่แล้ว

ส่วนความเข้าใจที่ว่าเรียนแพทย์แล้วการันตีว่าไม่ตกงานเนี่ย ก็ถูกต้อง แต่ยังไม่พอในการอธิบายว่าแล้วทำไม..ในเมื่อ..อย่างพวกคนเรียนอักษรฯ จุฬาฯเนี่ยก็ไม่ค่อยมีใครกล้าพูดว่าตกงาน(ซึ่งถ้าไม่เลือกงานก็ไม่ตกงานหรอก มีงานให้ทำเยอะแยะ) แต่ทำไมพวกผู้ใหญ่ก็ยังกลับเชียร์ให้เรียนแพทย์ ไม่เคยเชียร์ให้เรียนอักษรฯเลย ผมคิดว่าคำตอบนึงที่จะอธิบายเหตุจูงใจของพวกผู้ใหญ่ที่เชียร์ให้เรียนแพทย์ก็คือ ถึงอักษรฯจะมีงานให้ทำก็จริง แต่งานของแพทย์คือ ๑)ทำเงินได้มากกว่ามาก (ตรงนี้หากมีคนเถียงว่าปัจจุบันรัฐกดเงินเดือนหรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับรัฐ คุณต้องมองว่านั่นไม่ใช่ธรรมชาติของอาชีพแพทย์ซึ่งทำเงินได้มาก ไว้เดี๋ยวอธิบาย Liberitarianism แล้วจะเข้าใจ) แล้ว ๒)งานของแพทย์ก็มั่นคง และ๓)มีหน้ามีตาในสังคม

ซึ่งข้อ ๑) กับ ๒) นี้สามารถอธิบายด้วยคอนเซปต์ demand/supply ในเชิงเศรษฐศาสตร์ได้ นั่นก็คือ เพราะ demand ทางการแพทย์ มีลักษณะเฉพาะอันเป็นเหตุจำเป็นจริงๆ ประมาณว่าหากไม่จ่ายเงินรักษาก็จะตาย คือมีความตายเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มคนไข้ที่ร่ำรวยแต่เป็นมะเร็ง จะยอมจ่ายเงินก้อนใหญ่เพื่อรักษามะเร็งได้ การที่คนเรากลัวตายอยู่ทุกยุคทุกสมัย demand ทางการแพทย์ก็จะคงอยู่ตราบนานเท่านาน แล้วเหตุผลเรื่องความตายนี่แหละที่ทำให้วิชาชีพแพทย์จำเป็นต้องผูกขาด เพราะถ้าให้ใครเข้ามาเป็นแพทย์ได้ง่ายๆ จะเกิดความเสียหายต่อคนไข้อันถึงแก่ชีวิต เช่นเดียวกับการเป็นวิศวกร เพราะหากคำนวณออกแบบโครงสร้างผิด คนก็จะตายจากผลโดยตรงที่วิศวกรทำงานผิดพลาด แต่อาชีพอย่างครู/อาจารย์เนี่ย ที่มันผูกขาดไม่ได้ก็เพราะหากครูสอนผิด เด็กนักเรียนก็ไม่ตาย วิชาชีพครูจึงขาดเหตุผลเชิงความตายมารองรับการที่จะผูกขาดวิชาชีพ แต่ก็ยังมีความพยายามที่จะผูกขาดสายอาชีพครู ซึ่งการที่รัฐร่วมพยายามผูกขาดเนี่ยจะโดนต่อต้านจากเหตุผลเชิงปรัชญาเศรษฐกิจเสรีนิยม(Liberitarianism) ดังจะได้กล่าวถัดไป

อะไรคือปรัชญาเศรษฐกิจเสรีนิยม (Liberitarianism)?

คือแนวคิดที่ว่ากิจกรรมการตัดสินใจออกนโยบายต่างๆของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดผลเลวร้ายข้างเคียงมากกว่าผลดีที่เรามองเห็นแค่แว๊บแรก ด้วยเหตุนี้รัฐจึงควรลดทอนกิจกรรมต่างๆที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หากคุณไม่เคยเรียนสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัยมาก่อน คุณอาจจะไม่รู้ว่าวิชาเศรษฐศาสตร์มองเศรษฐกิจว่ามันมีชีวิตเป็นของตัวเอง มันมีวิวัฒนาการ มันพยายามปรับสมดุลให้กับตัวเอง โดยที่ไม่ต้องมีมือที่สามเข้ามายุ่ง แนวคิดนี้จึงต้องการไม่ให้รัฐออกมาตรการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจอะไรใดๆเลย หรือถ้ามี ก็ให้น้อยที่สุด เพราะกลไกทางเศรษฐกิจมันซับซ้อน เหมือนระบบนิเวศน์ เมื่อรัฐออกมาตรการควบคุมภาคส่วนใดของเศรษฐกิจ มันก็จะกระทบกับภาคส่วนอื่นๆต่อๆกันไปเหมือนโดมิโน่ แนวคิดนี้จึงเรียกร้องเสรีภาพทางเศรษฐกิจ

กลับมาเรื่องทำไมคนอยากเรียนหมอ คือถึงแม้ว่าในปัจจุบัน supply ของการบริการทางการแพทย์จะมีมากพอประมาณ แต่ว่ายังมีการแทรกแซงของรัฐในการที่จะให้ผู้ป่วยที่เป็นคนยากจนได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ หากปราศจากนโยบายทางภาครัฐ คนไข้ยากจนเหล่านี้จะไม่มีกำลังจ่ายค่ารักษาทางการแพทย์ (เช่น ไม่มีเงินไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนแพงๆ) แต่ในขณะที่คนทั่วไปมองว่ารัฐออกนโยบายกำกับดูแลดังกล่าวเป็นเรื่องดี กลุ่มนักปรัชญาเศรษฐกิจเสรีนิยม(Liberitarians)มองว่าการตัดสินใจควบคุมกลไกทางเศรษฐกิจของรัฐจะมีด้านไม่ดีตามมาด้วยเสมอ เช่น มันทำให้เศรษฐกิจเสียดุลยภาพ นั่นก็คือมันทำให้ demand ทางการแพทย์มีมากเกินความจำเป็น เพราะเกิด demand ปลอมๆ จากกลุ่มคนบางกลุ่มที่ไม่สมควรได้รับการรักษาจริงๆ แล้วทำให้ supply ซึ่งจริงๆแล้วไม่ขาด เกิดการไม่พอขึ้น เราลองนึกดูว่าหากรัฐไม่เข้ามาก้าวก่าย ดุลยภาพ demand/supply มันก็จะเกิดขึ้นตามกลไกธรรมชาติของเศรษฐกิจ คนที่ต้องการการรักษาจริงๆเท่านั้นถึงจะยอมจ่ายเงินก้อนเพื่อรักษาโรคร้าย แพทย์เราก็จะมีพอเพียง คนยากจนไม่สมประกอบรายอื่นๆก็จะได้ไม่ผลาญเงินประเทศด้วยการขอยาพาราฯมากินทิ้งๆขว้างๆ ซึ่งส่งเสริมให้คนไม่สมประกอบทางความคิดมีพฤติกรรมมักง่าย ไม่รักษาป้องกันโรคด้วยตัวเอง คิดว่ายังไงก็คงจะมียาวิเศษฟรีๆมาให้กิน จนในท้ายที่สุดถึงแม้ว่ารัฐจะเข้าใจว่าตนเองทำถูกแล้วที่เปิดให้ทุกคนเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ แต่รัฐก็ได้เผลอสร้าง "มวลมหาคนไม่ระมัดระวังสุขภาพ" ขึ้นในสังคมไทยโดยผ่านผลข้างเคียงของนโยบายตัวเอง แล้วก็ทำให้สังคมหลงคิดว่าเราต้องการแพทย์เพิ่มๆๆ เช่น ชาวบ้านที่ไม่รวยชอบคิดว่า “ฉันจะกินน้ำตาลมากๆไม่กลัวหรอกเบาหวาน ยังไงรัฐก็ต้องช่วย ยังไงแพทย์ก็ต้องช่วย ยังไงฉันก็ต้องได้ยาวิเศษมากินฟรีๆ!” หากสังคมยกเลิกนโยบายบริการการแพทย์ราคาถูกจากภาครัฐก็จะส่งผลดีคือทำให้หมอได้ค่าตอบแทนแพงๆสมกับที่ตรากตรำเรียนมาหลายปีเพราะคนไข้ที่รู้สึกว่าโรคของตัวเองจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งหมอก่อนคนไข้รายอื่นก็จะยอมจ่ายเงินแพงๆไปก่อน แล้วก็ทำให้คนระมัดระวังตัวไม่ให้ป่วยเป็นโรค แล้วก็ทำให้คนไม่เรียกร้องให้มีแพทย์เยอะๆเพราะรู้ว่ายังไงก็รักษาไม่ฟรี อีกทั้งยังทำให้เกิดดุลยภาพ demand/supply ทางการแพทย์ด้วย หากอยากรู้รายละเอียดที่ลึกกว่านี้ อันนี้ผมคงต้องทำ argument เป็นเฉพาะประเด็นนี้แยกไปซะแล้ว

ส่วนข้อ ๓)เรื่องมีหน้ามีตา ก็จะมีคำอธิบายทั้งเชิงเศรษฐศาสตร์และเชิงวัฒนธรรม เชิงเศรษฐศาสตร์เช่น ที่คนเป็นหมอมีหน้ามีตาได้ก็เพราะร่ำรวยเงินทองจากอาชีพแพทย์ พวกเขาก็เลยแต่งตัวดูดี ใช้ของแพงหรูหรา จึงทำให้มีหน้ามีตาได้ เชิงวัฒนธรรมเช่น เดิมทีบรรพชนคนไทยนับถือบุญคุณของหมอที่ช่วยชีวิตเขาไว้ได้ ปัจจุบันไม่แน่ใจว่ายังไง เพราะคนเริ่มมองว่าบรรดาคุณหมอประกอบการเชิงพาณิชย์มากขึ้น คนก็เริ่มมองว่าเพราะพวกเขาจ่ายเงินไปตั้งมากแล้ว ก็เลยไม่ถือว่าเป็นหนี้บุญคุณหมออย่างแต่ก่อน


แล้วเดี๋ยวจะมาเล่าว่าทำไมเราเลือกเรียนปรัชญานะ ตอนนี้ขอคิดเรียบเรียงสิ่งที่อยากจะนำเสนอก่อน

0
เกย์อักษรฯเอกปรัชญา 17 ก.ค. 60 เวลา 21:36 น. 7-5

ตอบทั้งคุณ noonk gnow #7-1 คุณ Nottmd #7-2 และคุณ #7-3 ที่เพิ่งมานะครับ

เรื่องทำไมผมถึงเลือกเรียนปรัชญา อันนี้ทำใจนิดนึงนะครับว่าจะยาว

คือผมจะแบ่งเหตุผลที่จะให้ออกเป็น

๑)เหตุผลที่ประยุกต์เข้ากับทุกคนได้ และ

๒)เหตุผลที่ประยุกต์เข้าได้แค่กับบางคนอย่างตัวผมเอง

ใครก็ตามที่อ่านสิ่งที่ผมเขียน หากคิดอยากเรียนปรัชญา ประวัติศาสตร์ วรรณคดีหรืออะไรเทือกๆนี้ที่ดูไม่ทำเงินเป็นกอบเป็นกำ(ไม่ใช่ตกงาน) กรุณาพิจารณาประกอบกันทั้ง๑)เหตุผลที่ประยุกต์เข้ากับทุกคนได้ และ ๒)เหตุผลที่ประยุกต์เข้าได้แค่กับตัวคุณเอง ตรงนี้ต้องขอบอกก่อนว่าหากอ่านแล้วไม่เห็นด้วย ก็แย้งได้นะครับไม่ว่ากัน โดยขอให้แย้งบนพื้นฐานเหตุผลที่ดีนะครับ

๑)เหตุผลที่ประยุกต์เข้ากับทุกคนได้

๑.๑) การเรียนมหาวิทยาลัยทุกคนควรจะได้เรียนในสิ่งที่แต่ละคนอยากทราบคำตอบของคำถามในใจตัวเอง:

นั่นก็คือเรียนไปเพื่อสนองความอยากรู้ ไม่ใช่เรียนไปเพื่อหาเงิน!........ได้ฟังอย่างนี้แล้วคุณๆคงจะแย้งผมว่า "!@$# โง่หรือปล่าว เรียนแล้วไม่เอาความรู้ไปหาเงิน จะบ้าหรอ สงสัยเป็นเด็กดื้อปัญญาอ่อน เอาแต่ใจ คิดอะไรแบบเด็กๆ ไม่ยอมหาเงิน!" โอเคๆ ก่อนที่จะโวยวายหาว่าผมบ้าหรือคิดว่าการเรียนเพื่อสนองความอยากรู้ของตัวเองเป็นสิ่งที่ผมมโนไปเองเพื่อปกป้องตัวเองที่เลือกเรียนปรัชญา ลองตั้งสติ เปิดใจให้กว้าง แล้วอ่านที่ผมให้ความเห็นดู

๑.๑.๑) ทุกคนโดนระบบทุนนิยมล้างสมอง:

นั่นก็คือหากคุณไม่เคยเรียนปรัชญาคาร์ล มาร์กซ์ มาก่อนเนี่ย คุณกำลังโดนภาษาทุนนิยมควบคุมความคิดและลดทอนความเป็นมนุษย์ของทั้งตัวเองและคนรอบข้าง โดนได้ยังไงแบบไหน? คุณคงสงสัย

ภาษาทุนนิยมอยู่รอบตัวเรา ทั้งจากในครอบครัว สังคมเพื่อน ตามสถาบันทั้งในโรงเรียนประถม มัธยม หรือแม้แต่มหาวิทยาลัยเอง สังคมปลูกฝังพื้นฐานให้เราต้องแข่งขันกัน ตอนที่คุณๆอยู่โรงเรียนก็จะมีระบบเกรด การมอบรางวัลให้กับผู้ชนะการแข่งขันประกวดต่างๆ คำพูดต่างๆก็จะเป็นไปในแนวที่ว่าถ้าเราตั้งใจเรียน ขยัน เรียนได้เกรดสูงๆ อนาคตเราก็จะได้ทำงานดีๆ เงินเดือนสูงๆ ตอนปรึกษาเรื่องแผนการเรียนต่อในอนาคตกับครูแนะแนว เขาก็จะแนะนำสาขาที่มองว่าจบไปแล้วน่าจะมีงานรองรับ ไม่ตกงาน ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่เคยพบครูแนะแนวคนไหนที่แนะนำให้เลือกเรียนปรัชญา ประวัติศาสตร์ หรือวรรณคดี ในขณะที่การใช้ภาษาทุนนิยมไม่ได้ผิดอะไร ภาษาแห่งคุณค่าอื่นๆกลับโดนฝังกลบลงอย่างไม่มีที่ยืนในสังคม เมื่อคุณๆอ่านมาถึงตรงนี้อาจตะขิดตะขวง แอบนึกในใจว่าผมกำลังพยายามแถ หรือเถียงข้างๆคูๆ หรืออะไรก็แล้วแต่ คือใจจริงผมกำลังพยายามถ่ายทอดชุดความคิดที่ไม่เป็นกระแสหลักของสังคม ซึ่งแน่นอนว่าหากล้มเหลวในการสื่อความเข้าใจ คนบางกลุ่มอาจหมดความอดทน อาจเข้าใจสิ่งที่จะสื่อผิด อาจมีคนไม่พอใจจะมาดักทำร้ายและอื่นๆ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผมถึงต้องเล่นแบบไม่มีล็อกอิน เพราะว่าไม่อยากเปิดเผยตัวตน เดี๋ยวจะมีภัย แล้วผมก็อยากจะใช้พื้นที่บนอินเทอร์เน็ตถ่ายทอดชุดความคิดที่ต่อสู้กับแนวคิดกระแสหลักของสังคมด้วย กรณีที่ว่าเลือกเรียนปรัชญา ประวัติศาสตร์ หรือวรรณคดีไปทำไม มันเสียเปรียบสาขาการเรียนอย่างอื่นที่มีโอกาสทางอาชีพกว้างขวางกว่าด้วยเลข +1 กรณีนี้หากค้นหาในเน็ตแล้วจะพบว่าน่าจะไม่มีใครเคยให้เหตุผลจริงๆจังๆเลยสักครั้งว่าทำไม แต่เดี๋ยวผมจะลองพยายามประกอบเหตุผลดูว่าทำไม...ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่มีคนเคยทำ ไม่มีภาษาถ้อยคำที่ใช้กันอยู่แล้วให้ผมได้ยืมใช้เลย คือผมต้องคิดค้นภาษาถ้อยคำเองขึ้นมาใหม่เพื่อถ่ายทอดความคิดให้สำเร็จ สำหรับคนเรียนอักษรฯแล้ว การใช้ภาษาเก่ง ไม่ใช่การเขียนเยอะพูดเยอะ แต่เป็นการสื่อความในใจอันสลับซับซ้อนยากๆออกมาให้สำเร็จ ผู้รับสารเข้าใจสารที่จะสื่อ ผู้ส่งสารก็ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ แบบนี้จึงจะถือว่าใช้ภาษาเก่ง อืมนอกเรื่องเยอะ...ขอกลับเข้าเรื่องภาษาทุนนิยม คือพอเราเอาภาษาทุนนิยมไปผุกเข้ากับคณะหรือสาขาการเรียนในมหาวิทยาลัยแล้วเนี่ย ผลที่ได้คือคณะหรือสาขาการเรียนบางอย่างเช่นปรัชญา ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ฯลฯ จะตอบคำถามเรื่องการทำเงินได้ไม่ดี เพราะคณะ/สาขาเหล่านี้ไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะผลิตบัณฑิตให้ออกไปทำเงินเป็นกอบเป็นกำ หรือผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองความต้องการตลาด ได้ฟังอย่างนี้คุณก็อาจจะแปลกใจว่า “อ้าว!? หรอ!? จริงดิ? รู้ได้ไง” โปรดอ่าน ๑.๑.๒)


๑.๑.๒) เจตนารมณ์ที่แท้จริงของมหาวิทยาลัยคือการถามคำถามเชิงวิชาการได้อย่างเสรี: นั่นก็คือมีเสรีภาพในความรู้

อย่าลืมว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้มีแค่การศึกษาระดับปริญญาตรีเท่านั้น ยังมี ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งเน้นการตั้งถามใหม่ๆ สังเคราะห์องค์ความรู้ขึ้นมาใหม่ แต่วาทกรรมทุนนิยมมักจะมองแค่ให้คนเรียนจบระดับปริญญาตรีแล้วออกมาทำงานเลย นี่ก็เห็นได้ชัดเจนแล้วว่าวาทกรรมทุนนิยมประเมินธรรมชาติของมหาวิทยาลัยผิดไปจากความจริง เพราะ ป.โท ป.เอก น้อยมากที่จะมีตลาดรองรับ โดยเฉพาะ ป.เอก แล้วก็ไม่ได้เป็นที่ต้องการของตลาดแต่อย่างใด แล้วเราคงไม่ปฏิเสธว่า ป.โท ป.เอก เป็นคุณค่าที่อยู่คู่มหาวิทยาลัยมาช้านาน เป็นคุณค่าที่สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆให้แวดวงวิชาการ นี่แหละธรรมชาติที่แท้จริงของมหาวิทยาลัย

บางคนอาจจะสงสัยว่าก็เคยเห็นมหาวิทยาลัยเองก็ออกประกาศปรัชญามหาวิทยาลัยว่ามีจุดประสงค์จะผลิตบัณฑิตซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด แต่คนที่คิดวางแนวทางเหล่านั้นก็อาจจะคิดไม่รอบคอบและไม่เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของมหาวิทยาลัยก็ได้ ในขณะที่การบอกว่ามีจุดประสงค์จะผลิตบัณฑิตป้อนเข้าตลาดงานนั้นไม่ได้ผิดอะไรและก็เข้ากันได้กับจุดประสงค์อื่นๆ การที่ไม่บอกจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดของมหาวิทยาลัยในลำดับแรกสุดหรือไม่บอกเลยถือว่าผิดไปจากคลองธรรมที่แท้จริงของมหาวิทยาลัย สิ่งที่ต้องป่าวประกาศให้โลกรู้เป็นอันดับแรกก็คือ “มหาวิทยาลัยมีจุดประสงค์เป็นพื้นที่เสรีภาพทางวิชาการ” ณ จุดนี้ ผมขอให้ดูประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไทย แล้วมาดูกันว่าแนวคิดปรัชญาของผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยไม่ได้ตรงตามความจริงในปัจจุบันอีกต่อไป ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยมีเจตนารมณ์เป็นของตัวเอง ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งเลย:

1.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป โดยใช้ชื่อในขณะนั้นว่า "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมืองและความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย

>>แต่เจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งก็ตกยุคแล้วตกยุคเลยในปัจจุบัน เพราะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดเสรีภาพทางวิชาการให้กับตัวเอง เปิดคณะ/สาขาการเรียนที่ไม่เกี่ยวกับด้านกฎหมายและการเมืองเลย เช่นปัจจุบันก็มีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีเจตนารมณ์เป็นของตัวเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งเลย

2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ตามชื่อ...คือเดิมทีผู้ก่อตั้งตั้งใจจะให้เป็นที่ศึกษาด้านการเกษตร

>>แต่เจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งก็ตกยุคแล้วตกยุคเลยในปัจจุบัน เพราะมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดเสรีภาพทางวิชาการให้กับตัวเอง เปิดคณะ/สาขาการเรียนที่ไม่เกี่ยวกับด้านการเกษตรเลย เช่นปัจจุบันก็มีคณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีเจตนารมณ์เป็นของตัวเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งเลย

3.มหาวิทยาลัยศิลปากร เดิมทีผู้ก่อตั้งตั้งใจจะให้เป็นโรงเรียนสอนศิลปะ

>>แต่เจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งก็ตกยุคแล้วตกยุคเลยในปัจจุบัน เพราะมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดเสรีภาพทางวิชาการให้กับตัวเอง เปิดคณะ/สาขาการเรียนที่ไม่เกี่ยวกับด้านศิลปะเลย เช่นปัจจุบันก็มีคณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยศิลปากรมีเจตนารมณ์เป็นของตัวเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งเลย

4.มหาวิทยาลัยมหิดล เดิมทีก็เป็นโรงเรียนแพทย์ เจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งคือตั้งใจจะให้เป็นที่เรียนแพทยศาสตร์

>>แต่เจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งก็ตกยุคแล้วตกยุคเลยในปัจจุบัน เพราะมหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเสรีภาพทางวิชาการให้กับตัวเอง เปิดคณะ/สาขาการเรียนที่ไม่เกี่ยวกับด้านการแพทย์เลย เช่นปัจจุบันก็มีคณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยมหิดลมีเจตนารมณ์เป็นของตัวเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งเลย

5.มหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ เดิมทีก็เคยเรียกวิทยาลัยครู เน้นการผลิตครู

>>แต่เจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งก็ตกยุคแล้วตกยุคเลยในปัจจุบัน เพราะมหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆเปิดเสรีภาพทางวิชาการให้กับตัวเอง เปิดคณะ/สาขาการเรียนที่ไม่เกี่ยวกับด้านศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์เลย เช่นปัจจุบันก็มีคณะวิทยาการจัดการ เรียนเกี่ยวกับการบัญชี การตลาด คณะนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆมีเจตนารมณ์เป็นของตัวเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งเลย

ดังนี้จะเห็นได้ว่า การเปิดเสรีภาพทางวิชาการให้กับตัวเองของมหาวิทยาลัยต่างๆถือได้ว่าเป็นสัจธรรม เป็นธรรมชาติของมหาวิทยาลัยอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ แนวคิดของผู้ก่อตั้ง ผู้บริหาร ผู้ออกนโยบายต่างๆมีอันต้องเสื่อมถอยตกยุคไปและไม่ใช่สัจธรรม ทำไมคนเราต้องรู้สึกผิดด้วยที่จะเรียนในสิ่งที่อยากรู้อยากแสวงหาคำตอบ ทั้งๆที่นี่เป็นธรรมชาติของมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมผลักดันให้เราแสวงหาคำตอบของคำถามต่างๆ มีแต่วาทกรรมทุนนิยมและคนที่ใช้มันเท่านั้นล่ะที่หลงผิดมาตีตราว่ามหาวิทยาลัยต้องเปิดสาขาที่เรียนแล้วทำเงิน มันเป็นสิทธิถูกต้องทุกกระเบียดนิ้วเลยครับที่คนเราควรได้เรียนวิชาปรัชญา ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์บริสุทธ์หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มันไม่ทำเงิน และนี่คือธรรมชาติของมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมให้เราทำได้ โดยไม่ต้องอายแต่อย่างใด เพราะเสรีภาพทางวิชาการคือสิ่งที่ถูกคลองธรรม สิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ ผิดคลองธรรมคือภาษาทุนนิยมและคนที่ใช้มันนั่นเอง!


เดี๋ยวนะยังมีต่ออีกแน่ะ...... - -"

0
noonk gnow 17 ก.ค. 60 เวลา 22:03 น. 7-6

เขียนดีมากๆเลยค่ะ อ่านรวดเดียวจบ เชื่อแล้วว่าเป็นสายอักษรจริงๆ555 รอต่ออยู่นะค้า

0
เกย์อักษรฯเอกปรัชญา 17 ก.ค. 60 เวลา 22:03 น. 7-7
๑.๒ ชีวิตมนุษย์เรายังอีกยาวไกลนะครับ ไม่ผิดอะไรที่คนเรายังคงค้นหาตัวตนอยู่:


เราลองนึกถึงเมื่อครั้งยังเป็นเด็กๆดูนะครับ ตอนนั้นเราถามคำถามอะไรต่างๆมากมาย เราอาจจะเคยถามผู้ใหญ่ว่าอะไรคือโรคเอดส์ มันเกิดขึ้นได้ยังไง ทำไมร่วมเพศกันแล้วถึงติดเอดส์ คนติดเอดส์คนแรกไปติดมาจากอะไร ทำไมถึงติดมาจากลิง ทำไมคนๆนั้นไปร่วมเพศกับลิง แล้วลิงติดเอดส์มาจากไหน แล้วเอดส์เกิดขึ้นได้ยังไงในตอนแรกสุด เห็นไหมครับว่าเราถามคำถามวิทยาศาสตร์เหล่านี้โดยที่ไม่ได้อยากจะรู้เพราะจะเอาไปทำเงินเลย เราอยากรู้เพราะเพียงแค่อยากรู้ พอตอนโตมาสักประมาณ ม.ปลาย รู้สึกกันไหมว่าทำไมมันแปลกๆ คือพวกครู/อาจารย์บอกว่าการที่จะตัดสินใจเรียนอะไร คุณต้องตั้งเป้าเสียก่อนว่าจะประกอบอาชีพอะไร ในขณะที่แนวคิดนี้เป็นจริงสำหรับคนที่ลงหลักปักใจพร้อมที่จะเป็นหมอ เป็นวิศวกร เป็นทนายความ เป็นอัยการ เป็นสถาปนิก ฯลฯ มันก็ไม่ผิดอะไรที่เราจะยังตอบไม่ได้ว่าอยากเป็นอะไร เพราะทั้งประสบการณ์การได้เห็นหน้างานจริงๆมีน้อย พอได้ไปทำแล้วก็อาจไม่ชอบก็ได้

อย่างบางคนก็ท้าทายการตัดสินผิวเผินของสังคมที่มองว่า ”พอคุณเรียนอักษรฯแล้ว ชีวิตนี้คุณจะเป็นหมอไม่ได้อีกแล้ว” ซึ่งก็ไม่จริง มีคนเรียนจบอักษรฯเอกจีนแล้วเสาะหาลู่ทางไปเรียนหมอที่จีนจนได้ บางคนอาจมองว่ามันเสียเวลา แต่ผมกลับมองว่าเวลา 4 ปี ที่ใช้ไปกับการเรียนอักษรฯมันได้เติมเต็มความรู้สึกที่ขาดหายไปหากไม่ได้เรียน หลักฐานที่กระทู้นี้เลย >> https://www.dek-d.com/board/view/3667806/


หรือมองอีกมุมก็คือชีวิตมนุษย์เราสั้นมาก ยิ่งสั้น คนเราก็ยิ่งต้องค้นๆๆๆๆเอาให้ก่อนตาย ตัวเรามีโอกาสได้ทำอะไรที่อยากทำไปเยอะๆ แล้วพอตายไปก็ไม่เสียใจ ในขณะที่วาทกรรมทุนนิยมบอกให้เราเริ่มค้นหาตัวเองตอนอายุ 15 ปี ม.3 ก็มีเด็กชายแบบ/เด็กหญิงแบบ ทำงานถ่ายโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆตามหน้าจอทีวีแล้ว เห็นไหมว่าการค้นหาตัวเองตอนอายุ 15 ปี ก็อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกที่สุดเพราะมีเด็กๆที่ลงหลักปักใจกับพ่อแม่แล้วว่าจะขอทำงานในวงการดารานักแสดง นางแบบนายแบบ พวกเขาก้าวตัวออกไปเร็วกว่าคนอื่นๆ คุณเห็นไหมว่าชีวิตมันไม่ใช่ลู่วิ่งที่ทุกคนเริ่มที่จุดเดียวกัน เกมชีวิตมันโกงกันได้

นอกจากต้นทุนชีวิตที่ไม่เท่ากันในเรื่องเงินทุนแล้ว ต้นทุนที่มองไม่เห็นอื่นๆอีกเช่นความไม่มีโรคทางพันธุกรรม ความไม่พิการ ครอบครัวที่อบอุ่นมีพ่อแม่อยู่ด้วยกัน อีกสารพัดฯลฯ ก็ต้องนับเข้าไปในเกมชีวิตด้วย

นอกจากเรื่องต้นทุนชีวิตที่ไม่เท่ากันแล้ว ตัวโกงสูงสุดของเกมชีวิตคือยมทูต คุณมีโอกาสตายระหว่างทางได้ทุกเมื่อ เช่นต่อให้คุณตั้งใจเรียนจนสอบเข้าแพทย์ จุฬาฯได้ แต่วันปีใหม่ คุณนั่งรถตู้แล้วประสบอุบัติเหตุ รถตู้ไฟคลอก ก็เกมโอเวอร์ คุณตั้งใจเรียนแล้วสอบเข้าสัตวแพทย์ จุฬาฯได้ วันดีคืนดีคุณก็อาจเดินตกบ่อบำบัดน้ำเสียแล้วก็เกมโอเวอร์ คุณตั้งใจเรียนแล้วสอบเข้า นิติฯ ธรรมศาสตร์ได้ แต่วันดีคืนดี รถตู้ที่คุณนั่งก็อาจถูกชนกระเด็น เกมโอเวอร์ได้อีกเช่นกัน

เห็นอย่างนี้แล้วก็ไม่เห็นต้องเสียใจอะไรที่คนอื่นเขาขะมักเขม้นวิ่งไปเรื่อยๆตามลู่ ในขณะที่เราอยู่เฉยๆใช้เวลาคิด เวลาเสพย์งานศิลป์ เวลาแห่งสุนทรียภาพ ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรดังขนาดที่ภาษาทุนนิยมประณามการนิ่งเฉยไม่วิ่ง เพราะถึงคุณไม่วิ่ง คุณก็ยังมีลมหายใจ มีโอกาสมากกว่าพวกคนที่ตายไปแล้วเยอะเลย

ณ จุด นี้ ต้องขอบอกก่อนว่าเราไม่ได้มองว่าเงินไม่สำคัญ เรามองว่าเงินสำคัญมาก แต่ก็มีคุณค่าอื่นๆที่ควรค่าแก่การจดจำรักษาไว้ ซึ่งสำคัญมากพอๆกับเงิน เราคิดอยากจะหาเงินไปด้วยและส่งเสริมผลักดันคุณค่าที่สำคัญให้สังคมได้ประจักษ์ไปด้วย วาทกรรมเงินทองไม่ควรไปเบียดวาทกรรมอื่นให้ตกขอบ แล้วยึดเวทีอยู่ฝ่ายเดียว ณ ปัจจุบันสังคมกำลังใฝ่ต่ำ สกปรก ยึดติดวัตถุเงินทองอันไม่เที่ยง พ่ายแพ้อำนาจเงิน

แต่......

เงินซื้อชีวิตอมตะไม่ได้

เงินซื้อความเข้าใจไม่ได้

เงินซื้อความรักบนรากฐานของความเข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกันไม่ได้

เงินซื้อโชคชะตาไม่ได้

ไม่ได้แช่งนะ แต่ อุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ และอาชญากรรม ออกข่าวทุกวัน

ไม่มีอะไรการันตีว่าคุณจะไม่เป็นรายต่อไปที่จะได้ประสบ

เงินซื้อข้อเท็จจริงและสัจธรรมไม่ได้

เงินซื้อมรดกโลกไม่ได้

เงินซื้อภาวะโลกเย็นไม่ได้

เงินซื้อโลกสวยในชีวิตจริงไม่ได้

เงินซื้อความเท่าเทียมกันไม่ได้

เพราะเวลาของร่างกายอันไม่เที่ยงย่อมหมดไป แต่เวลาของเอกภพเป็นอนันต์ เงินจึงซื้อเวลาที่แท้จริงไม่ได้

มีแต่พวกอวิชชาเท่านั้นที่ยึดติดกับเวลาจอมปลอมอันไม่เที่ยง

เงินซื้อโลกทั้งใบไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงท้องฟ้า ดวงดาว จักรวาล และเอกภพ

เงินซื้อสันติภาพให้แก่มวลมนุษย์ไม่ได้

ที่ไหนมีเงิน ที่นั่นมักจะมีความขัดแย้ง

และหากสิ่งที่ไม่ปรารถนาสันติไม่ใช่พระเจ้า เงินก็ย่อมไม่ใช่พระเจ้า

เงินซื้อธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ได้

เงินซื้อความไม่อวิชชาในศาสนาพุทธไม่ได้

เงินซื้อนิพพานไม่ได้

เงินซื้อได้แต่ของมีรูปไม่เที่ยง แต่ซื้อสารัตถประโยชน์ไม่ได้

เงินซื้อ "ปรัชญาคาร์ล มาร์ก" ไม่ได้

เงินซื้อ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ไม่ได้

เงินซื้อ “Critical Thinking” ไม่ได้

เงินซื้อจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมไม่ได้

เงินซื้อความหลากหลายทางความคิดไม่ได้

ถึงแม้วิชาปรัชญา ประวัติศาสตร์ และวรรณคดีจะทำเงินไม่ได้ แต่ก็มีค่ามากกว่าเงิน

เงินไม่สามารถซื้อ "เสียงเงียบๆที่ไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับ" ได้

ต่อให้ฝ่ายอธรรมซื้อกรงขังและรัฐบาล แต่นกและเสรีภาพจะต่อสู้เพื่อวันโบยบิน

เงินซื้อภาษาแห่งเสรีภาพไม่ได้

เงินซื้อประสบการณ์ที่รอวันพูดออกมาไม่ได้

เงินซื้อความเสียสละเพื่อส่วนรวมไม่ได้

เงินซื้อมิตรภาพแท้ตลอดกาลไม่ได้

เงินซื้อน้ำใจยามยากไม่ได้

เงินซื้อความจริงใจไม่ได้

เงินซื้อความสุขบางอย่างที่ต้องรู้แก่ใจไม่ได้

เงินซื้อความถูกต้องที่รู้อยู่แก่ใจไม่ได้

เงินซื้อจิตสำนึกในคุณงามความดีไม่ได้

เงินซื้อการได้เห็นจิตวิญญาณอันสูงส่่งของมนุษย์ไม่ได้

เงินไม่สามารถซื้อสิ่งของเป็นจำนวนมากมาทดแทนคุณค่าทั้งหมดที่กล่าวไปได้เลย

มาใคร่ครวญพิจารณาว่า รสชาติของคุณธรรมในมนุษย์ อร่อยกว่าไข่ปลาคาเวียร์มากเพียงใด

ร่างกาย เงินทอง ข้าวของต่างๆล้วนแต่ต้องเสื่อมสลายหายไปในที่สุด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

หากแต่จิตใจอันสูงส่งของมนุษย์นั้นจะคงอยู่ตลอดกาลในหน้าประวัติศาสตร์และวรรณคดี

คนเราไม่จำเป็นต้องเสียใจอะไรเลยที่ไม่ได้ร่ำรวยหรือประสบความสำเร็จ

เพราะอมตภาพของคุณงามความดีจะประทับติดตรึงในดวงใจของมนุษย์ยุคต่อๆไปอีกชั่วกัปชั่วกัลป์

ทั้งคนเห็นแก่ตัวและไม่เห็นแก่ตัวจะถูกฉายกรรมเก่าซ้ำๆให้คนรุ่นต่อๆไปได้ดู

คนเห็นแก่ตัวก็จะฉายความอัปลักษณ์ซ้ำๆ สมกับคำว่า "เห็นแก่ตัว"

คนไม่เห็นแก่ตัวก็จะฉายความสง่างาม มีเกียรติภูมิ ตลอดกาล ดั่งนามธรรมนั้นแล

ตัวอย่างเช่น คำว่า "ประชาธิปไตย" มรดกที่แลกมาด้วยเลือดและชีวิต

ทุกวันนี้ที่คนไทยมีชีวิตที่ปราศจากระบอบเผด็จการ ก็ด้วยบารมีของคำว่า "ประชาธิปไตย" ใช่หรือ

ไม่?

คุณพร้อมหรือยังที่จะสานต่อเจตนารมณ์ของบรรพชน? คุณจะมอบสิ่งใดให้กับเด็กรุ่นต่อๆไปที่จะเกิดมา?

คุณจะเป็นคนเห็นแก่ตัวหรือไม่เห็นแก่ตัว ? ชีวิตคุณ...คุณเลือกได้

จะมีครูบาอาจารย์สักกี่ท่านที่กล้าเสี่ยงพูดในสิ่งที่ถูกต้อง?

จะมีสักกี่ครุยที่ยอมตายเพื่อให้ประชาชนมีประชาธิปไตย?

การเสียสละชีพเพื่อความถูกต้องเป็นบุญกุศลล้นหลาม

ถึงโลกจะสลายไปแต่...สวรรค์รู้ นรกเห็น

น่าแปลกนะที่ธรรมชาติสร้างให้คนกลัวตาย แต่สุดท้ายก็แกล้งบังคับให้ต้องตายกันทุกคน

ปริศนานี้มีคำตอบ ธรรมชาติต้องการลองใจว่ามนุษย์จะกล้าพอไหมที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง

บางครั้งสิ่งที่ถูกต้องจะได้มาก็โดยการสละชีพ นับเป็นโอกาสพิสูจน์ว่าแท้จริงแล้วจิตใจคุณทำด้วย

อะไรกันแน่



----ยังไม่จบนะจ้า มีต่ออีก----- แต่ตอนนี้หมดแรงแล้วขอไว้มาพิมพ์พรุ่งนี้หรือมะรืนละกันนะ :3


0
vidvaa 18 ก.ค. 60 เวลา 19:06 น. 7-8

สรุปเหตุผลเม้นบน(ทำไมเลือกเรียนปรัชญา?)

แบบภาษาชาวบ้าน เผื่อใครงงหรือขี้เกียจอ่านแต่อยากรู้ 

แต่ใครอ่านได้แต่รอบแรกก็เทพจ้ายกนิ้ว แต่กูอะ อ่านนานมาก555555

1. เค้าไม่ได้เรียนเพื่อหาเงินจ้า

- ทุกคนพูดแต่เรื่องเงิน หวังแต่เงิน จะเรียนคณะไหนยังคิดถึงอาชีพอนาคต/เงิน

ทำให้คณะบางคณะไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องหาเงินมากๆได้ (คณะเจ้าของเม้น)

- มหาลัยที่ควรสร้างหลักสูตรเพื่อหาความรู้ แต่สมัยนี้ ก็เพื่อเงิน

2. เค้ายังค้นหาตัวตนอยู่ ชีวิตยังอีกยาวน่า

- ต้นทุนชีวิตแม่งก็ไม่เท่ากัน

- คนเรียนหนักๆ ตายระหว่างทางก็ได้ทุกเมื่อ งั้นนั่งเสพศิลป์ไปวันๆก็ไม่ได้แย่ โอกาสเยอะกว่าพวกที่ตายด้วย5555

- รวย/ประสบความสำเร็จไม่ได้สำคัญ ความดี ที่สำคัญ


จอบอ


0
vidvaa 19 ก.ค. 60 เวลา 12:50 น. 7-9

ละขอแสดงความเห็น ที่คุณเกย์อักษรฯเอกปรัชญา พูดเกี่ยวกับเงินนะ


สิ่งที่คุณกล่าวมาแล้วเงินซื้อไม่ได้อะเป็นนามธรรมทั้งนั้น

แต่สิ่งที่เงินซื้อได้อะมันคือสิ่งที่เป็นรูปธรรม

แล้วชีวิตเราอยู่ได้ด้วยปัจจัย 4 ที่เป็นรูปธรรมม เหวยย


เราขาดชีวิตอมตะได้ ก็ไม่ได้ต้องการ

เราขาดความเข้าใจได้ ไม่ตาย

เราขาดความรักบนรากฐานของความเข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกันได้ ไม่ตาย

เราขาดโชคชะตาได้ ไม่ได้อยากซื้อ

เราขาดมรดกโลกได้

เราขาดความไม่อวิชชาในศาสนาพุทธได้

เราขาดนิพพานได้


แต่เราขาดอาหารไม่ได้

เราขาดเสื้อผ้าไม่ได้

เราขาดบ้านไม่ได้

เราขาดห้องน้ำไม่ได้

เราขาดตู้เย็นไม่ได้

ลองมองไปรอบๆตัวสิ เราขาดไม่ได้

นี่คือเหตุผล ว่าทำไมคนถึงขวนขวายหาเงินกันจัง


อย่างเราเงี้ยถ้าเราไม่ต้องการอาหาร

ไม่ต้องการเสื้อผ้า

ไม่ต้องการบ้าน ฯลฯ


เราก็คงไม่คิดหนักตอนเลือกคณะกัน

ไม่คิดเรื่องอาชีพ

ไม่คิดเ-้ยไรเลย

นั่งสโลว์ไลฟ์ดื่มด่ำคุณค่าชีวิตไปแล้ว

ซึ่งใครก็อยากทำแบบนั้น

แต่เราทำแบบนั้นไม่ได้ ตื่น

เงินอาจจะซื้อสิ่งที่เป็นนามธรรมไม่ได้

แต่คนเราต้องอยู่กับสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าจ่ะ

0
noonk gnow 20 ก.ค. 60 เวลา 02:17 น. 7-10

มานั่งไล่อ่านต่อ ขอบคุณคุณvidvaa ด้วยค่ะที่ช่วยสรุปให้อีกที555 เห็นด้วยกับทั้งสองคน ให้พูดแบบแมสๆก็คือยึดหลักมัชชิมานั่นแหละ เดินทางสายกลาง แต่ความจริงส่วนตัวคิดว่าของแบบนี้มันแล้วแต่เป้าหมายของแต่ละบุคคลว่าจะbalanceรูปธรรมกับนามธรรมในชีวิตยังไง

ปล.แวบนึงในหัวเราคิดว่าจขคห.บั้นปลายชีวิตไปบวชได้อยู่นะเนี่ย ดูจากconceptความคิดเห็นที่ยกมาพูดชีวิตไม่ได้ขึ้นตรงหรือต้องแคร์กับรูปธรรมมากขนาดนั้น อันนี้จริงๆนะคะไม่ได้แซะหรือเอาฮา

มีความรู้สึกว่าปรัชญาชีวิตกับธรรมมะ มันมีแค่เส้นกั้นบางๆหรือแทบจะเป็นสิ่งเดียวกันเลย ถ้าเราเข้าใจอะไรผิดขอโทษล่วงหน้าด้วยนะคะ

0
เกย์อักษรฯเอกปรัชญา 4 ส.ค. 60 เวลา 11:23 น. 7-11

นี่คุณ..#7-8 #7-9 ไม่รู้ว่านี่คุณกำลังเรียนคณะไหน หรือเป็นเด็กมัธยมปลาย หรือเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่ลักษณะการตอบของคุณนี่ดูจะมีความเห็นผิดไปนะครับ


อย่างแรก ประชาธิปไตยนี่เป็นนามธรรมนะครับ ถ้าไม่มีประชาธิปไตย แล้วเป็นคอมมิวนิสต์เป็นเผด็จการ แบบนี้ คุณคิดว่าชีวิตมันจะเป็นอย่างที่กำลังเป็นทุกวันนี้หรอ ถ้ามันเป็นเผด็จการมันก็ทำให้คุณตายได้นะ

แล้วคุณมาพิมพ์ปฏิเสธนี่คิดดีหรือยัง....


เราขาดชีวิตอมตะได้ ก็ไม่ได้ต้องการ << งั้นตายเสียเดี๋ยวนี้เลยไหมล่ะ?

เราขาดความเข้าใจได้ ไม่ตาย << โทษทีนะ แต่ถ้าตอนคุณเป็นทารกร้องขออาหารแล้วพ่อแม่ไม่เข้าใจคุณ คุณจะรอดหรอ? ยังไงคนนึงไม่เข้าใจคุณ คุณก็ต้องพึ่งคนอื่นๆที่จะมาเข้าใจคุณ หากไม่มีใครเข้าใจคุณ คุณตายแน่ๆ

เราขาดมรดกโลกได้ << การแพทย์นี่เป็นมรดกโลกมาจากกรีกนะ ดูตราสัญลักษณ์ประจำคณะเขาสิ


แล้วผมไม่ได้บอกเลยนะว่าผมไม่คิดเรื่องอาชีพ ผมทำอาชีพอะไรผมก็ไม่จำเป็นต้องบอกคุณหรอก งานน่ะมันมีมาอยู่แล้ว ไม่เลือกงานไม่ตกงาน เขาออกจะพูดกันปาวๆ นี่พูดซะอย่างกับว่าเราตกงาน เออเนอะคนเรา!



0
เกย์อักษรฯเอกปรัชญา 4 ส.ค. 60 เวลา 11:33 น. 7-12

ตอบคุณ noonk gnow

โทษที พิมพ์ค้างไว้แล้วลืมกลับมาพิมพ์ต่อน่ะครับ พอดีติดงานยาวเลย เพิ่งเช็กกระทู้ที่เซฟ เลยได้กลับเข้ามาดู

ผมชอบที่คุณบอกว่ามันขึ้นอยู่กับใครจะbalance ชีวิตยังไง ใช่ครับถูกต้องที่สุด


ปรัชญากับธรรมะที่เทศน์ในวัดนี่ ไม่เหมือนกันนะครับ หลักการเหตุผลอะไรต่างๆมันต่างกันมากๆ ไม่ขอลงรายละเอียด ตอนนี้ผมยังไม่มีความคิดอยากจะบวชอะไรนะ แต่เอาจริงๆถ้าบวชเป็นพระขึ้นมานี่ แล้วมาตอบกระทู้แบบนี้ สงสัยมากว่าใครๆในนี้จะยังกล้าเถียงพระอีกหรอ ไม่กลัวบาป?

0
Poppyhero 16 ก.ค. 60 เวลา 18:24 น. 8

ตามความคิดเรานะคะ

อาชีพเเพทย์ มีหน้ามีตาในสังคมค่ะ ผู้คนนับถือเคารพเราในฐานะ 'เเพทย์' เด็กที่เรียนเก่งส่วนใหญ่ ผู้ใหญ่ก็จะปลูกฝังค่านิยมหมอให้ค่ะ เพราะอาชีพหมอมั่นคง มีงานเเน่นอน เวลาเดินไปไหน คนจะชื่นชม น่าภูมิใจค่ะ

1
noonk gnow 16 ก.ค. 60 เวลา 18:41 น. 8-1

ใช่ค่ะในส่วนนั้นเราก็ได้กล่าวไปแล้ว เป็นเบื้องหน้าที่ยอมรับว่าดูดีจริงๆ แต่ถ้ามาลองชั่งนน.กับเบื้องหลังที่ไม่ค่อยจะดีหลายๆด้านแล้ว ทำไมหลายคนถึงคิดว่ามันยังworth it

0
noonk gnow 16 ก.ค. 60 เวลา 18:46 น. 9

อ่านความเห็นคุณIMO จากคห.6 เราก็ฉุกคิดขึ้นมาเหมือนกัน เอองั้นทำไมไม่เรียนทันตะ ทุกอย่างก็มีพร้อมคล้ายๆกับแพทย์ ความมั่นคง หน้าตาฐานะ ทำไมคะแนนถึงยังตามหลังแพทย์?

4
พอเข้าใจไหม? 16 ก.ค. 60 เวลา 19:31 น. 9-1

เอาตรงๆไหม? ลองถามตัวเองดูสิ วงการนี้ใครคือผู้กว้างขวาง (พยายามใช้คำอย่างระมัดระวังแล้วนะครับ) ก็วิถีมนุษย์ปุถุชนอะครับ พอเข้าใจไหม?

0
AAAAA 16 ก.ค. 60 เวลา 19:47 น. 9-4

ผมเข้าใจดี ว่าเวลาทำงานก็ทำเป็นสหวิชาชีพ คือช่วยเหลือกันดี แต่คุณก็ไปดูตำแหน่งบริหารในระดับต่างๆสิครับ

0
โพล่า 16 ก.ค. 60 เวลา 20:41 น. 10

เรียนหมอ เรียนทันตะ ของรัฐบาล ที่แน่ๆ จบมา ไม่ตกงานเพราะต้องโดนไปรับราชการใช้ทุน แม้แต่จบแพทย์รังสิต ถ้าต้องการเรียนต่อ ก็สมัครแพทย์พี่เลี้ยงไปรับราชการหรือสมัครเพิ่มพูนทักษะจับสลาก ไปรับราชการได้พร้อมกับที่จบแพทย์รัฐ.

เรียนนักเรียนนายร้อยทุกเหล่า จบมาก็รับราชการเป็นนายร้อยทันที ไม่มีทางตกงาน

เป็นนักเรียนทุนของรัฐ.ที่มีเงื่อนไขจบมาต้องมารับราชการใช้ทุน ไม่ตกงานเหมือนกัน

รักชอบ อยากจะเรียนอะไรก็เลือกเลยตามสติปัญาตัวเอง อย่าเพิ่งไปไกลถึงระดับบริหารมันอีกเรื่อง ถ้าเรียนอื่นๆเวลานี้มีความเสี่ยงที่จะตกงานสูงมาก วิศวะปิโตรเลี่ยม รายได้จบใหม่พอๆกับหมอจบใหม่ ที่เขาว่าแน่ๆ เดี๋ยวนี้ไม่แน่เหมือนกัน นํ้ามันโลก ราคาตกลงมาก บริษัทต่างชาติ ปลดวิศวะออกเยอะเลย

2
ทำไปได้ 16 ก.ค. 60 เวลา 22:15 น. 10-2

เข้าไปอ่านเขาว่าหลังจากปี 63 จะมีทันตะจบ1000คน แต่จะบรรจุได้300คนเอง กำลังหาทางแก้ไขอยู่

คิดว่า คนที่ไม่ได้บรรจุ ยังไงเขาก็ไปเอกชนหรือเปิดคลีนิคได้ แต่ที่งงมากทันตะยังขาดมากมายในชนบทห่างไกล ส่วนมากกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ แล้วแบบนี้ชาวบ้านชนบททำไง จะไปเอกชนก็ไม่เงินพอ มีหวังได้ฟันหรอ หมอปากทุกคน ไม่รู้แก้ปัญหากันยังไง เวรกรรมจริงๆ

0
กัลย์ 16 ก.ค. 60 เวลา 23:51 น. 11

ลองอ่านความเห็นนี้ อาจจะมีบางคนถอดใจ ไม่เรียนหมอก็ได้

ที่มา https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=705040683015508&id=495293923990186

รู้ว่าเป็นหมอแล้วเหนื่อย แล้วมาเรียนหมอทำไม???

ทุกครั้งที่มีข่าวแพทย์ลาออก โดยเฉพาะแพทย์ที่จบใหม่ ก็จะมีคำถามเกิดขึ้นเสมอว่า

"รู้ว่าเป็นหมอแล้วเหนื่อย แล้วมาเรียนทำไม"

"ทำไมแค่นี้ทนไม่ได้ อาชีพอื่นเหนื่อยกว่าตั้งเยอะเขายังทนกันได้"

"ลาออกทำไม"

และคำถามอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งจากคนรอบข้างและจากสังคม

รู้ว่าเป็นหมอแล้วเหนื่อย แล้วมาเรียนหมอทำไม

คำตอบ คือ ไม่รู้ครับ

ไม่มีใครรู้ตั้งแต่แรกหรอกครับว่าการเรียนหมอ จบแล้วจะมีชีวิตอย่างไร

ผมเองก็ยอมรับว่าก่อนมาเรียนก็ไม่รู้หรอก ว่าหลังจากเรียนจบแล้วจะทำงานยังไง ได้เงินเท่าไหร่ มีเวลาหรือไม่มีเวลายังไง ภาวะกดดันยังไง

และผมก็มั่นใจว่า เด็ก ๆ ส่วนมากก็ไม่มีวันรู้หรอกครับ เพราะตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัย ส่วนมากอายุประมาณ 17-18 ปี อย่าว่าแต่อาชีพหมอเลย แม้กระทั่งคณะอื่น ๆ อาชีพอื่น ๆ ที่เลือกเข้าไป ก็รู้แค่ผิวเผินเท่านั้นแหละครับ ไม่มีใครรู้รายละเอียดข้างในลึก ๆ หรอก

ก่อนมาเรียน

- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเป็นหมอต้องทำงานติดกัน เกิน 24 ชั่วโมงอยู่บ่อยๆ ครั้ง

- ไม่มีใครรู้หรอครับ ว่าจะต้องมีวันทำงานรวมทั้งวันที่อยู่เวรมากกว่าวันหยุด ในปีแรกวันหยุดจะน้อยมาก เดือนนึงที่ได้หยุดจริงๆ ไม่ถึง 10 วันเสียด้วยซ้ำ และวันนักขัตฤกษ์หรือหยุดยาวนี่ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลยครับว่าจะได้หยุดหรือไม่ บ้านช่องแทบจะไม่ได้กลับ บางทีไม่เห็นหน้าพ่อแม่เป็นเดือนก็มีบ่อย ไปครับ

- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเวลามาทำงานจริงๆ มันลาแทบจะไม่ได้เลย เพราะเราลาหนึ่งคน ก็ส่งผลกระทบต่องานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นต่อเพื่อนร่วมงาน หรือต่อคนไข้ เช่นอยู่โรงพยาบาลอำเภอมีหมอ 3 คน คนที่ 1 เป็น ผอ คนที่ 2 และ 3 เป็นหมอ คนหนึ่งตรวจคนไข้ประมาณร้อยคน ถ้าเราลาสักวัน เพื่อนก็ต้องทำงานเป็นสองเท่า เป็นต้น

- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าต้องทำงานที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งสารคัดหลั่ง หรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ

- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าต้องทำงานภายใต้สภาวะกดดันมากมาย บางครั้งต้องตัดสินใจให้เร็ว เพื่อแข่งกับเวลา และมีโอกาสผิดพลาดได้ทุกนาที

- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าใช้เวลาในการเรียน 6 ปี เรียนรู้โรคเป็นร้อยเป็นพันโรค เรียนรู้ยาเป็นร้อยเป็นพันตัว แต่เวลาเอามาใช้งานจริง ๆ จำมาได้แค่ 20% ของที่เรียนก็เก่งมากแล้ว มิหนำซ้าเวลาตรวจคนไข้เจอโรคที่คาดไม่ถึงอีก ก็เกิดความผิดพลาดได้อีก พอผิดพลาดก็เกิดผลกระทบต่างๆ นา ๆ ตามมา

- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าตอนที่เรียนนอก ไม่ใช่แค่นั่งเรียนหนังสืออย่างเดียว ยังมีการทำหัตถการพื้นฐานอีกมากมาย เวลาไปผ่านแต่ละแผนก ก็ได้ทำนิด ๆ หน่อย ๆ บางครั้งแทบไม่ได้เห็น เคยเห็นแต่ในตำรา แต่พอมาทำงานจริง กลับต้องทำโดยที่ไม่มีความถนัด ก็เสี่ยงต่อความผิดพลาด และการถูกฟ้องร้อง

- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าการทำงานแต่ละนาที เสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน หรือถูกฟ้องร้อง ขาข้างหนึ่งแทบจะก้าวเข้าไปอยู่ในตะรางตลอดเวลา

- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเงินเดือนจริง ๆ ไม่กี่หมื่นบาท เวลาอยู่เวร ถ้าจบใหม่ ๆ บางที่ 8 ชั่วโมงก็ 400 - 800 บาท แต่แทบไม่ได้นั่งเลยก็มีนะครับ บางคนเปรียบเทียบว่าเป็นแรงงานชั้นดีค่าตอบแทนถูกนั่นเอง

- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่ารายได้มันไม่ได้มากอย่างที่คิด รายได้รัฐบาลบางทีทำแทบตาย ต่อให้ทำทั้งวันทั้งคืนติดกันทั้งเดือน รายได้ก็หลักหมื่น รายได้จะมากหน่อยก็ตอนใช้ทุนปี 2 -3 พอมาเรียนเฉพาะทางแทบไม่มีรายได้เลยอีก 3 - 5 ปี (รับแต่เงินเดือนกับค่าเวร หมื่นสองหมื่นต่อเดือน) บางสาขาจบมา รายได้กลับน้อยกว่าตอนใช้ทุนเสียอีก

- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าจะต้องมาเจออะไรในระบบราชการบ้าง ปัญหาร้อยแปด เช่น เอาหมอไปทำงานเอกสาร งานบริหารบ้าง เป็นต้น หรือปัญหาพื้นฐานเช่นเงินเดือนออกไม่ตรงเวลา 6 เดือนแรกไม่มีเงินเดือนให้ ค่าตอบแทนบางอย่างค้างเป็นปี ๆ ก็ยังไม่ออก

- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเวลาเข้ามาเรียนแล้ว จะต้องเรียนต่อยอดไปเรื่อยๆ สามปี ห้าปี และมากกว่านั้นอีก กว่าจะจบและเริ่มเก็บเงินจริงๆ ก็เกือบจะสามสิบห้าแล้ว มีเวลาในการเก็บออมอีกไม่กี่ปี ก็หมดแรงทำงานแล้ว กว่าชีวิตจะสบาย เอาเข้าจริง ๆ ก็วัยห้าสิบกว่า ๆ หรือหลังเกษียณนะครับ

แล้วจะรู้เมื่อไหร่ ว่าการเป็นหมอลำบากขนาดไหน ต้องเจอกับอะไรบ้าง

- สามปีแรกยิ่งไม่ได้แตะตัวคนไข้ นั่งเรียนในห้องสี่เหลี่ยม ๆ กับเรียนแล็บต่าง ๆ

รวมทั้งผ่าอาจารย์ใหญ่ ยิ่งแทบไม่มีโอกาสได้สัมผัสชีวิตจริงของหมอเลยครับ

- ปีสี่ ปีห้า เริ่มเข้ามาสัมผัสกับงานมากขึ้น เริ่มอยู่เวรแต่การอยู่เวรก็แค่เที่ยงคืน และยังมีชั่วโมงเรียนปนกับชั่วโมงฝึกงาน ก็ยังแทบจะไม่รู้อะไร

- ปีสุดท้าย ใกล้ชิดกับความเป็นหมอมากที่สุด แต่ก็ยังไม่ได้ดูคนไข้ทั้งตัวตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการสักเท่าไหร่ การรักษาส่วนมากยังอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่อยู่

- กว่าจะรู้จริงๆ ก็ตอนมาเป็นแพทย์ใช้ทุนแล้ว โดยเฉพาะแพทย์ใช้ทุนปีที่ 2 ที่ต้องออกไปทำงานเอง รับผิดชอบเองทุกอย่าง

ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจเลยครับ ว่าทำไมหมอถึงลาออกในช่วงนี้

ถ้าใครชอบชีวิตที่เล่ามา ก็ดีไป ทำงานต่อไปได้

ถ้าใครไม่ชอบ ก็จะพบสภาวะกดดันต่าง ๆ นา ๆ ทั้งจากสังคมและคนรอบข้าง

ดังนั้น ถ้าหมอสักคนจะลาออก ไม่ผิดหรอกครับ

สังคมไม่ควรตั้งคำถาม หรือควรประณามใด ๆ เพราะอย่างน้อยเขาก็รู้ตัวเองว่าไม่เหมาะกับงานนี้ ให้คนที่เหมาะสมทำจะดีกว่า

ถ้ารู้ตัวเร็วว่าไม่ถนัดกับงานสายนี้ ดีกว่าดันทุรังทำไปด้วยใจไม่รักอีกหลายสิบปี

การเป็นหมอนั้นถ้าเป็นด้วยใจรักก็จะอยู่ได้ถึงวัยเกษียณ แต่ถ้าใจไม่รักก็จะรู้สึกเหน็ดเหนือยและท้อในแทบจะทุกวัน

การเป็นหมอนั้นไม่ได้สบายอย่างที่หลายต่อหลายคนคิด ในส่วนของรายได้ จริงอยู่ว่าไม่ได้อดตาย แต่ก็ไม่ได้ร่ำรวยอย่างที่หลายคนคิด

ลูกเพจของผมหลายๆ ท่านที่ถามมา รวมถึงผู้ปกครอง

นี่เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง จากประสบการณ์ตรง

ที่อยากเล่าสู่กันฟัง

ว่าการเป็นหมอ ไม่ได้เดินบนกลีบกุหลาบ และชีวิตไม่ได้สวยงามอย่างที่คิดนะครับ

แต่ถ้าใครคิดว่าใจรักจริง ๆ หากมีญาติพี่น้องทำงานในโรงพยาบาล ก็ไปตามดูชีวิตของหมอก่อนได้ก็จะดีครับ

และที่สำคัญ พ่อ แม่ ที่มีความคาดหวังกับลูกมาก ๆ ว่าลูกเรียนเก่ง อยากให้เรียนหมอ จบหมอแล้วจะสบาย รายได้ดี ความคิดแบบนั้น ผมยืนยันว่า "ผิด" อย่างสิ้นเชิงครับ


2
หมอศัลย์ รพ.สป. 17 ก.ค. 60 เวลา 01:50 น. 11-1

เพจนี้ข้อเท็จจริงก็โอเคนะคะ

แต่จริยธรรมทางการแพทย์ของแอดมินก็ต้องพิจารณาแยกออกมาอีกประเด็น

0
กัลย์ 20 ก.ค. 60 เวลา 20:20 น. 11-2

ได้ให้ความเห็นส่วนตัวในแง่ดี ของการสอบติดหมอไปแล้ว เลยเอาอีกความเห็นหนึ่งในแง่ลบ ของการสอบติดหมอมาให้อ่าน เพื่อให้พิจารณาด้วยตนเองว่า อยากเรียนหมอจริงๆหรือไม่

อยากจะให้เด็กเก่งๆ และมีเป้าหมาย อุดมการณ์ที่แน่วแน่ อยากเป็นหมอจริงๆ สอบติดหมอได้ตามความตั้งใจ ประเทศไทยจะได้มีหมอที่เก่งๆ และอยากทำงานหมอจริงๆ ได้มารักษาคนไข้ตามความรู้ที่เรียนมาด้วยความเต็มใจ


สรุปความเห็นในแง่ลบ

-เรียนหมอเหนื่อยมาก จบมาทำงานไม่มีเวลาพัก บางวันอาจจะทำงานติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง

-วันทำงานรวมทั้งวันที่อยู่เวรมากกว่าวันหยุด ใน 1 เดือนจะได้หยุดจริงๆ ไม่ถึง 10 วัน วันหยุดยาว ก็ไม่ได้หยุด ลาหยุดก็ไม่ได้ คนอื่นต้องทำงานหนักมากขึ้น

-มีโอกาสติดเชื้อโรคต่างๆมาก

-มีความกดดันสภาวะจิดใจมาก

-นำความรู้ที่เรียนมาใช้ได้เพียง 20% ทำให้เกิดความผิดพลาดได้

-ตอนเรียนคลีนิค มีเคสปฏิบัติน้อย พอมาทำงานจริงๆ ก็ไม่มีความถนัด อาจจะผิดพลาด ถูกฟ้องร้องให้ติดคุกได้

-งานหนัก เงินเดือนน้อย เงินออกไม่ตรงเวลา

-ต้องทำงานอื่นๆ เช่น งานบริหาร งานเอกสาร

-จบมาทำงานแล้ว ก็ต้องเรียนต่อยอดไปอีก กว่าจะเก็บเงินได้ ก็แก่แล้ว

-การเรียนหมอลำบากมากๆ พอไปทำงานใช้ทุนยิ่งยากเข้าไปอีก เจอความกดดันต่างๆ ต้องรับผิดชอบเอง บางคนถึงได้ลาออก

-คนที่จะเป็นหมอที่ดีได้ ใจต้องรักจริงๆ

-ทำงานหมอไม่ได้ร่ำรวย งานไม่สบาย


เท่าที่อ่านความเห็นนี้ เหมือนอยากจะ เรียกร้องให้หมอ มีสวัสดิการ สวัสดีภาพที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม

ขอให้ผู้ที่มีความตั้งใจอยากเป็นหมอจริงๆ อย่าเขว อย่าถอดใจ พยายามสอบติดหมอให้ได้

แต่ถ้าใครไม่มีเป้าหมาย คือ เรียนคณะใด อะไรก็ได้ ให้เปลี่ยนไปเรียนคณะอื่นดีกว่า เพราะถ้าไม่ชอบเรียนหมอจริงๆ อาจจะหนักมาก


0
qwerty 17 ก.ค. 60 เวลา 05:22 น. 12

ผมว่ามีอาชีพอีกหลายอาชีพนะที่หลายคนอยากเป็นกัน เช่น นายร้อย นักบิน นักการทูต ผู้พิพากษา เป็นต้น แต่จำนวนที่รับน้อยกว่าหมอ แถมบางอาชีพห้ามสายตาสั้นอีก

1
qwerty 17 ก.ค. 60 เวลา 05:25 น. 12-1

หมอเลยดูเป็นอาชีพที่คนเข้าถึงง่ายที่สุด

0
hello_bb 17 ก.ค. 60 เวลา 07:52 น. 13

ตอนนี้หนูซิ่วอยู่นะคะ ปีที่ผ่านมาผลการสอบจัดว่าดีเหมือนกันแต่ก็ยังยืนยันจะซิ่วเพื่อเข้าหมอ ช่วงนี้กระทู้ไม่ดีเกี่ยวกับอาชีพนี้เยอะมากจนหลายครั้งก็ยังหวั่นไหวเลยว่า "มันขนาดนี้เลยหรอ" แต่ส่วนตัวไม่ได้อยากเป็นหมอเพราะอยากรวยหรืออยากสบาย แต่เพราะหน้าที่หลักของหมอคือสิ่งที่หนูอยากทำมากที่สุดเมื่อเทียบกับหน้าที่ของอาชีพอื่นและหนูคิดว่าหากงานที่เราทำคือสิ่งที่เราชอบและอาจจะเรียกว่ารักในอนาคต ถึงมันจะได้เงินไม่มากและช่วง 10 ปีแรกอาจจะเหนื่อยมากมายเหมือนที่หลายกระทู้ช่วงนี้ได้บอกไว้ แต่หนูคิดว่าถ้ามันเป็นสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด แรงใจที่ดีและแข็งแรงจะพาเราข้ามทุกจุดที่อาจร้ายแรงมากได้ ทุกๆ วันที่ไปทำงานคือการได้ทำในสิ่งที่รัก มันจะไม่มีความรู้สึกว่า "หุ้ย วันนี้ต้องไปทำงานอีกละ" ถึงมีก็อาจจะเป็นแค่บางช่วงหรือเกิดขึ้นได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับงานที่ไม่ชอบ แต่ทุกงานมีข้อดีข้อเสียของตัวมันเอง มีหลายอาชีพที่สามารถสร้างรายได้และความมั่นคงได้มากกว่าหมอ แต่ถ้ามันไม่ใช่สิ่งที่ต้องการหนูก็คิดว่าหนูคงไม่มีความรู้สึก "อยากพยายาม" ในการศึกษา หาข้อมูลและพัฒนาตัวเองจนอยู่ในระดับที่รวยและมั่นคงเหมือนคนอื่นหลายคนในสายงานนั้น และถึงทำได้หนูก็อาจจะซิ่วสอบหมอหลังจากนั้นอยู่ดี เพราะหน้าที่ตรงนั้นเป็นสิ่งที่หนูต้องการ คือการได้ช่วยคนให้พ้นจากความทุกข์ ได้เห็นคนมีความสุขมากขึ้นหลังพ้นทุกข์ ไม่ใช่แค่เขาแต่รวมถึงคนที่เขารักและรักเขาด้วย แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกครั้งที่การช่วยเหลือจะประสบผลสำเร็จ แต่หนูคิดว่ายังไงในเมื่อเราตั้งใจจะช่วยเต็มที่ คนรอดต้องมีมากกว่าคนเสียอยู่แล้ว และถึงจะมีกระทู้ไม่ดีเกี่ยวกับอาชีพนี้มากขึ้นๆ มีคนลาออกเยอะมากขึ้น หนูก็หวั่นไหวนะ 5555 แต่ก็ยังอยากลองสักตั้งอยู่ดี ถ้ามันไม่ไหวจริงๆ วันหนึ่งหนูอาจจะเป็นแบบนั้นเช่นกัน และก็มองทางอื่นเผื่อไว้หลายทางเหมือนกันด้วย (เผื่อไว้วันนึงว่าเราอาจจะอยู่ไม่ไหว เพราะในอนาคต ในวันที่เรารู้และเห็นอะไรมากกว่านี้เราอาจจะอยากเดินออกมา) แต่เพราะทุกวันนี้หนูยังเห็นว่ามีคนที่ยังทำหน้าที่ตรงนี้เยอะกว่าคนที่เดินออกไป ไม่ว่าจะใน รพ. รัฐหรือเอกชน (รวมทั้งคลินิก) เลยคิดว่ามันต้องมีข้อดีมากกว่าข้อเสียสิน่า คงไม่มีใครอยากให้คุณภาพชีวิตของตัวเองต่ำลงมากมายขนาดนั้นหรอก ชีวิตนี้มีชีวิตเดียวนี่นา และเพราะทุกอาชีพมีทั้งข้อดีและข้อเสียหมดล่ะ มันแค่แตกต่างกันไป หลายอาชีพก็มีรายได้ที่เราสามารถรู้ได้ถ้าเราค้นหา มีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องถ้าทำหน้าที่ไม่ดี มีความทุกข์ถ้าเราไม่ชอบ แต่ถ้าเราพอใจในข้อดีและสามารถอยู่กับข้อเสียได้อย่างไม่หนักมากมันน่าจะดีกว่าทำในสิ่งที่เราไม่ถูกใจในข้อดีตั้งแต่แรกและพอมีข้อเสียก็มีโอกาสสูงที่จะเดินออกมา ถึงวันหนึ่งในอนาคตหนูจะเดินออกมาหนูก็ไม่เสียใจนะที่เลือกทางนี้ เพราะมันเป็นสิ่งที่ "หนูตั้งใจเลือกเอง" และอย่างน้อยถึงมันไม่ดีแต่อย่างน้อย "หนูก็ได้ลอง" นะ อย่างน้อยหนูก็เดินออกมาหลังจากได้รู้ ได้ลอง ได้ทำมันแล้ว ไม่ใช่เดินออกมาตั้งแต่ยังไม่เคยสัมผัสมันเลย ถ้าภาษาเข้าใจยากหรือพิมพ์พลาดขออภัยด้วยนะคะ

//ต้องสอบหมอให้ติดก่อน แวะมาอ่านกระทู้และไปอ่านหนังสือต่อ 5555555

2
noonk gnow 17 ก.ค. 60 เวลา 13:26 น. 13-2

โหอ่านเพลินมากเลย ขอบคุณที่มาแสดงความเห็นกันเนอะ เป็นกำลังใจให้น้า

0
ลำสาลี 17 ก.ค. 60 เวลา 09:04 น. 14

เข้ามาอ่านแล้วรู้สึกสับสน สรุปไม่ได้ว่าเรียนหมอแท้จริงแล้วดีหรือไม่ ถ้าคิดว่ามีใจรักก็เรียนได้ แต่เอาเข้าจริงคนใจรักอยากเป็นหมอมากๆกลับสอบไม่ติด ส่วนคนเก่งๆกลับสอบติดแล้วก็เรียนหมอกันไป ไม่รู้ใจรักหรือเปล่า หรือว่าไม่รู้คิดไม่เป็น สอบติดก็ต้องเรียน

เพื่อนๆผม เรียนที่เตรียมอุดม ก็ไปต่อหมอในท๊อป3 เรียนที่มหิดลก็ไปต่อหมอ ปีๆนึงตอ.เรียนหมอทั่วประเทศ 600กว่า มหิดลอีกเกือบ200คน เด็กกลุ่มนี้เขาอยากลำบากหรืออยากสบายกันแน่ เด็กกลุ่มนี้จะว่าเขาคิดไม่เป็น ก็ไม่น่าใช่ สรุปไม่รู้แน่ชัดอีกตามเคยว่าเรียนหมอดีจริงหรือไม่...

1
noonk gnow 17 ก.ค. 60 เวลา 13:28 น. 14-1

เหมือนเป็นทางที่ขีดไว้แล้วตามนี้จากรุ่นสู่รุ่นประมาณนั้นมั้งคะ ต้องคนที่มั่นใจมากๆถึงจะไม่คล้อยตามและกัดฟันแยกทางออกมาได้

0
rakk 17 ก.ค. 60 เวลา 12:26 น. 15

อย่าไปสับสนเลยน้อง ภาษาไทยเขาเรียกว่าร้อยพ่อพันแม่ ความคิดไม่เหมือนกันหรอกครับ สิ่งที่สำคัญให้คิดตามเหตุตามผล ตามคุณสมบัติตัวเรา ตามฐานะการเงิน ตามสังคม อะไรๆก็ว่ากันไป

สมมุติ คนหนึ่ง รวยและเก่ง(ถ้าสอบหมอติดแน่นอน) ถามว่าเขาอยากเรียนหมอไม๊ ก็ไม่มีใครตอบแทนเขาได้ เขาอาจจะเรียนหมอเพราะใจชอบ หรือเพราะตัวเองเก่ง หรือ พ่อแม่อยากให้เรียน หรืออยากตามใจพ่อแม่ หรืออยากให้มีคนยอมรับ ยังมีเหตุผลอีกร้อยแปด ก็ไม่ผิดอะไร

ทำนองเดียวกันคนๆนั้น อาจไม่เรียนหมอก็ได้ เพราะคิดว่า ทางบ้านรวยมีธุรกิจ อยากทำงานที่บ้านตนเอง เรียนอะไรที่สามารถต่อรองรับ ส่งเสริม ต่อยอดธุรกิจ เขาก็จะไม่เรียนหมอ หรือเขาชอบวิศว หรือเขาชอบนิติ หรือรวยแล้วเรียนอะไรก็ได้ ยังมีเหตุผลอีกร้อยแปด ที่เขาจะไม่เรียนหมอ ก็ไม่ผิดอะไร

ปล สิ่งที่คิดว่าไม่ถูกตามเหตุผล เช่น คนเห็นแก่ตัว คนทำผิดกฎหมาย คนจนอวดรวย(ทำเกินกำลัง ใช้จ่ายเกินตัว เพราะจะทำให้ปัญหาตามมา คนรวยพันล้านจะขึ้นเครื่องบินไปกลับก็ไม่ผิดเพราะไม่ได้ใช้จ่ายเกินกำลัง คนปานกลางพอมีฐานะ จะซื้อรถตามฐานะก็ไมผิดอะไร คนจนไม่มีรถขับก็ไม่เห็นเป็นอะไร)

0
s.k.y-fly 17 ก.ค. 60 เวลา 16:58 น. 16

เพราะเราอยากช่วยคนอื่นให้หายเจ็บค่ะ อันนี้ไม่ได้ตอบตามสคริปหรือตอบโลกสวย แต่เรารู้สึกแบบนั้นจริงๆ เราคลุกคลีกับสายงานด้านสาธารณสุขมาแต่เด็กเพราะแม่ น้า หรือป้าเราทำงานด้านนี้ ความรู้สึกมันมาชัดเจนที่สุดตอนเราอยู่ม.5 ที่ไปดูงานที่รพ. ตอนเราเวียนไปห้องฉุกเฉินเห็นคุณยายท่านหนึ่งนอนเจ็บแล้วคุณหมอที่ประจำอยู่พยายามรักษาคุณยายให้อาการทุเลาลง เราเลยเกิดความรู้สึกว่าถ้าหากเราเป็นคนที่ทำให้คุณยายท่านนั้นหายเจ็บได้ก็คงดี แล้วมันก็อยู่ในใจเรามาตลอด

1
noonk gnow 17 ก.ค. 60 เวลา 22:10 น. 16-1

เยี่ยมมากค่ะน้อง ดีใจแทนคนไข้ในอนาคตเลย แต่รู้ใช่ป่าวว่ารักษาวันนึงเป็นหลักร้อยคน เจอแต่ละคนมากหน้าหลายตา ไหนจะญาติคนไข้อีก ไม่ใช่ว่าคนไข้ทุกคนจะเป็นอย่างที่เราคิดนะคะ ไหนจะปัจจัยอื่นๆอีกที่เราได้เขียนไว้ข้างบนพร้อมโจมตีบั่นทอนจิตใจเราตลอดเวลา อยากให้ยึดปณิทานนี้ไว้ให้มั่นๆ ไม่งั้นมีหวังถอยหนีทุกราย

0
ก็นะ 18 ก.ค. 60 เวลา 00:20 น. 17

(เด็กซิ่ว)

ตอนแรกผมทำงานเพราะอยากรวย งานที่ทำก็เงินดีมาก แต่รู้สึกโดดเดี่ยว ก็เลยไม่อยากให้ใครต้องโดดเดี่ยวเหมือนกับตัวผม อยากให้คนรักกันได้อยู่ด้วยกัน ก็เลยตั้งใจจะเรียนแพทย์ เพราะความโดดเดี่ยวมันแบบโหดร้าย

แต่ก็มีเหตุผลอื่นอีก คงหนีไม่พ้น เงิน หน้าตาทางสังคมที่จะไปอยู่อีกขั้น ผู้หญิง

1
noonk gnow 18 ก.ค. 60 เวลา 02:28 น. 17-1

"ไม่อยากให้ใครต้องโดดเดี่ยวเหมือนกับตัวผม อยากให้คนรักกันได้อยู่ด้วยกัน" งงอ่ะ หมายความว่าไงคะ อาชีพที่ทำอยู่มีปัญหากันหรอคะหรือยังไงเราไม่เข้าใจ555

ปล ชะงักตรงประโยคสุดท้ายค่ะ555555555+

0
Dgsg 18 ก.ค. 60 เวลา 01:06 น. 18

เรานี่อยากเป็นหมอมากๆเลยนะ อยากช่วยคน อยากทำงานสายนี้ เเต่ทำไงได้ หัวสมองมันไม่อำนวยเลยอะ5555 รู้ตัวเเหละว่าทำไม่ได้ เเต่ก็อยากเป็นมากๆอยู่ดี เป็นสิ่งเดียวในชีวิตที่คิดว่าพยายามเเค่ไหนก็คว้ามันมาไม่ได้ ก็นะ คนมีความพร้อมเยอะเเยะกว่าเรามาก เเค่ใจรักอย่างเดียวมันรักษาใครไม่ได้ ทำใจมานานเเล้วเเหละ555

2
noonk gnow 18 ก.ค. 60 เวลา 15:28 น. 18-1

สู้ๆค่ะ ถ้าตั้งใจจะทำเชื่อมั่นว่าเราทำได้ ก็มีโอกาสสำเร็จไปครึ่งนึงแล้วนะคะ

0
seeskySoon 20 ก.ค. 60 เวลา 03:46 น. 18-2

55555ขอบคุณนะคะ เเต่ไม่ได้เเล้วค่ะ^^เราเลือกเรียนคณะอื่นไปเเล้ว ทิ้งความคิดความหวังที่จะเรียนสายนั้นมานานพอสมควรเเล้วละค่ะ เเต่ใจก็ยังอยากอยู่นะคะ บางเรื่องเเค่ใจอย่างเดียวมันไม่พอจริงๆ555

0
สมเดื๊อก 18 ก.ค. 60 เวลา 17:10 น. 19

สาเหตุของผมอาจจะต่างจากคนอื่นหน่อย แต่เชื่อว่าน่าจะมีคนแบบผมอยู่หลายคนเหมือนกัน ผมอยากเป็นแพทย์เพราะต้องการเป็นแพทย์วิจัยครับ (ถ้าระบุเต็มๆ คือแพทย์วิจัยด้านวิศวกรรมชีวเวชระดับโมเลกุล) ตอนนี้ซิ่วจากคณะเดิมมาเตรียมตัวสอบใหม่ปีหน้า เพราะตอนแรกที่บ้านตั้งใจอยากให้เป็นวิศวะ(เหมือนพ่อ)และผมเองก็คะแนนถึง ประกอบกับผมอยากเรียนต่อป.โทด้านวิศวกรรมชีวเวชอยู่แล้ว แต่ป.ตรียังเลือกไม่ถูกว่าจะเรียนอะไร (ที่จริงคือตอนนั้นผมยังค้นหาตัวเองไม่เจอว่าจริงๆ ชอบอะไร พอมีกระแสค่านิยมหรือสาขาวิชาอะไรที่ดูแปลกใหม่ ดูเท่ ไม่เหมือนใคร และเป็นสายวิทย์ ก็เลือกๆ มันตามเขาไปงั้น แล้วก็เอามาหลอกตัวเองใหม่ว่า เนี่ย มีเหตุผลตั้งหลายอย่างที่อยากเป็นหมอ วิศวะ สถาปนิก ฯลฯ เปลี่ยนไปเรื่อย แต่ที่จริงแล้วมันมาจากฐานความคิดที่ว่ายังหาตัวเองไม่เจอเลยเลือกตามกระแสนิยม สุดท้ายพอรู้ตัวก็พังลงมาหมด) เพิ่งมาค้นพบเมื่อปลายปีที่แล้วว่าจริงๆ อยากทำอะไร เพราะอะไร รวมถึงเป้าหมายในอนาคต จนตอบตัวเองได้หมดถึงตัดสินใจว่าอยากเรียนแพทย์จริงๆ เลยลาออกมาซิ่วสอบใหม่ แต่จบออกมาผมคงไม่ใช่หมอแบบที่คนทั่วไปรู้จักครับ เพราะสิ่งที่ผมอยากทำคือคิดค้นและวิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ ออกมาในหลายๆ สเกล แถมเฉพาะทางสายที่ตั้งใจ (พยาธิวิทยา) ก็เป็นหนึ่งในแพทย์ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังด้วย


เอาเป็นว่าตอบทีละประเด็นนะครับ

- เรื่องนอนน้อยหรือโดนปลุกระหว่างหลับ เข้าใจว่าเป็นธรรมดาของอาชีพแพทย์ เราบังคับร่างกายตัวเองไม่ให้รู้สึกเหนื่อยล้าไม่ได้ แต่เราแก้ที่ทัศนคติได้ครับ ถ้ามองการถูกปลุกเป็นเรื่องปกติของอาชีพสายวิทย์สุขภาพที่ต้องอยู่เวร แม้จะไม่หายหงุดหงิดเป็นปลิดทิ้ง แต่ก็คงลดความรู้สึกแย่ที่มีต่อปัญหาได้มากขึ้นครับ

- เรื่องกระแสสังคมกดดัน เราห้ามค่านิยมสังคมไม่ได้ก็จริง แต่ผมคิดว่าเราเปลี่ยนแรงกดดันให้กลายเป็นมาตรฐานการทำงานของเราได้ และในกรณีที่กระแสสังคมลามมาตีกรอบชีวิตปกตินอกวิชาชีพ เราก็สามารถสร้างค่านิยมอีกด้านให้สังคมได้ครับ อาจไม่ถึงขั้นพลิกหน้าประวัติศาสตร์ แต่หลายครั้งการกระทำเล็กๆ ก็อาจจุดชนวนให้สังคมเกิดความเปลี่ยนแปลงได้ (แต่แน่นอน อุปสรรคต้องเยอะเป็นธรรมดา) สุดท้ายคือ ถ้าเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุผลจริงๆ โดยที่การกระทำของเราไม่ผิด เราก็คงที่แก้ที่ทัศนคติตัวเองในการวางเฉยต่อปัญหาครับ (เปลี่ยนที่ตัวเองง่ายกว่าเปลี่ยนคนอื่น)

- เรื่องเสี่ยงต่อการฟ้องร้อง ผมเคยเห็นกรณีที่หมอและ/หรือบุคลากรทางการแพทย์ถูกฟ้องเพราะเกิดความผิดพลาด จนส่งผลกระทบต่อวงการสาธารณสุข ทำให้บุคลากรไม่กล้าลงมือรักษาหากไม่มีความชำนาญจริงๆ จนถูกฟ้อง หลายครั้งที่ผู้ป่วยอาการแย่ไม่มีรพ.ไหนกล้ารับก็เพราะกรณีกลัวการฟ้องร้อง เรื่องนี้ก็เป็นปัญหาในวงการสาธารณสุขจริงๆ ครับ

- เรียนหนักจนแก่ สำหรับคนอื่นคงซีเรียส แต่ตรงนี้ผมเคยวางแผนกับศึกษาแนวทางอาชีพไว้จนแน่ใจแล้วว่ายังไงก็ต้องเรียนเยอะ (ของผมคือแพทย์วิจัย 10 ปี เฉพาะทาง 3 ปี ป.โทวิศวฯ 2 ปี รวมไม่ต่ำกว่า 15 ปี) แต่ผมมั่นใจแล้วว่าอยากเรียนและอยากมีชีวิตอยู่กับงานนี้

- ความทุกข์ใจอื่นๆ บางเรื่องแย่จริงๆ ก็ไม่ควรเมินเฉย แต่บางเรื่องที่เกิดจากลักษณะของอาชีพก็อาจแก้ได้ที่ทัศนคติของตัวเอง (ต้องมีพื้นฐานความคิดก่อนว่าความทุกข์ใจหรือความลำบากนี้คือธรรมชาติของอาชีพหมอ...บางทีก็หมอไทย)

- เรื่องรพ.รัฐ vs เอกชนนี่ก็เป็นปัญหาจริงๆ ครับ ระบบสาธารณสุขไทยมีปัญหามานานเหลือเกิน ราชการขาดแคลนแพทย์แต่ก็เน่าเฟะจนบุคลากรทนไม่ไหว ต้องย้ายหนีไปอยู่เอกชนกันนักต่อนัก พอเป็นแบบนี้แพทย์ก็กระจุกอยู่แต่ในเมือง ผลิตแพทย์มาได้เท่าไหร่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาจริงๆ สักที ตอนนี้ผมคงยังตอบไม่ได้ว่าในอนาคตหากเจอปัญหาเช่นนั้นจะทำอย่างไรเหมือนกัน


สำหรับผม พอชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสีย บวกกับความชอบและความสนใจของตัวเองที่มีอยู่เดิมแล้ว บอกได้เต็มปากว่าอยากเรียนแพทย์จากใจจริงครับ


จากประสบการณ์ที่เจอมา ผมเคยเจอคนที่อยากเรียนหมออยู่หลายประเภท (มหาลัยที่ผมเคยอยู่มีคณะแพทย์ในสังกัดเยอะที่สุดในไทย) ส่วนใหญ่พอเวลาถามว่าทำไมถึงมาเรียนแพทย์ ก็มักจะมีคำตอบแนวอยากช่วยคนบ่อยๆ บ้างก็เลือกเพราะถนัดชีวะ คิดว่าตนทำได้ ฯลฯ แต่พอถามให้ลึกลงไปก็มักจะหาคำตอบจริงๆ ของตัวเองไม่เจอกัน คิดว่าคงเป็นเพราะอิทธิพลด้านค่านิยมของสังคมไทยด้วยที่ตั้งเป้าอาชีพหมอไว้สูง ทำให้มีหลายๆ คนเลือกหมอทั้งๆ ที่ตอบตัวเองไม่ได้จริงๆ ว่าความชอบของตัวเองคืออะไร แต่คนที่เลือกเพราะมีเหตุผล (บางคนก็เจ๋งมากๆ) ของตัวเองก็มีอยู่ครับ

2
noonk gnow 18 ก.ค. 60 เวลา 18:43 น. 19-1

เป้าหมายชัดเจนมากๆค่ะ ดีใจด้วยนะคะที่ค้นหาตัวเองพบ ถ้าปรับทัศนคติต่อข้อเสียพวกนี้ได้แล้วก็เป็นแพทย์ที่ดีได้แน่นอน แต่อย่างที่บอกว่าสิ่งที่คิดอาจไม่เหมือนสิ่งที่เป็นเสมอไป ถ้าสอบได้แล้วอยากให้ยึดและจำเป้าหมายของตัวเองไว้ดีๆ ไม่เอนเอียงต่อมรสุมรุมล้อมเน้อ :)

0
สมเดื๊อก 18 ก.ค. 60 เวลา 21:59 น. 19-2

ขอบคุณมากครับ ก็จริงครับที่สิ่งที่คิดอาจไม่เหมือนสิ่งที่เป็น ผมเองก็ไม่รู้ว่าอนาคตจะท้อ ยอมแพ้หรือเกิดอะไรขึ้นก่อนหรือเปล่า เพราะเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็เคยถามตัวเองซ้ำไปซ้ำมาหลายรอบ อุปสรรคก็คงมีเข้ามาเรื่อยๆ (แต่ผมชอบนะ สนุกดี มันเป็นการพิสูจน์และพัฒนาตัวเองด้วย XD) แต่ตอนนี้ผมมั่นใจมากว่าไม่ได้เตรียมตัวแพ้หรือถอยแน่นอน และต่อให้เกิดขึ้น ผมก็มั่นใจมากว่าจะแก้ไขมันได้


ถ้าจขกท.กำลังจะสอบหรือเป็นนศพ.ไปแล้วก็ขอให้โชคดีนะครับ ;)

0
กัลย์ 19 ก.ค. 60 เวลา 11:05 น. 20

ลองอ่านบทความดี ๆ จากแพทยศาสตร์ มศว รุ่นที่ 27

รีวิว ชีวิตนิสิตแพทย์ Version เด็กเกรดเฉลี่ย 3.05 [ถีบขึ้นมาได้ตอนปีสุดท้ายจาก 2.78]

(ฉบับย่อมากๆ ถ้าเอาเต็มๆ คงต้องเขียนเป็นหนังสือ)

*คำเตือน หากคุณกำลังมองหาคำตอบของคำถามว่า

“เรียน-ังไงให้เก่ง” หรือ “อ่านหนังสือยังไงให้ได้คะแนนดี”

ขอให้ข้ามโพสนี้ไป เพราะไม่ได้คำตอบอย่างแน่นอน

แต่ถ้าเป็นคำถามว่า

“เรียนหมออย่างไรให้มีความสุขอย่างที่ควรจะเป็น”

ก็ขอให้ stay tuned และ scroll down ค่ะ ยาวมากๆ พยายามย่อแล้วจริงๆ

----

ต้องออกตัวไว้ก่อนเลยว่าที่บ้าน พ่อแม่ไม่ได้เป็นหมอ ไม่ได้ทำงานสายอาชีพที่ใกล้เคียงกับวิชาชีพนี้เลยแม้แต่นิดเดียว พี่สาวก็ยิ่งแล้วใหญ่ คนละสายคนละทางที่แท้ทรูมากๆ

จริงๆ ตั้งใจเป็นหมอมานานละ ตั้งแต่เด็กๆ ที่เคยไป รพ.จุฬาบ่อยๆ

ก็มีไขว้เขวมาบ้างตอน ม.6 ไปสอบวิศวะบ้าง สอบบัญชีบ้าง สอบสถาปัตย์ จนได้เข้าไปจ่ายค่าเทอมแล้วด้วย แต่สุดท้ายก็กลับมาความตั้งใจเดิมอยู่ดี

แต่เราไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า เรียนหมอมันเรียนยังไง

รู้แค่ว่า “เรียน 6 ปี 3 ปีแรกเรียกว่าพรีคลินิก อีก 3 ปีหลังเรียกว่าคลินิก จบ 6 ปี เท่ากับเป็นหมอ”

ไม่เคยรู้เลยว่า พรีคลินิกจะสอบทุกสองอาทิตย์ ผ่ากรอสทุกวัน ทำแลปทุกวัน

ไม่เคยรู้เลยว่าขึ้นคลินิกมาจะต้องตื่นมาราวน์กี่โมง จะต้องเขียนรายงานกี่ฉบับ จะต้องสอบปากเปล่า สอบช้อยส์ สอบข้อเขียนแบบนี้

ไม่เคยรู้อีกเช่นกันว่า จบ 6 ปี ไม่ได้เป็นหมอ แต่คุณต้องสอบ License ให้ผ่านทั้ง 3 รอบด้วย

ชอบมีคนมาถามว่า เรียนหมอยากไหม เรียนหมอเหนื่อยไหม งานหนักหรือเปล่า

ก็ต้องบอกเลยว่า ยากมากๆ และเหนื่อยที่สุดในชีวิต 23 ปีที่ผ่านมา

มันไม่ได้ยากที่ตัววิชา เพราะเรารู้สึกว่า แต่ละคณะ แต่ละอาชีพ ก็มีความยากในแบบของมัน

จะให้เราไปนั่งเทียนเขียนสูตรฟิสิกส์ หรือให้เราไปนั่งศึกษาศิลปะยุคเมดิเตอเรเนียน ก็คงทำไม่ได้เหมือนกัน

มันยากที่ว่า เราจะมีวิธีจัดการยังไง ให้เราเรียนแล้วรู้สึกว่าเรามีความสุข กับสิ่งที่ทำอยู่มากกว่า

และมันยากที่สุดว่า เราจะทำยังไงให้ตลอด 6 ปีที่เรียนไปล้มไป เราไม่ลืมว่า นี่คือความฝัน ความตั้งใจของเราที่เราตั้งใจอยากจะเป็นมาตลอด และเรากำลังทำมันอยู่ อีกไม่นานมันจะเป็นจริง

ตอนปี 1 ก็คงจะเป็นปีที่สบายที่สุดแล้วแหละ สบายกว่าตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยอีก

วันๆ ตื่นนอน ไปเรียน ทันบ้าง สายบ้าง เคยสายจนอาจารย์ล็อกห้องมาแล้ว เรียนเสร็จก็กลับมาทำกิจกรรม ทำแสตน ซ้อมสัน ประชุม ใกล้ๆ 4 ทุ่มก็ต้องรีบแยกย้ายก่อนเค้าปิดประตูหอ ดึกๆ ลงมามินิมาร์ท ซื้อไข่ ซื้อมาม่าขึ้นไปผัดกินบนห้อง วันรุ่งขึ้นก็กลับมาวงจรเดิม เป็นแบบนี้มาตลอด

สำหรับเรา ชีวิตปี 1 มันเต็มที่มากๆ เราได้ทำทุกอย่างในสิ่งที่เราอยากทำ ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน รวมแล้วเป็นปีที่มีความสุขมากๆ ถ้าจะมีเรื่องให้ทุกข์ซักเรื่องนึง ก็คงเป็นเรื่องที่เพื่อนมาซ้อมสันสาย ไม่มาซ้อม ดีลกับเพื่อนไม่ได้ อะไรประมาณนี้มากกว่า มันเป็นปีที่ทำให้เราทำงานเป็นมากขึ้นมากๆ

ถ้าในมุมมองของเด็กกิจกรรม ก็เหมือนเป็นปีฝึกงาน ที่เราได้ลองเป็นหลายๆ บทบาท ได้เป็นทั้งผู้นำ ที่ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นผู้ตามที่ดีไปพร้อมๆ กันด้วยเหมือนกัน ได้เป็นคนที่อยู่เบื้องหลังเงียบๆ ได้ใช้ความสามารถที่มีอยู่บ้างมาช่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่พอจะช่วยได้

ถ้าย้อนเวลากลับไปแก้ไขอะไรได้ ก็ขอเก็บสิทธินั้นไว้ก่อนแล้วกัน

เพราะตลอด 1 ปีนั้นมันเป็นส่วนสำคัญ พาร์ทใหญ่มากๆ ที่ทำให้เรากลายมาเป็นคนอย่างทุกวันนี้จริงๆ

ชีวิตพรีคลินิก ที่ใครๆ ก็บอกว่าเป็นชีวิตดีๆ เพราะได้อยู่ในเมืองหลวง เรียนที่อโศก เดินไปไม่กี่ก้าวก็ถึงใต้ดิน หันหลังกลับมาขึ้นเรือคลองแสนแสบไปเซ็นทรัลเวิลด์ได้ใน 10 นาที

แต่สำหรับเรา มันเป็นปีที่เหนื่อยมากๆ เป็นปีที่ท้อมากๆ

เป็นครั้งแรกที่เรารู้สึกจริงๆ ว่าตัวเองโง่

เดิมที ตั้งแต่ประถมจนถึงมัธยม ก็ไม่ใช่คนที่เรียนเก่งมาก มาสายตลก มักได้เกรดจะอยู่ที่ประมาณ 3.6-3.7 แถวๆ นี้ตลอด ไม่ใช่เด็กเนิร์ด ไม่เคยมาสายโอลิมปิกเลย แต่ก็คิดว่าเป็นคนหัวดีพอสมควร หลับในห้องแค่ไหน ทำข้อสอบได้ตลอด มั่วไปแค่ไหน ก็ผ่านครึ่งมาได้ตลอด เป็นที่พึ่งของเพื่อนๆ ได้ตลอดเวลา

จนพอได้มาเรียนพรีคลินิก มันเป็นชีวิตที่ตื่นเช้ามา ก็นั่งเรียน เรียน เรียน เรียน เรียน เรียนเลคเชอร์ ทั้งวันทั้งคืน ตั้งแต่ 9.00-16.00 น. มีพักเที่ยงให้ได้หายใจหายคอกับเค้าบ้าง มีตลาดนัดให้เดินเจอโลกอื่นบ้างนอกจากโลก 4 ช่องสไลด์ ยังดีที่เลิก 4 โมงให้ได้ออกไปหาอะไรอร่อยๆ กิน

พูดตรงๆ ว่าตอนที่ขึ้นปี 2 มาช่วงแรกๆ ไม่ชอบเลย ไม่ชอบมากๆ จนถึงจุดที่คิดว่า ถ้าป่านนี้ไปเรียนสถาปัตย์ เราจะมีความสุขมากกว่านี้รึเปล่านะ

การเรียนพรีคลินิกทำให้ได้รู้เลยว่า เราไม่ชอบการนั่งเรียนเลคเชอร์มากขนาดไหน

และการสอบทุก 2 สัปดาห์ คือจุดเริ่มต้นของความพินาศทางการศึกษาของเนปจูนที่แท้จริง

เราเป็นคนที่เรียนในห้องก็ ทันบ้างไม่ทันบ้าง จดบ้าง ไม่จดบ้าง แถมกลับมายังไม่ฟังเลคเชอร์อีก

พอตอนสอบ (ที่ถี่มากๆ) ก็กลายเป็นว่า อ่านชีทเปล่า มีแต่เนื้อหาที่เป็น bullet ที่อาจารย์ใส่ไว้ให้แค่นั้น

พอสอบมา ก็ตามนั้นนั่นแหละ

แต่ช่วงหลังๆ มาเริ่มมีทำแลปมากขึ้น เราก็มีความสุขมากขึ้นนะ พอได้ลงมือทำ ชอบแลปที่ได้ส่องกล้องมาก ทั้งแลป infect ส่องขี้ ส่องแมลงนู่นนั่นนี่ ตอนสอบหาพยาธิในขี้นี่สนุกมากๆ

ยิ่งพอได้มาผ่ากรอส ใครจะชอบไม่ชอบยังไงไม่รู้หรอก แต่สำหรับเรามันเป็นช่วงเวลาที่ดีมากๆ ของการเรียนพรีคลินิกเลย เราเฝ้ารอวันที่จะได้ผ่ากรอส เพราะมันเป็นช่วงเวลาที่เรารู้สึกว่าเราจะได้หลุดไปจากโลก 4 ช่องสไลด์ซักที บวกกับเพื่อนในโต๊ะกรอสที่ดีมากๆ ช่วยสอนตลอด ทวนให้ทุกครั้งที่ผ่าเสร็จ

แต่ก็ถึงจะชอบทำแลปมากแค่ไหน ถ้าเลคเชอร์ไม่ได้ พื้นฐานความรู้ไม่ได้ ก็คือไม่ได้อยู่ดี

ทำให้เราไม่เคยผ่านมีนเลยซักครั้งเดียว ตั้งแต่ขึ้นปี 2 จนจบบล็อกสุดท้ายของปี 3

เกรดตอนปี 2 ไม่เคยได้สูงกว่า C+ มี B หลุดมาบ้างจากวิชาเช่นภาษาอังกฤษ หรือมี A ช่วยดึงเกรดจากวิชา SWU

ซึ่งเอาจริงๆ มันก็คือเป็นผลจากการไม่ตั้งใจเรียนนั่นแหละ

จุดเปลี่ยนในชีวิต คือสอบตก MPL ตอนบล็อก endocrine ที่เป็นบล็อกสุดท้ายของปี 2

ตอนนั้นช็อกไปเลย เพราะที่ผ่านมารู้สึกแค่ว่า ทำยังไงก็ได้ให้มันผ่านไป ไม่คิดเลยว่าจะทำตัวแย่มากขนาดปล่อยให้สอบตกมาขนาดนี้ กลายเป็นช่วงที่ down ไปเลย

บอกแล้ว ว่าเป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่าตัวเองโง่จริงๆ

เสียใจกับทุกๆ อย่าง ว่าทำไมตอนนั้นเราไม่ตั้งใจเรียน เราไม่อ่านหนังสือ เราไม่ขยันให้มากกว่านี้

แต่ก็คงจะเป็นเพราะแต้มบุญ เพราะความโชคดีอะไรก็แล้วแต่ เรามีเพื่อนรอบตัวที่ดีมากๆ ในวันที่เราอยู่ในจุดที่ down ที่สุดของชีวิตทั้งเรื่องเรียน และเรื่องส่วนตัวตอนนั้น ทำให้เราเห็นเลยว่าใครทีหวังดีกับเราจริงๆ ใครที่คอยยื่นมือมาช่วยในวันที่เราลงไปถึงจุดต่ำสุด

ขอบคุณจูน ที่ให้ยืมชีท endocrine ทั้งหมดแบกไปที่คอมเมด และขอบคุณอีแจ๊ค กับอีกหลายๆ คนมากๆ ที่มารุมติวให้ตอนกลางคืนที่วัดอำภา เป็นการติวที่จะไม่ลืมเลย

ตั้งแต่นั้นมาก็เลยตั้งปณิธานกับตัวเองอย่างแน่วแน่ว่า ทำยังไงก็ได้ แต่จะไม่กลับไปอยู่ในจุดนั้นอีกแล้ว

พอขึ้นมาปี 3 ก็เลยตั้งใจเรียนมากขึ้น (นิดนึง) ปรับตัวได้มากขึ้น รู้วิธีเรียนที่เหมาะสมกับตัวเองมากขึ้น คะแนนออกมาก็ดีขึ้นจริงๆ ยังไม่ผ่านมีนเหมือนเดิม

แต่ที่เพิ่มเติมคือความสุขในการเรียนที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ปี 3 เป็นปีแรกที่เราขยับจากเกรด C กับ C+ มาเป็น B บ้าง แต่ก็ยังมีแมวมาเรื่อยๆ เหมือนเดิม

และเป็นครั้งแรกที่ได้ A ในวิชาอื่นที่ไม่ใช่รหัส SWU

A ตัวแรกที่ได้จากการเรียนวิชาคณะ คือวิชา PC 301 จิตเวชคลินิก เป็นวิชาที่เรียนเลคเชอร์แรกแล้วรู้สึกเลยว่า เฮ้ย สนุก มันไม่เหมือนกับวิชาคณะเดิมแต่ละบล็อกที่ผ่านๆ มา อาจจะเป็นเพราะมันมีความ clinical correlation มากขึ้น ต่างจากวิชา basic sci บล็อกอื่นๆด้วย เลยเป็นวิชาคณะตัวแรกที่รู้สึกว่าจับต้องได้ กลายเป็นวิชาที่ตั้งใจเรียนมาก สั่งหนังสือจากเว็บศูนย์หนังสือจุฬามาอ่านคู่กับเลคเชอร์อาจารย์ นั่งพิมพ์สรุปในคอม เป็นที่มาของสรุปจิตเวชที่ตอนนี้ไม่รู้ว่ายังวนเวียนอยู่กับน้องรึเปล่า แต่มันเป็นครั้งแรกที่กลับมารู้สึกว่า “เฮ้ย เราก็ทำได้ว่ะ” จากเดิมที่มีแต่ความรู้สึก down มาตลอดการเรียน 2 ปีที่นี่

ขอบคุณ A ตัวนั้น ที่เวลาท้อทีไร จะกลับไปนึกถึงความรู้สึกที่เห็นเกรดตัวนี้ ว่าถ้าเราตั้งใจ มันทำได้จริงๆนะ

ช่วงที่สอบ NL 1 ตอนจบปี 3 ก็เป็นช่วงที่พีคพอสมควรเหมือนกัน ด้วยความที่พื้นฐานไม่แน่นเลยมาตั้งแต่แรก ทำข้อสอบครั้งแรก บล็อกที่เรียนตอนปี 2 นี่ทำแทบไม่ได้เลย จำอะไรไม่ได้ blank ไปหมด เหมือนไม่เคยเห็นสิ่งนี้มาก่อนในชีวิต เท่ากับว่าตอนนั้นเรากลับไปเริ่มต้นใหม่หมดเลย อ่านหนังสือใหม่ ตั้งแต่บล็อกแรกของปี 2 จนถึง endocrine อ่านใหม่เหมือนจะไปสอบปิดบล็อกอีกรอบ ไปสรรหาสรุปของทุกที่ ที่หาได้มาอ่าน จนพออ่านของปี 2 ที่ไม่เคยเรียนมาก่อนจนพอจำได้บ้าง กลายเป็นว่าถ้ามาอ่านของปี 3 แบบนี้ ไม่ทันแน่นอน ก็เลยเปลี่ยนวิธีใหม่ เป็นการนั่งทำข้อสอบทีละบล็อก ย้อนไปทุกปี ประมาณ 7-8 ปีถ้าจำไม่ผิด ซื้อกระดาษคำตอบของศึกษาภัณฑ์มานั่งทำจะได้ไม่ต้องเขียนลงข้อสอบ ไว้กลับมาทำใหม่ได้ ทำเสร็จก็จะตรวจเองจากเฉลยของรุ่นพี่ ถ้าทำได้เกิน 70% ก็จะอ่านเฉพาะเฉลยข้อที่ผิด แล้วก็จะผ่านบล็อกนั้นไป แต่ถ้าไม่ถึง 70% ก็จะกลับไปอ่านเนื้อหาใหม่อีกรอบ แล้วกลับมาทำใหม่ เป็นอย่างงี้ไปจนครบทุกบล็อก พอทำแบบแยกบล็อกครบแล้ว ก็ถึงจะไปทำแบบรวมทุกบล็อกเหมือนข้อสอบจริง 300 ข้อ จนครบทุกปี ทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 2 เดือนก่อนสอบ (เริ่มทำหลังปีใหม่ สอบเดือนมีนา)

เดือนสุดท้ายก่อนสอบเป็นเดือนที่เหนื่อย มากกกกกกกกกก (ก.ไก่ อีกห้าล้านตัว) ตื่น 7 โมงเช้า นอนตี 1 ตี 2 ทุกวัน เหนื่อยจนร้องไห้ไป ทำข้อสอบไป เพราะรู้สึกว่าเราต้องพยายามกว่าคนอื่นหลายเท่ามากๆ ด้วยต้นทุนที่ไม่ดี พื้นฐานไม่ดีมาตั้งแต่แรก เหมือนกลับไปเริ่มที่ศูนย์ ในขณะที่คนอื่นเริ่มที่ครึ่งทาง หรือบางคนเริ่มที่เดินอีกก้าวเดียวก็ถึจุดหมายด้วยซ้ำ

สิ่งสำคัญที่สุดตอนนั้นคือกำลังใจ เรามีแต้มบุญมากพอจากตอนที่ตก MPL เผื่อแผ่มาจนถึงตอนนี้ กำลังใจสำคัญที่สุดคือ ครอบครัว พ่อกับแม่ไม่เคยกดดันเราเลย ไม่เคยกดดันว่าเราจะต้องเก่ง เราจะต้องสอบได้คะแนนดี (แต่ต้องผ่าน) เป็นเหตุผลนึงที่ไม่ว่าจะ down แค่ไหน เราไม่เคยคิดจะลาออกเลย

อีกกำลังใจสำคัญมากๆ ตอนนั้น คืออาจารย์พรีคลินิก โดยเฉพาะอาจารย์อัมพร และอาจารย์โชติ อาจารย์อัมพรคือสายซัพพอร์ตที่แท้ทรู อาจารย์จะคอยมาถามตลอด โดยเฉพาะพอเป็นเราที่เป็น 30 คนรั้งท้ายของรุ่น “วันนี้เป็นยังไงบ้าง” “อ่านหนังสือด้วยนะเนปจูน” “สู้ๆ” เป็นคำถามสั้นๆ ที่อาจารย์อาจจะถามกับทุกๆ คน แต่สำหรับเรา คำพูดของอาจารย์เป็นแหล่งพลังงานชั้นดี ที่ไว้เติมพลังตอนที่หมดแรงจนอยากจะเลิกอ่าน

ในวันที่ประกาศผล NL ก็เป็นอีกวันนึงที่ได้บอกกับตัวเองอีกครั้งว่า

“ถ้าเราตั้งใจ เราทำได้จริงๆนะ”

ถ้าพูดถึงชีวิตคลินิกตอนปี 4-5

ก็คงไม่มีอะไรมากไปกว่า ตื่นแต่เช้าตรู่ ไปทำแผล ไปลอกแลป ไปดูคนไข้ในความรับผิดชอบตัวเอง และไปราวน์กับพี่และอาจารย์ บ่ายๆ ไปเรียนเลคเชอร์บ้าง วันละ 1-2 ชั่วโมงไม่เกินนี้ แล้วกลับมาราวน์รอบเย็นต่อ ถึงกี่โมงก็สุดแท้แต่ละวอร์ดจะนำพา บางวันก็ 4 โมง บางวันก็ 2 ทุ่ม วันไหนอยู่เวรก็อยู่ไป จนถึง 4-5 ทุ่ม ลงเวรค่อยเดินกลับหอ กลับมาเขียนรายงาน อ่านหนังสือ และนอน วนเวียนไปอย่างงี้ทุกวัน

บ้าน ก็ได้กลับบ้าง ถ้าไม่มีเวรในอาทิตย์นั้น

ส่วนใหญ่พ่อกับแม่จะมาหาที่องครักษ์มากกว่า ไปกินข้าวกลางวันด้วยกัน เอาให้ไม่ลืมหน้ากันก็ยังดี

สำหรับเรา เราชอบการเรียนคลินิก มากกว่าพรีคลินิกนะ

เพราะอย่างที่บอกไปว่าเราเป็นคนที่ไม่ชอบเรียนเลคเชอร์เอามากๆ ดูได้จากเกรดตอนปี 2-3

พอได้มาเรียนคลินิก เป็นการเรียนที่เกิดจากการลงมือทำ ได้เห็นคนไข้จริงๆ เห็น progression จริงๆ

และที่สำคัญคือ ทำให้เราได้เห็นการทำงานของหมอจริงๆ ว่ามันเป็นยังไง

ตอบคำถามตัวเองว่า ในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้าที่เราจะต้องไปทำ เราจะทำได้ไหม

ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา เราเคยเป็นทั้งน้องเล็กสุดในวงราวน์ มีหน้าที่วิ่งหยิบชาร์ต วิ่งไปเอาซาว ไปลอกแลป ไปขอสไลด์ ไปย้อม sputum ทำแผล หยิบเอกสาร งานแรงงานทั้งหมดที่ทำ

ไปจนถึงเป็น extern ที่ต้องมาราวน์ก่อน เขียนออเดอร์ก่อน ไปคอนเช้า ไปเขียนใบต่างๆ แทนพี่ รับโทรศัพท์ก่อนเป็นคนแรก โดนปลุกมาเป็นคนแรกของคืนที่อยู่เวร

ก็มีบ้าง ความรู้สึกที่ว่า ไม่อยากทำ ขี้เกียจ

แต่ในเมื่อมันเป็นหน้าที่

once ที่เราทำแล้ว เราตั้งใจ ในทุกงานที่ทำ

เพราะตอนปี 4 เราเชื่อว่า ถ้าเราวิ่งไปหยิบชาร์ต หยิบเอกสาร หยิบใบต่างๆ เร็ว พี่จะราวน์ได้เร็วขึ้น

ถ้าเราลอกแลปทุกวัน เราจะไม่ต้องวิ่งไปดูแลประหว่างราวน์ และพี่จะได้ไม่ต้องรอ

ถ้าเราไปทำแผล เราจะเป็นคนถ่ายรูปแผลให้พี่ดู และบอก progression แผลได้ด้วยตัวเอง

พอมาเป็น extern เราก็คิดแค่ว่า ทำยังไงก็ได้ ให้ราวน์เสร็จเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่น เช่นขอรีวิวฟิล์ม คอนเซ้า ตามแลป ไปเข้า OR หรือไปออก OPD

ก็คือเราต้องมาช่วยพี่ทำในสิ่งที่เราทำได้ และในหน้าที่ที่เราต้องทำก็ต้องพยายามทำให้ดีที่สุดเหมือนกัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้มากที่สุดจากชั้นคลินิก คือเรียนรู้ตัวอย่างของหมอที่ดี จากการดูคนไข้ ความรู้ การรักษา

เรียนรู้ในแง่ของการทำงาน โดยเฉพาะตอนช่วงที่เป็น extern

แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้เรียนรู้ตัวอย่างของ “พี่” ที่ดีด้วย

การเรียนแพทย์ โดยเฉพาะในการเรียนชั้นคลินิก คือการเรียนแบบ “พี่สอนน้อง” ที่แท้จริง

พี่ เป็นคนที่เราเจอหน้าทุกวัน เช้าถึงเย็น ในวงราวน์ ในห้อง conference ในโรงอาหาร ในทุกที่ที่เดินไป

ที่ผ่านมาเจอพี่มาหลายคนมากๆ และด้วยแต้มบุญที่ยังไม่หมด ส่วนใหญ่เรามักจะโคจรไปเจอแต่พี่ดีๆ

แต่คนเรามีบุคลิกหลายอย่าง และคนเราทุกคนก็มีทั้งด้านที่ดี และด้านที่ไม่ดี

เราก็มีหน้าที่แค่ว่า

อะไรที่ดี อะไรที่เป็นสิ่งที่เราได้รับมาแล้วรู้สึกดี ก็จงจำไว้ และเป็นแบบนั้นให้ได้

พี่ที่ดีในความคิดของเราเป็นยังไง ก็จงเป็นพี่แบบนั้นให้กับน้องรุ่นต่อๆ ไปในอนาคต

อะไรที่ไม่ดี อะไรที่ไม่ชอบ ก็อย่าไปทำกับคนอื่นให้เขารู้สึกแย่เหมือนที่เราเคยโดน

ชีวิตคลินิก มันก็มีแค่นี้แหละ

อาจจะมีการสอบ NL 2, 3 มาแย็บบ้างพอให้มีสีสันในชีวิต หรืออาจจะทะลาะกับเพื่อนในสายบ้างพอเป็นพิธี

แต่เชื่อเถอะ ว่าสิ่งที่จะบอกว่าเราจะเป็นหมอที่ดี หรือเป็นคนที่ดี ไม่ใช่ผลสอบหรอก

สอบตกก็สอบใหม่ได้

แต่เป็นหมอที่ดี เป็นพี่ที่ดี มันขึ้นกับการกระทำของเรา การเรียนรู้ของเราต่างหาก

ถ้าเราเป็นน้องที่ดีไม่ได้ ในวันที่เราขึ้นไปเป็นพี่ จะไม่มีทางเป็นพี่ที่ดีได้เลย

และถ้าเราเป็นลูกศิษย์ที่ดีของอาจารย์ไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่เราจะไปสอนคนอื่นได้เหมือนกัน

การเรียนแพทย์ของเรา 6 ปี ไม่มีช่วงไหนเลยที่โรยด้วยด้วยกลีบกุหลาบ

แต่ก็ไม่มีช่วงไหนเลย ที่มีแต่ดินโคลนเฉอะแฉะเหมือนกัน

ตอนปี 2 เราหลับตาเดิน เดินไปเจอแต่ดินเฉอะแฉะ ไปทางไหนก็ช้าไปหมด ติดไปหมด

ตอนนั้นก็ดูเหมือนว่าตลอดทางมันจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ

พอถึงจุดนึงที่เป็นจุดเปลี่ยน ลืมตาเดินมากขึ้น มองดูทางรอบตัว

มีคนพาเลี้ยวซ้ายไปนิด อาจจะมีต้นไม้ขวาง แต่ถ้าข้ามไปได้ อาจจะเจอฟุตบาทก็ได้

เดินเลี้ยวขวาไปหน่อย อาจจะมีทางแห้งๆ ไม่เรียบมาก มีกุหลาบบ้างประปราย แต่ก็เดินได้ไม่ติดจนเกินไป

จะเดินไปทางไหน ถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย นั่นคือสิ่งที่เราทุกคนต้องการไม่ใช่หรือ

และสำคัญที่สุดก็คงจะเป็นคนที่เดินไปด้วยกัน และคนที่คอยหนุนหลังเราเดิน

ถ้าหาคนสองคนนั้นเจอแล้ว รักษาเขาไว้ดีๆ

เพราะเขาสองคนนี้แหละ ที่จะพาเราเดินไปจนสุดทาง

----

นสพ.ชญามณฑน์ สุวรรณสัมฤทธิ์

แพทยศาสตร์ มศว รุ่นที่ 27


2
น้องปี4 19 ก.ค. 60 เวลา 17:22 น. 20-1

พี่เป็นแพทย์ใช้ทุน อยูที่โรงพยาบาลม.นเรศวรหรือเปล่าคะ อยู่วอร์ดอะไรคะ

งานที่รพ.เหนื่อยมากไหมคะ คนไข้เยอะไหมในแต่ละวัน

0
แอแอ 19 ก.ค. 60 เวลา 23:03 น. 20-2

เค้าเอาบทความมาลงครับไม่ใช่เจ้าของโพสต์

0