Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

กลไกใกล้ตัว

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 กลไกใกล้ตัว

บทความนี้เขียนโดย
นางสาว อ้อมหทัย สกุลพงค์ชัย และ นางสาว ชลิตา บุญโสดากรณ์ จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี 
นาย อนาวิล จีนสุกแสง นาย กฤติกร  สันกริชดุษฎี และนางสาว ภีรญาณ์ นาคจรูญศรี จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี

                 

                ถ้าเราลองสังเกตสิ่งของเครื่องใช้ใกล้ตัวเราในทุกวันนี้ ที่สามารถทำงานได้หรือสามารถขับเคลื่อนได้จะต้องมีกลไกช่วยในการทำงานหรือเรียกว่า Machanism กลไกนั้นก็คือ สิ่งที่ทำให้ระบบเกิดการเคลื่อนที่ โดยเครื่องเครื่องใช้แต่ละชนิดจะมีกลไกที่แตกต่างกันออกไปตามหน้าที่ ซึ่งในชีวิตประจำวันของเรานั้นเราสามารถพบระบบกลไกต่างๆได้มากมาย เช่น

                กลไกการทำงานของพัดลม จะมีกลไกดังนี้  เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบและกดปุ่มเลือกระดับความเร็วของแรงลมตามความต้องการ กระแสไฟฟ้าก็จะเข้าสู่มอเตอร์ ทำให้แกนกลางของมอเตอร์หมุนและทำงาน  โดยใบพัดที่อยู่ตามแกนจะหมุนและเกิดลม พัดลมจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล

      

             กลไกการทำงานของเครื่องสุขภัณฑ์(ชักโครก) โดยกลไกของชักโครกจะประกอบด้วย มือโยกภายในโถชักโครกที่หมุนร่วมกับคานโยกโดยมีก้านยกเกี่ยวติดกับคานโยก และมีปลายอีกข้างยื่นลงไปข้างล่างและทำการดัดปลายเป็นห่วงเล็กๆ เพื่อใช้สวมและรูดไปตามก้านยกอีกก้านหนึ่ง โดยการยกข้างล่างจะทำการยกขึ้นและยกลงไปตามปลอกที่มีลูกยางติดปลายล่าง เพื่อทำหน้าที่เปิดปิดลิ้นชักโครง เพื่อทำให้เกิดการทำงาน

               กลไกเครื่องปรับอากาศ จะใช้ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ(Vapor-Compression Cycle) ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4  คือ คอมเพรสเซอร์  คอยล์ร้อน คอยล์เย็น อุปกรณ์ลดความดัน


                ยังไม่รวมถึงกลไกที่อยู่บนจักรยาน มอเตอร์ไซต์ รถยนต์  ของเล่น และอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นจากการสังเกตเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้านที่อยู่ใกล้ตัวของเรา จะมีกลไกอยู่แทบทั้งสิน บางระบบจะต้องใช้พลังงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า น้ำมัน ลม ฯลฯ เพื่อทำให้เกิดการทำงานและขับเคลื่อน บางอย่างไม่จำเป็น เมื่อทราบว่ากลไกใกล้ตัวสำคัญอย่างนี้แล้ว เด็กๆอย่างมาเรียนรู้เครื่องยนต์กลไกกันเถอะ 



เครดิตภาพ:http://ewepaikleong.blogspot.com/2013/01/working-and-problems-with-car-air.html และ https://www.hometips.com/repair-fix/toilet-problems.html

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น