Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

“ลอดลายมังกร” วรรณกรรมปรัชญาชีวิต ผลงานชิ้นเอกอันทรงคุณค่า

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
“ลอดลายมังกร” วรรณกรรม บทประพันธ์ชิ้นเอก ของ “ประภัสสร เสวิกุล”
ด้วยเนื้อหาแนวปรัชญาชีวิต เล่าเรื่องผ่านตัวละคร
“เหลียง” หรือ อาเหลียง คือตัวแทนของคนจีนอพยมที่มีเพียง “เสื่อผืน หมอนใบ” มุ่งหน้าจากแผ่นดินมาตุภูมิ มาเพื่อแสวงหาอนาคตและความรุ่งเรืองในผืนแผ่นดินไทย กระทั่งสร้างฐานะเป็นเจ้าของกิจการการค้าใหญ่โต เป็นที่นับหน้าถือตาในสังคม มีทายาทมากมายที่จะรับสือทอดเจตนารมณ์

- คุณธรรมประจำใจ และจรรยาบรรณในอาชีพคือสิ่งที่ “เหลียง” ยึดถือและพยายามถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง แม้ว่าหลายครั้ง การสั่งสอนก็ไม่ประสบผลเสมอไป

- วิธีดำเนินธุรกิจ วิธีจัดการชีวิตครอบครัวของเหลียง จะเป็นบทเรียนที่ดีให้หลายๆ คนนำไปปรับใช้ นอกเหนือไปจากความบันเทิงที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในนวนิยายเรื่องนี้

- อาเหลียง เป็นผู้นำมีความมั่งคงโดยเฉพาะด้านฐานะ และมีความรับผิดชอบด้านทำมาหากิน ที่ประสบความสำเร็จ


••• “ลอดลายมังกร” ••• ตำนานการต่อสู้ชีวิตสุดยิ่งใหญ่ของลูกผู้ชายสายเลือดมังกร อีกหนึ่งผลงานทรงคุณค่าโดย “ประภัสสร เสวิกุล”
นักเขียนที่มีผลงานสร้างสรรค์สังคม ซึ่งให้ทั้งคติชีวิตและพลังในการดำรงชีวิต แก่นักอ่านมาตลอดระยะเวลากว่าสี่สิบปี



•••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

จากนวนิยายปรัชญาชีวิต สู่ละครโทรทัศน์อันทรงคุณค่าอมตะ มิลืมเลือน
สร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรก ออกอากาศในปี พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้จัดโดย คุณแดง ท่านคุณสุรางค์ เปรมปรีดิ์ ผู้ถือลิขสิทธิ์นวนิยายเล่มนี้ไว้ในนามส่วนตัวท่าน และ เท่าที่ทราบมา คุณแดง ท่านเป็นอีกหนึ่งนักอ่านที่มีความสนใจในเนื้อหานวนิยายเรื่อง “ลอดลายมังกร” และ นวนิยายอีกหลายเรื่องของประภัสสร เสวิกุล
เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้คุณแดงท่านหยิบเอานวนิยายเรื่อง “ลอดลายมังกร” มาทำเป็นละครโทรทัศน์ขึ้นมา
และมอบทีมผลิต กันตนา
บทโทรทัศน์โดย วิลาสินี
กำกับการแสดงโดย ธีระศักดิ์ พรหมเงิน

- และนี่แหละคือหนึ่งในผลงานละครโทรทัศน์ของคุณแดง ท่านคุณสุรางค์ เปรมปรีดิ์ ในฐานะผู้จัดทำละครโทรทัศน์มาหลายเรื่อง
ในอดีตคุณแดง ท่านยังเคยเป็นผู้สร้างภาพยนตร์อีกด้วย ในนามบริษัท พร้อมมิตร จำกัด โดยร่วมหุ้นกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (จากคำสัมภาษณ์ของคุณแดง ในนิตยสาร a day ฉบับ 131) และยังมีละครโทรทัศน์ด้วย เรื่อง “จดหมายจากเมืองไทย” ออกอากาศทางช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2525
“จดหมายจากเมืองไทย” กำกับการแสดงโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
และนี่เรื่อง “ลอดลายมังกร” ละครโทรทัศน์โดยคุณแดง ท่านสุรางค์ (กรรณสูต) เปรมปรีดิ์ ในฐานะผู้สร้าง โดยมีทีมผลิต กันตนา
โดยการใช้เวลาในการผลิตละครโทรทัศน์เรื่องนี้ยาวนานพอควร เพื่อให้ผลงานออกมายอดเยี่ยมที่สุดและสมบูรณ์ที่สุดองค์ประกอบ
เท่าที่ทราบ คุณแดงท่านใช้งบลงทุนจำนวนสูงพอควรและพิถีพิถัน และคุณแดงท่านยังสั่งให้ทำตามบทประพันธ์ทุกสิ่งอย่าง
ทำให้ละครโทรทัศน์เรื่อง “ลายลายมังกร” ถอดออกมาจากบทประพันธ์แทบทุกประการ ทั้งรายละเอียด คำพูด วรรคทอง ประโยค และนักแสดง


และการเลือกตัวนักแสดงแต่ละตัวละครอย่างพิถีพิถัน ดังนี้
• อาเหลียง / เหลียง สือพาณิชย์ รับบทโดย (อาตู่) นพพล โกมารชุน
• เนียม รับบทโดย (นุช) ปรียานุช ปานประดับ
• เหมยหลิง รับบทโดย อภิรดี ภวภูตานนท์
• อาจั๊ว รับบทโดย (ตา) ปัญญา นิรันดร์กุล
• เป็กกี้ รับบทโดย ทัศนีย์ ชลหวรรณ
• อาเทียน รับบทโดย ศักราช ฤกษ์ธำรงค์
• แอนดี้ รับบทโดย ทนงศักดิ์ ศุภการ
• ชาญชัย รับบทโดย สัญญา คุณากร
• นัฐกิจ รับบทโดย วินิจ เลิศรัตนชัย
• ทรงศรี รับบทโดย ศุกร์วัฒนา คล่องวรานนท์
• นุช รับบทโดย วชิรา เพิ่มสุริยา
• นันทนา รับบทโดย มณีรัตน์ วงศ์จีระศักดิ์
• ระวี รับบทโดย คุณากร เกิดพันธุ์
• นภา รับบทโดย ณัฏฐพล กรรณสูต
• นภ รับบทโดย ปริญญ์ วิกรานต์
• โรเจอร์ เฟย รับบทโดย จีระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ
• มาลัย รับบทโดย วาสิฏฐี ศรีโลฟุ้ง
• นนท์ รับบทโดย มาฬิศร์ เชยโสภณ


**** ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากพี่ๆน้องๆทุกท่าน

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

MDNoteBook 23 พ.ย. 60 เวลา 12:32 น. 1

สิ่งแรกที่ทุกคนจะมองเห็นเมื่อผลักประตูกระจกบานใหญ่เข้าไป

ในห้องโถงชั้นล่างของตัวตึกบ้านเราก็คือ ภาพเขียนด้วยหมึกดำแบบจีน เป็นรูปมดตัวใหญ่ตัวหนึ่งโดดเด่นอยู่บนกระดาษขาวที่คร่ำคร่าด้วยกาลเวลา ถัดลงมาเป็นตัวหนังสือภาษาจีนสีทองหวัดๆ บนกระดาษแดง อ่านว่า “หงี” หรือ “คุณธรรม” ...ทั้งภาพเขียนและตัวหนังสือใส่กรอบไม้สีดำสองกรอบติดอยู่ที่ผนังด้านตรงข้ามกับประตู

ย่าเล่าว่า รูปมดและตัวหนังสือจีนติดอยู่ที่ตรงนั้นตั้งแต่วันแรกที่ตึกหลังนี้สร้างเสร็จ... ไม่มีใครรู้ว่าปู่ได้มันมาจากไหนหรือให้ใครเขียนให้ แต่ที่รู้กันแน่ๆ ก็คือ ปู่ใช้ภาพมดและตัวหนังสือเป็นคติธรรมสำหรับตัวเองและคนในครอบครัว

“มดเป็นสัตว์ที่ขยันขันแข็ง มานะอดทน และบากบั่นพากเพียร ต่อให้ฝนตกแดดออกหรือไกลแสนไกลแค่ไหน มดก็ไม่ย่อท้อหรือเหนื่อยหน่ายกับการออกไปหาอาหาร...”

ปู่เขี่ยใบชาที่ติดอยู่ปากถ้วยและเล่าต่อไปด้วยเสียงเนิบๆ

“มดเป็นสัตว์สะอาด ทั้งความเป็นอยู่และการหากิน ซึ่งอันนี้เราถือว่ามันมีชีวิตที่สุจริต... มันมีระเบียบวินัย และที่สำคัญคือรักพวกรักพ้อง ถึงมันจะตัวนิดเดียวแต่ถ้าใครมารังแก มันก็ช่วยสู้ไม่กลัวตาย”

“สำหรับ หงี...”

ปู่ชายตาดูตัวหนังสือจีนที่สีทองเลือนรางหม่นมัวไปตามอายุของมัน

“...ถ้าไม่มีคุณธรรมเป็นสิ่งจรรโลงจิตใจ คนเราก็คงไม่แตกต่างไปจากสัตว์ป่า... เราคงจะฉกฉวยแย่งชิงสิ่งที่เราอยากได้ โดยไม่คำนึงว่า สิ่งนั้นจะมีใครเป็นเจ้าของครอบครองอยู่หรือไม่ ผู้ใหญ่ก็ข่มเหงรังแกผู้น้อยหรือคนที่อ่อนแอกว่าตามอำเภอใจ ลูกหลานจะดูหมิ่นดูแคลนพ่อแม่ที่แก่เฒ่าให้ได้รับความทุกข์ยากร้อนใจ...”

ปู่ถอนหายใจเบาๆ

“ไม่รู้นะ... เราอาจจะเป็นคนเก่าหรือมีความคิดล้าสมัยที่ยังยึดถือในเรื่องคุณธรรม... แต่เราถือว่าผู้น้อยต้องมีความนอบน้อมถ่อมตนและความกตัญญู ส่วนผู้ใหญ่ก็ต้องมีสิ่งที่พระอีเรียกว่า พรหมวิหาร 4”

“เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไงล่ะ...”

ย่าเสริมขึ้นเมื่อเห็นคนรุ่นใหม่มีสีหน้างงๆ

“เมตตา คือความรัก ความต้องการเห็นคนอื่นมีความสุข...กรุณา คือความสงสาร ช่วยเหลือคนอื่นเมื่อเขามีทุกข์... มุทิตา คือยินดีในความสุขความเจริญของคนอื่น...ส่วนอุเบกขา ก็คือการวางใจเป็นกลางไม่โอนเองเหลาะแหละ เลือกที่รักมักที่ชัง”

ปู่พยักหน้าช้าๆ

“เราว่าสังคมใดที่มีผู้ใหญ่มีพรหมวิหาร ผู้น้อยมีความอ่อนน้อมกตัญญู

สังคมนั้นก็มีแต่ความสุขความเจริญ... ในทางตรงกันข้าม ถ้าสังคมใดขาดคุณธรรม ผู้ใหญ่ไม่มีความเมตตากรุณา อิจฉาริษยากลั่นแกล้งลูกน้อง หูเบาชอบแต่คนประจบสอพลอ ผู้น้อยก็ย่อมเสื่อมคลายความเคารพนับถือผู้ใหญ่ เป็นเหตุให้สังคมนั้นมีแต่ความเดือดร้อนวุ่นวายและเสื่อมโทรมลง”

อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่เปิดประตูใหญ่เข้ามาเห็นรูปมดและคำว่า “หงี” หรือ “คุณธรรม” ที่ห้องโถงชั้นล่าง ฉันก็อดที่จะถามตัวเองไม่ได้ว่าทุกวันนี้คนในตึกหลังนี้ยังยึดถือในคติธรรมสองข้อนั้นของปู่อยู่อีกหรือเปล่า...


https://image.dek-d.com/27/0702/9493/125584642https://image.dek-d.com/27/0702/9493/125584641
0
MDNoteBook 28 พ.ย. 60 เวลา 18:56 น. 2

เพิ่มเติมรายละเอียดข้อมูลอีกนิด

ช่อง 7 ช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2542 คือยุคการบริหารของคุณแดง คุณสุรางค์ เปรมปรีดิ์ ท่านมีสิทธิ์ขาดและมีอำนาจการตัดสินใจเบ็ดเสร็จ

ช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2542 คือยุคคุณแดง


แต่ช่วงหลังจากปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา เป็นการบริหารแบบบอร์ดบริหารช่อง 7 อนุมัติ คือบอร์ดคณะกรรมการช่อง 7 พิจารณาอนุมัติ

ผ่านนโยบายของบอร์ดบริหารช่อง 7

เพราะฉะนั้นก็ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง อย่าเข้าใจผิด

ช่วงปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ไม่ได้เป็นยุคคุณแดง แต่ยุคบอร์ดบริหารช่อง 7


รายละเอียดข้อมูลในกระทู้นี้ครับ https://www.dek-d.com/board/view/3778263

0