Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ควรเตรียมตัว หัวต้องคิดยังไงเพื่อเลือกแผนต่อ ม.4ให้ปัง!!! ที่ไม่ปัง-นาศ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สวัสดีครับทุกคนที่มาอ่าน ตามหัวข้อเลย สำหรับน้องๆที่กำลังเขาสู่ ช่วงปลายเทอม อีก2-3เดือนสุดท้าย อยากให้ทุกคนที่กำลัง คิดอยู่ว่าควรเข้าแผนอะไรดี วันนี่ผมก็เอาเคล็ดลับที่น่าสนใจมาให้อ่าน แล้วตัดสินใจกัน  (อันนี้ผมเคยโพสไปเมื่อปี สองปีที่แล้ว กลับมารีเทิร์นดัดแปลงให้อ่านกันใหม่ครับ) (เนื้อหาอาจรุนแรงบ้างในบางส่วน)
เนื้อหาจะอ้างอิงจากตัวผมเองนะครับ

ก่อนอื่นผมขอเคลมตัวเองก่อนว่า นี่อยากเป็นผู้กำกับละคร คือชื่นชอบในบริษัทGMM มาก แล้วก็อยากเป็นผู้กำกับเลยเว้ย ตั้งแต่ ม.2 ไปทำควิซทดสอบกับจิตแพทย์ก็พบว่าเราใฝ่ศิลปะ เหมาะกับการเขียนบท กำกับละคร สอนแอคติ้ง อะไรประมาณนี้ (แต่น้องๆคงไม่ต้องถึงขนาดนี้หรอก555) ผมก็เลยเลือกเข้าศิลป์ภาษาเลย เพราะเรียนไม่หนัก มีวิชาที่เหมาะในการอาชีพแนวๆนี้ อาทิ ภาษาและวัฒธรรมเอย ภาษาและการสื่อสารเอย มันวิชานี้อยู่จริงนะ เด็กศิลป์จะได้เรียนกัน ความฝันของผมคือการที่ได้ต่อ คณะนิเทศ จุฬา สาขาสื่อสารการแสดง (ชื่นชอบมากกกกกกกก) ตอนนี้ก็ต้องพยามเพื่อทำให้ตัวเองไปถึงฝั่ง
      ก็มีแค่นี้แหละครับ ทีนี้มาในเรื่องการเลือกแผนต่อ....
อันดับแรกเลยคือ ต้องค้นหาตัวเองให้เจอ ว่าตัวเองชอบในด้านไหน การค้นหาตัวเองให้เจอจะเป็นอะไรที่สุดยอดมาก  เพราะถ้าเรารู้ว่าเราอยากเรียนคณะอะไร อยากประกอบอาชีพอะไรจะทำให้เราก้าวหน้าได้เร็วกว่าคนอื่นๆ ที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร เพราะนอกจากจะได้เริ่มอ่านหนังสือก่อนเเล้ว ยังมีเวลาวางเเผนเเละทบทวนความฝันล่วงหน้าอีกด้วย แล้วมันจะง่ายต่อการตัดสินใจเลือกแผน 
    สิ่งที่ไม่ควรคิดเลยคือ เลือกแผนวิทย์ไปก่อนแล้วกัน เข้าได้ทุกคณะ พออยากเรียนอะไรแล้วค่อยไปสอบ Noooooooo หยุดความคิดนั้นเดี๋ยวนี้ เพราะถ้าเกิดเราใฝ่ศิลปะ หรือสังคมขึ้นมาล่ะก็ บางทีแผนนี้มันอาจกดเกรดเราลงไปเลยก็ได้นะ แล้วมันยังอาจเป็นการกันสิทธิ์ ของคนที่ใฝ่จะเรียนแผนนี้จริงๆ ก็ได้...


ต่อมาที่ต้องคิด คือ...
เราต้องเรียนเพราะความชอบจะดีสุด 

ความชอบ หมายถึง การมองเห็นถึงจุดยืนของตนในความต้องการ โดยอาจจะมีเหตุผลของความชอบ สรุปแล้วคือ มันดีมากและเป็นสิ่งเนิ่นๆที่ควรคิดว่า ฉันต้องเรียนตามความชอบๆ
ๆๆๆๆ ท่องวนไป พ่อแม่ไม่ใช่ผู้เรียน อย่าตามใจเขาแต่ให้อยู่ในกรอบของเขา คนเรามักจะทำในสิ่งที่ชอบได้เสมอ รักหรือชอบในสิ่งที่ทำ เราจะพยายามทำสิ่งนั้นให้ออกมาดีที่สุด เช่น ชอบภาษาฝรั่งเศส ก็จะอยากรู้ อยากเห็น อยากทำความเข้าใจวิชาภาษาฝรั่งเศสมากกว่าวิชาอื่นๆ ตั้งใจเรียนมากกว่าวิชาที่ไม่ชอบ ถ้าเป็นแบบนั้นแล้วละก็ สายศิลป์- ฝรั่งเศส ก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะกับตัวเรา ถนัดแบบไหนก็เรียนแบบนั้น ไม่ชอบก็สอบใหม่ ไม่ได้ก็ต้องทน แล้วจะรักมันเอง ทำให้มันออสโมซิสเข้าไขกระดูกให้ได้ และอีกอย่างคือ ทำตามถนัด!!!

ยอมเสียเหงื่อให้กับสิ่งที่ชอบ ดีกว่าเสียน้ำตาให้กับความผิดหวังและควรเสียเหงื่อให้กับสิ่งที่ชอบจะคุ้มค่ากับชีวิตมากที่สุด

พยายามอย่าคิดซับซ้อน เราเกิดมาเป็นรูปธรรม ดูอย่างอวัยวะภายนอก ส่วนไหนมีสองอันมักจะอยู่ข้าง มีอันเดียวมักจะอยู่ตรงกลาง เช่นตา มีสองลูกก็จะอยู่ข้าง ปากมี1ปากก็จะอยู่ตรงกลาง ความคิดจิตใจก็เหมือนกัน ถ้าเรามีความคิดเดียว มันก็จะแน่วแน่ต่ออนาคต แต่ถ้าเพิ่มมาเป็นสอง สาม สี่ หลายความคิด มันก็จะแก่งแย่ง รักพี่เสียดายน้อง วนloopไปอย่างนั้นเรื่อยๆ มันจะยากต่อการตัดสิน จนต้องมีคนมาช่วยคิด แต่จำไว้เสมอว่า ความคิดหรือปัญหามันก็เหมือนข้อสอบ เราไม่รู้จะเลือกอันไหน ก็แค่ตัดตัวเลือกออกไป จะได้สิ่งที่ดีที่สุดมาเอง 


 อาจงงๆไปบ้าง แต่อยากให้คิดเสมอว่า "ชีวิตฉัน ก็ต้องทำตามชีวิต" และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องรคิดให้ได้แล้วว่า โตขึ้นจะเรียนอะไร จะเป็นอะไร มันไม่ยากหรอกถ้าคิดจะทำ อย่าไปท้อใจกับเพียงประสบการณ์ที่ผ่าน ที่มันทำให้เรารู้ว่า เราเรียนไม่เก่ง คงไปด้านนี้ไม่ได้ นั่นคืออีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราทุกข์ไปกับการเรียนต่อ บางคนคิดว่าการเป็นหมอต้องเรียนเก่ง ต้องสอบได้ เกรด4.00 หรือ 3.80 ขึ้น นั่นก็จริงอยู่ ซึ่งหมอที่เรียนเก่ง อาจจ่ายยาเก่ง รักษาคนไข้เก่ง แต่ทำให้คนมีรอยยิ้มไม่ได้ รักษากายได้ แต่รักษาจิตใจไม่ได้ ก็ตายเหมือนกัน 

ถ้ายังไม่รู้ว่าโตขึ้นจะเรียนอะไร มันเป็นปัญหาต่อแผนมากเลยหว่ะ เลือกเรียนวิทย์ไป ก็แล้วกันจะได้เข้าได้ทุกคณะ ไปล้างความจดจำ ที่ผู้ใหญ่บ้าบอฝังชิพความคิดแบบนี้ออกซะ แล้วกลับมาคิดใหม่ ถ้ายังไม่รู้ว่าโตขึ้นจะเรียนอะไร ลองย้อนไปตอนเด็กๆว่าชอบทำอะไร แล้วมันฟิชเชอร์ริ่งกับแต่ละคณะที่มีอยู่ในใดใดในโลกล้วนอนิจจังนี้ มันจะดี ยกตัวอย่าง ผมตอนแรกอยากเป็นสัตวแพทย์ โตมาเรื่อยๆมีความคิดเรื่อยๆ ลองย้อนกลับไปตอนเด็กๆดู ว่าเห้ย เราชอบเขียน เราชอบคิด เรามักจะมีอะไรแปลกใหม่มาเล่าเสมอ เรากล้าแสดงออก เราชอบจัดวางพล๊อตงานต่างๆ นั่นแหละ คือที่มาของ คำว่า นิเทศจุฬา สื่อสารการแสดง ผู้กำกับ นักเขียน(บทละคร-นิยาย) ที่ฝังเอาไว้ว่าต้องทำให้ได้ จะไม่ท้อถอย จะไม่กลับหลัง จะไม่สิ้นหวัง ถ้ายังไม่ได้ดี....

อีกคนหนึ่ง คือ "นิติ ชัยชิตาทร" หรือ "พี่ป๋อมแป๋ม" หรือ "ยาย" ที่เรารู้จักกัน ในรายการเทยเที่ยวไทย ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เปลี่ยนความคิดของผม ด้วยคำพูดที่พี่แกเอ่ยมาว่า "ฉันเรียน จบอักษรจุฬา นะเธอ!! บาลี-สันสกฤต แหละแต่... สุดท้ายกูก็มาจบที่โปรดิวเซอร์ ทำงานแกรมมี่นี่แหละค่ะ เพราะฉันทำในสิ่งที่ฉันรัก แต่เลือกเรียนอักษร เพราะฉันเลือกเรียนในสิ่งที่ฉันชอบและไม่ทุกข์" สู้ๆเด้ออออ


ใครทนอ่านจบนี่you แกร่งมากนับถือจริงๆ
เรียนวิทย์คณิตมา ใช่ว่าจะต้องเรียนวิทย์คณิตต่อนี่ "เรียนแล้วทุกข์จะเรียนเพื่อ!!"อย่าเลือกแผนเพราะความนิยม  และขอฝากถึงผู้ปกครองหลายท่านว่า อย่าคิดนะว่าพวกแผนศิลป์จะโง่ เสมอไป แผนวิทย์จะเก่งเสมอไป หึ!! แผนวิทย์ ขี่รถซิ่ง ตายคาที่เป็นผีเฝ้าสถานบันเทิงก็มีถมเถไป  อย่าเหมารวม
สู้ๆ

แสดงความคิดเห็น

>