Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เทคนิคพิชิต 100 คะแนน [คณิต] 9 วิชาฯ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เนื่องจากใกล้สอบ 9 วิชาสามัญแล้ว และมีน้อง ๆ ถามมาเยอะใน IG: youngdreamer60 เกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบของวิชาเลข วันนี้เลยจะมาเขียนวิธีการเตรียมตัวของวิชานี้ แบ่งเป็นช่วงเวลา เช่น เหลือ 1 เดือนทำไงดี? เหลือ 2 สัปดาห์ทำไงดี?

เรามาเริ่มกันจากเด็กปีนี้ที่เหลืออีกเพียง 2 สัปดาห์ เศษก่อนเลย

Case1: 
สำหรับคนที่พร้อมพอสมควรแล้วในวิชานี้ การเตรียมตัวในช่วงเวลาที่เหลืออาจเอาไปทุ่มให้กับวิชาอื่น ๆ บ้าง แล้วก็เผื่อเวลาไว้เพียงแค่การทำโจทย์สัก 1-2 ชุดจับเวลาเหมือนจริง พร้อมกลับไปทบทวนสรุปที่ทำไว้ เหลือจุดที่ผิดบ่อย

ตัวอย่างเช่น พี่จำได้ว่าพี่ไม่เคยได้เต็มเลยในการทำ 9 วิชาตอนซ้อม ข้อที่พี่เสียเวลามากคือ Matrix วิธีที่พี่ใช้คือ การกลับไปอ่านหนังสือกระทรวงบทนี้ อ่านเฉพาะเนื้อหา ละทำสรุปแบบเร็ว (เพราะพี่ไม่ได้ทำสรุปบทนี้มาก่อน จำได้ว่าลายมือเละมากเลย) ผลที่ได้คือ ข้อยากปีนั้นดันเป็น matrix และพี่ทำได้ ก็เลยได้ 100 คะแนน (เป็นครั้งแรก และครั้งเดียว)

Case2:
สำหรับคนที่อ่าน/ทำมาพอสมควร แต่ยังรู้สึกไม่แม่น เอาเข้าจริงด้วยเวลาขนาดนี้ น้องควรจะแม่นเนื้อหาแล้ว แต่ถ้ายังคงต้องฟิตสุด ๆ ไปเลย เพื่อให้ได้คะแนนที่หวัง วิธีคลาสสิคคื

1.     หาจุดด้อย (บทไหนตัวเองทำได้ช้า ทำไม่ได้ หรือทำผิดบ่อย)
2.     ปิดจุดอ่อน
3.     เสริมจุดแข็ง

สำหรับเวลาที่เหลือนี้ คงไม่มีเวลาไปเสริมจุดแข็งแน่นอน และไม่มีเวลาปิดจุดอ่อนจนสนิทด้วย พี่จึงแนะนำให้ อ่านสรุป (ไม่ต้องกลับไปอ่านเนื้อหาเต็มนะ) และทำโจทย์บทที่อ่อน ถ้าแย่มากก็ให้ทำเฉพาะข้อที่ง่าย ถ้าพอได้ก็ให้ทำเฉพาะข้อที่ยาก (อาจจะเป็นข้อบทนั้น ของข้อสอบปีเก่า ๆ ก็ได้) สำคัญคือ ถึงเวลาจริง อาจต้องข้ามบทพวกนี้ไปก่อน เก็บข้อที่มั่นใจ เหลือเวลาค่อยย้อนมา

Case3:

ความรู้ยังไม่ได้ แต่ใจมันรักที่จะสอบ มะ! มาสู้ไปด้วยกัน คนที่แบบ “พี่หนูไม่ได้เลยจริง ๆ ไม่รู้มันจะยากไปไหน” ด้วยเวลาที่จำกัด เก็บเฉพาะบทสำคัญพอ มาดูสถิติกัน


ที่มา: opendurian.com
ชัดเจนว่า บทที่ออกเยอะคือ

1.     แคลคูลัส
ควรใส่ใจเรื่องต่อไปนี้ ซึ่งไม่ยากและออกตลอด Limit
2.     สถิติ
ควรใส่ใจเรื่องต่อไปนี้ ซึ่งไม่ยากและออกตลอด ค่าเฉลี่ยเลขคณิต-มัธยฐาน-ฐานนิยม, การแจกแจงปกติ
3.     Exponential
ที่เหลือก็อาจใช้ท่าไม้ตาย ทำโจทย์เก่าเท่าที่ทำได้ และดูเฉลย ทำความเข้าใจ จำไปเลยกะได้ (อาจพึ่งโชคเล็กน้อย โดยการไหว้พระสวดมนต์ก่อนสอบ หรือทำพิธีกรรมตามศานาที่ท่านนับถือ)

ต่อไปเป็นกรณี 3 เดือน กันบ้าง

ทำไมต้อง 3 เดือน? ก็เพราะว่าถ้าเหลือเวลาสอบอีก 3 เดือน แปลว่าตอนนี้น้อง ๆ อาจพึ่งกลับมาจากการลั้ลลาในช่วงปีใหม่ และเริ่มตระหนักถึงการสอบที่กำลังคลืบคลานเข้ามา

จริง ๆ พี่เคยเขียนไปคร่าว ๆ ในกระทู้นี้: https://www.dek-d.com/board/view/3749022/
ตามไปดูกันได้เลย จะมีของวิชาอื่น ๆ ด้วย ทีนี้เราก็มาดูแบบเจาะกันนิดนึง

ก่อนอื่นบอกได้เต็มปากเลยว่า ถ้าตั้งใจเรียนคณิตมาตลอด 3 ปีในมอปลาย ยังไงก็ทัน

เหลือ 3 เดือนยังไงก็เตรียม 9 วิชาทัน !!!!!

มาดู timeline กันหน่อย 3 เดือน = 12 สัปดาห์

สัปดาห์ที่ 1-7:

1.     หาข้อสอบเก่า หรือข้อสอบอะไรก็ได้ในระดับเดียวกัน (9วิชา, PAT1, entเก่า, ที่เรียนพิเศษ) มาทำสัก 2-3 ฉบับ เพื่อหาจุดบอดของตัวเอง (ใครที่รู้จุดบอดของตัวเองในวิชานี้ข้ามได้เลย)
2.     ปิดจุดอ่อน: กลับไปทบทวนเนื้อหาของบทที่เป็นจุดอ่อน (แนะนำหนังสือกระทรวง) และทำสรุป
3.     ฝึกโจทย์บทที่อ่อน (อันนี้แนะนำหาหนังสือข้อสอบ ent ที่เป็นแยกบท)
4.     เสริมจุดแข็ง: กลับไปทบทวนเนื้อหาของบทที่เหลือ (แนะนำหนังสือกระทรวง) ทำสรุป และฝึกโจทย์บทนั้น ๆ (ใครทำช้าก็อาจต้องเร่งรัดขั้นตอนนี้ ไม่ก็ข้าม เช่นปีพี่ พี่ก็ไม่ได้ทวนบทพวกนี้เพราะเหลือเวลาน้อย แต่พี่ฝึกมาพอสมควรแล้วตลอดมอปลาย)


สัปดาห์ที่ 8-11:


ทำโจทย์เก่า 9วิชา+PAT1 ของ 5 ปีย้อนหลัง เพื่อให้มีเวลาไปจัดการวิชาความจำระยะสั้น (ภาษาไทย, สังคม, ชีวะ) อันนี้จริง ๆ แล้วแต่สไตล์ ใครแบบไม่ทันจริง ๆ ก็ไปทุ่มให้วิชาอื่นได้ (แน่นอนว่าช่วงเวลายืดหยุ่นได้) อาจทำแค่ 9 วิชาก็ได้ แล้วโยก PAT1 ไปทำในช่วง 7 สัปดาห์แรกก็ได้ หรือจะไม่เอา PAT1 ก็แล้วแต่ความขยันของแต่ละคน แน่นอนว่าอย่าลืมกลับไปทวนเนื้อหา หากไม่แม่น (ช่วงนี้ยังพอมีเวลาไปทวนเนื้อหาเต็ม)

สัปดาห์ที่ 12:

ทำโจทย์ปีล่าสุดของ 9วิชา+PAT1 ที่เก็บไว้จับเวลาเหมือนจริง กลับไปทบทวน โน้ตที่ทำไว้ในส่วนที่ยังไม่แม่น หรือใช้เวลามาก + พักผ่อนบ้าง (โดยเฉพาะวันก่อนสอบ)

คำเตือน: อย่าชะล่าใจ ให้คิดว่าในขณะที่เราพักเล่น เพื่อน ๆ เราก้าวหน้ากันไปถึงไหนแล้ว ในทางกลับกันสุขภาพก็สำคัญ ให้ไปนอนหมดสภาพวันสอบก็ไม่ใช่เรื่องดี
คำเตือน2: ช่วงเวลาปรับเปลี่ยนได้ตามสถานะการณ์แต่ละคน

พูดถึงกรณีต่อไปกันเลย คือเหลือ 1 ปี ขึ้นไป
1 ปีหมายความว่าอะไร หมายความว่าน้องได้จบ ม. 5 แล้วนะจร้ะ ทำอะไรได้บ้างใน 1 ปี มาดูกัน (จะเรียนตามลำดับเดือนนะเริ่มที่เดือน 3 หรือมีนาคม (อันนี้เป็นแค่ตัวอย่างนะ สามารถปรับได้ตามสะดวก)

3-4: (ทบทวนเนื้อหา+ฝึกโจทย์แยกบท ม.4-5) อาจจะเริ่มเนื้อหาสถิติแล้ว
5: จบเนื้อหาบท สถิติ*
เปิดเทอม 1
6: (ทบทวนเนื้อหา+ฝึกโจทย์แยกบท ม.4-5)
7: ทำโจทย์ทบทวนของบท สถิติ (ที่จะใช้สอบ midterm)
8: (ทบทวนเนื้อหา+ฝึกโจทย์แยกบท ม.4-5)
9: ทำโจทย์ทบทวนของบท สถิติ (ที่จะใช้สอบ final)
ปิดเทอมเล็ก
10: จบเนื้อหาบท ลำดับอนุกรม แคลคูลัส* กำหนดการเชิงเส้น (ควรจบเนื้อหาทั้งหมด)
เปิดเทอม 2
11-12: ทำโจทย์ทบทวนของบท ลำดับอนุกรม (ที่จะใช้สอบ midterm) (ควรจบการทำโจทย์แยกบท เพราะไม่งั้นช่วงที่เหลืออาจจะลน)
1: ทำโจทย์ทบทวนของบท แคลคูลัส กำหนดการเชิงเส้น (ที่จะใช้สอบ final)
2-3: ถึงเวลาของข้อสอบเก่าอย่างต่ำ 5 ปีแล้ว ให้ดีก็ทำมันทั้ง 9วิชา และ PAT1 เลย ทำข้อสอบจับเวลาจริง ดูว่าอันไหนไม่คล่องก็กลับไปดูสรุปที่ทำไว้ แล้วก็เตรียมร่างกายให้พร้อมสอบเลยจร้า (อาจเริ่มตั้งแต่มกราคมเลย เพราะจะมี final ของโรงเรียนที่น้องต้องสอบด้วย)

ย้ำอีกครั้ง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสไตล์แต่ละคน อันนี้เป็นเพียงตัวอย่าง

จบแล้วจร้า ไม่รู้ว่าจะตรงตามที่น้อง ๆ ขอกันมารึเปล่า แต่ว่าถ้าลองเอาไปปรับใช้ดู + ความขยัน พี่มั่นใจว่าน้อง ๆ ต้องได้มหาลัยและคณะที่หวังแน่ ๆ สู้ ๆ นะ พี่เป็นกำลังใจให้ อยากให้เขียนกระทู้อะไรอีกก็คอมเม้นกันมาได้เลย 

หรือจะเข้ามาพูดคุยกันที่ IG: ydm.ts2020 ก็ได้นะ

ใครชอบก็ช่วยแชร์กันด้วยเน้อ >< ขอบคุณครับ

ปล. สำหรับคนที่ถามมาว่าตอนนี้หนูพึ่งขึ้น ม.4 จะเตรียมสอบ 9 วิชาสามัญ พี่ขอบอกว่าน้องไม่ต้องรีบขนาดนั้นก็ได้นะครับ เอาเป็นว่าตั้งใจเรียนในโรงเรียน แล้วเก็บสะสมความรู้ไว้ อาจทำสรุปเวลาที่น้องต้องสอบ final หรือ midterm ทิ้งไว้ก็ได้ แสกนเก็บในคอมเลยเดี๋ยวหาย จะได้เอามาใช้เวลาช่วงเตรียมสอบมหาลัย

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

youngdreamer 3 มี.ค. 61 เวลา 00:23 น. 1-1

ลองดูครับ ถ้าสงสัยแบบปรับตรงนู้นตรงนี้ดีไหมก็มาปรึกษาที่ ig: youngdreamer60 ได้นะครับ

0
25432806 4 มี.ค. 61 เวลา 16:30 น. 2

ขอบคุณมากๆค่ะ มีประโยชน์มากๆ อยากให้แนะนำวิชาอื่นๆด้วยค่ะ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ทกวิชายิ่งดีค่ะ


1