Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ใครก็ได้ช่วยบอกวิธีอธิบายลักษณะตัวละครที่ครับ T^T

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ก็ตามหัวข้อเลยครับทุกคน ตอนนี้ผมไม่รู้ว่าจะอธิบายลักษณะตัวละครยังไงดี คือแบบว่านึกภาพออกแต่อธิบายไม่ถูก ผมก็เลยไปต่อไม่ได้ ถ้าใครมีวิธีอธิบายลักษณะตัวละคร ก็ช่วยบอกกันหน่อยนะครับ T^T

ปล.ขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือครับ

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

My hope, My world 27 มี.ค. 61 เวลา 12:03 น. 1

เริ่มไล่เลียงจากสีผม สีตา ชุดคร่าว ๆ แล้วก็โครงหน้าดูค่ะ สักสองสามประโยค ถ้าไม่เกินกว่านั้นจะดีมากเลย

2
My hope, My world 27 มี.ค. 61 เวลา 12:18 น. 1-2

เอ้ย เราแก้ผิด ต้องบรรทัดนะคะ ว่าอยู่ว่าทำไมมันแปลก ๆ

0
พยาน 27 มี.ค. 61 เวลา 14:06 น. 2-2

ลองคิดตามมุมมองตำรวจสิ ถ้าตำรวจไม่เคยเห็นหน้าคนร้าย แต่พยานจำหน้าคนร้ายได้ ทำยังไงตำรวจถึงจะเข้าใจลักษณะหน้าตาและรูปร่างคนร้ายใกล้เคียงกับสิ่งที่พยานได้เห็น


พยาน = คนเขียน

ตำรวจ = คนอ่าน


กรณีไม่มีอินเมจให้ตำรวจได้ดู ใช่ครับ นิยายระดับโลกไม่เคยใช้รูปภาพแทนตัวละครมาก่อน

0
i_love_cat 27 มี.ค. 61 เวลา 12:09 น. 3-1

ไม่ดีมั้งครับ เดียวคนอ่านเขาก็นึกภาพตัวละครไม่ออกหรอก

0
G.Tenju 27 มี.ค. 61 เวลา 21:54 น. 3-2

แล้วแต่คนครับ ผมชอบแบบอธิบายหน้าตาตัวละคร มันอินกว่า

0
Miran/Licht 27 มี.ค. 61 เวลา 12:17 น. 4

บรรยายไม่ออกนึกถึงเพลงช้างสิคะ บรรยายได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ

น้องเคยเห็นช้างรึเปล่า > บอกชื่อสิ่งที่ต้องการบรรยาย ถ้าเป็นสิ่งที่คนรู้จักรูปพรรณสัณฐานก็จะพอนึงถึงได้อยู่ เป็นการบอกความเชื่อมโยง

ช้างมันตัวโตไม่เบา > บอกขนาด เล็ก กลางใหญ่

สองเขี้ยวข้างงวง > มีอะไรประดับตกแต่งบ้างไหม

เรียกว่างา > มีชื่อเรียกจำเพาะไหม

มีหู มีตา หางยาว > ถ้าเป็นคน/สัตว์ ก็บอกไปว่า ตาสีอะไร ผม/ขนสีอะไร , สิ่งของก็คือ สี ผิวสัมผัส วัสดุ

ง่ายขึ้นไหมคะ

3
Octory 27 มี.ค. 61 เวลา 13:19 น. 4-2

เอ็ดเวิร์ด เอ็ดเวิร์ด เอ็ดเวิร์ด เธอเคยเห็นเอ็ดเวิร์ดหรือเปล่า เขามีจมูกใหญ่ ๆ อยู่ข้างแก้ม มีเขี้ยวในปากเรียกว่าฟัน มีหู มีตา ขายาว

0
Miran/Licht 27 มี.ค. 61 เวลา 13:51 น. 4-3

เอาเป็นจมูกใหญ่อยู่กลางหน้าดีกว่านะคะ


แต่อิมโพรไวส์ได้อีกนะคะ https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/yy-02.png

0
ลินไงจะใครล่ะ 27 มี.ค. 61 เวลา 12:31 น. 5

เราจะยกตัวอย่างให้นะคะ เช่น ถ้าคุณจะบอกลักษณะของผู้หญิงร่างเล็กๆ =ฉันเดินผ่านมาเห็นร่างบางของหญิงสาวคนหนึ่ง เธอมีรูปร่างที่ดูน่าทะนุทนอม

ตย.2ถ้าคุณจะบอกลักษณะผู้หญิงอ้วน=ร่างอ้วนท้วมของหญิงสาวคนหนึ่ง กำลังนั่งกินขนมอยู่บนระเบียง

ตย.3ถ้าคุณจะบอกลักษณะผู้ชายผอม=ร่างสูงโปร่งของชายหนุ่มคนหนึ่ง กำลังทอดมองไปข้างหน้าอย่างไร้จุดหมาย

พอเข้าใจไหมคะ เราเอามาแค่3ตัวอย่างนะคะ ลองนึกตามแล้วมันจะเขียนเองได้ค่ะ

1
เจ้า(แมว)ขาว 27 มี.ค. 61 เวลา 12:34 น. 6

ผมก็เคยใส่รายละเอียดหน้าตาตัวละคร ทรงผม แต่พอเอาเข้าจริงเขียนไปเขียนมาก็เหลือแต่ตัวละ

อย่างสองอย่างแค่พอบอกว่าคนไหนเป็นคนไหนเท่านั้นเอง ไม่จำเป็นต้องบรรยายตั้งแต่ผมจนถึงเท้า

แต่ควรเลือกลักษณะเด่นๆ ของตัวละครแค่ไม่กี่อย่าง ครั้งแรกอาจจะบอกผม ตา คิ้ว ปาก หรืออื่นๆ

เลือกสักสองสามอย่างก็พอ หลังจากนั้นค่อยใช้ทีละอย่างเวลาเกี่ยวข้องกับส่วนนั้น เช่น มองตากัน

ก็ค่อยบอกว่าดวงตาเธอกลมโต หรือเป็นลักษณะเด่นเช่นผมสีแดงอยู่คนเดียว ก็ใช้แทนตัวนั้นว่า

หญิงผมสีแดง ก็ได้

1
G.Tenju 27 มี.ค. 61 เวลา 22:32 น. 7

ผมเองก็ไม่ใช่นักเขียนมืออาชีพหรืออะไร แต่ถ้าเรื่องทุ่มเทให้กับการบรรยายตัวละครผมไม่ยอมแพ้ใครแน่ๆ (รักตัวละครของตัวเองมาก) ขอให้คำแนะนำจากที่ศึกษามาเองล้วนๆนะครับ


1. เวลาบรรยายให้ค่อยๆ กระเถิบไปที่ละนิดโดยเริ่มจากสิ่งที่เด่นที่สุดของตัวละคร(หรือตามบริบทของฉากนั้น)ก่อน เช่น ตา > ปาก > รูปหน้า > ทรงผม > รูปร่าง อะไรประมาณนี้ พยายามอย่าข้ามจังหวะนรกแบบ บรรยายว่าหน้าผากเหม่งอยู่ดีๆ แล้วย้ายไปพูดถึงสีเล็บเท้าเลย


2. การเปรียบเปยพยายามหาคำใหม่ๆมาใช้ มันจะช่วยให้คนอ่านจำได้ดี เพราะสมองคนเราถ้าเห็นอะไรซ้ำๆ มันจะตัดสินว่าไม่จำเป็นต้องไปจำเช่น...


ดวงตากลมโตของเธอสวยราวกับอัญมณี = อืม... งั้นเหรอ ///หาว

ดวงตาเธอกลมหวานปานเยลลี่รสองุ่น = !?


เวลาจะบรรยายซ้ำรอบสอง (เช่นหายไป 2 ตอน แล้วโผล่มา) ลองหาวิธีใหม่ในการพูดถึงลักษณะเดิมของตัวละครนั้น โดยลดคำบรรยายลงแล้วเน้นลักษณะเด่นของตัวละครไปเรื่อยๆ จนแค่มีบทพูดโผล่มาคนอ่านก็รู้แล้วว่าเป็นใคร


3. อย่าบรรยายละเอียด(แล้วแต่กลุ่มคนอ่าน) สมองผู้ชายไม่ได้ชินกับการจำหน้าตัวละครที่บรรยายครบ ตั้งแต่ขนคิ้วดก จมูกเรียวเป็นสัน ดวงตาเอียงเป็นรูปไข่เอียง 75 องศา ริมฝีปากชมพูเจือ ผมคนนึงละครับที่จำไม่ได้แน่ๆ บรรยายคร่าวๆให้เห็นภาพแล้วเน้นส่วนที่สำคัญก็พอ


4. ถ้าสร้างเอกลักษณ์ให้ตัวละครได้แล้ว ก็โยนเธอลงไปในฉากที่จะทำให้เอกลักษณ์ของตัวละครนั้นเด่นขึ้นมา หรือที่ชาวบ้านเขาเรียกกันว่า 'Show don't Tell' มันจะทำให้คนอ่านประทับใจแล้วจำตัวละครนั้นได้จริงๆ (ยกเว้นบางกรณีที่ Tell don't Show จะเหมาะกว่า)


5. ถ้านึกไม่ออกว่าจะบรรยายยังไง ให้นึกถึงคนอ่านแบบ ใจเขา-ใจเรา แล้วเล่าโดยจินตนาการว่าเหมือนเล่าให้เพื่อนฟังแบบธรรมชาติที่มนุษย์ปกติคุยกัน


สุดท้ายนี้มันไม่มีถูก/ผิด งานเขียนคืองานสร้างสรรค์ที่ไม่มีกฏตายตัวหรืออะไรมารับประกันได้ว่าดีที่สุด คนเขียนต้องเรียนรู้หาวิธีปรับปรุงไปเรื่อยๆ ส่วนตัวผมเป็นมือใหม่แต่ใส่ใจกับตัวละครของตัวเองมาก ไม่อยากให้พวกเขาเป็นแค่ตัวอักษรที่แค่คนอ่านผ่านๆไปแล้วก็ลืม เลยยอมใช้เวลาศึกษาตรงนี้เป็นพิเศษ ขอให้มีความสุขกับการบรรยายนะครับ

1
ชนุ่น 28 มี.ค. 61 เวลา 08:38 น. 8

ของผมมันไม่ค่อยแน่นอนเท่าไหร่นะครับ แล้วแต่มุมกล้องที่คิดและมุมมองที่อยากใส่ด้วย


เช่น "นภารัตน์ เป็นเด็กหญิงร่างใหญ่มากเมื่อเทียบกับเด็กสาวในชั้นเรียน และแม้เธอจะมีดวงตาตี่ ผมยาวสวย ผิวขาว แต่คงอาจจะเพราะจมูกที่ใหญ่และปากที่ไม่ได้รูปตามอุดมคติของเด็กสาว ทำให้สุดท้ายเธอก็กลายเป็นตัวตลกของห้องไปในที่สุด"


หรือ "ชายในชุดสูททางการยืนเก้ๆ กัง นั้นท่าทางดูเหนื่อยล้า ผมเผ้ายุ่งเหยิง เสื้อผ้าที่ไม่ได้รีดเรียบร้อยกำลังพะว้าพะวงอะไรบางอย่างอยู่"


คือผมจะเน้นไม่บรรยายมากเพื่อเปิดให้ทุกคนจินตนาการเอาเอง จึงไม่สนใจมากเรื่องลักษณะตัวละคร เว้นเสียแต่มันเป็นตัวละครที่ต้องเน้นจริงๆ หรือไปเน้นที่เสื้อผ้า พฤติกรรม และอื่นๆ แทน


ขอแนะนำว่าให้บรรยายเรียงตามลำดับเลยครับ จากกว้างมาแคบ คือเป็นวิธีที่ธรรมชาติสุดๆ แล้ว --- โดยเริ่มจากสีผิวหรือโครงสร้าง สัดส่วน ส่วนสูง ไล่มาถึงผม ใบหน้า ตา หู จมูก ปาก และเสื้อผ่า ท่าทาง คามรู้สึกส่วนตัว (ประมาณว่าเรานึกภาพบุคคลที่เราเคยเห็นมาแล้วอธิบายตามความทรงจำน่ะครับ)

1