Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วิธีการทางประวัติศาสตร์-สงครามเก้าทัพ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สงครามเก้าทัพ

 




งครามเก้าทัพ เป็สงครามระหว่างกรุงรัตนโกสินทร์กับอาณาจักรพม่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์อังวะ หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์พม่าแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือน เช่นกรุงศรีอยุธยา
สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง 9 ทัพ รวมกำลังพลมากถึง 144,000 นาย โดยแบ่งการเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็น 5 ทิศทาง


  • ทัพที่ 1 ได้ยกมาตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองระนองจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช

  • ทัพที่2 ยกเข้ามาทางเมืองราชบุรีเพื่อที่จะรวบรวมกำลังพลกับกองทัพที่ตีหัวเมืองปักษ์ใต้แล้วค่อยเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์

  • ทัพที่3เข้ามาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือตั้งแต่เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตีตั้งแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาสมทบกับทัพที่ 9 ที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เพื่อตีเมืองตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์

  • ทัพที่ 4-7 ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ แล้วไปที่ลาดหญ้าของเมืองกาญจนบุรี มาสบทบกับทัพที่ 8

  • ทัพที่ 8 เป็นทัพหลวงพระเจ้าปดุงเป็นผู้คุมทัพ โดยมีกำลังพลมากที่สุดถึง 50,000 นาย ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เพื่อรอสมทบกับทัพเหนือ และใต้โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ารบกับกรุงเทพฯ

  • ทัพที่ 9 เข้ามาทางด่านแม่ละเมา แม่สอด


ตามวิธีการทางประวัติศาสตร์ดังนี้



1.กำหนดปัญหา

-สงครามเก้าทัพคือะไร

-สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นที่ไหน

-สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นเพราะอะไร

2.รวบรวมข้อมูลหลักฐานประเภทต่างๆ


-ได้ทำการรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆดังนี้

  

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลักฐานสงครามเก้าทัพ
 

"สงครามเก้าทัพ เป็นการจัดยุทธวิธีออกรบแบบใหม่ของไทย โดยจัดกำลังออกไปตีข้าศึกที่ชายแดนพระราชอาณาจักร ในขณะที่ข้าศึกกำลังเดินทัพ และไม่อาจจะรวมพลเป็นอันหนึ่งอันเดียวได้ และกองทัพยังมิได้ตระเตรียมค่ายคู่รวมทั้งให้ไพร่พลได้พักผ่อน"


3.ตรวจสอบหลักฐาน


-ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลหลักฐานจากเว็บไซต์และข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ พบว่าข้อมูลได้ใกล้เคียงกันจึงทำให้มีความน่าเชื่อถือ


4.การตีความหลักฐาน


-สงครามเก้าทัพเป็นสงครามใหญ่ครั้งแรกภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ได้เพียง 3 ปี ในสงคราวนี้ข้าศึกได้ยกกำลังพลประมาณ

144000 คน



สงครามเก้าทัพเรียกตามจำนวนที่พระเจ้าประดุง กษัตริย์พม่า จัดแบ่งกำลังทหารเป็น ๙ ทัพ เพื่อมาโจมตีไทยโดย ทัพที่ 1โจมตีทางปักษ์ใต้ ทัพที่ 2 โจมตีทางเมืองราชบุรีไปทางใต้ ทัพที่ 3 โจมตีลำปางและหัวเมืองฝ่ายเหนือลงมา ทัพที่4ถึง ทัพที่ 8 มุ่งโจมตีกรุงเทพฯ โดยยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ พระเจ้าปะดุงเป็นแม่ทัพคุม ทัพที่ 8 ซึ่งเป็นทัพหลวง มีกำลังมากที่สุดถึง 500 , 000 คน และ ทัพที่ 9 โจมตีเมืองตาก กำแพงเพชรลงมา 



พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชวางแผนการต่อต้านข้าศึกและรวมไพร่พลได้ประมาณ 70 , 000 คน มีแม่ทัพคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท



สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เสด็จยกทัพไปทางเมืองกาญจนบุรี ตั้งทัพทัพอยู่ที่ทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัดสกัดกั้นไม่ให้ทัพพม่ายกลงมาจากภูเขา นอกจากนี้ยังจัดกำลังไปจัดการลำเลียงเสบียงอาหารพม่า นอกจากนั้นยังลวงพม่าโดยถอนกำลังออกในเวลากลางคืน แต่พอเช้าก็ให้กองทหาร นั้นเดินกับเข้าค่าย ซึ่งพม่าอยู่บนที่สูงสามารถเห็นได้สะดวก พม่าก็ครั่นคร้ามไทยมากขึ้นทุกที เมื่อได้เห็นพม่าครั่นคร้ามไทยและอดยากกรมพระราชวังบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท จึงสั่งให้ตีฝ่ายพม่าพร้อมกันทุกฝ่าย ไทยประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ทัพหน้าของพม่าแตกพ่ายอย่างยับเยิน ข้าศึกเสียชีวิตและถูกจับเป็นจำนวนมาก

5.เรียบเรียงและนำเสนอ

ได้เรียบเรียงข้อมูลเนื้อหาและได้นำเสนอ เนื้อหานี้ลงใน เว็บไซต์ Dek-d.com

รายชื่อ ห้อง ม.3/10

ด.ช.จิตติชัย บุญเกิด เลขที่ 5

ด.ช.ธนัท กนกมหกุล เลขที่ 13

ด.ช.นฤชล ศรีสทธิกุล เลขที่ 16

ด.ช.พลเทพ กานดา เลขที่ 17

ด.ช.พสิษฐ์ ถาวรเกียรติคุณ เลขที่ 18

ด.ช.อัครพัฒน์ วงศ์นิมิตร เลขที่ 30

อ้างอิง  http://piyapan555.awardspace.com/wed3.htm
www.komkid.com
https://th.wikipedia.org/wiki/

https://www.m-culture.go.th/young/ewt_news.php?nid=172&filename=index

















 

แสดงความคิดเห็น

>