Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ใครก็ได้ แปลบทความนี้ให้หน่อย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
https://www.advancedfictionwriting.com/articles/snowflake-method/

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

peiNing Zheng 7 ก.ค. 61 เวลา 22:48 น. 1

เยอะไปค่ะ มาขนาดนี้นี่คิดตังค์ค่าแปลเป็นพันบาทขั้นต่ำได้เลยนะ


ตนเป็นที่พึ่งเแห่งตนก่อนเถอะค่ะ โยนเข้า Google translate ให้แปลให้ยังพอจับใจความได้อยู่นะ

0
G.Tenju 7 ก.ค. 61 เวลา 23:34 น. 2

แปลคร่าวๆนะ ขอเรียกหัวข้อนี้ว่า 'การสร้างนิยายแบบเกล็ดหิมะ'


สิ่งที่สำคัญในการออกแบบนิยาย

นิยายที่ดีมันไม่ใช่แค่เขียนขึ้นมา แต่มันถูกวางแผนไว้แล้วต่างหาก คุณจะออกแบบมันทั้งก่อนเขียนและหลังเขียนก็ได้เพราะผมเองก็ทำทั้งคู่ และผมเชื่อสุดหัวใจว่ามันเป็นวิธีที่ไวที่สุดในการพาเราไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น การออกแบบเป็นงานยากและสำคัญมากในการนำทางช่วงต้นเรื่อง


จากนั้นเป็นการเปรียบเปยประมาณว่าเราตั้งจุดสนใจของไอเดียเราไว้ แล้วค่อยต่อยอดประเด็นย่อยๆออกมา (ไอเดียนี้คล้าย Mind Map) จากสามเหลี่ยม > สิบสองเหลี่ยม > เกล็ดหิมะแบบหยาย > เกล็ดหิมะแบบละเอียด


10 ขั้นตอนการออกแบบ


ก่อนจะเริ่ม

คุณต้องจัดระเบียบไอเดียอันบรรเจิดของคุณก่อน เขียนมันใส่กระดาษที่สามารถหยิบมาดูได้ ทำไมนะเหรอ? ความทรงจำคุณมันบิดเบือนได้ ตกหล่นได้ แล้วความสร้างสรรค์ของคุณมีแนวโน้มว่าทิ้งช่องโหว่ไว้บานในเรื่องราวของคุณ ให้คุณหาวิธีอุดรูรั่วเหล่านั้นไว้ก่อนจะเริ่มเขียนเลย


Step 1) สรุปแกนของเรื่องนี้ให้เป็นประโยคเดียวสั้นๆเช่น "นักฟิสิกหัวแข็งเดินทางข้ามเวลาย้อนไปฆ่าลูกศิษย์ตัวเองที่ชือพอล" ส่วนนี้คือแกนของสามเหลี่ยมที่จะกลายเป็นเกล็ดหิมะในอนาคต มันคือภาพใหญ่ของนิยายเรื่องนี้


Step 2) เริ่มขยายประโยคสั้นๆที่สรุปได้ให้กลายเป็นเรื่องราวขึ้นมา กำหนดจุดไคลแมกซ์ กำหนดจุดจบของเรื่อง (เขาบอกว่าจะใช้ทฤษฎีการเล่าเรื่องแบบ 3/4/5 องก์มาผสมด้วยก็ได้)


Step 3) คราวนี้เรามายกระดับนิยายเรื่องนี้ให้มันเหนือชั้นกว่าเดิม นอกจากเนื้อเรื่องที่ดีแล้วคุณต้องมีตัวละครที่ดีด้วย คุณต้องทุ่มเวลาเพื่อมันสักหน่อยโดยเติมเนื้อหาประมาณนี้


- ชื่อ

- สรุปเรื่องราวของตัวละครนี้ในหนึ่งประโยค (เหมือน Step1)

- แรงพลักดันของเขา

- เป้าหมายของเขา

- ปัญหาของเขา

- การค้นพบสัจธรรมของเขา(Epiphany)


จากนั้น 4 5 6 7 8 9 10 ผมไม่ไหวละง่วง...


เท่าที่ดูคร่าวๆ มันเป็นไอเดียการออกแบบนิยายคล้ายกับ Mind-Map คือลำดับใจความสำคัญแล้วกระจายเติมรายระเอียดวงนอกไปเรื่อยๆจนมันสมบูรณ์



2
no one know 8 ก.ค. 61 เวลา 01:25 น. 2-1

ยังไม่ได้อ่านนะ แต่กดถูกใจในความพยายามแปลฮะ (ฮา)

0
G.Tenju 8 ก.ค. 61 เวลา 09:27 น. 2-2

อยากแปลต่อนะ แต่ทนปวดหัวกับลีลาของอีตาคนเขียนไม่ไหว ตัวอย่างแบบเต็ม


Step 4)

พอถึงจุดนี้แล้ว คุณน่าจะได้โครงสร้างหลักสำหรับนิยาย แล้วคุณแค่ใช้เวลาไปกับมันวันหรือสองวัน แบบว่า...ด้วยความสัตย์จริง คุณอาจต้องใช้เวลานานถึงหนึ่งสัปดาร์เลยด้วยซ้ำ แต่นั่นไม่สำคัญหรอก ถ้าเรื่องราวมันเละ คุณจะรู้แล้วตอนนี้ หลังจากทุ่มเวลาไปกว่า 500 ชั่วโมงในการร่างดราฟแรก... ในตอนนี้ก็แค่ทำให้เรื่องมันเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลากว่าหลายชั่วโมงในการขยายประโยคสรุปสั้นๆของคุณให้มันกลายเป็นตอนๆจนกระทั่งตอนสุดท้ายที่จบลงด้วยหายนะ ในตอนสุดท้ายควรจะบอกได้ว่าหนังสือเล่มนี้จบอย่างไร (ที่ขีดเส้นใต้เขาใช้ 'disaster' ไม่แน่ใจว่าเป็นศัพท์ของ 'องค์ 3' หรือมันไม่ชอบคำว่า 'ไคลแมกซ์' หรือมันหมายถึงตอนจบของนักฟิสิกตัวอย่างที่มันใช้)


นี่มันเป็นอะไรที่สนุกมากๆ แล้วหลังจบจากการอุ่นเครื่อง(ร่างแรก) คุณจะได้โครงกระดูกดีๆของเรื่องมาหนึ่งแผ่น(งงว่ามันเปรียบเทียบว่าแต่ละหน้าคือกระดูกของนิยาย หรือ ทุ่มเวลา 500 ชั่วโมงเพื่อให้ได้แผ่นเดียว) มันโอเค...ถ้าคุณไม่สามารถใส่ทั้งหมดในย่อหน้าเว้นวรรคเดียวได้ สิ่งใดก็ตามที่คุณทำให้ไอเดียในนิยายเรื่องนี้เติบโตมันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวของคุณด้วย คุณขยายปมความขัดแย้ง คุณควรได้ข้อสรุปที่เหมาะกับปมของคุณด้วย... แม้ว่าจะมีทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับปมนี้


---


คือ... พี่แกจะลีลาเยอะไปไหน... ขนาดอ่านจบแล้วยังงงว่าเราต้องทำอะไรกันแน่ แล้วยิ่งเราไม่ได้แปลเป็นอาชีพยิ่งประสาทแดรกเข้าไปใหญ่ว่าอันไหนคือ 'ศัพท์เทคนิค' อันไหนคือ 'คำเปรียบเปย' ยิ่งแปลยิ่งหัวร้อนฟรากกกกกกกกกกกกกก


ป.ล. Step 1 2 3 น่ะสรุปใจความสำคัญมาให้ เพราะต้นฉบับพี่แกพูด 'เสริม' ยาวมากๆ

0
Miran/Licht 8 ก.ค. 61 เวลา 07:21 น. 3

เรื่องแปลขออภัยที่คงไม่ใจดีแปลให้ มาแนะนำหนังสือเพิ่มเติมแทน


เล่มนี้เพื่อนแนะนำมาค่ะ เราซื้ออ่านบนแอพคินเดิลเอา If You Want to Write https://www.amazon.com/gp/product/B00CYN434K/ref=oh_aui_d_detailpage_o01_?ie=UTF8&psc=1


นอกจากนี้มี นักเขียนนวนิยายเป็นอาชีพ ของ มุราคามิ เล่มนี้มีแปลไทยของสนพ.กำมะหยี่


เดี๋ยวนี้หนังสือการเขียนมีเยอะนะคะ เดินเข้าศูนย์หนังสือจุฬาก็มีเป็นชั้นเลย ที่อยากเตือนคือ อย่าหลงในอีโก้ที่ผู้เขียนหนังสือพยายามยัดเยียด และถึงแม้คุณจะเขียนด้วยกลเม็ดแพรวพราวตามทฤษฎี แต่มีนักอ่านน้อยที่จะรู้จักกระทั่งคำเรียกค่ะ


0