Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

(แบ่งปัน) ทริคการเขียนหลอกผู้อ่านด้วย “unreliable narrator”

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ช่วงมีสาระค่ะ 5555+

 




Unrealiable narrator หรือแปลเป็นไทยว่า “ผู้เล่าเรื่องที่เชื่อถือไม่ได้” เป็นทริคอย่างหนึ่งในการเขียนที่น่าสนใจมากกก โดยฉพาะสำหรับ pov1 เลยอยากเอามาแบ่งปันเผื่อนักเขียนท่านไหนสนใจนำไปใช้ค่ะ

 


โดยปกติแล้ว การเขียนแบบ pov1 คือการเล่าเรื่องผ่านสายตาตัวละครตัวหนึ่ง (ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ลิงก์นี้:https://www.dek-d.com/board/view/3757197/ ) ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นความจริงหรือเป็นไปตามบรรทัดฐานทั่วไปของสังคม มันอาจบิดเบี้ยว หลอกลวง เห็นผิดเป็นชอบได้แล้วแต่ทัศนคติและมุมมองของตัวละครนั้น ๆ จึงก่อให้เกิดเป็น “ผู้เล่าเรื่องที่เชื่อถือไม่ได้” เรื่องราวที่เราได้อ่านผ่านมุมมองของเขาอาจไม่ใช่เรื่องจริง เช่น ตัวละครที่เป็นฆาตกรอาจพยายามหาข้ออ้างให้ตัวเองเป็นฝ่ายถูก เป็นต้น

 




แบ่งหลัก ๆ ออกเป็น 

 


(1) โดยไม่ได้ตั้งใจ


1.1 The naïve: คนเล่าเรื่องเป็นเด็ก มุมมองการรับรู้ ตีความ และการเข้าใจเรื่องต่าง ๆ จึงมีจำกัด ทำให้เล่าออกมาในมุมมองที่แคบและไม่ตรงกับความเป็นจริง 

 


1.2 Incorrect information: ผู้เล่าได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์ ทำให้ตีความและเล่าเรื่องอย่างไม่ถูกต้องตามข้อมูลที่รู้ เช่น เคยอ่านเรื่องหนึ่งมา นางเอกคิดว่าพระเอกรักภรรยาเก่ามาก การเล่าเรื่องช่วงแรกเป็นไปทำนองน้อยเนื้อต่ำใจ คิดว่าตัวเองสู้ภรรยาเก่าไม่ได้ คิดว่าที่พระเอกทำแบบนี้กับตัวเองเพราะยังลืมคนเก่าไม่ได้ แต่พอรู้ความจริง โทนการเล่าเรื่องก็เปลี่ยน นางเอกไม่ได้มองสิ่งที่พระเอกทำเป็นการอาลัยอาวรณ์ภรรยาเก่าอีกต่อไป

 


1.3 The Mad man: ผู้เล่ามีความผิดปกติทางจิต เช่น กลไกการป้องกันตัวเองหลังจากประสบเหตุร้าย ทำให้เล่าเรื่องออกมาในแนวที่ขาดความเป็นจริงเพื่อหลอกตัวเอง หรือเป็นคนหลายบุคลิก บุคลิกแปลกแยก เป็นพวกปฏิเสธความจริงอยู่ในโลกเพ้อฝัน หรืออาการป่วยทางจิตอื่น ๆ ที่ทำให้การรับรู้ผิดเพี้ยนไป


 




(2) โดยตั้งใจและเจตนา


2.1 The Picaro: ตัวละครเป็นพวกขี้โม้ อวดตัวเอง ชอบเล่าเรื่องเกินความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเรื่องที่เล่าอาจมีการเสริมแต่งเพื่อความดูดี เช่นมีสิบบอกร้อย 

 


2.2 The Clown: ตัวละครที่เล่าเรื่องแบบคลุมเครือไม่ชัดเจน อาจเล่าข้อมูลแบบหมกเม็ด จงใจชี้ทางให้สับสน เล่นกับคำหรือบทสนทนา 

 


2.3 The Liar: จงใจโกหก นำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือแต่งเรื่องขึ้นมาเอง เช่นสร้างตัวตนปลอมเพื่อปกปิดข้อมูลในอดีต ซึ่งต่างจาก 2.2 ตรงที่ด้านบนไม่ได้โกหกเสียทีเดียว แต่พูดให้สับสนคลุมเครือ หรือเล่าความจริงไม่หมด แต่ไม่ได้เป็นการสร้างเรื่องแต่อย่างใด แต่อันนี้ (The Liar) คืือเจตนาโกหกชัดเจน 


 




(3) เป็นไปโดยธรรมชาติ 


ตัวละครนี้เป็นคนที่เลวร้ายโดยสันdanธาตุแท้ มีมุมมองที่วิปริตเกินคนธรรมดา ทำให้เรื่องราวผ่านมุมมองของเขาออกมาบิดเบี้ยว เช่น โจรข่มขืนมองว่าผู้หญิงอ่อยหรือให้ท่า ทั้งที่ในความเป็นจริง ผู้หญิงไม่ได้ทำอะไรเลย หรือตัวอย่างที่ Humbert ในเรื่อง Lolita ที่เป็นพวกใคร่เด็ก จึงมองว่าเด็กร้ายกาจ ยั่วยวน การเล่าเรื่องก็จะออกมาเพี้ยน ๆ ในแบบนั้น




 




ก็ทำนองนี้แหละค่ะ *ปาดเหงื่อ* ส่วนตัวคิดว่าเป็นทริคที่น่าลองมาก ๆ เหมาะแกการหักมุมตอนเฉลยปมโดยแท้




มีอะไรผิดพลาดก็บอกได้นะคะ เราก็รวบรวม+สรุปมาจากหลาย ๆ แหล่ง อาจจะมีคลาดเคลื่อนบ้างจากการตีความ

 

 




สุดท้ายนี้ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ!

แสดงความคิดเห็น

>

13 ความคิดเห็น

๋JFWriter 25 ก.ย. 61 เวลา 18:28 น. 1

เป็นบทความที่ดีและน่าสนใจมากค่ะ ทำให้พยายามคิดจากหลากหลายมุมมอง ว่าถ้าเป็นคนแบบไหนและเจอเรื่องที่ต่างกันมา ก็อาจจะมองเหตุการณ์เดียวกันในมุมมองที่ต่างกัน จริงๆมีประโยชน์มากเลยนะคะในแง่ของการเสพข่าวในปัจจุบัน ทำให้เราต้องรับสารจากรอบด้านแทนที่จะตัดสินอะไรจากแค่มุมเดียว ขอบคุณที่มาแบ่งปันกันนะคะ

0
25 ก.ย. 61 เวลา 19:16 น. 3

กำลังหาเนื้อหาสาระแนวนี้อยู่เลยค่ะ เราจะเอาไปใช้ในนิยายแนวสืบสวนคดีนะคะ ขอบคุณบทความดีๆแบบนี้ค่ะ

0
quiet is violent 25 ก.ย. 61 เวลา 19:34 น. 4

ขอบคุณมากนะคะสำหรับการแบ่งปันสาระการเขียนดีๆ

เราอยากลองเขียนมุมมองที่บิดเบี้ยวผ่านสายตาตัวละครมานานแล้วค่ะ

แต่ไม่ง่ายเลย 555 ยังต้องศึกษาอีกเยอะ

0
white cane 26 ก.ย. 61 เวลา 12:01 น. 7

มุกอย่างนี้ผมเคยใช้มาแล้ว มาหักมุมตอนจบสนุกดี ชอบหลอกนักอ่าน แต่ยังไม่เคยแต่งเนื้อหาบิดเบี้ยวในความคิดของตัวละคร แต่งแค่ตัวละครคิดไปเองอย่างเดียว

0
AriesMars 28 ก.ย. 61 เวลา 12:53 น. 13

ทริคนี้น่าจะใช้ได้ดีมากกับนิยายประเภทสืบสวนสอบสวน psychological thriller อะไรประมาณนี้

อย่าง Shutter Island (อันนี้ถึงจะใช้ POV3 แต่เราว่ามันก็ค่อนข้างเข้าข่าย 'ผู้เล่าเรื่องที่เชื่อถือไม่ได้' อยู่ เพราะคนเขียนอธิบายถึงความรู้สึกนึกคิดของตัวละครเอกที่มีอาการป่วยทางจิตจนคนอ่านอย่างเราหลงเชื่อตามว่าสิ่งที่ที่เขาคิดว่าจริงนั้นมันคือความจริง), Gone Girl และ The Girl on the Train ทำออกมาได้ดีมาก (อันนี้น่าจะเข้าข่าย "1.3 The Mad Man")


อิดิท: เราเคยอ่าน Room ของ Emma Donoghue นิยายเรื่องนี้ก็ใช้ทริคนี้เหมือนกัน เป็น unreliable narrator ประเภท the naïve เพราะเล่าเรื่องผ่านมุมมองของเด็กชายอายุห้าขวบ เป็นนิยายที่ดีมาก ยิ้มกับความไร้เดียงสาของแจ็คในขณะเดียวกันก็เศร้าและอดสูใจกับชีวิตของเขากับแม่

0