Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยใช้ CLEAN & CARE Model เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ชื่อเรื่อง           การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยใช้ CLEAN & CARE Model
                      เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม
ผู้วิจัย              นายฉลอง งามคง
สถานศึกษา      โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
ปีที่วิจัย             2560
 
บทคัดย่อ
 
           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน และคณะกรรมการการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้งสิ้น 316 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์   การสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา
           ผลการวิจัย พบว่า    
               1. สภาพการปฏิบัติและปัญหาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม พบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ปัญหาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม โดยรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย  
               2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ประกอบด้วย 9 ด้าน 23 องค์ประกอบหลัก 114 องค์ประกอบย่อย มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด รูปแบบมีชื่อว่า CLEAN & CARE Model มีองค์ประกอบ คือ ด้านครูผู้สอน (Coaching) ด้านผู้บริหาร (Leadership) ด้านการจัดการเรียนรู้(Education) ด้านความตระหนักในสถานศึกษา(Awareness) ด้านเครือข่าย (Network) ผลลัพธ์ (outcome) ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ได้แก่ ด้านชุมชนแห่งการเรียนเรียนรู้ (Community)
ด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน (Achievement) ด้านสืบสานศิลปวัฒนธรรม (Relative Culture) และด้านรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environment) การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม (Environment : E)  การสร้างเครือข่าย (Network : N) 
               3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม พบว่า มีสภาพความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด และมีสภาพความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และผลดีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนหลังจากนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนไปใช้ในโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม พบว่า 1) นักเรียนเป็นคนดี มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา 8 ประการ มีจิตสำนึกสุจริต 5 ประการ และมีค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการ 2) นักเรียนมีผลงานด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ กีฬา นันทนาการ 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกชั้นเรียนสูงขึ้นและผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของฐานเดิม 4) โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนและประชาชน สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ อาชีพ วิถีชีวิตความเป็นไทย การพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความเป็นมืออาชีพ มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม ใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพงาน PDCA มีการกระตุ้นการทำงาน นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน 6) โรงเรียนได้รับการพัฒนาให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน มีบรรยากาศที่สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัยและเป็นโรงเรียนปลอดยาเสพติด พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ และลานกีฬาของชุมชน 7) โรงเรียนสร้างภาคีเครือข่ายร่วมมือพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่หลากหลายจากทุกภาคส่วน 8) โรงเรียนมีการพัฒนาระบบบริหาร ระบบประกันคุณภาพภายใน สร้างและพัฒนานวัตกรรม การบริหารจัดการสู่การสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ มีผลงานเป็นที่พึงพอใจของชุมชน และ 9) โรงเรียนมีผลงานเชิงประจักษ์ ทั้งระดับสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู นักเรียน และชุมชน

แสดงความคิดเห็น

>