Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ภาษาที่สวยงามในการเขียนนิยาย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
การเลือกใช้ภาษาที่สวยงามในการเขียนนิยายมีข้อดีใหญ่ๆ ตรงที่มันทำให้คนอ่านรู้สึกเคลิ้บเคลิ้มไปกับการอ่านนิยายได้ดี แต่ถ้าความสวยงามทางด้านภาษาอยู่ในระดับที่เป็นปกติเหมือนหนังสือทั่วๆ ไปล่ะ มันจะเป็นยังไง เป็นผลดีต่อคนเขียนและคนอ่านแค่ไหนกัน

โดยส่วนตัว ผมว่ามันก็เป็นข้อดีเหมือนกันนะ เขียนง่าย อ่านง่าย เข้าใจง่าย รวบรัดรวดเร็ว ไม่บรรยายเวิ่นเว้อจนเกินไป เหมาะกับนักเขียนมือใหม่ที่ประสบการณ์ยังไม่มากพอหรืออาจจะชอบอะไรแบบนี้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว และนักอ่านบางประเภทที่มองเนื้อเรื่องเป็นอันดับแรก อย่างอื่นเป็นรองลงมา

ทุกคนคิดยังไงกันบ้างครับ อันไหนดี อันไหนไม่ดี หรืออันไหนดีกว่ากัน

แสดงความคิดเห็น

>

14 ความคิดเห็น

ศศิมา 29 พ.ย. 61 เวลา 23:30 น. 1

สำหรับเราเรามองว่าการเขียนนิยายแต่ละเรื่องมันสามารถใช้ภาษาได้หลากหลายแบบอยู่ที่ว่าตอนนั้นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับอะไร บริษทอยู่ตรงไหน บางคนเลือกใช้ความรุ่มรวยของภาษาบรรยายเหมือนกันหมดทั้งเล่ม คล้องจองกันจนเหมือนเป็นร่ายมากกว่าร้อยแก้ว แถมยังต้องมาตีความศัพท์แสงอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นคิดว่าเลือกใช้ให้ถูกที่ถูกเวลา อย่างบทบรรยายฉากบรรยายธรรมชาติก็อาจจะใช้ภาษาที่สละสลวยได้ แต่กับบางอารมณ์ก็ควรสื่อสารง่ายๆ จะเข้าใจมากกว่า สำหรับตัวเองมองว่าคนที่เขียนภาษาอย่างง่าย "ใช้คำน้อยแต่ได้ความมาก" สะเทือนอารมณ์มากนั่นคือดึงความสนใจได้ดีกว่าการบรรยายท่วมทุ่งแต่ไม่ได้อะไรเลย

1
WonderTales 30 พ.ย. 61 เวลา 10:39 น. 1-1

เห็นด้วยครับ บางเรื่องมีเนื้อเรื่องอยู่เพียงไม่กี่บรรทัด แต่เอามาขยายด้วยการบรรยายจนได้1หน้ากระดาษA4 ผมนี่ทึ่งในความสามารถของเขามากๆ เลยครับ แบบนี้ก็ชอบอยู่ แต่ในขณะเดียวกันก็แอบหัวเราะที่เนื้อเรื่องมันเดินไปได้แค่นิดเดียว

0
yurinohanakotoba 29 พ.ย. 61 เวลา 23:59 น. 2

การใช้คำง่าย ๆ การใช้คำน้อยแต่ได้มาก การใช้ภาษาสละสลวย การใช้ศัพท์ยาก ทุกอย่างต้องแล้วแต่จังวะ ไม่จำเป็นต้องตั้งกรอบจะใช้อย่างเดียวไปทั้งเรื่อง

0
หลับปุ๋ย` 30 พ.ย. 61 เวลา 00:00 น. 3

สมัยก่อนเคยใช้พรรณาโวหารเยอะครับ แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปแล้ว


หลังๆ มา อาจเป็นเพราะอ่านนิยายใหม่ๆ มากไป เลยติดการใช้คำไม่ต้องหรู เน้นอ่านเข้าใจ หลีกเลี่ยงภาษาวิบัติ บางท่อนก็อ่านแล้วแข็งโป๊ก จนกังวลบ้างว่างานที่เขียนอยู่ อาจใกล้จะแย่กว่าไลท์โนเวลบางเรื่องแล้วครับ

1
Louis Forest 30 พ.ย. 61 เวลา 00:24 น. 4

ลืมเรื่องข้อดีข้อเสียไปเลยครับ จงบรรยายให้รู้เรื่องให้เป็นตัวเองก็พอ นักเขียนทุกคนต้องมี voice ครับ อ่านปุ๊ปแล้ว เฮ้ย!!! สำนวนคนนี้ สำนวนแบบนี้เขาเลย จะดีกว่า


เขียนอะไรก็แล้วแต่ครับ จะแร๊พ จะร็อค จะลูกทุ่ง มันต้องมีเอกลักษณ์ คิดโง่ๆเลยว่าหนังเรื่องเดียวกัน ให้โนแลน ให้สปิลเบิร์ก ให้แคเมรอน กำกับ มันออกมาคนละแบบอยู่แล้ว คุณจะเป็นพจน์อานนท์ไหมล่ะ?


ยกตัวอย่างตัวเอง: เคยมีคนทักว่าผมสำนวนไปทาง season cloud ผมยังไม่รู้จักเลยว่าใคร รู้สึกเคืองหน่อย ๆ ว่า ใครวะด้วย พอไป Google ดูก็ อ่อ มีความคล้ายนะ แต่จริง ๆ น่าจะเพราะอายุไล่เลี่ยกันมากกว่า (คนยุค 90s) คนที่ทักเขาอาจจะอ่านค่ายนี้หนักไปหน่อย สำนวนผมนี่ตามใจตัวเองสุดๆแล้ว (อันนี้ตัวอย่างนะ)

1
SilverPlus 30 พ.ย. 61 เวลา 00:50 น. 5

เขียนอธิบายปกติให้คนรู้เรื่อง คือพื้นฐานของนักเขียน

หากมีสะบัดลีลาเล็กน้อยเป็นสีสัน ก็ถือเป็นความเก่ง

หากทำให้คนอ่านขนลุกด้วยคำสวย ๆ และจมลงกับเหตุการณ์ด้วยรูปประโยคที่กระชากอารมณ์ อันนี้เรียกเทพ


และนักเขียนควรมีความเทพแบบนี้ ฉากธรรมดา ไม่จำเป็นต้องใช้คำสวยก็ได้ แต่ฉากเด่น ฉากพีค การใช้ภาษาสวยงามจะทำให้ดึงอารมณ์ออกมาได้ดีมาก


เหมือนหนังที่ใช้ดนตรี หากเลือกดนตรีได้เข้ากับฉาก มันจะดึงอารมณ์ได้สุด ๆ เกมเรดเดธท2 ที่เล่นจบไปแล้ว ดนตรีกับฉากเข้ากันสุด ๆ เล่นไปขนลุกไป ได้อารมณ์มาก คิดว่างานเขียนก็คงไม่ต่างกัน


อีกอย่าง งานเขียนคืองานศิลปะ มีสวย มีเรียบ แล้วแต่คนเขียนจะสร้างมันออกมาแบบไหน เรียบเกินไปก็น่าเบื่อ สวยเกินไปก็เข้าไม่ถึง หากจัดให้ลงจังหวะตามเอกลักษณ์ของตัวเอง ก็จะยอดเยี่ยมมาก ๆ

1
ฉัวๆ กุดุสๆ 30 พ.ย. 61 เวลา 02:36 น. 6

ภาษาสวยหรือไม่สวย ขอแค่อ่านรู้เรื่องและไม่นอกเรื่องก็พอ ถ้าเป็นภาษาอีสาน ภาษาปักษ์ใต้ ภาษาเหนือ พูดอีกเรื่อง

2
Miran/Licht 30 พ.ย. 61 เวลา 05:53 น. 6-1

เปิดเข้ามาดูเพราะชื่อล็อคอินนี้เลยนะ ฮ่าา

0
WonderTales 30 พ.ย. 61 เวลา 10:48 น. 6-2

อ้ะ พอดีเลย ผมมีตัวละครที่เป็นคนอีสานแล้วใช้ภาษาอีสานอยู่ด้วยล่ะ

0
peiNing Zheng 30 พ.ย. 61 เวลา 10:07 น. 7

ระดับต้น -- สื่อสารรู้เรื่อง


ระดับกลาง -- สื่อสารรู้เรื่อง + สื่ออารมณ์ได้


ระดับสูง -- สื่อสารรู้เรื่อง + สื่ออารมณ์ได้ + จรรโลงใจผู้รับสาร


บางคนเข้าใจผิดว่า ภาษาสวย = ระดับสูง แต่ที่จริงไม่ใช่ ถ้ามันสื่อสารกับสื่ออารมณ์ให้คนอ่านไม่ได้ มันก็เป็นไม่ได้แม้กระทั่งระดับต้นด้วยซ้ำ


ส่วนตัวเรามองว่า ภาษาที่ดีคือ ใช้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องค่ะ ไม่ใช่มาแบบ...จุดที่ควรกระชับดันมาพรรณนา จุดที่สมควรบรรยายก็ตัดให้กระชับไม่ให้รายละเอียดซะงั้น

1
WonderTales 30 พ.ย. 61 เวลา 10:51 น. 7-1

งั้นผมขอเป็นระดับต้นที่พัฒนาไปถึงระดับกลางแค่นี้พอ น่าจะเป็นตัวของตัวเองที่สุดแล้ว

0
WonderTales 3 ธ.ค. 61 เวลา 09:30 น. 8-1

มันช่วยให้มองเห็นภาพได้ง่ายขึ้นใช่มั้ยครับ

0
เมฆาราตรีกาฬปักษ์.. 30 พ.ย. 61 เวลา 17:20 น. 9

55555..ภาษาอันงดงามสละสลวย คือภาษาที่เรียงร้อยเป็นประโยคเป็นวรรคตอนและบทตอน ด้วย

ถ้อยคำทั้งการจัดแบ่งวรรคตอนและการจัดลำดับประโยคต่างๆ อย่างเหมาะสม โดยสามารถสื่อสาร

ความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้อย่างถุกต้องชัดเจนเท่านั้นครับ ความสั้นยาวไม่ใช่ปัจจัยของคำ

ว่าสละสลวยหรือธรรมดาจนสามัญไม่..

2
DCD-DED 2 ธ.ค. 61 เวลา 06:20 น. 10

ใช่ๆ เน้นเนื้อเรื่องเป็นหลัก

ชอบอ่านแบบใช้คำง่าย เข้าใจง่าย

ถ้าใช้ภาษาสวยสละสลวยบรรยายเยิ่นเย้อ มันต้องมาแปลอีกรอบ ยุ่งยาก เสียเวลา

ชอบอ่านนิยายแชท ไลท์โนเวล หรือนิยายที่ใช้ภาษาอ่านง่าย มากกว่า นิยายที่ใช้ภาษาและสำนวนอ่านยาก

1
เจ้า(แมว)ขาว 2 ธ.ค. 61 เวลา 20:48 น. 11

ควรใช้ตามความเหมาะสม ตามรูปแบบของเรื่องราวนั้น เช่น มีเชื้อพระวงศ์ควรใช้ราชาศัพท์

ในบางจังหวะ เช่น ฉากโรแมนติกที่ต้องการความละมิุนละไม เพื่อสื่ออารมณ์ความรู้สึกให้ชัดเจนขึ้น

จุดประสงค์เพื่อดึงดูดความสนใจผู้อ่าน หรือ เพิ่มความประทับใจ เป็นส่วนเสริมให้ดูมีคุณค่ามากขึ้น

แต่ถ้าใช้ผิดใช้ไม่เป็นก็อาจทำให้ดูแย่ลง หรือ สื่อสารไม่เข้าใจได้ จึงควรระวังให้มาก

1
พี่ตุลา 23 ม.ค. 62 เวลา 18:24 น. 12

เวลาผมอ่านนิยายเเละให้คะเเนน(ในใจ) ผมเเบ่งเป็นความสนุกของเนื้อเรื่อง พล็อดเเละโครง ส่วนความสวยของภาษาผมจัดอยู่ในหมวดคะเเนนพิเศษ ประเภทเดียวกันกับการสร้างบุคลิคตัวละคร การใส่รายละเอียดในฉาก เพราะมันค่อนข้างยากกว่า? เเยกย่อยกว่า? ว่าเเต่ช่วยอธิบายภาษาที่สวยงามให้ผมหน่อยได้ไหมครับ? ผมจะได้ไม่หลุดออกประเด็น เเล้วก็สงสัยด้วยว่าปกติจำกัดความกันยังไง เข้าใจเเบบไหน เเบบไหนที่เรียกว่าภาษาที่สวยงาม? สละสลวยเหมือนใช้ซัลซิล? #เขาไม่ได้จ่าย

0
A.L. Lee 15 ก.พ. 62 เวลา 09:12 น. 13

เพิ่งเห็นกระทู้นี้ ขอตอบซักหน่อยละกัน

เราเพิ่งโพสกระทู้เปรียบเทียบสำนวนไป แล้วได้ข้อสรุปว่า


แล้วแต่จริตค่ะ


บางคนก็ชอบภาษาสวย ๆ รุ่มรวย บรรยายทุกอย่างให้เห็นภาพเข้าถึงอารมณ์อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง


แต่อย่างเรา แทบจะอ่านแต่นิยายแปลและนิยายญี่ปุ่นสมัยใหม่มาตลอดชีวิต เลยชอบคำศัพท์และรูปประโยคที่เข้าใจง่าย ไม่ต้องมานั่งตีความหรือเปรียบเปรย และก็พบว่าคำง่าย ๆ และเว้นช่องว่างให้คนอ่านได้จินตนาการสักนิดกน่อยนี่แหละที่เราชอบที่สุด ขอแค่ใช้เป็น ถูกจังหวะ มันก็ทำให้เราดำดิ่งลงไปกับนิยายได้โดยไม่ต้องประดิษฐ์ประดอยใด ๆ ให้มากความ 


ไม่มีแบบไหนผิดหรือถูก มีแค่ชอบกับไม่ชอบเท่านั้น


สิ่งสำคัญพื้นฐาน คือการใช้คำให้ถูก รู้ว่าอยากจะสื่ออะไรออกมาแล้วสื่อออกมาได้ และพยายามเกลาให้อ่านแล้วลื่นไหลก็เพียงพอแล้ว (เราพยายามเขียนแบบรุ่มรวยแต่เกลาไม่ดีพอก็แป้ก เขียนง่าย ๆ ลื่น ๆ ยังจะดีเสียกว่า)


6
A.L. Lee 15 ก.พ. 62 เวลา 10:03 น. 13-2

จริง ๆ ก็ขึ้นกับแนวเรื่องและกลุ่มเป้าหมายด้วยค่ะ


หากกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงไปเลย เช่นนิยายรัก นิยายวาย หรือแฟนตาซีแนวผู้หญิงหน่อย ให้บรรยายแบบรุ่มรวยและเน้นอารมณ์ความรู้สึกตัวละครจะดีกว่า


แต่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ชาย เช่นแนวบู๊ สืบสวน อะไรพวกนี้ หรืออยากเขียนแนวที่อ่านได้ทุกเพศทุกวัย ก็บรรยายให้เข้าใจง่ายและกระชับจะเหมาะกว่า

0
ปล่อยอึ่ง 15 ก.พ. 62 เวลา 10:36 น. 13-3

อ้อ ครับ


นอกเรื่องหน่อย

นี่เป็นกระทู้แรกๆ ที่ผมตั้งขึ้น

อารมณ์ประมาณว่า ต้องการจะบอกว่าตัวเองชอบอ่านอะไรที่มันง่ายๆ

แต่พอมาช่วงหลัง ตัวเองกลับตั้งกระทู้เพื่อดูว่าตัวเองฝึกการบรรยายไปได้ถึงไหนแล้ว

ซึ่งการบรรยายที่ว่านั้น ตัวเองกำลังหันหน้าเข้าหาอะไรที่มันยากๆ อยู่

อยากอ่านอะไรที่มันง่ายๆ แต่กลับอยากเขียนอะไรที่มันยากๆ เพื่อให้ได้ตีพิมพ์


ก็ขำดีเหมือนกัน ขัดแย้งกับตัวเองซะงั้น

0
A.L. Lee 15 ก.พ. 62 เวลา 12:00 น. 13-4

อย่ากังวลเรื่องภาษามากนักเลยค่ะ จริง ๆ นิยายตีพิมพฺสมัยนี้ก็ไม่ได้อ่านยากอะไรเลย ใช้คำธรรมดา ๆ เนี่ยแหละ


เราเคยอ่านตัวอย่างการบรรยายของคุณ มันก็ไม่ได้แย่ แต่มันยังขาด ๆ เกิน ๆ ในบางจุด (แค่ในความคิดเรานะ) คุณมีนิยายที่เป็นแนวทางในการเขียนหรือเปล่าคะ อย่างเราเนี่ย จะมีนิยายอยู่เซ็ตนึงเอาไว้อ่านเป็นแนวทางการเขียนโดยเฉพาะ มันจะทำให้เราไม่หลงแนวค่ะ

0
ปล่อยอึ่ง 15 ก.พ. 62 เวลา 12:28 น. 13-5

ไม่มีเลยครับ เท่าที่มีเป็นหนังสือที่อยู่บ้าน ก็ไม่ได้หยิบเอามาเป็นแนวทางสักเรื่องเลย


ส่วนเรื่องการบรรยายนั้นผมทำได้แล้วครับ

เพิ่งจะเขียนได้+ชินมือก็สัปดาห์นี้เอง

ได้แล้ว พอใจแล้ว

ตอนนี้กำลังเอานิยายทั้งเรื่องกลับมารีไรท์การบรรยายใหม่อยู่ครับ

อีกหน่อยก็จะโปรโมทอย่างเป็นทางการ และเริ่มอัพลงเว็บจริงๆ จังๆ แล้ว

ขอบคุณที่แนะนำครับ

0
white cane 15 ก.พ. 62 เวลา 12:38 น. 14

ผมว่าถ้าเป็นไปได้ นักเขียนควรแต่งนิยายที่ "ใช้ภาษาที่มนุษย์ธรรมดาเข้าใจได้ง่าย" เพราะหากใช้ภาษาแบบสุนทรภู่ อาจเป็นการขับไล่นักอ่านส่วนใหญ่ไป เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าใจถึงคำศัพท์โบราณหรือพิสดารมากนัก


ผมเคยไปอ่านของนักเขียนท่านหนึ่ง มันเป็นนิยายจีน ผมอ่านไปได้ประมาณสิบกว่าตอนมั้ง จากนั้นก็ไม่ได้อ่านอีกเลย เนื่องจากผมต้องใช้สมองมากในการตีความหมายที่นักเขียนท่านนั้นสื่อ จนบางครั้งต้องไปเปิดพจนานุกรมก็มี


แต่นี่จะไม่เกิดปัญหาสำหรับนักอ่านที่อ่านแนวจักรๆ วงๆ จนเคยชิ้น แต่ว่านักอ่านเหล่านี้มีน้อยไง


ทุกวันนี้ผมยังคิดอยู่เลย จะย้อนกลับไปอ่านดีไหม เพราะกว่าจะอ่านได้แต่ละบรรทัด ต้องใช้สมาธิมาก เพื่อตีความหมาย แต่ถ้าเป็นแนวที่เขียนไม่ได้พิสดารมากนัก อันนี้อ่าน 1 บรรทัดที่เขียนเต็ม ใช้เวลา 2 วินิดๆ ผมก็อ่านจบแล้ว แต่ถ้าใช้สำนวนดึกดำบรรพ์ อย่างต่ำ 5 วินาที


ส่วนเรื่องความสนุกนั้น ? ผมว่ามันน่าจะเป็นรองการใช้สำนวนนะ หากการใช้สำนวนอ่านเข้าใจยาก แต่เนื้อหาสนุก มันก็ไม่มีประโยชน์ เนื่องจากนักอ่านไม่มีความสุขในการอ่าน อย่างเช่นตัวผม แต่ของคนอื่น ? ไม่รู้ว่าจะเป็นเหมือนผมหรือไม่ เอาเป็นว่าความคิดนี้เป็นของผมคนเดียว

1
ปล่อยอึ่ง 15 ก.พ. 62 เวลา 12:40 น. 14-1

เคยเจอเหมือนกันครับ ตอนนั้นเป็นเด็กด้วย ยิ่งไม่เข้าใจเข้าไปใหญ่

0