Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วิศวกรรมสิ่งทอ (Textile Engineering)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

   



ในระหว่าง พ.ศ. 
2508-2518 เป็นปีทองแห่งอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย  โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมการลงทุนมากมายหลายประเภทช่างเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญหลั่งไหลเข้าประเทศไทยจำนวนมาก ส่งเงินตราออกต่างประเทศไม่ทราบปีละเท่าไร ทั้งนี้เพราะในด้านการศึกษามิได้มีการเตรียมพร้อมที่จะผลิตช่างเทคนิคตาม สาขาที่ได้รับ      การส่งเสริม มาสนองความต้องการของอุตสาหกรรม วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ ฯ  สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล    (ชื่อเดิม : วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา) โดยเฉพาะหัวหน้าแผนกผ้าและเครื่องแต่งกาย ศ.อัจฉราพร ไศละสูต  ในขณะนั้นได้มองเห็นปัญหานี้มาโดยตลอด ได้เริ่มพยายามให้การศึกษาทางด้านสิ่งทอแก่นักศึกษาหญิงของแผนกโดยส่งไปฝึก งานในโรงงานอุตสาหกรรมในฐานะช่างเทคนิค ทำงานในห้องทดลอง


                            ด้วยความร่วมมือของหัวหน้าหน่วยทดลองเส้นใยและไหม นายวินิจ  โกญจนาท (ในขณะนั้น) (ซึ่งต่อมาหน่วยทดลองเส้นใยและไหม ได้เปลี่ยนสถานะภายในเป็น กองอุตสาหกรรมสิ่งทอ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมรายสาขา (สาขาสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม) ตามลำดับ โดยได้ทดลองเปิดการศึกษาเป็นสาขาวิชาเอกของแผนกผ้าและเครื่องแต่งกายเรียก ว่า “อุตสาหกรรมผ้า” ในปีการศึกษา 2511 มีจำนวนนักศึกษา 21 คน แบ่งเป็น สาขา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งทอ รับนักศึกษาที่จบจากโรงเรียนช่างทอผ้าโพธาราม หรือเทียบเท่า และสาขาวิชาวิศวกรรมเคมีสิ่งทอ รับนักศึกษา ที่จบจาก มศ. สายวิทยาศาสตร์
                            เนื่องจากว่า วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนของสาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย และอุตสาหกรรมผ้าเป็นการศึกษาคนละแบบ ฝ่ายหนึ่งเรียนเพื่อเป็นผู้บริโภคที่ฉลาด แต่อีกฝ่ายเรียนเพื่อเป็นช่างเทคนิคการผลิต ทั้งยังอยู่ในสังกัดคณะเดียวกัน ทำให้อุตสาหกรรมที่จะเป็นที่รองรับนักศึกษานั้นไม่ใคร่สนใจเท่าที่ควร กระทรวงศึกษาธิการจึงอนุมัติให้แยกเป็นอีกแผนกหนึ่งต่างหาก แต่ยังคงสังกัดอยู่ในคณะคหกรรมศาสตร์ เมื่อ   พ.ศ. 2512
การเรียนการสอนในระยะ ปีแรกของการขยายการศึกษาค่อนข้างยากลำบากมากพอสมควร ส่วนใหญ่ต้องใช้ห้องทดลองของกองอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นห้องปฏิบัติการ  อาจารย์ผู้สอนก็เป็นข้าราชการในสังกัด กองอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งทั้งนี้หัวหน้าหน่วยทดลองเส้นใยฝ้ายและไหมในขณะนั้น ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี นักศึกษาที่สำเร็จออกไปเป็นที่ยอมรับของโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ทั้งนี้ต้องนับว่า นายกสามคมอุตสาหกรรม สิ่งทอในสมัยนั้น(ฯพณฯ พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร ) ได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ตั้งแต่การส่งบุคลากรมาร่วมการพิจารณาจัดทำหลักสูตร จัดหาโรงงานให้นักศึกษาฝึกงาน ซึ่งในช่วงเวลานั้นย่อมเป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่า ทุกโรงงานพยายามปิดบังสภาพการในโรงงาน เพื่อผลประโยชน์ในการดำเนินการธุรกิจ
                           เมื่อสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับหลักการในการขยายการศึกษาทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ เมื่อ พ.ศ. 2517 ก็เริ่มได้รับงบประมาณปรับปรุงอุปกรณ์การสอนบ้างพอสมควรตามแก่อัตภาพการ ศึกษา เริ่มเข้ารูปนักศึกษาเพิ่มจำนวนมากขึ้น อุตสาหกรรมให้ความเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น ได้รับทุนอุดหนุนทั้งจากของรัฐบาลไทยและรัฐบาลต่างประเทศ ส่งครูอาจารย์ไปศึกษาและฝึกงานต่อหลายคน ทำให้การเรียนการสอนของแผนกมีคุณภาพสูงขึ้น จึงได้ขออนุมัติแยกออกเป็นคณะ เมื่อ พ.ศ. 2518 แบ่งเป็น แผนก ได้แก่ แผนกวิศวกรรมสิ่งทอ และแผนกเคมีสิ่งทอ ยังคงรับนักศึกษาที่มีความรู้ตามแบบเดิม ต่อมาเมื่อปีการศึกษา 2522 ได้เปิดแผนกออกแบบอุตสาหกรรม และขยายรับนักศึกษาระดับ ปว.ช. ด้วย เนื่องจากมีปัญหาในการเรียนการสอนของนักศึกษาที่มาจาก  ช่างอุตสาหกรรมอื่นมาศึกษาต่อ

สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรีนั้น เริ่มเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2519 ซึ่งเป็นระยะแรกของ การก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (ชื่อเดิม : วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา) โดยทั่วไปยังไม่ค่อยพร้อมนัก แต่อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษามีความพร้อมในระดับหนึ่ง  จึงได้รับอนุมัติให้เปิดสอนได้ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2519 โดยมีข้อแม้ว่า ต้องเป็นนักศึกษาที่ทำงานแล้ว และมาเรียนภาคพิเศษ เพราะสถาบันฯ ไม่สามารถหาสถานที่ และอุปกรณ์การสอนให้ได้พร้อมบริบูรณ์ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งตรงกับความต้องการของนักศึกษาพอดีโดยนักศึกษารุ่นแรก ๆ ของคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอมีงานทำเป็นหลักฐานแล้วทุกคน จึงมีความต้องการปริญญาไว้เป็นเกียรติ เพื่อปรับวิทยฐานะของตนที่ทำงานในโรงงานให้สูงขึ้น


                        ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ชื่อเดิม : วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล) ได้จัดการเรียนการสอนใน ระดับ คือ 
•    ระดับปริญญาตรี  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
จัดการเรียนการสอนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งทอ 
ถ. รังสิต-นครนายก (คลอง 6 )  อ. ธัญบุรี  จ. ปทุมธานี มีสาขาวิชาเอกที่เกี่ยวข้อง คือ 
1.  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิชาเอก วิศวกรรมสิ่งทอ  [วศ.บ. (วิศวกรรมสิ่งทอ) หรือ  B.Eng. (Textile Engineering) ]
2.  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิชาเอก เคมีสิ่งทอ [ วศ.บ. (เคมีสิ่งทอ) หรือ B.Eng. (Textile Chemistry Enigneering ) ]
3.  วิศวกรรมศาสตรบัณฑิตวิชาเอก เทคโนโลยีเสื้อผ้า [ วศ.บ. (เทคโนโลยีเสื้อผ้า ) หรือ B.Eng. (Garment Engineering ) ] 
โดยทั้ง หลักสูตร ได้รับอนุมัติหลักสูตรจากสภาวิทยาลัย ฯ ทบวงมหาวิยาลัย และ ก.พ. แล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2530

•    ระดับปริญญาโท  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
                         นับได้ว่าการพัฒนาการศึกษาทางด้านทางด้านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ทางภาคเอกชนมีส่วนให้การสนับสนุนกับการศึกษาในหลักสูตรเหล่านี้เป็นอย่างดี เช่น ฯพณฯ พลตำรวจเอกประมาณ  อดิเรกสารศาสตราจารย์พิเศษ เดช บุญ-หลง ที่ได้ให้ความกรุณามอบครุภัณฑ์การศึกษาสำหรับงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยดี ตลอด  อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันทางสถาบันได้พยายามพัฒนาการเรียนการสอนให้มีบุคลากรในสาขาเหล่า นี้ เข้ามารับใช้ในวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพิ่มขึ้นตามลำดับ

 

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมสิ่งทอ)
Bachelor of Engineering (Textile Engineering)

  เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาที่สำเร็จหลักสูตรนี้ มีความสามารถในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมการปั่นด้าย ทอผ้า ถักผ้า และผ้าไม่ทอ นับตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมเส้นใยสิ่งทอ, อุตสาหกรรมการปั่นด้าย, อุตสาหกรรมการทอผ้า และการผลิตผ้าไม่ทอ, อุตสาหกรรมการถักผ้า, กระบวนการควบคุมคุณภาพ, การตรวจสอบสมบัติ และมาตรฐานของเส้นด้ายและผืนผ้า 


 

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมีสิ่งทอ แขนงวิชาการย้อมสีและตกแต่งสิ่งทอ)
Bachelor of Engineering (Textile Chemistry Engineering)

เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาที่สำเร็จหลักสูตรนี้ มีความสามารถในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมการฟอกย้อมสิ่งทอ, การพิมพ์สิ่งทอ, การตกแต่งสำเร็จ, การผลิตสารเคมีในงานสิ่งทอ และการผลิตและการใช้สีย้อมสิ่งทอ นับตั้งแต่ขั้นตอน กระบวนการเตรียมผ้า,  กระบวนการฟอกย้อมสีสิ่งทอ, กระบวนการพิมพ์สีสิ่งทอ, กระบวนการตกแต่งสิ่งทอ, กระบวนการควบคุมคุณภาพ, การตรวจสอบสมบัติ และมาตรฐานของผ้าย้อมสีและผ้าตกแต่งสำเร็จ

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมีสิ่งทอ แขนงวิชาการผลิตเส้นใยสังเคราะห์)
Bachelor of Engineering (Synthetic Fiber Engineering)

 เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาที่สำเร็จหลักสูตรนี้ มีความสามารถในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ นับตั้งแต่กระบวนการสังเคราะห์วัตถุดิบเส้นใยสังเคราะห์, กระบวนการอัดรีดเส้นใยสังเคราะห์, กระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์, กระบวนการควบคุมคุณภาพ, การตรวจสอบสมบัติ และมาตรฐานของเส้นใยสังเคราะห์ การบริการเทคนิคการใช้งานของเส้นใยสังเคราะห์

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องนุ่งห่ม)
Bachelor of Engineering (Garment Engineering)

     เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาที่สำเร็จหลักสูตรนี้ มีความสามารถในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป นับตั้งแต่ขั้นตอนกระบวนการจัดหาและเตรียมวัตถุดิบ, กระบวนการสร้างแบบตัด, กระบวนการเย็บ , กระบวนการตกแต่งประกอบและบรรจุภัณฑ์, กระบวนการควบคุมคุณภาพ, การตรวจสอบสมบัติ และมาตรฐานของผลผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป



ระดับปริญญาตรี
คุณวุฒิ ม.6 ระบบ tcas รอบ 1 portfolio เปิดรับสมัคร 1-15 ธ.ค.61 ที่ http://www.tcas.rmutt.ac.th
คุณวุฒิ ปวช / ปวช รอบสอบตรง เปิดรับสมัคร 1ธ.ค.61 - 28 ก.พ.62 ที่ http://www.admission.rmutt.ac.th

ภาพความอบอุ่นในภาควิชา 


 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

hoian2 23 ม.ค. 62 เวลา 15:22 น. 1

**อัพเดท** หลักสูตร : วิศวกรรมการผลิตสิ่งทอ ระดับปริญญาตรี แบ่งเป็น 4 สาขาวิชา

1. เทคโนโลยีพอลิเมอร์และเส้นใย (Polymer and Fiber Technology)


2. วิศวกรรมสิ่งทอ (Textile engineering)


3. วิศวกรรมนวัตกรรมสีสิ่งทอ (Engineering in Innovation Textile Colouration)


4. วิศวกรรมการจัดการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอ (Textile Product Engineering Management)


0