Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ถามภาษาไทยค่ะ ใช้แบบนี้ถูกมั้ย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เราพูดกับเพื่อนว่า “ต้องชอบขนาดไหนอะ ถึงจะอยากเรียนวิชานั้น(เราไม่ถนัดวิชานี้มากๆ)”
เพื่อนก็มาไล่เราให้ไปเรียนภาษาไทยใหม่ (ตอนนั้นหน้าเสียมาก โชคดีอยู่กัน2คน) แล้วบอกว่า “ต้องชอบขนาดไหน คือถามชั้นหรอ ใช้แบบนี้ไม่ถูกนะ มันเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ”
เราอยากรู้ว่าใช้แบบนี้ไม่ได้จริงๆหรอคะ เราก็เห็นคนอื่นพูดกันเยอะแยะ

ที่เลือกหมวดนักเขียนเพราะน่าจะมีพี่ๆเก่งภาษาไทยเยอะ รบกวนตอบข้อสงสัยทีนะคะ
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

A.p.Alis(คนป่วยที่กำลังเซ็ง) 15 ธ.ค. 61 เวลา 09:40 น. 1

ใช้ไม่ถูกตั้งแต่หัวข้อกระทู้แล้วค่ะ


ใช้แบบนี้ถูกมั้ย ที่ถูกคือ ใช้แบบนี้ถูกไหม?


“ต้องชอบขนาดไหนอะ ถึงจะอยากเรียนวิชานั้น(เราไม่ถนัดวิชานี้มากๆ)” ประโยคนี้มันเหมือนกับว่าคุณไม่ได้ถามเพื่อต้องการคำตอบจากอีกฝ่าย เพราะคุณถามเองสรุปเองเสร็จสรรพ




1
เจ้าของกระทู้ 15 ธ.ค. 61 เวลา 11:39 น. 1-1

ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ ส่วนตัวคิดว่าหัวข้อกระทู้สามารถใช้ภาษาพูดได้เลยใช้ “มั้ย”

ผิดยังไงก็ขออภัยค่ะ

0
Individualista314159 15 ธ.ค. 61 เวลา 09:40 น. 2

ไม่ใช่กูรูภาษาไทย แต่อ่านประโยคคำถามของน้องแล้วพี่ก็เข้าใจนะคะ


ถ้ามีเพื่อนมาถามพี่ว่า


“ต้องชอบขนาดไหนอะ ถึงจะอยากเรียนวิชานั้น"


พี่ก็จะตอบไปว่า


"ถ้าวัดระดับความชอบจาก 1 ถึง 10... คงต้อง 7 อัพอ่ะแกฉันถึงจะอยากเรียนวิชานั้น"่


ไม่ทราบว่าน้องพอเข้าใจคำตอบของพี่ไหมคะ?






1
เจ้าของกระทู้ 15 ธ.ค. 61 เวลา 11:41 น. 2-1

คือจริงๆแล้ว เราไม่ได้จะสื่อให้เป็นประโยคคำถามอะค่ะ แฮะๆ แต่ถ้าเจ้าของเม้นว่าแบบนั้นก็แสดงว่าประโยคเรากลายเป็นคำถามได้ใช่มั้ยคะ

0
Seesor [COS] 15 ธ.ค. 61 เวลา 09:54 น. 3

ไม่จำเป็นต้องมีคำตอบค่ะ พิจารณาตามศัพท์วรรณคดีจะถือว่าเป็นการใช้ภาพพจน์แบบปฏิปุจฉา คือเป็นการถามโดยไม่ต้องการคำตอบ เช่น เราจะยอมให้คนยึดสิทธิของเราละเมิดสิทธิของเราต่อไปเช่นนั้นหรือ, วันนี้คุณทำงานบ้านบ้างหรือยัง, ทำไมภาษาศาสตร์มันยากขนาดนี้อะ ฯลฯ


จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเราไม่ได้ต้องการถามให้คุณตอบเลยว่า ใช่ ไม่ใช่ ยัง ทำแล้ว ยากเพราะ... ฯลฯ แต่เราแค่อาจพูดให้ผู้ฟังได้ฉุกคิด หรือบางทีผู้ฟังก็อาจมีคำตอบนั้นอยู่ในใจอยู่แล้ว หรือบางทีเราก็แค่เปรยเฉย ๆ ก็ได้ เราไม่ได้ต้องการให้ผู้ฟังมาตอบเลยว่า อ๋อ ภาษาศาสตร์ยากเพราะ... เป็นต้นค่ะ


แล้วก็ถ้าจะพิจารณาตามการวิเคราะห์วรรณกรรม น่าจะเคยผ่านข้อสอบเรื่องผู้พูดกำลังรู้สึกอย่างไร ผู้พูดกำลังคิดอย่างไรใช่ไหมคะ มันคือเจตนา น้ำเสียงของผู้พูดค่ะ อย่างกรณีของคุณนี่มันคือเจตนาในการพูดคือเปรย ๆ บ่น ๆ พูดไปอย่างนั้นเอง ไม่ได้มีเจตนาถามเพื่อให้ใครต้องตอบคำถามของคุณ แม้จะมีการใช้คำในรูปประโยคเหมือนกับเป็นคำถามก็ตาม


อะ สุดท้าย พิจารณาแบบหลักภาษาไทยจริง ๆ ตามหนังสือไวยากรณ์ไทยของอ.นววรรณ พันธุเมธา (2554, น.307) ขออ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาเลยละกันนะคะ


"อนึ่ง การถามนั้น โดยปรกติผู้ถามก็หวังคำตอบจากผู้อื่น แต่บางครั้งผู้ถามก็ถามเพียงเพื่อสะกิดให้ผู้ฟังคิด มิได้หวังคำตอบใด ๆ


ตัวอย่าง ๑. จะร้องไห้ไปใยให้เสียน้ำตา

๒. เงินเพียงเท่านี้จะซื้ออะไรได้


หรือในบางกรณี ผู้ถามก็รำพึงกับตัวเอง มิได้หวังคำตอบจากใคร ในกรณีเช่นนี้มักมีคำ นี่ หนอ น้า นะ ฯลฯ อยู่ท้ายประโยคคำถามให้ตอบนั้น ๆ


ตัวอย่าง ๑. ฉันทำร้ายเขาได้อย่างไรกันนี่

. . .

๓. นิดจะรู้ไหมน้อ"


นี่เราถึงเปิดชีตเรียนกับตำราเรียนเลยนะ 5555 ถ้าเพื่อนคุณไม่เข้าใจก็เอาคอมเมนต์ของเราไปให้อ่านค่ะ ถ้างงอีกทักมาบอกได้ค่ะ จะแนะนำหนังสือให้

1
เจ้าของกระทู้ 15 ธ.ค. 61 เวลา 11:43 น. 3-1

อ้อ เข้าใจค่ะ เราก็เรียนมาบ้าง พอจะรู้ว่ามันเป็นคำเปรียบเทียบแต่ไม่รู้ว่าเป็นคำเปรียบแบบไหน ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆค่ะ

0
ตามนั้น 15 ธ.ค. 61 เวลา 09:56 น. 4

ไม่ได้นำมาเขียนหรือใช้พูดกับผู้ใหญ่ หรือนำไปใช้ในงานทางการซะหน่อย เพื่อนก็เว่อร์ไป

เราอ่านที่น้องเขียน ประโยคที่น้องพูดกับเพื่อน ก็เข้าใจได้นะ เข้าใจความหมายได้ก็ถือว่าถูกต้องแล้วในแง่การสื่อสารเปล่า

1
นิยมมังคุด 15 ธ.ค. 61 เวลา 11:01 น. 5

เอาเป็นว่าเขียนนิยายแล้วใช้ภาษาไทยถูกต้อง ถือว่าเป็นคนมีฝีมือ เพราะการเขียนนิยายคือการสื่อสารต่างหาก

0
SilverPlus 15 ธ.ค. 61 เวลา 11:20 น. 6

เป็นคำถามได้...


กฎภาษามันลื่นไหลได้ ไม่จำเป็นต้องถามด้วยประโยคคำถามเต็ม ๆ ใช้ประโยคแบบกึ่งถามกึ่งตอบก็ได้


ในกรณีนี้ มันเป็นการพูดคุยกับเพื่อน ประโยคมันจะเป็นคำถามก็ได้ จะเป็นประโยคบอกเล่าก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้รับว่ารับยังไง และขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย


ในที่น้องพูด สถานการณ์มันอยู่ในช่วงถาม แม้คำพูดมันจะออกแนวบอกเล่า แต่มันก็กลายเป็นประโยคคำถามได้


เช่น


"วันนี้พัดกระเพรา" คนพูด พูดกับคนที่กำลังทำอาหาร


"ใช่ พัดกระเพรา"


"ไข่ดาว"


"ทอดแล้ว"


จะเห็นว่า ถ้าสถานการณ์มันเป็นการถามตอบ แม้คนพูดจะพูดประโยคบอกเล่าธรรมดา มันก็กลายเป็นประโยคคำถามได้ ถ้าผู้รับ เข้าใจเจตนาของคำพูด


คงไม่มีใครพูดระดับ


"วันนี้ผัดกระเพราใช่หรือไม่?"


"ทอดไข่ดาวด้วยหรือไม่"


ในชีวิตปกติคงไม่มีใครเขาพูดกันทางการขนาดนี้หรอก


// ถามชั้น อันนี้รู้สึกออกแนวผิดปกติเล็กน้อย น้องไปถามชั้นวางของ แล้วถ้ามันตอบกลับมาได้ ก็คงน่าขนลุกพิลึก

1
เจ้าของกระทู้ 15 ธ.ค. 61 เวลา 11:45 น. 6-1

โอ้ ภาษานี่ดิ้นได้จริงๆสินะคะ เข้าใจแล้วค่ะว่าประโยคเรา2แง่2ง่าม ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ

0
15 ธ.ค. 61 เวลา 11:46 น. 7

มันเป็นคำถามได้นะคะ แต่เป็นประโยคแรกที่เริ่มต้นเท่านั้นค่ะ ประโยคหลังเป็นการขยายความ ว่าเราชอบวิชานั้นนี้จริงๆ ตามนี้เลยค่ะ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น