Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เมื่อฉันไปหาจิตแพทย์ (รีวิวการไปหาจิตแพทย์ first time)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีค่ะ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เราจะเขียนรีวิวนะคะ ดังนั้นถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ 

**ก่อนอื่นต้องบอกว่าสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีการไปหาจิตแพทย์ต้องมีผู้ปกครองมาด้วยเนอะ แต่เราเลือกได้ว่าจะให้ ผปค เข้ามาฟังตอนเราพูดกับหมอหรือเปล่านะคะ**
 
งั้นขอเริ่มเลยแล้วกันเนอะ 

กระทู้นี้เราจะพูดถึง 
1.บรรกายาศที่คลินิคจิตแพทย์ และสิ่งที่เราต้องทำหลังเข้าไป
2.บรรยากาศ+การพูดคุยกับจิตแพทย์ first time
3.ความรู้สึกหลังคุยกับจิตแพทย์เสร็จ
4.ข้อคิดที่ได้จากการไปพบจิตแพทย์ในครั้งนี้
 
          เราพึงไปหาจิตแพทย์มาเมื่อไม่นานมานี้มาค่ะ การไปหาจิตแพทย์ในครั้งนี้เป็นครั้งแรกของเราค่ะ ที่เราไปหาไม่ใช่เพราะตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าแต่อย่างไงแค่เพราะเราเครียดค่ะ เอาจริงๆคือเราก็ไม่ได้เครียดขนาดนั้น ตอนแรกว่าจะไม่ไปแล้วด้วยซ้ำ แต่เพราะว่าทั้งปีนี้มีแต่เรื่องเครียดๆเข้ามาหาเราค่ะ มีอยู่ช่วงนึงเลยด้วยซ้ำที่เครียดจนเกือบเป็นบ้า แต่ช่วงตอนที่ตัดสินใจไปหาหมด เรื่องเครียดเหล่านั้นก็ผ่านมาเป็นเดือนแล้วนะคะ ที่เราตัดสินใจไปหาหมอเพราะเราอยาก reset ด้วยเองค่ะ เหมือนไปตรวจสุขภาพประจำปีนั้นแหละค่ะ เพราะเราก็ไม่รู้ด้วยว่าอาการเหล่านี้จะกลับมาอีกทีตอนไหนด้วย ก็เลยตัดสินใจไปหาหมอดีกว่า เราตัดสินใจไปที่ คลินิคกายใจ ที่ จามจุรีสแควร์ชั้น 2 ฝั่ง resident ค่ะ
ตอนเข้าไปครั้งแรกบรรยากาศในคลินิคเป็นบรรยากาศที่เงียบสงบดีค่ะ คือเขามีเปิดเพลงเบาๆให้คนผ่อนคลายค่ะ พอเข้าไปตอนแรกเขาก็จะมีให้กรอกประวัติ มีให้ทำแบบทดสอบประเมินอาการเล็กน้อย หลังจากนั้นเขาก็จะขอถ่ายบัตรประชาชนค่ะ 

**ถ้าจะไป รพ. แผนกจิตแพทย์หรือคลินิคควรโทรไปจองก่อนนะคะ เพราะเป็นการยากมากที่ walk in ไปแล้วจะได้คิว ตอนแรกเราจะไป รพ ค่ะคือโทรไปหา 3-4 นพ คือคิวเต็มหมดเลย เราตกใจมาก ที่เราได้คิวของคลินิคนี้คือโชคดีที่มีคนนึงเขา cancel นัดเราเลยได้คิวค่ะ** 
 
ต่อนะคะ หลังจากนั้นเขาก็จะเรียกให้ไปวัดความดัน ชั่งน้ำหนักแล้วก็ถามส่วนสูง หลังจากเสร็จแล้วเราก็ไปนั่งรอคิวพอถึงคิวเราเข้าไปหาคุณหมอในห้องก็ค่อนข้างกว้าง คือเราสามารถเลือกได้นะคะว่าจะให้ผู้ปกครองเข้าไปนั่งฟังด้วยหรือเปล่า ในกรณีของเราเราบอกแม่ว่าเราขอเข้าไปคนเดียว พอเข้าไปข้างในคุณหมอก็จะถามเรื่อยเปื่อยประมาณว่าตอนนี้เรียนอยู่ที่ไหน ประมาณนี้หลังจากนั้นเขาก็จะถามว่าแล้ว มีอะไรอยากเล่าให้หมอฟังไหม ตอนแรกอย่างที่เล่าไปว่าปัญหาของเรามันค่อนข้างเกิดขึ้นมานานแล้ว เราก็คิดว่าเราก็คงไม่ได้ทรมานกับมันแล้วมั้ง แต่เอาจริงๆที่ตอนแรกเราคิดว่าเราโอเค แต่ความจริงคือมันยังไม่โอเคเลย สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรามันยังคงเป็นแผลในใจเรา แต่แค่ที่ผ่านมาแผลมัน ชา เราเลยไม่รู้สึกอะไร การที่เราเล่าให้คุณหมอฟังมันเป็นเหมือนการ unlock ตัวเองคุณหมอจะไม่ได้พูดอะไรมาก แต่ว่าคุณหมอจะตั้งใจฟังมากๆซึ่งมันเป็นความรู้สึกที่ดีนะเวลาเราเล่าอะไรแล้วอีกฝ่ายตั้งใจฟังแต่ว่าคุณหมอเขาก็ไม่ได้กดดันเราอย่างเช่น 'รีบๆเล่าสิ' หรืออะไรประมาณนั้น เขาก็จะฟังไปเรื่อยๆเรื่อยๆแล้วก็อาจจะมีจุดที่เขาถาม
กลับอย่างเช่น เราบอกคุณหมอว่ารู้สึกว่าตัวเองเก่งไม่พอ
คุณหมอก็จะตอบกลับว่า แล้วคำว่าพอของเรามันอยู่ตรงไหน ประมาณนี้
หลังจากนั้นคุณหมอก็นั่งฟังต่อไปเรื่อยๆเป็นผู้ฟังที่ดี อย่างมีช่วงนึงที่เราร้องไห้ จนเริ่มพูดไม่ชัดคุณหมอก็ไม่ได้กดดันว่า เมื่อไหร่จะหยุดร้องไห้หรือว่าอะไรคุณหมอก็แค่อยู่นิ่งๆ รอจนเราโอเคขึ้นแล้วเล่าต่อ ระหว่างที่เล่าคุณหมอก็จะมีคำถามแนวปรัชญามาเรื่อยๆหรือบางทีก็ให้ข้อคิด ซึ่งเอาจริงๆข้อคิดที่คุณหมอให้แต่ละอย่างคือมันตรงใจมาก จนน้ำตาไหล 
หลังจากที่เราคุยกับคุณหมอเสร็จ เนื่องจากเรื่องที่เราคุยกับคุณหมอมันเกี่ยวกับคุณแม่ของเราด้วย คุณหมอก็จะถามต่อว่า อยากให้คุณแม่มาคุยกับหมอไหม เราก็เลยบอกว่าได้ค่ะ คุณหมอเขาก็จะถามต่อว่าอยากให้คุยเรื่องไหนเพราะว่าปัญหาของเรามันค่อนข้าง sensitive เราก็บอกคุณหมอไปว่าอยากให้คุณหมอพูดเรื่องอะไรบ้าง แล้วคุณหมอก็จะถามต่อว่าแล้วตอนคุยกับคุณแม่ เราจะนั่งอยู่ด้วยไหมหรือว่าจะไปนั่งรอข้างนอกแล้วก็เลยบอกว่างั้นเราไปนั่งรอข้างนอกค่ะเสร็จแล้วคุณหมอก็ให้เราไปเรียกคุณแม่เข้ามาคุยด้วยเพราะคุยกับคุณแม่เสร็จ คุณหมอก็บอกว่าขอคุยกับเราต่อ แล้วคุณหมอก็จะบอกเราว่าคุณหมอพูดอะไรกับแม่ไปบ้าง
ซึ่งเรารู้สึกโอเคกับขั้นตอนนี้มากๆตั้งแต่ที่ถามแล้วว่าจะให้คุยกับคุณแม่เรื่องไหนบ้างบลาๆ คือมันเป็นการเคารพสิทธิ์ของเรา
หลังจากนั้นก็ไปจ่ายเงิน คุณหมอบอกว่าอาการของเรายังไม่ถึงขนาดซึมเศร้านะ ถ้าเรียกให้ถูกคงนะเป็นเครียดจากผลของการกระทำในอดีตมากกว่า แล้วคุณหมอก็พูดให้ข้อคิดว่า "แต่อดีตก็คืออดีต เรากลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้ สิ่งที่เราต้องคิดตอนนี้คือทำอย่างไงให้เราสามารถใช้ชีวิตในปัจจุบันได้อย่างมีความสุขดีกว่า" คือเราฟังถึงตอนนี้คือแบบน้ำตาไหลเลย คือแบบบางทีคนเราก็ 'ยึดติด' กับอดีตจนเกินไปจนลืมที่จะอยู่กับปัจจุบัน ทั้งๆที่ทุกคนต่างก็รู้ว่าอย่างไงเราก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้ ดังนั้นแทนที่เราจะจมอยู่กับอดีต เราจงเดินหน้าต่อไปอย่างมีความสุขดีกว่า
หลังจากคุยกับคุณหมอจบเราก็ออกจากห้องแล้วไปจ่ายเงิน เราคุยกับคุณหมอ 1 ชมได้ เราเสียเงินไปประมาณ 2000 เอาจริงๆเราไม่รู้นะว่าเกณฑ์การคิดเงินมันเป็นอย่างไงแต่ว่าเราว่ามันคุ้มนะกับการไปหาจิตแพทย์ครั้งนี้ จากตอนแรกที่เราคิดว่า ไม่ต้องไปก็ได้มั้งตอนนี้กลับกลายเป็นว่า ถ้าตอนนั้นเราตัดสินใจจะไม่ไป เราต้องเสียใจแน่ๆ 
หลังจากเราออกมาจากคลินิกแล้ว มันเป็นความรู้สึกที่ว่ามันโล่งขึ้นเยอะ เยอะมากๆเหมือนก่อนหน้านี้มีหมอกอยู่ในใจเราแต่พอไปหา คุณหมอมันเหมือนหมอกจะ ค่อยๆจางลงแล้วสุดท้ายก็หายไปในที่สุด

**การไปหาจิตแพทย์ ไม่ได้แปลว่าคุณเป็นบ้า หรือไม่ได้จำกัดแค่คนที่ รู้สึกว่า ตัวเองเป็นโรคทางจิตหรือซึมเศร้า ไม่ว่าใครก็ตามที่รู้สึกแย่หรือเศร้า ก็สามารถไปหาจิตแพทย์ได้เหมือนกัน** 
 
ข้อคิดที่ได้จากการไปพบจิตแพทย์
1. คนที่ดูเหมือนคนธรรมดาทั่วไปเราไม่มีทางรู้หรอกว่าเขามีปัญหาอะไรบ้าง ตอนที่เราไปคลีนิคเราเจอตั้งแต่เด็กประถม วัยรุ่น และวัยทำงาน ทุกๆคนที่เราเจอคือถ้าไปเจอข้างนอกเราคงไม่คิดว่าเขาจะเดินเข้ามาที่คลินิคสุขภาพจิตได้เลย
ดังนั้นถ้าไม่รู้จักคนอื่นดีก็อย่าไปตัดสินเขาแต่เพียงภายนอกเพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า ข้างในเขามีอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่และ แท้ที่จริงแล้วเขาทุกข์แค่ไหน 

2. ก่อนเรา ลากับคุณหมอคุณหมอก็ถามเราว่า การที่มาหาหมอวันนี้รู้สึกว่าเป็นไงบ้างเราก็ตอบไปว่าเรารู้สึกดีมาก เรารู้สึกว่าการมาหาคุณหมอครั้งนี้จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น คุณหมอเลยบอกเราว่า
                                     'การที่ชีวิตคนเราจะดีขึ้นไม่ได้แปลว่าที่อยู่ตอนนี้มันไม่ดีนะ'
คือเราอย่าไปคิดว่า โอ้ย ตอนนี้มันแย่มาก ไม่มีเรื่องดีเลย เอาจริงๆเรื่องดีๆมันมีอยู่แล้วเพียงแต่คุณต้องอย่าเอาเรื่องแย่ๆมาทำให้เรื่องดีๆที่กิดขึ้นกับชีวิตของคุณหายไป คุณต้องอย่าลืม appreciate กับเรื่องดีๆที่เกิดกับคุณด้วย

3. อันนี้เราอยากฝากถึงผู้ปกครองทุกท่านที่อาจจะกำลังอ่านกระทู้ของเราอยู่นะคะ ในด้านของการเลี้ยงลูก "การชมลูกเป็นสิ่งที่สำคัญ" แต่เราก็จะไม่ได้บอกว่าให้ชมลูกอย่างพร่ำเพรื่อชมบ่อยๆ เพราะแบบนั้นจะเป็นการทำร้ายลูก มันจะเป็นการปลูกฝังลูก ให้ลูกเชื่อว่าตัวเองเก่ง แล้วถ้าเกิดวันนึงลูกเกิด ไม่ประสบความสำเร็จลูกจะเกิดความรู้สึกว่ารับตัวเองไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันถ้าคุณเลือกที่จะชมลูกนานๆครั้ง ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน การที่ชมลูกนานๆครั้งอาจทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าได้ มีเด็กหลายคนที่ใช้ 'คำชม' เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความ 'มีค่า' ของตน 
                                                 การมีคนคนชมตัวเองเยอะๆ=เราเก่งมามีค่า 
                                                 แต่การที่เราไม่ได้รับคำชม=เราโง่ เราไร้ค่า 
ซึ่งจะเป็นการอันตรายมากหากปล่อยให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เพราะมันอาจจะนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาของเรื่องนี้คือให้
                                             "เปลี่ยนจากการชม outcome มาเป็นชม process"
เปลี่ยนจากการชมลูกว่า 'เก่งมากที่สอบได้คะแนนดี' มาเป็น 'เก่งมากที่พยายาม' 

**สุดท้ายนี้ เราอยากบอกว่า ถ้าคุณรู้สึกว่า ไม่ไหวจริงๆไม่สามารถจัดการกับความเศร้านี้ด้วยตัวเองได้เราขอแนะนำให้ทุกคนลองไปพบจิตแพทย์ดูนะคะ เราค่อนข้างมั่นใจว่ามันจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ ปัญหาบางเรื่องถ้าหาทางแก้เองไม่ได้ก็จงอย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากคนที่มีความรู้เฉพาะทาง บางทีคุณอาจก็ได้คำตอบก็ได้เราควรจะทำยังไงต่อไป**

ขอบคุณค่ะ 

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

เรโกะ จิทาคุ 31 ธ.ค. 61 เวลา 17:06 น. 1

สรุปแล้ว อันสุดท้ายก็คือ ให้เปลี่ยนจากชมผลลัพธ์ที่ทำ มาเป็นกระบวนการทำ/วิธีทำ สินะครับ? อืมๆ เข้าใจล่ะ ไปหาแล้วโล่งขึ้นก็ดีแล้วครับ ดีแล้วที่คิดได้

0
Finallove 10 ม.ค. 62 เวลา 15:12 น. 3

ขอบคุณที่มาแชร์ประสบการณ์นะคะ ในค่านิยมที่การพบจิตแพทยไม่ใช่เรื่องปกติ(ทั้งที่มันควรจะเป็นปกติ) แต่น้องก็ยังมีความกล้าและมีทัศนคติดีๆที่จะเข้าหาจิตแพทย์ เป็นอะไรที่ดีจริงๆ

1
เด็กน้อยผมสั้น 10 ม.ค. 62 เวลา 20:19 น. 3-1

ยินดีมากเหมือนกันค่ะ ตอนแรกพอเราบอกแม่ว่าจะไปหาจิตแพทย์คุณแม่ก็ตกใจมากเหมือนกัน แต่เราก็บอกคุณแม่ไปว่า ตอนนี้การไปหาจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องแปลก โชคดีที่คุณแม่ก็เข้าใจค่ะ เราเลยอยากให้หลายๆคนลองเปิดใจกับพ่อแม่ดูเหมือนกันค่ะ

0