Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มีตัวละครไหนที่เป็นพวกใช้ตรรกะสูงไหมคะ? แล้วไปรอดไหมคะ นักอ่านบ่นหรือต่อว่าไหมคะ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ตามหัวข้อค่ะ มาถามความเห็นนะคะ

เราอยากลองตั้งตัวละครที่มีความใช้ตรรกะเยอะๆน่ะค่ะ 

แต่กลัวนักอ่านไม่อิน แล้วแย้งความคิด ว่ามันคิดแบบนี้ไม่ถูกบ้าง ต่างๆนานา

ในหัวมโนภาพตัวละครตรรกะสูงๆ แต่กลัวว่าระดับสมองของเราทำออกมาจะกลายเป็นดูเหมือนทารกพยายามใส่ส้นสูงไปแทน 


ยอมรับค่ะว่าค่อนข้างขี้กลัว แต่ก็พร้อมจะก้าวต่อไปค่ะ 
ซึ่งเราต้องการความเห็นพี่ๆน้องๆในบอร์ดเพื่อตระเตรียมความพร้อมให้เต็มที่ และถ้ามีตัวอย่างตัวละครด้วยจะเป็นพระคุณมากค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

varunyanee 5 ม.ค. 62 เวลา 22:53 น. 1

"ตัวละครตรรกะสูงๆ"....คืออะไรอ่า


ใช่คนที่มีเหตุ มีผล ในทุกๆเรื่อง มีมากๆใช่เปล่า


ก็ปกติไหมอ่ะ ในเรื่องๆหนึ่ง จะมีคนแบบนี้อย่างน้อย 1 คน เพื่อเฉลยเหตุผลที่คนอื่นแสดงออกมา //เราคิดถูกไหม

0
K.W.E. 5 ม.ค. 62 เวลา 22:58 น. 2

พระเอก 2 เรื่องล่าสุดของผมก็เป็นสายตรรกะล้วน ๆ เลยนะครับ

คือเวลาคิดอ่านกระทำการใดนี่มีเหตุมีผล มีหวังผลลูกโซ่ต่อเนื่อง หรือดักทางคู่กรณีด้วย


แต่ไม่เคยถูกจับผิดหรือผู้อ่านรู้สึกว่าพิรุธในประเด็นนี้เท่าไหร่ครับ

จากแนวทางที่ใช้มาคือ... ถึงบทที่คิดคำนวณใช้ตรรกะอาจจะดูหนักและเน้นสักหน่อย แต่หลายครั้งการกระทำดังกล่าวก็ไม่โฉ่งฉ่าง ไม่ฝืนตัว หรือฝืนบทจนเกินไปครับ


ฉะนั้นแล้วถ้าจะแนะนำล่ะก็

ผมว่าพยายามสร้างตัวละคร สร้างอีเว้นท์ใช้ตรรกะ ให้กลมกลืนหรือสอดคล้องไปกับเนื้อเรื่องให้ได้มาก ๆ เข้าไว้ครับ

แล้วการกระทำหนึ่งใดที่เน้นตรรกะนั้น แทนที่จะถูกจับผิด มันอาจเปลี่ยนเป็นความรู้สึกลุ้นหรือให้กำลังใจแทน ว่าแผนนั้นจะเวิร์คหรือไม่ ก็ได้เช่นกันครับ




พูดถึงตัวอย่างก็... ฝากแปะเลยล่ะกัน เผื่อสนใจครับ


เรื่องแรกมังกรน้อย

https://writer.dek-d.com/digikwe/writer/view.php?id=602930

พระเอกนี่เป็นลูกของจอมเวทกับอัศวินมังกร(หัวก้าวหน้า) เพราะงั้นเลยมีวิธีคิดแบบเป็นขั้นเป็นตอนเป็นเหตุเป็นผลเสมอ ๆ แล้วพอรับน้องสาว(มังกรน้อย) จำเป็นมาเลี้ยง ก็พยายามสอนแบบมีเหตุผลและใจดี


ก็ใช้ความน่ารักของมังกรน้อย มาเป็นเคมีกับนิสัยของพระเอกได้ลงตัวดีครับ



อีกเรื่องก็แนวกระแสต่างโลกหน่อย ผู้กล้ายกห้อง

https://writer.dek-d.com/digikwe/writer/view.php?id=1695828

อันนี้ตัวเอกจะพิมพ์คล้ายกัน แต่เน้นที่เจ้าเล่ห์กว่าและอาจมีดาร์คไซด์กว่านิดหน่อย

แต่ก็เช่นเคยว่าเป็นจอมวางแผนมากคนหนึ่ง แถมมาสายปรัชญากับการเมืองอีกต่างหาก ซึ่งดูจากฟี๊ดแบ็กผู้อ่านแล้วก็ถือว่าโอเคอีกเรื่องล่ะนะ





0
มาจะกล่าวบทไป... บทไหนแล้วนะ 5 ม.ค. 62 เวลา 23:27 น. 3

แนวนี้เราว่าคงต้องขึ้นอยู่กับการวางเรื่องนะคะว่าคนเขียนจะให้ไปในแนวทางไหน ส่วนเราเข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ


คนตรรกะสูงมีจุดอ่อนที่ความเข้าใจใน emotion จะน้อย (การใช้เหตุผลต้องตัดอารมณ์และไบแอสออกไป) ตัวเองจึงไม่ค่อยเข้าใจอารมณ์คนอื่น และคนอื่นก็ไม่เข้าใจมันด้วย ว่าอะไรจะเหตุผลตลอดเวลาได้ขนาดนั้น


คนพวกนี้อาจมองว่าเข้าถึงยากนิดนึงนะคะ ไม่ว่าตัวจริงหรือตัวละครก็ตาม เพราะถ้าเจออะไรที่ไม่มีเหตุผล(ตามวิธีที่เขามองโลก) จะถูกมองว่าไร้สาระและพาลไม่สนใจไปเลย (ในกรณีที่ของแรง 55) มักจะเป็นคาร์ที่คนชอบก็ชอบ ไม่เข้าใจก็ไม่ชอบไปเลย ไม่ค่อยมีความรู้สึกกลางๆ


ถ้าเอามาใช้ก็แหวกแนวดี อยากรู้เหมือนกันว่าพอไปมิกซ์ในเรื่องแล้วจะออกมาหน้าตาแบบไหน :)

0
Miran/Licht 5 ม.ค. 62 เวลา 23:59 น. 4

ไม่ต้องตัวละครหรอกค่ะ คนเขียนนี่แหละค่ะเป็นเอง คงเพราะเราเรียนสาบวิทย์มังคะ หลายครั้งที่พยายามจะกาวมันก็ยังเป็นกาวที่อุดมด้วยเหตุผล ==___==''

0
สิ่งที่..และบุคคล 6 ม.ค. 62 เวลา 04:25 น. 5

ทุก ๆ องค์ประกอบหรือแม้แต่ภาพรวมของนวนิยาย จะไปรอดหรือไม่!!

ล้วนขึ้นอยู่กับความเข้าใจในตนเองและสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสร้างสรรค์

ครับ..

0
G.Tenju 6 ม.ค. 62 เวลา 08:31 น. 6

ส่วนตัวพยายามแก้ปัญหานี้อยู่เหมือนกัน จะลองแชร์ที่สรุปได้กับตัวเองให้ฟังนะ


อันดับแรกต้องเข้าใจก่อนว่า "ไม่มีอะไรถูกหรือผิดอย่างแท้จริง" ความรู้ทุกชนิดมนุษย์เรากำหนดขึ้นมาเองตามประสบการณ์ที่พบเจอ พอลองพิสูจน์ให้คนอื่นเห็นแล้วว่ามันเป็นจริง ก็เกิดการจดบันทึกไว้ว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน


ลองสมมุติว่า A B C D เป็นผู้บุกเบิกทางความรู้ในยุคโบราณที่ต้องการสร้างปราสาททรายเพื่อสร้างหนังสือสอนคณิตศาสตร์


A ขนทรายมาได้ 2 กอง ส่วน B ขนทรายมาได้แค่ 1 กอง A เลยจดไว้ว่า 2+1 = 3 (ความรู้ชุด 1)

แต่พอพวกเขาเอาทรายมารวมกัน B เลยค้นพบว่า 2+1 = 1 (ความรู้ชุด 2)

ส่วน C สายโหดนับเม็ดทราย 13,150,478 + 31,208,901 = 44,359,379 (ความรู้ชุด 3)

และ D มองว่ามันนับแบบนั้นไม่ได้ เราควรเอาน้ำหนักมันไปชั่งจึงได้ 3 + 7 = 10 กิโล (ความรู้ชุด 4)


ในที่นี้ทุกคนต่างถูกต้องในมุมมองของตัวเอง แต่พอเอามาบวกลบคูณหารกันพวกเขาจึงสรุปได้ว่า A กับ D ฟังดูเข้าท่าสำหรับการนับจำนวนมากที่สุด เลยยึดความรู้ของพวกเขาไว้ใช้ในการสอนคณิต ส่วน B เขาได้พบมุมมองที่คนอื่นไม่เห็นเลยไปก่อตั้งเป็นศาสนาสอนหลักการใช้ชีวิต ส่วน C เขาพบว่านั่งนับเม็ดทรายแม่มเหนื่อยชิบผาย เลยไปประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ให้มันนับแทน


สุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครรู้ว่าแบบไหนถูกต้อง เพราะเราไม่มีพระเจ้ามาเลคเชอร์วิชาคณิตให้


ทีนี้พอมาเป็นเรื่องของ 'ตัวละครที่เน้นตรรกะ' ผมเลยคิดว่ามันก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเขาว่าพบเจออะไรมา เช่นถ้าโตมาในมหาลัยแบบวิทย์จ๋าๆ เขาก็จะเน้นมุมมองที่คนทั่วไปยอมรับได้ พิสูจน์ได้ในระดับสากล แต่ถ้าเป็นตัวละครที่โตมาแบบดิบๆเถื่อนๆ เขาก็จะมีตรรกะที่เน้นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงตามความจริง อยากได้ใครก็ฉุด อยากทำอะไรก็ทำ เพราะโตมาในการรับรู้แบบนั้น


ตรรกะมันคือรูปแบบความคิดที่เขาใช้โดยขึ้นอยู่กับว่าตัวละครนั้น 'ยึด' ความรู้จากใคร? เติบโตมาแบบไหน? ให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรเป็นพิเศษ? ถ้าคนอ่านเขาแย้งก็เพราะความรู้ในแบบของเขามันไม่ตรงกับเรา (A B C D) ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปปรับให้มันตรงกัน ไม่งั้นคงได้แก้แบบไม่มีที่สิ้นสุด เอาเป็นว่ายึดตามเนื้อเรื่องหรืออะไรที่เราจะยึดไว้นั้นแหละ เอาให้เราเขียนสนุกไว้ก่อน


แถม ไม่จำเป็นต้องให้มันสมจริงหรือถูกต้องไปซะทุกอย่างก็ได้ อย่างนิยายเรื่องปกรณัมของเหล่าภูต เขายังมีตัวละครที่ตรรกะผิดแปลกจากชาวบ้านจนมันน่าสนใจเช่น


ฮาเนคาว่า = "คนที่ตายแทนไม่ได้ ฉันไม่นับเป็นเพื่อนหรอก" (แล้วเจ๊แกก็กล้าตายแทนจริงๆ)

อารารากิ = "การมีเพื่อนทำให้ความแข็งแกร่งในฐานะมนุษย์ลดลง" (ถ้าเพื่อนเสียใจเราก็จะเสียใจไปด้วย แต่ถ้าเพื่อนสนุกเราจะอิจฉาแทน... เอาจริงๆเจ้าตัวแค่อยากพูดให้มันดูหล่อเท่านั้นแหละ ถถถถ)

0
ท้องฟ้าฤดูใบไม้ผลิ 6 ม.ค. 62 เวลา 08:54 น. 7

หลายคนแนะนำไปแล้ว

ขอเสริมค่ะ


อย่าบรรยายตัวละครว่าตรรกะสูง / เก่ง / ฉลาด ตั้งแต่เริ่มโดยไม่จำป็นค่ะ โดยเฉพาะถ้าคุณยังไม่มั่นใจพอ ปล่อยให้คนอ่านซึมซับจากการกระทำของตัวละครไปเองระหว่างเรื่องดีกว่า


เราเห็นหลายเรื่องที่เริ่มเรื่องบอกว่าตัวละครเก่ง โหด ฉลาด แต่ทำหลุดคาแรคเตอร์ที่วางไว้ให้คนอ่านบ่อย ๆ เขียนไปสักพักให้ตัวละครนิ่ง ได้แสดงคาแรคเตอร์หรือนิสัยนั้นชัด ๆ ก่อนค่อยบรรยายจะเวิร์กกว่า


เหมือนทำความรู้จักกับเพื่อนน่ะค่ะ รู้จักภายนอกก่อน พอสนิทกันถึงได้รู้ว่า อ๋อ -หมอนี่มันเป็นคนแบบนี้เองสินะ



0
ชนุ่น 6 ม.ค. 62 เวลา 13:09 น. 8

เท่าที่เข้าใจ ส่วนมากตัวละครที่มองตามหลักเหตุและผล มองโลกตามความเป็นจริงโดยมากจะมีอีโก้สูงพอตัวเลย และมักจะไม่ใส่ใจอารมณ์คามรู้สึกของคน รึถ้าไม่อย่างนั้นก็คงเป้นพวกเนิร์ดหรืออัจฉริยะที่มนุษยสัมพันธ์ต่ำ ดังนั้นถ้าเน้นเรื่องหลักเหตุผลเราต้องสวมบทบาทเป้นตัวละครแบบนี้หน่อยหนึ่ง ยิ่งถ้าต้องใช้ความรู้เฉพาะทางต้องค้นข้อมูลให้แน่นด้วยจึงจะสมจริงครับ


ยังไงก็เป็นกำลังใจให้นะครับ

0
Louis Forest 6 ม.ค. 62 เวลา 13:33 น. 9

ถ้า จขกท เป็นแนว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารตามสั่ง เข้าร้านสะดวกซื้อ ก็คงไปไม่รอดครับ


แนะนำให้เขียนตัวละครพวกนั้นเป็นตัวรองหรือร้ายไปเลยดีกว่า ตัวละครหลักควรเป็นคนที่เข้าถึงง่าย เข้าใจง่าย สนิทสนมเป็นเพื่อนง่ายสำหรับคนอ่านครับ เพราะ 90% ของประชากรโลก (ไม่ต้องพูดถึงไทย) เป็นคนไม่ลึกซึ้ง และตรรกะเพี้ยน


แต่ถ้า จขกท เป็น คนพิถีพิถัน ไม่เอาง่ายเข้าว่า อ่านอะไรก็ชอบตีความ ตรวจสอบหลักเหตุและผลได้อย่างเฉียบขาด (ไปจนถึงเข้าใจโควตยาก ๆ ของพวก Søren Kierkegaard อ่านงานของ Dostoevsky แล้วถ่ายทอดต่อให้คนอื่นได้) ก็เขียนได้ทุกอย่างเลยครับ แต่คนอ่านก็จะน้อยและอาจจะถูกนักเขียนตลาดรายได้ดีลอบกัดจู่โจม


แถมอีกนิด เพื่อเป็นความรู้


ตรรกะดีโดยพล็อต จะพบเห็นได้บ่อยใน Sci-fi

ตรรกะดีโดยตัวละครเห็นบ่อยใน High Fantasy

ส่วนตรรกะผิดเพี้ยนทุกรูปแบบ... ผมให้ จขกท หาคำตอบเองนะครับ

0
Alexandar 8 ม.ค. 62 เวลา 12:54 น. 10

เรื่องที่แต่งอยู่ นางเอกเป็นคนที่ฉลาดและความจำดีนะ แต่ชอบตีมึนทำเอ๋อใส่ ชอบเมิน ขี้แกล้ง บางที่ก็เอาความฉลาดมาใช้ บางที่ก็ใช้ความรู้สึกมานำเหตุผลน่ะ เลยไม่แน่ใจว่านางตรรกะสูงไหม?

0