Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อายุตัดสินความเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ได้หรือไม่

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คือต้องบอกก่อนว่าผมไม่ใช่เด็กมีปัญหาและไม่เคยมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ผมก็เป็นเด็กทั่วๆไป แต่ในหลายๆครั้งที่ผมเห็นผู้ใหญ่บางคนทำตัวไม่สมกับที่ขึ้นชื่อว่า ผู้ใหญ่ ซึ่งมีอายุมากกว่าผม ดังนั้น ผมจึงอยากถามทุกๆคนว่า ในปัจจุบัน คุณตัดสินคำว่าผู้ใหญ่ ด้วยอะไร ? #ขอเหตุผลด้วยจะดีมากๆครับ

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

Shalnark T Diabolus 11 ม.ค. 62 เวลา 20:27 น. 1

ก็ไม่รู้ว่า "ทำตัวไม่เหมาะสม" ที่ว่าคืออะไรนะครับ แต่ที่แน่ๆ ถ้ารับผิดชอบชีวิตตัวเองไม่ได้ อายุเท่าไหร่ก็ไม่นับว่าโตละ

3
เกย์อักษรฯเอกปรัชญา 13 ม.ค. 62 เวลา 00:50 น. 1-2

เราเห็นด้วยบางส่วนกับคำว่า"รับผิดชอบชีวิตตัวเองไม่ได้" ของคุณ Shalnark T Diabolus โดยถ้าหากคำๆนี้หมายถึงการมีวุฒิภาวะไม่พอ การไม่ขวนขวายพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง หรือการเป็นตัวถ่วงต่อคนอื่นอย่างจงใจ

สำหรับคนที่มีคุณสมบัติอย่างนั้น เราก็ชอบเผลอเรียกให้ง่ายว่าเขาคนนั้นทำตัวไม่เป็นผู้ใหญ่หรือทำตัวไม่เหมาะสมสมเป็นผู้ใหญ่หรือรับผิดชอบชีวิตตัวเองไม่ได้ แต่...

เอาจริงๆคำว่า"รับผิดชอบชีวิตตัวเองไม่ได้" ก็คลุมเครือไม่แพ้คำว่า"ทำตัวไม่เหมาะสม"อยู่ดี เพราะเวลาหลายคนใช้คำนี้ พวกเขาใช้เพื่อตัดสินคนที่กำลังตกงานหรือไม่มีรายได้หรือเป็นภาระของคนอื่น

มันดูไม่เป็นธรรมกับคนบางจำพวก เพราะในกลุ่มคนดังกล่าว บางคนตกงานเพราะประสบอุบัติเหตุและกำลังนอนป่วยติดเตียง หรือบางคนตกงานเพราะธุรกิจล้มละลายอย่างคาดไม่ถึง จะว่าไปแล้วในบั้นปลายของชีวิต มนุษย์ทุกคนย่อมหนีไม่พ้นความแก่ ความเจ็บและความตาย ต้องเผชิญกับสภาพอ่อนแอ ทำงานไม่ได้ และต้องพึ่งพาคนอื่น เราคงไม่ตัดสินคนเหล่านี้ว่าพวกเขารับผิดชอบชีวิตตัวเองไม่ได้หรือทำตัวไม่เป็นผู้ใหญ่หรอกใช่ไหม?


ส่วนคำว่า"ทำตัวไม่เหมาะสม(สมเป็นผู้ใหญ่)"มักจะนำไปใช้ปรักปรำคนที่ผู้สัมภาษณ์ไม่ชอบตอนสัมภาษณ์งาน คนที่เพื่อนร่วมงานไม่ชอบหน้า คนที่มีรสนิยมการแต่งตัวบางแบบ คนที่กำลังตกงาน คนที่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินพ่อแม่ในตอนที่อายุมากกว่า 20 แล้ว หรือคนที่ไม่ยอมแต่งงานมีลูก ฉะนั้นเราจำเป็นต้องพิจารณาดูดีๆว่าไส้ในของคำๆนี้หมายความว่าอย่างไรกันแน่ เช่นเดียวกับคำว่า"รับผิดชอบชีวิตตัวเองไม่ได้"


สำหรับเรา เราต่อต้านการใช้คำทั้งสองข้างต้น เพราะคลุมเครือและมักถูกนำไปใช้กล่าวโทษคนอื่นอย่างไม่เป็นธรรมเสียมากกว่า เราเสนอให้มองว่าการทำตัวเป็นผู้ใหญ่นั้นคือ 1)การมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ กล่าวคือรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ รู้จักใช้เหตุผลและคำนึงถึงสิทธิตนเอง ผู้อื่น มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม 2)รู้จักขวนขวายพัฒนาตัวเองอยู่เสมอทั้งสติปัญญา ทักษะความสามารถด้านต่างๆ และ 3)เปิดใจต่อสิ่งใหม่ๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป เปิดใจในที่นี้ เราหมายถึงตั้งใจฟังและพิจารณาเหตุผลของฝ่ายอื่นๆ


จริงอยู่ที่ในทางกฎหมาย มีเส้นแบ่งเด็ดขาดว่าการบรรลุนิติภาวะคือการเป็นผู้ใหญ่ แต่การทำตัวเป็นผู้ใหญ่ในมิติอื่นๆยังเป็นเรื่องซับซ้อนละเอียดอ่อน และการเติบโตเป็นเส้นพัฒนาการต่อเนื่องตราบเท่าที่คนเรายังอยากที่จะพัฒนา เราจึงไม่ค่อยชอบเวลามีคนมาขีดเส้นแบ่งฉึบฉับเด็ดขาดว่าใครทำตัวเป็นเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่


0
ภิกษุนิรนาม 11 ม.ค. 62 เวลา 21:23 น. 2

หาก "คำว่าผู้ใหญ่ตามความเป็นจริง"คือ "อายุที่เยอะกว่า" แต่หากหมายถึง "นิสัยผู้ใหญ่นั้น" ตามความเป็นจริงคือ "ผู้ที่ให้คำแนะนำเด็กได้และตักเตือนเด็กได้ถูกต้อง"


หากเป็นอย่างนั้น "แทบจะทั้งหมดที่ผมพบเจอมา" ย้ำว่า "ผมเจอมา" นั้นไม่ใช่ผู้ใหญ่


เพราะ "การกดดันเด็กไม่ใช่การตักเตือน" แต่ควรแนะนำ(แบบไม่ใส่อารมณ์) และชี้ถูกผิดดูให้ดูเหตุและผลไปเลย เพราะหากใส่อารมณ์ = เจ๊งแน่นอนไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่(สำหรับการพูดกันต่อหน้า)


แต่โดยส่วนใหญ่ "มนุษย์โตมาด้วยการหลอกตัวเอง" จึงทำให้ผู้ใหญ่นิสัยเด็กเต็มไปหมด


ตัวอย่างการหลอกตัวเองเช่น "แบกของลำบากแต่ตนทำแบบนี้มาจนชิน จึงคัดค้านทั้งๆที่พัสดุแตก" เพราะมนุษย์ชอบหลอกตัวเองเปนปรกตินั่นแล


ตัวอย่างที่สอง "แฟนทิ้ง จึงคิดว่าเขาไปมีคนอื่น คิดว่าเขาไม่รักแล้ว ไม่ว่าจะคิด(ปรุง)ไปเท่าไหร่" ผิดทั้งหมด "เพราะความจริงคือคุณไม่รู้ว่าเพราะอะไร" แต่หลายๆคน "เชื่อตัวเอง" ทั้งๆที่ก็เห็นกันอยู่ "ตำตา" ว่าความจริงเป็นยังไง "นี่แหละข้อสำคัญของศาสนา" ว่ามีไว้ทำไม "แต่คนปัญญาอ่อนกลับไม่รู้เรื่อง" นั่นแล

1
Sunnyshineshow 12 ม.ค. 62 เวลา 21:38 น. 3

โหวตตามหลักนิติอ่ะนะก็...บรรลุนิติภาวะที่ 18 อ่ะ นั่นแหละ ตรงตัว


บางครั้งเราก็คิดไปเองว่าเราเป็นผู้ใหญ่ ทั้งที่จริงๆ แล้ว...ไม่

2
kittiya707 14 ม.ค. 62 เวลา 23:07 น. 3-2

ถึงเราจะโตแล้ว แต่ผู้ใหญ่ก็ยังเห็นเราเป็นเด็กอย่วันยันค่ำละ

0
เกย์อักษรฯเอกปรัชญา 13 ม.ค. 62 เวลา 00:53 น. 4

เราเห็นด้วยบางส่วนกับคำว่า"รับผิดชอบชีวิตตัวเองไม่ได้" ของคุณ Shalnark T Diabolus โดยถ้าหากคำๆนี้หมายถึงการมีวุฒิภาวะไม่พอ การไม่ขวนขวายพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง หรือการเป็นตัวถ่วงต่อคนอื่นอย่างจงใจ

สำหรับคนที่มีคุณสมบัติอย่างนั้น เราก็ชอบเผลอเรียกให้ง่ายว่าเขาคนนั้นทำตัวไม่เป็นผู้ใหญ่หรือทำตัวไม่เหมาะสมสมเป็นผู้ใหญ่หรือรับผิดชอบชีวิตตัวเองไม่ได้ แต่...

เอาจริงๆคำว่า"รับผิดชอบชีวิตตัวเองไม่ได้" ก็คลุมเครือไม่แพ้คำว่า"ทำตัวไม่เหมาะสม"อยู่ดี เพราะเวลาหลายคนใช้คำนี้ พวกเขาใช้เพื่อตัดสินคนที่กำลังตกงานหรือไม่มีรายได้หรือเป็นภาระของคนอื่น

มันดูไม่เป็นธรรมกับคนบางจำพวก เพราะในกลุ่มคนดังกล่าว บางคนตกงานเพราะประสบอุบัติเหตุและกำลังนอนป่วยติดเตียง หรือบางคนตกงานเพราะธุรกิจล้มละลายอย่างคาดไม่ถึง จะว่าไปแล้วในบั้นปลายของชีวิต มนุษย์ทุกคนย่อมหนีไม่พ้นความแก่ ความเจ็บและความตาย ต้องเผชิญกับสภาพอ่อนแอ ทำงานไม่ได้ และต้องพึ่งพาคนอื่น เราคงไม่ตัดสินคนเหล่านี้ว่าพวกเขารับผิดชอบชีวิตตัวเองไม่ได้หรือทำตัวไม่เป็นผู้ใหญ่หรอกใช่ไหม?

ส่วนคำว่า"ทำตัวไม่เหมาะสม(สมเป็นผู้ใหญ่)"มักจะนำไปใช้ปรักปรำคนที่ผู้สัมภาษณ์ไม่ชอบตอนสัมภาษณ์งาน คนที่เพื่อนร่วมงานไม่ชอบหน้า คนที่มีรสนิยมการแต่งตัวบางแบบ คนที่กำลังตกงาน คนที่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินพ่อแม่ในตอนที่อายุมากกว่า 20 แล้ว หรือคนที่ไม่ยอมแต่งงานมีลูก ฉะนั้นเราจำเป็นต้องพิจารณาดูดีๆว่าไส้ในของคำๆนี้หมายความว่าอย่างไรกันแน่ เช่นเดียวกับคำว่า"รับผิดชอบชีวิตตัวเองไม่ได้"

สำหรับเรา เราต่อต้านการใช้คำทั้งสองข้างต้น เพราะคลุมเครือและมักถูกนำไปใช้กล่าวโทษคนอื่นอย่างไม่เป็นธรรมเสียมากกว่า เราเสนอให้มองว่าการทำตัวเป็นผู้ใหญ่นั้นคือ 1)การมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ กล่าวคือรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ รู้จักใช้เหตุผลและคำนึงถึงสิทธิตนเอง ผู้อื่น มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม 2)รู้จักขวนขวายพัฒนาตัวเองอยู่เสมอทั้งสติปัญญา ทักษะความสามารถด้านต่างๆ และ 3)เปิดใจต่อสิ่งใหม่ๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป เปิดใจในที่นี้ เราหมายถึงตั้งใจฟังและพิจารณาเหตุผลของฝ่ายอื่นๆ

จริงอยู่ที่ในทางกฎหมาย มีเส้นแบ่งเด็ดขาดว่าการบรรลุนิติภาวะคือการเป็นผู้ใหญ่ แต่การทำตัวเป็นผู้ใหญ่ในมิติอื่นๆยังเป็นเรื่องซับซ้อนละเอียดอ่อน และการเติบโตเป็นเส้นพัฒนาการต่อเนื่องตราบเท่าที่คนเรายังอยากที่จะพัฒนา เราจึงไม่ค่อยชอบเวลามีคนมาขีดเส้นแบ่งฉึบฉับเด็ดขาดว่าใครทำตัวเป็นเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่

0
noodlesoup 14 ม.ค. 62 เวลา 21:42 น. 5

ถ้ามองในเรื่องของสถานะทางสังคม เราว่าอายุตัดสินได้แน่นอนอยู่แล้ว

แต่ในเรื่องของ การคิด วิเคราะห์ แยกแยะ การวางตัว มารยาททางสังคม อันนี้ไม่เกี่ยวกับอายุ เด็กที่มีความคิด ความรับผิดชอบ การวางตัวเหมือนผู้ใหญ่ก็มีเยอะ และผู้ใหญ่ที่เหมือนเด็กก็มีเยอะ


ผู้ใหญ่สำหรับเราคือที่มีอายุหน่อย สามารถพึ่งพาตัวเองได้ หรือเป็นเสาหลักให้กับคนอื่นได้ มีประสบการณ์มาก สามารถให้คำแนะนำได้หลายเรื่อง เป็นคนที่มีความใจกว้าง เป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดีได้ ฯลฯ

1
เกย์อักษรฯเอกปรัชญา 14 ม.ค. 62 เวลา 23:10 น. 5-1

"...สามารถพึ่งพาตัวเองได้ หรือเป็นเสาหลักให้กับคนอื่นได้..."

พึ่งพาตัวเองในทางการเงินหรือสุขภาพใช่ไหม?? ถ้าอย่างนั้นมันอาจไม่เป็นธรรมกับตัวคุณเองและคนอื่นๆเพราะเมื่อแต่ละคนเริ่มแก่ชราหรือเจ็บป่วยด้วยโรคร้าย เขาย่อมทำงานไม่ได้และ

เพราะไม่มีเงินหรือออกแรงดูแลคนอื่นไม่ได้ เขาย่อมเป็นเสาหลักให้คนอื่นไม่ได้

แต่หากใช้เกณฑ์ตามที่เราเสนอใน คห.4 ปัญหาความไม่เป็นธรรมจะหมดไป นั่นคือ เราเสนอให้มองว่าการทำตัวเป็นผู้ใหญ่คือ 1)การมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ กล่าวคือรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ รู้จักใช้เหตุผลและคำนึงถึงสิทธิตนเอง ผู้อื่น มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม 2)รู้จักขวนขวายพัฒนาตัวเองอยู่เสมอทั้งสติปัญญา ทักษะความสามารถด้านต่างๆ และ 3)เปิดใจต่อสิ่งใหม่ๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป เปิดใจในที่นี้ เราหมายถึงตั้งใจฟังและพิจารณาเหตุผลของฝ่ายอื่นๆ

ทั้งสามเกณฑ์ข้างต้นเป็นผลพวงจากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการอ่าน การฟัง การสัมผัส และการคิดใคร่ครวญ ซึ่งง่ายที่จะได้มาและไม่สูญหายไปได้ง่ายๆดังเช่นเงินและสุขภาพ คุณอาจจะลองนึกถึงภาพคนเฒ่าคนแก่สั่งสอนหลานนะ พวกท่านอาจจะไม่ได้ทำงานและไม่มีเงินให้หลาน แต่พวกเขาก็เป็นผู้ใหญ่เพราะมีคุณสมบัติ 3 ประการข้างต้นที่เราบอก คือ วุฒิภาวะทางอารมณ์ สติปัญญา และการเปิดใจ

0
ไร้นาม 14 ม.ค. 62 เวลา 22:30 น. 6

อายุเป็นแค่ตัวเลขค่ะ ประสบการณ์ชีวิตต่างหากที่บอกว่าเขาผ่านอะไรมาบ้าง


สำหรับเรา ความเป็นผู้ใหญ่ไม่ได้วัดกันที่อายุค่ะ ดังนั้นเราเลยเลือกที่จะเคารพวุฒิภาวะและความคิดของเขา มากกว่าอายุ

0
น.ส.น.(PBW) 16 ม.ค. 62 เวลา 11:30 น. 7

ไม่ว่ายุคไหน คำว่า "ผู้ใหญ่" ก็ตัดสินจากคนรอบข้างมองคนคนนั้นเป็นผู้ใหญ่หรือไม่ เพราะแต่ละสังคมค่านิยมไม่เหมือนกัน ผู้ใหญ่ของประเทศไทยอาจนิสัยเป็นเด็กของประเทศอื่นก็ได้ ในทางกลับกันก็เช่นกัน
ส่วนตัว ถ้าใครที่รู้ว่าตัวเองถูกคนรอบข้างมองว่ายังเป็นเด็ก แต่เชื่อว่าตัวเองมีความเป็นผู้ใหญ่มากกว่าผู้ใหญ่ คนนั้นยังเป็นเด็ก

1