Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ข้อสังเกตของนิยายจีนกำลังภายในที่คนไทยเขียนต่างจากคนจีนเขียน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
แนวคิดเต๋านี่แหละ คนไทยหลายคนคิดว่าความเชื่อเต๋าในนิยายจีนคือพระพุทธศาสนาของจีน จึงเหมาว่าพวกกำลังภายในเป็นไปตามหลักศาสนาพุทธ

คนจีนไม่ได้คิดแบบนี้ พุทธกับเต๋าคนละศาสนากัน พวกวิชาลมปราณหรือกำลังภายใน ไม่มีจุดไหนเชื่อมโยงกับคำสอนพุทธ แค่อ่านของคนจีนเขียนก็เห็นความแตกต่างกัน บางเรื่องยกเรื่องฮ่วงจุ้ยมาเล่าอีก

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

White Frangipani 18 มี.ค. 62 เวลา 05:15 น. 1

สวัสดีค่ะ เจ้าของกระทู้


ในโอกาสที่คุณได้ยกข้อสังเกตของนิยายจีนกำลังภายใน ซึ่งคนไทยเขียน และแตกต่างจากที่คนจีนเขียน มาเป็นห้วข้อเพื่อการสนทนาในกระทู้นี้


เหตุที่คุณกว่ามานี้ เป็นสาระ ในเรื่องของศิลปะ ในการเขียนนะคะ


คือเจ้าของเม้นต์เข้าใจว่า นักเขียนส่วนมาก หรือเป็นปรกติธรรมดาของนักเขียนแล้ว แน่นอนว่า เขาทั้งหลายก็จะเขียนเหตุ ด้วยสาเหตุ หรือสิ่งที่เขาทั้งหลายเข้าใจ นั้นเป็นธรรมดาค่ะ


เม้นต์นี้เข้ามาพูดคุย สนทนาเพื่อแลกเปลี่ยน แบ่งปันมุมมอง และความเข้าใจที่ตนมีอยู่ ตามประเด็นที่คุณยกมานะคะ


ทั้งนี้ก็เพื่อการเรียนรู้ ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ตามไปด้วยค่ะ (กำลังหัดเขียนด้วยเช่นกันค่ะ)



แนวคิดเต๋านี่แหละ คนไทยหลายคนคิดว่าความเชื่อเต๋าในนิยายจีนคือพระพุทธศาสนาของจีน จึงเหมาว่าพวกกำลังภายในเป็นไปตามหลักศาสนาพุทธ


จริงแล้วเต๋าเป็นลัทธินะคะ


ซึ่งลัทธิ มีความหมายดังที่ว่า


ลัทธิ


น. คติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และหลักการ ที่มีผู้นิยมนับถือและปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา เช่น ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิชาตินิยม ลัทธิทุนนิยม. (ป. ลทฺธิ ว่า ความเห็น ความได้).


คือจริงแล้วดั่งเดิมมา เต๋า นี้เป็นลัทธิค่ะ


หากแต่ ต่อมา...มีการใช้คำว่า ศาสนา เข้ามาร่วม เพราะ จริงแล้ว คำว่าศาสนา และ คำว่าลัทธินี้มีส่วนคล้ายกันในความหมายของมันนะคะ


ซึ่งในขณะเดี่ยวกันคำว่า ศาสนา มีความหมายของคำดังที่ว่า


ศาสนา

[สาสะนะ สาดสะนะ สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คําสอน ข้อบังคับ


คุณเจ้าของกระทู้ อ่านแล้ว คุณจะเห็นความแตกต่าง หากแต่ก็มีความคล้ายกันอยู่นะคะ


เพราะฉะนั้น จริงแล้ว เต๋า หรือพุทธศาสนาเป็นอะไรที่คล้ายกัน เหมือนกัน แม้จะมีความแตกต่างอยู่บ้างอยู่ในที ก็ตามทีนะคะ


จริงแล้วความเข้าใจ ของความแตกต่าง ที่ว่าต่าง แต่คล้ายนี้ ผู้ที่เขาอ่านมามากๆ จนแตกฉานได้ ในความเข้าใจของศาสตร์ทั้งสอง เขาจะสามารถรู้ เข้าใจ และแยกแยะ สองอย่างนี้ได้ชัดเจนค่ะ


คือหากจะอธิบาย คือเป็นความหมายของความที่คล้ายกัน คงจะเป็นคล้ายภาพสอง สาม หรือสี่มิติ ซึ่งทับซ้อนความคล้าย หรือความเหมือนกันอยู่ แบบนั้นนะคะ


คือจริงแล้วทั้งลัทธิ หรือ ศาสนา ก็ไม่ต่างกันมากมายนัก ในความหมายของคำนะคะ


คือมีหลายๆอย่างคล้ายกันจนเป็นสิ่งเดียวกันในความหมายนั้นๆ เช่น ทั้งลัทธิเต๋า และศาสนาพุทธ ก็มีความเชื่อในกฎของธรรมชาติด้วยกันทั้งสิ้น เป็นพื้นฐานนะคะ


แต่ที่แน่ๆ ทังสองนี้ คือทั้งลัทธิ และศาสนานี้เป็นความเชื่อนะคะ


ยกตัวอย่าง จุดมุ่งหมาย หรือความเป็น ของเต๋านะคะ


จะยกคำอธิบายเกี่ยวกับเต๋า ซึ่งเจ้าของเม้นต์นี้ เห็นว่า เป็นบทบรรยาย ความเป็นเต๋าไว้ชัดเจนดีค่ะ


ขออนุญาต เจ้าของเพจ เพื่อนำเอาบทความเกี่ยวกับเต๋านี้มาศึกษาเรียนรู้ ไว้ในกระทู้นี้ด้วยค่ะ


ศาสนาเต๋า: แนวคิดและหลักคำสอนที่สำคัญ


คุณกดตามลิ้งค์ อ่านรายละเอียดนะคะ


http://www.thammasatu.net/forum/index.php?topic=14231.0




และคราวนี้เรามาดู เหตุการณ์ หรืออาการ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย หรือเป็นพื้นฐาน เป็นแก่นสาร หรือจุดประสงค์ ของศาสนาพุทธนะคะ


หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา


หรือ แก่นแท้ ของคำสั่งสอน ของพุทธศาสนา คือนี่นะคะ

ขออนุญาตเจ้าของเพจ นำมาเพื่อการเรียนรู้ สู่สังคม ค่ะ


บทความในตอนหนึ่ง นี้ได้ทำการยกมาจากเพจ ตามลิ้งค์ช้างล่างนี้


คุณเจ้าของกระทู้สามารถกดลิงค์ อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้นะคะ


หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา


ความจริงเหล่านี้เป็นสัจธรรมอันจริงแท้ของชีวิตและกฎธรรมชาติที่ตั้งอยู่โดยอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ดังนั้นเมื่ออธิบายคำสอนสำคัญโดยลำดับตามแนวอริยสัจ ได้แก่

สภาพแห่งทุกข์ (ทุกข์)

ได้แก่ ไตรลักษณ์ (หลักอภิปรัชญาของพุทธศาสนา) ลักษณะสภาพพื้นฐานธรรมชาติที่เป็นสากลอย่างหนึ่ง จากทั้งหมด 3 ลักษณะ ที่ พุทธศาสนาได้สอนให้เข้าใจถึงเหตุลักษณะสากลแห่งสรรพสิ่งที่เป็นไปภายใต้กฎธรรมดา อันได้แก่

1. อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้ มีอันต้องแปรปรวนไป)

2. ทุกขัง (ความทนอยู่อย่างเดิมได้ยาก)

3. อนัตตา (ความไม่มีแก่น สาระ ให้ถือเอาเป็นตัวตน ของเราและของใครๆ ได้อย่างแท้จริง)

และได้ค้นพบว่า นอกจากการ แก่ เจ็บ และตาย เป็นทุกข์ (ซึ่งมีในหลักคำสอนของศาสนาอื่น) แล้ว ยังสอนว่า การเกิดก็นับเป็นทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนานั้นปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า และเชื่อว่า โลกนี้เกิดขึ้นจาก กฎแห่งธรรมชาติ ( นิยาม ) 5 ประการ อันมี กฎแห่งสภาวะ (อุตุนิยาม) หรือมีธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ อากาศ ที่เปลี่ยนสถานะเป็นธาตุต่างๆ กลับไปกลับมา กฎแห่งชีวิต (พีชนิยาม) คือ

กฎสมตา กฎวัฏฏตาและกฎชีวิตา ที่ทำให้เกิดชีวิตินทรีย์ ( เซลล์) กฎแห่งวิญญาน (จิตนิยาม) การมีนามธาตุต่างๆ ที่ประกอบกันตามกระบวนการเป็นจิต ที่เป็นไปตาม กฎแห่งเหตุผล (กรรมนิยาม) และ กฎไตรลักษณ์ (ธรรมนิยาม) คือ...


http://ewt.prd.go.th/ewt/region8/ewt_news.php?nid=2269&filename=news_r6


คือจริงแล้ว ทั้งเต๋า และพุทธ มีอะไรที่คล้ายกัน แม้ว่าจะไม่เป๊ะเลยทีเดียว แต่ทั้งสอง มีพื้นฐาน มีจุดมุ่งหมาย มีความหมาย มีแก่น ที่คล้ายกัน คือทั้งสองนี้ มีความเชื่อเป็นปรัชญา และมีความศรัทธาในกฎแห่งธรรมชาติ ด้วยกันทั้งสิ้นค่ะ


เพียงแต่ภาษา การอธิบาย หรือขยายความ ในความแตกต่างของภาษาในการใช้ความหมายนั้นๆ ที่อาจจะทำให้เกิดเป็นความแตกต่างกันออกไปบ้าง


คนจีนไม่ได้คิดแบบนี้ พุทธกับเต๋าคนละศาสนากัน


ด้วยความที่เจ้าของเม้นต์นี้เกิด เติบโตมา และถูกปลูกฝังมาระหว่างสองศาสนานี้เป็นภาคปฎิบัติจริงนะคะ จึงขออนุญาตแบ่งปันกับคุณว่า แท้จริงทั้งสองศาสนานี้เป็นอะไรที่คล้ายกันค่ะ


เพียงแต่วิธีคิด แนวคิด หรือการอธิบาย หรือขยายความของสองภาษา ที่อาจจะแตกต่างกัน นั้นดูจะเป็นอะไรที่แตกต่าง เท่านั้นเองค่ะ


คุณสามารถ อ่าน ศึกษาพิจารณา วิเคราะห์ เหตุดังกล่าวนี้ด้วยตัวคุณเอง จากเนื้อหาในลิ้งค์ที่ยกมานะคะ


สำหรับตรงนี้นะคะ


เราคงต้องทำให้เห็นเป็นความชัดเจนก่อนนะคะ



พวกวิชาลมปราณหรือกำลังภายใน ไม่มีจุดไหนเชื่อมโยงกับคำสอนพุทธ แค่อ่านของคนจีนเขียนก็เห็นความแตกต่างกัน บางเรื่องยกเรื่องฮ่วงจุ้ยมาเล่าอีก




ปราณ

/ปฺราน/


1.

ลมหายใจ.

2.

สัตว์มีชีวิต, ชีวิต, ใจ.


คือจริงแล้ว ความหมายของปราณ ก็คือธรรมชาตินะคะ


ปราณ ซึ่งจริงแล้ว เราจะตีความให้เป็นลมหายใจ เป็นพลังงานของชีวิต หรือเป็นพลังของจิต ก็ได้ด้วย เช่นกัน


มาถึงวันนี้ การตีความหมายของคำว่าปราณได้ขยายตัวกว้างขึ้น ในตัวของมันเอง


แม้จิตวิทยาหรือก็นำมาใช้...เช่น ปราณ เพื่อ


การบำบัดด้วยพลังปราณ(Pranic Healing)


บทความนี้ เป็นบางส่วนจากในลิ้งค์ค่ะ


ขอนุญาตเจ้าของเพจ ยกบทความบางตอนนี้มา เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันค่ะ


ผู้ให้การบำบัดหรือผู้เยียวยาจะใช้จักรของตนเองเพื่อดูดซึมปราณ แล้วเปลี่ยนปราณนั้นไปเป็นพลังงานในการรักษาส่งไปยังร่างกายของผู้รับการบำบัด ทำให้ร่างสรีระของผู้รับการบำบัดมีชีวิตชีวาขึ้น


โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของระบบต่อมไร้ท่อหรือเอนโดครีน(endrocrine)




http://www.healthcarethai.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93pranic-healing/


คือจริงแล้ว พลังปราณ ก็เป็นพลัง คือ พลังของธรรมชาติ ซึ่งมีอาการของจิตเข้าไปมีส่วน จึงจะเกิดปฎิกริยา หรือมีศักยภาพค่ะ




ซึ่งสำหรับพุทธศาสนา มี ญาณ เป็น อาการของจิตด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งนี้ก็เป็นความเชื่อ เป็นแก่นของศาสนา ด้วยเช่นกันนะคะ


ญาณ (บาลี: ñāṇa; สันสกฤต: jñāna ชญาน) แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง


ยกตัวอย่าง ประเภทของญาณมาให้คุณดูนะคะ


เช่น ญาณ 3 เป็นต้นนะคะ


ญาณ 3 ได้แก่ วิชชา 3

คำว่า 'ญาณ' 3 อาจหมายถึงวิชชา 3 คือ[1]

บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ที่เกิดในอดีตได้ คือ การระลึกชาติของตนได้

จุตูปปาตญาณ ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ บ้าง

อาสวักขยญาณ ความรู้ในการกำจัดอาสวะให้สิ้นไป


และคุณสามารถอ่านรายละเอียด ความเชื่อซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนาเกี่ยวกับอาการของจิต ซึ่งเป็นธรรมชาติ นี้ได้ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้ค่ะ


https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93



คือจริงแล้ว ทั้งพุทธ และเต๋า มีอะไรที่คล้ายกัน คือทั้งสอง มีปรัชญาแห่งธรรมชาติ เป็นแก่นสาร เช่น มีดิน นํ้า ลม ไฟ เป็นความพื้นฐานแห่งความเป็นจริง และมีอยู่จริง และตามมาด้วยเรื่องของพลัง...แห่งจิต ในรูปแบบที่แตกต่างอุบาย ในการส่งผ่านปรัชญานั้นๆ ซึ่งก็เป็นธรรมชาติด้วยเช่นกันนะคะ




สำหรับ ฮวงจุ้ย หรือก็เป็นความเชื่อ ด้วยเช่นกันนะคะ


และ ก็มีความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติ เป็นพื้นฐาน ด้วยเช่นกันค่ะ


ฮวงจุ้ยเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญา และวิธีการที่เป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติของคนจีน เป็นระบบที่สมบูรณ์และมีลักษณะเป็นองค์รวมในวิชาเอง มีรูปแบบที่บริสุทธิ์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา


แม้จะไม่ใช่ศาสนา แต่ มีความเชื่อในธรรมชาติ เกี่ยวกับความสมดุลย์ หรือมีความบาลานซ์ คือความจริงแล้วฮวงจุ้ยก็กับไม่ต่างจากความหมายของหยิน และหยาง รวมอยู่ด้วย


ข้อความบางตอน เกี่ยวกับฮวงจุ้ยได้ยกมาจากบทความจากเพจข้าางล่างนี้

ขออนุญาตเจ้าของเพจ นำบทความมาลงเพื่อเป้นความรู้สู่สังคมค่ะ


https://sinsae.com/what-is-feng-shui/


ความหมายของคำว่าฮวงจุ้ย


ฮวงจุ้ย


ลมและน้ำ, ศาสตร์ในการกำหนดที่ตั้งให้เหมาะสม และเป็นมงคลสำหรับสร้างสุสาน บ้าน เมือง เป็นต้น โดยมีองค์ประกอบธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ต้นไม้ เข้ามาเกี่ยว.





เพราะฉะนั้น หากเราจะพินิจ พิจารณา หรือศึกษาดีๆ แบบละเอียดถี่ถ้วน ทั้งหมดนี้มี หรือเป็น อะไรที่คล้ายกันค่ะ


ซึ่งเจ้าของเม้นต์นี้เข้าใจว่า ความแตกต่างที่เกิดขึ้นได้ ในมุมมอง หรือในแง่ของความเข้าใจ ที่อาจจะแตกต่างของแต่ละคนไปนั้น มีสาเหตุมาจาก ภาษา หรือการอธิบาย หรืออุบาย ที่แตกต่างกันเท่านั้นเองค่ะ


เม้นต์ยาวๆ ทั้งหมด ทั้งมวลนี้ เป็นความเข้าใจ เป็นความเชื่อ และเป็นประสบการณ์ ซึ่งเจ้าของเม้นต์นี้มีอยู่ ต่อประเด็นของคุณค่ะ


จะเป็นการดีไม่น้อยเลยหากคุณเจ้าของกระทู้จะยกเอาความเข้าใจของคุณเองที่มีอยู่ ดังที่ว่าอาการ รู้ เห็น สัมผัสได้ กับความแตกต่าง ซึ่งเป็นของคุณเกี่ยวกับเรื่องราวในประเด็นของคุณนี้ มาลงให้เพื่อนๆได้อ่าน ได้เรียนรู้ด้วย นั้นน่าจะเป็นสิ่งที่ดียิ่ง ด้วยเช่นกันนะคะ


เพราะเราๆอาจจะ รู้ เห็น เข้าใจแตกต่างกันไป นั้นก็เป็นได้


และในที่นี้ ความแตกต่างที่เราๆจะสามารถแลกเปลี่ยน แบ่งปันกันได้ เราได้มีโอกาสเรียนรู้ ร่วมกันต่อไปด้วยค่ะ


ขอบคุณสำหรับกระทู้ เกี่ยวกับสาระเรื่องงานเขียนค่ะ


https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-02.png






8
NIGHTMARES.. 18 มี.ค. 62 เวลา 10:16 น. 1-2

สวัสดีครับคุณ ลีลาวดี ลัทธิและศาสนา คือ ความเชื่อ ความคิดเห็น คำสอน ซึ่งคนแต่ละกลุ่ม

ยึดถือปฏิบัติกันเฉพาะกลุ่ม โดยแต่ละลัทธิแต่ละศาสนาต่างก็มีศาสดาและนามที่ใช้กล่าวขาน

ถึงอย่างชัดชัดเจน ซึ่งศาสนิกชนของทุกลัทธิทุกศาสนา และทั่วโลกต่างก็ล่วงรู้และยอมรับ..


ฉะนั้นแม้คำสอนของลัทธิหรือศาสนาใดจะมีส่วนคล้ายคลึงกันบ้างก็ตาม แต่เต๋าก็คือเต๋าพุทธ

ก็คือพุทธ จะเรียกจะเข้าใจว่าเต๋าก็คือพุทธ พุทธก็คือเต่าไม่ได้ครับ..

0
White Frangipani 18 มี.ค. 62 เวลา 13:43 น. 1-3

สวัสดีค่ะ


คห.ที่1


ด้วยความยินดีค่ะ


คห.ที่1-2


ฉะนั้นแม้คำสอนของลัทธิหรือศาสนาใดจะมีส่วนคล้ายคลึงกันบ้างก็ตาม แต่เต๋าก็คือเต๋าพุทธ

ก็คือพุทธ จะเรียกจะเข้าใจว่าเต๋าก็คือพุทธ พุทธก็คือเต่าไม่ได้ครับ..




จริงแล้วดิฉันก็พยายามจะบอกแบบนั้นนะคะ คือพุทธ ก็คือพุทธ เต๋า ก็คือเต๋า ค่ะ


และก็บอกมาด้วยว่า พุทธ กับเต๋านั้นเป็นอะไรที่คล้ายกัน และเหมือนกัน แม้จะมีความต่างกันบ้างก็ตามที


หรือว่า อาจจะไม่ชัดเจนทั้งหมดจากดิฉันนะ


หรืออาจจะมีตกหล่นจากเม้นต์แรก คือในความต่างที่ชัดเจนของสองศาสนา ที่มีอยู่คือ...ศาสนาพุทธมีจุดประสงค์เพื่อการนิพพาน คือการดับสลายไป


หากแต่เต๋านั้นยังคงอยู่ เป็นดวงวิญญาณ หรือไปอยูในโลกของดวงวิญญาณ


คือความแตกต่างที่ชัดเจน ระหว่างสองศาสนานี้


จริงแล้วภาคปฎิบัติจริงของดิฉันคือ เป็นทั้งพุทธ และเต๋า (ซึ่งมาวันนี้ก็เกิด และกลายเป็นคริสต์ด้วยค่ะ)


ความที่ต้องศึกษาเรียนรู้ เพื่อที่จะเกิดเป็นความเข้าใจในสิ่งที่ตนศรัทธาและยึดถือ จึงเกิดเป็นการที่ต้องเรียนรู้ตลอดมาค่ะ


ความที่ตนได้รู้จัก ทั้งเต๋า และพุทธ นี้ จึงเกิดเป็นข้อความซึ่งเป็นความเข้าใจ ของดิฉันดังที่เห็นมาทั้งหมดค่ะ


อาจจะเป็นข้อความที่เข้าใจยาก เพราะการสื่ออาจจะไม่ชัดเจน ก็เป็นได้ค่ะ


หากคุณเห็นว่าข้อความยาวๆทั้งหมดข้างบนนั้น มีความผิดพลาดไปจากความจริง ซึ่งเป็นของคุณ ซึ่งเป็นความรู้ที่คุณก็รู้ และเข้าใจด้วยเช่นกัน


ดิฉันอยากขอให้คุณแนะนำเข้ามา เพื่อเพิ่มเติม ในจุดต่าง...ที่เป็นความถูกต้อง ในเรื่องของเต๋า และพุทธ ไว้ในกระทู้นี้ด้วยค่ะ


หากแต่ก็อยากขอให้คุณอ่านในรูปแบบแกะแบบละเอียดนะคะ


 คืออ่านสิ่งที่ดิฉันตั้งใจเม้นต์มาข้างบนนั้นให้ชัดเจนก่อนนะคะ ว่าเหตุการณ์ ที่ดิฉันมีความเข้าใจแท้จริงเป็นเช่นไร ถูกต้อง หรือผิดพลาดตรงไหน คุณได้ช่วยต่อเติม เปลี่ยนแปลง และแก้ไขให้ถูกจุดค่ะ(ที่ต้องขอแบบนี้คือ บางครั้ง ความผิดพลาดในจุดที่ว่า การอ่าน และการสื่อสาร ผิดพลาด ก็เกิดการถกเถียง ซึ่งดิฉันอยากหลบเลี่ยงค่ะ)


อยากเรียนรู้ เพิ่มเติม ทุกอย่างซึ่งเป็นความรู้ ที่มีอยู่ในโลกนี้ เราได้เรียนรู้สิ่งที่ถูกต้องไปด้วยกันค่ะ

การเรียนรู้นี้เป็นสิ่งที่สนุกสนาน ตื่นเต้นได้ตลอดเวลาจริงด้วยสินะ


ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-12.png


https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-big-10.png






0
ภิกษุนิรนาม 18 มี.ค. 62 เวลา 20:58 น. 1-4

ตามความเป็นจริง "ทุกศาสนาคือ สภาวะธรรม(ความจริงของธรรมชาติ) ที่ปรากฏ"


เต๋าซ่อนอยู่ในทุกสรรพสิ่ง เมื่อพ้นสังขตธรรม(ธรรมชาติที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป) จึงจะเจอ อสังขตธรรม(ธรรมชาติที่มีอยู่ไม่ดับสลาย) พระเจ้าสร้างสรรพสิ่ง พระเจ้าเป็นอมตะอยู่ผู้เดียว


แต่ทุก "ศาสนายกเว้นพุทธมันไม่มีวิธีทำจนถึงที่สุดเหลือแล้ว" และมันโดนใครหลายๆคนเอาไปทำนิยายแทนที่จะเป็นการปฏิบัติจริงแทน


หากจะรู้ว่าเรื่องไหนจริงหรือไม่จริง "ต้องไปลองปฏิบัติเองเท่านั้น" ไม่งั้น "มันจะเป็นสมมุติฐานแทน



แต่บางทีสมมุติฐานก็สามารถใช้ได้

เหมือนดั่งที่ พระอินทร์(ใช้สายฟ้า)รบกับเวปจิตติ(เทพรุ่นเก่า), ซูสกับโครนอส, ธอร์กับยักษ์น้ำแข็ง ,มิคาเอลกับซาตาน ทั้งหมดสู้บนสวรรค์(เขาไกรลาศ/โอลิมปัส) และเทพองค์เก่าโดนถีบลงมา แต่ชื่อสวรรค์แต่ละที่จะต่างกันตามมุมมองของผู้สังเกตุและภาษา


ดังนั้นผมจึงจะโม้ให้ฟัง ตามพระไตรกล่าวว่าเทวดาที่สูงกว่าชั้นดาวดึงส์จะมีวิมานในอากาศทั้งหมด หากลองซูมออกจะพบว่า วิมาน(ปราสาท) = ใบไม้เต็มไปหมด ภูเขา = ต้นไม้(ลำต้น) และสมัยก่อนของทางยิวกล่าวว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์ที่สวนเอเดน(ป่าหิมพานต์) ที่เทพกับมนุษย์สามารถพบเจอกันได้อยู่และมีสัตว์แปลกๆไม่ว่าจะเทนงู(พญาครุฑ) และเมืองลับแลที่มีปราสาทสวยงาม(เอลฟ์) นาค(นากา/ไฮดร้า) (อิงไว้เผื่อมีคนเอาไปเขียนนิยายแฟนตาซี) พ้นจากโลกียะ(โลก) จึงจะเจอโลกุตระ(เหนือโลก) พระเจ้าอยู่สูงกว่าชั้นฟ้าเหนือนภากาศ ส่วนเรื่องคำสอนที่ให้เชื่อในพระเจ้าแล้วจะพ้นทุกข์โดยต้องไปรับโทษในไฟชำระถึงค่อยขึ้นสวรรค์ได้นั้นว่าตามจริงตรงนั้นมันคือตกนรกไปเรียบร้อยแล้ว แล้วค่อยได้ผลบุญจนขึ้นสวรรค์อะป่าว เพราะศาสนาคริสต์โดนแก้มามากมายทั้งขายบัตรล้างบาปและอีกมากดังนั้นทุกศาสนาจะจริงไม่จริง เราไม่รู้ หากอยากจะรู้ความจริงต้อง "ปฏิบัติ"


ดังนั้นโม้มาตั้งนานสรุปคือ ทุกศาสนาจริงๆมีจุดเริ่มต้นอันเดียวกันคือ "สภาวะธรรมที่ปรากฏ" นั่นแล

0
NIGHTMARES.. 18 มี.ค. 62 เวลา 22:48 น. 1-5

คห 1-3


สาเหตุที่ผมคอมเม้นท์ไปคราวที่แล้วเช่นนั้น เนื่องจากข้อความในคอมเม้นท์ของคุณนั้น

แม้จะยืดยาวก็จริง หากแต่ภายในข้อความทั้งหมดกลับมีใจความสำคัญเพียงแค่สองข้อ

เท่านั้น คือ..


1.ผู้เขียนทุกคนย่อมจะเขียนไปตามความเข้าใจของพวกเขาทั้งหลายเป็นปกติ ซึ่งการ

ที่ผู้เขียนแต่ละคนจะขีดเขียนไปตามความเข้าใจ เท่าที่แต่ละคนเข้าใจนั้นไม่ถือว่าเป็น

เรื่องแต่อย่างไรครับ..


2.ลัทธิเต๋าและศาสนาพุทธมีบางส่วนที่คล้ายกัน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกันครับ..


แต่เมื่อผนวกหัวข้อและเนื้อหาภายในกระทู้ รวมกับความคิดเห็นทั้งสองข้อของคุณเข้า

ด้วยกัน ทำให้แลดูคล้ายกับคุณกำลังสื่อว่า การเขียนของผู้เขียนทุกคนซึ่งมิว่าพวกเขา

จะมีความเข้าใจ ในสิ่งที่พวกขีดเขียนแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทุกคนเขียนต่างก็

ถูกต้องเหมาะสมแล้วทั้งสิ้น เพราะลัทธิเต๋าและศาสนาพุทธมีบางอย่างที่คล้ายกัน..


ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นใยมิใช่เท่ากับคุณกำลังพยายามสื่อว่า พุทธก็คือเต๋า เต๋าก็คือพุทธ

หรอกหรือครับ..

0
ภิกษุนิรนาม 20 มี.ค. 62 เวลา 18:05 น. 1-6

พุทธ ก็คือพุทธ เต๋าก็คือเต๋า แต่ไม่ว่าจะศาสนาไหน "คำสอนทั้งหมดมาจากสภาวะธรรมของจิตและใจ(คนละตัวกัน)"


"จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง" กับ "พรหมวิหาร 4(เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)" เหมือนกันหรือไม่


บาป 7 ประการกับ อกุศลกรรม(การกระทำที่ไม่มีความสุข) เหมือนกันหรือไม่ แต่อยู่ที่พระศาสดาของศาสนาไหนๆจะนำมาแสดงแบบไหนนั้นแล แต่ศาสนาพุทธนั้น "พ้นทุกข์ได้จริง" โดยการปฏิบัติไม่ใช่เป็นแค่แนวคิด เพราะศาสนาอื่นๆไม่มี มรรค(วิธีทำเป็นขั้นตอน) ต้องไปค้นหาทางปฏิบัติกันเอาเอง


หากจะยกตัวอย่าง ของแนวคิดกับการปฏิบัติ ก็ให้ลองนึกถึงความรักฉันท์ชายหญิงกับคนที่รักสักคน และสังเกตุอารมณ์หรือความรู้สึกตัวก็จะเห็นเองว่า "ความรู้สึกตัว"(หากปิติจะรู้สึกตัวว่าความรู้สึกแผ่พุ่งซ่านกระจายไปรอบตัวหากสุขจะรู้สึกเย็นและสบาย) ในขณะนั้นร้อนรุ่ม(แต่ไม่ร้อนแบบโกรธ) เหมือนน้ำร้อนๆ และการตั้งมั่นอยู่กับมันนั้นหากอยู่ไปนานๆ "เป็นทุกข์เพราะไม่อาจตั้งมั่นกับมันได้นานเพราะสภาวะอารมณ์ของมัน ร้อน แต่แรกแล้ว" ดั่งที่เค้าพูดกันทั้งโลกว่า "ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์" และย่อมไม่มีวันพ้นทุกข์ได้เพราะสภาวะของมันเป็นทุกข์แต่แรกแล้วนั่นแล


ซึ่งคนทั้งโลกจึงไม่รู้เลยว่า "ความรักของเขาจริงๆมันคือ ตัณหา(ตั้งมั่นไม่ได้ คะนึงหา ต้องการยึดเขา/คน เอาไว้ขาดไปไม่ได้จึงทุกข์ และต้องการเสพอารมณ์จากคนอื่น(คู่ของตน)" ส่วนความรักจริงๆนั้น "มันจะคล้ายๆกับตัณหาแต่มันสบายมันไม่ทุกข์นึกถึงเมื่อไหร่จะสุขเป็นน้ำเย็นๆสบายชุ่มชื่น" ซึ่งน้อยคนในโลกจะแยกความแตกต่างของความรัก(จริงๆ)กับตัณหาได้นี่คือตัวอย่างของสภาวะธรรม ที่นำมาเป็นคำสอนต่างๆนั่นแล

0
เรโกะ จิทาคุ 21 มี.ค. 62 เวลา 06:50 น. 1-7

ขายบัตรล้างบาปนี่มันยุคมืดค่ะ ของทวีปยุโรปในศตวรรษที่20 ตอนนี้ไม่มีแล้ว(มั้ง) ถึงจะมีแต่ก็น้อยมาก

0
White Frangipani 23 มี.ค. 62 เวลา 14:47 น. 1-8

สาเหตุที่ผมคอมเม้นท์ไปคราวที่แล้วเช่นนั้น เนื่องจากข้อความในคอมเม้นท์ของคุณนั้น

แม้จะยืดยาวก็จริง หากแต่ภายในข้อความทั้งหมดกลับมีใจความสำคัญเพียงแค่สองข้อ

เท่านั้น คือ..


1.ผู้เขียนทุกคนย่อมจะเขียนไปตามความเข้าใจของพวกเขาทั้งหลายเป็นปกติ ซึ่งการ

ที่ผู้เขียนแต่ละคนจะขีดเขียนไปตามความเข้าใจ เท่าที่แต่ละคนเข้าใจนั้นไม่ถือว่าเป็น

เรื่องแต่อย่างไรครับ..


2.ลัทธิเต๋าและศาสนาพุทธมีบางส่วนที่คล้ายกัน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกันครับ..

แต่เมื่อผนวกหัวข้อและเนื้อหาภายในกระทู้ รวมกับความคิดเห็นทั้งสองข้อของคุณเข้า

ด้วยกัน ทำให้แลดูคล้ายกับคุณกำลังสื่อว่า การเขียนของผู้เขียนทุกคนซึ่งมิว่าพวกเขา

จะมีความเข้าใจ ในสิ่งที่พวกขีดเขียนแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทุกคนเขียนต่างก็

ถูกต้องเหมาะสมแล้วทั้งสิ้น เพราะลัทธิเต๋าและศาสนาพุทธมีบางอย่างที่คล้ายกัน..


ฮ่า ฮ่า ฮ่า


สวัสดีค่ะ หค.1-5


มีผู้ที่เห็นได้ จริงด้วยสิ


จริงแล้ว ความจริงก็คงจะต้องเป็นเช่นนั้นนะคะ


คือ นักเขียน เขาทั้งหลายก็เขียนในสิ่งที่เขารู้


และเขียนในสิ่งที่เป็นจินตนาการของเขานั้น เป็นความจริง เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติค่ะ


ดิฉันเข้าใจเหตุการณ์ เช่น ที่คุณอธิบายมานี้ค่ะ





ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นใยมิใช่เท่ากับคุณกำลังพยายามสื่อว่า พุทธก็คือเต๋า เต๋าก็คือพุทธ

หรอกหรือครับ..


ฮ่า ฮ่า ฮ่า


จริงแล้วคุณมีคำตอบเป็นของตัวคุณเองที่ถูกต้องแล้วนะคะ


ใช่ค่ะ ถูกต้องเลย ดิฉันพยายามอธิบายให้เห็นว่า เต๋าก็คือเต๋า พุทธก็คือพุทธ แม้ทั้งสองจะคล้ายกัน แต่ความต่างก็มีอยู่


หากแต่ ความต่าง ที่มีคล้าย...ในที่นี้ เป็นดีเทลที่ละเอียดยิบย่อยมากมายนัก หากจะต้องอธิบายแบบแกะ...ให้เห็นเป็นความชัดเจน คงเกิดเป็นความยาวววววววววว มากๆ คล้ายเราต้องเอาคำภีร์ และพระไตรปิฎกมากางออกเพื่อเปรียบเทียบ ความแตกต่าง ซึ่งกัน และกัน นี้


ซึ่งเป็นอะไรที่อาจจะยากนะ ในการที่จะเม้นต์ในลักษณะนั้นได้ คือเท่านี้ก็เป็นเม้นต์ยาววววอยู่แล้ว


อีกอย่างที่สำคัญยิ่ง ธรรมชาติในการรู้ ความต่างของหลายๆสิ่ง หลายๆอย่างที่อาจจะคล้ายกันนั้น มีวิธีเดียว นั้นคือ เขาผู้ที่จะรู้ได้ เขาต้องศึกษาเรียนรู้ ด้วยความตั้งใจ ด้วยความศรัทธา และแน่นอนต้องใช้เวลา เท่านั้นจึงจะเกิดเป็นความรู้ได้ ในดีเทลต่างๆ นั้นก็เป็นความจริงนะคะ


คือไม่มีวิธีอื่นค่ะ


คือจริงแล้วการรู้ การเข้าใจ ของคนเรานั้น เป็นอะไรที่เป็นส่วนตน เป็นส่วนบุคคล นั้นก็เป็นความจริง


คือการรู้ การเข้าใจ เป็นสภาวะธรรม ในส่วนบุคคล เช่นคห.ที่6-1 ส่งเข้ามานั้นดูจะถูกต้อง และเป็นความจริงอย่างยิ่งยวด ในเรื่องของการเข้าใจ เรื่องของธรรม หรือหลักคำสั่งสอนต่างๆ ในความแตกต่าง ที่สามารถเกิดขึ้นได้ค่ะ


พุทธ ก็คือพุทธ เต๋าก็คือเต๋า แต่ไม่ว่าจะศาสนาไหน "คำสอนทั้งหมดมาจากสภาวะธรรมของจิตและใจ(คนละตัวกัน)"



ขอบคุณสำหรับทุกเม้นต์ ในการตอบรับ แลกเปลี่ยน


และขออภัยในความล้าช้า ในการตอบกลับด้วยค่ะ


https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-12.pnghttps://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-02.png



0
jesjournal90 18 มี.ค. 62 เวลา 21:35 น. 4

เราว่ามันมาจากการที่บางคนอยากแต่งตามกระแส อ่านแล้วอยากแต่งบ้างอะไรแบบนี้ แต่ไม่ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนเขียน

บางข้อมูล ก็หาเพียงผิวเผินมาแปะ ๆ ใส่ ๆ ลงไป

1