Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อยากรู้อะไรเกี่ยวกับแพทย์ ถามมา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อยากรู้อะไรเกี่ยวกับแพทย์ ถามมาได้ครับ

เหมือนเดิมครับ เคยตั้งกระทู้แนวๆนี้ไปเมื่อตั้งแต่ 2 ปีก่อน หายไปไหนแล้วไม่รู้ 555+

เป็นแพทย์ครับ เรียนจบแล้ว เรียนต่อจนจบสาขาเฉพาะทางแล้ว และเรียนต่อจนจบสาขาเฉพาะทางของเฉพาะทางแล้วด้วย ช่วงนี้พอมีเวลาว่างบ้าง พอจะตอบคำถามน้องๆได้

ถ้าใครอยากรู้อะไรเกี่ยวกับแพทย์ ลองถามมาได้ครับ ว่างๆจะมาทยอยตอบให้

ขออนุญาต

* กระทู้นี้ตั้งขึ้นมา เผื่อมีน้องๆคนไหนอยากถามว่า อาชีพหมอเป็นอย่างไร ทำงานแบบไหน เงินเดือนเท่าไหร่ ทางเลือกหลังเรียนจบเป็นยังไง และอื่นๆเท่าที่อยากจะถาม เพราะพี่มองว่า ก่อนที่น้องจะเลือกคณะ น้องน่าจะต้องรู้ก่อนว่า ชีวิตหลังเรียนจบมหาวิทยาลัยเป็นยังไง ชีวิตตัวเองจะเป็นยังไงต่อไป และคงยากที่น้องจะนึกภาพอาชีพ แพทย์ ออก ว่าเราทำงานกันยังไง

** พี่สอบตอนยังเป็นสมัยเอนทรานซ์อยู่ สมัยนั้นไม่มี กสพท ไม่มีข้อสอบความถนัดแพทย์ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น มีให้วัดฝีมือ 2 รอบ จบ รู้ผล ดังนั้น ห้ามถามเกี่ยวกับว่าสอบยังไง ข้อสอบสมัยนี้ยากมั้ย สมัครสอบยังไง เพราะตอบไม่ได้ ไม่ตอบเรื่องขั้นตอนการสมัครสอบนะครับ เพราะไม่ได้ตามข่าวการสมัครสอบระบบใหม่ ไม่รู้ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างครับ

*** ถามเรื่องขณะเรียนอยู่พอได้ แต่กรุณาพึงระลึกไว้ว่า หลักสูตรเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขณะพี่เรียนกับตอนที่หนูกำลังจะเข้าไปเรียนอาจจะไม่เหมือนกัน

ถ้าใครอยากไปไล่อ่านของเก่า ไปที่
https://www.dek-d.com/board/view/3685669/

แสดงความคิดเห็น

>

61 ความคิดเห็น

Jatapon 22 เม.ย. 62 เวลา 20:10 น. 1

อยากถามการต่อเฉพาะทางและการใช้ทุนครับ พอจบ6ปีเราต้องใช้ทุนใกล้ๆจังหวัดที่เราเรียนมั้ยในกรณีภาคใต้เช่นแพทย์ มอ. จบละต้องใช้ทุนในใต้ ถ้าจบมอ.ละใช้ทุนที่กทม.ไรงี้มีมั้ยครับ/แล้วก็ทุนในการต่อเฉพาะทางต่างประเทศหรือในไทยมีมากน้อยแค่ไหนครับ / เกรดกับมหาลัยอันไหนสำคัญกว่ากันต่อการคัดแพทย์เข้าต่อเฉพาะทาง เช่น คนนึงจบแพทย์แม่ฟ้าหลวง เกรด3.9 อีกคนจบจุฬา เกรด2.5 จะคัดคนไหนเข้าศึกษาพ่อครับ / ความหนักของการเป็นแพทย์ มีเวลาพักโดยเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง และทำงานส่วนมากวันละประมาณกี่ชั่วโมงในรพรัฐครับ

2
จขกท 22 เม.ย. 62 เวลา 21:45 น. 1-1

พอจบ6ปีเราต้องใช้ทุนใกล้ๆจังหวัดที่เราเรียนมั้ย ** ไม่เกี่ยวครับ ถ้าน้องไม่ได้เป็นเด็กในโครงการนั่นนู่นนี่

** สมมติน้องเรียนเชียงใหม่ พอเรียนจบ โดยทั่วไปก็จะมีการจับฉลากครับ พ.จบใหม่ทั้งประเทศจะมารวมกัน เลือกจังหวัดพร้อมกัน ถ้าจังหวัดที่น้องเลือกคนไม่เกิน ก็จะได้ไปแบบไม่ต้องลุ้นครับ แต่ถ้าคนเกิน เราก็จะมาจับลูกปิงปองกัน ใครได้แต้มน้อยต้องเด้งออกไป ดังนั้นต่อให้น้องอยู่เชียงใหม่ บ้านอยู่ขอนแก่น แม่อยู่จันทบุรี พ่ออยู่น่าน แต่น้องดวงห่วยมาก กระเด้งไปอยู่ยะลาก็เป็นไปได้ครับ ทุนในการต่อเฉพาะทางต่างประเทศหรือในไทยมีมากน้อยแค่ไหนครับ ** ทุนต่างประเทศไม่มีครับ ยกเว้นน้องโปรไฟล์ดีมาก จังหวะดีมาก เรียนเฉพาะทางจบแล้ว โรงเรียนแพทย์อยากได้น้องเป็นอาจารย์มากๆๆ น้องก็จะมีโอกาศเอาทุนไปเรียนเฉพาะทางที่เมืองนอกได้ครับ ซึ่งโอกาสน้อยมากๆ ** ส่วนทุนการต่อเฉพาะทาง (เราเรียกต่อ resident นะน้องนะ) แตกต่างไปตามปี ดูตัวอย่างปี 2560 เอาละกัน https://www.tmc.or.th/pdf/tmc_docu_05-10-2016.pdf ** บางคนก็มาเรียนต่อแบบไม่มีทุนครับ ทุนการต่อเฉพาะทางในประเทศนี่ คำว่าทุนนี่อาจจะไม่ตรงไปตรงมาซักหน่อย คือเค้าไม่ได้จ่ายเงินให้น้องนะครับ 555+ อย่าเข้าใจผิดไป เค้าจ่ายเงินเดือนให้แค่นั้น ถ้าไม่ได้เอาทุนมา โรงเรียนแพทย์ที่น้องเรียนก็เป็นคนจ่ายเงินเดือนแค่นั้นเอง เงินเดือนมากแค่ไหนอะเหรอ พี่กล้าท้าว่าหารชั่วโมงการทำงานแล้ว เลขาหน้าโรงพยาบาลน่าจะได้ต่อชั่วโมงเยอะกว่าอะ

0
จขกท 22 เม.ย. 62 เวลา 22:00 น. 1-2

เกรดกับมหาลัยอันไหนสำคัญกว่ากันต่อการคัดแพทย์เข้าต่อเฉพาะทาง ** แล้วแต่เค้าจะดูครับ ถ้าดีทั้งคู่ก็ดีไป แต่มีอะไรอีกหลายอย่างให้ดูอีกเยอะ เช่น มีทุนมาหรือไม่ performance เป็นยังไง ใครเป็นคนเขียน recommend มาให้ เส้นหนาแค่ไหน กำลังภายในเยอะหรือเปล่า

** ยกตัวอย่างง่ายๆ น้องจะมาเรียนต่อที่รามา ถ้าน้องจบจากรามาเองเลย โอกาสน้องจะพุ่งพรวดมาก (ถ้าน้องไม่ไปสูบบุหรี่พี้กัญชาหรือด่าอาจารย์ให้อ.เห็นหรือได้ยินนะ) เพราะอาจารย์ก็จะ้ห็นอยู่แล้วว่าน้องเป็นคนยังไง ทำงานดีแค่ไหน นึกออกมั้ยครับ สัมภาษณ์กันแค่ 10-15 นาทีหรือจะสู้เห็นกันมาตลอด 3 ปี ความหนักของการเป็นแพทย์ มีเวลาพักโดยเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง และทำงานส่วนมากวันละประมาณกี่ชั่วโมงในรพรัฐ


** หึหึ ชาติที่แล้วทำบุญมาด้วยอะไรล่ะครับน้องเอ๋ย 555

** ขึ้นกับว่าน้องไปอยู่ที่ไหนมากกว่า สมมติไปอยู่โรงพยาบาลเล็กๆ 30 เตียง มีหมอ 2-3 คน แล้วหมอคนอื่นๆไม่ขี้เกียจกินแรงมากกเกินไปนัก งานก็จะไม่ได้หนักมากครับ ตื่นสัก 7.00-8.00 ไปราวนด์เช้าก่อน ออก OPD สวยๆตอน 9.00 เที่ยงกินข้าว กลับมาตรวจต่อจนหมด หมดก็เลิก มีเวรก็อยู่เวรถึงเช้าวันต่อไปแล้ววนลูปอีกรอบ ตรวจคนไข้ทั้งวันก็ซัก 30-70 คนได้ ถ้ามีคลินิกเบาหวานก็บวกไปอีก 30-50 เป็นต้น ระหว่างนั้นถ้ามีเคสอุบัติเหตุน้องก็หยุดตรวจวิ่งไป ER ก่อน มีเคสจะคลอดก็วิ่งไปห้องคลอด พยาบาลวอร์ดตามก็วิ่งไปวอร์ด ฟังดูดีนะ 555+ .... ถ่งบอกไงว่าน้องมั่ยใจในดวงตัวเองขนากไหน 555+ ไม่อยากบอกเลยว่าพี่เคยอยู่เวรคนเดียว 21 วันรวด เพราะผอ.หนืไปกทม. ไม่มีหมอคนอื่นแล้วในละแวกนั้น

** ถ้าไปอยู่โรงพยาบาลใหญ่ๆ 90 เตียง หมอเยอะๆ งานก็จะเยอะขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะถ้าใช้ทุนปีแรก ที่มักจะได้ไปอยู่โรงพยาบาลประจำจังหวัด (เพิ่งจบมา ยังไม่แก่กล้าวิชา เชื่อพี่ น้องไม่อยากไปอยู่ข้างนอกคนเดียวหรอก) งานจะหนักมากถึงมากที่สุด เวรวันเว้นวัน เวรไม่ได้นอนก็บ่อยไปครับ

** สุดท้าย เชื่อเหอะว่ามันผ่านมาได้ -ปริมาณงานเหนือมนุษย์พวกนี้ เอาเข้าจริง คนไข้กะลังจะตาย น้องก็ดึงพลังเฮือกสุดท้ายขึ้นมาดูคนไข้จนได้ล่ะครับ

0
จขกท 22 เม.ย. 62 เวลา 22:04 น. 2-1

อยากสอบถามว่าม. มีผลต่อการเรียนเฉพาะทางมากน้อยแค่ไหนคะ


** จะว่ามีมันก็มีนะ เราเรียกลูกหม้อ เพราะว่าอ.ส่วนหนึ่งก็จะจำได้ว่าเด็กคนนี้สมัยเรียนอยู่เป็นยังไง ขยัน เอาใจใส่ได้มากน้อยแค่ไหน น้องต้องเข้าใจอย่างหนึ่งก่อนว่า - การสัมภาษณ์ resident 15-30 นาทีน่ะ มันไม่ได้ช่วยให้อ.เห็นภาพทั้งหมดได้ดีนักหรอก ไม่เหมือนกับการที่อ.เคยเห็นเด็กคนนี้ทำงานในวอร์ด หรือยกมือขึ้น Discuss case ในห้องประชุม แบบนั้นมันทำให้อ.มั่นใจในตัวน้องมากกว่ากันเยอะ

** ถ้างั้น แก้ยังไงได้บ้าง ถ้าพอมีเวลา ลองหาเวลาไปเลือกวิชาเลือกหรือ Elective ดู ให้อ.ได้เห็น Performance เห็นความแน่วแน่ที่จะเรียนต่อของเรา เห็นความรู้และความรับผิดชอบของเรา อันนี้ก็พอจะช่วยได้ครับ

** แต่สุดท้าย การที่เราเป็นลูกหม้อ หรือเราเคยไปวิชาเลือก ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะได้หรือจะไม่ได้แน่ๆ ยังมีปัจจัยอีกมากครับ

0
จขกท 22 เม.ย. 62 เวลา 22:05 น. 2-2

อยากสอบถามว่าม. มีผลต่อการเรียนเฉพาะทางมากน้อยแค่ไหนคะ


** จะว่ามีมันก็มีนะ เราเรียกลูกหม้อ เพราะว่าอ.ส่วนหนึ่งก็จะจำได้ว่าเด็กคนนี้สมัยเรียนอยู่เป็นยังไง ขยัน เอาใจใส่ได้มากน้อยแค่ไหน น้องต้องเข้าใจอย่างหนึ่งก่อนว่า - การสัมภาษณ์ resident 15-30 นาทีน่ะ มันไม่ได้ช่วยให้อ.เห็นภาพทั้งหมดได้ดีนักหรอก ไม่เหมือนกับการที่อ.เคยเห็นเด็กคนนี้ทำงานในวอร์ด หรือยกมือขึ้น Discuss case ในห้องประชุม แบบนั้นมันทำให้อ.มั่นใจในตัวน้องมากกว่ากันเยอะ


** ถ้างั้น แก้ยังไงได้บ้าง ถ้าพอมีเวลา ลองหาเวลาไปเลือกวิชาเลือกหรือ Elective ดู ให้อ.ได้เห็น Performance เห็นความแน่วแน่ที่จะเรียนต่อของเรา เห็นความรู้และความรับผิดชอบของเรา อันนี้ก็พอจะช่วยได้ครับ


** แต่สุดท้าย การที่เราเป็นลูกหม้อ หรือเราเคยไปวิชาเลือก ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะได้หรือจะไม่ได้แน่ๆ ยังมีปัจจัยอีกมากครับ

0
jj_dek63 23 เม.ย. 62 เวลา 23:12 น. 2-5

อยากถามว่า หมอต้องเรียนเสาร์ อาทิตย์ด้วยมั้ยค่ะ

แล้วหลังจากที่พี่จบเฉพาะทางพี่ต้องทำงานทุกวันเลยมั้ยค่ะ



0
จขกท 24 เม.ย. 62 เวลา 09:01 น. 2-6

ช่วงปี 4-6 ส่วนใหญ่ ส-อาก็ต้องขึ้นวอร์ดไปดูคนไข้ครับ อาจารย์มักจะไม่ได้สอนอะไรมากนักในช่วงวัน ส-อาปรกติก็จะเสร็จกันช่วงสายๆ ไม่เกินเที่ยง หลัจากนี้ใครที่ต้องอยู่เวรก็อยู่ยาวไปถึงเช้าวันต่อมา ใครไม่ได้อยู่เสรก็กลับหอไปนั่งเขียนรายงาน อ่านหนังสือหรือไปเที่ยวตามสบายครับ


มีบางวอร์ดเหมือนกันที่ ส-อา ไม่ต้องไปดูคนไข้ถ้าไม่ได้อยู่เวร เช่น นิติเวชหรือ ER เป็นต้นครับ แต่ก็เป็นส่วนน้อย


หลังเรียนจบ ส-อา ก็ยังต้องทำงานอยู่นะครับ จะมากน้อยก็ขึ้นกับเฉพาะทางที่จบมา สาขาที่ไม่ได้เจอคนไข้ฉุกเฉินมากนัก ส-อาก็จะได้พักมากหน่อย สาขาไหนที่มีคนไข้ฉุกเฉินเยอะๆเช่น ศัลยกกรม สงกรานต์อย่าหวังว่าจะได้พักเลยครับ 555+ แต่ถ้าอยากไปเที่ยวก็คุยกะเพื่อน ฝากทำงานแทนหรืออยูาเวรแทนเป็นครั้งๆไป

0
ยกมือขึ้น 22 เม.ย. 62 เวลา 21:59 น. 3

อยากรู้ว่าการเรียนในต่างมหาลัย หากเทียบระหว่างม.ใหญ่กับม.ทั่วไป จะมีผลต่อการทำงาน การเรียนต่อในอนาคตไหมคะ

7
จขกท 22 เม.ย. 62 เวลา 22:10 น. 3-1

**แลดูเป็นคำถามยอดฮิตมาก เดาว่าเพราะโรงเรียนแพทย์เปิดใหม่เยอะมั้ง. For detail ไปอ่าน 1-2 กับ 2-2 ได้เลยครับ


** ตอบเพิ่มเติม เดี๋ยวจะหาว่าไม่ตอบอะไรเลย 555

สมมติ

น้องสองคน เป็นฝาแฝดกัน เกรดเท่ากัน หน้าตาเหมือนกัน Performance เท่าๆกัน ไม่มีทุนเหมือนกัน เส้นเท่ากัน ทุกอย่างเท่ากันหมด แต่คนนึงจบศิริราช อีกคนจบจากมหาวิทยาลัยเปิดใหม่ บางครั้งเราก็ต้องทำใจว่า อาจจะมีการโน้มเอียงไปทางโรงเรียนแพทย์ที่ดีกว่าได้ครับ คหสต. โดยส่วนตัวคิดว่าโรงเรียนแพทย์ใหม่ๆ อาจต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ตัวเองอีกสักพักนึงครับ

0
ยกมือขึ้น 22 เม.ย. 62 เวลา 22:15 น. 3-2

หนูก็เปิดไปดูข้างบน คำถามคล้ายๆกันเลย555 ขอบคุณพี่หมอมากๆค่ะ นึกว่าจะไม่ตอบซะเเล้ว

เนื่องจากดูเเล้วพี่หมออัธยาศัยดีมากๆ อยากถามเพิ่มเติมนิดนึงค่ะ ว่าที่เวลาจะต่อเฉพาะทางอ่ะค่ะ คือหากต้องการต่อ ก็ต้องสอบเพื่อต่อ เหมือนเวลาสอบเข้าไหมคะ อันนี้เเค่เเอบสงสัยนิดนึงค่ะ

0
จขกท 23 เม.ย. 62 เวลา 11:00 น. 3-3

5555 ขอบคุณนะครับ


** ส่วนใหญ่ไม่มีการสอบนะครับ ยื่นเอกสาร ยื่น CV ยื่นใน Recommend เอาแล้วเรียกสัมภาษณ์ บางสาขาบางโรงพยาบาลมีสอบเหมือนกันแต่เป็นส่วนน้อยครับ

0
ยกมือขึ้นอีกเเล้ว 23 เม.ย. 62 เวลา 14:49 น. 3-4

ขอบคุณค่ะ ขอถามอีกหน่อยนะคะ ข้อสุดท้ายเเล้วจริงๆค่ะ 5555 คือตอนนี้คิดว่าอาจจะมีเเนวโน้มที่จะติดเเพทย์ม.ที่ไม่ค่อยดังอ่ะค่ะเป็นม.น้องใหม่หากหนูเข้าไปด้วยใจเเละพยายามสุดๆมันก็พอจะมีโอกาสที่ได้รับการพิจารณาเข้าต่อเฉพาะทางในสาขาต่างๆอย่างเช่น ศัลยศาสตร์ อยู่บ้างไหมคะ

0
จขกท 23 เม.ย. 62 เวลา 15:22 น. 3-5

ไม่มีปัญหาครับ เพราะคำถามนี้พี่ก๊อปจากของเก่ามาตอบได้ 555+ ไม่ยากเลย


ถามว่ามีโอกาสมั้ย มีอยู่แล้วครับ มากน้อยขึ้นกับสาขาที่หนูอยากเรียน


แนะนำว่ายังไม่ต้องเลือกตอนนี้ ยากมากที่เด็กปี 1-3 จะรู้และมั่นใจว่าน้องอยากเรียนเฉพาะทางอะไร ส่วนใหญ่อย่างเร็วก็ปี 5-6 ทั้งนั้น บางคนจนจบแล้วยังไม่แน่ใจเลยด้วยซ้าว่าจะเรียนต่อดีหรือเปล่า


บางสาขาคนก็แย่งกันเยอะมาก บางสาขาหนูเดินเข้าไปเค้าก็กระโดดอ้าแขนรับจับหนูเซนต์สัญญาแล้ว

สาขาขาดแคลนนี่ประกาศเป็นปีๆ แต่ก็ไม่เปลี่ยนสักเท่าไหร่ อะไรที่ขาดมันก็ขาดอยู่แบบนั้นแหละ


นอกจากสาขาแล้วก็ต้องดูอีกหลายอย่าง เช่น มีทุนมาหรือไม่ ลูกหม้อหรือเปล่า บางสถาบันดูว่าบ้านอยู่ไหน แต่งงานหรือยังก็มี etc. อีกมากมาย หลายๆอย่างข้างล่างนี้ก็ช่วยให้เราเพิ่มโอกาสได้ครับ เช่น


1 มั่นใจในสาขาที่เราเลือกว่าเราชอบสาขานั้นจริงๆ และพร้อมจะอยู่กับมันไปตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะเรียนจบโดยไม่ลาออกเสียก่อน


2 ในขณะที่เราเป็น Int.2 - 3 เราสามารถทำเรื่องขอไปดูงาน / วิชาเลือก / Elective ที่สาขาที่เราอยากเรียน ที่มหาวิทยาลัยที่เราอยากเรียนได้ครับ จะทำให้เรามั่นใจมากขึ้น และทำให้อ. เห็นภาพของเรามากขึ้น คล้ายๆการโฆษณาตนเองไปในตัว


3 ผลงานขณะที่เรียนอยู่ เกรดต้องไม่แย่เกินไปนัก เกรดดีได้ก็เป็นส่วนช่วย


4 ใบ Recommend - ก่อนการเรียนต่อ ทุกที่จะขอใบ Recommend ว่าเราเป็นคนอย่างไร พยายามหาคนเขียนที่มี Power และรู้จักเรามากพอที่จะเขียนอะไรดีๆให้ได้ครับ


5 เส้นสาย - ขอข้ามไป ไม่พูดถึงเรื่องกำลังภายในครับ


6 Attitude - เช่นศํลยแพทย์ก็จะต้องการคนที่สู้งานหนัก อดหลับอดนอน อึดๆหน่อย กุมารแพทย์ก็จะต้องการคนที่สามารถสื่อสารกับพ่อแม่ผู้ปกครองได้ สามารถอดทนอยู่กับเด็กได้เป็นต้นครับ


7 คุณสมบัติทั่วไป - ความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลา และอื่นๆต้องทีเสมอครับ บางสาขาวิชา บางสถาบัน หลังจากเรายื่นใบสมัครไปแล้ว เขาโทรถามพยาบาล ถามผู้ร่วมงานเลยนะครับ ว่าหมอชื่อนี้เป็นอย่างไร


8 งานวิจัยครับ ถ้ามีงานวิจัยเป็นของตัวเอง บางสถาบันจะรักมากๆๆๆๆ

0
IM35YD 22 เม.ย. 62 เวลา 22:26 น. 4

เรียนแพทย์ 6ปี แล้วไม่ต่อเฉพาะทางจะยังทำงานอยู่ได้ในปัจจุบันไหมครับ


แล้วเรื่องรายได้ สามารถทำรายได้เท่ากับคนที่เรียนเฉพาะทางได้ไหมครับ


หมายถึงว่า ทำงานมากกว่าเพื่อให้รายได้เท่ากันหนะครับ

1
จขกท 23 เม.ย. 62 เวลา 11:07 น. 4-1

** ปัจจุบันนี้ ทำได้ครับ อนาคตอีก 6 ปี ไม่รู้ เพราะเห็นเร่งผลิตกันเยอะเหลือเกิน ไม่รู้เร่งเกินไปหรือเหล่าด้วยซ้า รอดูกระบวนการควบคุมคุณภาพดีกว่าครับ การสอบ National license ก็ไม่ง่ายนัก


** ถ้าอยู่โรงพยาบาลรัฐ อยากบอกว่าไม่ต่างกันเท่าไหร่เลยครับ ดีไม่ดีแพทย์ทั่วไปที่อยู่โรงพยาบาลชุมชน จะได้มากกว่าแพทย์เฉพาะทางบางสาขาในโรงพยาบาลศูนย์ด้วยซ้ำ


** ถ้าอยู่โรงพยาบาลเอกชน แพทย์ทั่วไปได้น้อยกว่าแพทย์ที่จบเฉพาะทางอยู่แล้ว ขึ้นกับสาขาที่จบมาและความต้องการของโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ถ้าจบเฉพาะทางจนสุดทางจริงๆ อย่างน้อยๆ ก็น่าจะได้มากกว่า 1.5-3 เท่าของแพทย์ทั่วไปได้ เมื่อชม.ทำงานเท่ากันครับ ถ้าทำงาน 2 เท่าได้ก็น่าจะพอได้นะครับ


หมายเหตุ ไม่นับรวมแพทย์จามคลินิกเสริมสวย

0
จขกท 23 เม.ย. 62 เวลา 11:18 น. 5-1

ค่อนข้างใกล้เคียงกันครับ ต่างกันนิดหน่อย ตรงที่คำว่าแพทย์สี่เรามักไว้เรียกคนที่ไป fixed ward ในโรงเรียนแพทย์ ..... งงมะ งงชั่วร์ 555


เอาใหม่ๆ


ปรกติเรียนจบ 6 ปีก็ต้องไปใช้ทุน 3 ปี (โรงพยาบาลใหญ่ 1 ปี โรงพยาบาลชุมชน 2 ปี)ใช่มะ ... 80% ของแพทย์จบใหม่ก็ไปตามทางนี้แหละ คราวนี้ มันจะมีทางเลืิอกบ้างที่ไม่ได้ไปใช้ทุน 3 ปี ก็เช่นเลือก Fixed ward เลย พอออกมาใช้ทุนปีเดียวผ่านไปแล้ว น้องก็ไม่ต้องออกไปโรงพยาบาลชุมชนข้างนอก แต่เลือกอยู่ไปเลยวอร์ดใดวอร์ดหนึ่งแทนเป็นเวลาอีก 3 ปี หลังจากนั้นน้องจะสอบเฉพาะทางได้เลยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลที่น้องเลือกไป Fixed


นี่คือการ Fixed ward


แต่คราวนี้ มันจะมีกลุ่มเล็กๆอีกกลุ่มนึง ที่โรงเรียนแพทย์ดูตัวเอาไว้ ส่วนใหญ่มักหมายมั่นปั้นมือว่าจะให้เป็นอาจารย์ต่อ โปรไฟล็กลุ่มนี้มักจะเลิศหรูอลังการ เป็นที่ถูกตาต้องใจของอาจารย์มาก กลุ่มนี้ก็จะได้ออกไป ตจว แค่ปีเดียว แล้วกลับเข้ามาเรียนต่อในโรงเรียนแพทย์เลย ส่วนใหญาก็จะเรียนเป็น resident ไปเลย จบ 3 ปีสอบบอร์ด ถ้าอาจารย์ยังไม่เปลี่ยนใจหรือน้องไม่เปลี่ยนใจ ก็ไปเรียนต่อเมืองนอก กลับมาเป็นอาจารย์ต่อไป


ยังงงอยู่มะ ถ้างงกลับไปอ่านอีกทีนะ 555

อ่านจบครบ 3 รอบแล้วยังงงอยู่ก็ถามมาละกันครับ

0
ปี 1 22 เม.ย. 62 เวลา 23:29 น. 6

หนูกำลังจะขึ้นปี 1 ค่ะ อยากทราบว่าควรตั้งเป้าหมายเกรดรวมคร่าวๆเท่าไหร่คะ เอาประมาณไม่ถึงกับโดดเด่น แต่ก็ไม่ได้เป็นจุดด้อยค่ะ ถ้าด้านอื่นๆ เช่น performance เกรดในด้านที่เราจะต่อเฉพาะทาง บุคลิกภาพ ดี ก็มีโอกาสในการต่อเฉพาะทางที่ดีค่ะ

2
จขกท 23 เม.ย. 62 เวลา 11:27 น. 6-1

** ไม่อยากโดดเด่นแต่ไม่ด้อยใช่มั้ยครับ 555


** ง่ายมาก เกาะ mean ไปเลย อย่างน้อยๆน้องน่าจะได้ประมาณระหว่าง mean ถึง mean + 1SD ... ยังจำคณิตศาสตร์ได้อยู่ใช่มั้ยครับ อย่าเพิ่งทิ้งเน่อ ตอนอ่านงานวิจัยหรือทำงานวิจัยยังต้องใช้อยู่


** สำหรับน้องม.ปลายที่เข้ามาอ่านด้วย ... ต้องเข้าใจก่อนว่า ระบบการตัดเกรดของมหาลัย เราไม่ได้วัดเกณฑ์แล้ว สมัยม.ปลายน้องอาจจะชืนกับได้เกิน 80 คะแนนก็ได้เกรด 4 แล้ว แต่ในมหาลัยนี่ ได้ 80 คะแนน แต่เพื่อนๆได้กัน 90+ น้องก็ได้เกรด C+ C นะครับ (เทียบเป็นตัวเลขก็ประมาณ 2.0 - 2.5 จาก 4.0)


** ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกรดแย่และทุเรศจนเกินไป และเป็นปัญหากับการเรียนต่อ อย่างน้อยหนูต้องได้เกิน mean จ้ะ .... แต่อย่าลืมนะว่า -คณะนี้มันมีแต่ปีศาจ (ทั้งคนเรียนและคนออกข้อสอบนั่นแหละ ยากโคตร ... ล้อเล่นนะครับจารย์ แหะๆ) การเกาะ mean ก็ต้องขยันพอตัว เพราะคนอื่นๆเค้าก็มาจากระดับ top ของโรงเรียนเดิมทั้งนั้นครับ


** ถ้าน้องเกาะ mean ไปได้ อย่างน้อยๆก็เกียรตินิยมอันดับสองครับ ... ใช่ครับ คณะนี้มีคนได้เกียรตินิยมมากกว่าครึ่งคณะครับ


ถ้าด้านอื่นๆ เช่น performance เกรดในด้านที่เราจะต่อเฉพาะทาง บุคลิกภาพ ดี ก็มีโอกาสในการต่อเฉพาะทางที่ดีค่ะ


** อันนี้ไม่ใช่คำถามใช่มั้ยครับ 555

** ตอบว่าใช่ครับ ยังมีอย่างอื่นที่เพิ่มโอกาสในการเรียนต่อให้เราได้อีกเยอะ

0
ขอบคุณค่ะ 23 เม.ย. 62 เวลา 11:52 น. 6-2

ขอบคุณมากๆค่ะ พี่ตอบได้ดีมากๆเลยค่ะ มีประโยชน์จริงค่ะ :)


ส่วนหลังนั้นเป็นการขยายความ "เกรดที่ไม่โดดเด่นแต่ก็ไม่ได้เป็นุอุปสรรค" ค่ะ 555

0
แพทย์เอกชน 23 เม.ย. 62 เวลา 01:54 น. 7

- เรียนแพทย์ ม.เอกชน (รังสิต / สยาม) จะได้ร่วมการจับสลาก รับราชการหรือไม่

- หลังปี 64 ที่รัฐบาลแจ้งว่าไม่ทีตำแหน่งราชการ แพทย์ที่จบใหม่ จะทำยังไง

2
จขกท 23 เม.ย. 62 เวลา 11:31 น. 7-1

เรียนแพทย์ ม.เอกชน (รังสิต / สยาม) จะได้ร่วมการจับสลาก รับราชการหรือไม่


** ม.รังสิตเข้าร่วมการจับสลากเหมือนกันครับ ถ้าน้องต้องการนะ กฏกติกามารยาทเดียวกันทุกประการ จับปิงปองกล่องเดียวกันนี่ล่ะครับ คะแนนมากกว่าได้สิทธิก่อน

** ม.สยามไม่รู้ สมัยพี่จับฉลากยังไม่มีคณะแพทย์ในม.นี้ แต่เดาว่าคงพยายามทำให้เหมือนม.รังสิต


หลังปี 64 ที่รัฐบาลแจ้งว่าไม่ทีตำแหน่งราชการ แพทย์ที่จบใหม่ จะทำยังไง


** รอฟังประกาศครับ วุ่นวายแน่นอน น่าสงสารรุ่นหลังๆเหมือนกันนะ ยังไม่มีใครรู้ว่าจะออกมาแบบไหน ดีกว่าเดิทหรือแยากว่าเดิม ... คหสต. น่าจะแย่กว่าเดิม

0
จขกท 24 เม.ย. 62 เวลา 08:42 น. 7-2

https://hr.moph.go.th/site/hr_moph/?page_id=22345


อันนี้เป็นการจัดสรรแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร ผู้ทำสัญญาปฏิบัติงานชดใช้ทุนของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี พ.ศ. 2562


ลองเข้าไปอ่านส่วนของประกาศรับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนายแพทย์ปฏิบัติการ (ม.เอกชน) ดูนะครับ ว่าสมัครอย่างไร

0
จขกท 23 เม.ย. 62 เวลา 11:38 น. 8-1

สอบถามเรื่องความแตกต่างการเรียนต่อเฉพาะทางของแพทย์ CPIRD กับ กสพท.ค่ะ


** ไม่แตกต่างกันมากครับ แพทย์กสพท ตามโรงเรียนแพทย์ใหญ่ๆอาจจะได้เปรียบมากกว่านิดหน่อยแต่ก็นิดหน่อยจริงๆ คือตอนเรียนปีี 4 - 5 - 6 ก็จะเรียนในโรงเรียนแพทย์ใหญ่ๆไง อาจารย์ก็จะได้เห็นหน้ามากกว่า มีโอกาสได้เสนอหน้ามากกว่า ลองไปอ่านเมนต์ที่ 1-2 กับ 2-2 เพิ่มดูนะครับ

0
จขกท 23 เม.ย. 62 เวลา 12:55 น. 9-1

รายได้ของตัวเองไม่บอก 555 อายเค้า


ยกตัวอย่างเงินเดือนหมอจบใหม่ให้ดูแทนละกันครับ แหะๆ


เงินเดือนหมอจบมาจริงๆก็พอๆกับอาชีพรับราชการอื่นๆล่ะครับ คืออยู่ที่ประมาณ 15000+ ก็ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ จบมาทำงานปีแรก (Intern 1) ก็จะมีรายได้รวมประมาณเดือนละ 40000-60000 บาท ขึ้นกับนโยบายของแต่ละโรงพยาบาล จำนวนเวรที่น้องต้องอยู่ ระดับความเยินและดวงของน้อง ราคาขายเวรและจำนวนเวรที่น้องรับซื้อมา


อ้าวๆ อย่าเพิ่งงงครับ สิ่งที่น้องจะได้แน่ๆคือ


1 เงินเดือน - ประมาณ 15000 + มั้ง ไม่รู้ตอนนี้ start เท่าไหร่แล้ว


2 เงิน พตส (เงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข) ประมาณ 5000-15000


3 เงินค่าไม่ทำเวช (หมายถึงให้ตอบแทนในกรณีที่น้องไม่ไปทำเวชปฏิบัติส่วนตัว พูดง่ายๆคือ ถ้าน้องเปิดคลินิกของตัวเองเมื่อไหร่ เงินก้อนนี้อดครับ) ประมาณ 10000


ทั้งสามอันนี้รวมกันจะได้ประมาณ 30000 - 40000 แล้วครับ ที่เหลือจะมาจากเงินค่าเวร เงินค่าทำงานอื่นๆ ซึ่งแล้วแต่ว่าแต่ละโรงพยาบาลจะให้น้องเวรละเท่าไหร่ โดยทั่วไป 8 ชม. จะให้ 550 บาท (ราคาเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลง) แต่ถ้าอยู่ทั้งคืนทั้งคืน 16 ชม จะให้ 1100 บาท และอยู่วันหยุดคิิด 24 ชม. = 1650 บาท เป็นต้น (บางโรงพยาบาลให้มากกว่านี้ เช่น 8 ชม. ให้ 1100 เป็นต้น)


สำหรับ Intern 1 โดยทั่วไปมักจะอยู่เวรประจำหอผู้ป่วยประมาณ 8-15 เวรต่อเดือน แต่ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น จำนวนเพื่อนแพทย์ที่อยู่ด้วย (พูดง่ายๆคือถ้ามีคนเยอะ ก็มีตัวหารเยอะ ก็อยู่เวรน้อยหน่อย) และปริมาณงานของโรงพยาบาลหรือแผนกหรือหอผู้ป่วยนั้นๆ


นอกจากนั้นก็จะมีเวรกองกลางที่เองแพทย์ทั้งโรงพยาบาลมาช่วยกันอยู่ เช่น เวรห้องฉุกเฉิน เวรออกชันสูตรศพ เป็นต้น ซึ่งเวรพวกนี้ หมอที่มีอายุมากๆหรือหมอที่เรียนต่อเฉพาะทางไปแล้วมักจะไม่อยากอยู่ (น้องลองนึกภาพหมอเด็ก แต่ต้องไปตรวจผู้ป่วยขาหัก - ก็ไม่มีหมอเด็กคนไหนอยากตรวจเพราะไม่ใช่สาขางานของตัวเอง) ซึ่งบรรดาเวรพวกนี้ก็จะเอามาขายกัน ส่วนใหญ่ก็ขาย Intern 1 นั่นแหละครับ เพราะเพิ่งจบ มีความรู้ทุกแขนง (แบบตื้นๆ) และยังไม่แก่มาก สามารถอยู่เวรหลายๆวันติดกันได้ โดยส่วนใหญ่ก็จะเพิ่มราคาให้เป็น 2 เท่าหรือ 3 เท่าก็ว่าไป ถ้าน้องรับเวรพวกนี้เยอะ รายได้ต่อเดือนก็จะเยอะตามครับ


รวมทั้งหมด เงินเดือนหมอจบใหม่ ในกรณีที่ออกไปใช้ทุนในโรงพยาบาลรัฐบาล (Intern 1) ก็ประมาณ 50000+ ต่อเดือนครับ


อื่นๆก็มี P4P ที่ทะเลาะกันอยู่จนถึงปัจจุบัน จ่ายบ้างไม่จ่ายบ้างตามแต่สถานการณ์ทางการเงินของแต่ละโรงพยาบาลครับ


แต่ถ้าแพทย์ทั่วไป อยู่โรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ก็ 100000+ ทั้งนั้นครับ ถ้าจบเฉพาะทางก็จะได้เพิ่มขึ้นไปอีกตามความต้องการของตลาดครับ

0
missmu915 23 เม.ย. 62 เวลา 12:29 น. 10

ถามว่าเทรนจบอะไรมา

และถามว่า สาขาอะไรน่าไปเทรน หลังยุคหมอล้นตลาด ปี 65 คะ

4
จขกท 23 เม.ย. 62 เวลา 12:49 น. 10-2

** 5555 เรียนเฉพาะทางอะไรกับที่ไหน อันนี้บอกไม่ได้ครับ เดี๋ยวสาวถึงตัว 555 ยกเว้นว่าน้องมีความจำเป็นหรือมีเหตุผลอย่างอื่นที่จะช่วยน้องในการตัดสินใจ ลองแจ้งเหตุผลมาครับ เราอาจจะคุยกันหลังไมค์ได้


** สาขาอะไรน่าเทรน ก้ขึ้นอยู่กับว่าน้องให้ priority อะไรในชีวิตเป็นอันดับแรกครับ

** อยากเรียนที่สบายใจ เลือกสาขาที่ชอบเลยครับ ไปให่สุดทาง ไม่ต้องแคร์ตลาด สมัยนี้น่าจะทุกสาขามีให้เรียน Fellow ต่ออยู่แล้ว บางทีไปไกลถึง sub fellow ด้วยซ้ำ บางสาขาไม่มีให้เรียนในเมืองไทยด้วยเหอะ 555+ เช่น Imaging forensic ที่ตอนนี้จุฬาฯ กำลังจะส่งไปเรียนเมืองนอกคนนึง ซึ่งพวกนี้จบมาปีละไม่กี่คน ยังไงก็ไม่ล้นตลาดง่ายๆแน่ๆ ยิ่งเก่งจริงเดี๋ยวก็จะมีโรงพยาบาลมาจองตัวเองครับ

** หรืออยากเรียนที่หางานง่ายๆไม่ต้องเรียนนาน แพทย์สภาจะมีประกาศสาขาขาดแคลนออกมาเป็นระยะๆเองครับ (ส่วนใหญ่ก็สาขาเดิมๆ เช่นจิตเวชเด็กและวัยรุ่น นิติเวชเจ้าเดิม 555+) พวกนี้เรียนได้เร็ว จบออกมาก็หางานไม่ยากนัก โรงพยาบาลรัฐอยากได้


0
missmu915 23 เม.ย. 62 เวลา 17:56 น. 10-3

ขอบคุณค่ะ อาจต้องมาคุยกันทีหลัง

เรากำลังเลือกสาขาที่เทรนอยู่ค่ะ

0
สุดยอดไปเลย 23 เม.ย. 62 เวลา 23:30 น. 10-4

missmu915 เรียนหมอหรอครับ พึ่งรู้นะเนี่ยยยยย ว้าว ตามมาหลายกระทู้ ที่แท้เปนหมอนี่เอง ว้าว สุดยอดไปเลย เอ้บซีครับ ขอให้เลือกสาขาที่เทรนได้ไวไวนะครับ สุดยอดจริงๆ ผมคาดไม่ถึง อึ้งไปเลย

0
จขกท 23 เม.ย. 62 เวลา 12:56 น. 11-1

คนเดียวกับเมนต์ 9 ใช่มั้ย 555 พี่ตอบช้าไปนิดครับ

0
Panida32 23 เม.ย. 62 เวลา 14:45 น. 12

สอบ BMAT กับ IELTS ถ้าจะเข้าแพทย์ กสพท ต้องสอบมั้ยคะ หรือเฉพาะแพทย์อินเตอร์

ไม่เข้าใจเลย อธิบายให้หน่อยค่ะ ถ้าไม่ทราบก็ไม่เป็นไรค่า


3
ผ่านมา 23 เม.ย. 62 เวลา 14:56 น. 12-1

ขออนุญาติตอบนะ BMAT กับ IELTS ใช้สำหรับยื่นพอร์ตรอบ1 กับ แพทย์อินเตอร์ ส่วนรอบ3 กสพท.ใช้แค่คะแนน ความถนัดแพทย์กับ9 วิชาสามัญ ไม่เกี่ยวกัน


0
จขกท 23 เม.ย. 62 เวลา 21:40 น. 12-3

แหะๆ สมัยผมไม่มีบีหม่งบีแมธอะไรทั้งสิ้น วัดใจกันด้วยการสอบเอ็นทรานซ์ (ถ้ารู้จักนี่แก่มากแล้วนะน้องนะ 555+) พร้อมกันไปเลยทั้งประเทศ ดังนั้นพี่ตอบคำถามนี้ไม่ได้ครับ แหะๆ

0
Guest 23 เม.ย. 62 เวลา 15:57 น. 13

หนูมีปัญหาเรื่องเข่าคะ คือถ้าเดินมากๆ (เดินมากๆของหนู แค่เดินติดต่อกัน 25 โดยไม่หยุดก็จะปวดแล้ว ซึ่งคนปกติจะไม่เป็นไร เคยไปหาหมอแล้วคะ หมอให้ทำกายบริหารอยู่คะ) จะปวดเข่า ถ้าปวดแล้วหลังจากนั้นจะเป็นปัญหาทั้งเดินขึ้นลงบันได หรือเดินแล้วจะปวดคะ ปกติจะพัก 1 2 วันจึงจะหายเป็นปกติ ถ้าเรียนหมอจะเป็นปัญหามากไหมคะ

2
missmu915 23 เม.ย. 62 เวลา 20:13 น. 13-1

เรียนไม่ได้แน่ๆ ถ้าราววอร์ด คอื2-3ชั่วโมงต่อครั้ง และวันละ 2รอบ จะทนไหวมั้ย

0
จขกท 23 เม.ย. 62 เวลา 21:39 น. 13-2

** เห็นบอกว่าไปหาหมอแล้ว มีการส่งรักษาแล้ว แสดงว่าต้องได้การวินิจฉันแล้วใช่ไหมครับ ถ้าบอกการวินิจฉัยมาจะบอกอะไรได้มากขึ้นครับ หรือไม่ก็เอาใบรับรองแพทย์ บอกคุณหมอเจ้าของไข้เขียนเป็นชื่อโรคภาษาอังกฤษ ติดต่อไปที่มหาวิทยาลัยโดยตรงเลยก็ได้ครับ หรือถ้างง ไม่รู้จะติดต่อทางมหาวิทยาลัยอย่างไร ลองถามความเห็นเบื้องต้นของคุณหมอที่กำลังรักษาอยู่ก็ได้ครับ ในการแพทย์มีส่วนที่เรียกว่าการดำเนินโรคและการพยากรณ์โรค เช่นในกรณีของน้องเราคงไม่ได้สนใจว่าตอนนี้เป็นอย่างไร เพราะตอนนี้น้องยังไม่ได้เรียน แต่เราสนใจว่าเมื่อรักษาไปแล้วน้องมีแนวโน้มจะเป็นอย่างไรมากกว่าครับ ซึ่งขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโรคแต่ละโรคครับ

** แต่โดยทั่วไปก็คงเป็นปัญหาอยู่บ้างเพราะบางอย่างเช่นการผ่าตัดก็ต้องยืนนานๆหลายชั่วโมงเป้นต้น บางอย่างอาจคุยกับอาจารย์ได้ครับ ค่อนข้างตรงไปตรงมาเพราะอาจารย์ก็เป็นหมอทั้งนั้น


** อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มนักเรียนแพทย์เองก็มีโรคอยู่หลายโรคอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโรคลมชัก โรคเลือดออกในปอด กระดูกสันหลังคดอย่างรุนแรง ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดที่ว่ามานั้นต่างก็เป็๋นปัญหากับการเรียนทั้งสิ้น แต่หลายๆคนก็ฝ่าฟันจนจบออกมาได้ครับ รายะละเอียดค่อนข้างเป็น case by case คงต้องค่อยๆดูกันไป สบายอย่างตรงที่อาจารย์ในคณะนี้ก็เป็นหมอทั้งนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจรายละเอียดของตัวโรคอยู่ครับ


** อีกอย่างที่สามารถทำได้คือปรึกษาแพทย์ประจำตัวครับ หลายต่อหลายครั้งที่การรักษาจะเปลี่ยนไปตามความต้องการในการใช้งานของคนไข้ เช่นถ้าเป็นระดับนักเรียนธรรมดาที่ไม่ได้จำเป็นต้องเดินมากนัก การรักษาที่แรงเกินไปอาจจะไม่ได้คุ้มความเสี่ยงมากนัก แต่ถ้ามีความจำเป็นบางอย่างที่มีเหตุผลมากพอ แผนการรักษาก็สามารถปรับได้ครับ

0
สู้ๆ 23 เม.ย. 62 เวลา 16:44 น. 14

สอบถามว่า ช่วง pre-clinic ปี 1-3 เกรดได้ยากหรือง่ายกว่า clinic ปี 4-6 ครับ


ถ้าเกรดช่วง pre-clinic ไม่ดี ยังมีลุ้นเพิ่มเกรดได้สักแค่ไหนครับ




ขอบคุณพี่มากครับ

1
จขกท 23 เม.ย. 62 เวลา 21:56 น. 14-1

โดยทั้วไปเกรดปี 1-3 จะได้ง่ายกว่าปี 4-6 บ้างครับ แต่ก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น


ปี 1-3 เราค่อนข้างจะเรียนทฤษฏีจ๋าๆ ไม่ได้สัมผัสกับส่วนที่เป็นตัวโรคมากนัก ปริมาณเนื้อหาที่จะออกสอบค่อนข้างจำกัดอยู่พอสมควร จึงสามารถใช้กำลังลุยเข้าไปให้จบได้ครับ


แต่ปี 4-6 เนื้อหาจะกว้างมาก ศัพท์ภายในเราเรียกทะเลมาก คืออ่านยังไงก็ไม่มีทางจบ มองไปก็ไม่เห็นฝั่งสักที ... พูดแล้วเศร้า 555+ ดังนั้น น้องต้องอ่านเยอะมากและกว้างมาก ลองนึกภาพตามก็ได้ครับ ปีสี่ใสๆเพิ่งขึ้นไปดูคนไข้สามเดือนแรกในชีวิต ต้องอ่านเนืือหาอายุรกรรม ที่กว้างมากและอาจารย์ก็สอนไม่หมด อ่านเองยังไม่รู้จะอ่านยังไงให้หมดเลยน้องเอ๋ย


ดังนั้นจะเห็นว่าปี 4-6 จะยากกว่าปี 1-3 อยู่บ้าง แต่ด้วยความที่คณะเราตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม ดังนั้นน้องก็ต้องขยันให้มากกว่าเพื่อนร่วมกลุ่มมากๆครับ ก็จะสามารถตีเกรดขึ้นมาได้ ต้องไม่ลืมว่าพื้น Pathophysio เราไม่ได้ดีนัก คงต้องค่อยๆซ่อมไปด้วยครับ เพราะก็ต้องบอกจามจรงว่า การรู้ Anatomy, physiology, pathophysiology นั้น สามารถสร้างความแตกต่างได้มากจริงๆเมื่อเรียนชั้นสูงๆขึ้นไป มันจะช่วยให้น้อยเข้าใจอะไรได้ง่ายขึ้น (และใช้ส่วนสมองที่ต้องจำน้อยลง) และน้องก็จะสามารถจำได้นานขึ้นด้วย


เพิ่มเติมนอกเรื่อง เนื้อหาส่วน Preclinic ที่บางคนอาจไม่เห็นความสำคัญเช่น Biostatistic. ตอนเรียนช่วงแรกๆน้ออาจไม่รู้สึกหรอกครับ ว่ามันจำเป็นยังไง แต่พี่อยากบอกว่า อย่าทิ้งนะน้องเอ๋ย วันนึงที่น้องตัดสินใจเรียนต่อเฉพาะทางขึ้นมา Biostatistic จะช่วยประหยัดเวลาน้องได้เป็นหลายเดือนที่ไม่ต้องต่อคิวไปคุยกับนักวิจัย (นักวิจัยที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ และแพทย์ที่ไม่มีความรู้ทางวิจัย คุยกันไม่ค่อยรู้่เรื่องหรอกน้องเอ๋ย อย่างน้อยหนูก็ต้องรู้บ้าง แล้วชีวิตจะดีขึ้นเยอะ)


สรุปดีกว่า นอกเรื่องไปละ


ก็ลุ้นได้ครับ แต่อย่ลืมว่า


1. ผ่านมาครึ่งทางแล้ว ถ้าเกรด 3 ปีแรกน้องได้ 3.4 น้องอยากได้เกรดจบ 3.6 ... คิดคร่าวๆที่เหลือน้องก็ต้องทำได้ประมาณ 3.8 ทุกเทอม ซึ่งไม่ง่ายนัก

2. เนื้อหาเยอะ แต่มองอีกแง่หนึ่งก็คือ เป็นเนื้อหาที่ยังไงน้องก็ต้องเอาไปใช้หลังจบ 6 ปี มันอาจจะกระตุ้นให้น้องอยากอ่านมากกว่าช่วงปี 1-3 (หลายคนเป็นแบบนี้จริงๆนะ)

0
Fahsai 23 เม.ย. 62 เวลา 18:07 น. 15

ตอนนี้เรียนหมออยู่ค่ะ อยากทราบว่าระหว่างfix wardกับจับฉลากมีข้อดีข้อเสียต่างกันยังไงคะ เเล้วเเบบไหนที่ได้เจอคนไข้เยอะกว่าคะ เเล้วเเบบไหนมีโอกาสต่อเฉพาะทางได้มากกว่ากันคะ

4
missmu915 23 เม.ย. 62 เวลา 20:12 น. 15-1

fix wardก็งานหนัก เงินน้อยอ่ะ

โอกาสได้ทุนเรียนต่อ สมัยนี้พอๆกันแล้วค่ะ fix wardไม่ได้เปรียบเลย


0
จขกท 24 เม.ย. 62 เวลา 08:16 น. 15-2

ข้อดีข้อเสียต่างกันชัดเจนครับ เอาที่เป็นคำถามก่อนละกัน


Fix ward ก็จะเจอแต่คนไข้ที่เราสนใจ เช่น Fix สูติก็จะเจอแต่เคสสูติ. ตรงไปตรงมาใช่มั้ย พิมพ์ทำไมเนี่ย 555 แต่ในขณะที่จับฉลาก น้องก็จะได้เจอคนไข้ที่หลากหลายกว่ามาก เช่น สูติ Newborn Trauma เบาหวาน ไตวาย Etc. แต่ส่วนมากที่โรงพยาบาลชุมชนน้องก็จะไม่ได้รักษาอะไรมากมายนักหรอกนะครับ อุปกรณ์หรือทีมงานอาจจะไม่ได้พร้อมนัก ซึ่งต่างกับ Fix ward ที่มักจะทำการรักษาได้ลึกกว่า


ความรู้มี Half life ของมันครับ ถ้าน้องไม่ใช่คนที่ขยันอ่านหนังสือหรือตามอัพเดทความรู้ ภายใน 3 เดือนของการไปอยู่รพช ความรู้ของน้องจะลดลงจนสังเกตได้ ชีวิตรพช (จับฉลาก) สบายกว่าจริง ไม่มีคนมาบังคับให้อ่านหนังสืออีกแล้ว ถ้าว่างจะทำอะไรก็ได้ แต่เชื่อพี่เหอะว่า แค่ 3 เดือนที่น้องเผลอไป มันเร็วมาก ความรู้น้องจะไปไหนก็ไม่รู้ 555


ผิดกับ Fix ward ที่คิดง่ายๆว่า น้องจะถูกกึ่งๆบังคับให้อ่านหนังสือเรื่อยๆ ยิ่งถ้าเป็น Fix ward ที่สอบบอร์ดได้ อาจารย์จะเข้มงวดกับเรามากกว่าแบบที่สอบไม่ได้ เราก็จะได้เจอกับคนไข้ที่น่าสนใจมากกว่า ตรงกับที่เราอยากเรียนมากกกว่าด้วยครับ


ปนิมาณงาน ไม่ต้องสงสัย Fix ward งานหนักกว่าอย่างน้อยๆก็ 3 เท่า ปริมาณคนไข้อาจจะน้อยกว่าจริง แต่งานโดยรวมหนักกว่ามาก (ปริมาณคนไข้น้อยกว่าเพราะว่า ถ้าอยู่รพช บางทีเราต้องตรวจเอาปริมาณเข้าว่า เช่น ตรวจคนไข้เบาหวาน 50 คนใน 3 ชม. เป็นต้น)


งานหนักกว่า เงินยังน้อยกว่าอีกตะหาก 555 ยิ่งถ้ารพช ไหนจ่ายเงินเวรเรทดีๆ บางทีเงินต่างกันได้ 2 เท่าเลยก็มีครับ


แล้ว Fix ward มีข้อดีอะไรบ้าง


เยอะครับ ยกตัวอย่างละกัน


1. ไม่ต้องเจอคนไข้ที่ไม่อยากเจอ เช่น หมอบางคนไม่อยากทำคลอดเลย ไม่ว่าจะทำไม่เก่ง กลัวปัญหาแทรกซ้อนหรืออื่นๆ ถ้าน้องเลือกมา Fix ward น้องก็จะเจอกับเคสเฉพาะทางของเราเองครับ


2. ได้เลือกจังหวัดก่อน ลดความเสี่ยงในการจับฉลากไปไหนก็ไม่รู้ ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่อยากอยู่จังหวัดใหญ่ๆ ไม่ต้องไปแย่งกะใครเค้า ปรกติคนที่ fix ward จะประกาศผลตั้งแต่ก่อนสิ้นปีครับรอบสองช้าหน่อยก็ไม่น่าเกินต้นปี ดังนั้นตอนที่เค้าจับสลากกันช่วงเมษา น้องก็จะมีจังหวัดที่ตัวเองต้องไปเรียบร้อยแล้ว เอาข้าวกล่องไปนั่งชมบรรยากาศการจับสลาก เอาทิชชู่ไปปลอบใจเพื่อนๆ ช่วยซับน้ำตาได้ครับ


3. สอบบอร์ดได้เลย สำคัญมากแต่ดันเอามาไว้ข้อ3 555 พูดง่ายๆคือประหยัดเวลาชีวิต เรียนจบเร็วกว่าชาวบ้านเค้า 2 ปี สามารถเรียนต่อเฉพาะทางของเฉพาะทางได้เลยอีกตะหาก ไม่มีทุนผูกพันใดๆเพราะถือว่าใช้ทุนไปด้วย Fix ward ไปด้วยแล้ว แต่ก่อนสมัครดูให้ดีๆนะครับ ไม่ใช่ทุกที่ที่จะสามารถสอบได้ โรงพยาบาลไหนที่สามารถสอบบอร์ดได้ เช่น จันทบุรีหรือชลบุรี อัตราการแข่งขันจะสูงกว่าโรงพยาบาลที่สอบไม่ได้ชัดเจน


4. โอกาสไปเรียนต่อมากขึ้นเล็กน้อย ในกรณีที่น้องไม่สอบบอร์ด อย่างน้อยอ.ก็จะเห็นความตั้งใจว่า เราอยู่กับชีวิตของเฉพาะทางแบบนี้ได้นะ อย่างน้อยก็ทนมา 3 ปีแล้วนี่ ช่วงเรียนต่อปีแรก Performance น้องจะดูดีกว่าเพื่อนร่วมรุ่นมาก เพราะอยู่กับคนไข้เฉพาะทางของตัวเอง ได้ฝึกหัตถการอยู่เรื่อยๆตลอด 3 ปี ... แต่อย่าประมาทไป -ความรู้ที่ว่า ในโรงเรียนแพทย์ประมาณปีนึงก็จะไล่กันทันแล้วครับ 555+


ข้อเสียก็เยอะครับ


1. น้องต้องตัดสินใจตั้งแต่ก่อนจบ Extern ว่าจะไปทางไหน ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะค้นพบตัวเองได้ในเวลานั้น การ Fix ward แล้วไม่จบ ขอออกมาก่อน ประวัติเราก็อาจจะดูหมองไปเล็กน้อยครับ


2. เงินน้อย 555+ ตรงไปตรงมา ไม่ต้องการการอธิบาย


3. งานหนัก งานยาก ก็ไม่แปลกอะไร


4. ชีวิตหมอชุมชนเป็นชีวิตอีกแบบนึง ที่ถ้าไม่ได้ไปอยู่ก็อาจจะไม่รู้สึก เช่น วิถีชาวบ้าน การทำงานร่วมกับทีม การวางโครงการใหม่ๆให้กับโรงพยาบาล การได้รับเชิญไปเป็นประธานนงานแต่ง เพียงเพราะเราเป็นหมอ หรือแม้กระทั่งการโดนตามไปทำคลอดควาย 555+ มีจริงๆนะน้องเอ๋ย เพื่อนพี่โดนมาแล้ว


จริงๆอื่นๆยังมีอีกเยอะครับ ค่อยๆลองสำรวจตัวเองไปเรื่อยๆก็ได้ครับว่าชอบชีวิตแบบไหน

0
Nammon 23 เม.ย. 62 เวลา 18:21 น. 16

อยากเกี่ยวกับการสัมภาษณ์ต่อเฉพาะทางค่ะ ถ้าเรามีผลงานเเต่พวกกิจกรรมในคณะเช่นกรรมการชั้นปี สามารถให้อาจารย์ที่ปรึกษาเขียนใบrecommendให้เเล้วใช้ประกอบการสัมภาษณ์ได้ไหมคะ หรือจำเป็นต้องใช้เเต่ผลงานด้านวิชาการเเพทย์อย่างเดียวคะ

ขอบคุณค่ะ

1
จขกท 24 เม.ย. 62 เวลา 08:24 น. 16-1

ได้สิครับ


น้องเป็นนางนพมาศวันลอยกระทง เป็นประธานจัดงานกีฬาสี เป็นลีดคณะ เป็น Webmaster ใส่ไปได้หมดล่ะครับ


... แต่อาจารย์จะสนใจมากน้อยนั่นอีกเรื่องนะครับ 555


ปรกติใน CV (Curriculum vitae - เอกสารสำคัญมากที่น้องต้องใช้ความสามารถในการรังสรรค์มันขึ้นมา เพื่อใช้ในการเรียนต่อ สัมภาษณ์งาน etc.) จะมีส่วนหนึ่งเป็นหัวข้อของ Extracurricular activity อยู่แล้วครับ


ยกตัวอย่างของจริง เพราะตอนนี้กำลังตรวจ CV ของน้องคนนึงอยู่พอดี


In precession of Beauty queen contest in Loy Krathong Festival at Triam Udom Suksa Secondary School, Bangkok 20xx


หัวข้อนี้ก็ใส่ได้ครับ ไม่ผิด ไม่น่าเกลียด (ละปีไว้เพื่อ privacy)


แต่จะให้ดี ช่วยให้มีหัวข้อทางวิชาการซักหน่อยนะครับ 555


ละก็ไม่ต้องย้อนมากนัก -พวกเคยคัดลายมือได้รางวัลที่ 1 ตอนอนุบาลสามไม่ต้องใส่มานะครับ 555 อันนั้นเกินไป


ถ้าจะให้ดี ถ้ามีงานวิจัยซักชิ้นหรือเคยไปประกวดงานวิจัยซักรอบ อาจารย์บางสถาบันจะเลิฟมากเป็นพิเศษครับ

0
จขกท 24 เม.ย. 62 เวลา 08:32 น. 17-1

ตอนใช้ทุนต่างจังหวัด

นอนใน รพ.ครับ มีห้องพักแพทย์ ทุก รพ.

แต่ส่วนใหญ่ จะค่อนข้างเก่า แล้วก็ ไม่มีแอร์นะครับ ยกเว้นโชคดี

รุ่นพี่ที่มาอยู่ก่อนทนไม่ไหวติดไว้ให้ แต่ส่วนใหญ่เสร็จคนเก่าครับ

เจ้าของทุน คือ กระทรวงสาธารณสุข ครับ


********************************************************************


มีคนมาช่วยตอบ เย่ๆ ขอเสริมคำตอบของผมไปละกันนะครับ


หอมีให้ครับ น่าจะมีให้ทุกโรงพยาบาลแล้วนะเดี๋ยวนี้


ส่วนน้องจะต้องแชร์กับใครหรือรับสภาพมันได้มั้ยอันนั้นอีกเรื่องนะครับ


ถ้าอยู่ รพช บางทีให้เป็นบ้านในโรงพยาบาลมาเลยก็มีครับ บางทีให้ห้องพิเศษคนไข้มาห้องนึงก็มีเหมือนกันครับ 555 อันนี้เรื่องจริงนะ


สรุปสั้นๆว่า มีที่ซุกหัวนอนแน่ๆ แต่สภาพนี่ตอบไม่ได้ครับ ขึ้นกับเงินบำรุงโรงพยาบาลและขึ้นกับว่าหมอคนที่มาอยู่ก่อนหน้าเราเค้าปรับปรุงไว้แค่ไหนแล้วครับ


โชคดีก็มาพร้อมแอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น ตู้เย็นมักไม่ค่อยมีมาด้วยเพราะเจ้าของเก่ามักจะขนกลับไปพร้อมตัวเอง ยกเว้นโรงพยาบาลมีให้ TV อาจจะมีแต่สัญญาณมักห่วย บางที่มีวิทยุให้แทน 555+


โชคร้ายหน่อยก็มุ้งลวดขาด ฝ้ารั่ว ก็ซ่อมเอาครับ บางที่เป็นชีวิตธรรมชาติหน่อย ก็อยู่กับยุง จิ้งจก ตุ๊กแกไป บางคนเจองูก็มีครับ (แนะนำว่า ถ้าเจองู ให้ไปตามพวกเวรเปลหรือยามมาครับ พวกนี้ชอบมาก จับงูไปลงหมอลงกระทะผัดเผ็ดหมดล่ะครับ 555)


ถ้าจะอยู่นาน ปรับปรุงเองเลยครับ อย่างน้อยลงเวรมาเหนื่อยๆ จะได้มีที่นอนสบายๆ เป็นอานิสงค์ให้คนต่อๆไปด้วยครับ

0
Bbbb 23 เม.ย. 62 เวลา 19:11 น. 18

ถ้าจบปี6แล้ว อยากเรียนต่อเฉพาะทางด้านจิตวิทยา ก็คือไปคุยกับอ.ในรพ.ที่เราสังกัดอยู่เลยอ่อคับ

3
missmu915 23 เม.ย. 62 เวลา 20:11 น. 18-1

ต้องเพิ่มพูนทักษาะก่อน1ปีค่ะ ไปคุยเลยเขาก็ยังไม่รับทันทีหรอก มันมีขั้นตอน

0
จขกท 24 เม.ย. 62 เวลา 08:36 น. 18-2

เอาเกสารปี 2561 มาให้อ่าน


http://kpo.moph.go.th/webkpo/news_file/0006220180419165915.pdf


ลองอ่านดู บางสาขาไม่ต้องใช้ทุนเลย บางสาขาใช้ปีเดียว บางสาขาต้องใช้ครบถึงจะมีสิทธิสมัครได้เป็นต้น


ประกาศนี้เปลี่ยนทุกปีครับ ตามแต่ว่ากระทรวงต้องการอะไร แต่ว่า ส่วนใหญ่ก็จะคล้ายเดิมตลอดครับ


แต่ถ้าถามว่า ต้องเข้าไปคุยมั้ย - เข้าไปเลยครับ ไปคุยกะอาจารย์ในภาคนั่นแหละ ถ้ามั่นใจแล้วก็ไปประกาศตัวในอาจารย์ได้ทราบได้เห็นหน้าเลย อาจารย์จะได้เห็นความตั้งใจของเรา และคล้ายๆเป็นการจองที่ไว้กลายๆ 1 ตำแหน่ง เวลาเรากลับมาสมัครเรียน โอกาสเราจะได้ดีขึ้นครับ

0
ผปค.นักเรียนแพทย์ 23 เม.ย. 62 เวลา 20:47 น. 19

แพทย์ใช้ทุน 3 ปี มีโอกาสจับฉลากถูกส่งไปช่วยงานชายแดนภาคใต้หรือไม่ หรือ มีนักเรียนทุนแพทย์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นรองรับอยูแล้ว

4
จขกท 24 เม.ย. 62 เวลา 08:54 น. 19-1

http://fliphtml5.com/elbls/lgls/basic


เอาของจริงปี 2561 ไปดูได้เลยครับ 555+


แต่ต้องบอกนะครับว่า ตามรางนี้เปลี่ยนทุกปี บางปีบางจังหวัดรับน้อย บางปีบางจังหวัดรับเยอะ อันนี้บอกล่วงหน้าไม่ได้ครับ


หมายเหตุ จริงๆแทบทุกจังหวัดมีนักเรียนทุนอยู่แล้วนะครับ มากน้อยแตกต่างกัน ไม่รู้เหมือนกันว่าเดี๋ยวนี้เค้าเรียกว่าอะไร 555+ แต่โดยทั่วไป จุฬาฯจะดูภาคตะวันออก + อีสานตอนล่างเล็กน้อย ศิริราชจะดูภาคตะวันตก ขอนแก่นรับอีสานไป เป็นต้นครับ

0
จขกท 24 เม.ย. 62 เวลา 09:09 น. 19-2

อันนี้ขอ Copy ความเห็น 21 มานะครับ จะได้รวมอยู่ในคำถามเดียวกัน


ปัจจุบัน โดยเฉพาะใน 3-4 จว.ภาคใต้ ผปค.ไม่ต้องห่วงนะครับ

แพทย์จบใหม่ขอลงเกินจำนวนที่ต้องการทุกปี เพราะได้สิทธิ์พิเศษหลายประการ

รวมทั้งการเรียนต่อเฉพาะทาง และเงินเพิ่มพิเศษ ฯลฯ

ถ้าอยากจะลง ต้องลุ้นจับสลากให้ได้ครับ

เฉพาะเด็กในภาคใต้ ก็เกือบหมดแล้วมั้งครับ

0
euphoria 24 เม.ย. 62 เวลา 09:31 น. 19-3

เดาว่าตำแหน่งที่ชายแดนใต้น่าจะน้อยลงเรื่อยๆ เพราะตอนนี้มีคณะแพทย์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ที่รับนักศึกษาในพื้นที่มีเป้าหมายให้เด็กทำงานในพื้นที่หลังเรียนจบ ร่วมกับของม.สงขลานครินทร์ที่ก็มีนักศึกษาโควตารพศ.ยะลาด้วยอีกจำนวนหนึ่ง

0
จขกท 25 เม.ย. 62 เวลา 12:42 น. 19-4

ก็เป็นไปได้อย่างความเห็นบนๆว่านะครับ กระทรวงคงอยากให้เด้กในพื้นที่อยู้มากกว่าครับ

0
นศพปี1 23 เม.ย. 62 เวลา 21:15 น. 20

อาจจะเป็นคำถามนอกๆไปนิดนึงนะครับ

คือว่า ผมกำลังจะเป็น นศพ ใน ม.หนึ่งทางภาคอีสานครับ คิดไว้ว่า เรียนจบ 6 ปี (หลังจากใช้ทุน) จะไปต่อที่ต่างประเทศ กังวลเรื่อง ใบ recommendation มากครับ ผมต้องทำยังไงถึงจะทำให้อาจารย์ที่มี power มาเขียน ใบ recommendation ให้ได้ครับ


ปล. ผมเป็นเด็กโครงการหนึ่งที่ปี 4-6 ต้องไปเรียนที่โรงพยาบาลข้างนอก ไม่ได้เรียนในโรงพยาบาลใหญ่ของโรงเรียนแพทย์ครับ

6
จขกท 24 เม.ย. 62 เวลา 09:16 น. 20-1

อ่าฮะ น่าสนใจๆ น้องปี 1 สนใจเรื่องเรียนต่อแล้ว


ยังไม่ต้องกังวลมากครับ สิ่งที่น้องควรจะต้องกังวลมากกว่าคือ เมื่อจบแล้วจะรู้หรือไม่ว่าอยากเรียนอะไร เอาจริงนะครับ น้องจำนวนมากจบมายังไม่รู้นะครับ ว่าจะต่อเฉพาะทางอะไร


นอกเรื่องอีกละ


ตอบคำถามดีกว่า


ไม่ยากมากครับ เดี๋ยวนี้ทุกโรงเรียนแพทย์มีระบบ Elective อยู่แล้ว น้องสามารถเลือกไปเรียนวิชาอะไรที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ ... ที่เค้าเปิดนะ 555+


อยากได้ใบ Recommend จากอาจารย์ ตอนมีโอกาส Elective ก็ไปเสนอหน้ากับอาจารย์ ทำตัวน่ารักๆ อ่านหนังสือเยอะๆ รับผิดชอบดูคนไข้ แอบเลียบๆเคียงว่าอยากเรียนต่อสาขาวิชานี้ ถ้าน้องดีจริง อาจารย์ก็เขียนให้ได้ครับ


หรืออยากเด่นกว่านั้น จะไป Elective เมืองนอกเลยก็ยังได้นะครับ (แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายมหาศาลและจ่ายเอง) บางโรงพยาบาลก็มี contact กับทางมหาวิทยาลัยอยู่แล้วก็จะไปง่ายหน่อย บางโรงพยาบาลเปิด Elective เป็น course ให้จ่ายเงินเป็นเรื่องเป็นราวเลยก็มี (ส่วนใหญ่เป็นฝั่งอเมริกา และแน่นอนว่าแพงระยับมาก)


แต่อย่างว่า ทั้งหมดนั้น based on ว่าน้องรู้แล้วว่าตัวเองอยากไปทางไหน ลองค่อยๆเก็บไปตอนช่วงปี 4-5 ครับว่าแต่ละเฉพาะทางมีบุคลิกอย่างไร

0
นศพปี1 24 เม.ย. 62 เวลา 16:24 น. 20-2

ผมแค่คิดๆไว้ จะได้วางแผนเก็บเงินถูกครับ 555 ผมจะไปหาข้อมูล Elective course ดูเพิ่มเติมครับ ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากๆเลย ขอบคุณพี่มากๆนะครับ

0
จขกท 24 เม.ย. 62 เวลา 17:22 น. 20-3

ลอง search facebook Elective Thailand ดูก็ได้ครับ เก่าแล้ว ไม่เห็นอัพเดท แต่น่าจะพอเห็นภาพบ้างว่าเปนยังไงครับ

0
จขกท 24 เม.ย. 62 เวลา 17:23 น. 20-4

หรือลองดูอันนี้ก็ได้ครับ อันนี้ขึ้นกับ มข Medical Elective Program, Khon Kaen University (MedElective)

0