Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

"วัดพระปรางค์" อุทยานประวัติศาสตร์และธรรมชาติ แดนศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com วันนี้พี่จะมาแนะนำ  อีกหนึ่งอุทยานประวัติศาสตร์สวยๆ ไปศึกษาแหล่งอารยธรรมเก่าแก่โบราณของไทยกัน  และหากน้องๆคนไหนที่ตอนนี้กำลังหาข้อมูลสำหรับไปเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์หรือหรือหาข้อมูลไปทำรายงาน พี่ขอแนะนำเว็บนี้ รูปสวยและที่สำคัญข้อมูลแน่นมาก  >>http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/index.php/th/<<
 
วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียงหรือวัดพระปรางค์
 

 

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ลักษณะฐานปรางค์องค์นี้มีลักษณะเป็นวิหารคด 3 ชั้น ก่อผนังทึบและเจาะช่องแสง ซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าเป็น พระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สําคัญไว้ภายใน มีอายุอยู่ในช่วงก่อนสุโขทัยตอนต้นอย่างแน่นอน เนื่องจากได้ขุดค้นพบฐานโบราณสถานก่อด้วยอิฐอยู่ใต้ฐาน พระวิหารหลวง
 


 

นอกจากนี้ยังพบกระเบื้องเชิงชายรูปนางอัปสรและเทวดา ซึ่งมีลักษณะร่วม สมัยศิลปะเขมรแบบบายน เช่นเดียวกับลายปูนปั้นยอดซุ้มประตูกําแพงวัดซึ่งทําเป็นรูปพระโพธิสัตว์ – อวโลกิเตศวร อยู่ด้านบนทั้ง 4 ทิศ ด้านล่างเป็นรูปเทพธิดานั่งในกรอบซุ้มด้านล่างเป็นรูปนางอัปสรร่ายรํา สําหรับความสําคัญวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงเชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของเมืองเชลียง ตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีนาวนําถม (ประมาณ พ.ศ. 1780) มาแล้ว โดยมีหลักฐานยอดซุ้มปูนปั้นประตูทางเข้าวัด ซึ่งมีลักษณะรูปแบบศิลปะสมัยบายน



มีการสร้างมาตั้งแต่ก่อนสมัยขอมเรืองอำนาจถึง 800 ปี ที่ตั้งของวัดแห่งนี้มีลักษณะที่เคยเป็นศูนย์กลางของชุมชนมาก่อนและเมืองนั้นก็คือ “เมืองเชลียง”เมืองที่มีอายุคาบเกี่ยวกับยุคทวารวดี ซึ่งวัดพระศรีมหาธาตุราชวรมหาวิหาร มีปรากฎหลักฐานแน่ชัดใน ศิลาจารึกหลักที่ 1 และเป็นวัดที่มีความสำคัญมาถึงสมัยธนบุรี

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร โบราณสถานสามัญ มีดังนี้

ปรางค์ประธาน


 

ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ ลักษณะรูปแบบ สถาปัตยกรรมจัดอยู่ในสมัยอยุธยา ภายในซุ้มโถงมีสถูปรูปดอกบัวตูมขนาดเล็กโผล่ขึ้น มาคล้ายถูกสร้างครอบทับ ตามผนังภายในองค์ปรางค์พบว่ามีร่องรอยเดิมคงมีจิตรกรรมฝาผนังแต่ลบเลือนไปมาก ส่วนบริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามีบันไดขึ้นองค์ปรางค์ได้


พระธาตุมุเตา




พระธาตุทุเตา อยู่ด้านหลังปรางค์ประธานนอกกําแพงแก้ว แต่ก็ยังล้อมรอบด้วย กําแพงศิลาแลงที่ทําเป็นแท่งสี่เหลี่ยมบาง ซึ่งน่าจะเป็นคนละสมัยกับกําแพงศิลาแลง ที่ทําเป็นท่อนใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง

ตัวพระธาตุมุเตาก่อด้วยศิลาแลง ฐานเป็นเหลี่ยมซ้อนกัน 4 ชั้น ต่อจากนั้นเป็นบัวถลา 3 ชั้น ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปพังทลายลงมาหมด ลักษณะพระธาตุมุเตาเป็นเจดีย์ทรงมอญ ในการขุดแต่งปี พ.ศ. 2534 ได้ พบทองจังโกประดับส่วนยอดของเจดีย์
 

วิหารพระสองพี่น้อง



วิหารพระสองพี่น้อง อยู่ทางซ้ายพระอัฏฐารศ ก่อด้วยศิลาแลง มีพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย ๒ องค์ อยู่บนแท่นพระ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า ฐานวิหารสองพี่น้อง ก่อทับโบราณสถานที่ก่ออิฐข้างขวาพระวิหารหลวงพ่อสองพี่น้อง พบฐานรอยพระพุทธบาทด้วย

 

มณฑปพระอัฏฐารศ

มณฑปพระอัฏฐารศอยู่ด้านหลังของพระธาตุมุเตา เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อิริยาบถ ต่อมาได้ซ่อมแซมดัดแปลงภายในซุ้มคูหายังมีพระพุทธรูปปูนปั้นยืนอยู่ เดิม มณฑปมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา


โบสถ์



โบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร ปัจจุบันทางวัดได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหลัง โดยสร้างทับโบสถ์เดิม

 


สถานที่ตั้ง : ตําบลศรีสัชนาลัย อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64190

เวลาทำการ :เปิดให้เข้าชม: เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น.

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย ท่านละ 20 บาท ,ชาวต่างชาติ ท่านละ 100 บาท
 

หากน้องๆผ่านไปเที่ยวสุโขทัย ก็อย่าลืมแวะไปชมอุทยานประวัติศาสตร์ไหว้พระ ขอพรให้ตัวเองและครอบครัวกันนะคะ ประเทศไทยของเรายังมีอุทยานประวัติศาสตร์อีกมากที่สวยงามและแต่ละที่ก็มีประวัติที่ยาวนาน น้องๆคนไหนเคยไปเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ที่ไหนมาแล้วก็สามารถมาแบ่งปันประสบการณ์กันได้นะคะ > < 

--------------------------------------------------------

Credit: กรมศิลปากร / The Fine Arts Department

Create by: มูลนิธิพิพิธภัณฑ์มีชีวิต /Living Museum Foundation

--------------------------------------------------------

ติดตาม Living Museum Foundation ได้ที่

Facebook: https://www.facebook.com/livingmuseumth

Line: @livingmuseumth

IG: https://www.instagram.com/livingmuseum.th

Twitter: https://twitter.com/livingmuseumth

E-mail: mr.museum@livingmuseumthailand.com

แสดงความคิดเห็น

>