Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

4 ทักษะสมอง ที่เด็กๆต้องพัฒนา(IQ,EQ,SQ,EF)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


4 ทักษะสมองที่เด็กๆต้องพัฒนา ได้แก่ IQ EQ SQ และ EF เป็นทักษะสมองส่วนแรกๆที่เด็กควรพัฒนา เพราะเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน เรามาทำความรู้จักทักษะทั้ง 4 นี้กันเลยดีกว่าว่าคุณพ่อคุณแม่จะพัฒนาให้ลูกๆได้อย่างไร

1. ด้าน IQ หรือ Intelligence Quotient (ความฉลาดทางด้านสติปัญญา)



IQ หรือ Intelligence Quotient
คือ ความฉลาดทางด้านสติปัญญา วัดจากอายุสมองเทียบกับอายุจริง ซึ่งคนปกติจะอยู่ที่ 90-110 โดยเป็นการวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ ความสามารถทางวิชาการ ความจำ การอ่านเขียน ซึ่งการพัฒนา IQ นั้น
  • 50% เกิดจากกรรมพันธุ์
  • อีก 50% เกิดจากสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
     
ซึ่งสิ่งแวดล้อมโดยรอบนั้น สามารถพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะ IQ ให้สูงขึ้นได้ เช่น อาหารการกิน เลือกรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ และเลือกอาหารที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาทักษะ เช่น ปลา ถั่วเหลือง อาหารที่มีธาตุเหล็ก วิตามินต่าง ๆ ไอโอดีน โปรตีน เป็นต้น การออกกำลังกาย ก็เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนา IQ ได้ เพราะจะทำให้มีสมาธิ สมองปรอดโปร่งสดชื่น กระฉับกระเฉง คิดอะไรได้เร็ว มีความอดทน

2. ด้าน EQ หรือ Emotional Quotient (ความฉลาดทางอารมณ์)



EQ หรือ Emotional Quotient คือ ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ ความสามารถทางอารมณ์ เป็นความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตัวเอง และผู้อื่น ตลอดจนสามารถปรับ หรือควบคุมอารมณ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้

การพัฒนาทักษะด้าน EQ จะช่วยลดอารมณ์ฉุนเฉียว ช่วยให้เราเก็บอารมณ์ได้ดี เข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น มีความเห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือ ให้กำลังใจหรือปลอบประโลมผู้อื่นเป็น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม สามารถช่วยเหลือหรือร่วมมือกันเป็นกลุ่มได้ เข้ากับสังคมได้ดี มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ มีความกระตือรือร้นพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ

3. ด้าน SQ หรือ Social Quotient (ความฉลาดทางสังคม)



SQ : Social Quotient อาจฟังดูไม่คุ้นหูมากนัเกเมือ่เทียบกับคำว่า IQ และ EQ มาดูกันว่า ความฉลาดทางสังคม เป็นอย่างไรและเราในฐานะพ่อแม่จะฝึกฝนลูกได้อย่างไร

SQ : Social Quotient คือ ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เช่น เมื่อลูกอยู่ที่โรงเรียน มีเพื่อนๆ มีคุณครู ลูกก็สามารถปรับตัวเข้ากับที่โรงเรียนได้ เวลาอยู่ที่บ้านซึ่งเป็นอีกสังคมหนึ่งลูกก็จะ เรียนรู้และเข้าใจที่จะอยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวง่าย ๆ คือ

รู้ว่าตอนนี้ตนเองอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไร อยู่กับใครอากาศร้อนก็รู้จักอดทน ไม่ร้องโวยวาย หิวแล้ว ถึงเวลากินก็ยังรู้จักอดทนรอ ไม่ใช้ร้องโวยวายต้องได้ทุกอย่างเดี๋ยวนั้นเด็กที่มีความฉลาดทางสังคมจะสามารถปรับตัวได้ดี และจะกลายเป็น “ทักษะสำคัญ” ในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในอนาคต

4. ด้าน EF หรือ Executive Functions (กระบวนการทางความคิด)



EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ

Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย
1. Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2. Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”

3. Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้



4. Focus Attention การใส่ใจจดจ่อมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก

5. Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น

6. Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน

7. Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร

8. Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิดเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ

แสดงความคิดเห็น

>