Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

SAT 1220 > 1550 ️ The Only SAT Guide You Need (แถม TIPS for IELTS 8.0) by Rank1 BBA CU

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
    สวัสดีครับ ผมชื่อแทนนะครับ ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาโดยหวังว่าจะได้แบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับทั้งเพื่อนๆที่ยังสอบ SAT March เพื่อรอรอบสองอยู่และน้องๆที่กำลังจะสอบในอนาคตทุกคน โดยตัวผมได้สอบข้อสอบนี้ทั้งหมดสามครั้งเริ่มต้นที่คะแนน 1220 (Verbal 630/Math 590) ในรอบ March และ 1440 (710/730) ในรอบ May และได้ไปจบที่ 1550 (750/800) ในรอบ October ใช้เวลาเตรียมตัวช่วง March-May (ก่อนรอบ March  ไม่ได้เตรียมตัวครับ ติดงานเยอะมากจนสุดท้ายเลยถือว่าไปสอบดูข้อสอบพอ) ซึ่งเชื่อว่าเป็นระยะการเตรียมตัวที่น้อยเทียบกับหลายๆคน แต่ผมก็หวังว่าข้อมูลในนี้จะยังเป็นประโยชน์ครับ  และทั้งหมดนี้ผมเตรียมตัวด้วยตัวเองหมด 90%นะครับ(มีเริ่มเรียนแค่ Math ตอนที่ 1440แล้ว เรียกว่าแค่ไปเอาโจทย์เป็นหลักครับ55555 อย่างอื่นไม่มีเรียนครับ) จึงเชื่อว่าข้อมูลของผมจะเป็นประโยชน์กับคนที่อ่านเองครับ

Study Materials  ที่ใช้
จะขอไล่บอกก่อนนะครับว่าใช้อะไรไปบ้างแล้วจึงต่อด้วยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือวิธีใช้ที่ถูกต้องครับ
1. The Ultimate Guide to SAT Grammar by Erica L. Metzer (MUST HAVE)
    เล่มนี้คือสามัญประจำบ้านเน่อ สำหรับการเตรียม Verbal มันครอบเนื้อหาท้้งหมดแล้วครับที่ต้องมี สถาบันหลายที่ก็ถ่ายเอกสารเล่มนี้มาสอนเลยครับ เพราะนอกจากว่าจะเนื้อหาครบแล้วมันยังเรียงมาในแบบที่ดีที่สุดแล้วครับ(สำหรับฝรั่งหรือนักเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษมาตลอด สำหรับเด็กไทยแนะนำให้เก็บสามบทแรกไว้อ่านหลังสุดครับ เด็กไทยควรเก็บแกรมม่าก่อนครับ)


2. Official SAT Practice Tests (1-8) on Khan Academy (MUST DO)
     สาเหตุที่แนะนำมากๆเลยนะครับคือ เพราะว่ามันมาจาก collegeboard โดยตรง จึงใกล้เคียงที่สุดกับข้อสอบจริง และหากทำใน Khan Academy เราสามารถเห็นคะแนนของเราที่จะออกมาจริงๆได้ทันทีตาม Curve ของข้อสอบชุดนั้นๆ หากสงสัยว่าทำไมไม่ให้ทำ Past Paper แทนก็เพราะว่าหลายๆครั้งข้อสอบเก่านั้นมาจากการที่คนลอกจาก QAS มาบ้าง หรือหลุดมาเฉยๆจากการสอบก็มี ทำให้หลายครั้งข้อสอบไม่ครบถ้วน หรือ ขาดเฉลยที่ถูกต้อง และต่อให้ตรวจออกมาได้บางครั้งก็หาข้อมูลเกี่ยวกับ Curve  ที่แน่ชัดไม่ได้ จนไม่รู้คะแนนที่แท้จริง โดยรวมแล้วยังไงก็ยุ่งยากกว่าทำ online ใน khan ครับ และระบบ online ของ khan ทำให้ทุกอย่างถูกรวมไว้ในที่เดียวกันทำให้ตาม progress เราได้ง่ายครับ

3. SAT Math (Barron's) - Unnecessary
     
เล่มนี้ก็รวมเนื้อหาทั้งหมดที่ออกสอบไล่ลำดับจากง่ายไปยาก แถมมาพร้อมข้อสอบที่ยากเกินของจริงนิดๆหน่อย เช่นเดียวกันกับหนังสือ SAT Math เกือบทุกเล่มใน Kinokuniya ‍️ เอาจริงๆเล่มไหนก็ได้ครับ ลองเปิดอ่านเล่มที่อธิบายได้เข้าใจสำหรับเราพอ หนังสืิอเลข SAT มันมีเยอะจริงๆครับ

4. Khan Academy(Math online courses) - Recommended
   
  สำหรับใครที่ชินกับการเรียนเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้วแนะนำคอร์สต่างๆใน Khan เลยครับ อธิบายพร้อมวาดภาพประกอบตลอด ไม่เก็ทก็ดูซ้ำได้เรื่อยๆ

How to Study Efficiently
โอเคครับ มาถึงส่วนที่ผมคิดว่ามีผลที่สุดในการเตรียมตัวสอบของผมคือวิธีีการอ่านหนังสือและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโชน์สูงสุดครับ ส่วนนึงมาจากการที่ตัวผมไม่ม่ีเงินด้วยครับตอนนั้น ต้องสอนพิเศษหาค่าสอบต่างๆและค่าหนังสือเลยทำให้ใช้ทุกอย่างที่มีคุ้มมากๆครับ 

1. การทำโจทย์เน้นปริมาณ -WRONG
    อันนี้เป็นค่านิยมที่อันตรายมากในยุคปัจจุบันครับ ทุกคนแข่งกันทำโจทย์ให้มากที่สุด แต่ไม่เคยกลับมาเช็คข้อผิดกัน ผมมองว่ามันสำคัญมากที่ต้องกลับมาดูข้อผิดและเช็คว่า เค้าทดสอบเรื่องอะไร? เช่น สมการวงกลม สมการเส้นตรง หรือถ้าเป็น Verbal เค้าวัดเรื่อง Subject Verb Agreement หรือป่าว ทำไมถึงผิดในเรื่องนั้น จำสูตรไม่ได้ หรือ มองข้าม prepositional phrase, อ่านน้อยไปหรือป่าว การหาสิ่งเหล่านี้คือการนำไปสู่การพัฒนา เพราะเราจะพัฒนาได้อย่างไรหากไม่รู้ว่าต้องดูเรื่องไหน ผมเชื่อว่าครึ่งหนึ่งของการเป็นคนเก่งคือต้องรู้ครับว่าไม่เก่งเรื่้องอะไร อย่างส่วนตัวผมตลอดระยะเวลาเตรียมตัวใช้แค่ Practice 1-8ครับ ทำวนกันไป ฝึกจนสามารถทำให้เต็มได้และอธิบายได้ว่าทำไมแต่ละข้อตอบอะไร วิเคราะห์ทุกข้อ หากข้อไหนถูกแค่เพราะ "ความรู้สึกนำพาไป" ก็มีค่าเท่ากับผิดครับ ความเข้าใจอย่างแท้จริงเท่านั้นถึงจะสามารถทำให้ได้คะแนนคงที่ครับ ไม่งั้นเราจะเต็มไปด้วยข้อสอบชุดที่เดาโดนกับเดาไม่โดน คะแนนเหวี่ยงไปมา ไปสอบจริงก็ต้องลุ้นต่อไปครับ 

2. หากอ่านหนังสือเล่มนึงจบแล้วแปลว่ามันหมดประโยชน์แล้ว -WRONG
    ประเด็นนี้ต่อจากอันที่แล้วเลยนะครับ คนเราไม่มีใครอ่านหนังสือครั้งเดียวและได้รับข้อมูลครบถ้วนครับ หากเรากลับมาดูข้อผิดแล้วและเรายังผิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งทั้งๆที่ได้อ่านเรื่องนั้นไปแล้ว แปลว่าเรายังขาดความเข้าใจในเนื้อหา อาจตกรายละเอียดบางอย่างไป หรืออาจจะลืมไปบ้าง ก็ให้กลับมาทบทวนอีกครั้งครับ การมีหนังสือเป็นสิบเล่มเกี่ยวกับหัวข้อเดียวกันไม่ช่วยครับ หากต้องอ่านเล่มใหม่ก็ต้องปรับเข้ากับสไตล์การเขียนของผู้เขียนเล่มใหม่ และก็เข้าใจข้อความได้แค่ 70-80% เทียบกันกับอ่านเล่มที่เราเริ่มชินกับสไตล์การเขียนแล้ว อ่านรอบแรกอาจได้แค่ 70% แต่มาดูอีกรอบอาจ 100% ก็ได้ และหลายๆเล่มก็เขียนคล้ายหรือเหมือนกันอยู่ดี อ่านหลายเล่มมีแต่ทำให้ต้องปรับตัวใหม่เรื่อยๆและงงเรื่อยๆครับ

3. เริ่มฝึกจากสิ่งที่ทำไม่ได้ที่สุดก่อน -WRONG
    ใช่ครับมันอาจเป็นความรู้สึกว่า ทำตรงนี้ไม่ได้เลย ต้องไปฟิตแต่อันนี้แล้ว แต่ในความเป็นจริง Approach ที่ Practical ทืี่สุดคือการโฟกัสทำให้สิ่งที่ทำได้อยู่แล้วเพอร์เฟ็คครับ สมมติว่าเราเป็นคนที่ถนัดเรียนเลข หากอ่านเลขสัก 10 ชม. ก็จะทำให้คะแนนขึ้นมาได้ 200 คะแนน เทียบกันกับเอา 10 ชม. ไปใส่กับ reading ที่ไม่ถนัดและอาจจะ improve ได้แค่ 40 คะแนน นั่นคือความแตกต่าง 160 คะแนนสำหรับการลงทุน 10 ชม. ของชีวิตครับ เวลาเป็นสิ่งที่มีค่ามากในช่วงสอบก็ควรเลือกลงทุนในสิ่งที่ให้กำไรมากที่สุดครับ เก็บอันที่ทำได้และใช้เวลาในการศึกษาน้อยที่สุดก่อน make sureว่าทุกพาร์ทที่ทำได้นั้นถึงจุดที่สุดแล้วที่เราทำได้ก่อนทีี่จะย้ายไปลงกับพาร์ทที่รู้ตัวว่าอัพยากครับ 
เส้นทางอัพคลาสสิคสุด = Math > Writing > Reading

4. ถ้าฝึกทำข้อสอบแบบเดิมเรื่อยๆเราก็จะทำเร็วขึ้นเอง -WRONG
    ปัญหาของเวลาเป็นปัญหาที่หลายคนเจอครับโดยเฉพาะ Reading และหลายคนเชื่อว่าหากฝึกไปเรื่อยๆมันก็จะเร็วขึ้น แต่สิ่งนี้ไม่จริงครับ ก็ถ้าทำแบบเดิมทุกครั้งผลก็ออกมาเหมืิอนเดิมครับ เราควรทดลอง Strategy ใหม่ๆทุกครั้งที่ทำเพื่อหาอันที่ใช่ที่สุดก่อนที่จะเลือกใช้แบบใดแบบนึงเป็นหลัก(เดี๋ยวจะแถม Strategy ส่วนตัวของผมสำหรับแต่ละพาร์ทด้วยครับ) หากแบบที่ใช้อยู่ไม่เวิร์คฝึกมาเท่าไหร่ก็ไม่ดีขึ้นก็ได้เวลาเปลี่ยนครับ

Extra: การสอนคนอื่นช่วยมากๆๆๆๆๆๆๆ ในการเรียนรู้ แบบตัวผมเองไม่ได้อ่านอะไรเพิ่มมากหลังจากรอบ May หลักๆคือสอนพิเศษอย่างเดียวก็ยังคะแนนขึ้นถึงแม้ว่าจะอยู่ในโซนที่สูงและพัฒนายากแล้วก็ตาม

TIPS ของแต่ละพาร์ท
1. Reading
- อ่านแบบมี purpose ลองจับให้ได้ก่อนครับว่าแต่ละเรื่องมักจะถามอะไรเป็นหลัก เช่น History มักถาม Main Purpose, Author agree/disagree with....  จะได้รู้ว่าในการอ่านพาร์ทไหนสำคัญ และรู้ว่าสิ่งไหนควรโฟกัสหรือจด

- การจดจริงๆแล้วมันเซฟเวลานะ หลายคนบอกว่าถ้าอ่านแล้วจดมันไม่ทัน แต่คือถ้าสมมติว่าเราจับได้ว่าเรื่องไหนอะไรสำคัญและเราจดออกมาเป็นภาษาของเรา มันจะช่วยให้เวลาทำโจทย์สามารถหาข้อมูลได้ไวและอยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ช่วยย่อยข้อมูลมาแล้วก่อนที่จะเริ่มทำในระยะยาวยังประหยัดเวลากว่า กวาดตาทั้ง passage สำหรับทุกๆข้อครับ

- จับ main idea หรือโฟกัสของแต่ละส่วนในเรื่องและแบ่งไว้ ทำแผนที่ในหัวไว้ครับ ไม่มีอะไรเสียเวลาไปกว่าการไล่หาข้อมูลโดยที่ไม่รู้เลยว่าอยู่แถวไหน (Best case จริงๆคือเข้าใจเรื่องพอจนไม่ต้องกลับมาดูนะครับ)
- ตัดข้อผิดสามข้อ ง่ายกว่าหาข้อที่ถูกครับพาร์ทนี้ ช้อยส์ readingหลายๆครั้งมันจะมี ช้อยส์ที่ใช้คำศัพท์คนละอย่างกันแต่ความหมายเหมือนกันไปแล้วครึ่งนึง เลยทำให้รู้สึกว่าดูเป็นไปได้ทุกอัน (แหงอะ ก็มันถูกครึ่งนึงกันหมด) หาให้เจอครับว่าตรงไหนเหมือนกันและเช็คส่วนที่ต่างกันละค่อยๆตัดครับ จะมีหนึ่งคำที่ทำให้ไม่ใช่

2. Writing
- หาให้เจอก่อนครับว่าเค้าทดสอบเราเรื่องอะไร เช็คจากช้อยส์ก็ได้ครับ เช่นช้อยส์ต่างกันที่ verb singular/plural, pronoun เราก็เช็คแค่สองเรื่องนั้นครับ ดีกว่าต้องกวาดสมองถามว่ามันถูกหลักนู้นหลักนี้มั้ย

- ตัดช้อยส์จากเรื่องง่ายๆก่อน หลายๆครั้งข้อต่างๆสามารถตัดได้จากการแค่ดูถึงความเป็นประโยคหรือวลี หรือบางครั้งก็แค่ตัดช้อยส์ที่มีค่าเท่ากัน เช่น ; กับ . ตัดจากสิ่งเหล่านี้ก่อนก่อนที่จะไปคิดถึงอะไรที่ยากขึ้นครับ

- ขีด non-essential clause, prepositional phrase หรืออะไรก็ตามที่ไม่ได้ส่งผลกับ grammar ออกในข้อที่่ถาม grammar เพราะมันรกตาครับ ในข้อสอบแบบนี้ที่ข้อมูลเยอะไปหมด ยิ่งทำให้ข้อมูลน้อยลงมากได้เท่าไหร่ยิ่งดีครับ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้เราพลาดข้อหลายๆข้อที่ต้องการให้เราเขวตอบผิดเพราะไปเอา noun จากข้างใน non-essential clause มาเป็น subject อีกด้วย

3. Math
- ข้อไหนวาดรูปได้วาดรูป ข้อไหนให้ข้อมูลอะไรมาเขียนให้หมดก่อนครับ ช่วยให้ทุกอย่างเคลียร์ขึ้นจริงๆ บางข้อไม่ต้องคิดเลขด้วยซ้ำถ้าวาดรูปและรู้คอนเซป 

- ระวังเรื่องหน่วยหรือการเผลอไปตอบอะไรที่เค้าไม่ได้ถาม math พออ่่านเนื้อหาทั้งหมดแล้วมักจะไม่มีข้อไหนที่ทำไม่ได้แล้ว แต่จะไปผิดอะไรแบบนี้แทน ตอบผิดหน่วย หรือเผลอตอบ percent remaining แทน how many percent less  อะไรแบบนี้ฝึกการระวังตัวครับ เอะใจเวลาเห็นช้อยส์ที่เลขต่างกันไปไกล อาจจะคนละหน่วยกัน หรือข้อ percent ที่มีสองช้อยส์รวมกันได้ 100% อาจจะตอบผิดส่วนได้

สิ่งที่ควรทำช่วงใกล้สอบและวันไปสอบ
      นอนให้เป็นเวลาเลยครับ ถ้าวันสอบจริงคิดจะตื่น ตีห้า และนอน ตอนสามทุ่ม ก็ทำแบบนั้นสักอาทิตย์ก่อนจะไปสอบครับ ให้ร่างกายชินและป้องกัน Brain fog ในวันสอบจริง อันนี้ science จริงๆนะเห้ย55555 และก้เริ่มทำข้อสอบตามเวลาจริงที่ต้องทำ ทำแบบนั้นทุกวันให้เป็น Routine ครับ ไปวันจริงมันจะรู้สึกเหมือนทำกิจวัตรปกติเหมือนแปรงฟันตอนเช้า วันสอบก็อย่าลืมพกอะไรหวานๆที่เป็นน้ำตาลแบบซึมได้เร็วไปกินกันด้วยนะครับ แก้สมองล้า กินหลัง reading กินชาหรืออะไรที่เป็นกาเฟอีนอ่อนๆในวันสอบก็ช่วยครับ (ถ้าปกติกินกาแฟประจำ ไม่ช่วยนะ เลิกกาแฟไปก่อนสักเดือนก็จะดีนะ ไม่งั้นร่างกายชินละกาเฟอีนไม่ค่อยส่งผลนะ) 

แถม IELTS (ตัวผมได้ Reading 9 Listening 9 Writing 6.5 Speaking 8)
ไม่ได้ใช้หนังสืออะไรเพิ่มหรือเรียนเพิ่มนะ สอบครั้งเดียวเลยย เข้าไปดูแค่ Practice ของเค้าว่่าข้อสอบหน้าตาเป็นยังไง
Reading- เป็นข้อสอบที่ตรงตัวมากๆ แบบว่าขอแค่อ่านแล้วพอรู้ก็พอว่าอะไรอยู่ตรงไหน แบบมันถามตรงๆเลย อย่าไปหลุดที่ตอบเกินจำนวนคำที่เค้าขอก็พออออ

Listening- พวกประเภทที่เป็นเติมใส่ช่องอะ ดูก่อนเลยว่าช่องนั้นมันเป็นข้อมูลประเภทไหน ดูโจทย์ก่อนให้หมดอะ ละก็จะได้รู้ว่าต้องตั้งใจฟังตรงไหน ฟังไปตอบไปเลย ไม่ต้องจดดดด แนะนำให้ไปหาอะไรที่เป็นสำเนียงอังกฤษฟังก่อนนะอาจจะฟังยาก วิธีฝึกการฟังที่ดีมากๆอันนึงเลยคือแค่ดูหนังภาษาอังกฤษเป็นซับอังกฤษเวลาฟังไม่ออกก็ดูซับว่าเขียนว่าอะไร ต่อไปจะได้ชินว่าเสียงนี้ = คำนี้

Writing- ยากสุดแล้ว แต่อันนี้แนะนำให้ทำพาร์ทแรกลวกๆหน่อยดีกว่ามันแค่ 3 คะแนน อันนี้ตอนเราทำก็บริหารเวลาไม่ค่อยโอเคและก็พิมไม่ถนัด(สอบคอม) มัันเลยแย่ไปกันใหญ่ ดังนั้นจึงเตือนจากประสบการ์ณว่าเก็บเวลาไว้ทำพาร์ทสองเถอะ คือว่าถ้าหากเราทำ mind map เล็กๆก่อนแพลนว่าจะเขียน introยังไง bodyยังไง conclusionยังไงให้ดีๆก่อนเวลาเขียนจริงๆมันจะแปปเดียว แต่มันควรเผื่อเวลาไว้เช็คกับเผื่อพิมช้าด้วยถ้าสอบคอมม เพราะเราก็ไม่ทันเช็คจ้าและเหมือนจะพิมคำนึงผิดทั้งเรื่อง

Speaking- อันนี้ไม่ยากแบบที่คนคิดนะ คือถ้าเราไปโฟกัสกับตอบคำถามให้ดีมันก็จะยากอะ คือเค้าวัดแค่ภาษาจริงๆ คำถามไหนไม่รู้ก็สามารถตอบว่าไม่รู้ก็ได้นะ สาธยายความไม่รู้ให้เค้าฟังเป็นภาษาอังกฤษที่ดีก็พออ สำเนียงก็ขอแค่ไม่ affect understandingค้าบ

FAQs: คำถามพบบ่อย

Q:อ่านถี่แค่ไหน นานแค่ไหนบ้างช่วงสอบ?
A: ช่วงหนึ่งเดือนระหว่าง March-May อ่านวันละประมาณ 6-8 ชม. หลัง May ไปถึง Oct อ่านทุกวันแต่วันละแค่ 2 ชม. ได้ครับ แต่ว่าสอนพิเศษเยอะมากกก บางทีสัปดาห์นึง 20 ชม.+ 

Q: เห็นโฆษณาเราจากสถาบัน..... ที่นั่นดีไหม?
A: เรียนแค่  Math นะครับ เริ่มตอนที่คะแนน 730 ส่วนตัวคือรู้สึกว่ามันไม่ได้เวิร์คกับทุกคนครับ มันดีตรงที่ลดภาระในการหาโจทย์มาทำ และก็ช่วยให้คนที่ขี้เกียจมีเหตุผลได้เรียนสม่ำเสมอ แต่ถ้าบอกตามตรงคือหากรู้เนื้อหาของเลขมาหมดแล้ว และก็ทำได้คะแนนสูงพอประมาณมันเป็นเรื่องของการฝึกเฉยๆแล้วครับ ไปเรียนก็เหมือนแค่ฟังเรื่องซ้ำๆที่รู้อยู่แล้ว ถ้าเป็นคนที่มีวินัยพอที่จะบอกให้ตัวเองวิเคราะห์โจทย์ที่พลาดได้ สถาบันก็ไม่มีความจำเป็นครับ แต่อันนี้คือมาจากการที่ผมเข้าไปถึงก็เรียนคลาสยากสุดเลยนะ ถ้าคนไม่มีพื้นฐานแล้วไปไเริ่มเรียนจากเบื้องต้นกับที่นั่นก็อาจจะโอเคก็ได้ครับ

Q: ทำไมสอนพิเศษจริงจังจัง เก็บราคาเหมือนติวเตอร์อาชีพเลย​?
A: เพราะทำเป็นอาชีพไงครับ 5555555 บอกเลยครับบ้านส่งไม่ไหว หากินเองส่งเองเน่อ ไม่ได้มาสอนแบบเอาประสบการ์ณและความสนุก ไม่ทำก็ไม่มีกินจริงครับ ค่าที่อยู่ค่ากินก็ออกเอง ค่าเทอมก็เก็บตังรอจ่ายปีหน้า (CU ใ้ห้ทุนปีแรก) สถานการ์ณเศรษฐกิจแบบนี้อะครับ อะไรไม่ต้องขอแม่ได้ก็คือดีครับ (มีแค่แม่ ไม่่ต้องถามถึงพ่อเคนะ หายไปนานแล้วรายนั้น 555555)


 
จบละนะครับ จริงๆคือมันมีทริคและรายละเอียดสำหรับแต่ละอย่างที่ใช้ส่วนตัวอีกแต่ถ้าพิมทีเดียวหมด น่าจะยาวเกินใครรับไหว แต่จะพยายามมาแอบอัพเดทเรื่อยๆนะครับ
สงสัยถามได้ที่ ig: tanntnb เลยนะค้าบ ️️️

 

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

Noone 23 ก.พ. 63 เวลา 11:05 น. 3

ขอบคุณมากๆ เลยนะคะที่มาแบ่งปัน

ความตั้งใจ มุ่งมั่นของพี่ น่าชื่นชมมากเลยค่ะ


0