Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โรงเรียนที่ไหน ไม่มีเกรดเฉลี่ย ! #ตามติดชีวิตนรลป.สเปน

ตั้งกระทู้ใหม่

Hola !  สวัสดีอีกครั้งนะคะ หลังจากเว้นว่างจาก vlog ที่เเล้วมาค่อนปี  ขอแนะนำตัวอีกครั้งค่า รวงข้าว นักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ประเทศสเปนรุ่นที่ 56 จากกระทู้  Vamos ! แชร์ประสบการณ์การเป็นอาสาสมัคร ฉบับนรลป. ใครยังไม่อ่านก็สามารถไปอ่านได้ตามลิ้งค์นี้ โลด enlightened https://www.dek-d.com/board/view/3927260/?fbclid=IwAR3lVuEDwXPyVCk-BbzPxNk9o7oEeA_FxxInvc3b8_jyCxGLnA6evlAWl6g


…………….............

ขอท้าวความก่อนว่าจริงๆ content ที่จะมานำเสนอในวันนี้เป็นเรื่องที่หนูตั้งใจอยากจะแชร์มานานมาก นักเรียนอ่านได้คุณครูอ่านดี เนื่องจากเป็นมุมมองใหม่ๆที่น่าสนใจ อาจจะยาวไปสักนิด แต่ตั้งใจอยากจะมาเปิดโลกกว้างถึงระบบการศึกษาจากอีกซีกโลก ว่าเหมือนหรือต่างจากบ้านเราอย่างไรบ้าง ไปอ่านกันเล้ยย

ปล.หากใครกำลังรอคำตอบว่าโรงเรียนที่สเปนไม่มีเกรดเฉลี่ยจริงหรือไม่ เราขออุบไว้ก่อน

ปล.2 อยากย่อให้อ่านน้อยกว่านี้ แต่มันไม่รู้จะตัดอันไหนออกเลย อ่านเถอะนะ คุ้มค่าเสียเวลาแน่นอน

……………………………
 

สำหรับโรงเรียนที่รวงข้าวไปอยู่เป็นโรงเรียนรัฐบาล ปีนั้นไปอยู่ชั้น ม.4 เป็นม.ต้น ปีสุดท้าย หลายๆมุมมองที่จะมาแชร์ก็เป็นมุมมองจากโรงเรียนรัฐบาลที่เราไปอยู่นะคะ

I.E.S Donoso Cortes Don Benito , Spain

โรงเรียนที่สเปนทีอะไรแปลกจากที่ไทยบ้าง

1. มีม.ต้น 4 ปี ม.ปลาย2 ปี  หมายความว่า จะมีม.1 - ม.4 เป็นการศึกษาภาคบังคับ เเละต่อในม.ปลายหรือในสเปนเรียกว่า bachillerato อีก2 ปี ซึ่งเด็กจะสามารถเลือกได้ว่าจะต่อสายสามัญหรือสายอาชีพใน 2 ปีนี้

 ! ! และที่พิเศษก็คือ

 ⁃ ไม่มีการแยกสายศิลป์สายวิทย์ อย่างชัดเจน แต่จะเป็นสายวิทย์ สายศิลป์ในแง่ของขอบเขตมากกว่า และที่สำคัญนักเรียนส่วนใหญ่จะค่อนข้างรู้ตัวเองเร็วว่าอยากจะเรียนต่อไปทำงานอะไร เพราะเมื่อขึ้น ม.5 นักเรียนที่นั่นจะต้องเลือกวิชาที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่พวกเขาจะศึกษาต่อ
⁃ เช่น อยากเป็นหมอ พยาบาล วิชาที่เค้าจะเลือกจะเป็นสายสุขภาพเช่น ชีวะ เคมี แต่ไม่จำเป็นต้องเลือกฟิสิกส์ขั้นสูงเหมือนคนที่ต้องการจะต่อวิศวะก็ได้ เป็นต้น

มันดีตรงที่ เราจะเน้นไปในสิ่งที่เราชอบตั้งแต่เนิ่น เรียนอย่างมีเป้าหมายและเรียนเพื่อนำไปต่อยอดจริง    ไม่ต้องมาเรียนเหวี่ยงๆ เรียนเยอะ เรียนแยะ เรียนไปก่อน นักเรียนเค้าก็มีเวลาทุ่มเทในเส้นทางที่เค้าเลือกมากขึ้น

 2. เรียนแค่ 5 คาบต่อวัน เข้า 8:30 เลิก 14:30   หลายคนคงสงสัยว่ามันจะไม่น้อยไปหรอ ?! เราก็เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ  เรียนน้อยเเล้วยังเรียนไม่เยอะ เหตุผลที่ทำให้คาบเหลือแค่5 คาบต่อวันก็คือ เรียนคณิตตัวเดียว วิทย์แยกเป็นสาขา เช่น ชีวะ ฟิสิกส์ เคมี (เลือกอย่างน้อย1ตัว) ตามชอบ คณิตก็แบ่งเป็นคณิตยากกับคณิตง่าย ก็เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเรียนทั้ง คณิตยากและคณิตที่ยากมากๆเหมือนบ้านเราใช่มั้ยหล่ะคะ

ดิสอิสตารางเรียนของเรา มี 5 คาบ / วัน  ซึ่งด้านล่างคือรายวิชาที่เลือก แต่ละคนจะเลือกแตกต่างกัน
 

 4. ใช้หนังสือ electronic  ทางโรงเรียนโรงเรียนจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประจำท้องถิ่น(แคว้น) ให้มีการสนับสนุนในหลายๆด้าน ซึ่งโรงเรียนเกือบทุกโรงเรียนก็จะให้ laptop  จิ๋วที่แอบช้า แต่ก็ใช้การได้ เอากลับไปใช้ตั้งแต่ม1-ม4 เเล้วค่อยคืน ซึ่งมันจะเป็นตัวเลือกให้กับนักเรียนที่ขี้เกียจแบกหนังสือไปมา ก็เอาไปแค่ laptop เครื่องเดียวจบเเละหนังสือออนไลน์ทั้งหมดก็ซื้อผ่านแอป ถือว่าเป็นการลดโลกร้อนจากการใช้หนังสือเเล้วทิ้งหรือส่งรุ่นต่อรุ่นเพราะหนังสือมันก็จะสภาพไม่ครบ 100%  อีกย่างคือ ถ้าใครใคร่ถนัดไฮไลท์ เลคเชอร์ เป็นหนังสือก็สามารถซื้อเองได้ (แต่ขอบอกว่าหนังสือที่นู่นแพงมากกก แบบเล่มบางๆก็ประมาณ 1300 บาท คือกุมขมับอ่ะ เล่มละ80-100 บาทแบบบ้านเราคือฝันไปเถอะ) แต่โรงเรียนก็มีหนังสือยืมเรียนให้กับนักเรียนที่บ้านอาจจะมีฐานะไม่พอซื้อ แต่มีข้อตกลงว่าต้องรักษาหนังสือให้คงอยู่ในสภาพดีเพื่อจะได้ส่งต่อให้น้องรุ่นต่อๆไป เราว่ามันเป็นนโยบายที่ดีมากๆและเป็นการปลูกฝังเด็กไปในตัวเลยค่ะ

ถ่ายเก็บไว้ด้วยเพราะช็อคราคามาก มันคือหนังสือภาษาอังกฤษของ Oxford ที่บ้านเราใช้ 200-400 บาทไม่เกินนั้น แต่ที่นี่เล่มละ ประมาณ 1,320 บาท T^T  อยู่ไทยคือซื้อข้าวกินได้ทั้งสัปดาห์เลยทีเดียว

5. เปิดฟรีในการแสดงความคิดเห็น ข้อนี้เป็นปกติส่วนใหญ่ของคนยุโรปอยู่เเล้วที่จะให้อิสระทางการคิด การพูด การแสดงออกต่างๆ แม้แต่การแต่งกายซึ่งคงไม่ต้องพูดถึง ซึ่งเราคิดว่ามันเป็นอะไรที่ดีมาก(ถ้าเป็นการกระทำในขอบเขต) นักเรียนทุกคนกล้าถามกล้าตอบ เเละที่เราประทับใจมากคือตอบถูกตอบผิดไม่ใช่เรื่องสำคัญ การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนถือเป็นที่สุด เเละทุกครั้งที่มีนร.ตอบผิด ก็จะไม่มีอาจารย์คนไหน blame นักเรียน มีแต่ให้กำลังใจเเล้วบอกว่าลองใหม่ มันเลยทำให้นักเรียนกล้าแสดงความคิดเห็นอย่างถูกต้อง

 6. มี class assistant สำหรับนักเรียนที่ตามไม่ทัน อันนี้ใครว่าไม่สำคัญ มันเป็นอีกนโยบายที่เราว้าวมากๆ การมีครูฝ่ายแนะแนวเพื่อคอยติดตามนักเรียนที่มีปัญหาอย่างใกล้ชิด มีแฟ้มข้อมูลนักเรียนทุกคน ทั้งพฤติกรรม การเรียนอะไรต่างๆ จะมีการติดตามผลเป็นระยะๆ ถ้านักเรียนคนไหนมีพื้นฐานการอ่านไม่ดี ตามเพื่อนไม่ทัน ก็จะมี teacher assistant เป็นคลาสเสริมให้นักเรียนโดยเฉพาะ  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนม.ต้น และเราก็เป็น1 ในนักเรียนกลุ่มนั้นค่ะ 555555555 เนื่องจากเราเป็นนักเรียนต่างชาติที่พื้นฐานภาษาสเปนเรียกได้ว่า0 เราเลยโดนจับแยกมาคลาสนี้อาทิตย์ละ ครั้งสองครั้ง เรียนกับน้องม.1 บ้างอะไรบ้างก็ประสบการณ์ดีค่ะทู้กคน 5555555 เราสนิทกับอาจารย์มากๆ สนิทจนมาถึงทุกวันนี้ เค้ามีบุญคุณกับเราที่สุดเลยค่ะ 

หลายๆคนอ่านมาถึงนี่เเล้วรู้สึกว่าอะไรมันจะดีขนาดนี้ เป็นเราคงสบายไปเลยใช่มั้ยหล่ะคะ แต่มาดูกันว่า นักเรียนที่นู่นเป็นยังไง **ขอพูดในบริบทของนักเรียนส่วนใหญ่นะ

1. รับผิดชอบตัวเองเป็นและใช้เวลาว่างในการค้นหาตนเอง  จากที่เราได้บอกไปว่าโรงเรียนเลิกบ่ายสองครึ่ง เท่ากับ เวลาที่เหลือเด็กที่นั่นจะเอาไว้สำหรับกิจกรรมที่พวกเขาสนใจ เช่น เตะบอล เล่นกีฬา (ซึ่งผู้ชายส่วนใหญ่ในสเปนจะ crazy เรื่องเล่นกีฬามาก) เข้าชมรมอาสา เรียนเต้น เล่นดนตรี หรือออ่านหนังสือทบทวนที่บ้านก็เเล้วแต่ชอบ แต่เด็กสเปนส่วนใหญ่จะไม่ค่อย take course เสริมหรือเรียนพิเศษกัน หาได้น้อยมาก

 2. เต็มที่เเละให้ความสำคัญกับทุกวิชา ทั้งวิชาหลักและวิชาเสริม เพราะรายวิชาส่วนใหญ่นักเรียนเป็นคนเลือกเองดังนั้น 70% เลยที่นักเนียนจะเต็มที่เเละสนุกกับวิชาที่เค้าเลือก มีอีกสิ่งที่ว้าวอีก คือ วิชาเสริมแบบพละ ศิลปะอะไรแบบนี้ ไม่มีคำว่าเรียนเล่นๆเรียนผ่านๆได้ 10 นะคะ แต่กว่าจะผ่านมันมาได้คือยากมากกก วิ่งกันจริงจัง เล่นกีฬากันจริงจังมากกว่าจะสอบผ่าน ศิลปะที่เคยเรียนสบายๆก็ทำเอาเครียดเลยเพราะผลงานแต่ละชิ้นเข้มมากค่ะ  แต่อาจารย์ก็ทำให้เราชอบวิชานี้ขึ้นมาได้ 

นี่ก็คือผลงานที่เราทำกันในห้องนั่นเองงง

3. อาชีพในฝันหลากหลายมากกกกกกก  อันนี้ไม่ได้พาดพิง แต่จากปสก. นร.ไทยจะมีอาชีพที่อยากเป็นส่วนมากค่อยข้างจำกัด เช่น อยากเป็นหมอ อยากเป็นครู พยาบาล วิศวะ กัปตันซึ่งมันไม่แปลกเพราะอาชีพเหล่านี้มันเป็นอาชีพที่มั่นคงในบริบทสังคมไทยเเละค่านิยมมากมายที่เกิดขึ้น แต่เพื่อนๆรู้มั้ยว่าจากการที่รวงข้าวได้ถามเพื่อนในห้อง 5-10 คน เราได้อาชีพที่ค่อยข้างจะไม่ซ้ำกันเลย อย่างเช่น นักฟุตบอล, ช่างเสริมสวย, เชฟ, นักแสดง, creater, นักวาดภาพ และอีกหลายๆอาชีพมากมายที่เราได้ยินเเล้วเเบบเฮ้ย มันดีอ่ะ การที่เค้ากล้าฝันแบบนั้น ได้เลือกเดินในสิ่งที่ตัวเองมี passion ซึ่งคนรอบข้างเค้าเองก็ให้ความสำคัญกับทุกอาชีพเท่าเทียมกัน และทุกอาชีพในสังคมมีค่าเท่ากันในบทบาทของทุกอาชีพที่แตกต่าง

Trick : basic มาก ถ้าอยากตั้งใจเรียนก็คบเพื่อนเรียนโลดดด


ขอแทรกภาพไปโรงเรียนวันแรกนิดนึง อิอิ

.

และ

.

และ

.

.

.

มาถึง topic สุดท้าย!

โรงเรียนที่สเปนไม่มีเกรดเฉลี่ยจริงหรือไม่ ?!?!!

.

คำตอบคือ

.

ถูกต้องแล้วล่ะค่ะ  โรงเรียนที่นี่ไม่มีเกรดเฉลี่ย ซึ่งมันเป็นมันเปิดโลกเรามากเลยทุกคน  เราได้แลกเปลี่ยนความคิดกับหลายๆคนรวมถึงจากมุมมองของโฮสท์มัมที่เป็นอาจารย์มาครึ่งชีวิต ถึงเหตุผลว่าทำไมที่นี่จึงไม่มีเกรดเฉลี่ย  มันก็เป็นการเปิดโลกให้โฮสท์มัมเหมือนกันว่าเกรดเฉลี่ยมีไว้เพื่ออะไร ?!

เนื่องจากเกรดเฉลี่ยที่ไทยส่วนใหญ่ดูจะเป็นตัวตัดสินความรู้เราเลยใช่มั้ยคะ เวลาวัดกันวัดกันที่เกรดเฉลี่ยซึ่งวิชาหน่วยกิตมากๆที่เราไม่ถนัดมันก็จะฉุดเกรดเฉลี่ยเราลง เเละนั่นหมายความว่าเราไม่เก่งใช่หรือไม่ เรามาดูว่า

การที่รร.ที่นี่ไม่มีคะแนนเฉลี่ยมันสะท้อนอะไรได้บ้าง

1. การที่ไม่มีเกรดเฉลี่ยรวม หมายความว่าคะแนนทุกรายวิชานั้น มันจะบ่งบอกทั้งตัวเองและคนรอบข้างว่าเด็กคนนี้ถนัดอะไร ชอบอะไรและทำวิชาอะไรได้ดี ไม่ใช่ตัวเลขรวมสุดท้ายที่วัดความสามารถในตัวทั้งหมดที่มีของเด็กคนนั้นเพราะความสามารถของคนๆนึงวัดอะไรไม่ได้จากตัวเลขแค่จำนวนเดียว
 2. คะแนนจากโรงเรียนเอาไปใช้ยื่น 50% - 50% กับข้อสอบกลางกันเลยทีเดียว จึงไม่แปลกใจว่าทำไมนักเรียนส่วนใหญ่ที่ต้องการเข้าคณะที่ใช้คะแนนดีๆจึงจริงจังกับการเรียนมากๆ เพราะมันมีผลในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย

และทำไมผลการเรียนในโรงเรียนถึงเป็นที่ไว้วางใจได้ (ในระดับนึงที่ค่อนข้างมาก) เพราะคะแนนเต็ม10 เป็นคะแนนงานน้อยมากส่วนมากจะมาจากคะแนนสอบเกือบ 80-90   %   ดังนั้นคะแนนเกือบทั้งหมดจึงประมวลจากความสามารถ ความเข้าในของบทเรียนนั้น ล้วนๆ  ซึ่งข้อสอบในโรงเรียน รวงข้าวไม่เคยเห็นข้อสอบข้อกาเลย  ทั้งหมดจะเป็นข้อเขียน โฮสท์มัมบอกว่ามันเป็นการวัดความเข้าใจเด็กจากกระบวนการและวิธีการ ไม่ได้สนใจแค่คำตอบสุุดท้ายอย่างเดียว


เกรดจะแสดงแค่เกรดรายวิชาเท่านั้น ไม่มีเกรดเฉลี่ยรวมค่า

 
รูปวันจบกับเพื่อนๆที่น่ารักก



      heart      อย่างไรก็ตามระบบของทุกประเทศก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันนะ เราชอบระบบการเรียนที่นู่นค่อนข้างมาก แต่ถามว่าจริงๆระบบการศึกษาที่ไทยมันยังให้อะไรเราอีกมากมาย ที่ที่นู่นไม่ได้ให้ ก็คือความสัมพันธ์ระหว่างครูและอาจารย์ที่ดี การช่วยเหลือกันในกลุ่มเพื่อน มันเป็นสิ่งที่วัฒนธรรมหรือระบบที่นู่นเองไม่ได้ให้เรามา เราเชื่อว่าไม่มีระบบไหนดีที่สุดในโลกสุดท้ายเเล้วมันก็อยู่ที่ตัวเรา ว่าจะรับมือเเละมีความพร้อมในตัวเองได้มากขนาดไหน


ก่อนกลับมีเซอร์ไพรส์ที่ระลึกจากอาจารย์ด้วย น่ารักมากๆๆๆ ทำเอาน้ำตาไหล  T^T


ก็จบไปแล้วนะคะ สำหรับกระทู้ที่ 2 ของรวงข้าว เป็นไงบ้างคะเพื่อนๆ ขอบคุณที่อ่านมาจนจบ หวังว่ากระทู้นี้จะเป็นประโยชน์และเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆให้เพื่อนๆนะคะ
ปล.สำหรับใครที่เคยมีประสบการณ์จากโรงเรียนที่อื่นแปลกๆก็สามารถมาแลกเปลี่ยนกันได้ในคอมเม้นท์เลยค่า

Facebook : Watwaree Chaimongkol
IG : @callmeruangkaow

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

Anonymus 20 มี.ค. 63 เวลา 21:31 น. 1

การได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส และเรียนรู้จากสิ่งนั้น มันจะกลายเป็นประสบการณ์ ที่ทำให้เราเติบโต ยินดีด้วยจ้า....

0
นุชนรถคงช่วย 23 มี.ค. 63 เวลา 15:13 น. 3

พี่รวงข้าวเขียนเก่งมากครับ. ใช้ภาษาอ่านง่าย ชวนติดตาม ชอบมากตรงภาพประกอบยิ้มสยามมาก เห็นภาพตามว่าประสบการณ์ดีๆ ที่พี่รวงข้าวได้เก็บเกี่ยว ได้อย่างมีคุณค่าทั้งต่อตัวน้องเอง ยังถ่ายทอดเผื่อแผ่มายังคนไทย พ่อแม่คนไทย สังคมไทยได้เรียนรู้กัน มีโอกาสน้านุชจะส่งน้องณัชไปบ้าง. ภูมิใจไปกับคุณพ่อคุณแม่ด้วยจ้า...เขียนอีกนะค่ะมีคนรออ่านอีก...น้านุช

0