Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สาระน่ารู้!!! ชูคุณค่าเปลือกทุเรียน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่







พลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน!?!!



จากการศึกษาที่ไรท์ได้ศึกษามา พบว่า ถุงพลาสติกสังเคราะห์จากปิโตรเคมี ใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายที่นานมาก อีกทั้งยังทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดปัญขยะล้นโลก ซึ่งจากการศึกษาระยะเวลาที่ถุงพลาสติกสังเคราะห์จากปิโตรเคมีใช้ในการย่อยสลาย โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี

ส่วนถุงพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน สามารถใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายโดยเฉลี่ยประมาณ 0.0024 ปี หรือเพียงแค่ 24 ชั่วโมงเพียงเท่านั้น ซึ่งถุงพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียนสามารถย่อยสลายได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว

และเมื่อศึกษาข้อมูลของ ถุงพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน พบว่า เปลือกทุเรียนมี เซลลูโลส ที่เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส หรือ ซีเอ็มซี (Carboxymethyl cellulose, CMC) ซึ่งเป็น "พอลิเมอร์ชีวภาพ” เป็นไฮโดรคอลลอยด์ (hydrocolloid) คือพอลิเมอร์ ชนิดชอบน้ำ (hydrophilic) ที่เป็นคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นอนุพันธ์ของเซลลูโลส ซึ่งซีเอ็มซีมีลักษณะเป็นของแข็งสีขาวไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่เป็นอันตราย ไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ละลายน้ำได้ดี มีคุณสมบัติเป็นสารเพิ่มความหนืดที่ช่วยในการยึดเกาะและเป็นสารคงสภาพ และมีบทบาทมากในอุตสาหกรรมหลายชนิด ซึ่ง CMC สามารถนำมาขึ้นรูปเป็นถุงพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียนได้ โดยการนำเปลือกทุเรียนมาสกัดเซลลูโลส และนำเซลลูโลสมาสังเคราะห์เป็น ซีเอ็มซี เพื่อผลิตเป็นแผ่นฟิล์มพลาสติกชีวภาพ และนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรแล้ว ยังตอบสนองต่อความต้องการใช้วัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต

ส่วนการที่ถุงพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน สามารถย่อยสลายได้เร็วกว่าถุงพลาสติกที่สังเคราะห์จากปิโตรเคมี เนื่องจากถุงพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียนทำมาจากวัสดุธรรมชาติ นั่นก็คือเปลือกทุเรียน โดยในเปลือกทุเรียนนี้มีเส้นใยเซลลูโลส ซึ่งสามารถนำมาสังเคราะห์เป็น ซีเอมซี (Carboxymethyl cellulose, CMC) ซึ่งเป็น "พอลิเมอร์ชีวภาพ” ชนิดชอบน้ำ มีคุณสมบัติเป็นสารเพิ่มความหนืดที่ช่วยในการยึดเกาะและเป็นสารคงสภาพ สามารถละลายน้ำได้ดี ซึ่งเมื่อนำพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียนฝังกลบในดินที่มีจุลินทรีย์และความชื้นสูงจะทำให้สามารถย่อยสลายได้เร็วกว่าพลาสติกที่สังเคราะห์จากปิโตรเคมี เพราะพลาสติกจากปิโตรเคมีถูกออกแบบเพื่อให้มันมีความเหนียวและคงทนในการใช้งาน จึงมีระยะเวลาการย่อยสลายที่ยาวนาน โดยพลาสติกเกิดจากการรวมตัวของโมเลกุล ไฮโดรเจน (H) และคาร์บอน (C) ที่ต่อกันยาวกว่า 7 ล้านหน่วย ทำให้แข็งแรงมาก โมเลกุลจึงแยกออกจากกันได้ยาก ทำให้พลาสติกจากปิโตรเคมีย่อยสลายได้ยากกว่าพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียนนั่นเอง






ซึ่ง!!!! ไรท์มีเทคนิคในการทําพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียนมาฝากกันค่ะ!


เทคนิคการแปรรูปเปลือกทุเรียนเป็นเซลลูโลส มีข้อแนะนำดังนี้

  1. 1. นำเปลือกทุเรียนมาหั่นเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปอบให้แห้ง

  2. 2. นำเปลือกทุเรียนที่แห้งแล้วมาสกัดเอาเซลลูโลสด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ จะได้เซลลูโลสสีน้ำตาล แล้วนำไปฟอกด้วยสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพื่อกำจัดลิกนินออก เซลลูโลสที่เป็นสีน้ำตาลจะขาวขึ้น

  3. 3. จากนั้นนำเซลลูโลสที่ได้ไปบดเป็นผงละเอียด แล้วนำผงเซลลูโลสไปสังเคราะห์เป็นพลาสติกชีวภาพ หรือ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส หรือ ซีเอ็มซี โดยทำปฏิกิริยากับกรดคลอโรอะซิติกในสภาวะด่าง ได้ ซีเอ็มซี 138.12 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเซลลูโลสตั้งต้นละลายน้ำได้ดี มีความบริสุทธิ์ 95.63 เปอร์เซ็นต์ มีลักษณะผงเป็นสีเหลืองอ่อน

  4. 4. นำสารละลาย ซีเอ็มซี มาขึ้นเป็นรูปเป็นแผ่นฟิล์ม ซีเอ็มซี แล้วนำแผ่นฟิล์มที่ได้มาประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์


เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ!!!



และสามารไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ :

https://sites.google.com/tkb.ac.th/bioplastics-from-durian-peel1/home?pli=1&authuser=1





แสดงความคิดเห็น

>

9 ความคิดเห็น