Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หลัก 7R ช่วยโลก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เรียนรู้และลงมือทำ ตาม หลัก 7R จัดการ ขยะช่วงวิกฤตโควิด
อ้งอิงรูปจาก ( https://www.salika.co/2020/07/02/7r-solve-waste-management-in-covid-crisis/ )
ในยุคที่เรามีประชากรเพิ่มขึ้นสูงถึง 7,300 ล้านคน สิ่งที่เป็นปัญหาตามมา นอกจากเรื่องความแออัดและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก คือปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นจากการบริโภคในทุกวัน และกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง จนคำว่าขยะล้นโลก ดูจะไม่ใช่เรื่องเกินจริง

ในเมื่อขยะคือปัญหาที่เราทุกคนล้วนมีส่วนเกี่ยวข้อง การแก้ไขปัญหานี้จึงอยู่ในมือพวกเราเช่นเดียวกัน  วันนี้เราขอมาแชร์แนวคิดดีๆ เกี่ยวกับการจัดการขยะ หรือ 7R ที่จะทำให้ทุกคนลดปริมาณขยะในชีวิตประจำวันได้ง่ายๆ และมีส่วนช่วยทำให้โลกใบนี้ของเราน่าอยู่ขึ้นได้

1. Refuse (ปฏิเสธถุงพลาสติกและโฟม)

จากรายงานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ระบุว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะประเภทพลาสติกและโฟมมากถึง 2.7 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 7,000 ตันต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งในจำนวนนี้ ไม่สามารถกำจัดด้วยวิธีฟังกลบได้ทั้งหมด เพราะพลาสติกจะใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี! แต่ขณะเดียวกัน ขยะประเภทนี้ ก็ไม่สามารถนำไปเผาทำลายได้ เพราะถุงพลาสติกมีส่วนประกอบของเม็ดปิโตรเลียม ซึ่งเมื่อระเหยไปในบรรยากาศจะสร้างสารปนเปื้อนในดินและน้ำ ฉะนั้นแล้ว ทางที่ดีคือเลือกปฏิเสธแล้วหันมาใช้ถุงผ้า กล่องข้าวที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ไปจนถึงภาชนะใช้ซ้ำต่างๆ อย่างหลอด ขวดน้ำ ช้อนส้อม ตะเกียบ นอกจากลดขยะ ลดพลาสติก ไปจนถึงโฟมได้แล้ว เรายังช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ด้วย

The 5 Rs of Zero Waste  Refuse, Reduce, Reuse, Recycle, Rot  Biome  Zero  waste, Waste, Biomes
อ้างอิงรูป ( https://ar.pinterest.com/pin/492088696788805922/ )

2. Recycle (แยกขยะให้เป็นนิสัย)

ทุกคนคงเคยเห็นถังขยะหลากหลายสีมาตั้งแต่เด็ก แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากการแยกขยะให้เป็นนิสัยจะช่วยให้กำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว มันยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในกระบวนการกำจัดขยะอีกด้วย! เพราะแต่ละวัน เจ้าหน้าที่ต้องเก็บขยะวันละมากกว่า 9,000 ตัน ซึ่งใช้งบประมาณมากกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นค่าจ้างฝังกลบขยะตันละมากกว่า 100 บาท ซึ่งการแยกขยะ และทิ้งขยะลงถังตามสี คือ ทิ้งเศษอาหาร กากของผัก ผลไม้ ในถังสีเขียว ทิ้งแก้ว อลูมิเนียม หรือวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ในถังสีเหลือง และทิ้งขยะทั่วไปที่สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิง ตลอดจนใช้เป็นสิ่งประดิษฐ์ เช่น กล่องนม เศษผ้า ยาง ไม้ ในถังสีน้ำเงิน เพียงเท่านี้ ทุกคนก็สามารถช่วยโลกได้ และยังเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
Recycling revolution: Amorepacific aims to recycle 100% of its empty  bottles by 2025
อ้างอิงรูป ( https://www.cosmeticsdesign-asia.com/Article/2019/06/19/Recycling-revolution-Amorepacific-aims-to-recycle-100-of-its-empty-bottles-by-2025 )

3. Reuse (ใช้อย่างคุ้มค่า)

วิธีที่ช่วยลดขยะอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือการพยายามใช้สิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างคุ้มค่า อาจจะเริ่มจากการใช้ปากกาจนหมดด้าม เขียนดินสอจนหมดแท่ง หรือเริ่มจากการใช้กระดาษให้เต็มทั้งสองหน้าจนเป็นนิสัย แต่หากเท่านั้นยังไม่พอ และอยากก้าวล้ำไปอีกขั้น อยากชวนให้ทุกคนลองเอาของที่ไม่ใช้แล้วมาทำเป็นของใช้ หรือดัดแปลงเป็นของ D.I.Y กันดู อาจเริ่มจากอะไรง่ายๆ เช่นการทำกระถางต้นไม้จากขวดน้ำพลาสติก หรือการนำเสื้อยืดที่ไม่ใด้ใส่แล้วมาตัดเป็นถุงผ้าชอปปิ้งสุดเก๋ ซึ่งนอกจากวิธีนี้จะช่วยลดปริมาณขยะได้แล้ว ยังเป็นการฝึกความคิดสร้างสรรค์ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย มากไปกว่านั้น ลองประดิษฐ์ของชิ้นเล็กๆ น่ารักๆ แล้วนำไปมอบให้คนรู้ใจของคุณดูสิ แล้วจะรู้ว่างาน D.I.Y ให้อะไรมากกว่าที่คิด

36 SMART IDEAS TO REUSE OLD THINGS - YouTube
 

4. Refill (เลือกซื้ออะไรที่เติมได้ ลดขยะจากบรรจุภัณฑ์)

งานนี้คงต้องสวมจิตวิญญาณแม่บ้านกันดูหน่อย เพราะเพียงแค่เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อของอุปโภคต่างๆ เช่น น้ำยาซักผ้า ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ฯลฯ มาเป็นแบบ Refill หรือลดการซื้อของในบรรจุภัณฑ์ใหม่ ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายในบ้านลงได้มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว นอกจากนี้ การทำแบบนี้ยังช่วยลดมลภาวะที่เกิดจากกระบวนการผลิต Packaging ในโรงงานได้ด้วย เรียกว่าทำแค่อย่างเดียว แต่ช่วยโลกได้ถึงสองต่อเลยนะ
ลดบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ Refill station รักษ์โลกแบบนี้ใครๆ ก็ทำได้
อ้างอิงรูป ( https://www.marumura.com/refill-station/ )

5. Repair (ใช้อย่างทะนุถนอม ซ่อมแซมเท่าที่ทำได้)

เคยลองสังเกตสิ่งของรอบตัวดูบ้างไหม ว่ากำลังมีอะไรที่เราใช้มันผิดวิธี หรือกำลังทำให้มันพังก่อนถึงเวลารึเปล่า โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น การเปิดแอร์ร้อนกว่าอุณหภูมิห้อง หรือการใช้ไมโครเวฟกำลังแรงอุ่นอาหารเป็นเวลานานๆ หรือใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าวันละแปดชั่วโมง สิ่งเหล่านี้นอกจากจะทำให้เราต้องจ่ายค่าไฟมากขึ้นแล้ว ยังทำให้อุปกรณ์ต่างๆ พังเร็วขึ้นด้วย แต่หากเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ลองฝึกซ่อมอุปกรณ์ด้วยตัวเองดูบ้าง อย่างการเปลี่ยนอะไหล่ หรือต่อ เติม ปะ สิ่งต่างๆ แทนการซื้อใหม่ เพียงเท่านี้ ก็ช่วยลดปริมาณขยะได้เยอะแล้วล่ะ
 

6. Reduce (ลดการใช้สิ่งต่างๆ)

ข้อนี้ทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้ว เพราะการบริโภค หรือใช้สิ่งต่างๆ เท่าที่จำเป็น ไม่เพียงช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับปริมาณขยะเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวคิด หรือวิถีการใช้ชีวิตที่นำไปสู่ความสมดุลอีกด้วย ลองเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าขนาดใหญ่ ใช้ได้นาน แทนการซื้อสินค้าที่มีขนาดเล็ก หรือมีปริมาณน้อยหลายๆ ชิ้นดูสิ ส่วนถ้าอะไรที่มีอยู่แล้ว ก็ลองห้ามใจตัวเอง ไม่ซื้อของประเภทเดียวกัน หรือแบบเดียวกันไว้ที่มาไว้ที่บ้าน นอกจากจะลดปริมาณขยะได้มากแล้ว ยังเป็นวิธีตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นที่ดีอีกด้วย
 

7. Return (หมุนเวียนมาใช้ใหม่)

หลายคนอาจไม่รู้ว่า การคืนขวดน้ำอัดลม หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ กลับไปสู่ผู้ผลิตนั้น นอกจากจะผ่านการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่แล้ว กระบวนการดังกล่าว ยังมีส่วนช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางทะเลด้วย เนื่องจากขวดแก้ว หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นแก้ว ต้องใช้ทรายแก้วเป็นวัตถุดิบหลัก โดยทั้งหมดจะถูกขุดขึ้นมาจากบริเวณรอบๆ ชายฝั่งทะเล การใช้ทรายแก้วจำนวนมาก จึงทำให้แนวดินดอนชายฝั่งทะเลถูกทำลาย และสูญเสียรูปทรงดั้งเดิม อีกทั้งถูกกัดเซาะสูงขึ้นจนเกิดเป็นปัญหาภูมิทัศน์ทางทะเลตามมา เราจึงควรแยกขวดแก้วออกจากขยะอื่นๆ และส่งคืน เพื่อกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ และรักษาชายหาดที่สวยงามไปพร้อมกัน


อาจจะไม่ต้องทำตามให้ครบทุกวิธีก็ได้ แต่แค่ได้เลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเอง แล้วนำมาปรับใช้อย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถกลายเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญ ที่ช่วยให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้นอีกเป็นกอง

คลังความรู้สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพ สำหรับประชาชน
อ้างอิงรูป  (  http://healthydee.moph.go.th/view_media.php?id=578 )





 

แสดงความคิดเห็น