Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โด๋ยฟันธง!!! หละ หรอ เป็นภาษาวิบัติ!!!!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

โด๋ยฟันธง!!! หละ หรอ เป็นภาษาวิบัติ!!!!

วันนี้ไปถาม "ฝ่ายพิสูจน์อักษร" ของ1168มาแล้ว

หล่ะ หละ หรอ เป็นภาษาวิบัติแน่นอน ไม่ควรใช้ในนิยาย


*หากจะใช้ หล่ะ ต้องใช้ ล่ะแทน(ลองผันดู ได้เสียงเหมือนกัน)
*หากจะใช้ หละ ต้องใช้ ละแทน(ลองผันดู ได้เสียงเหมือนกัน)
*หากจะใช้ หรอ ต้องใช้ เหรอ หรือ แทน(หรอเป็นภาษาพูด แม้ตัวละครจะเป็นคนพูดก้ไม่ควรใช้)

ทั้งหมดที่ว่ามา ฟันธง!!!

*********************************************************

ความคิดเห็นที่ 35
นักเขียนที่ใช้ภาษาพูดแทนภาษาเขียนมีเยอะ เนื่องจากสื่ออารมณ์ บ่งบอกสถานภาพ และความแตกต่างของตัวละครแต่ละตัวขณะพูดได้ง่าย ทำให้คนอ่านเกิดจินตนาการได้เร็ว ไม่ต้องอาศัยถ้อยคำพรรณาโวหารซ้ำซากประกอบเพื่อความเข้าใจอยู่ตลอดเวลาขณะที่อ่านเรื่องนั้น ๆ
ถามว่าสมควรหรือไม่
อันนี้ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้แต่งแล้วล่ะ ว่าใช้คำนั้นด้วยวัตถุประสงค์อะไร

- ใช้เพื่อบ่งบอกอายุผู้พูดในเรื่อง
          เช่น   "ช้างพูดจริง ๆ หรอ ไม่หลอกเรานะ"    (เด็กเล็ก ๆ พูดไม่ชัด)
                    "ช้างพูดจริง ๆ เหรอ ไม่หลอกเรานะ"  (เด็กโตขึ้นไป)
                    "ช้างพูดจริง ๆ หรือ ไม่หลอกเรานะ"    (ได้ทุกวัย ขึ้นอยู่กับแนว)

- ใช้เพื่อบอกอารมณ์ผู้พูดในขณะนั้น
                   "อ๋อหรอ ไม่บอกไม่รู้" 
                   "อ๋อเหรอ ไม่บอกไม่รู้"
                   "อ๋อหรือ ไม่บอกไม่รู้"
                 
- ใช้เพื่อความสมจริงกับยุคสมัย หรือแนวของนวนิยาย
               เช่น มักจะใช้คำว่า "หรือ" ทั้งเรื่องในแนวพีเรียด (ย้อนยุค)
               ตัวละครจำเป็นต้องใช้คำที่สละสลวย เพื่อบ่งบอกถึงชาติตระกูล ฐานะ
               ที่ออกจะค่อนไปทางสูง
               แต่ไม่ได้หมายความว่าแนวอื่นห้ามใช้ ยืนยันว่ายังคงต้องใช้อยู่เช่น
               เดิม ยกเว้นจะมีเหตุผลอื่นตามข้อแรก หรือข้อต่อไปที่จะได้อ่าน

- ใช้เพื่อบอกคาแร็กเตอร์ของตัวละคร
               เช่น ฝรั่งพูด จะใช้คำว่า "เหรอ"
                       เด็กเล็ก ๆ พูด จะใช้คำว่า "หรอ"
                แต่ไม่ได้หมายความว่าในเรื่องจะไม่ใช้คำว่า "หรือ" เลย เพราะถ้า
                หลุดจากเหตุผลของคาร์แรกเตอร์แล้ว ก็ควรใช้ในตัวละครอื่น ๆ
                ว่า "หรือ" ตามปกติของภาษาไทย 

- ใช้ด้วยความเคยชิน
                ประเภทนี้ประมาณว่าเอะอะก็เหมาใช้ทั้งเรื่อง ใช้เพราะรู้สึกว่าต้องใช้
           ใช้เพราะเคยชินที่จะใช้  ใช้เพราะเห็นคนอื่นเขาใช้กัน ซึ่งเป็นการใช้ที่
           ไร้เหตุผล ไม่ได้ดูองค์ประกอบหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้ จนทำให้คน
           อ่านรู้สึกว่าเป็นภาษาวิบัติ
                 สำหรับข้อนี้ใครที่เป็นอยู่ ควรปรับปรุงตัวอย่างแรง

สรุป...การใช้ภาษาเพื่ออารมณ์ของงานเขียน มีการอลุ่มอล่วย แต่ต้อง
ดูด้วยว่าจำเป็นมากน้อยแค่ไหน สมควรใช้ทั้งเรื่องหรือไม่
ยกตัวอย่าง...เรื่อง "ใยเสน่หา บทประพันธ์ของ คุณทมยันตี
    "ปากิม..." คนยืนข้างท้องร่องออกคำสั่ง คนท่องน้ำอยู่ในท้องร่อง
    "เด็ดก้านบัวยาว ๆ น้า เอามาทำฉายฉ้อย"
    "สายสร้อย!" คนในท้องร่องแก้คำแล้วบ่น "พูดยังไม่จั๊ด อุตส่าห์สั่ง"
    "นั่นละ เลาจาเอา" คนอยากได้ไม่สนใจหรอกว่าจะพูดยังไง
ฉะนั้น  การใช้คำว่า  หรือ  เหรอ  หรอ  หรือแม้แต่ เรอะ  จึงไม่ผิดแต่ประการใด
สำคัญต้องใช้อย่างมีเหตุผล  หากตัวละคร หรือองค์ประกอบหลายๆ อย่างไม่จำเป็นให้ต้องใช้คำแสลง ก็ควรกลับมาใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง
อย่างกรณีตัวอย่างข้างต้นของคุณทมยันตี  ตัวละครที่พูดไม่ชัดเป็นเด็ก คนเขียนต้องการสื่อเพื่อให้คนอ่านรู้ได้เดี๋ยวนั้นว่าตัวละครคนนี้เป็นเด็ก และมีคาแรกเตอร์ต่างจากเด็กอื่นคือพูดไม่ชัด  (เด็กบางคนไม่จำเป็นต้องพูดไม่ชัด มันขึ้นอยู่กับการวางพล็อตและรายละเอียดอื่นๆ  ของผู้แต่งเอง)
แต่ถึงอย่างนั้น...ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณทมยันตีจะใช้ภาษาทั้งเรื่อง  เพราะพอเด็กคนนี้โต หล่อนก็กลับมาใช้คำว่า "หรือ" เช่นปกติทั่วไป นั่นหมายถึงคำไม่ชัดมีอายุในตัวของมันเอง  ซึ่งถือเป็นการดึงภาษาพูดมาใช้ได้อย่างมีเหตุผล

ถ้าเลือกมาใช้อย่างมีเหตุผล เราก็ไม่เรียกว่าเป็นภาษาวิบัติหรอกค่ะ คนเขียนย่อมรู้ดีว่าทำไมจึงใช้คำนั้น และสามารถบอกเหตุผลได้...

แต่ถ้าใครยังใช้ดะด้วยความเคยชิน อยากให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใหม่ เพราะนั่นหมายถึงคุณกำลังจะทำให้ภาษาวิบัติเข้าจริง ๆ แล้วนั่นแหละ

อ้อ! ที่บอกว่า "**นิยายใครยังเป็น นิยายวิบัติ อยู่ รีบเปลี่ยนซะนะ..."
ใช้คำรุนแรงไปหน่อยไหมคะ อย่างกรณี "หรอ" "หล่ะ" อะไรนั่นเห็นด้วยว่า
ไม่ควรใช้ แต่ก็ไม่ควรเหมาว่าการใช้ภาษาเขียนอื่น ๆ ที่มีประปรายในเนื้อเรื่องเป็นภาษาวิบัติ และทำให้นวนิยายเรื่องนั้น ๆ กลายเป็น นวนิยายวิบัติ  อย่างที่บอก...วัตถุประสงค์ในการใช้มี เหตุผลของคนแต่งมี (ยกเว้นพวกไม่รู้จริง ๆ)
ซึ่งถ้าเหมารวมแบบนั้น แล้วหลาย ๆ เรื่องของนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียง จะถือว่าเขาคนนั้นเป็นคนไทยวิบัติไปด้วยหรือเปล่า ทางที่ดีอย่าเหมารวมเลยค่ะ
ภาษาพูดจริง ๆ ที่ใช้ในบทประพันธ์ยังมีให้เห็นมาก ต่างเหตุผลกันไป แต่สำหรับเด็ก ๆ ยุคนี้ ที่นับวันภาษาไทยชักจะแย่เอาจริง ๆ จนถึงขั้นไม่รู้ว่าเขียนตัวไหนถูกหรือผิด ก็คงต้องสอนกันไป แต่ไม่ควรใช้ถ้อยคำรุนแรงเพราะความไม่รู้ หรือจำเป็นมาฟันธงว่ามันคือความวิบัติเลยค่ะ

นักพิสูจน์อักษรมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เขาเน้นความถูกต้อง อันนั้นเป็นสิ่งที่ถูก  แต่กรณีของนวนิยาย ทำไมไม่ไปลองถามนักประพันธ์ดูบ้างล่ะคะ ว่าเหตุผลที่เขาใช้เพราะอะไร คนที่ตอบได้ แสดงว่าเขามีจุดมุ่งหมายของการใช้ ถึงแม้มันจะไม่ค่อยถูกต้องนัก แต่ต้องยอมรับว่าภาษาน่ะละเอียดอ่อน โดยเฉพาะการสื่อถึงคนอ่านด้วยอารมณ์ที่แตกต่างจากจดหมาย ความเรียง หรือหนังสือราชการทั่ว ๆ ไป ซึ่งถ้าใช้ตรงมาก ๆ บางที
ก็ขาดอรรถรสของคำว่านวนิยายค่ะ นวนิยายไม่ใช่หนังสือราชการ  หรือกฏหมาย ที่ต้องตีความตามตัวอักษรล้วน ๆ  แต่มีเป็นเรื่องของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง จนบางทีต้องเข้าใจนะคะ  และแน่นอน...ความถูกต้องและคำว่า
พอเหมาะแก่การใช้ก็ต้องคำนึงด้วย

ที่บอก...ไม่ใช่สนับสนุนให้เด็ก ๆ หลงเขียนคำผิด ๆ ต่อไปนะคะ แค่สอนให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แบบไหนพอหย่อนยานได้ แต่แบบไหนไม่ได้
 X ประเภท  หล่ะ มั้ย เทอ จัย โกด เกียด จิง  ฯลฯ  อันนี้ต่างหากที่เป็นภาษาวิบัติ
มันไม่ได้ผันวรรณยุกต์มาจากอะไรเลยเหมือนบางคำ แต่เด็ก ๆ ก็ยังนิยมใช้กันจนติดเป็นนิสัย เขียนคำถูกต้องไม่เป็น แต่ดันรู้จักคำแสลง ฟังแล้วงงไหมล่ะ

ยังไม่รวมอีโมฯ ที่ผลุบโผล่เข้ามาอีก แต่นั่นถือว่าเป็นเทคนิคการนำเสนออีกรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่ากัน

สำคัญคือ ควรเขียนภาษาไทยให้ถูกก่อนที่จะกระโดดมาใช้คำแสลง ไม่ใช่ใครถามเอะอะก็บอกว่ามีเหตุผลตามที่อธิบาย แต่พอให้เขียนคำดั้งเดิม ดันเขียนไม่ถูกอีกซะนี่  อันนี้ก็สมควรพิจารณาตัวเองค่ะ
 จาก : r e d s e a 


*************************************************************

ความคิดเห็นที่ 40
r e d s e a
ค่อนข้างเห็นด้วยค่ะ พอดีคำว่า "นิยายวิบัติ" นี่เรามักจะเอาไปวิจารณ์นิยายที่ใช้ภาษาวิบัติมากๆ ทั้งเรื่อง เพื่อให้เขารู้สึกตัว  บังเอิญไม่ได้อ่านนิยายไทยเก่าๆอย่างของคุณทมยันตีเท่าไหร่  เลยไม่ทราบว่ามีการใช้ด้วย(อย่างมีเหตุผล)

เอาเป็นว่าจุดที่เราใช้คำแรงไปนี่ก็ต้องขอโทษด้วยจริงๆนะคะ...

แต่ที่จริงเราเองก็มีความคิดว่าภาษาวิบัติสามารถใช้ได้หากมีเหตุผล  แต่บังเอิญเวลาไม่อำนวย เลย "แนะขั้นต้น" ให้ทุกคนไปก่อน อย่างว่าแหละค่ะ "ต้องเขียนถูกก่อน แล้วจึงแปรได้"

ในจุดนี้ก็ต้องขอบคุณ คุณr e d s e aมากๆ ที่มาพิมพ์ตอบยาวขนาดนี้ บังเอิญมีจุดที่มีแนวคิดเหมือนเราด้วย อันนี้ขอบคุณมากๆค่ะ

อย่างเรื่องชิทแตก ของปราบดาก็วิบัติทั้งเรื่อง แต่มีเหตุผล เราก็เลยชอบเรื่องนี้
แต่ที่พูดไปแค่ด้านเดียวว่า ให้รีบเปลี่ยนซะ ก็เพราะอยากให้ทุกคนเขียนให้ถูกก่อน แล้วจะแปรก็ว่ากันต่อไปในอนาคต

เอาเป็นว่าเห็นด้วยค่ะ^^
 จาก : ++Wadoiji++
*********************************************************

ความคิดเห็นที่ 41
++Wadoiji++


ไม่เป็นไรนะคะ เราต่างคนต่างโพสต์ข้อความไม่ใช่เพื่อทะเลาะตบตีอย่างคนขลาดไร้สติเขาทำกัน แต่เราทำเพื่อค้นหาความถูกต้องอันเป็นประโยชน์ให้กับนักเขียน และที่ไม่ใช่นักเขียน... ถือซะว่าให้วิทยาทานแก่เด็ก ๆ  เขาจะรับมากน้อยแค่ไหนก็คงต้องแล้วแต่เขา แต่ยอมรับว่าดีใจที่เห็นคุณกระตือรือร้นเรื่องการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องค่ะ ^^    ไม่ใช่สักแต่ใช้กันตามแฟชั่นพร่ำเพรื่อ กลายเป็นกระแสที่เกาะกินพฤติกรรมนาน ๆ จนสะกดคำที่ถูกต้องไม่เป็น

น้องคนไหนยังดื้อแพ่งจะใช้ อีกหน่อยจบไปมีงานทำ เขาจะรู้ซึ้งเองค่ะว่าการเขียนภาษาไทยให้ถูกมันมีความหมายมากแค่ไหน  อย่าเอาความเท่ห์ชั่ววูบมาทำให้กลายเป็นความเคยชิน มันไม่มีผลดีกับอะไรเลย  ที่สำคัญ...ฝรั่งคงงง ถ้ารู้ว่าคนไทยเขียนหนังสือชาติตัวเองยังไม่ถูก ทั้งที่โตมากับภาษาพ่อภาษาแม่
แต่ดันทำแตกฉานเรื่องอื่นซะดิบดี  แบบนี้ไม่เรียกว่าอาย ก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้วล่ะค่ะ

สุดท้าย...ยินดีที่ได้คุยกันนะคะ คุณ ++Wadoiji++

และยินดีด้วยกับนักเขียนหลายคนที่ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง ก้าวต่อไปของพวกคุณก็คึอ การระวังคำแสลง ภาษาพูด ที่อาจจะต้องใช้ในบางกรณี สำคัญคืออย่ามากจนน่าเกลียด และต้องคุมให้มันมีอยู่ในเหตุผลของมันเองอย่างที่นักเขียนในอดีตเขาทำกันนะคะ
 จาก : r e d s e a


PS.  สีเส้นสายรายร้อยแสนสีสัน สีละลันลานตาสร้างงานสวย สีเทราดปาดเนื้อเอื้ออำนวย แม้คนม้วยงานคงอยู่คู่ชีวา

แสดงความคิดเห็น

29 ความคิดเห็น

zato 5 ก.พ. 49 เวลา 22:41 น. 1

=3= บุ่ยๆ ((จะแต่งตอนจบแต่ดันตันซะก่อน เซ็งเลย...))


PS.  ด้วยความปราถานาดีจากมนุษย์ที่พบเจอแต่เรื่องที่สับสนและงุนงง...ซาโต๋ =_="
0
tongfar 5 ก.พ. 49 เวลา 22:50 น. 4

แล้วคำพวกนี้ล่ะครับ?

รึ //// เรอะ

บางทีผมใช้ปิดประโยคแทน เหรอ หรือ น่ะ มันวิบัติหรือเปล่า?

โดยส่วนตัวผมใช้มันเกือบทุกคำตามสถานการณ์และความลื่นหูน่ะนะ แต่วิบัติจะไม่มียกเว้นแต่เผลอวิบัติไม่รู้ตัว = ="

0
Zzz_sleepy 5 ก.พ. 49 เวลา 22:56 น. 5

สรุปว่าควรเขียนให้ถูกหลักทั้งหมดไปก่อนแล้วค่อยไปแปรเอาทีหลังสินะคะ = =

ภาษาบ้านเราเนี่ยเยี่ยมสุดแล้ว ^^


PS.  นางฟ้า..ไม่จำเป็นต้องดีกว่าปีศาจ..เสมอไป... น้ำตา..หนึ่งในสัญลักษณ์ของการมีชีวิตอยู่...
0
Wadoiji 5 ก.พ. 49 เวลา 23:01 น. 6

ที่tongfar พูดมาทั้งหมด รึ เรอะ เหรอ เป็นภาษาพูด ใช้ในช่องคำพูด (หรือจุดที่ตัวละครคิดในใจก็น่าจะใช้ได้ด้วย) ส่วนหรือ เป็นภาษาเขียน ในลบทบรรยาย

ที่กล่าวมานี้ ใครมีข้อมูลแย้ง แย้งได้นะ


PS.  สีเส้นสายรายร้อยแสนสีสัน สีละลันลานตาสร้างงานสวย สีเทราดปาดเนื้อเอื้ออำนวย แม้คนม้วยงานคงอยู่คู่ชีวา
0
Wadoiji 5 ก.พ. 49 เวลา 23:06 น. 7

คห.5 เข้าใจถูกจ้า >w</


PS.  สีเส้นสายรายร้อยแสนสีสัน สีละลันลานตาสร้างงานสวย สีเทราดปาดเนื้อเอื้ออำนวย แม้คนม้วยงานคงอยู่คู่ชีวา
0
Ion_Fuser 6 ก.พ. 49 เวลา 01:06 น. 9

ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์อะนะ

บางทีแบบจงใจก็มี

แต่จะว่าไป จะเรียกได้ไงว่ามันวิบัติ ใช้คำว่า"เปลี่ยนแปลงไปจากแบบแผนเดิม"ไม่ดีกว่าเหรอ
เอาอะไรมาตัดสิน


PS.  I have no love in my veins. How can it flow into my heart?
0
จอมโจรไอซี่ 6 ก.พ. 49 เวลา 01:18 น. 10

ตกลง คำว่า 'เหรอ' ไม่วิบัติใช่มั๊ยเนี่ย เฮ!


PS.  ...ผิดไหม หากว่าเราเป็นแบบนี้ อาจจะเป็นแบบที่ไม่ถูกใจใคร ๆ สักเท่าไหร่ แต่นั่นคือสิ่งที่เป็นเรา แสดงออกโดยเรา และไม่ได้ลอกเลียนมาจากใคร...
0
ทอฝัน & ปลายฟ้า 6 ก.พ. 49 เวลา 13:40 น. 13

เช่นเดียวกันค่ะ หรือใช้กับพวกสูงๆ หน่อยจะดี ดูมีมาตรฐาน


PS.  คำว่ารัก...คำว่าเหงา...คำว่าเศร้า คำว่าเรา...จะเคยมีบ้างไหม ไม่เคยรักกันเลยหรืออย่างไร ช่วยเข้าใจ...ฉันรักเธอ...ตลอดกาล ...ทอฝัน
0
หัวสมองตีบตัน 7 ก.พ. 49 เวลา 19:00 น. 16

วิบัติแน่นอน... เพราะมันไม่เคยเห็น =_='' (หรือว่าตัวเองไม่ได้ใช้นั่นเอง)


PS.   นามปากกา Red ink ร่วมกำจัดภาษาวิบัติ!! "ขยะ" ของนิยาย
0
GreyDragon 4 มี.ค. 49 เวลา 16:07 น. 17

กรำ...ข้าพเจ้า เขียนจบไปภาคนึงแล้ว

ใช้ หรอ หมดเลย ตาย.......หก


PS.  ข้าพเจ้าชักไม่แน่ใจ.....ว่า..."เพื่อนแท้" มันมีจริงอย่างนั้นหรือ ?? ฤาจะเป็นเพียงแค่คำสวยหรู....? หรือ...เพราะข้าพเจ้าเดิมทีคือมนุษย์ที่ไม่เคยศรัทธาในเรื่องใดใดทั้งสิ้น..แม้แต่..คำว่า.."มิตรภาพ" ..
0
Poii_PLoY 9 มี.ค. 49 เวลา 14:05 น. 18

แหะๆ ใช้ผิดมาตลอดเลยเรา


PS.   เวลาแห่งความสุขจากเราไป แต่เดี๋ยวก้อกลับมา ไม่นานหรอกนะ
0
kalo_loveferin 16 มี.ค. 49 เวลา 10:09 น. 20

งับ ความรู้ใหม่ของหนูเลยงับ ^^ ขอบคุณค่ะ


PS.  เพื่อศึกนี้จะขอหลั่งเลือดพลีชีพจะไม่มีคำว่าถอยจะสู้จนกว่าจะได้ชัยจะสู้แม้เป็นคนสุดท้ายหรือคนเดียวที่จะสู้ สู้ให้ประวัติศาสตร์ต้องจารึกว่าครั้งหนึ่งที่นี่วันนี้ข้าเคยมีชัยเหนือเดมอส
0