Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประวัติศาสตร์เมโสโปเตเมีย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

คราวที่แล้ว โมโม่ก็นำประวัติศาสตร์แบบญี่ปุ๊น ญี่ปุ่น ของพี่ยุ่นมาฝากแล้วนะเจ้าคะ

http://www.dek-d.com/myBoard/view.php?id=514894 <<< ลิงค์เจ้าค่ะ

คราวนี้โมโม่ก็ขอนำเสนอประวัติศาสตร์เมโสโปเตเมียกันบ้าง เริ่มเลยนะคะ ^^

 

บทนำ

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะชนชาติที่สร้างสรรค์อารยธรรมนี้ได้สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่าแก่มนุษยชาติอย่างมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์อักษร การค้นพบดวงดาวที่สำคัญ การสร้างระบบชลประทาน หรือแม้แต่การตรากฎหมายที่สำคัญของพระเจ้าฮัมบูราบี
ซึ่งรายละเอียดจะได้ร่วมกันอภิปรายต่อไปนี้

แนวความคิดของอารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมีย

1. มนุษย์รวมตัวกันอยู่ในรูปองค์กรทางการเมือง แบบนครรัฐเป็นอันดับแรก และสามารถสร้างสรรค์ความเจริญภายใต้รูปแบบการปกครอง
2. การผลิตจนเหลือกินเหลือใช้ในชุมชนหนึ่งกับความยากไร้และแร้นแค้นในบางชุมชนก่อให้เกิดสงครามซึ่งตามมาด้วยการที่ชุมชนหนึ่ง
สถาปนาอำนาจเหนือชุมชนอื่นๆ ที่พ่ายแพ้ในรูปขององค์กรทางการเมืองแบบจักรพรรดิ
3. การขยายตัวทางการเมือง และเศรษฐกิจในรูปแบบของจักรวรรดิในยุคแรกเป็นไปอย่างกว้างขวาง

ดังนั้นเราจำต้องพิจารณาปัจจัยดังกล่าวเพื่อทำความเข้าใจในประเด็นของเนื้อหาเพื่อดังต่อไปนี้ด้วยคือ
1. วิเคราะห์การจัดรูปองค์กรทางการเมืองแบบแรกของโลก ความสัมพันธ์ของรูปแบบองค์กรนั้นกับความสำเร็จของชุมชนนั้น
และบอกความหมายของนครรัฐได้ถูกต้อง
2. บวกสาเหตุขั้นพื้นฐานของสงครามโดยดูตัวอย่างจากความเป็นจริง ในพฤติกรรมของชุมชนโบราณ และสามารถอธิบาย
ความหมายของจักรวรรดิได้ถูกต้อง
3. จำแนกประเภทของการรุกรานและผลของการรุกราน


อารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมีย

เมโสโปเตเมีย เป็นคำภาษากรีก แปลว่า ระหว่างแม่น้ำ ดินแดนที่ชาวกรีกเรียกว่าเมโสโปเตเมียนี้ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำไทกรีสและยูเฟรตีส
เป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์" ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ที่ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
และอ่าวเปอร์เซีย

เมโสโปเตเมีย เป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็น น้ำจากแม่น้ำที่มาจากหิมะละลายในภาคฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์มิเนีย
น้ำจะพัดพาเอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สินและชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ

ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นเครื่องดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลัง
ของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ซึ่งเมื่ออยู่ไปนานๆ
เข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือและตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอารเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่มมิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์

คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็น
พื้นฐานสำคัญ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยธรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ

ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

เมโสโปเตเมียแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณคำว่าเมโสโปเตเมียเป็นภาษากรีก มีความหมายว่าดินแดนระหว่างแม่น้ำที่สอง
คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และ ยูเฟรตีส (Euphrates) ปัจจุบันคือประเทศอิรัก มีนครหลวงคือกรุงแบกแดด แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนีย
และเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชินาร์ (Shina) เกิดจากการทับถมของดินที่แม่น้ำพัดพามากล่าวคือในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยัง
บริเวณปากน้ำทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่ง ทุกๆ ศตวรรษ ( ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)

อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำ และทะสาบแคสเบียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดง
และมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรีย และปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน

เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย (Assyria) บริเวณทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน
นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใด จะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่ และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตก
กับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประวัติเรื่องราวต่างๆ ของชนชาติเหล่านี้จึงค่อนข้างสับสน

ประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญของแต่ละแคว้นที่แยกออกจากกัน และเรื่องราวทางอารยธรรมในเมโสโปเตเมีย
มีหลักฐานยืนยันทางโบราณคดีว่าเก่าแก่นานนับถึง 8,000 - 7,000 B.C. เช่น การขุดพบหมู่บ้านที่เมืองจาร์โม (Jarmo) ในอิรักใกล้แม่น้ำไทกรีส
เมืองซาทาล ฮือยึค (Catal Huyl) ภายใต้ของอนาโตเลีย (ประเทศตุรกี) ซึ่งเมื่อเทียบกับอิยิปต์แล้ว หลักฐานทางโบราณคดีในเมืองเก่าแก่ใกล้ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์คือที่ไฟยูม (Faiyum) มีอายุเพียง 4,500 B.C. เท่านั้น ตัวอักษรของเมโสโปเตเมียก็ปรากฎว่าใช้มานานแล้ว
อาจจะก่อนอียิปต์หลายร้อยปีอีกด้วย แต่ก็ไม่ปรากฎยืนยันว่าตัวอักษรของเมโสโปเตเมียให้อิทธิพลแก่อียิปต์แต่อย่างใด

ชนชาติกลุ่มแรกที่มีอายุในสมัยหิน และเข้ามาอยู่อาศัยระหว่างหุบเขาริมแม่น้ำจอร์แดนประเทศอิรัก เรียกว่า เจริโค (Jericho) มีอายุราว 8,000 B.C. การขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดีขุดค้นซากกำแพงยาวสร้างด้วยหิน สูงถึง 12 ฟุต หนา 5 ฟุต และพบซากหอคอยซึ่งมีความสูงถึง 30 ฟุต รูปแบบการก่อสร้างแสดงอารยธรรมดั้งเดิมของมนุษย์ทีใช้มาก่อสร้าง

ชนกลุ่มต่อมา คือซาทาล ฮือยึค (Catal Huyuk) มีอายุราว 7000-5000 B.C. นักโบราณคดีได้ขุดลงไปพบเมืองต่างๆ ที่ทับถมเป็นชั้นๆ
ถึง 12 ชั้น และชั้นที่ 4 พบซากเมืองมีผังต่อเนื่องคล้ายเมืองใหญ่ แต่ไม่มีถนน ตัวอาคารเป็นห้องโถง มีภาพเขียนหนัง
และตกแต่งปฏิมากรรมที่ทำมาจากเขาสัตว์ งานจิตรกรรมบนผนังของ ซาทาล ฮือยึค หลังจากพิสูจน์ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
แล้วปรากฎว่ามีอายุราว 6,200 B.C. เป็นภาพหมู่บ้านที่อาศัยมากมาย มีภาพภูเขาไฟกำลังระเบิด สำหรับงานปฏิมกรรม เป็นรูปปั้นจากดินดำ
และรูปแกะสลักจากหินชั้นเล็กๆ สูงประมาณ 2-8 นิ้ว

แม้พวกเจริโคและซาทาล ฮือยึค จะเป็นชนชาติที่ปรากฎหลักฐานว่าเก่าแก่ที่สุดในเมโสโปรเตเมีย แต่ก็เข้าใจว่ายังไม่มีอารยธรรมใดจะเป็นเครื่องยืนยันว่ามีความเจริญหลุดพ้นจากยุคหินหรือยุคโลหะมาได้ ชนชาติเก่าแก่ชาติแรกที่ปรากฎ
หลักฐานแสดงความเจริญรุ่งเรือง และมีอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดในเมโสโปเตเมีย คือ ชนชาติซูเมอร์และบาบิโลเนีย


PS.  -*-MomO-*- โมโม่ตัวน้อย กระโดดด็อกแด็ก $oul Hunter $chool $oul Hunter นักล่าวิญญาณ บ้า บ๊อง ติ๊งต๊อง อยู่แล้ว แรมโบ้กระพือปีก พั่บ พั่บ (^-^)/ ~ /(^-^) ~ (^-^)/ ~ อะฮ้อย~อะฮ้อย~~~

แสดงความคิดเห็น

>

185 ความคิดเห็น

-*-MomO-*- 9 ก.พ. 49 เวลา 16:39 น. 1
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย คือ

1. ความคิดสร้างสรรค์รักษา ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรมของกลุ่มชน 6 กลุ่มคือ
1.1 สุเมเรียน (Sumerians)
1.2 อัคคาเดียน (Akkadians)
1.3 อะมอไรท์ (Amorites)
1.4 คัสไซท์ (Kassites)
1.5 อัสซีเรียน (Assyrians)
1.6 แคลเดียน (Chaldeans)

2. แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ทำให้เมโสโปเตเมียชุ่มชื้นเกิดการรวมตัวของกลุ่มชนและกำเนิดอารยธรรมเฉพาะขึ้น

3. พรมแดนธรรมชาติซึ่งมีส่วนช่วยเป็นกำแพงป้องกันศัตรูภายนอกแม้ไม่ดีเท่าแถบลุ่มน้ำไนล์ก็ตาม แต่ก็เอื้ออำนวยให้กลุ่มชนซึ่งผลัดกันขึ้นมีบทบาทในเมโสโปเตเมียสามารถใช้ประโยชน์ของพรมแดนธรรมชาตินี้กำเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้น กล่าวคือทิศเหนือจรดเทือกเขาอเมเนียทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซีย ทิศตะวันออกจรดแนวเทือกเขายาว ทิศตะวันตกจรดทะเลทรายอารเบียน
การรวมตัวทางการเมืองของเมโสโปเตเมีย

การรวมตัวอย่างถาวรครั้งแรกกระทำได้เป็นผลสำเร็จโดยผู้พิชิตชาวเซเมติคผู้หนึ่งซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งอัคคัตทรงพระนามว่าซาร์กอน พระองค์ทรงได้เมโสโปเตเมียไว้ในครอบครองเมื่อประมาณปี 2370 ก่อนคริสตกาล และพระราชวงศ์ของพระองค์ปกครองอย่างยากลำบาก ต่อมาอีกหลายชั่วคน (ประมาณ 2370-2230) กษัตริย์ซาร์กอนทรงได้รับการยกย่องในสมัยนั้น เพราะจักรวรรดิของพระองค์เป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกที่เคยรู้จักมา ที่สามารถรวบรวมอาณาจักรอัคคัตและซูเมอร์เข้าไว้เป็นหน่วยการปกครองเดียวกันและเรื่องเล่าในสมัยต่อมา
ได้ขยายให้ใหญ่โตยิ่งไปกว่า ความเป็นจริงเล่ากันว่ากษัตริย์ซากอน ได้ทรงปกครองประชาชนของดินแดนทั้งหมด ชัยชนะของพระองค์มีผลในการเร่งให้วัฒนธรรมสุเมเรียนเผยแพร่ไปทั่วตะวันออกใกล้ได้เร็วขึ้นทายาทองค์หนึ่งของกษัตริย์ซาร์กอนฝ่าฝืนขนบประเพณีของสุเมเรียน และตัดสินใจเสี่ยงด้วยการอ้างพระองค์เป็นเทพ

ต่อมาราชวงศ์ซาร์กอน แห่งอัคคัตถูกอนารยชนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าทำลายล้าง ยังผลทำให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองอีกช่วยระยะหนึ่ง ครั้งเมื่อประมาณ 2,100 ก่อนคริสตกาล นครรัฐสุเมเรียนแห่งอูร์กลับได้อำนาจ และบรรดากษัตริย์แห่ง14 นครนี้ก็อ้างตนเป็นเทพเช่นเดียวกัน แต่ในที่สุดจักรวรรดิอูร์ก็ถูกทำลายลงด้วยการเบียดเบียนของอนารยชน และความแตกแยกภายใน พร้อมกับความหายนะของจักรวรรดิอูร์อำนาจทางการเมืองของสุเมเรียนก็สิ้นสุดลงตลอดไป อนาคตของเมโสโปเตเมียจึงอยู่ในมือของพวกเซไมท์

ในช่วงระยะที่เกิดความวุ่นวายคือประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าเซเมติคกลุ่มใหม่หลายกลุ่มพากันอพยพเข้ามายังดินแดนลุ่มแม่น้ำ กลุ่มหนึ่งของชนเผ่านี้คือพวกอะมอไรท์จากซีเรียเข้ามายึดครองนครต่างๆ รวมทั้งบาบิโลนเมืองที่ไร้ความสำคัญพระเจ้าฮัมมูราบี (ประมาณ ค.ศ. 1792 - 1750) กษัตริย์อะมอไรท์แห่งบาบิโลนผู้สามารถและมีชื่อเสียง เข้าพิชิตดินแดนแห่ง อัคคัตและมูเซอร์ได้ทั้งหมดและขยายอำนาจไปจนทั่วดินแดนรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ตั้งแต่ทะเล เมดิเตอร์เรเนียนมาจนถึงอ่าวเปอร์เซีย เพียงชั่วเวลาอันสั้น บาบิโลนก็เปลี่ยนจากเมืองเล็กๆ ที่ไร้ความหมายมาเป็นนครหลวงของจักรวรรดิที่ทรงอำนาจ

สิ่งที่จะต้องเน้นไว้ในที่นี้ก็คือหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการทางการเมืองเหล่านี้มีอยู่น้อยและไม่ชัดเจน
และรายละเอียดบางประการในการประติดประต่อเรื่องของเราอาจผิดพลาดได้ ศักราชในช่วงสมัยเริ่มแรกนี้ก็อาจผิดไปถึงศตวรรษหรือมากกว่านั้นอย่างไรก็ตามลำดับเหตุการณ์ต่างๆ นั้นจัดได้อย่างถูกต้อง และไม่น่าสงสัยว่าพระเจ้าฮัมมูราบี ผู้ได้รับแนวความคิดจากขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมสุเมเรียนซึ่งได้แพร่หลายอยู่เกือบ 2,000 ปีแล้ว จะไม่สามารถสร้างสรรค์โครงสร้างทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมขึ้นมาได้ ประมวลกฎหมายอันลือชื่อของพระองค์เป็นเสมือนหน้าต่างเผยให้เห็นชีวิตประจำวันในจักรวรรดิบาบิโลเนีย กฎหมายฉบับนี้ยึดถือประมวลกฎหมายที่มีมาแล้วและที่ย่นย่อของชาวสุเมเรียน และได้มาจากประเพณีของสุเมเรียนเป็นส่วนใหญ่ พระเจ้าฮัมมูราบีมิได้ทรงอ้างพระองค์เป็นเทพเจ้า แต่ทรงรับบทบาทตามขนบธรรมเนียมเดิมคือผู้รับใช้บรรดาเทพเจ้า สังคมที่ทรงปกครองแบ่งออกเป็นชั้นต่างๆ คือ ชั้นขุนนาง เสรีชน และทาส รายละเอียดของกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการค้า แสดงให้เห็นถึงชีวิตค้าขายที่ตื่นตัวและสลับซับซ้อน แต่ทว่าประมาณกฎหมายของฮัมมูราบีนั้นเข้มงวดว่ากฎหมายสุเมเรียนที่ถือกำเนิดขึ้นก่อนอย่างเห็นได้ชัด แสดงถึงการใช้อำนาจเผด็จการในระดับสูงกว่าเดิม การลงโทษหนักปรากฎบ่อยๆ ในขณะที่แต่ก่อนนี้แทบจะไม่มีเลยและความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมโดยให้ผลกรรมตามทัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ตาต่อตา นั้นได้นำปฏิบัติอย่างรุนแรงน่าสะพึงกลัว ดังเช่น ถ้าบ้านหลังหนึ่งทรุดตัวลง ทำให้เจ้าของบ้านเสียชีวิตผู้สร้างบ้านหลังนั้นย่อมถูกประหารชีวิต ถ้าคนไข้ตายในระหว่างการผ่าตัด แพทย์ผู้ผ่าตัดถูกประหาร ถ้าผู้ป่วยเสียนัยตาข้างหนึ่งแพทย์จะต้องถูกตัดนิ้วทิ้ง นับเป็นการลงโทษชนิดที่ทำให้แพทย์ผู้นั้นมิอาจประกอบอาชีพได้อีก

การรุกรานจากภาคเหนือ : ประมาณปี 1,750 ถึง 1,550 ก่อนคริสตกาล

แม้ในขณะที่จักรวรรดิบาบิโลนกำลังมีอำนาจสูงสุด บริเวณตะวันออกใกล้ทั้งหมดก็ยังได้รับการกระทบกระเทือนจากการรุกรานของอนารยชนที่อพยพเข้ามาอยู่เรื่อยๆ บรรดาชนกลุ่มใหม่นี้อพยพจากภูเขาทางเหนือและตะวันออกเฉียงหนือสู่ดินแดนเมโสโปเตเมียเอเซียน้อย กรีก เกาะครีต และแอฟริกาภาคเหนือ ชนเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันอย่างรวมๆ ว่าพวกอินโด-ยูโรเปียน

กลุ่มชนต่างๆ ที่สร้างสรรอารยธรรมเมโสโปเตรเมีย

ชาวสุเมเรียน (Sumeriam)
เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชชาวสุเมเรียนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) ปากแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ซึ่งเรียกกัน ในเวลาต่อมาว่าดินแดนซูเมอร์ ในระยะแรกชุมชนชาวสุเมเรียนเป็นหมู่บ้านยุคหินใหม่ หมู่บ้านเหล่านี้ได้ขยายตัวขึ้นเป็นชุมชนวัด และในเวลาต่อมา ชุมชนวัดแต่ละแห่งได้พัฒนาขึ้นเป็นเมือง ที่สำคัญ ได้แก่เมืองเออร์(Ur) เมืองอิเรค (Ereck) เมืองอิริดู (Eridu) เมืองลากาซ (Lagash) และเมืองนิปเปอร์ (Nippur) แต่ละเมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่เป็นบริวาร ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่านครรัฐ (City State) นครรัฐเหล่านี้ต่างปกครองเป็นอิสระแก่กัน

ในขณะที่ชาวสุเมเรียน สถาปนานครรัฐขึ้นทางตอนล่างของลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส หลายนครรัฐชนกลุ่มอื่นๆ ก็ได้สถาปนานครรัฐของตน ในบริเวณตอนเหนือขึ้นไปอีกหลายแห่งแต่มีความเจริญทางอารยธรรมด้อยกว่านครรัฐของชาวสุเมเรียนในดินแดนซูเมอร์ก็ตามแต่ภาษา
ที่ใช้สืบมาจากรากเดียวกันคือภาษาอินโด-ยูโรเปียนอันเป็นต้นกำเนิดจากภาษาลาติน กรีก เปอร์เซีย สันสกฤต รวมทั้งภาษาเยอรมันและภาษาโรมานซ์ในปัจจุบัน มองจากแง่ของภาษาอนารยชนกลุ่มใหม่เหล่านี้ก็คือบรรพบุรุษของเรานั่นเอง การบุกรุกทางใต้ของชนเหล่านี้มีผลทำให้ชนเผ่าอื่นถูกแย่งที่ไปอย่างรุนแรงในช่วงประมาณปี 1750 ถึง 1550 ก่อนคริสตกาล พวกอนารยชนดังกล่าวตลอดจนพวกอื่นๆ ที่ดำเนินรอยตามได้ทำลายความต่อเนื่องทางการเมืองและวัฒนธรรมของดินแดนตะวันออกใกล้สมัยโบราณ ประมาณปี 1595 ผู้รุกรานเผ่าอินโด-ยูโรเปียน ก็ทำให้ราชวงศ์ของพระเจ้าฮัมบูราบีในนครบาบิโลนต้องสิ้นสุดลงซึ่งฉุดให้เมโสโปเตเมียเข้าสู่ช่วงเวลาอันยาวนานของความเสื่อมของทางวัฒนธรรมและความไม่สงบทางการเมือง

คนกลุ่มแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกอารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนสร้างขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร วรรณกรรม ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียนได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ

ข้อควรสังเกต
1. บริเวณเมโสโปเตเมียเป็นบริเวณที่มีอากาศรุนแรง ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ฝนตกน้อย (ปีหนึ่งไม่เกิน 3 นิ้ว) ความรุนแรงของภูมิอากาศทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ขาดความกระตือรือร้น เมื่อถูกศัตรูที่แข็งแกร่งรุกรานก็หลีกทางให้ เมโสโปเตเมียจึงเป็นบริเวณที่มีชนหลายชาติหลายภาษาผลัดเปลี่ยนกันเข้ามายึดครองตลอดเวลา
2. เมโสโปเตเมียตั้งอยู่ในที่โล่ง ปราศจากกำแพงธรรมชาติที่จะป้องกันการบุกรุกจากศัตรูภายนอก
ชนพวกแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณเมโสโปเตเมียคือ พวกสุเมเรียน (Sumerian) ชนพวกนี้จะสืบเชื้อสายมากจากชาติใดไม่อาจทราบชัด
ทราบแต่เพียงว่า เดิมเป็นชนเผ่าพเนจร อพยพมาจากภูเขาทางทิศตะวันออก เข้าไปตั้งถิ่นฐานแถบบริเวณปากแม่น้ำทั้งสอง
ก่อนเมื่อประมาณ 2900-2800 ปีก่อนคริสตกาลแล้วขยายสู่คาบสมุทรชินาร์ (Shinar)


PS.  -*-MomO-*- โมโม่ตัวน้อย กระโดดด็อกแด็ก $oul Hunter $chool $oul Hunter นักล่าวิญญาณ บ้า บ๊อง ติ๊งต๊อง อยู่แล้ว แรมโบ้กระพือปีก พั่บ พั่บ (^-^)/ ~ /(^-^) ~ (^-^)/ ~ อะฮ้อย~อะฮ้อย~~~
0
-*-MomO-*- 9 ก.พ. 49 เวลา 16:41 น. 2
ข. ชาวอัคคาเดียน (Akkadians)
ประวัติของพวกอัคคาเดียน
ในศตวรรษที่ 24 ก่อนคริสตกาล อัคคาเดียน เป็นเซมิติคเร่ร่อนพวกแรกที่เข้ามาตั้งมั่นในดินแดนอัคคัต ซึ่งอยู่ทางตอนกลางของเมโสโปเตเมีย
ประมาณ ปี 2571 B.C. อัคคาเดียนภายใต้การนำของซาร์กอนมหาราช สามารถโค่นอำนาจของลูกัล ซักกิซซิผู้นำของสุเมเรียนแห่งนครรัฐอัมมาได
้ อัคคาเดียนปกครองเมโสโปเตเมียแทนสุเมเรียน ซาร์กอนมหาราชก่อตั้งจักรวรรดิ สุเมโร-อัคคาเดียน (The Sumero-Akkadian Empire 2371-2112 B.C. ) ขึ้นจัดเป็นจักรวรรดิแรกในเมโสโปเตเมีย และเป็นจักรวรรดิแรกของโลก อัคคัต (Agade) คือชื่อเมืองหลวงของจักรวรรดิ อำนาจของอัคคาเดียนแผ่ขยายปกครองพื้นที่จากดินแดนเปอร์เซียถึงชายฝั่งตะวันออกของ ทะเล
เมดิเตอร์เรเนียน ประมาณปี 2113 ก่อนคริสตกาล อัคคาเดียนถูกรุกรานโดยอนารยชนพวกกูติ (Guti)
ซึ่งเป็นชนจากดินแดนเปอร์เซียเข้ามาในเมโสโปเตเมีย โดยผ่านทางเทือกเขาซากรอส กูติปกครองเมโสโปเตเมียประมาณ 107 ปี (2113-2006 B.C.)

ประมาณปี 2006 ก่อนคริสตกาล ผู้นำสุเมเรียนชื่อ Uruhagae แห่งนครรัฐ Ur ขับไล่กูติออกจากเมโสโปเตเมียได้สำเร็จ
ก่อตั้งจักรวรรดิ สุเมเรียนภายใต้ชื่อว่า The Empire of Ur (2006-1950 B.C.) ทั้งนี้อารยธรรมสุเมเรียนได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
พวกอีลามีดส์ (Elamites) เข้าปกครองซูเมอร์-อัคคัตช่วงสั้นก่อนการขึ้นมีอำนาจของพวกอะมอไรท์ในดินแดนบาบิโลเนียน

ค. ชาวอะมอไรท์ หรือบาบิโลเนีย (Amorites or Babylonians)

ประวัติของอะมอไรท์

ประมาณปี 2000 ก่อนคริสตกาล อะมอไรท์เป็นเซมิติคเร่ร่อนจากซีเรียเข้ารุกรานดินแดนตะวันตกของอัคคัต ภายใต้การนำของฮัมมูราบ
ี (Hummurabi 1792-1750 B.C.) กษัตริย์องค์ที่ 6 ของอะมอไรท์ ได้รวมดินแดนซูเมอร์-อัคคัตเข้าด้วยกัน
ก่อตั้งจักรวรรดิบาลิโลเนียครั้งที่หนึ่งขึ้น (The First Babylonian Empire) ที่เมืองบาบิโลน (Badylon)
บนฝั่งแม่น้ำยูเฟรตีส เป็นเมืองหลวงสมัยของกษัตริย์ฮัมมูราบี คือยุคทองของจักรวรรดิบาบิโลน ทั้งนี้เป็นเพราะนอกจากจะทรงสามารถในการรบและการปกครองเป็นผลให้จักรวรรดิขยายกว้างใหญ่ไพศาลแล้ว
ฮัมมูราบีได้และปรับปรุงอารยธรรมสุเมเรียนให้ดีขึ้น จักรวรรดิบาบิโลนเริ่มเสื่อมลงเป็นลำดับภายหลังการสิ้นพระชนม์ของฮัมมูราบีเพราะ

ก. กษัตริย์ผู้สืบทอดต่อมาไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ เป็นผลให้กลุ่มชนภายใต้การปกครองของอะมอไรท์ดำเนินการแยกตนเป็นอิสระ

ข. ประมาณปี 1590 ก่อนคริสตกาล ฮิตไตท์ชนชาตินักรบจากเอเซียไมเนอร์ เข้ารุกรานมุ่งยึดกรุงบาบิโลนแต่ไม่สำเร็จ

ค. การก่อกวนของเฮอเรีย (Hurrians) แห่งอาณาจักรมิทานมิ (Mitanni) อาณาจักรนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำยูเฟรตีส

ง. งบประมาณปลายศตวรรษที่ 16 ก่อนคริตกาล คัสไซส์ (Kassites) อนารยชนจาก
เทือกเขาใกล้ดินแดนเปอร์เซียตะวันตกเข้ารุกรานและโค่นอำนาจอะมอไรท์ได้สำเร็จ

อารยธรรมอะมอไรท์

1. กฎหมาย อารยธรรมเด่นที่อะมอไรท์ให้แก่เมโสโปเตเมียและโลกคือ ด้านกฎหมายฮัมมูราบีทรงกำหนดให้ตรากฎหมายฮัมมูราบี
(The Law Code of Hammurabi) ขึ้นจารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์ม กฎหมายฮัมมูราบีเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลก
(The First Code of Law in The World or in Human History) ระบุวางระเบียบทางด้านสังคมว่าด้วยเรื่องการสมรส
การหย่าร้างและมรดก เรื่องสิทธิของสตรี มรดกและการเลี้ยงดูทาส นอกจากนี้กฎหมายด้านการค้าตลอดจนวิธีการทำสัญญาต่างๆ บทลงโทษของผู้กระทำผิด นับว่ารุนแรงในลักษณะทำผิดไว้อย่างไรก็จะได้รับโทษเช่นนั้น เข้าหลักตาต่อตาฟันต่อฟัน ลักษณะกฎหมายดังกล่าวนี้โรมันรับและ
ให้ความสำคัญอย่างมากในเวลาต่อมา

2. การปกครอง เพราะจักรวรรดิบาบิโลเนียนขยายกว้างในสมัยกษัตริย์ฮัมมูราบี ทางเลือกบุคคลที่มีความสามารถเข้าปฏิบัติการ
ทั้งนี้เป็นเพราะทรงมุ่งสร้างความสงบและความมั่งคั่งให้แก่จักรวรรดิ

3. ศาสนา อะมอร์ไรท์ยอมรับในเทพเจ้าของสุเมเรียน แต่กำหนดให้เทพเจ้ามาร์ดุ๊กเป็นเทพเจ้าสูงสุด มีการสร้างซิกกูแรทขนาดใหญ
่ที่กรุงบาบิโลนทำเป็น 7 ชั้น สูง 650 ฟุต

4. วรรณกรรม วรรณกรรมเด่นของอะมอไรท์คือ The Epic of Gilgamesh ได้เค้าเรื่องมาจากตำนานสุเมเรียนเกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วมโลก


PS.  -*-MomO-*- โมโม่ตัวน้อย กระโดดด็อกแด็ก $oul Hunter $chool $oul Hunter นักล่าวิญญาณ บ้า บ๊อง ติ๊งต๊อง อยู่แล้ว แรมโบ้กระพือปีก พั่บ พั่บ (^-^)/ ~ /(^-^) ~ (^-^)/ ~ อะฮ้อย~อะฮ้อย~~~
0
-*-MomO-*- 9 ก.พ. 49 เวลา 16:44 น. 3

รูปภาพประกอบค่ะ

รูปที่  1  รูปปั้นครู Ebih-il สมัยสุเมเรียน พบที่เมืองมารี ( Le Point วันที่ 28 มีนาคม 1998 )

รูปที่  2  ลักษณะคนในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
      (Georg, Feuerstein. In Search of the Craddle of Civilization. Madras: Quest Books, 1995)

รูปที่  3  กำเนิดและวิวัฒนาการของอักษรคิวนิฟอร์ม จาก 3000 ถึง 600 ปีก่อนคริสตกาล
      (Kramer. L' Histoire commence a Sumer. Paris: Flammarion. 1994)

รูปที่  4  อักษรคิวนิฟอร์มบนแผ่นดินเหนียว บันทึกบัญชีโค กระบือของราชวัง (Le Point วันที่ 28 มีนาคม 1998)  

รูปที่  5  รูปปั้น  Ain Ghazal สมัย 6500 ปีก่อนคริสตกาล  พบที่จอร์แดน (Le Point วันที่ 26 กรกฎาคม 1997)

 

 

 


PS.  -*-MomO-*- โมโม่ตัวน้อย กระโดดด็อกแด็ก $oul Hunter $chool $oul Hunter นักล่าวิญญาณ บ้า บ๊อง ติ๊งต๊อง อยู่แล้ว แรมโบ้กระพือปีก พั่บ พั่บ (^-^)/ ~ /(^-^) ~ (^-^)/ ~ อะฮ้อย~อะฮ้อย~~~
0
-*-MomO-*- 9 ก.พ. 49 เวลา 16:45 น. 4

กำ ผิดรูป = =a รูปที่1และ2ค่ะ

 


PS.  -*-MomO-*- โมโม่ตัวน้อย กระโดดด็อกแด็ก $oul Hunter $chool $oul Hunter นักล่าวิญญาณ บ้า บ๊อง ติ๊งต๊อง อยู่แล้ว แรมโบ้กระพือปีก พั่บ พั่บ (^-^)/ ~ /(^-^) ~ (^-^)/ ~ อะฮ้อย~อะฮ้อย~~~
0
-*-MomO-*- 9 ก.พ. 49 เวลา 16:46 น. 5

รูปที่  6  มีดที่ใช้กันในเมโสโปเตเมียและอียิปต์ อายุ 3400-3200 ปีก่อนคริสตกาล
      (Le Point วันที่ 20 ธันวาคม 1997)

รูปที่  7  วัดแบบซิกกูราท ที่ Aqarquf ในอิรัก สร้างต้นศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล
      (Dictionnaire Encyclopedie Larousse)

รูปที่  8  Stele des Vautours สร้างโดยพระเจ้าเอนนาตุม เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการได้รับชัยชนะต่อเมืองอุมมา
      สมัย 2400 ปีก่อนคริสตกาล  พบที่เมืองเทลโล (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ Louvre ปารีส ประเทศฝรั่งเศส)

 

 


PS.  -*-MomO-*- โมโม่ตัวน้อย กระโดดด็อกแด็ก $oul Hunter $chool $oul Hunter นักล่าวิญญาณ บ้า บ๊อง ติ๊งต๊อง อยู่แล้ว แรมโบ้กระพือปีก พั่บ พั่บ (^-^)/ ~ /(^-^) ~ (^-^)/ ~ อะฮ้อย~อะฮ้อย~~~
0
-*-MomO-*- 9 ก.พ. 49 เวลา 16:46 น. 6

รูปที่  9  ภาพสลักหินแกรนิตสีชมพู ภาพพระเจ้านาราม-สิน อายุ 3000 ปีก่อนคริสตกาล
      (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ Louvre ปารีส ประเทศฝรั่งเศส)

รูปที่ 10  รูปเทพธิดา ทำด้วยดินเผา สมัยครึ่งแรกของศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล
      (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมืองแบกแดด ประเทศอิรัก)

 

 


PS.  -*-MomO-*- โมโม่ตัวน้อย กระโดดด็อกแด็ก $oul Hunter $chool $oul Hunter นักล่าวิญญาณ บ้า บ๊อง ติ๊งต๊อง อยู่แล้ว แรมโบ้กระพือปีก พั่บ พั่บ (^-^)/ ~ /(^-^) ~ (^-^)/ ~ อะฮ้อย~อะฮ้อย~~~
0
-*-MomO-*- 9 ก.พ. 49 เวลา 16:47 น. 7

รูปที่ 11  รูปปั้นศีรษะหญิง พบที่เมืองมารี สมัยสุเมเรียน (Le Point วันที่ 28 มีนาคม 1998)

รูปที่ 12  รูปปั้นพระเจ้ากูเดีย พบที่เมืองเทลโล หรือชื่อเดิมว่า เมืองกีร์ซูหรือลากาช อายุประมาณ 2120 ปีก่อนคริสตกาล
      (Le Point วันที่ 28 มีนาคม 1998)

 

 


PS.  -*-MomO-*- โมโม่ตัวน้อย กระโดดด็อกแด็ก $oul Hunter $chool $oul Hunter นักล่าวิญญาณ บ้า บ๊อง ติ๊งต๊อง อยู่แล้ว แรมโบ้กระพือปีก พั่บ พั่บ (^-^)/ ~ /(^-^) ~ (^-^)/ ~ อะฮ้อย~อะฮ้อย~~~
0
-*-MomO-*- 9 ก.พ. 49 เวลา 16:48 น. 8

รูปที่ 13  รูปปั้นพระนางนาปีร์-อสู พบที่เมืองซูส อายุ 1250 ปีก่อนคริสตกาล (Le Point วันที่ 28 มีนาคม 1998)

รูปที่ 14  สิงโตปั้น เฝ้าวัดดากาน พบที่เมืองมารี สมัยบาบิโลเนีย (Le Point วันที่ 28 มีนาคม 1998)

 

 


PS.  -*-MomO-*- โมโม่ตัวน้อย กระโดดด็อกแด็ก $oul Hunter $chool $oul Hunter นักล่าวิญญาณ บ้า บ๊อง ติ๊งต๊อง อยู่แล้ว แรมโบ้กระพือปีก พั่บ พั่บ (^-^)/ ~ /(^-^) ~ (^-^)/ ~ อะฮ้อย~อะฮ้อย~~~
0
-*-MomO-*- 9 ก.พ. 49 เวลา 16:48 น. 9

รูปที่ 15  ส่วนหนึ่งของตราประทับ-ลูกกลิ้งแถวทะเลตาย อายุกว่า 2000 ปี ค้นพบเมื่อค.ศ. 1952 ที่จอร์แดน
      (Le Point วันที่ 8 มีนาคม 1997)

รูปที่ 16  รูปทหารธนูของพระเจ้าดาริอุส พบที่เมืองซูส อายุประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล
      (Le Point วันที่ 28 มีนาคม 1998)

 

 


PS.  -*-MomO-*- โมโม่ตัวน้อย กระโดดด็อกแด็ก $oul Hunter $chool $oul Hunter นักล่าวิญญาณ บ้า บ๊อง ติ๊งต๊อง อยู่แล้ว แรมโบ้กระพือปีก พั่บ พั่บ (^-^)/ ~ /(^-^) ~ (^-^)/ ~ อะฮ้อย~อะฮ้อย~~~
0
-*-MomO-*- 9 ก.พ. 49 เวลา 16:49 น. 10

รูปสุดท้าย รูปที่17ค่ะ

รูปที่ 17  ภาพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ขณะรบกับพระเจ้าดาริอุส แห่งเปอร์เซีย
      (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ Louvre ปารีส ประเทศฝรั่งเศส)

 


PS.  -*-MomO-*- โมโม่ตัวน้อย กระโดดด็อกแด็ก $oul Hunter $chool $oul Hunter นักล่าวิญญาณ บ้า บ๊อง ติ๊งต๊อง อยู่แล้ว แรมโบ้กระพือปีก พั่บ พั่บ (^-^)/ ~ /(^-^) ~ (^-^)/ ~ อะฮ้อย~อะฮ้อย~~~
0
-*-MomO-*- 9 ก.พ. 49 เวลา 16:50 น. 11

^^' หมดแล้วค่า

อ่านแล้วเม้นกันด้วยนะ ใครไม่เม้นขอให้สอบตก!!

เจอกันครั้งหน้าค่า...


PS.  -*-MomO-*- โมโม่ตัวน้อย กระโดดด็อกแด็ก $oul Hunter $chool $oul Hunter นักล่าวิญญาณ บ้า บ๊อง ติ๊งต๊อง อยู่แล้ว แรมโบ้กระพือปีก พั่บ พั่บ (^-^)/ ~ /(^-^) ~ (^-^)/ ~ อะฮ้อย~อะฮ้อย~~~
0