Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ละ-ล่ะ และอื่นๆ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
นอกตำรา / เอนก นาวิกมูล

ละ-ล่ะ และอื่นๆ

คำผิดที่ใช้กันจนเคยชิน และแพร่หลายที่สุดในเมืองไทยเวลานี้ ได้แก่คำจำพวกผันวรรณยุกต์ผิดอย่าง อ่ะ-แซ่บ-แร่ด กับคำใช้ผิดอย่าง ละ-ล่ะ ซึ่งผู้รับผิดชอบด้านทางภาษาต้องรีบจัดการ อย่าปล่อยให้คำผิดกลายเป็นคำถูกอย่างเด็ดขาด

คำพวกนี้ผมเห็นมาจนนับไม่ถ้วน ทั้งในนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือสำหรับเด็ก การ์ตูน และบทพากย์บนจอโทรทัศน์ตั้งแต่ยุคยูบีซีเรื่อยมา เดิมเคยพยายามจดลงกระดาษ และทำเครื่องหมายวงกลมไว้ในเรื่องพอเป็นที่สังเกต กะว่าเมื่อมีเวลา จะคัดลอกหรือฉีกมาเข้าแฟ้มพร้อมชื่อเอกสารและวันเดือนปีที่พบให้หมด แต่ครั้นทิ้งช่วงนานเข้า ก็เห็นว่าเป็นภาระเกินเหตุ จึงเลิกทำ คงเก็บเท่าที่พอทำได้เท่านั้น

ขออภิปรายเรื่อง ละ-ล่ะ เสียก่อน เพราะสังเกตมานานนับสิบปี ในนิตยสารต่างๆ ทีแรกๆ เห็นชัดเจนว่านักเขียนรุ่นเก่ามักใช้ คำว่าละ กับล่ะ ถูกต้อง ส่วนนักเขียนรุ่นใหม่มากๆ มักใช้ผิด คือเขียนปนกันไปตามสบาย เหมือนไม่รู้ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร แต่ทีหลังๆ พบว่าบางทีข้อเขียนของคนรุ่นเก่าที่เราคาดหวังว่าจะเขียนหนังสือถูก ก็เลอะเทอะรวนเรไปเหมือนกัน

ตรงนี้ก่อให้เกิดข้อสงสัยว่านักเขียนสับสนเอง หรือนักเขียนเขียนมาถูก แต่ถูกคนตรวจปรู๊ฟ หรือคนพิสูจน์อักษร ช่วยแก้เสียให้ผิด ด้วยเห็นคนหมู่มากมักใช้อย่างนั้น จึงต้องใช้อย่างนั้น

ยังไม่พิพากษานะครับ แต่อยากให้ฝ่ายตรวจปรู๊ฟทบทวนเรื่องละ-ล่ะให้ดี ไม่เช่นนั้นทุกแห่งจะเต็มไปด้วยคำผิดรกหูรกตาไม่มีที่สิ้นสุด

เท่าที่เคยอ่านหนังสือมา สังเกตเห็นว่าคนแต่ก่อนใช้ ละ-ล่ะ กันดังนี้

ละ ใช้กับประโยคบอกเล่า พจนานุกรมฉบับมติชนเสริมว่า ใช้ประกอบคำกริยาเพื่อเน้นความ เช่น ไปละ แน่ละ

คำว่า ละ นั้น ผมสันนิษฐานเอาเองว่าถ้าไม่กร่อนมาจากคำว่า แหละ ก็เป็นพี่เป็นน้องกับคำว่าแหละ ซึ่งใช้ประกอบการเน้นความเหมือนกัน เช่นพูดว่า อันนี้แหละ, คนนี้แหละ ลองทดลองเปลี่ยนคำดูเถิด อย่างเช่น อันนี้ละ-อันนี้แหละ, คนนี้ละ-คนนี้แหละ ฯลฯ จะเห็นว่าได้น้ำหนักไม่ต่างกันเลย

เพราะฉะนั้น คำว่า ละ จึงควรจับคู่กับคำว่า แหละ และถ้าจะให้จำง่ายๆ ก็ต้องจำว่าไม่ใช้ไม้เอกเหมือนกันทั้งคู่

ต่อไปนะว่าถึงคำว่า ล่ะ คำนี้เขาใช้กับประโยคคำถาม หรือสุ้มเสียงถามๆ เช่น ไปไหมล่ะ, ใช่ไหมล่ะ, มิน่าล่ะ

ล่ะก็เหมือนกัน...ผมว่าถ้าไม่กร่อนมาจากคำว่า 'เล่า' ก็เป็นพี่เป็นน้องกับคำว่า เล่า เพราะสามารถใช้ทับแทนกันได้ เช่น ไปไหมล่ะ-ไปไหมเล่า-ใช่ไหมล่ะ-ใช่ไหมเล่า, ดีไหมล่ะ-ดีไหมเล่า

สังเกตให้ดีนะครับว่า ล่ะ-เล่า ใช้ไม้เอกทั้งคู่ ถ้าจำสูตรอย่างนี้ได้ ก็ไม่มีอะไรยากเย็นอีกแล้ว ทดลองเล่นแทนคำดูเถิด ต่อไปจะใช้คำไม่ผิดเลย ยกเว้นเอาไปใส่ผิดที่ผิดทาง ซึ่งจะทำให้หลงจนตัดสินใจเลือกไม่ถูก (ทางออกคือตัดทิ้งไป)

ต่อจากเรื่องละ-ล่ะ ก็เป็นเรื่องคำผันวรรณยุกต์ผิด ซึ่งเริ่มพบมากในยุค 2520 แล้วทบทวีขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะเราไม่มีเครื่องหมายกระแทกคำให้เสียงสูงหรือต่ำเกินระดับเสียงปกติอีก 1 ระดับ คนเขียนข่าว หรือคนเขียนหนังสือ จึงยอมทำผิด ใส่ไม้เอก ไม้โท แบบผิดๆ ลงไปโดยเข้าใจว่าจะช่วยให้อ่านออกเสียงสั้นห้วนยิ่งขึ้น เช่น

ยุ่งตายหะ เขียนเป็น ยุ่งตายห่ะ (คำนี้มาจากการปรุงคำให้สุภาพขึ้นเล็กน้อยจาก ยุ่งตายห่า)

เริ่มเขียนผิดมาแต่ครั้งคุณประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สมัยนั้นคุณประสิทธิ์ หรือท่านโค้วตงหมง ชอบอุทานออกมาว่า 'ยุ่งตายหะ' ซึ่งไม่ต้องใส่ไม้เอก แต่คนเขียนข่าวนิยมเขียนว่า ยุ่งตายห่ะ เพราะคิดว่าจะทำให้เสียงสั้นห้วนยิ่งขึ้น หลังจากนั้นคำว่ายุ่งตายหะ ก็เลยมีไม้เอกควบขี่หลังมาเป็นเวลาหลายปี

ต่อจากยุ่งตายห่ะ ก็มีคำอื่นๆ ตามมาหลายคำ ระหว่างเขียนต้นฉบับอยู่นี้ ผมระลึกได้ว่าเคยเขียนเรื่องผันวรรณยุกต์ผิด และร้องเพลงเสียงฝรั่งๆ ลงสยามรัฐรายวันอยู่บ้าง 2-3 หน จุดประสงค์ก็เพื่อเตือนเราชาวไทย และจะฝากหมายเหตุทางภาษาไว้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลง เมื่อลุกไปรื้อต้นฉบับที่รวบรวมไว้มาตรวจ ก็พบว่าเคยเขียนเรื่อง จาก 'หมูหย๋อง' ถึง 'ยุ่งตายห่ะ' ไปแต่วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2521 ไม่น่าเชื่อว่าคำผิดที่นิยมใช้ในสมัยนั้น นอกจากยุ่งตายห่ะแล้ว ได้แก่คำว่า แร่ด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีคนใส่ไม้เอกกันอยู่ (ผิด)

ที่ประหลาดยิ่งขึ้นไปอีกคือ แร่ด ที่หมายถึง ก๋ากั่น จัดจ้าน และคำผิดอย่าง แซ่บ, แซ่บอีหลี ที่หมายถึงอร่อยมาก กลับไปปรากฏในพจนานุกรมฉบับมติชน (พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2547) ซึ่งผมเป็นกรรมการแบบห่างๆ อยู่ด้วย เมื่อหนังสือออกไปแล้วได้รีบย้ำเตือนกรรมการจัดพิมพ์หลายหนว่าถ้าพิมพ์ครั้งใหม่ต่อไปก็จงอย่าใส่ลงไปอีก ถ้าจะใส่ต้องใส่ในลักษณะหมายเหตุเท่านั้น

เช่นคำว่า แรด เมื่ออธิบายว่าหมายถึงสัตว์มีนอแล้ว ต้องบอกว่าในกรณีออกเสียงสั้น หมายถึง ก๋ากั่น เป็นคำสแลง นิยมเขียนผิดๆ ว่า แร่ด

หรือ แซบ, แซบอีหลี ที่หมายถึง อร่อย ต้องต่อท้ายว่า นิยมเขียนผิดๆ เป็น แซ่บ และแซ่บอีหลี เป็นต้น

กลับมาที่สยามรัฐอีกที ตรวจสอบจากข้อเขียนที่ตีพิมพ์ในฉบับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2536 ทำให้หวนรำลึกได้อีกว่า ในยุค 2530 เราเริ่มเขียนคำว่า แหละ เป็นแหล่ะ

และ ราวๆปี 2534 เราเริ่มเขียนคำว่า ละ หรือหละ เป็น หล่ะ อย่างดาษดื่น เช่น "สุเพื่อนรัก ขอโทษเรื่องเมื่อหลายวันก่อน เราเข้าใจนายแล้วหล่ะ' (ป้ายโฆษณาย่านลาดพร้าวที่กลายเป็นข่าวขึ้นหน้าหนึ่ง)

โดยสรุป ในยุค 2530 เราเริ่มเขียนหนังสือผิดๆ เป็นอันมาก ได้แก่ คำว่าแหล่ะ หล่ะ ว๊าว แล่บ ถึกถึ๋ย เนี้ยะ...เป็นต้น

กระทั่งถึงยุค 2540 อันเป็นยุคที่เด็กๆ นิยมเล่นแชตทางอินเทอร์เน็ตกันอย่างกว้างขวาง ก็เกิดคำว่า 'อ่ะ' ซึ่งเขาใช้แทนเสียง อ๊ะ, ง่ะ, น่ะ อะไรทำนองนั้น เช่น อ่ะจริงดิ (อ๊ะ จริงๆ รึ) คำว่า อ่ะนี้ ความจริงไม่ต้องใส่ไม้เอกก็ได้ เพราะถึงอย่างไรก็ออกเสียงเป็นเสียงต่ำอยู่แล้ว

เขียนผิด ควรเขียนว่า

เอาล่ะ เอาละ หรืออนุโลมเขียนว่า

ดีไหมละ ดีไหมล่ะ

ต้องมีสักครั้งล่ะน่าที่เรากับครูมีเรื่องให้ซาบซึ้งกัน ต้องมีสักครั้งละน่า (แหละน่ะ, แหละน่า) ที่เรากับครูมีเรื่องให้ซาบซึ้งกัน

อันนั้นแหล่ะ อันนั้นแหละ

หมอนี่ชอบแว่บหายไปบ่อยๆ หมอนี่ชอบแวบหายไปบ่อยๆ

แร่ด แรด

เริ่ด เริด

แซ่บ แซบ

อ่ะ อะ, อ้ะ, ง่ะ

จริงป่ะ จริงปะ (จริงหรือเปล่า, จริงรึป่าว)

ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กตอก ติ๊กตอก

ดีมั๊ย ดีมั้ย, ดีไหม

คลิ้ก, คลิ๊ก คลิก

ท๊อป ท้อป

มาม๊า, มามี๊ มาม้า, มามี้

ม๊กจ๊ก มกจ๊ก

นะค่ะ นะคะ

ว๊าก-รุ่นพี่ว๊ากรุ่นน้อง ว้าก-รุ่นพี่ว้ากรุ่นน้อง


From : http://www.nationweekend.com/2006/08/18/NW13_306.php?SecId=NW13&news_id=21374606



From : http://www.nationweekend.com/2006/08/18/NW13_306.php?SecId=NW13&news_id=21374606

คำพวกนี้ผมเห็นมาจนนับไม่ถ้วน ทั้งในนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือสำหรับเด็ก การ์ตูน และบทพากย์บนจอโทรทัศน์ตั้งแต่ยุคยูบีซีเรื่อยมา เดิมเคยพยายามจดลงกระดาษ และทำเครื่องหมายวงกลมไว้ในเรื่องพอเป็นที่สังเกต กะว่าเมื่อมีเวลา จะคัดลอกหรือฉีกมาเข้าแฟ้มพร้อมชื่อเอกสารและวันเดือนปีที่พบให้หมด แต่ครั้นทิ้งช่วงนานเข้า ก็เห็นว่าเป็นภาระเกินเหตุ จึงเลิกทำ คงเก็บเท่าที่พอทำได้เท่านั้น

ขออภิปรายเรื่อง ละ-ล่ะ เสียก่อน เพราะสังเกตมานานนับสิบปี ในนิตยสารต่างๆ ทีแรกๆ เห็นชัดเจนว่านักเขียนรุ่นเก่ามักใช้ คำว่าละ กับล่ะ ถูกต้อง ส่วนนักเขียนรุ่นใหม่มากๆ มักใช้ผิด คือเขียนปนกันไปตามสบาย เหมือนไม่รู้ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร แต่ทีหลังๆ พบว่าบางทีข้อเขียนของคนรุ่นเก่าที่เราคาดหวังว่าจะเขียนหนังสือถูก ก็เลอะเทอะรวนเรไปเหมือนกัน

ตรงนี้ก่อให้เกิดข้อสงสัยว่านักเขียนสับสนเอง หรือนักเขียนเขียนมาถูก แต่ถูกคนตรวจปรู๊ฟ หรือคนพิสูจน์อักษร ช่วยแก้เสียให้ผิด ด้วยเห็นคนหมู่มากมักใช้อย่างนั้น จึงต้องใช้อย่างนั้น

ยังไม่พิพากษานะครับ แต่อยากให้ฝ่ายตรวจปรู๊ฟทบทวนเรื่องละ-ล่ะให้ดี ไม่เช่นนั้นทุกแห่งจะเต็มไปด้วยคำผิดรกหูรกตาไม่มีที่สิ้นสุด

เท่าที่เคยอ่านหนังสือมา สังเกตเห็นว่าคนแต่ก่อนใช้ ละ-ล่ะ กันดังนี้

ละ ใช้กับประโยคบอกเล่า พจนานุกรมฉบับมติชนเสริมว่า ใช้ประกอบคำกริยาเพื่อเน้นความ เช่น ไปละ แน่ละ

คำว่า ละ นั้น ผมสันนิษฐานเอาเองว่าถ้าไม่กร่อนมาจากคำว่า แหละ ก็เป็นพี่เป็นน้องกับคำว่าแหละ ซึ่งใช้ประกอบการเน้นความเหมือนกัน เช่นพูดว่า อันนี้แหละ, คนนี้แหละ ลองทดลองเปลี่ยนคำดูเถิด อย่างเช่น อันนี้ละ-อันนี้แหละ, คนนี้ละ-คนนี้แหละ ฯลฯ จะเห็นว่าได้น้ำหนักไม่ต่างกันเลย

เพราะฉะนั้น คำว่า ละ จึงควรจับคู่กับคำว่า แหละ และถ้าจะให้จำง่ายๆ ก็ต้องจำว่าไม่ใช้ไม้เอกเหมือนกันทั้งคู่

ต่อไปนะว่าถึงคำว่า ล่ะ คำนี้เขาใช้กับประโยคคำถาม หรือสุ้มเสียงถามๆ เช่น ไปไหมล่ะ, ใช่ไหมล่ะ, มิน่าล่ะ

ล่ะก็เหมือนกัน...ผมว่าถ้าไม่กร่อนมาจากคำว่า 'เล่า' ก็เป็นพี่เป็นน้องกับคำว่า เล่า เพราะสามารถใช้ทับแทนกันได้ เช่น ไปไหมล่ะ-ไปไหมเล่า-ใช่ไหมล่ะ-ใช่ไหมเล่า, ดีไหมล่ะ-ดีไหมเล่า

สังเกตให้ดีนะครับว่า ล่ะ-เล่า ใช้ไม้เอกทั้งคู่ ถ้าจำสูตรอย่างนี้ได้ ก็ไม่มีอะไรยากเย็นอีกแล้ว ทดลองเล่นแทนคำดูเถิด ต่อไปจะใช้คำไม่ผิดเลย ยกเว้นเอาไปใส่ผิดที่ผิดทาง ซึ่งจะทำให้หลงจนตัดสินใจเลือกไม่ถูก (ทางออกคือตัดทิ้งไป)

ต่อจากเรื่องละ-ล่ะ ก็เป็นเรื่องคำผันวรรณยุกต์ผิด ซึ่งเริ่มพบมากในยุค 2520 แล้วทบทวีขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะเราไม่มีเครื่องหมายกระแทกคำให้เสียงสูงหรือต่ำเกินระดับเสียงปกติอีก 1 ระดับ คนเขียนข่าว หรือคนเขียนหนังสือ จึงยอมทำผิด ใส่ไม้เอก ไม้โท แบบผิดๆ ลงไปโดยเข้าใจว่าจะช่วยให้อ่านออกเสียงสั้นห้วนยิ่งขึ้น เช่น

ยุ่งตายหะ เขียนเป็น ยุ่งตายห่ะ (คำนี้มาจากการปรุงคำให้สุภาพขึ้นเล็กน้อยจาก ยุ่งตายห่า)

เริ่มเขียนผิดมาแต่ครั้งคุณประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร สมัยนั้นคุณประสิทธิ์ หรือท่านโค้วตงหมง ชอบอุทานออกมาว่า 'ยุ่งตายหะ' ซึ่งไม่ต้องใส่ไม้เอก แต่คนเขียนข่าวนิยมเขียนว่า ยุ่งตายห่ะ เพราะคิดว่าจะทำให้เสียงสั้นห้วนยิ่งขึ้น หลังจากนั้นคำว่ายุ่งตายหะ ก็เลยมีไม้เอกควบขี่หลังมาเป็นเวลาหลายปี

ต่อจากยุ่งตายห่ะ ก็มีคำอื่นๆ ตามมาหลายคำ ระหว่างเขียนต้นฉบับอยู่นี้ ผมระลึกได้ว่าเคยเขียนเรื่องผันวรรณยุกต์ผิด และร้องเพลงเสียงฝรั่งๆ ลงสยามรัฐรายวันอยู่บ้าง 2-3 หน จุดประสงค์ก็เพื่อเตือนเราชาวไทย และจะฝากหมายเหตุทางภาษาไว้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลง เมื่อลุกไปรื้อต้นฉบับที่รวบรวมไว้มาตรวจ ก็พบว่าเคยเขียนเรื่อง จาก 'หมูหย๋อง' ถึง 'ยุ่งตายห่ะ' ไปแต่วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2521 ไม่น่าเชื่อว่าคำผิดที่นิยมใช้ในสมัยนั้น นอกจากยุ่งตายห่ะแล้ว ได้แก่คำว่า แร่ด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีคนใส่ไม้เอกกันอยู่ (ผิด)

ที่ประหลาดยิ่งขึ้นไปอีกคือ แร่ด ที่หมายถึง ก๋ากั่น จัดจ้าน และคำผิดอย่าง แซ่บ, แซ่บอีหลี ที่หมายถึงอร่อยมาก กลับไปปรากฏในพจนานุกรมฉบับมติชน (พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2547) ซึ่งผมเป็นกรรมการแบบห่างๆ อยู่ด้วย เมื่อหนังสือออกไปแล้วได้รีบย้ำเตือนกรรมการจัดพิมพ์หลายหนว่าถ้าพิมพ์ครั้งใหม่ต่อไปก็จงอย่าใส่ลงไปอีก ถ้าจะใส่ต้องใส่ในลักษณะหมายเหตุเท่านั้น

เช่นคำว่า แรด เมื่ออธิบายว่าหมายถึงสัตว์มีนอแล้ว ต้องบอกว่าในกรณีออกเสียงสั้น หมายถึง ก๋ากั่น เป็นคำสแลง นิยมเขียนผิดๆ ว่า แร่ด

หรือ แซบ, แซบอีหลี ที่หมายถึง อร่อย ต้องต่อท้ายว่า นิยมเขียนผิดๆ เป็น แซ่บ และแซ่บอีหลี เป็นต้น

กลับมาที่สยามรัฐอีกที ตรวจสอบจากข้อเขียนที่ตีพิมพ์ในฉบับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2536 ทำให้หวนรำลึกได้อีกว่า ในยุค 2530 เราเริ่มเขียนคำว่า แหละ เป็นแหล่ะ

และ ราวๆปี 2534 เราเริ่มเขียนคำว่า ละ หรือหละ เป็น หล่ะ อย่างดาษดื่น เช่น "สุเพื่อนรัก ขอโทษเรื่องเมื่อหลายวันก่อน เราเข้าใจนายแล้วหล่ะ' (ป้ายโฆษณาย่านลาดพร้าวที่กลายเป็นข่าวขึ้นหน้าหนึ่ง)

โดยสรุป ในยุค 2530 เราเริ่มเขียนหนังสือผิดๆ เป็นอันมาก ได้แก่ คำว่าแหล่ะ หล่ะ ว๊าว แล่บ ถึกถึ๋ย เนี้ยะ...เป็นต้น

กระทั่งถึงยุค 2540 อันเป็นยุคที่เด็กๆ นิยมเล่นแชตทางอินเทอร์เน็ตกันอย่างกว้างขวาง ก็เกิดคำว่า 'อ่ะ' ซึ่งเขาใช้แทนเสียง อ๊ะ, ง่ะ, น่ะ อะไรทำนองนั้น เช่น อ่ะจริงดิ (อ๊ะ จริงๆ รึ) คำว่า อ่ะนี้ ความจริงไม่ต้องใส่ไม้เอกก็ได้ เพราะถึงอย่างไรก็ออกเสียงเป็นเสียงต่ำอยู่แล้ว

เขียนผิด ควรเขียนว่า

เอาล่ะ เอาละ หรืออนุโลมเขียนว่า

ดีไหมละ ดีไหมล่ะ

ต้องมีสักครั้งล่ะน่าที่เรากับครูมีเรื่องให้ซาบซึ้งกัน ต้องมีสักครั้งละน่า (แหละน่ะ, แหละน่า) ที่เรากับครูมีเรื่องให้ซาบซึ้งกัน

อันนั้นแหล่ะ อันนั้นแหละ

หมอนี่ชอบแว่บหายไปบ่อยๆ หมอนี่ชอบแวบหายไปบ่อยๆ

แร่ด แรด

เริ่ด เริด

แซ่บ แซบ

อ่ะ อะ, อ้ะ, ง่ะ

จริงป่ะ จริงปะ (จริงหรือเปล่า, จริงรึป่าว)

ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก ติ๊กตอก ติ๊กตอก

ดีมั๊ย ดีมั้ย, ดีไหม

คลิ้ก, คลิ๊ก คลิก

ท๊อป ท้อป

มาม๊า, มามี๊ มาม้า, มามี้

ม๊กจ๊ก มกจ๊ก

นะค่ะ นะคะ

ว๊าก-รุ่นพี่ว๊ากรุ่นน้อง ว้าก-รุ่นพี่ว้ากรุ่นน้อง

From : http://www.nationweekend.com/2006/08/18/NW13_306.php?SecId=NW13&news_id=21374606


PS.  ธนูรเพท-เทพเจ้าแห่งสงครามและชัยชนะ : "ข้าขอนอบน้อมแก่ธรรมอันศักดิ์สิทธิ์คือธนูรเวท ขอจงป้องกันรักษาข้าพเจ้า ขอจงขบกินศัตรูของข้าพเจ้าเสีย"

แสดงความคิดเห็น

>

12 ความคิดเห็น

death_evil 18 ส.ค. 49 เวลา 16:44 น. 1

เห็นด้วยแต่ผมก็ยังคงใช่ต่อไป...ครับ


PS.  ความตาย...การอยู่รอด...สงคราม...การปกป้อง...และการเสียสละ...
0
jsoc 18 ส.ค. 49 เวลา 16:45 น. 2

เอาอย่างนั้นเลยเหรอครับ เหอๆ


PS.  ธนูรเพท-เทพเจ้าแห่งสงครามและชัยชนะ : "ข้าขอนอบน้อมแก่ธรรมอันศักดิ์สิทธิ์คือธนูรเวท ขอจงป้องกันรักษาข้าพเจ้า ขอจงขบกินศัตรูของข้าพเจ้าเสีย"
0
Nunny_803 18 ส.ค. 49 เวลา 16:53 น. 3

ขอบคุณค่ะ มีประโยชน์มากเลย
+1 โหวตค่ะ


PS.  สู่มิติใหม่กับเทคโนโลยีชวนพิศวง ตื่นเต้นมหัศจรรย์ยิ่งกว่าเวทมนตร์ : CLEMENCY
0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาที่เป็นข่าวลือซึ่งไม่เป็นความจริง และก่อให้เกิดการเข้าใจผิด บางครั้งมาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ที่ไม่จริงแล้วคนส่งต่อจนทำให้เข้าใจผิดกันเป็นวงกว้าง

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาที่เป็นข่าวลือซึ่งไม่เป็นความจริง และก่อให้เกิดการเข้าใจผิด บางครั้งมาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ที่ไม่จริงแล้วคนส่งต่อจนทำให้เข้าใจผิดกันเป็นวงกว้าง

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาที่เป็นข่าวลือซึ่งไม่เป็นความจริง และก่อให้เกิดการเข้าใจผิด บางครั้งมาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ที่ไม่จริงแล้วคนส่งต่อจนทำให้เข้าใจผิดกันเป็นวงกว้าง

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาที่เป็นข่าวลือซึ่งไม่เป็นความจริง และก่อให้เกิดการเข้าใจผิด บางครั้งมาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ที่ไม่จริงแล้วคนส่งต่อจนทำให้เข้าใจผิดกันเป็นวงกว้าง

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาที่เป็นข่าวลือซึ่งไม่เป็นความจริง และก่อให้เกิดการเข้าใจผิด บางครั้งมาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ที่ไม่จริงแล้วคนส่งต่อจนทำให้เข้าใจผิดกันเป็นวงกว้าง

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาที่เป็นข่าวลือซึ่งไม่เป็นความจริง และก่อให้เกิดการเข้าใจผิด บางครั้งมาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ที่ไม่จริงแล้วคนส่งต่อจนทำให้เข้าใจผิดกันเป็นวงกว้าง