Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประวัติคุณสืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษย์ธรรมชาติผู้ยิ่งใหญ่ของไทย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 

สืบ นาคะเสถียร

ชีวิตวัยเยาว์

สืบ นาคะเสถียร หรือชื่อเดิม "สืบยศ" บิดาชื่อ นายสลับ นาคะเสถียร เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี, มารดาชื่อ นางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน โดยสืบเป็นบุตรชายคนโต น้องชายและน้องสาวอีก 2 คนคือ กอบกิจ นาคะเสถียร และ กัลยา รักษาสิริกุล สืบมีบุตรสาว 1 คน ชื่อชินรัตน์ นาคะเสถียร ในวัยเด็ก สืบ นาคะเสถียร ได้ช่วยงานในนาของมารดา ทำงานอยู่กลางแจ้งทั้งวันโดยไม่ปริปากบ่น บุคลิกประจำตัว คือเมื่อเขาสนใจหรือตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ และเป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีมาโดยตลอด

โดยที่สายตระกูลของ สืบ นาคะเสถียร เป็นครอบครัวชาวนา ชีวิตในช่วงปฐมวัย จึงต้องช่วยทำงานในนา ของมารดา เมื่อว่างจากภาระดังกล่าว ก็ออกท่องเที่ยวไปกับเพื่อน ๆ โดยมีไม้ง่ามหนังสติ๊กคู่ใจ ได้เข้าเรียนชั้น ประถมตอนต้น ที่โรงเรียนประจำจังหวัดปราจีนบุรี ช่วงปิดเทอมว่างจากการเรียน ก็ออกไปช่วยทางบ้าน ยกเสริมแนวคันนาเอง เพื่อไม่ให้มีข้อพิพาทกับเพื่อนบ้าน ทำงานอยู่กลางแจ้งทั้งวัน แม้แดดจะร้อนก็มิเคยปริปากบ่น ครั้นเรียนจบชั้นประถม 4 ต้องจากครอบครัวไปเรียนอยู่ที่ โรงเรียนเซนต์หลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จนกระทั่งเรียนจบชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5

เรียนรู้วิญญาณของป่าที่ ม. เกษตรศาสตร์

พ.ศ. 2511 เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สืบมีความตั้งใจในการศึกษาอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเข้าร่วมกิจกรรมนิสิต โดยเป็นที่ทราบกันดีระหว่างผู้ใกล้ชิดว่า สืบเป็นผู้มีใจรักศิลปะ และสูงส่งในเชิงมนุษยสัมพันธ์ มีระเบียบในการดำเนินชีวิตในสมัยเรียนอย่างมีแบบแผน. พ.ศ. 2514 ก็จบการศึกษาจากคณะวนศาสตร์ และต่อมาเมื่อ พ.ศ. ก็เข้าทำงานที่ส่วนสาธารณะของการเคหะแห่งชาติ

พ.ศ. 2517 สืบเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวนวัฒน์วิทยา ที่คณะวนศาสตร์ มหาลัยเกษตรศาสตร์ จนสำเร็จการศึกษา และในปี พ.ศ. 2518 ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เขาตัดสินเลือกกองนี้เพราะต้องการทำงานเกี่ยวกับสัตว์ป่า มากกว่างานที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ป่าไม้โดยตรง. งานแรกของสืบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี ได้ผลักดันให้เขา ต้องเข้าไปทำหน้าที่ผู้รักษากฎหมายอย่างเลี่ยงไม่พ้น ที่นั่นเขาได้จับกุมผู้บุกรุกทำลายป่าโดยไม่เกรงอิทธิพลใด ๆ ผู้ต้องหาล้วนได้รับการปฏิบัติอย่างสุภาพนิ่มนวล และที่นี่ สืบเริ่มเรียนรู้ว่า การเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ซื่อสัตย์นั้น เจ็บปวดเพียงไหน

สืบกับมรดกงานวิจัยด้านสัตว์ป่า

ความเป็นมา

สืบทำงาน อยู่ 3-4 ปี ในปี พ.ศ. 2522 สืบก็ได้รับทุนจาก British Council ไปเรียนระดับปริญญาโท สาขาอนุรักษ์วิทยา ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร. จากนั้น เมื่อ พ.ศ. 2524 ก็กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ มีส่วนร่วมในการจัดการและประสานงาน รวมทั้งเป็นวิทยากร ฝึกอบรมพนักงานพิทักษ์ป่าอีกหลายรุ่น จนกระทั่ง พ.ศ. 2526 สืบได้ขอย้ายตัวเองเข้ามาเป็นนักวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว "ผมหันมาสนใจงานวิจัยมากกว่าที่จะวิ่งไปจับคน เพราะรู้ว่าจับได้แต่คนตัวเล็ก ๆ ตัวใหญ่ ๆ จับไม่ได้ ก็เลยอึดอัดว่ากฎหมายบ้านเมืองนั้นมันใช้ไม่ได้กับทุกคน มันเหมือนกับว่าเราไม่ยุติธรรมเรารังแกชาวบ้าน"

ในระยะนี้ เป็นจังหวะที่สืบได้แสดงความเป็นนักวิชาการออกมาอย่างเต็มที่ งานวิจัยศึกษาสัตว์ป่าเป็นงานที่สืบทำได้ดี และมีความสุขในการทำงานวิชาการมาก สืบรักงานด้านนี้เป็นชีวิต จิตใจ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่เขาได้ผูกพันกับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง เขาเริ่มใช้เครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้อง วีดีโอ กล้องถ่ายภาพนิ่ง และการสเก็ตซ์ภาพ ในการบันทึกงานวิจัยทั้งหมด, ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ได้กลายเป็นผลงานการวิจัยสัตว์ป่าชิ้นสำคัญของเมืองไทยในเวลาต่อมา. มรดกที่สืบมอบให้กับคนรุ่นหลัง คือภาพถ่ายสไลด์สัตว์ป่าหายากนับพัน ๆ รูป ม้วนเทปวิดีโอภาพ สัตว์ป่าและปัญหาการทำลายป่าไม้ในเมืองไทย อีกหลายสิบม้วน ซึ่งสืบเป็นคนถ่ายเอง และหลายครั้งที่เขาลงทุนไปเช่าห้องตัดต่อ ในกรุงเทพฯ เพื่อตัดต่อเทปด้วยตนเอง

งานวิจัยชิ้นแรก ๆ ของสืบเริ่มจากการเป็นนักสำรวจนก ติดตามจำนวนชนิด และพฤติกรรมการ ทำรังของ นกบางชนิด ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ แต่มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่ได้สร้างความเจ็บปวดให้เขาคือ เมื่อเขาได้มีโอกาสติดตามนักวิจัยจากต่างประเทศ ที่ได้รับทุนจากนิตยสาร National Geographic และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เดินทางเข้าไปสำรวจติดตามกวางผา สัตว์ป่าสงวนที่ใกล้สูญพันธุ์เต็มที แล้วที่ดอยม่อนจอง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2528 เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อสืบและเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าคนหนึ่งชื่อ คำนึง ณ สงขลา กำลังปีนขึ้นไปถ่ายภาพกวางผา ที่อาศัยอยู่บนหน้าผา ได้เกิดไฟไหม้ป่าขึ้น เพราะชาวบ้านเข้าไปจุดไฟ เพื่อล่าสัตว์ทันใดนั้นลมกรรโชกพัดเอาลูกไฟที่กำลังลุก ไหม้อย่างรุนแรง มาที่คนเหล่านั้น คุณคำนึง โชคร้ายพลัดตกลงไปจากหน้าผาขณะหนี

สืบ นาคะเสถียร คือหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าที่เข้าไปช่วยเหลือสัตว์ เหล่านี้เป็นครั้งแรกของเมืองไทย ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับรองอธิบดีกรมป่าไม้เป็นคนเลือก ให้เขาเข้าไปรับผิดชอบในตอนแรก สืบปฏิเสธที่จะเข้ารับงานนี้ ด้วยในขณะนี้มีงานวิชาการวิจัยสัตว์ป่าที่เขาดำเนินการอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้บังคับบัญชา ในที่สุดเขาจึงต้องรับและพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยมีงบประมาณขึ้นต้นเพียง 8 แสนบาท ในการรับผิดชอบพื้นที่แสนกว่าไร่ ไม่มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตสัตว์ป่าใด ๆ ทั้งสิ้น แม้แต่เรือหรือตาข่าย. เดิมทีงบประมาณของโครงการนี้มีมากกว่านี้ แต่ถูกเจ้าหน้าที่ชุดก่อนที่เข้ามารับงาน ฉ้อฉลเงินไปประมาณ 7 แสนบาท ระบบราชการเมืองไทยมักเป็นเช่นนี้เสมอ สืบตระหนักดีว่า หากช้าไปอีกทุก ๆ หนึ่งวัน ก็จะมีสัตว์ล้มตายเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก ดังนั้นเขาจึงทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน แม้ว่าจะไม่มีประสบการณ์การช่วยชีวิตสัตว์ป่ามาก่อนก็ตาม เขาจึงพยายามศึกษาหาข้อมูลจาก ตำราของเมืองนอก ตลอดจนขอความรู้จากนายพรานเก่าที่มีความชำนาญในการจับสัตว์ป่ามาก่อน

สองปีผ่านไป โครงการอพยพสัตว์ป่าสามารถช่วยเหลือชีวิตสัตว์ได้ถึง 1,364 ตัว ซึ่งเป็นจำนวนที่น่าพอใจ แต่ยิ่งสืบช่วยชีวิตสัตว์ ก็ยิ่งรู้ดีว่า เทียบไม่ได้กับสัตว์อีกจำนวนมหาศาลที่จมน้ำ หรืออดอาหารตาย จากการสร้างเขื่อนครั้งนี้. กระนั้นก็ตาม สืบยังคงช่วยชีวิตสัตว์ป่าด้วยหัวใจ มิใช่เพียงเพราะหน้าที่ เขาจะซึมเศร้าทุกครั้งเมื่อเอาพืชอาหาร ที่เก็บมาจากเกาะต่าง ๆ มาป้อนให้กับค่างดำหรือชะนีที่บาดเจ็บแต่มันไม่ยอมกิน ทุกครั้งที่เห็นศพค่างหรือชะนีลอยตามน้ำมา มันทำให้เขารู้สึกเจ็บปวด และรู้สึกโกรธเมื่อเห็นเลือดสด ๆ จากเนื้อสัตว์ที่ชำแหละแล้วในเรือของนายพรานที่ผ่านมาพบเข้า เขาน้ำตาไหลเมื่อเลียงผาและกวางที่ช่วยชีวิตขึ้นมาจากน้ำต้องตาย เพราะความอ่อนเพลียและความหิวโหย แต่หัวใจของสืบก็ไม่เคยเหน็ดเหนื่อยจากการเอาเรือออกตระเวนช่วยเหลือพวกมัน แม้จะรู้ดีว่าการกระทำนั้นแทบจะไร้ผล แต่เขาก็ยังทำอย่างบ้าบิ่นต่อไป จนกระทั่งเขาได้เข้าใจปัญหาทั้งหมดอย่างท่องแท้ว่า การอพยพสัตว์ไม่อาจช่วยชีวิตสัตว์ได้เลย เพราะผลกระทบจากการสร้างเขื่อนเป็นกระบวนการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ทำลายแหล่งอาหารแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจของผืนป่าทั้งหมด ที่มนุษย์ไม่อาจสร้างขึ้นมาทดแทนได้อีก สืบเริ่มรู้แล้วว่างานวิชาการไม่อาจช่วยชีวิตสัตว์ที่กำลังถูกฆ่าได้ ปัญหาการทำลายป่าและสัตว์ป่า เป็นปัญหาใหญ่หลวงระดับชาติที่นักวิจัยสัตว์ป่าอย่างเขาจะต้องเข้าไปแก้ปัญหาให้ได้ ก่อนจะสายเกินแก้ สำหรับคนอื่น ๆ แล้ว ปัญหานี้อาจเป็นเรื่องธรรมดา ที่หมักหมมกันมานาน ไม่อยากเอาตัวเข้าไปยุ่งเกี่ยว แต่สำหรับ สืบ นาคะเสถียร แล้ว ไม่ อย่างเด็ดขาด

สืบได้ผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่าออกมามากมาย ตั้งแต่การสำรวจติดตามชนิดและพฤติกรรมการทำรังของนก สำรวจแหล่งอาศัยของกวางผา ค้นหาและศึกษาพฤติกรรมของเลียงผา มาจนถึงการสำรวจศึกษาสภาพทางนิเวศของป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่ฯ

ผลงานวิชาการของสืบ

1.การทำรังวางไข่ของนกบางชนอดที่ อ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย พ.ศ.2524

2.รายงานการสำรวจนก บริเวณอ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย พ.ศ.2526

3.การศึกษานิเวศวิทยาของสัตว์ป่า ในบริเวณโครงการ ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาภูพาน ตามพระราชดำริ 2528

4.นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวรและ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง 2529

5.รายงานผลการจับเนื้อทราย ที่เกาะกระดาษ 2529

6.เลียงผาที่พบในประเทศไทย การกระจายถิ่นที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมบางประการ 2529

7.สำรวจถิ่นที่อยู่อาศัยของเก้งหม้อ

8.การสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับ สัตว์ป่าในพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส 2530-2532

9.การอพยพสัตว์ป่า ในอ่างเก็บน้ำรัชชประภา สัมมนาสัตว์ป่า 2532

10.วิเคราะห์ความเหมาะสม จากรายงานและแผนการ แก้ไขผลกระทบด้านทรัพยากร ป่าไม้และสัตว์ป่า

11.โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แควใหญ่ตอนบน (Assessment on Report and Impact Assessment Plan on Forestry and Wildlife of Upper Quae Yai Project)

12.รายงานการประเมินผลงาน ช่วยเหลือสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อน X วหลาน) จ.สุราษฏร์ธานี

13.นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร จ.กาญจนบุรี และ จ.ตาก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี และ จ.ตาก กุมภาพันธ์ 2530 โดย สืบ นาคะเสถียร, นริศ ภูมิภาคพันธุ์, ศักดิ์สิทิ์ ซิ้มเจริญ

14.รายงานผลการวิจัย วางแผนขั้นรายละเอียดสำหรับ ฟื้นฟูสภาพป่าไม้และ การจัดการป่าไม้บริเวณ พื้นที่ป่าต้นน้ำคลองแสง โครงการเขื่อน X วหลาน จ.สุราษฎร์ธานี 2527

15.Nomination of the Thung Yai-Huay Kha Khaeng Wildlife Sanctuary to be a UNESCO World Heritage Site, May 1990 Submitted by the Wildlife Conservation Division, Royal Forest Department Prepared Seub Nakasathien and Belinda Stewart-Cox

 X วหลาน

พ.ศ. 2529 สืบได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อน X วหลาน) จังหวัดสุราษฏร์ธานี ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้างในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อน X วหลาน สืบได้ทุ่มเทเวลาให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วม โดยไม่ได้นึกถึงความปลอดภัยของตนเองเลย จากการทำงานชิ้นดังกล่าว สืบเริ่มเข้าใจปัญหาทั้งหมดอย่างถ่องแท้ เขาตระหนักว่าลำพังงานวิชาการเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่อาจหยุดยั้งกระแสการทำลายป่าและสัตว์ป่า อันเป็นปัญหาระดับชาติได้ ดังนั้น เมื่อมีกรณีรัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่ฯ สืบจึงโถมตัวเข้าคัดค้านเต็มที่

 X วหลาน เป็นชื่อแก่งน้ำแห่งหนึ่งในบริเวณ คลองแสง ซึ่งเป็นคลองที่มีน้ำ X วมากที่สุดในฤดูน้ำหลาก สองฟากฝั่งคลองคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง และ อุทยานแห่งชาติเขาสก ซึ่งจัดเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี อยู่บริเวณรอยต่อสามจังหวัดของภาคใต้ คือ ระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี. บนยอดทิวเขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,000 เมตร ซึ่งบัดนี้พื้นที่ป่าดงดิบ นับแสน ๆ ไร่ ได้จมอยู่ใต้น้ำลึกเกือบ 100 เมตร กลายเป็น ทะเลสาบขนาดใหญ่ อันเกิดจากโครงการทำลายล้างธรรมชาติโครงการหนึ่งของ การไฟฟ้า]] เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อน X วหลาน สำหรับผลิตกระแสไฟ เมื่อสายน้ำในคลองแสงที่เคยไหลตามธรรมชาติ ถูกปิดกั้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ไหลเอ่อสองฝั่งตามหุบเขา

นับตั้งแต่เริ่มมี การกักเก็บน้ำเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2529 ระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้ไหลบ่าท่วมป่าใหญ่จมหายไป ส่วนที่เป็นเนินเขา และภูเขาก็ถูกตัดขาด แบ่งแยกเป็น เกาะเล็กเกาะน้อย มากมายถึง 162 เกาะ สัตว์ป่านานาชนิด ที่อาศัยอยู่บริเวณ นั้น ต้องได้รับ ผลกระทบ เนื่องจากแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย ถูกน้ำท่วมฉับพลัน มีสัตว์ป่าจำนวนมากที่อพยพ หนีน้ำไม่ทันก็ต้องตายไป เป็นจำนวนมาก ไม่น้อยกว่า 338 ชนิด ในจำนวนนี้ มีสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์หลายชนิด เช่น ช้าง กระทิง วัวแดง สมเสร็จ เสือลายเมฆ เลียงผา ไก่ฟ้าหน้าเขียว นกหว้า และกบทูด. สัตว์ที่ติดอยู่บนเกาะ ไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องพากันจมน้ำ หรือขาดอาหารตายอย่างทรมานในที่สุด ส่วนที่ยังไม่ตาย ก็ต้องประสบกับความทุกข์ทรมาน เนื่องจากแหล่งอาหาร และที่พักพิงในยามที่แดดร้อนระอุ และความหนาวเย็นของลมฝนที่พัดกระหน่ำเกือบทุกวัน เพราะต้นไม้ที่เหลืออยู่บนเกาะก็กำลังจะตาย ใบหลุดร่วง สาเหตุจากรากที่ดูดซึมน้ำต้องแช่อยู่ใต้ระดับน้ำ ทำให้รากเน่า

พ.ศ. 2530 สืบได้ปฏิบัติงานในโครงการศึกษาผลกระทบสภาพแวดล้อม เพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส

ต่อมาได้รับคำสั่งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี อีกตำแหน่ง และนอกจากนั้นก็ยังได้เป็นอาจารย์พิเศษ ประจำภาคชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อรัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน จังหวัดกาญจนบุรี สืบได้จัดเตรียมเอกสารข้อมูล ทั้งบทความและภาพถ่าย ทุ่มเทพลังใจและกาย เพื่อคัดค้านกรณีเขื่อนน้ำโจน และการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติทุกรูปแบบ

เขารีบเร่งทำรายงานผลการอพยพสัตว์ป่าจากเขื่อน X วหลาน เพื่อบอกทุกคนให้รู้ว่า การช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ถูกทำลายถิ่นที่อยู่นั้น เป็นเรื่องที่เกือบจะไร้ผลโดยสิ้นเชิง สืบยืนยันว่าการสร้างเขื่อนได้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ แหล่งอาหาร ตลอดจน ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างรุนแรงและกว้างขวางเกินไป กระทั่งความช่วยเหลือจากมนุษย์ ไม่สามารถชดเชยได้ โดยการรวมพลังของกลุ่มนักอนุรักษ์ฯต่าง ๆ ในที่สุดโครงการสร้างเขื่อนน้ำโจน ก็ได้ถูกระงับไป

ตำนานของห้วยขาแข้ง

พ.ศ. 2531 สืบได้กลับเข้ามารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2532 ก็เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

สืบได้พยายามในการที่จะเสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และห้วยขาแข้ง มีฐานะเป็นมรดกของโลกอย่างเป็นทางการ จากองค์การสหประชาชาติ โดยเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกันสำคัญ ที่จะคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้อย่างถาวร. ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุนเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่อังกฤษ พร้อม ๆ กับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร. แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้าเต็มไปด้วยความยากลำบากนานัปการ แต่ในที่สุดสืบก็ตัดสินใจรับตำแหน่งดังกล่าว

พ.ศ. 2533 จัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นวิทยากรบรรยาย และร่วมอภิปรายในโอกาสและสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่ง ส่วนมากเป็นหัวข้อเรื่อง "การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและปัญหาที่เกี่ยวข้อง" "การอพยพสัตว์ป่าตกค้างในเขื่อน X วหลาน" เป็นต้น

ด้วยป่าห้วยขาแข้งเป็นผืนป่าที่อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่าอันล้ำค่า ทำให้หลายฝ่ายต่างก็จ้องบุกรุกเข้ามาหาผลประโยชน์ สืบได้แสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะรักษาป่าผืนนี้ไว้ให้ได้อย่างชัดแจ้ง ตั้งแต่วันแรกที่เข้าไปรับงานหัวหน้าเขตฯ เขาได้ประชุมเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าห้วยขาแข้งทั้งหมด และได้ประกาศให้รู้ทั่วกันว่า “ผมมารับงานที่นี่ โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน” สืบ นาคะเสถียร พยายามปกป้องป่าห้วยขาแข้งอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการบุกรุกของกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์ได้

การดูแลผืนป่าขนาดหนึ่งล้านไร่ ด้วยงบประมาณและกำลังคนที่จำกัด กลายเป็นภาระหนักอึ้งที่ตกอยู่บนบ่าของเขา มันทั้งกัดกร่อนบั่นทอนและสร้างความตึงเครียดให้กับสืบอยู่ตลอดเวลา สืบค้นพบว่าปัญหาสำคัญ ของห้วยขาแข้งเกิดจากความยากจนที่ดำรงอยู่โดยรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ ทำให้กลุ่มผลประโยชน์ และผู้มีอิทธิพลสามารถยืมมือชาวบ้านในเขตป่าสงวนเข้ามาตัดไม้ และลักลอบล่าสัตว์ในเขตป่าอนุรักษ์ ได้อย่างต่อเนื่อง

ในทรรศนะของเขา หนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการสร้างแนวป่ากันชนขึ้นมา จากนั้น ให้อพยพราษฎรออกนอกแนวกันชน และพัฒนาแนวกันชนดังกล่าว ให้เป็นป่าชุมชนที่ชาวบ้านสามารถเข้าไปหาประโยชน์ได้. อย่างไรก็ตาม สืบไม่มีอำนาจเพียงพอ ที่จะเข้าไปจัดการเรื่องนี้ให้ปรากฏเป็นจริง เขาจึงได้พยายามประสานงานกับผู้ใหญ่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงให้เห็นถึงความสำคัญของแนวคิดดังกล่าว, แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจฟัง ปล่อยให้สืบต้องดูแลป่าห้วยขาแข้งไปตามยถากรรม ด้วยความเหนื่อยล้า ความผิดหวัง และความคับแค้นใจ

การเสียสละด้วยชีวิต

click ดูภาพใหญ่เช้ามืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจผ่าทางตัน ด้วยการสั่งเสียลูกน้อง คนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา 6 ฉบับ ชำระสะสางภาระรับผิดชอบ และทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง มอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระจนจิตใจสงบ ขณะที่ฟ้ามืดกำลังเปิดม่านรับวันใหม่ เสียงปืนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้น ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกายวาจา

และหลังจากนั้นอีกสองอาทิตย์ต่อมา ห่างจากบริเวณที่เกิดเสียงปืนดังขึ้นไม่กี่สิบเมตรบรรดาเจ้าหน้าที่ ระดับสูงของกรมป่าไม้ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ นายอำเภอ ป่าไม้เขต และ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ อีกนับร้อยคน ต่างกุลีกุจอมาประชุมกันที่ห้วยขาแข้ง อย่างแข็งขัน เพื่อหามาตรการป้องกันการบุกรุก ทำลายป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร รอวันนี้มาตั้งแต่วันแรกที่เขามาดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้แล้ว แต่หากไม่มีเสียงปืนนัดนั้น การประชุมดังกล่าวก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน...

การจากไปของ สืบ นาคะเสถียร ได้ส่งผลสะเทือนอย่างล้ำลึกต่อผู้คนที่รักธรรมชาติ และแสวงหาความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะว่าในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ สืบมิได้เป็นเพียงข้าราชการอาชีพที่มีภาระการงานเกี่ยวกับการพิทักษ์ป่า และสัตว์ป่าเท่านั้น หากเป็นผู้นำคนสำคัญของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทย เป็นผู้ที่เคยต่อสู้เพื่อปกปักรักษาทรัพยากรป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยไม่คำนึงภัยอันตรายใด ๆ การจากไปของเขานับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นความสูญเสียที่นักอนุรักษ์ธรรมชาติทุกคน ไม่อาจปล่อยให้ผ่านพ้นไป โดยปราศจากความทรงจำ

แนวคิดและอุดมการณ์ของสืบ

ผมคิดว่า ชีวิตผมทำได้ดีที่สุดแล้ว
เท่าที่ผมมีชีวิตอยู่
ผมคิดว่า ผมได้ช่วยเหลือสังคมดีแล้ว
ผมคิดว่า ผมได้ทำตามกำลังของผมดีแล้ว
และ...ผมพอใจ ผมภูมิใจสิ่งที่ผมทำ ...

แนวความคิดเรื่องการอนุรักษ์และการพัฒนา

แต่อย่างไรก็ตาม การอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึ่ง มิได้หมายถึงการเก็บรักษาโดยไม่นำมาใช้ประโยชน์ แต่เป็นการใช้อย่างถูกต้อง โดยวิธีที่จะใช้ทรัพยากรที่เหลืออยู่ดังกล่าว สามารถอำนวยประโยชน์ไม่เฉพาะทางใดทางหนึ่ง แต่สามารถอำนวยประโยชน์ให้ในทุก ๆ ด้าน และยังคงมีเหลืออยู่มาก พอที่จะเป็นทุนให้เกิดการพอกพูนขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อีก และยั่งยืนต่อไปในอนาคต. ดังนั้น ผลที่จะเกิดขึ้นจากการอนุรักษ์ มิได้เป็นประโยชน์เฉพาะคนที่อยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังคงสามารถอำนวยประโยชน์ต่อไปชั่วลูกชั่วหลานต่างหาก — หนังสือเสียงเพรียกจากพงไพร. ธันวาคม 2533

ผมอยากเห็นว่า เราควรจะเปลี่ยนแนวทางที่จะพัฒนา ในความเห็นส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับ การดำเนินการพัฒนาโดยใช้ทรัพยากรที่เหลืออยู่น้อยนิดนี้ ผมไม่เห็นด้วยที่มัวพูดกันว่า เราจะใช้ทรัพยากรอย่างไรเพื่อการพัฒนาประเทศ แต่เราควรจะหันมาสนใจว่า เราจะรักษา สภาวะแวดล้อมหรือทรัพยากรที่เหลืออยู่จำกัดได้อย่างไร เราต้องประหยัดการใช้ใช่ไหม เราจะต้องหามาตรการควบคุมในทางปฏิบัติให้ได้ — สารคดี ฉบับ 65หน้า 95, กรกฎาคม 2533

จะเป็นไปได้ไหมที่รัฐบาลจะเปิดใจกว้าง โดยการให้ทุกฝ่าย ทั้งประชาชน ผู้นำในท้องถิ่น ผู้แทนราษฎร นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง มาพูดคุยร่วมกัน คือบางคนอาจจะต้องรับสถานภาพของบางกลุ่ม ข้าราชการอาจต้องยอมรับสถานภาพของประชาชน คือ ลดตัวลง ในขณะเดียวกันก็เพิ่มฐานะของเขาให้ขึ้นมามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกัน แทนที่จะพูดกันคนละที — สารคดี ฉบับ 65 หน้า 99, กรกฎาคม 2533

ผมคิดว่ามันหมดยุคแล้ว มันควรจะมาถึงยุคที่ทุกคนมีความเสมอภาคในการแสดงความคิดเห็น ช่วยกันแก้ปัญหา เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมมันไม่ได้เกิดขึ้นกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง — สารคดี ฉบับ 65 หน้า 99, กรกฎาคม 2533

แนวความคิดเรื่องการรักษาป่า

ผมว่าประเทศไทยถ้าสามารถเก็บป่าธรรมชาติเอาไว้ได้ประมาณร้อยละ ๒๐ แล้วเราใช้อย่างถูกต้อง หมายถึง เก็บเอาไว้เพื่อให้มันอำนวยประโยชน์ในแง่ ของการควบคุมสภาวะแวดล้อมอะไรต่าง ๆ เป็นแหล่งผลิตของธาตุอาหาร หรือความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่าง ถ้าเราใช้ป่าทั้งหมดที่เป็นแหล่งกำเนิด ของความอุดมสมบูรณ์ไปแล้ว เราจะไปหาความอุดมสมบูรณ์ได้ที่ไหน

สารคดี ฉบับ 68 หน้า 105, ตุลาคม 2533

สิ่งที่ผมมักพูดอยู่เสมอก็คือ ป่าเราเก็บไว้เฉย ๆ ก็เป็นการอนุรักษ์ที่เราได้ประโยชน์ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องตัดมาใช้ ต้นไม้ให้อากาศ ให้น้ำ...นี่เป็นการใช้ใช่ไหม ใช้โดยที่เราไม่ต้องไปตัดเอาส่วนของมันมาใช้

สารคดี ฉบับ 65 หน้า 93, กรกฎาคม 2533

ในความรู้สึกของผม เราไม่ต้องมานั่งเถียงกันหรอกว่า เราจะใช้ป่าไม้อย่างไร เพราะมันเหลือน้อยมากจนไม่ควรใช้ จึงควรจะรักษาส่วนนี้เอาไว้ เพื่อให้เราได้ประโยชน์ที่เป็นประโยชน์ทางอ้อม...มันจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า การอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ จะต้องมองว่ามีการใช้ทั้งทางตรงทางอ้อม ป่าที่เก็บไว้ในรูปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติควรจะใช้ประโยชน์ในทางอ้อม”

สารคดี ฉบับ 65 หน้า 94, กรกฎาคม 2533

ถ้าเผื่อเรามีทรัพยากรที่เป็นลุ่มน้ำอยู่มาก แล้วเรารักษาป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ได้บางส่วน ใช้ไปบางส่วน เหมือนสมัยที่เรามีป่ามาก เราอาจจะสร้างเขื่อนได้บางแห่ง แต่ในปัจจุบัน ลักษณะของพื้นที่ที่เป็นลุ่มน้ำที่เหมาะจะสร้างเขื่อนให้ได้ปริมาณน้ำมาก ๆ เอามาผลิตกระแสไฟฟ้ามันเหลือน้อย และการที่เราสร้างเขื่อนไปก่อน แล้วค่อยตามแก้ไขผลกระทบทีหลัง ผมคิดว่ามันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ในทางปฏิบัติ...เดี๋ยวนี้เขื่อนเริ่มจะเข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์แล้ว เพราะว่าป่าข้างนอกหมดแล้ว อย่างที่เขาใหญ่ก็เริ่มจะพูดถึงการสร้างเขื่อนในพื้นที่อนุรักษ์ หากว่าการสร้างเขื่อน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ายังทำได้อีกต่อไป ผมคิดว่าป่าอนุรักษ์ในอนาคตคงไม่มีความหมายอะไร เหลือแต่ชื่อเอาไว้ว่า เคยเป็นป่าอนุรักษ์มาก่อน

สารคดี ฉบับ 65 หน้า 96, กรกฎาคม 2533

ถึงแม้จะมี พ.ร.บ.ป่าไม้ แต่ป่าไม้เมืองไทยก็ยังลดลงตลอดเวลา นโยบายป่าไม้แห่งชาติ จึงออกมาเพื่อควบคุม พ.ร.บ.ป่าไม้อีกที โดยเขาแบ่งป่าออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ ป่าอนุรักษ์กับป่าเศรษฐกิจ โดยให้ป่าเศรษฐกิจ ๒๕% กับป่าอนุรักษ์ ๑๕% ซึ่งจะทำให้พื้นที่ป่าไม้ของประเทศทั้งหมด ๔๐% ซึ่งมองแล้วมันดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันจะเพิ่มในแง่ของป่าเศรษฐกิจ พวกยูคาลิปตัส ซึ่งไม่ได้เน้นในเรื่องของระบบนิเวศวิทยา การที่เราปลูกไม้โตเร็ว ๒-๓ ชนิด แล้วไปตัดไม้ในป่าธรรมชาติ ผมคิดว่ามันไม่มีทางรักษาป่า หรือทำให้เป็นป่าธรรมชาติได้อีก สำหรับป่าธรรมชาติตอนนี้เหลืออยู่เพียง ๑๙% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นป่าอนุรักษ์ต้นน้ำ ลำธาร อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ประมาณ ๙% ส่วนอีกไม่ถึง ๑๐% เป็นป่าสงวนที่อยู่รอบ ๆ ป่าอนุรักษ์ ตัวนี้แหละที่ถูกราษฎรบุกรุกอยู่ทุกวันโดยอ้างว่าไม่มีที่ดินทำกินและมีการซื้อขายอย่างผิดกฏหมาย โดยพวกนายทุนที่อยู่ในเมืองหรือมีอิทธิพล หนทางแก้ไข มันต้องหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งอันนี้ต้องมีการประสานกันทุกฝ่าย หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ต้องรับรู้นโยบายกันบ้าง แล้วก็ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่า ถ้าเขาขายที่ดินอันนี้ไปแล้ว เขาไม่มีทางไปอีกนั่นแหละจึงจะสามารถหยุดปัญหานี้ได้

พีเพิล ฉบับ 21 หน้า 61, สิงหาคม 2533

ถึงแม้จะหยุดป่าสัมปทานแล้วก็ตาม แต่ราษฎรที่บุกรุกอยู่ในเขตป่าสงวนตอนนี้ ล้านกว่าครอบครัว ป่าไม้ที่ไหนจะเหลือ นอกจากความจริงใจของรัฐบาล เค้าบอกว่าจะต้องรักษาป่าให้ได้โดยการจำแนกพื้นที่ออกมาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และบอกเลยว่าป่าสงวนตรงนี้ห้าม ห้ามมีกรรมสิทธิ์ ห้ามเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ตอนนี้ป่าหมดเพราะอะไรรู้ไหม เพราะป่าสงวนหมดสภาพ สามารถเปลี่ยนแปลง เป็นป่ายูคาลิปตัสได้ ผมไม่อยากจะเรียกป่า เพราะมันไม่ใช่ป่า

อิมเมจ ฉบับ 3 หน้า 32, มีนาคม 2533


แนวความคิดเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่า

การอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทย จะสามารถประสบผลสำเร็จได้ต้องอาศัยความเข้าใจ และความจริงใจต่อการอนุรักษ์ป่าธรรมชาติที่ยังเหลืออยู่ประมาณร้อยละ ๒๐ ของพื้นที่ทั้งประเทศ ไม่เช่นนั้นแล้วจำนวนชนิดของสัตว์ป่าที่หายากและกำลังจะสูญพันธุ์เหล่านี้ก็จะต้องสูญไป พร้อมกับการบุกรุกทำลายป่า ทั้งในรูปแบบของการพัฒนาที่ต้องตัดป่า ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าออกและรวมถึงการยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าเพื่อกิจการอื่น ๆ

เอกสารประกอบการสัมมนาสิ่งแวดล้อม ๓๓ หน้า ๔๒

ปัญหาของการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ช่องว่างของกฏหมายที่อนุญาต ให้บุคคลมีสัตว์ป่าไว้ครอบครองโดยไม่ต้องขออนุญาต สิ่งนี้เป็นช่องทางให้การล่าสัตว์ มันเหมือนกฎหมายสัตว์ป่าที่คุณบอกว่า คุณสามารถที่จะมีเก้ง มีกวาง มีเสือ มีหมาไน หมาจิ้งจอก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พวกนี้มีไว้ในครอบครองได้ ถ้าไม่เกินปริมาณที่กำหนด ทำไมในเมื่อเราคุ้มครองแล้ว ทำไมเราไม่คุ้มครองมันทุกตัว แก้กฎหมายสิ

อิมเมจ ฉบับที่ ๓ หน้า ๓๑,มีนาคม ๒๕๓๓

สัตว์ป่าที่ถูกเลี้ยงมาตั้งแต่เล็ก ๆ ถ้าสามารถรอดชีวิตมาได้จนโต จะคุ้นเคยกับคน จนไม่สามารถปล่อยให้มีชีวิตอยู่ต่อไปในป่าได้ตามลำพังอีก... และส่วนมากลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่อยู่ในกรง ก็มักจะไม่แข็งแรง และเมื่อมันโตขึ้นก็จะเกิดการผสมกันเองในครอบครัวเดียวกัน... เรากำลังพูดกันมากว่าจะอนุรักษ์กันอย่างไร แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าการรักษาชีวิตสัตว์ให้รอดอยู่ แตกต่างอย่างมากมายกับการอนุรักษ์พันธุ์ของสัตว์ป่าชนิดนั้น ๆ

เอกสารประกอบการสัมมนาสิ่งแวดล้อม ๓๓ หน้า ๔๓-๔๔

พวกที่ชอบล่าสัตว์ป่าและพวกชอบกินเนื้อสัตว์ป่า ผมขอเถอะ พวกที่ชอบซื้อสัตว์ป่ามาเลี้ยงก็เช่นกัน ธรรมชาติเขาเลี้ยงได้ดีกว่าอยู่แล้ว

สารคดี ฉบับ ๖๕ หน้า ๑๐๐,กรกฎาคม ๒๕๓๓

ในแง่ของการอนุรักษ์ คือการที่เราจะช่วยเหลือไม่ให้มันสูญพันธุ์ การทำให้มันมีประชากรเพิ่มขึ้น จะเป็นในกรงเลี้ยงหรืออะไรก็ตาม ถ้าเราไม่สามารถปล่อยมันคืนไปในป่าธรรมดา ให้มันปรับตัวแลัวเพิ่มประชากรโดยตัวของมันเองได้ นั่นไม่ถือว่าเป็นการอนุรักษ์ แล้วพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีวิวัฒนาการ ปรับตัวให้อยู่ได้ในสภาพธรรมชาติ แต่ถ้าเราเอามันออกมาทำให้มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น แต่พันธุ์ไม่ได้รับการพัฒนา สัตว์ที่ถูกจำกัดให้อยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ มันก็จะผสมพันธุ์กันเอง ซึ่งจะทำให้เกิดลักษณะด้อยเพิ่มขึ้น

สารคดี ฉบับ ๖๘ หน้า ๑๐๕,ตุลาคม ๒๕๓๓

http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=2752&db_file=


PS.  ผมคือผู้ปกครองนรก ไม่ใช่เทพแห่งตวามตาย ฉะนั้นอย่ากลัวไปเลย

แสดงความคิดเห็น

กระทู้นี้ถูกปิดการแสดงความคิดเห็น

23 ความคิดเห็น

-*- 13 ธ.ค. 49 เวลา 16:30 น. 1

เราเคยไปที่ห้วยขาแข้งมาแล้ว ไปดูบ้านพักของสืบ นาคะเสถียร เมื่อปีที่แล้ว ไปกับชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติที่นั่นดีนะ หนุกดี ได้สร้างเขื่อนแม้วด้วย น้ำเนี่ยสุดยอด ถ้าเปงไปได้อยากไปอีก ขอบคุณที่ให้ดูข้อมูลนะค่ะ

0
Y_Y 13 ธ.ค. 49 เวลา 17:24 น. 2

สืบได้พยายามในการที่จะเสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และห้วยขาแข้ง มีฐานะเป็นมรดกของโลกอย่างเป็นทางการ จากองค์การสหประชาชาติ โดยเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกันสำคัญ ที่จะคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้อย่างถาวร



คนแค่คนเดียวแต่ชีวิตเขามีค่าขนาดนั้น เป็นปูชนียบุคคลจริงๆ

0
นู๋เก๋ *-* 14 ธ.ค. 49 เวลา 11:05 น. 3

เคยไปชีวประวัติคุณสืบ ที่ ทีลอซูค่ะ ตอนดูอยู่ถึงกลับร้องไห้เลยค่ะ ที่คุณสืบต้องฆ่าตัวตายเพื่อปกป้องผืนป่าไว้นะคะ

0
คนรุ่นหลัง 14 ธ.ค. 49 เวลา 14:00 น. 4

ลูกสาวของคูณสืบพึงจะแต่งงาน วันนั้นของเธอควรจะมีพ่อที่รักร่วมยินดี แต่เธอต้องเสียสละพ่อที่รักยิ่งให้กับการทำประโยขน์ให้กับแผ่นดิน พวกคุณ (คนเห็นแก่ตัว) ควรระลึกไว้ซะว่าคูณทำให้ใครต้องเสียใจ เสียโอกาสที่ควรมีไป หากว่าเป็นคุณคุณจะรู้สึกอย่างไร&nbsp 

ขอไว้อาลัยแก่ความดีที่คุณสืบทำ

0
fangpamiga 30 ม.ค. 50 เวลา 18:41 น. 5

เราก็ไม่มีข้อมุลเหมือนคนอื่นหรอกนะ เพิ่งรู้จักเนี่ยแหละ ก้อืม

เขาเก่งดี แล้วก็เป็นคนที่คนไทยน่าจะภูมิใจด้วยอ่านะ

0
สิงโต 19 ธ.ค. 51 เวลา 17:24 น. 7

1 ชีวิตจากไปเพื่อป้องอีกหลาย 100 ชีวิตบนผืนป่า คุณเป็นวีรบุรุษ

0
นักอนุรักตัวน้อย 16 มี.ค. 53 เวลา 13:44 น. 12

ผมจะจำในหนึ่งสิ่งที่คุนทำ ถึงแม้คุนอาจจะล่วงลับไปแล้ว
สิ่งที่คุนทำสิ่งที่คุนพูดมันคือสิ่งที่ยิ่งใหญ่
คุนคือฮีโร่ผม&nbsp สืบ................

0
รักคนดี 11 เม.ย. 53 เวลา 23:16 น. 13

ซึ้งมากๆอ่านไปแล้วร้องไห้ไป สงสารเค้านะที่ไม่สามารถช่วยชีวิตสัตว์ป่าได้ แล้วพวกหาผลประโยชน์ส่วนตัวเคยที่จะเห็นใจหลายๆชีวิตบ้างมั้ย แล้วเค้าขอไม่ทำให้ ตายแล้วถึงจะให้ อายแทนจริง

0
กิติพงศ์ 15 มิ.ย. 53 เวลา 12:34 น. 15

ไม่มีคำบรรยาย มันเป็นอะไรที่ ทราบซึ้ง และภูมิใจมาก ขอบคุณมากครับ ลุงสืบ...

0
นัน 3 ก.ย. 53 เวลา 11:19 น. 18

เป็นอีกหนึ่งคนของคนที่คิดเหมือนกัน เราเองมีความเชื่อตลอดมาว่าการทำความดีถึงไม่มีคนเห็นค่าแต่ถ้าเราทำด้วยใจจิงไม่นานสักวันความดีก็ต้องปรากฏ และเชื่อว่าคนส่วนมากย่อมจะอยากเห็นความดี คนดีและประโยชน์ส่วนรวมทั้งนั้นเลย แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่มีความคิดแต่เรื่องส่วนร่วมกลับคิดไม่เป็น (เห็นแก่ตัว) ไม่นานคนพวกนี้มันก็ไม่มีความสุขถึงมีเงินแต่สุดท้ายแล้วชีวิตของคนเราก้อยากมีความสุขจากคนรอบข้างและครอบครัวอย่างจิงใจ
เราเองไม่ค่อยได้ยินเรื่องราวมากนัก แต่หลายวันมานี้เราได้รู้เราก็ดีใจมากที่มีคนอีกหลายคนมีแนวคิดที่ดีและอุดมการณ์เพื่อคนส่วนร่วม อ่านแล้วซึ้งจิงๆ ขอแสดงความอาลัยและยกย่องให้คุณสืบฯเป็นวีรษุรุษของคนไทยอีกคนหนึ่ง เราจะไม่มีวันลืมท่านเลย
ขอให้อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่าปล่อยให้คนชั่วทำลายประเทศไทยอีกเลย
ขอให้คนดีๆทุกคนที่ไม่ทำความเดือดร้อนให้คนอื่นขอให้เขามีแต่ความสุข และเจอแต่สิ่งดีๆด้วย เมื่อไหร่ฝันจะเป็นจิง

0
ผู้รักป่า 13 ก.ย. 54 เวลา 17:38 น. 20

โตขึ้นหนูจะไปเป็นกรมอนุรักษ์ป่าค่ะ หนูจะสืบสานสิ่งที่คุณสืบ นาคะต้องการให้ได้ค่ะ(ตอนนี้หนูอยู่ ป.5)

0