Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รู้มั๊ยคำว่าในหลวงคืออะไร...พร้อมพระราชประวัติของพระองค์ท่าน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
พระนามเต็ม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระนามเดิม พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช
พระราชสมภพ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470
เสวยราชสมบัติ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489
สมเด็จพระอัครมเหสี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระราชบุตร ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ในราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 จนถึงปัจจุบัน ทำให้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐ เป็นเวลายาวนานที่สุดในโลกที่ยังมีชีวิตอยู่

พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระภัทรมหาราช มีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง ต่อมามีการถวายพระราชสมัญญาใหม่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2530 และ พระภูมิพลมหาราช อนุโลมธรรมเนียม เช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า พระปิยมหาราช

ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า ในหลวง โดยย่อมาจาก “ใน(พระบรมมหาราชวัง)หลวง” บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “นายหลวง” ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่

สารบัญ

[ซ่อนสารบัญ]


พระราชประวัติ

พระราชวงศ์ไทย
ตราประจำราชวงศ์จักรี
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ขวา) สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี(กลาง) และ พระเชษฐาธิราช  ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2481 โดยมี กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงเป็นผู้ฉายพระรูป สามารถเห็นพระองค์ในกระจกด้านหลัง ซึ่งพระองค์ได้ประทับนั่งอยู่ ตรงข้าม และสมเด็จย่านั้นพระองค์ได้ประทับอยู่ทางซ้ายติดกับพระเชษฐาธิราช
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ขวา) สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี(กลาง) และ พระเชษฐาธิราช ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2481 โดยมี กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงเป็นผู้ฉายพระรูป สามารถเห็นพระองค์ในกระจกด้านหลัง ซึ่งพระองค์ได้ประทับนั่งอยู่ ตรงข้าม และสมเด็จย่านั้นพระองค์ได้ประทับอยู่ทางซ้ายติดกับพระเชษฐาธิราช
วันราชาภิเษกสมรส
วันราชาภิเษกสมรส
ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ทรงรับบาตร ขณะทรงผนวช
ทรงรับบาตร ขณะทรงผนวช

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชสมภพที่โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (ชูกระมล) (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช พระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

เมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุไม่ถึง 2 ปี

การศึกษา

พ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้ 5 ปี เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกอล นูเวล เดอ ลา ซืออิส โรมองต์ เมืองแชลลี-ซือ-โลซาน

พ.ศ. 2477 เมื่อพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ผู้เป็นพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทย เป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงปี พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

เสด็จฯ ขึ้นครองราชย์

ดูรายละเอียดที่ เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8

วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตอย่างลึกลับ โดยต้องพระแสงปืน ที่พระกระหม่อม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขาจากวิทยาศาสตร์ ไปเป็นวิชากฎหมายและรัฐศาสตร์

ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์

ระหว่างประทับในต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพบกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร และทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ได้เข้ารักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลในเมืองโลซาน โดย ม.ร.ว.สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเยี่ยมเป็นประจำจนหายประชวร นับตั้งแต่นั้นมาทั้งสองพระองค์ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร และสถาปนาหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ดูรายละเอียดที่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในรัชกาลที่ 9

วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" และในโอกาสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี

ทรงผนวช

เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมณนามว่า ภูมิพโลภิกขุ และเสด็จฯ ไปประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกันนั้น

พระราชโอรสธิดา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา 4 พระองค์ ดังนี้

(จากขวา) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ
(จากขวา) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ

ตัวอย่างพระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่นๆ

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ดูบทความหลักที่ พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช และ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช



PS.  I know that he loves me cause told so. I know that he loves me cause his feelings show.

แสดงความคิดเห็น

>

14 ความคิดเห็น

น้องแพม 9 ส.ค. 51 เวลา 20:40 น. 6

หนูอยากให้คนไทยทุกคนช่วยกันดูเเลรักษาประเทศไทยของเราไว้ให้ดีนะคะ
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ( จากเด็กจังหวัดอุดรธานีค่ะ )

0
นศท มิกกี้ 17 ม.ค. 58 เวลา 15:16 น. 10

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดช ขอพระองค์อยู่คู่คน ไทยไปยิ่งยืนนาน ตลอดไป*ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดช ขอพระองค์อยู่คู่คน ไทยไปยิ่งยืนนาน ตลอดไป*ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดช ขอพระองค์อยู่คู่คน ไทยไปยิ่งยืนนาน ตลอดไป*ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดช ขอพระองค์อยู่คู่คน ไทยไปยิ่งยืนนาน ตลอดไป*ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดช ขอพระองค์อยู่คู่คน ไทยไปยิ่งยืนนาน ตลอดไป*ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดช ขอพระองค์อยู่คู่คน ไทยไปยิ่งยืนนาน ตลอดไป*

0
bombben 21 ม.ค. 58 เวลา 14:20 น. 11

ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพชอบ เป็นหลักสำคัญ ผู้ที่จะสามารถประพฤติชอบและหาเลี้ยงชีพชอบได้ด้วยนั้น ย่อมจะมีทั้งวิชาความรู้ ทั้งหลักธรรมทางศาสนา เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยสำหรับใช้กระทำการทำงาน สิ่งหลังเป็นปัจจัยสำหรับส่งเสริมความประพฤติ และการปฏิบัติงานให้ชอบ คือให้ถูกต้องและเป็นธรรม
พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แก่ครูโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม 4 จังหวัดภาคต้ จ. ปัตตานี 24 ส.ค. 19

0
Smartty Kankornpatah 22 ม.ค. 58 เวลา 15:25 น. 12
  • ถ้าทุกคนสนใจในความรักประเทศชาติ รักษาความดีเอาไว้ ไม่ต้องไปตามอย่างในสิ่งที่เราเห็น ว่าไม่น่าที่จะเจริญไม่น่าจะพัฒนา เราต้องรักษาแนวทางความคิดตามที่เรามีอยู่ แม้จะเป็นสิ่งที่ตกทอดมาแต่โบราณกาลจากปู่ย่าตายายของเรา แต่เป็นระเบียบการหรือเป็นวิธีการที่ดี จะไม่ล้าสมัย

    พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว... (3)

    (ในโอกาสเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร 13 มีนาคม 2514)

0