Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

_-แพทย์ไทยพบโปรตีนสมานแผลในปัสสาวะครั้งแรกหวังยับยั้งนิ่วในไต-_

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

แพทย์ไทยเรา...   ก็มีดีเหมือนกันน้าา...   ^o^


(ซ้าย) ภาพเอ็กซเรย์มัมมี่อายุ 7,000 ปี พบก้อนนิ่วในไต,(ขวาบน) ก้อนนิ่วในมัมมี่อายุ 7,000 ปี, (ขวาล่าง) ผลึกแคลเซี่ยมอ๊อกซาเลท (ภาพจาก อาจารย์ นพ.วิศิษฎ์ ทองบุญเกิด )

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
อาจารย์ นพ.วิศิษฎ์ ทองบุญเกิด

ผลึกแคลเซี่ยมอ๊อกซาเลทหลากหลายรูปทรง (ภาพจาก อาจารย์ นพ.วิศิษฎ์ ทองบุญเกิด )

แบบจำลองโครงสร้างของโปรตีน TFF1 บริเวณที่มีประจุลบมากจับกับแคลเซี่ยมซึ่งมีประจุบวกได้ดี (ภาพจาก อาจารย์ นพ.วิศิษฎ์ ทองบุญเกิด )

โรคนิ่วในไตพบบ่อยมากถึง 20% ของคนทั่วโลก เฉพาะในไทยพบมากถึง 16% ทั้งยังเป็นโรคเก่าแก่เพราะมีหลักฐานการค้นพบก้อนนิ่วในมัมมี่ตั้งแต่ 7,000 ปีก่อน ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนนิ่วมีหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน สิ่งแวดล้อม หรือพันธุกรรมที่อาจทำให้การขับสารบางอย่างในปัสสาวะของแต่ละคนต่างกันไป
       
       นพ.วิศิษฎ์ ทองบุญเกิด สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล หนึ่งในผู้ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2549 สาขาการวิจัย จากผลงานวิจัยเรื่อง "การค้นพบโปรตีน "เทร-ฟอยล์-แฟคเตอร์-วัน" ในปัสสาวะของคนปกติซึ่งสามารถยับยั้งการโตของผลึกแคลเซี่ยมอ๊อกซาเลทที่เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดก้อนนิ่วในไต" และผลงานนี้เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้วในวารสารการแพทย์ระดับนานาชาติอย่าง เจอร์นัล ออฟ คลินิคอล อินเวสทิเกชัน (Journal of Clinical Investigation) เมื่อปี 2548
       
       "คนที่เป็นนิ่วไม่จำเป็นต้องแสดงอาการ ถ้านิ่วก้อนเล็กอาจไม่เป็นอันตรายและเมื่อหลุดมากับปัสสาวะก็หายได้ แต่หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่จนไปอุดท่อไต จะทำให้ไตอักเสบและเกิดการติดเชื้อได้" อ.นพ.วิศิษฎ์ กล่าว และอธิบายเสริมว่า ก้อนนิ่วเกิดจากการรวมตัวกันของผลึกแคลมอ๊อกซาเลท (Calcium oxalate: CaOx) ซึ่งมีหลากหลายรูปร่างและมองดูสวยงาม แต่กลับแฝงความน่ากลัวเอาไว้ เมื่อผลึกหลายผลึกรวมตัวกันมากขึ้นจนเกิดเป็นก้อนนิ่วขนาดใหญ่และสร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับผู้ที่มีก้อนนิ่วนั้น
       
       จากความแตกต่างในการมีก้อนนิ่วของแต่ละคน ทำให้ อ.นพ.วิศิษฎ์ สงสัยว่าในน้ำปัสสาวะน่าจะมีสารบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดนิ่ว จึงทดลองเก็บตัวอย่างน้ำปัสสาวะของคนปกติมาวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของโปรตีนทั้งหมดที่มีอยู่ และศึกษาบทบาทหน้าที่ของโปรตีนแต่ละชนิดว่ามีผลอย่างไรกับการรวมตัวกันของผลึก CaOx โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้านโปรตีโอมิคส์ (Proteomics) มาใช้ร่วมด้วย
       
       "พบโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งมีปริมาณอยู่ไม่มากในน้ำปัสสาวะ แต่สามารถยับยั้งการเกิดก้อนนิ่วได้ดีที่สุด และเมื่อนำไปวิเคราะห์ชนิดของโปรตีน พบว่าเป็นโปรตีนเทร-ฟอยล์-แฟคเตอร์-วัน (Trefoil Factor 1: TFF1) ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีใครรู้เลยว่ามีโปรตีนชนิดนี้อยู่ในน้ำปัสสาวะด้วย แต่รู้ว่ามีอยู่ในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และมีหน้าที่ช่วยสมานแผล ลดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหารได้ และยังพบในเซลล์มะเร็งเต้านมด้วยเหมือนกัน" อ.นพ.วิศิษฎ์ กล่าว
       
       หลังจากพบโปรตีนสำคัญแล้ว นพ.วิศิษฎ์ ก็ได้ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณโปรตีน TFF1 ในปัสสาวะของคนปกติกับผู้ป่วยโรคนิ่วในไต พบโปรตีน TFF1 ในคนปกติมีประมาณ 7 นาโนกรัมต่อน้ำปัสสาวะ 1 มิลลิลิตร ส่วนในผู้ป่วยจะพบน้อยกว่านี้ 2-3 เท่า แสดงว่าโปรตีน TFF1 นี้เกี่ยวข้องกับการเกิดก้อนนิ่วจริง
       
       สำหรับกลไกการยับยั้งการโตของก้อนนิ่วในไต อ.นพ.วิศิษฎ์ อธิบายว่า โปรตีน TFF1 มีโครงสร้างเป็นแบบไดเมอร์ (Dimer) คือใน 1 ก้อนโปรตีนประกอบด้วยโครงสร้างที่เหมือนกัน 2 โครงสร้าง และมีบริเวณที่เป็นแอ่งของประจุลบจำนวนมากสามารถจับกับแคลเซี่ยมได้ดี ทำให้ปริมาณแคลเซี่ยมที่จะไปทำปฏิกิริยากับอ๊อกซาเลทลดน้อยลง จึงลดการเกิดผลึกและการรวมกลุ่มของผลึก CaOx เป็นก้อนนิ่วได้
       
       แม้จะพบโปรตีนในปัสสาวะที่เกี่ยวข้องกับก้อนนิ่วในไตแล้ว แต่การตรวจปริมาณ TFF1 ในปัสสาวะยังบอกไม่ได้ว่าจะเป็นนิ่วหรือไม่ เพราะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าปัจจัยใดส่งผลให้โปรตีนชนิดนี้มีไม่เท่ากันในแต่ละคน และการเกิดก้อนนิ่วยังขึ้นอยู่กับปริมาณของ Ca และ Ox ในอาหารและน้ำที่บริโภคเข้าไป ดังจะเห็นได้จากบางท้องถิ่นพบผู้ป่วยโรคนิ่วเยอะกว่าพื้นที่อื่นๆ ทั้งยังรวมไปถึงพันธุกรรม กลไกการสังเคราะห์และการกำจัดสารต่างๆในร่างกาย
       
       อย่างไรก็ดี การค้นพบโปรตีน TFF1 ทำให้แพทย์มีองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น และเป็นพื้นฐานให้ต่อยอดได้ เพื่อหาวิธีป้องกันและรักษาโรคนิ่วที่ได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ อ.นพ. วิศิษฎ์ และคณะก็กำลังศึกษาอยู่ควบคู่ไปกับงานวิจัยเกี่ยวกับโรคอื่นๆด้วย
       
       "จุดประสงค์หลักของงานวิจัยคือ เพื่อให้มีองค์ความรู้ใหม่ๆ และเข้าใจองค์ความรู้นั้นมากขึ้น และจะนำไปสู่วิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาจช่วยให้แพทย์คิดค้นพัฒนาตัวยาใหม่ๆขึ้นมาได้ ซึ่งการพัฒนายาแต่ละตัวจนสามารถใช้ได้จริงในผู้ป่วยต้องใช้เวลานานหลายปีทีเดียว ที่สำคัญการทำงานเป็นทีมช่วยให้งานวิจัยประสบผลได้ดียิ่งขึ้น" อ.นพ.วิศิษฎ์ กล่าวทิ้งท้าย


เครดิต  :  http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000077382&#Comment

ถ้ามีสาระก็ช่วยๆกันคนละหนึ่งจิ๊กน้า...



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 4 กรกฏาคม 2550 / 18:42

PS.  -: ;LoSeR; :- ฝากบทความด้วยน้า แจก,รับของแต่งไอดีทุกอย่างจ้า.... http://my.dek-d.com/hihuman/story/view.php?id=277746

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น