Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา



ตั้งแต่สมัยบรรพกาล ชาวพุทธศาสนิกชนล้วนเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนา คอยปฏิบัติกิจ อันเกี่ยวกับศาสนาอยู่เป็นนิจ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองในทางพุทธศาสนา มีวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามปฏิบัติกันมาตลอดระยะเวลาอันยาวนานกว่า 200 ปี

ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ประเพณีที่ก่อเกิดมาจากการเกษตรกรรม ประเพณีตามความ เชื่อและประเพณีตามพุทธศาสนา ที่มีอยู่ตลอดทุกเดือน จนเกิดคำว่า ฮีต 12 ซึ่งหมายถึงประเพณีประจำ 12 เดือน เป็นกิจกรรมประจำของชาวอุบลราชธานีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยตลอด และเมือถึงฤดูฝน ฤดู กาลแห่งการทำนา พืชพันธ์ธัญญาหารที่เขียวชอุ่ม สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างเปรมปรี ที่ได้รับน้ำฝนอัน สะอาดบริสุทธิ์เย็นชุ่มฉ่ำ ทำให้พระสงฆ์สาวกแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องหยุดจาริกแสวงบุญ เพื่อ โปรดสัตว์ และป้องกันมิให้เกิดความเสียหาแก่ข้าวกล้า และชีวิตของสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ดังนั้น นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 รวม 3 เดือนเต็ม จึงเป็นช่วงที่มีพุทธบัญญัติ ให้พระสงฆ์ทำพิธีปวารณาเข้าอยู่จำนำพรรษา ณ อาวาสแห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดไตรมาส


พุทธศาสนิกชนชาวอุบลผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ต่างพากันหาดอกไม้ ธูป เทียน ผ้าอาบ น้ำฝน น้ำมันก๊าด ตลอดจนเครื่องไทยทาน นำไปถวายพระภิกษุสามเณร ที่จำพรรษาอยู่ที่วัดใกล้เคียง และ สิ่งที่ขาดไม่ได้จริงๆก็คือ เทียน สำหรับพระภิกษุสามเณร ได้จุดบูชาพระพุทธรูป และส่องสว่างเพื่อการ บำเพ็ญเพียร การค้นคว้า ศึกษาหาความรู้

จากเทียนเล็กๆ คนละเล่ม เป็นเทียนที่ชาวบ้านต่างควั่น (สีผึ้ง คือการทำขี้ผึ้งมาสีกับไส้ฝ้าย) กันเอง จากขี้ผึ้ง เป็นเล่มเทียน วัดความยาวเท่ารอบศรีษะตัวเอง แล้วนำไปถวายพระ จนมาถึงงานประเพณีที่ ยิ่งใหญ่ระดับชาติ ในวันนี้

แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น