Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เสื้อโปโล ลักษณะการแต่งกาย โปโล กีฬาขี่ม้านานาชาติ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
โปโล เป็นกีฬาทีมเล่นอยู่บนหลังม้า กีฬาแห่งกษัตริย์ หากย้อนตำนานของการขี่ม้า #โปโล มีวัตถุประสงค์ที่จะทำประตูกับทีมตรงข้ามอาจมีความดุดันเข้ามาเจือปนเล็กน้อย เมื่อว่ากันว่า กีฬาชนิดนี้เริ่มต้นโดยการแข่งขันระหว่างชาวเปอร์เซียกับชาวเติร์กโคมัน ราว 600 ปีก่อนคริสตกาล แต่ผู้ที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้นำกีฬาชนิดนี้ไปเผยแพร่ คือชาวมองโกลในยุคของเจงกีสข่าน ที่พอรบได้ชัยชนะก็ทำกา รประหารเชลยศึกด้วยการตัดศีรษะ แล้วนำศีรษะที่ถูกตัดไปตีเล่น จากนั้นจึงค่อยๆพัฒนาเรื่อยมากระทั่งกลายเป็นกีฬาบนหลังม้าแพร่หลายไปยังแถบเปอร์เซียและดินแดนฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะในอินเดียที่พอชาวอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าของอาณานิคมได้มาพบเข้า ก็นำกลับไปเล่นบ้าง กระทั่งมีการก่อตั้งเป็นสโมสรขึ้นและถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก #POLO, ขี่ม้า เกมบอล, ทีมกีฬากลางแจ้ง

ลักษณะการแต่งกายเสื้อผ้าแข่งขันกีฬาขี่ม้า เสื้อโปโล จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กีฬาแห่งกษัตริย์ รวมถึงการบอกเล่าของคนรุ่นก่อน การแข่งขันเกมส์กีฬาขี่ม้าโปโลเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างคนและม้าของชาวเปอร์เซียและชาวเติร์กโคมัน ตั้งแต่เมื่อครั้ง 600 ปี ก่อนคริสตกาล และแปรเปลี่ยนพัฒนามาเป็นการแข่งขันที่จริงจัง โดยแทรกความดุดันเข้าไปเล็กน้อย ซึ่งในช่วงแรกนั้นอาจจะยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่ กระทั่งมีการพบว่าชาวมองโกลในยุคของเจงกีสข่านได้นำกีฬาขี่ม้าโปโลนี้ไปเผยแพร่ ซึ่งจะจัดกาลเล่นขึ้นหลังจากที่มีการทำการรบสำเร็จ ซึ่งจำนำศีรษะของเชลยศึกที่ถูกประหารด้วยการตัดศีรษะนั้นมาใช้เป็นเหมือนลูกฟุตบอลมาตีเล่น ในขณะที่นั่งอยู่บนหลังม้า จากนั้นได้มีการพัฒนารูปแบบการเล่นมาเรื่อยๆ กระทั่งกลายเป็นกีฬาบนหลังม้าแพร่หลายไปยังแถบเปอร์เซียและดินแดนฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะในอินเดียที่พอชาวอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าของอาณานิคมได้มาเห็นเข้า จึงนำกลับไปเล่นในฝั่งประเทศของตนบ้าง กระทั่งมีการก่อตั้งเป็นสโมสรขึ้นและถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก

มีเสื้อผ้าเพียงไม่กี่ชนิดที่ได้สมญานามว่าแฟชั่นคลาสสิค หนึ่งในนั้นคือ “เสื้อโปโล” มีลักษณะเป็นเสื้อแขนสั้น ใช้เป็นชุดไปรเวทและผลิตจากเส้นใยฝ้ายในขณะที่คุณอาจมีเสื้อโปโลตัวเก่าอยู่ คุณอาจไม่เคยสงสัยเลยว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไรและทำไมจึงได้ชื่อว่า #เสื้อโปโล ในความเป็นจริงเรื่องราวเล่าขานของเสื้อโปโลเริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 19 เมื่อทหารอังกฤษซึ่งประจำการอยู่ในอินเดียได้ทำการดัดแปลงเสื้อสำหรับเล่นกีฬาโปโล ซึ่งในสมัยนั้นกีฬา โปโล กลายเป็นการต่อสู้ที่แสดงถึงวัฒนธรรมของคนหนุ่ม และได้มีการพัฒนาให้สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายจนกลายเป็นเสื้อโปโลที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน


จุดเริ่มต้นจริงๆ ของเสื้อโปโลไม่มีใครทราบ แต่ที่ได้มีการบันทึกอย่างแพร่หลายเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 ในบ้านเกิดของกีฬาโปโล เมืองแมนิเพอร์ ประเทศอินเดีย หลังจากที่ทหารอังกฤษดูการแข่งขันขณะประจำการอยู่ที่เมืองแมนิเพอร์ พวกเขาได้จัดตั้งสโมสรโปโลแห่งแรกขึ้นในเวลานั้น เมื่อกีฬาได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ทหารอังกฤษและคนปลูกชาชาวอังกฤษในอินเดีย ความสนใจจึงถูกหันเหมายังเครื่องแต่งกายของผู้เล่นด้วย เนื่องจากวัฒนธรรมการแต่งกายของนักกีฬาสมัยนั้นเป็นเสื้อตัวหนา แขนยาวและทำจากคอตตอน ทำให้เกิดความไม่สบายเวลาสวมใส่ และพวกเขาติดกระดุมระหว่างปกกับตัวเสื้อเนื่องจากขณะขวบม้าไปบนสนามปกเสื้อจะกระพือไปตามลม กีฬาโปโลนี้ได้ถูกนำเข้าไปในอังกฤษในปี 1862 จนช่วงปลายศตวรรษที่ 19 John E Brooks หลานชายของผู้ก่อตั้งบริษัท Brooks Brothers ในสหรัฐอเมริกามาทัวร์ประเทศอังกฤษ ในขณะที่เขาดูการแข่งขันกีฬาโปโลอยู่นั้น เขาสังเกตเห็นบางสิ่งที่แปลกประหลาดบนปกเสื้อโปโลของนักกีฬา พวกเขามีกระดุมอยู่ใต้ปกเพื่อป้องกันปกเสื้อกระพือไปกับแรงลมด้วย ด้วยความประทับใจนี้ เขาจึงได้นำแนวคิดนี้กลับไปยังบริษัทและติดกระดุมใต้ปกเสื้อ รูปแบบเสื้อนี้ถูกผลิตขึ้นในปี 1896 และกลายมาเป็นลักษณะอันโดดเด่นของรูปแบบเสื้อ เป็นการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าเครื่องแต่งกายชายไปตลอดกาล จนมีคำกล่าวว่า เสื้อเชิ้ต เป็นสินค้าที่เหมือนแบบมากที่สุดในประวัติศาสตร์แฟชั่น และบริษัท Brooks Brothers ยังคงเรียกเสื้อเชิ้ตของเขาว่า polo shirt

โปโลกีฬาขี่ม้า สำหรับในประเทศไทย กีฬาโปโลเริ่มเข้ามาในสมัย ร. 6 แต่ก็ขีดวงจำกัดเฉพาะชนชั้นสูงและชาวต่างประเทศ เนื่องด้วยข้อจำกัดต่างๆโดยเฉพาะเรื่องของค่าใช้จ่ายในการซื้อและดูแลม้า ทำให้กีฬาชนิดนี้ค่อยๆเงียบหายไป

นอกจากความสนุกสนานของกีฬาชนิดนี้แล้วสิ่งสำคัญที่กีฬาขี่ม้าโปโลกับผู้ที่เข้าไปสัมผัสซึมซับได้ก็คือ สปิริตและน้ำใจของนักกีฬา เนื่องจากกีฬาชนิดนี้มีความเร็วสูง ทั้งต้องใช้ไม้ตีลูก ทำให้โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุมีขึ้นง่ายๆ รวมถึงหากมีการกลั่นแกล้งกันในสนามก็สามารถทำได้ง่ายๆ และหากเกิดขึ้นจริงก็มีโอกาสได้รับบาดเจ็บสูง แต่เหตุการณ์ดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นเพราะผู้เล่นทุกคนเคารพกติกาอย่างดี อาจมีเพียงกระทบกระทั่งกันเล็กน้อย เป็นแค่ในเกมส์ หลังจบการแข่งขันก็จับมือกัน

เกร็ดความรู้กีฬาขี่ม้าโปโล POLO
นอกจากจะได้ชมเกมส์สนุกๆ แล้ว กีฬาโปโลยังมีความพิเศษอีกอย่างที่ถือเป็นธรรมเนียมที่ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยอดีต นั่นคือผู้ชมในสนามจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงาม โดยเฉพาะสุภาพสตรีที่สวมหมวกปีกกว้างสไตล์อังกฤษ ซึ่งนอกจากจะใช้สำหรับกันแดดแล้ว ยังกลายเป็นแฟชั่นความสวยเด่นในสนามแข่งขันได้อย่างมีสัน เพราะแต่ละคนต่างรังสรรค์หมวกใบเก๋ด้วยการใช้ขนไก่ ขนนก ดอกไม้ หรือผ้าตาข่ายมาประดิดประดอย บางคนอาจสวมถุงมือตาข่ายเพิ่มสีสันเข้ากับหมวก

ธรรมเนียมปฏิบัติอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญของกีฬาโปโลก็คือ Divot Stamping ที่ในระหว่างพักของแต่ละช่วง ผู้จัดแข่งขันจะเชิญทุกคนให้เดินลงไปในสนาม เพื่อช่วยกันกลบดินและเกลี่ยรอยเท้าม้าอย่างสนุกสนาน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พื้นสนามเรียบขึ้นแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ยืดเส้นยืดสาย พบปะพุดคุยกับผู้ชมคนอื่นๆ หรือนักกีฬา และรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นการแข่งขันด้วย นับเป็นประเพณีที่ค่อนข้างพิเศษกว่ากีฬาชนิดอื่นๆ

เกมโปโลบนหลังม้า ในด้านความสงบเรียบร้อยตรงที่กองเชียร์ของทั้งสองฝ่ายสามารถมาพบปะพูดคุยกันได้ (ดังนั้นสาวๆควรหลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูงปรี๊ด ที่อาจไม่เหมาะกับพื้นสนามหญ้าที่ไม่เรียบ)


มารู้จักการเล่นกีฬาโปโล สนามโปโล 

กีฬาโปโลแบบดั้งเดิมที่มีการเล่นที่ความเร็วบนสนามหญ้าขนาดใหญ่ถึง 300 หลา (274 เมตร) ยาว 160 หลา (146 เมตร) กว้าง

General (ทั่วไป ) 

> สนามโปโลมีความยาว 300 หลา และความกว้าง 200 หลา หรือประมาณ 4 สนามฟุตบอล
> ในแต่ละ Chukka (ชักก้า) ใช้เวลา 7 นาที (จะมีระฆังเตือนหลังจากจบ 7 นาที) และต่อเวลาอีก 30 วินาที จนกว่าบอลจะออก
? Chukka สุดท้ายจะไม่มีการต่อเวลาอีก 30 วินาที ยกเว้นในกรณีที่ผลการแข่งขันยังเสมอกันอยู่
? นักกีฬามีเวลาพัก 3 นาทีระหว่าง Chukka และพักครึ่งเวลา 5 นาที
? นักกีฬาแต่ละท่านจะมีแต้มต่อ (Handicap) ตั้งแต่ -2 (ต่ำสุด) ถึง 10 (สูงสุด) โดย Handicap นี้ จะบอกถึงความสามารถของนักกีฬาแต่ละท่าน
? Handicap ของนักกีฬา 4 ท่านรวมกันจะเท่ากับ Handicap รวมของทีมนั้นๆ

Penalties (คะแนนเสีย)

- ลูกโทษระยะ 30 หลา จากประตู : ฝ่ายรับไม่สามารถป้องกันลูกระหว่างเสาประตูได้ และจะต้องยืนอยู่หลังเส้นประตูเท่านั้น
- ลูกโทษระยะ 40 หลา จากประตู : ฝ่ายรับไม่สามารถป้องกันลูกระหว่างเสาประตูได้ และจะต้องยืนอยู่หลังเส้นประตูเท่านั้น
- ลูกโทษระยะ 60 หลา จากประตู : ฝ่ายรับต้องอยู่ห่างจากลูกอย่างต่ำ 30 หลา จากจุดที่ลูกบอลตั้งไว้
- ลูกโทษจากจุดที่ได้ฟาวล์ ( Spot Penalty) : ฝ่ายรับต้องอยู่ห่างจากลูกอย่างต่ำ 30 หลา จากจุดที่ลูกบอลตั้งไว้
- ลูก Corners : ลูกบอลจะถูกตั้งไว้ที่ระยะ 60 หลา จากจุดที่ผู้เล่นฝ่ายรับ ทำลูกออกจากเส้นหลัง และฝ่ายรับต้องอยู่ห่างจากลูกอย่างต่ำ 30 หลา จากจุดที่ลูกบอลตั้งไว้

Fouls ( ผิดกติกา)

> การขี่ม้าขวางไลน์ ( Line) เป็นการฟาวล์ที่อันตรายที่สุด และ ยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงอีกด้วย


Figure 1 : ลูกบอลอยู่ในไลน์การเล่นของเบอร์ 1 ดังนั้น ถ้าเบอร์ 3 และ 4 ของอีกทีมหนึ่งขี่ม้ามาขวางไลน์จะฟาวล์ 
> ผู้เล่นที่ครอบครองบอลอยู่ สามารถตีลูกบอลไปทางใดก็ได้โดยที่จะไม่ฟาวล์ การฟาวล์ (Fouls) จะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อมีผู้เล่นอื่นมาขวางไลน์การตีลูกของผู้เล่นที่ครอบครองบอลอยู่ (ดู Figure 1)
> กรรมการ (Umpire) จะตัดสินว่าการฟาวล์แต่ละครั้ง จะเป็นลูกโทษ (Penalty) ระยะไหนขึ้นอยู่กับว่าการฟาวล์นั้นอันตรายขนาดไหน
> เมื่อผู้เล่นทั้งสองทีมขี่ม้ามาในไลน์ ( Line) เดียวกัน ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม สามารถที่จะเบียดกัน เพื่อที่จะแย่งไลน์เพื่อที่จะเป็นผู้ครอบครองบอล โดยที่จะไม่มีการฟาวล์เกิดขึ้น


Figure 2 : ผู้เล่นเบอร์ 1 และ เบอร์ 4 อยู่ในไลน์เดียวกัน สามารถที่จะเบียดกันได้โดยที่จะไม่ฟาวล์

> ผู้เล่นสามารถขี่ม้าขนานกันกับไลน์ (Line) ของบอล และสามารถเล่นบอลได้ โดยที่จะต้องไม่ทำให้ผู้เล่นอื่นนั้นชะงัก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้เล่นอื่น


Figure 3 : ลูกบอลอยู่ในไลน์การเล่นของทั้ง เบอร์ 1 และ 4 ดังนั้นผู้เล่นทั้งสองสามารถเล่นบอลได้โดยที่จะไม่ฟาวล์
> ผู้เล่น 2 คน ที่ขี่ม้ามาเพื่อแย่งลูกบอลจากทิศทางตรงกันข้ามกันสามารถทำได้ แต่ต้องให้ตำแหน่งของลูก อยู่ทางด้านขวาของผู้เล่นทั้งสองเสมอ


Figure 4 : ผู้เล่นเบอร์ 3 และ 4 จะสามารถแย่งลูกได้โดยขี่ม้าเข้าหากัน เพื่อที่จะแย่งลูกบอล โดยที่ลูกบอลต้องอยู่ด้านขวาของผู้เล่นเสมอ

> ในการเบียดเพื่อแย่งไลน์ ในการครอบครองบอลจากผู้เล่นอื่น (Ride Off) ผู้เล่นไม่สามารถใช้ข้อศอกได้
> ผู้เล่นสามารถใช้ไม้โปโล (Mallet) เพื่อขัดขวางไม้ของผู้เล่นที่ครอบครองบอลอยู่ (Hook) แต่ไม่สามารถ Hook ขณะที่ไม้ของผู้เล่นอยู่เหนือหัวไหล่ได้
> เมื่อผู้เล่น 2 คนขี่ม้าเข้าหาบอลเพื่อแย่งลูก ผู้เล่นที่ขี่ม้ามาจากองศาที่น้อยที่สุด จากไลน์ของบอล จะได้เป็น ผู้ครอบครองบอล (Right of Way)
> การขี่ม้าที่อันตราย หรือการควบคุมม้าที่ไม่สุภาพต่อผู้เล่นท่านอื่นถือเป็นการผิดกติกา

ขอบคุณพื้นที่ดีๆ dek-d ค่ะ ^^

(ที่มา:. เนื้อหาข่าว (ซีฮอร์ส ออริจินอล) เสื้อโปโลม้าน้ำ เว็บไซต์  http://www.zhorseoriginal.com/  




แสดงความคิดเห็น