Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

(ถาม)เพื่อนๆศึกษาการเขียนจากไหนบ้างครับ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
พอดีผมเขียนนิยายไม่รู้เรื่องครับ ไม่เก่งด้วย แต่ด้วยอยากรู้ ก็ศึกษาเอาตามเน็ตพวกบทความต่างๆนาๆ ลองผิดลองถูก เน้นใจล้วนๆน่ะครับผม

เลยอยากถามว่า...

ปกติเพื่อนๆศึกษาวิธีการเล่าเรื่อง การเขียนนิยายยังไงและจากไหนกันบ้างครับ?

แค่อ่านงานคนอื่นเอาเท่านั้นหรือ? จากตีพิมพ์ลลูกดก ลูกสุก กระเทียมลีบ ขนมจีบ ซาลาเปา?
หรือต้องเรียนวรรณกรรม? หรือหยิบตำรามาศึกษาจริงจังไหม? หรือหามันเอาตามเน็ตนี่แหละ?

อนุโมทนา วันมาฆบูชาครับ 1250/จาตุรงคสันนิบาต/โอวาทปาฏิโมกข์

Louis Forest

แสดงความคิดเห็น

13 ความคิดเห็น

หมาป่าน้อยผู้น่ารัก 11 ก.พ. 60 เวลา 18:23 น. 1

ขอแนะนำวิธีของผม ใช้ได้ดีเลยทีเดียว นั่นคือจงไป "ซื้อ" หนังสือที่ตีพิมพ์จากสำนักพิมพ์อ่าน อย่าหาตามเว็บเด็ดขาด เพราะกว่า 99.99 % ไม่มีการเขียนที่ถูกต้อง เป็นการเขียนที่เกิดจาก "นักเขียนฝึกหัด"

เชื่อผมเถิดครับ งานนี้ต้องลงทุน

3
Louis Forest 11 ก.พ. 60 เวลา 18:28 น. 1-1

ผมซื้อนิยายกำลังภายในอ่านนะครับ แต่ติดที่ตัวเองเขียนไซไฟ สำนงสำนวนเลยไม่ค่อยเอามาใช้ได้เท่าไหร่...เอ๊ะ...หรือใช้ได้หว่า?

0
หมาป่าน้อยผู้น่ารัก 11 ก.พ. 60 เวลา 18:51 น. 1-2

สงสัยต้องประยุกต์ใช้เสียแล้ว แบบว่า... ด็อกเตอร์สร้างชุดสุดไฮเทค สามารถโคจรการไหลเวียนของเลือดภายในร่างกายได้ เมื่อรวมการโคจรมาที่ฝ่ามือ มือข้างนั้นจะมีพละกำลังมหาศาล ทันทีที่ปล่อยมือไปประทะกับวัตถุ จะปรากฏเป็นรูปมือขนาดยักษ์ ทำลายวัตถุนั้นได้

เฮ้ย ! นั่นมันฝ่ามือยูไรนี่หว่า (ฮา เอาตลก)

ก็ลองประยุกต์ใช้เอาดูก็ได้นะครับ เอาแนวที่เราชอบอ่านมาผสมในการแต่งนิยาย มันจะทำให้เราเขียนได้ง่ายขึ้น เหมือนที่ผมใช้อยู่ ซึ่งตัวผมถนัดแนว ดราม่า+ซึ้งกินใจ+แฟนตาซี+ตลก เผื่ออาจทำให้นิยายของคุณมีความแตกต่างกว่าเรื่องอื่นก็ได้นะ และก็อย่าลืมเอาเหตุผลมารองรับด้วยนะครับ เห็นคุณเขียนว่า เขียนแนวไซไฟ(ถ้าเกิดจะเอาแนวกำลังภายในมารวมกับไซไฟอย่างที่ผมแนะนำจริงๆ)

0
Louis Forest 11 ก.พ. 60 เวลา 18:56 น. 1-3

บางที...ข้าอาจจะเผลอไผลทำลงไปเสียแล้วก็เป็นได้นะท่าน

0
คาระ 11 ก.พ. 60 เวลา 18:34 น. 2

เดี๋ยวนี้มีหนังสือเขียนนิยายออกมาให้ได้ศึกษาเยอะกว่าสมัยก่อนนะ อย่างที่หาได้ง่ายหน่อยน่าจะ เขียนไปให้สุดฝัน ของคุณวิณทร์ เลียววาริณ
นิยายเล่ม ๆ เก่า ๆ หลายเล่มมีการเลือกใช้คำ และวิธีเล่าเรื่องที่น่าสนใจ อย่างลอดลายมังกร อีสา-รวีช่วงโชติ คู่กรรม ถึงจะเคยดูละครมาแล้ว บอกเลยว่าหนังสือเขียนดีจนอยากบูชา
อีกอย่างที่จะช่วยคือประสบการณ์ชีวิต

3
Louis Forest 11 ก.พ. 60 เวลา 18:46 น. 2-1

โอ้ว...ขอบคุณครับ

นิยายคุณวิณทร์ เลี้ยวฯ นี่ผมพยายามเลี่ยงครับ แต่ถ้ามีหนังสือสอนทักษะนี่เดี๋ยวต้องหาเสียหน่อยละ

ลอดลายมังกร จะเป็นเรื่องต่อไปของประภัสสรที่ผมจะซื้อครับ (ตอนนี้อ่าน อำนาจ อยู่)

ประสบการณ์...อืม...

0
คาระ 11 ก.พ. 60 เวลา 18:59 น. 2-2

พี่สารภาพ พี่ก็ไม่เคยอ่านงานคุณวิณทร์ (อ้าว!) บางอย่างพี่แกก็ล้ำเกินมันสมองพี่ไปนิดนึง
แต่พี่ก็ยังเชียร์หนังสือเล่มนี้ของพี่เขานะ
ประสบการณ์ชีวิตเนี่ย...มันค่อย ๆ มา ไม่ต้องกังวล หรือเผลอ ๆ เด็ก ๆ ก็มีประสบการณ์มีมุมมองแบบเด็ก ๆ ที่ผู้ใหญ่ไม่มีก็เป็นได้ อย่าได้แคร์

0
Louis Forest 11 ก.พ. 60 เวลา 19:11 น. 2-3

ขอบคุณครับ ผมเห็นด้วยเรื่องงานคุณวิณทร์ ฮ่าๆ //ปาดเหงื่อ

ส่วนเรื่องประสบการณ์ จริงๆหาตัวอย่างผู้ใหญ่ดีๆในบ้านเราลำบากครับ //อ้าวทำไมการเมือง?

ลอดลายมังกรนี่ชิ้นโบว์แดงแรงๆ ปีนี้ต้องจัดครับ //หนังสือนะไม่ใช่ละครเวที

0
หลับปุ๋ย` 11 ก.พ. 60 เวลา 19:08 น. 4

          ส่วนใหญ่ผมอ่านจากงานเขียนหลายๆ แหล่งครับ

นอกจากเรื่องพื้นฐานที่ควรรู้อยู่แล้วอย่าง คำผิด การเว้นวรรคตอน หรือเครื่องหมายต่างๆ ในงานเขียน ผมมักหาอ่านผลงานดีๆ เก่าๆ เพื่อเลียนแบบจังหวะการเล่า และเก็บคลังคำไว้แก้คำซ้ำ

แล้วถ้าจะแต่งนิยายแนวไหน ผมมักจะไปหาอ่านนิยายแนวนั้นประกอบด้วยเป็นหลัก อันที่อ่านเสริมคืองานกลุ่ม สารคดี หรือหนังสือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนิยายแนวนั้นโดยตรง

อันข้างบนคือยุคปัจจุบันนะครับ ถ้าเป็นยุคแรกเริ่มจริงๆ ผมจะไปหาอ่านบทความของนักเขียนรุ่นพี่จำพวก "วิธีการแต่งนิยายเบื้องต้น" กับฮาวทูทั้งหลาย เพื่อปูพื้นฐานให้ตัวเองก่อนครับ

2
Louis Forest 11 ก.พ. 60 เวลา 19:14 น. 4-1

รบกวนยกตัวอย่างสักนิดจะได้หรือไม่ครับคุณ แพนด้าเทรน

0
หลับปุ๋ย` 11 ก.พ. 60 เวลา 20:15 น. 4-2

ได้ครับ แต่ถ้ายกตัวอย่างหมดมันจะกว้างเกินไป ก็เลยขอแจงอันที่เคยใช้สัก 3 แนวนะครับ

[แนวสืบสวนสอบสวน]
อ่านเอาแนวทาง : งานของ อากธา คริสตี้/เอ็ดก้า อลัน โป/เซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยย์ กับกลุ่มการ์ตูน QED/คินดะอิจิทั้งรุ่นปู่รุ่นหลาน (โคนันอ่านนิดหน่อยเพราะมันลงล็อคเกินไป)

อ่านเอาข้อมูล : หนังสือกลุ่มงานนิติวิทยาศาสตร์ต่างๆ/เคสคดีแปลกๆ ที่โด่งดังไปทั่วโลก/หนังสือกายวิภาค/แฟ้มคดีสำคัญที่ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ/ประวัตินักสืบชื่อดังในประวัติศาสตร์


[แนวดาร์คหรือโรคจิต]
อ่านเอาแนวทาง : ชุด zoo,goth/ฮันนิบาล ซีรี่ส์/จดหมายจากฆาตกร/misery ของสตีเฟ่น คิง

อ่านเอาข้อมูล : จิตวิทยาเกี่ยวกับฆาตกร/ประวัติฆาตกรโหดสะท้านโลก/โรคระบาดร้ายแรงในอดีต/ปัญหาครอบครัว/Mental illness ทั้งหลายโดยเฉพาะโรคสองบุคลิก(Bipolar Disorder)


[แนวดิสโทเปีย]
อ่านเอาแนวทาง : animal farm/1984/les miseralbe/the long walk/Moscow 2042/Hunger game/Divergent กลุ่มการ์ตูนก็ ไซโค-พาสทั้งสองภาค

อ่านเอาข้อมูล : หนังสือเกี่ยวกับการปกครองระบบเผด็จการ/ประวัติศาสตร์การสงคราม/การเรียกเรียกร้องสิทธิ์มนุษยชน,สิทธิสตรี/แนวคิดการจัดระเบียบสังคมใหม่ภายใต้ความเสื่อมโทรม/การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ฯลฯ

0
SilverPlus 11 ก.พ. 60 เวลา 19:33 น. 5

แฮรี่ พอร์ตเตอร์ 

เรื่องเดียวที่เอาเป็นแบบอย่าง

เน้นศึกษาที่สไตล์การเล่าเรื่อง


สติปัญญามีไม่มากพอจะแกะนิยายหลายเรื่องครับ ก็เลยเอาแฮรี่เป็นแบบอย่างแค่เรื่องเดียวเนี้ยแหละ

ส่วนการศึกษาเรื่องการวางพล็อต ก็ศึกษาเอาจากอนิเมะ การ์ตูน ภาพยนตร์ ซีรีย์ฝรั่ง ผสมๆ กันไป  

ศึกษาโดยการแยกมันออก แล้วระบุว่าตรงไหนสนุก ตรงไหนน่าเบื่อ และตรงไหนเจ๋งดี ก็เอามากองๆ รวมกันไว้ในหัว เวลาคิดพล็อตนิยาย ก็หยิบพวกนี้มาเทียบๆ ท่าตรงไหนน่าเบื่อเหมือนที่เคยดูๆ อ่านๆ ก็จะตัดออก หากตรงไหนสนุกเหมือนที่ดูที่อ่าน ก็จะยัดมันลงไปในนิยาย

1
Louis Forest 11 ก.พ. 60 เวลา 20:35 น. 5-1

ผมยังไม่กล้าจับแฮรี่ครับ ไม่รู้กังวลอะไรเหมือนกัน

0
skeleton-king 11 ก.พ. 60 เวลา 22:13 น. 6

ผมใช้ทุกอย่างครับ หนัง หนังสือ เกม การคุยจิปาถะ ฯลฯ

ไม่ใช่คนขยันนะ ไม่รู้สิ ผมแค่นึกถึงของที่ตัวเองเคยอ่าน เคยเห็น แล้วก็ลงมือเขียน 

เอาจริงๆผมปวดหัวกับข็อมูลที่เอามาเขียนมากกว่า โดยเฉพาะเรื่องทางทหารกับตำนานปีศาจโน่นนี่นั่น 

เอาจริงๆ หนังมีผลกับการเขียนกับผมมากกว่าหนังสืออีกนะ โดยเฉพาะเรื่องการตัดฉากซึ่งผมจะนึกภาพเวลาเขียน & พยายามสื่อมันออกมาแบบนี้ ขอยกหนังของเอ็ดการ์ ไรท์เป็นตัวอย่าง

1
peiNing Zheng 12 ก.พ. 60 เวลา 00:00 น. 7

(พยายามนึก) เท่าที่จำได้ ไม่เคยศึกษาวิธีการเขียนนะคะ สมัยเราไม่ได้มีใครเขียนวิธีการเขียนแบบสมัยนี้ (จนต้องมาเขียนเองนี่แหละ) ที่เคยคุ้ยมาจากห้องสมุดดูจะเป็นวิธีการเขียน Play นะ

อ้อ นึกได้แล้ว สมัยเรียน ตอนนั้นขออาจารย์เข้าไปนั่งฟังเลคเช่อร์ Class เขียนบทละคร เลยพยายามศึกษาว่าเขียนยังไง ซึ่งเอาจริงๆ รู้สึกไม่ค่อยได้อะไร เพราะพื้นฐานก็เหมือนกับ Fiction ที่เหลือคือ อาจารย์พยายามพูดถึงแรงบันดาลใจ และเปิดใจกว้างรับความรู้สึกต่างๆ ที่เข้ามามากกว่า

มีทั้งนิยาย บทละคร ภาพยนตร์ ดนตรี (จำได้ว่าเปิดเพลงของ Yanni ตอนนั้นเลยชอบพวก World Music มาก) แต่ส่วนมากก็พวกภาพยนตร์แหละค่ะ เพราะมันคือวิชาเขียนบทละคร

พูดง่ายๆ การเขียนน่ะสำคัญ แต่สำคัญไม่เท่ากับความละเอียดอ่อนในความรู้สึกที่เราสัมผัสกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาหาเรา

เคยสงสัยว่าทำไมอาจารย์ไม่ค่อยพูดถึงวิธีการเขียน มาจนถึงตอนนี้ก็เข้าใจอาจารย์นะ เพราะถ้าตอนนี้ตัวเองสอน เราคงจะพูดถึงในทำนองเดียวกัน จะเขียนน่ะ มันศึกษางานเขียนคนอื่นเขาได้ อ่านหนังสือที่ดีๆ ก็เรียนรู้ด้วยตัวเองได้ แต่ความรู้สึกและแรงบันดาลใจอันเข้มข้นในการสร้างผลงานเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองนั้นไม่ง่าย ไม่อย่างนั้นเราคงไม่เห็นงานเขียนแบบเดิมๆ ดูโหลๆ ชนิดไม่สามารถแยกแยะคนเขียนกันเกร่อขนาดนี้

บางคนมีมันแต่กำเนิด เรียกว่าเป็นพรสวรรค์ แต่บางคนมันไม่มี มันเลยต้องเรียนรู้ที่จะรู้สึก เรียนรู้ที่จะรับความรู้สึกนึกคิดที่เข้ามาและใคร่ครวญกับมันจนก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจแรงกล้าในการสร้างสรรค์ผลงาน

การใคร่ครวญประเภทนี้มักมาพร้อมกับการเสพงานดีๆ เพราะสิ่งที่ทำให้เราได้คิดกับมันง่ายสุดนั่นคือการได้รับรู้ความคิดของคนอื่น แต่ถ้าอ่านแต่งานดีๆ โดยไม่ใคร่ครวญกับมันเท่าไร ก็อาจใช้ประโยชน์จากมันไม่ได้เต็มที่ (แต่ใช่ว่าจะไม่ได้เลย นักเขียนหลายคนก็อ่านแบบนี้เหมือนกัน ยังเป็นนักเขียนดังได้เลย)

แต่ก็ไม่แน่ หลายคนอาจไม่เห็นด้วยกับการเรียนรู้การเขียนในลักษณะนี้ก็ได้นะคะ พอดีเห็นถามว่าศึกษางานเขียนจากที่ไหนเลยแชร์ให้ฟัง

1
Louis Forest 12 ก.พ. 60 เวลา 03:26 น. 7-1

ขอบคุณที่มาแบ่งปันประสบการณ์ครับผม ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว เรื่องการกลั่นกรอง หรือ 'ความละเอียดอ่อนของสัมผัสจากความรู้สึก'

นั่นแหละครับ เห็นด้วยว่าการเรียนรู้มีหลายรูปแบบครับ ไม่มีขีดจำกัด และยิ่งไปกว่านั้นมนุษย์เราก็ไม่ควรคิดหยุดที่จะเรียนรู้ครับ

Happy มาฆบูชาครับ

0
เรลัล 12 ก.พ. 60 เวลา 09:32 น. 8

ผมเชื่อว่าคนเราชอบทำอะไรที่ "ถนัด" และคิดว่าตัวเอง "ทำได้ดี"

ในงานเขียนหรือผลงานต่างๆจะมีสิ่งที่ว่า "ซ่อนอยู่" หรือ "เห็นได้ชัดเจน" ในรูปแบบที่อาจตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ

ผมศึกษาจากสิ่งที่ว่ามาด้านบนครับ พยายามขโมยความถนัดจากคนสร้างผลงานที่ตัวผมชอบ

0
Nyx 12 ก.พ. 60 เวลา 13:13 น. 10

การเขียนนิยายคือการบอกเล่าเรื่องราว  โดยพื้นฐานของมันคือการเขียน  การใช้ถ้อยคำและประโยคเพื่อสื่อความหมาย  มีการเชื่อมโยงเป็นลำดับตั้งแต่จุดเริ่มต้นถึงตอนจบ  สำหรับผมการศึกษาวิธีเล่าเรื่องและวิธีเขียนนิยายทำได้สองทาง  คือทางตรง  และทางอ้อม

ทางตรงคือการอ่านนิยาย  ผมอ่านแนวที่ชอบ  เช่นกำลังภายใน  แฟนตาซี  Sci-fi  แล้วศึกษาโดยการวิเคราะห์  เริ่มต้นจากมองหาตอนที่ชอบ/ไม่ชอบใจ  แล้วถาม-ตอบกับตัวเองไปเรื่อย ๆ ว่าอะไรทำให้ชอบ/ไม่ชอบตอนนั้น  เช่น  การเล่าเรื่อง  การถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก  อุปมาอุปมัย  ความสมเหตุสมผล  ความถูกต้องของข้อมูล ฯลฯ  จากนั้นสำหรับเรื่องที่ชอบแล้ว  อ่านกี่รอบก็ไม่เบื่อ  เมื่ออ่านซ้ำผมจะวิเคราะห์วิธีลำดับเรื่อง  วิธีใช้ภาษาของผู้เขียน  โทน(อารมณ์) ของเหตุการณ์ในเรื่อง  การดำเนินเรื่อง  และอื่น ๆ  นอกจากนี้แนะนำหนังสือของนามปากกา รตชา  เขียนนิยาย  ศาสตร์และศิลป์  สู่เส้นทางนักประพันธ์  เล่มหนาสีเขียวอ่อน  มีรูปปั้นเด็กอ่านหนังสือสีขาวกับขวดน้ำหมึกสีฟ้าที่มีขนนก  เป็นคู่มือที่ดีครับ

ทางอ้อม  คือบทความอื่น ๆ ที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ  สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ในลักษณะเดียวกัน  นอกจากนี้พจนานุกรมและตำราหลักภาษาก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม  เพราะพื้นฐานของงานเขียนคือคำและประโยค  การใช้ถ้อยคำให้ตรงความหมายและผูกประโยคให้กระชับไม่เยิ่นเย้ออีกทั้งถูกหลักไวยากรณ์ย่อมสื่อความหมายให้คนอ่านเข้าใจสารตรงกับที่คนเขียนต้องการสื่อ

สู้ ๆ ครับ

1
Devilinlove. 12 ก.พ. 60 เวลา 16:15 น. 11

สำนวน คำ ประโยค วิธีการเขียนของเราแล้วส่วนมามากจากการอ่าน (ไม่ใช่แค่นิยาย)

แล้วเอามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับตัวเองค่ะ ลองอยู่นานหลายปีเหมือนกัน

แล้วในที่สุดก็ได้มันมา (โดยไม่ต้องอิงสำนวนของใคร) จากนั้นก็ค่อยศึกษาการวางพล็อต หน้า ตัวอักษรอะไรเทือกนั้นทีหลังอีกที ;-;

0
Wordslinger 12 ก.พ. 60 เวลา 17:01 น. 12

โดยส่วนตัวแล้ว จะใช้วิธีการอ่านงานเขียนของนักเขียนเก่าๆ ค่ะ เพราะคิดว่าการจะเขียนได้ดีจะต้องศึกษาจากต้นธารภาษา คืองานที่เป็นของชั้นครู ศึกษาวิธีใช้ภาษา ศึกษาการดำเนินเรื่อง วิธีการเปิดเรื่อง วิธีการจบเรื่อง และการเขียนบทสนทนาให้สื่อสารได้ตรงกับผู้อ่าน ซึ่งในที่นี้ก็รวมถึงงานวรรณคดีเก่าๆ ด้วยค่ะ เช่น ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี รามเกียรติ์ ฯลฯ เพราะอยากได้คำเก่าๆ หรือคำสวยๆ ที่นักเขียนปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้ว

จากนั้นก็อ่านงานร่วมสมัยค่ะ เพื่อดูว่าเขาเขียนกันอย่างไร และแนวเรื่องไหนเป็นที่นิยม เพื่อนำเอาทั้งของเก่าและของใหม่มารวมกันให้เกิดเป็นตัวตนของเรามากที่สุด ยอมรับว่าการฝึกฝนอาจใช้เวลาและคงไม่เห็นผลในเร็ววัน แต่ถ้ามีความมุมานะและตั้งใจจริง อะไรๆ ก็จะสำเร็จอย่างที่เรามุ่งหมายไว้แน่นอนค่ะ

ทีนี้ถ้าหากอยากจะเขียนบรรยายเก่งๆ ก็ต้องหาอ่านงานที่เขาโด่งดังเรื่องการเขียนบรรยาย เช่นกัน...หากอยากเขียนบทสนทนาเก่งก็ต้องอ่านงานที่เน้นบทสนทนา บางทีการอ่านงานเก่าๆ อาจไม่ถูกจริตเราบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นการลงทุนเพื่อผลภายหน้า ดังนั้นกลืนยาขมเพื่อให้หายไข้ก็นับว่าดีกว่าปล่อยให้ไข้รุมใช่ไหมคะ?

ไม่รู้ว่าได้ช่วยให้แนวคิดอะไรคุณเจ้าของกระทู้หรือเปล่า แต่ส่วนตัวดิฉันแล้ว ก็ยังคงพยายามฝึกหัดและพัฒนาอยู่เรื่อยๆ ค่ะ อ่านอย่างตะบี้ตะบัน เขียนให้มากที่สุดเท่าที่เวลาจะอำนวย แม้ท้ายที่สุดแล้วงานที่ออกมาจะยังไม่ถูกใจผู้อ่าน ก็ต้องยอมรับและหาแนวทางใหม่ในการปรับปรุงให้เข้ากับรสนิยมของผู้อ่านค่ะ

หวังว่าจะได้เห็นคุณประสบความสำเร็จในอนาคตอันใกล้นี้นะคะ ^_______^

1
Nyx 12 ก.พ. 60 เวลา 18:46 น. 13

เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ภาษา  แนะนำสองเล่มนี้ที่ไม่หนามากครับ


1