Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ผมลงแนวคิดในนิยาย คิดว่าเหมาะสมมั้ยครับ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คือเป็นแนวคิดชี้นำสังคมจากเรื่อง รอยแผลที่รอรับการรักษา ครับ ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดที่ละครหรือพลอตเรื่องตามท้องตลาดไม่ค่อยนำเสนอ มีดังนี้ครับ...

สำหรับส่วนที่ลงไปแล้ว  
1.ผู้ชายโดนข่มขืน ไม่ใช่ว่าจะไม่เสียหายและเป็นเรื่องตลกอย่างที่หลายๆคนคิด 
จากคูน พระเอกของเรื่อง
2.คนหน้าโหดไม่ใช่ว่าจะปากร้าย(แม้ว่าจะใจดีก็ตาม)เสมอไป
จากฮอต นายเอกของเรื่อง
3.กะเทยไม่ได้มีดีเฉพาะด้านบันเทิงและการสร้างมุขตลก
จากพิงค์(พัฒน์) รุ่นพี่ของฮอต
4.คนรวยไม่ได้จิตใจโหดร้ายเสมอไป
จากมาดามจันทร์สม(บวรศักดิ์) เจ้าของโครงการช่วยเหลือเหยื่อข่มขืนที่เป็นผู้ชาย
5.คนที่ทำสื่อเกี่ยวกับชายรักชายไม่ใช่ว่าจะเห็นดีเห็นงามกับกรณีชายข่มขืนชาย
จากพลอย(พยนต์) หนึ่งในเจ้าหน้าที่โครงการ
6.บางครั้ง ครอบครัวก็ไม่ใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไป
จากหมอก หนึ่งในเหยื่อที่โดนข่มขืน

7.ยศศักดิ์สูงไม่ได้หมายความว่าจะชอบแต่งอมืองอเท้าในห้องแอร์หรูๆเสมอไป
จากท่านหญิงรัตนากร(อดีตท่านชายปกรณ์) หนึ่งในผู้สูงศักดิ์ของเกาะ
8.น่ากลัวกว่าการทำผิด ก็คือคนที่ปกป้องคนทำผิด
จากคุณหนูน่านฟ้า(สิบทิศ) ลูกชายท่านหญิงรัตนากร และเจ้าของเพจดัง
9.เป็นเด็กไม่ใช่ว่าจะไร้ความสามารถและวุฒิภาวะน้อยกว่าผู้ใหญ่เสมอไป
จากตะวา(วายุ) เพื่อนบ้านของฮอต
10.ยิ่งใหญ่กว่าการสอนคนให้แข็งแกร่ง คือให้คนที่แข็งแกร่งอยู่แล้วใช้มันให้ถูกต้อง
จากธัน บรรณาธิการสำนักพิมพ์ และภรรยาหนุ่มของไท
11.แม้เป็นสิ่งที่ทำได้เพียงไม่กี่อย่าง ถ้ามันจะนำไปสู่อนาคตที่ดี มันก็คือสิ่งที่ยิ่งใหญ่
จากไท เจ้าของสถานีวิทยุ และสามีของธัน
12.การรับฟังคือการแก้ปัญหาทางใจได้ดีที่สุด
จากมิกซ์ พี่ชายของคูน และสามีของเทิด
13.การนำเสนอความจริงคือสิ่งที่ควรทำ แต่ต้องทำเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมถึงจะดี
จากเทิด รุ้นน้องของฮอต และภรรยาหนุ่มของมิกซ์
14.การทำดีแล้วโดนด่าว่าโลกสวย ยังน่าภูมิใจกว่าคนดีที่ดีแต่ด่าคนอื่นเป็นไหนๆ
จากดอกเตอร์จันทร์ฉาย(ดิลก) นักธรรมชาติวิทยา และน้องชายของพิงค์
15.เป็นดอกเตอร์ก็สวยได้ ไม่จะเป็นต้องมีภาพลักษณ์อย่างที่ทุกคนคิดเสมอไป
จากดอกเตอร์ภาวสุทธิ์(โชคชัย) นักสมุทรศาสตร์ และน้องชายของพิงค์
16.การแคร์คนอื่นมากเกินไป คือหนทางสู่ความทำลายตัวตนและความสัมพันธ์กับคนรัก
จากวุฒิ พี่ชายของเทิด
17.แม้เคยเป็นนักเลงก็สามารถเดินทางสู่หนทางสันติและมุ้งมิ้งได้
จากทิวา(ทินกร) น้องชายของไท
18.แต่งหน้าจัดๆหน้าดุๆไม่ใช่ว่าต้องเป็นตัวร้ายเสมอไป
จากจงจิตร(ปรมัตถ์) ประธานชุมชนหมู่บ้านจักจั่น และพ่อของตะวา



แนวคิดใหม่ในตอนต่อๆไป คือ...

1.ในบางครั้ง การให้อภัย ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจแห่งการทำความดี มันก็คือดาบสองคม ถ้าให้อภัยแล้วผู้นั้นสำนึกผิด กลับตัวเป็นคนดี ทำสิ่งดีๆ มันก็คือคุณประโยชน์ หากแต่ให้อภัยเขาแล้วยังคงทำผิดซ้ำซ้อน ทั้งสิ่งที่เขากระทำยังเพิ่มระดับความรุนแรง มันก็คือโทษมหันต์

2.การที่สอนหรือเตือนคนอื่นด้วยการเหยียดหยาม มันไม่ได้ผลแน่ๆ มันจะยิ่งทำให้คนยิ่งต่อต้านจากการที่พวกเขารู้สึกว่ากำลังโดนลองของ

3.บางครั้ง คำว่า ความเชื่อไม่เคยทำร้ายใคร ก็ไม่จริงเสมอไป ถ้ามีคนนำความเชื่อของตนเองเป็นหลักในการทำลายล้างผู้อื่น และนำเสนอความเชื่อนั้นแบบผิดๆ

4.การออกกำลังกายคือหนทางหนีจากโรคภัยไข้เจ็บที่ดีที่สุด

5.คนรูปร่างเล็กไม่ใช่ว่าจะบอบบางจนอยู่ในอันตรายตลอดเวลาเสมอไป คนตัวเล็กอาจจะเก่งกว่าที่คุณคิดก็ได้

6.เห็นว่าหุ่นล่ำๆเมื่อมองจากรูปที่ถ่ายแบบครึ่งบน ไม่ได้หมายความว่าจะร่างกายจะสูงใหญ่จนดูน่ากลัวเสมอไป เช่นกัน บางอย่างก็ไม่ได้น่ากลัวแบบ(หรือกว่า)ที่คิด

7.เป็นคนแก่ไม่ใช่ว่าจะคร่ำ ครึอนุรักษ์นิยม ร่างกายอ่อนแอต้องพึ่งลูกหลานอย่างเดียวเสมอไป

เป็นไงครับ แต่ละคนคิดว่าโอเคมั้ย 

 

แสดงความคิดเห็น

10 ความคิดเห็น

FujiKung168 11 พ.ย. 60 เวลา 17:21 น. 1-1

คือพลอยเป็นสาวดุ้นครับ พยนต์เป็นชื่อดั้งเดิมของนาง


ส่วนชื่อนี้แปลว่า สิ่งที่ผู้ทรงวิทยาคมปลุกเสกให้มีชีวิตขึ้น คล้องจองกับการที่ในเรื่อง นางเป็นคนแต่งนิยาย ซึ่งอาจมีผลต่อสังคม ก็เปรียบว่านางคือผู้มีอาคมที่อาจจะสามารถมีผลต่อจิตใจผู้คนได้

0
พายไก่ 11 พ.ย. 60 เวลา 17:23 น. 2

ถ้าคิดว่ามันเป็นประโยชน์ต่อนักอ่าน เราเองก็ไม่ฝืนใจในการเขียน

เขียนมาเถอะค่ะ ต้องมีนักอ่านอีกหลายคนที่รออ่านแนวนี้อยู่แน่นอน ^__^

1
FujiKung168 11 พ.ย. 60 เวลา 17:24 น. 2-1

ขอบคุณครับ ตอนนี้กำลังลุยตอนที่8 อยู่พอดี

0
น้องหมาจอกโต 11 พ.ย. 60 เวลา 17:23 น. 3

อู้หู! สะท้อนสังคมเว่อร์ๆเลยค่ะ ชอบมากเลยค่ะ//ปรบมือให้ๆ


หนูคิดว่ามันโอเคนะคะที่จะเอาไปแต่ง แต่สังคมไทยจะยอมรับนี่สิ แต่เชื่อสิ ยังไงก็ต้องมีคนอ่านและติดตาม

มันไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับการเมือง การเงินการทองของใคร โดยรวมที่อ่านมา เหมือนเอาคติของทุกๆคนมารวมๆกันแล้วมาเผยแพร่แบบนิยาย จนกลายเป็นภาพรวมที่สะท้อนสังคมได้อย่างดีนะคะ(เข้าใจใช่ไหมเอ่ย?)


สู้ๆนะคะ^^ ยังคงรอผลงาน ถ้ามีตัวละครเพิ่มเติม พร้อมจะช่วยทำแผนผังให้เสมอค่ะ ว่างเสมอ

ใครจะด่า จะต่อต้าน จะติ หรือจะหาเรื่อง คิดซะว่า พวกเขารับไม่ได้ที่เห็นนิสัยตัวเองไปอยู่ในนั้นค่ะ^^


สนับสนุนขอให้งานนี้ได้ทำเป็นหนัง ไม่ก็ดังมากๆ เพื่อให้คนไทยรู้ว่ามันมีตรงไหนที่เราต้องปรับปรุงกันบ้าง

สู้ๆนะคะ เป็นกำลังใจให้นะคะ จะรอผลงานออกมาเรื่อยๆ


ปล.ปรมัตถ์มันชั่งคุ้นเคย ที่ไหนได้ อ๋อ นิยายวายที่เคยอ่านนี่น่า ชื่อเหมือนกันเป๊ะเลย555

3
FujiKung168 11 พ.ย. 60 เวลา 17:31 น. 3-1

ตัวละครอาจมีเพิ่มมาอีกครับ เพราะเกมส์/การ์ตูนที่ผมชอบสมัยประถม-มัธยมมีหลากหลายมาก เลยอยากให้พวกเขาออกมาโลดแล่นในโลกจินตนาการของผมครับ


ในส่วนของปรมัตถ์ อันนี้เป็นตัวละครจากเวียงร้อยดาวครับ คือเคยดูสมัย ม.4 ผมใช้ชื่อผู้ชายในเรื่องนั้นเป็นชื่อเดิมตัวละครสาวดุ้นที่ผมเอามาครับ เช่น ท่านหญิงรัตนากร ชื่อเดิมคือปกรณ์ จงจิตร ชื่อเดิมคือปรมัตถ์ ซึ่งชื่อใหม่ก็ยังคงเป็นตัวละครในเวียงร้อยดาว

0
คุณพีทคุง พิธันดร 11 พ.ย. 60 เวลา 17:58 น. 4

นิยายทุกเรื่องแฝงแนวคิดและโลกทัศน์ของคนแต่งอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจะโดยที่คนแต่งรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ที่จริงโลกทัศน์ที่แฝงไว้โดยไม่รู้ตัวนี่ คนอ่านจะเห็นได้ชัดกว่าโลกทัศน์ที่คนเขียนเจตนาแฝงไว้อย่างแนบเนียนอีกครับ


การตั้งใจใส่แนวคิดดีๆ สร้างสรรค์สังคมเข้าไปในนิยาย เป็นสิ่งที่ดีครับ ผมสนับสนุนและชื่นชม ขอเสนอเพิ่มเติมนิดเดียวว่า นิยายมีจุดหมายหลักคือการเล่าเรื่อง ในแง่ของศิลปะการเล่าเรื่อง ถ้าอยากให้ดี จะเสนอแนวคิดอะไรก็ต้องค่อยๆ ถักผสานเข้าไปในเรื่อง ให้มันเป็นเนื้อเดียวกับเรื่องราว คนอ่านถึงจะรู้สึกได้ถึงสารนั้นจริงๆ ครับ


เพราะนิยายไม่ใช่ตำรา และไม่ใช่บทความชวนเชื่อ การเสนอแนวคิดในนิยาย วิธีที่ดีที่สุดคือแสดงให้เห็นด้วยเรื่องราวครับ


ข้อควรระวังคือ อย่าให้แนวคิดที่เราอยากเสนอ ถูกส่งผ่านไปถึงคนอ่านผ่านคำพูดตัวละครเพียงอย่างเดียว ถ้าเป็นแบบนั้น คนอ่านจะรู้สึกเหมือนคนเขียนยืมปากตัวละครไปสอนเขา แทนที่จะสนุกและซาบซึ้ง อาจจะรู้สึกตงิดๆ ได้ครับ


(อันนี้พูดถึงกรณีทั่วๆ ไปนะครับ พอดีเรื่องนี้ยังไม่ได้เข้าไปอ่าน)

0
MENGz 11 พ.ย. 60 เวลา 18:00 น. 5

ไม่ใช่ประเด็นใหม่เลยครับ คุณไม่จำเป็นต้องกังวลด้วยซ้ำ ทุกข้อที่คุณว่ามามีคนอื่นเอาไปใช้แล้วทั้งนั้น แต่ก็ไม่เห็นว่าจะมีใครบ่นอะไร อย่าคิดมากครับเขียนไปเถอะ

0
SayWindy 11 พ.ย. 60 เวลา 18:22 น. 6

จากที่อ่านตรงนี้ดู แนวคิดไมไ่ด้ถึงขั้นร้องว้าวหรืออะไร มันคือแนวคิดที่ โอเค คือวัตถุดิบที่จขกท.จะนำเสนอ ส่วนจะนำไปสู่อะไรก็ว่ามาแล้ว ประเด็นคือแล้วยังไงต่อ? จะนำเสนอยังไงให้น่าสนใจ

คือที่ยกมาเราเห็นเป็นข้อเท็จจริงทั้งนั้น มันคือความจริง มันมีสัจธรรมสวยหรูอยู่นิดหน่อย ไม่ได้หวือหวา สะท้อนสังคมเหรอก็ใช่ แต่สะท้อนแล้วอยากให้ส่งผลยังไง หรือแค่อยากอ่านเอาสนุกเฉยๆ แล้วถ้าทำยังงี้แล้ว คนอ่านจะสนใจยังไง ตรงไหน หรือสนใจแค่การสะท้อนสังคมแค่อย่างเดียว


สำหรับเราถ้าอยากให้น่าสนใจ คงต้องเล่นเรื่องการนำเสนอแล้วแหละ จะพูดตรงๆ จะแอบแฝง จะสร้างสถานการณ์ยังไงให้คนอ่านรู้

เราก็เห็นด้วยกับคห.บนๆนะ บางอย่างไม่ต้องพูดออกมาตรงๆหรือเขียนอธิบายละเอียดยิบขนาดนั้น ให้เนื้อเรื่องให้ตัวละครสื่อด้วยตัวเขาเองจะดีที่สุด

0
peiNing Zheng 11 พ.ย. 60 เวลา 23:21 น. 9

คห.ด้านบนๆ พูดไปแล้ว คงไม่พูดซ้ำ แต่มาพูดถึงข้อสังเกตของตัวเองแทนแล้วกันนะคะ


ดูเหมือนคุณจขกท จะโฟกัสในเรื่อง stereotype ค่อนข้างเยอะนะคะ (โดยเฉพาะภาพลักษณ์ภายนอก กับสิ่งที่เป็นภายใน) ถ้าจะเล่นที่จุดนี้ เรามองว่าตัวอย่างในเรื่องเฝือเอาเรื่องอยู่ (ไปนับดูก็ได้) มีตั้งแต่รูปลักษณ์ภายนอก ตัวเล็ก ตัวใหญ่ หน้าโหด ปากร้าย ร่ำรวย มียศศักดิ์ เป็นเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา แต่งหน้าจัด ฯลฯ 


โลกนี้ stereotypes มหาศาล เรื่องนี้จะต้องสร้างตัวละครขึ้นมากี่ตัวเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเรื่อง "ภายนอกแตกต่างกับภายใน" ของเรื่องนี้?


เราไม่ได้อ่านนิยายคุณจขกท แต่แค่เห็นปริมาณตัวละครแล้ว อาจทำให้คุมยากอยู่ นิยายมีพื้นที่จำกัดนะคะ อย่าลืม แค่เรื่องตัวละครหลักก็หนักแล้ว ยังต้องแบ่งไปดูแลตัวละครอีกยี่สิบตัวอีก มันจะทำให้คนเขียนหลุดโฟกัสเอาได้นะคะ


แค่ตั้งข้อสังเกตค่ะ แต่ถ้าคุณคุมได้ จัดกระบวนให้บทแก่พวกเขาอย่างทั่วถึง โดยไม่ทำให้เส้นเรื่องหลักผิดไปจากแผนที่วางไว้ นั่นก็โอเคค่ะ แล้วแต่เลย

2
กุยแกตามหาโจโฉ V2 12 พ.ย. 60 เวลา 00:16 น. 9-1

อันนี้เราเคยบอกน้องไปละนะ ว่าตัวละครมันเยอะไป คนอ่านจำไม่ได้ น้องเค้าพยายามแก้ไขอยู่ค่ะ แต่ก็ยังมากไปอยู่ดี ^ ^

0
peiNing Zheng 12 พ.ย. 60 เวลา 13:12 น. 9-2

เห็นหลายกระทู้ที่เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องนี้ เป็นแนวคิดที่ดีในเรื่องการเขียน นับเป็นหัวข้อที่ท้าทายดีค่ะ แต่เราไม่ได้ตามเรื่องนี้ เพิ่งมาสังเกตก็กระทู้นี้ที่ คุณจขกท พูดให้ฟังว่าใส่อะไรลงไปในเรื่องบ้างจนเกิดตัวละครมากมายขนาดนี้


อันนี้ต้องกลับไปถามจุดตั้งต้นแล้วว่าเขียนเรื่องนี้เพื่ออะไร ถ้าเพื่อเสนอความคิดของตนเองโดยไม่จำเป็นต้องใส่ใจคนอ่าน อยากทำอะไรก็ทำเลยค่ะ เป็นสิ่งที่คนเขียนต้องการระบายความคิดบางอย่างที่มีต่อสังคม


แต่ถ้าเขียนเพื่อคนอ่านอ่านได้ แพร่ไปยังคนอ่านได้มากเพื่อให้คนได้เห็นแนวคิดของคนเขียน งั้นคงต้อง"เลือก"สารให้มากกว่านี้ เน้นๆ เฉพาะที่สำคัญเท่านั้นพอ เพราะคนอ่านอยากอ่านนิยาย ไม่ได้อยากอ่านหนังสือข้อคิดปรัชญาชีวิตที่คนเขียนยัดมาให้


งานเขียนคือ การสื่อสารทางเดียวโดยที่คนอ่านไม่มีโอกาสตอบโต้ ปริมาณความคิดมหาศาลที่ใส่เข้ามาก็เหมือนคนอ่านโดนปืน M16 รัวใส่ บางแนวคิดก็ใช่ว่าจะเห็นด้วยแต่กำลังโดนยิงอยู่ทำอะไรไม่ได้ ตอบโต้ได้ทางเดียวคือ วางหนังสือเล่มนั้นลง แล้วจากไป ไม่คิดจะย้อนกลับไปโดนยิงกราดใส่แบบนั้นอีก


ถ้าจุดประสงค์ของการเขียนอยู่ที่คนอ่าน ก็ต้องตัดใจเลือกเฉพาะจุดสำคัญให้ได้ ไม่อย่างนั้นคนอ่านจะตอบโต้โดยการต่อต้าน แล้วสิ่งที่พยายามมาจะสูญเปล่า แนวคิดที่ดีแต่คนอ่านปฏิเสธไม่อยากอ่านก็จบ ผลงานนั้นก็ได้แต่วางทิ้งไว้ สื่อไปไม่ถึงคนอ่าน


นี่คือความยากของนิยายสะท้อนสังคม หนึ่งในนั้น คือ ทำยังไงให้คนอ่านยังยอมอ่านความคิดและเรื่องราวต่อไปโดยไม่ปิดหนีไปเสียก่อนเพราะแน่นอนว่ามันมีบางอย่างในเรื่องไม่ได้สวยงามนัก คนอ่านไม่ค่อยอยากอ่านสักเท่าไรน่ะค่ะ

0