Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แนะนำทริคการสร้างคอนเทนต์และพาดหัวเจ๋งๆหน่อยค่า

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คือเราแต่งนิยายด้วย แต่ก็แต่งแบบไม่ได้มีคนตามอะไรมาก 

หนักสุดคือช่วงนี้มาฝึกงานเขียนสกู๊ปต่างๆเชิงวิเคราะห์เรื่องราวบลาๆ แต่ดันเขียนออกมาเป็นข่าวซะส่วนใหญ่ แถมบางเรื่องที่ทำเราก็ยังร้อยเรื่องไม่สนุกเท่าคนอื่น เราไม่รู้ว่าเราจะทำไงให้คิดได้ลื่นไหล มันดูยากมากๆสำหรับเรา

ใครแนะนำวิธีคิด หรือปรับวิธีคิดเราบ้าง ช่วยด้วยนะคะ ตอนนี้เครียดจนคิดงานออกไม่ได้ดีเท่าที่ควรเลย crying

แสดงความคิดเห็น

2 ความคิดเห็น

moeismoreso 6 มิ.ย. 61 เวลา 17:59 น. 1

แนะนำให้หนึ่งวิธีคือ


เขียนสิ่งที่อยากจะสื่อออกมาทั้งหมด แล้วตัดทอนให้เหลือแต่สิ่งสำคัญ ฝึกตัด ฝึกต่อไปเรื่อย เดี๋ยวก็แต่งได้ดีขึ้น ประเด็นคือ ต้องรู้แน่ชัดว่า 'จะสื่ออะไรออกมา' ใช้สิ่งนั้นเป็น 'คีย์เวิร์ดสำคัญ' ให้อยู่ในเนื้อหาที่เรียบเรียงมาดีแล้ว


เช่น


ใจความสำคัญที่อยากจะสื่อออกไปให้คนทั้งโลกได้รู้คือ อยากบอกว่าชอบแมวตัวหนึ่งมาก อาจเลือกคีย์เป็น 'แมว' 'ชอบ/หลงรัก'(พอแทนกันได้) '(ตัว)หนึ่ง' = แมวหนึ่งเดียวในโลกที่อยากให้รู้ว่า 'หลงรัก' เป็นต้น


.

1
My Story 9 มิ.ย. 61 เวลา 18:57 น. 1-1

แงงง สำคัญที่คีย์หลังสินะคะ ขอบคุณครับบบบบ

0
G.Tenju 6 มิ.ย. 61 เวลา 18:33 น. 2

ขอช่วยแนะนำเท่าที่คิดออกนะ


1. หาเรื่องที่เราเองเต็มใจจะทุ่มแรงในการล่าหาคำตอบ

ส่วนตัวผมค่อนข้างชอบเรื่องจิตวิทยาว่าทำไมคนเราถึงมีรูปแบบวิธีคิดไม่เหมือนกัน ยิ่งลงลึกไปมันก็ยิ่งสนุก เต็มใจหาแล้วมันจะแตกหน่อคำถามได้เรื่อยๆ


ทำไมคนนึงบ่นว่าไม่มีคนสนใจนิยายฉันเลย แต่ในขณะเดียวกันกับมีอีกคนสามารถพูดกล่อมให้คนฆ่าตัวตายกันทั้งหมู่คณะได้? (ระดับความยากต่างกันฟ้ากับเหวเลย)


ทำไมคนประเภท 'ตลก' ถึงรู้วิธีที่จะตลกได้ในทุกสถานะการณ์? เขาแตกต่างจากเราตรงไหน?


ทำไมเราจึงสงสัยและอยากรู้ในเรื่องที่ไม่รู้?


โยนความเป็นผู้ใหญ่ในสายตาคนอื่นทิ้งไปบ้างแล้วลองคิดแบบเด็กๆ เด็กจะสนใจแต่เรื่องที่่ตัวเองชอบแล้วอาละวาดได้แบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย(ฮา) พอได้อย่างนี้แล้วเราจะได้คอนเท้นน่าสนใจสำหรับเราออกมาก่อนแน่ๆ ซึ่งถ้าเราเองยังไม่สนใจกับคอนเท้นนี้ ผมว่าคงยากที่คนอื่นจะมาสนใจมันด้วย


2. คิดแหกกรอบแล้วหาตัวช่วย

ผมเพิ่งมาหัดเขียนได้ไม่ถึง 6 เดือน ซึ่งบอกตามตรงว่าไม่ค่อยชอบอ่านนิยาย(!?) แต่ผมไม่ได้มองว่าตัวเองจะเสียเปรียบคนอื่นเลยสักนิด สมมุติถ้าทุกคนเสพสื่อเหมือนกัน เรียนเหมือนกัน ยึดหลักเกณฑ์เดียวกันว่าแบบไหนคืองานเขียนที่ดี ความสร้างสรรค์มันก็มักจะออกมาแนวๆเดียวกันถูกไหม? ผมเลยมองว่าตัวเองเป็น NEET ไม่ได้เรียนสูง และมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยเหมือนชาวบ้านเป็นเอกลักษณ์ในงานตัวเอง


ผมเลยอ่านนิยายพอประมาณเพื่อดูรูปแบบการจัดหน้าและเทคนิคการเล่าเรื่อง ส่วนเรื่องแรงบัลดานใจผมไปสูบเอาจากพวกหนังที่ผมเองยินดีที่จะดูได้ทั้งวันแทน (ดูแบบวิเคราะห์สีหน้า ภาษากาย น้ำเสียง จังหวะ และการหักมุม/เฉลยปมของเรื่อง)


แล้วผมเองก็ต้องหาตัวช่วยอย่าง 'ครู' บ้าง ผมหาบุคคลตัวอย่างมาเป็นแนวทางฝึกวิธีคิดให้ตัวเอง มันเกิดจากคำถามว่า ใครเป็นผู้นำด้านสื่อในประเทศไทย? แล้วผมก็ค้นไปเจอ 'ต่อ ฟีโนมีน่า' เป็นนักทำหนังโฆษณา(รางวัลเพียบ) ผมศึกษาเขา ดูว่าเขาให้คุณค่ากับอะไร มีวิธีคิดยังไง ทำไมโฆษณาของเขาถึงกลายเป็นอันดับ 1 ของโลก 5 ปีซ้อนได้


3. สวมบทบาท

อันนี้จะออกแนวเล่นกลโกงกับสมอง ผมเองเป็นมือใหม่ในงานเขียนแต่ถ้าผมเชื่ออย่างนั้น งานผมก็จะออกมาในรูปของ 'มือใหม่' จริงๆ ผมเลยถามกับตัวเองว่าถ้าผมกลายเป็น 'อัฉจริยะนักเขียนคนนึงของโลก' ผมจะมีความคิดแบบไหน จะทำตัวแบบไหน นั่งเล่นเกมหรือแชทเฟสทั้งวันไหม? ถ้าไม่ใช่ก็ตัดทิ้งแล้วเลียนแบบมันให้ได้มากที่สุด


คนๆนั้นจะท้อไหมถ้าไม่มีคนอ่านหรือคอมเม้น?

คนๆนั้นจะเชื่อว่าการคิด/เขียนเป็นเรื่องยากไหม?

คนๆนั้นจะรับมือกับปัญหาที่เจออยู่ยังไง?


เนื่องจากผมเลียนแบบบุคคลคุณภาพในจินตนาการ วิธีแก้ปัญหามักจะออกมาดีเสมอ หลายคนบอกว่าวิธีนี้เป็นการ 'หลอกตัวเอง' ซึ่งผมก็ไปค้นจนพบอีกว่า...ทุกอย่างที่เราคิดได้ มันก็คือหลอกการตัวเองทั้งนั้นแหละ ทั้งเรื่องจิตสำนึก จิตใต้สำนึก สิ่งสมมุติ ศึกษาจนเข้าใจว่าจริงๆ มนุษย์มันเลือกจะเป็นได้ทุกอย่างตราบเท่าจินตนาการจะไปถึง


แถม

ประโยคคำถามบางชนิดมันขุดจิตใต้สำนึกให้สร้างคำตอบขึ้นมาเองได้เช่น...


งานชิ้นนี้มันจะเป็นยังไงถ้ามันเสร็จสมบูรณ์แล้ว?

ปัญหานี้มันจะดูเป็นยังไงถ้าแก้ได้ง่ายๆ?

หัวข้อนี้จะเป็นยังไงถ้าต้องทำให้น่าสนใจกว่าเดิม?


พวกนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ของโลกทั้งหลายจะมีนิสัยนึงเหมือนกันคือชอบ 'เดินเท้า' ไอน์สไตน์, ซิกมันด์ฟรอยด์, และต่อฟีโนมีน่าเองก็ด้วย 2 คนแรกผมไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงทำแบบนั้น แต่คุณต่อฟีโนบอกว่า มันเป็นการศึกษาและหาคอนเท้นสำหรับเขา เนื่องจากการเดินเท้าเราจะได้มองเห็นผู้คนจริงๆในชีวิตประจำวัน และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆมันจะเป็น 'unique' ที่ไม่มีใครหาจากอินเตอร์เน็ทได้ (โฆษณาของเขาเลยกระแทกใจชาวบ้านชาวเมืองเต็มๆ)


ซึ่งพอผมลองศึกษาเรื่องนี้ก็ไปพบอีกเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเดิน มันเรียกว่า 'body sensing' หรือพวก 'สมาธิฐานกาย' เป็นวิธีผ่อนคลายสมองด้วยการย้ายจุดรับรู้จากหัวไปจดจ่อที่ร่างกายตัวเอง (หลักอธิบายเดียวกันว่าทำไมนักธุรกิจญี่ปุ่นถึงชอบไปแช่บ่อน้ำร้อนก่อนเจรจาเสมอ) มันช่วยคุณได้ถ้ารู้สึกเครียดเกินไป วิธีง่ายๆคือเดินไปมาโดยรับรู้ถึงแรงกระแทกของทุกข้อต่อในกล้ามเนื้อ ทุกแรงดันจากเท้าลงพื้น และจากพื้นขึ้นมาหาเท้า แค่รับรู้...ไม่ต้องทำอะไร ไม่มีผิดหรือถูก ทำไปเรื่อยๆแล้วคุณจะรู้สึกเบาหัวขึ้นมาเอง ซึ่งถ้าเดินแบบเท้าเปล่าได้ด้วยยิ่งดี ท่านติชนัทฮันเรียกวิธีนี้ว่า 'การเดินแบบจุมพิษแผ่นดิน'


ซึ่งถ้าลึกไปอีกขั้น...มันจะถึงเรื่องสมาธิก้นฐานตัว 'U' เป็นสภาวะนึงที่เรามีปัญญาและรับรู้โครงสร้างของทุกอย่างได้แบบอัตโนมัติ ผมพยายามไปให้ถึงจุดนั้นแต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าอีกนานแค่ไหน พวกเรื่องจิตวิทยาถ้าศึกษาไปลึกๆแล้วจะพบว่าต้นตอมันไปกระจุกอยู่ในเรื่องของศาสนาพุทธครับ


ทั้งหมดที่เขียนมามันเกิดขึ้นจากความสนใจส่วนตัวล้วนๆ ผมเรียนจบแค่ ม.3 แล้วเลิกไปโรงเรียนแต่ไม่คิดจะหยุดเรียนรู้ คุณก็ลองเอาส่วนที่เป็นประโยชน์ไปปรับใช้กับตัวเองแล้วกัน

3
My Story 9 มิ.ย. 61 เวลา 18:56 น. 2-1

เคยคิดเหมือนกันเรื่องสวมบทบาท5555 เราว่าไม่ใช่การหลอกตัวเองหรอก มันแค่เสริมให้เรากล้าทำมากขึ้น


ขอบคุณแง่คิดดีๆนะคะ ชอบเรื่องเดินเท้าเปล้ามากๆ ยังไงก็จะพัฒนาตัวเองขึ้น และจะไม่กดดันตัวเอง เปลี่ยนมาจริงจังแทน ขอบคุณมากๆเลยน้าาาาาา

0
G.Tenju 9 มิ.ย. 61 เวลา 19:36 น. 2-2

เรื่องเดินเท้าผมเองก็ทำอยู่ครับ เพิ่งได้เจอเรื่องนึงน่าสนใจมาก ร้านลูกชิ้นทอดหน้าเซเว่นที่ผมเดินผ่านประจำ ปกติจะขายไม่ค่อยดีแต่วันนี้กลับขายเกลี้ยงตู้เพราะมีอุบัติเหตุณ์รถชนกันแถวนั้น แล้วพอผมหันไปเห็นซากศาลเจ้าที่ เลยปิ้งได้ไอเดียนิยายสั้นขึ้นมา


จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราขอพรจากบางสิ่ง แล้วมันทำให้เราสมหวังโดยมีผู้อื่นรับเคราะห์?


ได้ละหนึ่งพล็อต 5555+

0
My Story 11 มิ.ย. 61 เวลา 13:46 น. 2-3

โอ้ยยยยย จะรออ่านนะงั้น555 คิดได้ไงเนี่ย ออกแนวลึกลับไปอีกกกกก

0