Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ปวดหัวกับการเขียนมุมมองที่สาม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ผมมีประสบการณ์เขียนมุมมองที่หนึ่งจนจบเรื่อง เรื่องใหม่ว่าจะเขียนแบบมุมมองที่สาม เพราะไม่อยากเผยความในใจของตัวละคร อีกทั้งมุมมมองที่สาวก็สามารถเล่นได้หลากหลายกว่า ประกอบกับข้อมูลที่ครอบคลุม สามารถสลับฉากและมุมมมองได้ง่าย

แต่ยากมากเลยครับ ไม่รู้จะบรรยายยังไงดี ผมชอบออกทะเลและไปบรรยายเรื่องท่าท่างของตัวละครตลอดเลยครับ

ตัวอย่าง

"อ่า.."

เด็กหนุ่มส่องเสียงในลำคอ เขาแหวกเส้นผมนับพันนับหมื่นบนหัว เพื่อหาผมหงอกที่ไม่รู้ทำไมช่วงนี้ถึงพบบ่อย  ทั้งที่ตัวเขาก็นอนเร็วไม่อยู่ดึก ไม่มีเรื่องเครียดอะไรเข้ามาในชีวิต

ทันใดนั้นเด็กหนุ่มก็ตัวแข็งเป็นหินด้วยความตกใจ เนื่องจากภาพสะท้อนในกระจกของเขากลายเป็นมังกรขาว ดวงตาสีทองสูงส่งของมันประสานกับดวงตาสีดำของเด็กหนุ่ม ที่ตอนนี้ในส่วนลึกของดวงตานั้นพลันส่องประกายแสงที่แทบจะมองไม่เห็นขึ้น

มังกรขาวจำแลงกายเป็นชายหนุ่มคนหนึ่ง ใบหน้าหล่อเหลาจนไม่อาจเอาบรรทัดฐานใดมาวัด ดวงตาสีทองที่เหมือนกับมังกรขาว เส้นผมสีขาวที่บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ บรรยากาศที่แพร่ของออกมาเต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ชายหนุ่มเผยยิ้มโศกเศร้า

เด็กหนุ่มแทบหยุดหายใจ เขามองภาพสะท้อนในกระจกอย่างลุ่มหลง ความรู้สึกคุ้นเคยอย่างบอกไม่ถูกพุดขึ้นมาในจิตใจ ในขณะเดียวกันเขาก็อิจฉาในบางสิ่ง

...

รู้สึกเหมือนออกทะเลไม่มีความมั่นใจเลยครับ

เฮ้อ...

นั่งจิ้มพื้นเล่น เพราะเป็นบทนำด้วยละมั้ง

ลบแล้วลบอีก สุดท้ายก็จบลงที่หน้ากระดาษเปล่า.........


 

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

varunyanee 26 พ.ค. 62 เวลา 23:11 น. 1

แรกๆที่เราแต่งนิยาย ใช้มุมมองตัวเอกตลอด เพิ่ง 3-4 เรื่องหลังที่ใช้มุมมองพระเจ้า .. แปลกหน่อย แต่พอชินก็ดีขึ้น ก็ต้องลองแหละ /สู้ สู้ค่ะ

1
K.W.E. 26 พ.ค. 62 เวลา 23:17 น. 2

การนำเสนอมุมมองที่ 3 นี้ ถ้าเอากระชับ แต่งให้ง่ายล่ะก็ ต้องกำหนดมาแต่แรกครับว่า 'อยากเสนออะไรในท่อนนั้น ๆ' แล้วค่อยไปเน้นจุดที่เน้น ตัดในส่วนที่เห็นว่าไม่เกี่ยวข้องออก มันจะกระชับแล้วเดินเรื่องได้ไวขึ้นครับ แล้วก็พยายามใช้การเว้นบรรทัดแบ่งจังหวะการกระทำทีละขั้น ๆ จะช่วยให้อ่านและเขียนง่ายขึ้นด้วย


อย่างกรณีข้างต้น น่าจะเป็นการเน้นที่ตัวเอกเปลี่ยนไป ก็จับ 3 จุดคือการอารัมภบทโดยตัวละครเดินเรื่อง การปรากฎตัวของร่างมังกรในกระจก และรีแอ็กชันจากนั้น


ค่อย ๆ ลำดับให้เป็นทิศทางดู จากนั้นค่อยพิจารณาว่าจะเติมหรือลดภายหลังก็ได้ จะง่ายกว่าแต่งไปพินิจไปครับ เหมือนวาดรูปยังไม่เสร็จแล้วคิดจะลงสีเลย อะไรทำนองนั้นได้


ทีนี้... ผมลองเอามาเกลาดูนะครับ......

น่าจะเห็นความแตกต่างขึ้น


"อ่า.."


เด็กหนุ่มส่งเสียงในลำคอ พลางแหวกเส้นผมนับพันนับหมื่นบนหัว เพื่อหาผมหงอกที่ไม่รู้ทำไมช่วงนี้ถึงพบบ่อย ทั้งที่ก็คิดว่านอนเร็วไม่อยู่ดึก ไม่มีเรื่องเครียดอะไรเข้ามาในชีวิต


ทันใดนั้นเอง เขาก็ตัวแข็งเป็นหินด้วยความตกใจ เนื่องจากภาพสะท้อนในกระจกที่ควรเป็นเรือนร่างของมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง กลับกลายเป็นภาพของมังกรขาว ดวงตาสีทองสูงส่งของมันประสานกับดวงตาสีดำ


ในกระจกนั้น... มังกรขาวได้จำแลงกายเป็นชายหนุ่มคนหนึ่ง ใบหน้าหล่อเหลาจนไม่อาจเอาบรรทัดฐานใดมาวัด ดวงตาสีทองที่เหมือนกับมังกรขาว เส้นผมสีขาวที่บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์

บรรยากาศที่แพร่ของออกมาเต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ชายหนุ่มเผยยิ้มโศกเศร้า


เด็กหนุ่มแทบหยุดหายใจ ขณะที่สายตายังคงจ้องมองภาพสะท้อนในกระจกอย่างลุ่มหลง ด้วยความรู้สึกคุ้นเคยอย่างบอกไม่ถูกที่ผุดขึ้นมาในจิตใจ



เป็นต้นครับ


3
26 พ.ค. 62 เวลา 23:19 น. 2-1

แตกต่างกันมากครับ ประสบการณ์...... อ่า... เห็นทางสว่างเลย


https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-big-10.png

0
K.W.E. 26 พ.ค. 62 เวลา 23:24 น. 2-2

ความเคยชินน่ะครับ


แต่ก็สะท้อนนะครับว่าที่ จขกท. เขียนมา ก็มีความชัดเจนดีพออยู่แล้วล่ะ

ทั้งประเด็นและรายละเอียด พอที่หยิบมานี่แทบไม่ได้พิมพ์เสริมอะไรมากมายเลย นอกจากปรับคำซ้ำ กดเพิ่มบรรทัด แล้วหาคำเชื่อมประโยคนิดหน่อยเท่านั้นเอง


ถ้ายังสนุกและอยากท้าทายกับการเขียนแนวนี้ก็ลุยได้เลยครับ

ที่เหลือคือความมั่นใจและประสบการณ์ในการเลือกจุดนำเสนอและแต่งเกลาครับ

0
26 พ.ค. 62 เวลา 23:26 น. 2-3

ครับ ขอขอบคุณอย่างใหญ่หลวง

0
S3RS 26 พ.ค. 62 เวลา 23:27 น. 3

สิ่งที่ดีสำหรับมุมมองบุคลที่สามก็คือ คนเขียนสามารถควบคุมข้อมูลที่จะให้นักอ่านรู้ได้ เนื่องจากการเขียนแนวนี้ไม่ถูกจำกัดเพียงมุมมองของตัวละควรใดตัวละครหนึ่ง


มันมีมุมมองบุคคลที่สามอยู่ 2 แบบ(ตามการค้นคว้าของผม) *แก้ไข

1. ผู้บรรยายรู้เรื่องราวทุกอย่างที่เกิดขึ้น Omniscient

2.ผู้บรรยายรู้เพียงแค่สิ่งที่ตัวละครภายในเรื่องรู้ Limited


ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบมากมายหรอกครับ สิ่งที่ผมจะพูดก็คือ เราสามารถบังคับข้อมูลที่จะแสดงออกมาได้อย่างอิสระ


สิ่งสำคัญก็คือ ข้อมูล ครับ ย่อหน้าแต่ละบรรทัดบอกอะไรคนอ่าน? เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องอย่างไร? จำเป็นต้องเล่าละเอียดแบบนี้ไหม?


นี่เป็นประสบการณ์และคำแนะนำจากนักเขียนหน้าใหม่มือสมัครเล่นแบบผมที่พยายามเขียน 600 หน้าแล้วแต่ก็ยังเป็นนักเขียนกากๆเหมือนเดิม(ซ้ำเติมตัวเอง)

ผมแนะนำฝึกไปเรื่อยๆครับ จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง

0
จาฟาล 26 พ.ค. 62 เวลา 23:38 น. 4

ไม่รู้ว่าจะแนะนำไงดี แต่จากที่เรียนมา เราต้องรู้จัก ซัมเมอร์ไรซิ่ง หรือ การสรุปทุกอย่างในไม่กี่ประโยค สิ่งต้องครอบคลุมรายละเอียดที่เราจะใส่ลงไป ไม่เวิ่นเว้อเกินไป ไม่สั้นเกินไปนั่นเอง

0
yurinohanakotoba 27 พ.ค. 62 เวลา 01:41 น. 5

ต้องลำดับให้ถูกละครับว่าจะสื่อสารอะไรถึงคนอ่าน เลือกโฟกัสอะไร วางซีนและหาวิธีเชื่อมซีนให้เกิดเป็นซีเควนที่ลื่นไหล อย่างซีนแรกคือก้มหาผมหงอกที่อยู่หน้ากระจก ตัวละครมีความกังวล คุณก็ต้องทำความกังวลให้เด่นขึ้นมาในซีนนี้


"อา แย่ชะมัด"

เด็กหนุ่มส่งเสียงในลำคอขณะก้มศีรษะอยู่หน้ากระจกเงา เขาใช้มือสางเส้นผมแบ่งออกจนถึงหนังศีรษะ ผมสีดำขลับมีหลายเส้นเปลี่ยนสีเป็นหงอกขาว บางเส้นหงอกครึ่งเดียว บางเส้นกำลังเริ่มจากปลายผม เห็นชัดว่ามันกำลังเพิ่มขึ้น เขาเงยหน้าขึ้น ปัดผมจัดให้เป็นทรงเดิม ถ้ามันลุกลามขาวทั้งศีรษะจะทำอย่างไร จะว่าไปช่วงนี้ก็กินอิ่มนอนหลับ ถ้าจะกังวลก็เรื่องเจ็บป่วยเป็นโรคประหลาด ในขณะนั้นเขาก็มองเห็นความผิดปรกติบนใบหน้า มีรอยประหลาดบนแก้มเป็นลักษณะของเกร็ดงู เด็กหนุ่มรีบยกนิ้วมือขึ้นมาถูด้วยความตกใจ ไม่เจ็บไม่ปวด สัมผัสยังนุ่มลื่นอย่างผิวมนุษย์ เขาจ้องรูปสะท้อนบนกระจก มองดูดี ๆ จึงมองเห็นภาพบางอย่างซ้อนทับกับเงาของเขา มันเด่นชัดขึ้นจนเห็นเกล็ดสีขาวเผือกเคลื่อนที่อยู่หลังกระจก งูยักษ์ ! ไม่สิ ลำตัวใหญ่โตขนาดนี้เกล็ดขนาดนี้มีแต่ "มังกร" ไม่ทันสิ้นคำ เขาก็เห็นลำตัวของมันม้วนสะบัดและปรากฏส่วนศีรษะอยู่ตรงหน้า เป็นมังกรจีนสีขาวปลอด มีหนวดยาวและเขากิ่งไม้เหมือนถอดมาจากภาพพู่กัน เขามองมัน มันมองเขา เด็กหนุ่มหวาดกลัวจนไม่กล้าขยับหนี ดวงตาสีอำพันของมังกรเผือกเปล่งแสง ขับประกายสีทองสว่างไสว สาดทับทุกอย่างให้กลายเป็นสีขาวโพล ในนั้นเด็กหนุ่มได้พบกับชายคนหนึ่งยืนอยู่ เขาสูงโปร่ง โครงหน้ารูปไข่หล่อเหลา เครื่องหน้าคมเข้ม ทั้งตาจมูกปากเหมือนบรรจงสร้างจากฝีมือของช่างศิลป์ นุ้งห่มพันร่างกายด้วยอาภรณ์แสง ดวงตาเขาเป็นสีอำพันสว่างเหมือนมังกรเผือก แต่ไม่เกรี้ยวกราดเท่า เขามองเด็กหนุ่มอย่างอ่อนโยนก่อนคลี่ยิ้มบางออกมา เป็นรอยยิ้มของการจากลา


มั่ว ๆ ก็ประมาณนี้ อยากให้เห็นซีนที่ต้องวางมี 3 ซีน คืออยู่หน้ากระจกหาผมขาว พบมังกร พบผู้ชาย เราต้องนำ 3 ซีนมารวมเป็นซีเควน และที่สำคัญต้องทำให้มันลื่นไหล ต่อเนื่องเป็นผ้าผืนเดียวกัน นอกจากนั้นยังต้องมองให้ออกว่าอยากจะเสนออะไร และทำให้สิ่งที่ต้องการเสนอเด่นขึ้นมา อย่างที่ผมมั่วมาคือความกังวล การเผชิญหน้ากับสิ่งที่น่ากลัว ความมีบร๊ะลานุภาพ

0
ez_coffee11 27 พ.ค. 62 เวลา 14:41 น. 6

เราก็เป็นแรกๆก็เงี่ยแหละ เรื่องแรกๆของเราใช้มุมมองที่หนึ่งเยอะมากแบบว่าเยอะจนเรารู้สึกว่าไปอ่านเรื่องคนอื่นแล้ว เขาใช้มุมมองพระเจ้ากันมันดูโปรมากกว่า เพราะมุมมองที่หนึ่งจะออกแนวพูดคนเดียวมาก 5555 หลังจากนั้นเราก็ใช้มุมมองพระเจ้ามาตลอดเพราะเพื่อความไม่เผยไต๋ของตัวละครมากเกินไป 55 แต่คุณก็แต่งดีแล้วนะ สู้ๆ

0
27 พ.ค. 62 เวลา 17:20 น. 7

นิยายเรื่องแรกๆ ของผมก็เริ่มเขียนมาจากมุมมองบุคคลที่หนึ่ง (ตัวละคร) เหมือนกัน แต่เพราะมันบรรยายได้แคบไปหน่อย ไม่เหมาะกับนิยายที่ผมเขียน ที่เป็นแนวต่อสู้ กำลังภายใน แฟนตาซี เลยต้องเปลี่ยนมาเขียนแนวบุคคลที่สาม แม้จะไม่ถนัดเลย แต่เขียนแล้วก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ครับ จนปัจจุบันกลายเป็นแนวหลักไปแล้ว

เคล็ดลับตามฉบับของผม - สลัดวิญญาณของตัวละครในเรื่องออกจากร่างไปซะ แล้วสวมวิญญาณของพระเจ้าผู้บงการทุกอย่างแทน มองโลกจากมุมบน เลิกสนใจคำบ่นของตัวเอง (ตัวละคร) ใส่ได้แต่อย่าเยอะ

- คิดเสียว่านิยายเป็นหนังเรื่องหนึ่ง จะสื่ออย่างไรให้ผู้ชมเห็นภาพได้ตามที่เราคิด เรียงฉากให้เป็น คำบรรยายสำคัญที่สุด

- อ่านนิยายคนอื่น และจับจุดเด่น เคล็ดลับ ของคนอื่นมาใส่ไว้ในนิยายตัวเอง ใครจะรู้ บางทีมันอาจจะเปิดโลกใหม่ให้คุณก็ได้

- บทสนทนามีไว้เพื่อให้เนื้อเรื่องเดินต่อไปได้ ไม่ใช่ตัวดำเนินเรื่องอย่าสำคัญผิด

- บลาๆ

จริงๆ ก็มีอีกเยอะ แต่ผมนึกไม่ออกแล้ว ขอทิ้งไว้เพียงเท่านี้ก่อน หวังว่ามันจะเป็นประโยชน์กับเจ้าของกระทู้นะครับ


0