Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ในฉากการบรรยายที่มีตัวเลขควรใช้ตัวเลขหรือตัวหนังสือ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ทุกคนเคยสงสัยกันมั้ยคะว่าเวลาที่เราบรรยายเหตุการณ์อยู่นั้น เวลามีตัวเลขในฉากการบรรยายควรที่จะใช้ตัวเลข 1 2 3 หรือว่าตัวหนังสือที่เป็นหนึ่ง สอง สาม มากกว่ากัน
เช่น
เขาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่1 หรือ เขาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง
รถคันที่3 หรือ รถคันที่สาม
เธออยู่ถึงจากเขาไป 2 คน หรือ เธออยู่ถัดจากเขาไปสองคน

สำหรับตัวเรานั้นใช้ปนๆกันไปเลยค่ะ ฮ่า แบบอยากใช้ตัวเลขก็ใช้ตัวเลข คราวหน้านึกอยากจะใส่เป็นตัวหนังสือ ก็ใสเ็นตัวหนังสือ
แล้วเพื่อนๆนักเขียนทุกคนล่ะคะ ใช้ตัวเลขหรือตัวหนังสือกัน?

แสดงความคิดเห็น

>

15 ความคิดเห็น

ณริสา 七夕 18 ก.ย. 62 เวลา 22:50 น. 1

ปัจจุบันเราใช้เป็นคำ หนึ่ง สอง สาม สิบแปด ประมาณนี้ค่ะ แต่ถ้าเวลาเราก็ใช้เลขไทย แล้วแต่คนชอบด้วยมั้งคะ

3
18 ก.ย. 62 เวลา 22:52 น. 1-1

เรานี่ใช้ปนกันเลยค่ะ เพราะไม่รู้ว่าควรใช้แบบไหนดี ได้แต่ใช้ไปตามสถานการณ์555

0
ณริสา 七夕 18 ก.ย. 62 เวลา 22:54 น. 1-2

เห็นคุณมิรันเคยบอกว่าถ้าไม่ถึงสิบ ให้ใช้เป็นคำ แต่ถ้าเกินสิบอนุญาตเป็นตัวเลขได้ แต่ยังไงรอผู้รู้มาแนะนำอีกทีนะคะ เราก็มั่วเหมือนกันค่ะ ใช้ตามความชอบของตัวเองเลยฮ่า ๆ

0
ปล่อยอึ่ง 18 ก.ย. 62 เวลา 23:05 น. 3

มีคำลักษณะนาม ให้ใช้ตัวเลข เช่น ไก่ 1 ตัว (คำนาม + จำนวน + คำลักษณนาม)

ไม่มีคำลักษณะนาม ให้ใช้ตัวหนังสือ เช่น เขาทั้งสามจะไปไหน (คำนาม + จำนวน)


...


อันนี้คือที่คัดลอกมา


*** คำที่แสดงจำนวน ควรเขียนเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร

ไม่มีหลักเกณฑ์กำหนดตายตัวว่าเมื่อใดควรเขียนเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ขึ้นอยู่กับแต่ละวงการและผู้เขียนแต่ละคนนิยมใช้อย่างไร เช่น ทางกฎหมาย มักใช้ตัวหนังสือ วงการธุรกิจอาจเขียนตัวเลข แล้วมีตัวหนังสือกำกับ


แต่ในการจัดทำคำอธิบายหรือตรวจบรรณาธิกรบทความของราชบัณฑิตยสถาน โดยทั่วไปถ้ามีลักษณนามตามท้ายมักใช้ตัวเลข เช่น ไก่ ๒ ตัว ถ้าเขียนจำนวนตามหลังลำดับที่หรือคำที่แสดงลำดับที่ก็ใช้ตัวเลข เช่น กฎข้อที่ ๑


แต่ถ้าบอกว่า ทั้งสอง เราสอง ... โดยไม่มีลักษณนามตามท้ายก็จะใช้ตัวหนังสือ

ที่สำคัญคือ ถ้ากำหนดว่าจะใช้แบบใดก็ต้องใช้ให้เหมือนกัน (ผู้ตอบ : นัยนา วราอัศวปติ)


...


เอาลิงก์นี้ไปดูเลยดีกว่า

https://www.thaiboyslove.com/webboard/index.php?topic=11369.70;wap2

1
พ. แพทจอมโลเล : )) 18 ก.ย. 62 เวลา 23:27 น. 4

เราใช้ทั้งสองอย่างค่ะ

ส่วนใหญ่ถ้าเป็นตัวเลข จะใช้ตอนที่อยากให้คนอ่านเห็น "ชัดๆ" มากกว่า เพราะยังไงตัวเลขก็จำง่ายกว่าอยู่แล้วอะเนอะ

แต่อย่างหนึ่ง สอง สาม สี่ จะใช้รองลงมา อาจจะกรณีที่พิมพ์ตัวเลขเดิมๆ ซ้ำเยอะแล้ว หรือไม่ก็เป็นเนื้อหาที่ไม่ได้จำเป็นต้องรู้สำหรับเรามากค่ะ


ทั้งนี้เป็นสิ่งที่คิดเองเออเองล้วนๆ เลยนะคะ อย่าใส่ใจ 555

0
yurinohanakotoba 18 ก.ย. 62 เวลา 23:45 น. 5

แล้วแต่เห็นว่าเหมาะสม มาตรฐานของผมคือเขียนเป็นตัวหนังสือ แต่บางที่เห็นว่าตัวเลขดีกว่าก็ใช้ตัวเลข

0
Alex_อเล็กซ์ 19 ก.ย. 62 เวลา 00:46 น. 6

ของเรานะ

ถ้าอยู่ในบทพูดจะไม่ใช้ตัวเลข

"คนคนนั้นอายุยี่สิเก้าแล้วล่ะ ส่วนสูงก็คงจะซักร้อยแปดสิบได้มั้งนะ"


ถ้าเป็นตัวบรรยายจะใช้ตัวเลขแทนค่ะ อย่างเช่น

ชายคนหนึ่งอายุ 29 ปี สูงราว ๆ 180 ผิวสีแทนเล็กน้อย


แต่ก็มีบางจุดที่เป็นข้อยกเว้นที่จะใส่ตัวหนังสือลงไปแทนตัวเลขนะคะ มันก็ขึ้นอยู่กับที่วิธีของนักเขียนแต่ละคนด้วยว่าถนัดแบบไหนค่ะ


2
19 ก.ย. 62 เวลา 06:51 น. 8

หลักหน่วยหลักสิบเราใช้เขียนเอาอะ มากกว่าน้นใช้ตัวเลข ยกเว้นแบบเวลาเขียน “มีเป็นร้อย” “หมื่นสามพันกว่า ๆ” ใช้ตัวเลขน่าจะแปลก

0
Pungpron 19 ก.ย. 62 เวลา 07:49 น. 9

ป๋อยเป็นคนที่มีอาการ 2 จิต 2 ใจ ในวัน 1 เขาเดินกำแบงก์ 100 ไปยังตลาดนัดแถวบ้าน นึกลังเลอยู่นานว่าจะซื้อ ไก่ย่าง 5 ดาว หรือชาย 4 บะหมี่เกี๊ยวดี

3
Pungpron 19 ก.ย. 62 เวลา 10:13 น. 9-2

แค่ยกตัวอย่างการใช้ตัวเลขล่วน ๆ ครับ 5 ๆๆ

0
♣ M E E . R ♣ 19 ก.ย. 62 เวลา 09:02 น. 10

เราใช้ตัวอักษรหมดเลยค่ะ รู้สึกว่าเวลาอ่านแล้วมันสบายตาดี


ตัวอย่าง

ฉันเข็นกระเป๋าสัมภาระขนาดยี่สิบแปดนิ้วสองใบ ลงจากรถไฟสายยามาโตจิที่สถานี JR Osaka ก่อนจะรีบวิ่งไปต่อขบวนโคโนโตริที่ชานชาลาหมายเลขสี่ เพื่อเดินทางไปยังโฮสเทลเล็กๆ ริมทะเลอันเงียบสงบแห่งเมืองโทโยโอกะ


ฉันเข็นกระเป๋าสัมภาระขนาด 28 นิ้ว 2 ใบ ลงจากรถไฟสายยามาโตจิที่สถานี JR Osaka ก่อนจะรีบวิ่งไปต่อขบวนโคโนโตริที่ชานชาลาหมายเลขสี่ เพื่อเดินทางไปยังโฮสเทลเล็กๆ ริมทะเลอันเงียบสงบแห่งเมืองโทโยโอกะ


หากเขียนแบบล่าง เรารู้สึกว่าเวลามองผ่านแล้วมันสะดุด

4
♣ M E E . R ♣ 19 ก.ย. 62 เวลา 09:29 น. 10-2

สะดุดเหมือนกันค่ะ แต่พิมพ์ เจอาร์โอซาก้า มันยาวเกินไป พอนำไปจัดหน้าใน Indesign มันกลายเป็น เจอาร์โอซา - ก้า (ตััว ก้า มันลงไปอยู่อีกบรรทัด เลยแก้ปัญหาเป็นเขียนภาษาอังกฤษเลย พยายามมองข้ามอยู่เหมือนกัน 555)


อีกอย่างมันเป็นชื่อสถานีรถไฟด้วย คิดว่าเขียน JR Osaka ไปเลยจะเข้าใจง่ายกว่า

0
ปล่อยอึ่ง 19 ก.ย. 62 เวลา 10:12 น. 10-3

กำลังจะท้วงเลยว่า JR Osaka ก็สะดุดเหมือนกัน จริงๆ มันต้องใช้ภาษาไทย ขนาด โฮเท็ล ก็ยังเขียนเลย

0
white cane 19 ก.ย. 62 เวลา 09:08 น. 11

ผมใช้ตัวหนังสือตลอดครับ เว้นแต่เป็นวันเดือนปีและหมายเลขเบอร์โทรศัพท์ถึงจะใช้ตัวเลข

0
เจ้า(แมว)ขาว 19 ก.ย. 62 เวลา 10:47 น. 12

ถ้าเป็นในนิยายไม่ใช่หนังสือสารคดีให้ความรู้หรือหนังสืออ้างอิง ผมคิดว่าควรใช้ตัวอักษร

ภาษาไทยเป็นปกติ เว้นแต่เป็นตัวเลขที่มีหลักมาก มีจุดทศนิยม หรือมีความซับซ้อนมาก

ถึงจะใช้ตัวเลขเพื่อให้อ่านแล้วรับรู้ได้ง่ายกว่า


อีกกรณีหนึ่งคือการใช้แทนสิ่งที่เห็น

เช่น เธอเห็นป้ายทะเบียนรถคันนั้น 'กข 132'

เขาเดินตรงไปจนไปเจอบ้านหลังหนึ่งที่มีเลขที่ 328/11

0
winnie_377 19 ก.ย. 62 เวลา 11:01 น. 13

ถ้าหากอิงตามความชอบ เราชอบนิยายที่บรรยายตัวเลขเป็นตัวหนังสือค่ะ สำหรับเรามันดูสวยดีแล้วเวลาอ่านมันจะไม่ทำให้สะดุดด้วย

0
Luxferre13 19 ก.ย. 62 เวลา 20:07 น. 14

ที่ผมเขียนทั้งหมดเป็นตัวหนังสือนะ เพราะเคยให้อาจารย์อ่านแล้วเขาบอกต้องเขียนเป็นตัวนส ยกเว้นเลขเยอะๆ


0
Eliche 21 ก.ย. 62 เวลา 07:51 น. 15

ใช้สองแบบ

บางครั้งต้องการให้คนอ่านเห็นชัดถึงความแตกต่างของตัวเลขจากตามอง

0