Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การเขียนนิยายแนวพีเรียด นอกจากการเขียนนิยายทั่วไปแล้ว จะต้องเขียนเหตุการณ์และเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ลงไปด้วยไหม?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีครับ วันนี้ผมมีข้อสงสัยว่า การเขียนนิยายพีเรียดหรืออิงประวัติศาสตร์นะครับ คือนอกจากการเขียนจะวิธีเดียวกันกับนิยายทั่วไปแล้ว นอกจากนี้นอกจากการเขียนพรรณนาต่างๆ และบทสนทนาระหว่างตัวละครกับตัวละครกันนะครับ แล้วเราจะต้องเขียนเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์มันต้องไปด้วยไหมครับ ขอบคุณครับ

อันนี้ผมขอยกตัวอย่างว่า

แม่ของกานท์เอามือบิดวิทยุกลับ เพื่อปิดวิทยุทันที แล้วถอนลมหายใจออกมาอย่างแผ่วเบา ทันใดนั้นน้ำตาแม่ของกานท์ไหลออกมาถึงแก้ม ทันทีที่เธอกับกานท์นั้นได้เข้าไปเก็บจานและล้างจานเสร็จเรียบร้อยแล้ว กานท์เดินออกจากห้องครัวมาพร้อมกับมาลาวัลย์ กานท์เห็นแม่นั่งร้องไห้ สีหน้าของกานท์จึงสะดุ้งตกใจขึ้นมา แล้วรีบเดินไปที่แม่ทันที คลุกเข่าลงบนพื้น จับที่ฝ่ามือบนตักของแม่ โดยเอ่ยน้ำเสียงแผ่วเบาว่า
                “แม่เป็นไรคะ ร้องไห้ทำไม?”
                “ไม่อะไรจ๊ะลูก แม่คงเครียดมากไปหน่อย” แม่ของกานท์เอาผ้าซับน้ำตา “แม่ไม่เป็นไรอะไรแล้ว”
                “โธ่แม่คะ ทำไมไม่เป็นอะไรได้อย่างไรกันคะแม่ เหมือนใจคอไม่ดีเลย บอกลูกมาได้ไหมคะแม่”
                แม่ของกานท์ถอนใจ “ถ้าแม่บอกลูกแล้ว ลูกจะเป็นเหมือนแม่ไหม”
                กานท์ส่ายหัว “ไม่เป็นเลยคะแม่ ต่อให้มีเรื่องคอขาดบาดตายก็ตาม ต่อให้ลางดีหรือไม่ดี ฉันพร้อมรับฟังเสมอคะ”
                “ฟังนะ ตอนนี้ที่ยุโรปเพิ่งจะจบสงครามไปไม่นาน แต่ดันมาเกิดอีกแล้ว คราวนี้เยอรมันเริ่มกลับมาทำสงครามอีกครั้ง โดยในปีที่แล้ว เมื่อเดือนกันยายนเศษๆ เข้ายึดโปแลนด์ก่อน และมาอีกทีปีนี้ด้วยสิ ตามมาอีกเมื่อสองสามเดือนที่แล้ว เพิ่งจะยึดเดนมาร์กและนอร์เวย์ได้ไม่นาน เดือนที่แล้วก็เข้ารุกฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และดัชต์[1] ณ ตอนนี้เองเข้าบุกทางตอนเหนือฝรั่งเศส กองทัพอังกฤษที่รักษาการณ์ฝรั่งเศสเองจำต้องถอยหนีมายังประเทศอังกฤษเลย ตอนนี้ใจคอไม่ดีจริงๆ ไม่รู้ว่าจะเข้ามาถึงเมืองไทยรู้เปล่าก็ไม่รู้”
                “คุณแม่” กานท์นำมือสัมผัสที่ไหล่อย่างแผ่วเบา “ทางรัฐบาลประกาศวางตัวเป็นกลางรับรอง พวกนั้นไม่มีทางข้ามทะเล ข้ามอากาศมายังเมืองไทยได้หรอกคะ”
                “มันไม่ใช่แค่เยอรมันอย่างเดียวนะลูก นี่ญี่ปุ่นก็อีก จริงๆ แล้วญี่ปุ่นก็บุกจีนมาก่อนที่เยอรมันจะบุกก่อนอีก แล้วตอนนี้ยังไม่มีวี่แววว่าสงครามในจีน ไม่มีทีท่าจะแพ้หรือชนะ เห็นญี่ปุ่นรุกเข้าจีนเรื่อยๆ แม่ว่าอาจจะมาถึงไทยเป็นแน่นอนเลย” น้ำตาแม่ของกานท์ไหลมาถึงแก้มอีกครั้ง “แล้วในหลวงยังทรงศึกษาอยู่ในยุโรป ที่สวิสเซอร์แลนด์ ป่านนี้เยอรมันคงบุกไปแล้ว อาจจะไม่รอดเป็นแน่ แม่เองยังเป็นห่วงพระองค์ท่านอยู่เลย”
                “สวิสเซอร์แลนด์ ลูกไม่ยินข่าวว่าเยอรมันบุกไปนี่คะแม่ จริงๆ สวิสเซอร์แลนด์วางตัวเป็นกลางมานานแล้ว สงครามครั้งที่แล้ว ไม่เห็นว่าเยอรมันจะบุกสวิสเลยนี่คะแม่ สบายใจได้เถอะคะ ประเทศที่มีภูเขาหิมะ เยอรมันคงไม่กล้าบุกหรอกคะแม่”
                “งั้นเหรอลูก” สีหน้าแม่ของกานท์เริ่มมีรอยยิ้มขึ้นมา
                “ใช่คะแม่ รับรองว่าพระองค์ท่านทรงปลอดภัยดี”
                ขณะที่เธอยืนอยู่ห่างๆ ในขณะที่กานท์กับแม่กำลังพูดคุยและวิตกกังวลถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่นี้ เหมือนสีหน้าของมาลาวัลย์นั้นเริ่มไม่สบายใจขึ้นมาทันที ด้วยตระหนักว่า สถานการณ์ในกำลังเกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ มาตั้งแต่เดือนกันยายน ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ กองทัพเยอรมันก็ทำการรุกรานโปแลนด์ กระทั่งในเดือนเมษายน ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ กองทัพเยอรมันรุกเข้าไปในเดนมาร์กและนอร์เวย์ ต่อมาเดือนพฤษภาคม กองทัพเยอรมันก็บุกเข้าฝรั่งเศส ตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยม นอกจากสถานการณ์ในยุโรปที่กำลังขึ้นในขณะนี้แล้ว สถานการณ์ในเอเชียก็เช่นเดียวกันกับยุโรป ด้วยที่ญี่ปุ่นนั้นได้เดินรุกเกมเช่นเดียวกันกับเยอรมัน ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ ญี่ปุ่นเริ่มรุกรานจีนอย่างเต็มตัว และสถานการณ์ในจีนขณะนี้ยังไม่มีทีท่าว่าสงครามจะยุติแต่อย่างใด ซึ่งเช่นเดียวกันในยุโรป

เนื้อหาของนิยายที่ผมเขียนจะประมาณนี้ เขียนแบบนี้ได้ไหมครับ ขอบคุณครับ
 
[1] เนเธอร์แลนด์

แสดงความคิดเห็น

>

11 ความคิดเห็น

BackHand 8 ธ.ค. 62 เวลา 19:57 น. 1

ต้องถามว่ากานต์กับแม่นี่เป็นใครครับ ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดาแล้วคุยกันลึกขนาดนี้ ดูไม่เป็นธรรมชาติเท่าไหร่

10
BackHand 8 ธ.ค. 62 เวลา 20:02 น. 1-2

เอ่อ...ผมหมายถึงกานต์กับแม่นี่มีฐานะอะไรในสังคมครับ ทำไมถึงคุยกันเรื่องสงครามโลกละเอียดถึงขนาดนั้น และทำไมต้องอินจัดกระทั่งน้ำหูน้ำตาไหล


คือจะสื่อว่า ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดา มันดูผิดธรรมชาติมากครับ

0
Supakit2544 8 ธ.ค. 62 เวลา 20:04 น. 1-3

ครับ เป็นชาวบ้านธรรมดาครับ ถ้าจะให้ลบงั้นขอลบแล้วกันนะครับ

0
Supakit2544 8 ธ.ค. 62 เวลา 20:10 น. 1-4

คือแบบว่าไม่ให้มันอินจนหูน้ำตาไหลมากเกินไปใช่ไหมครับ

0
BackHand 8 ธ.ค. 62 เวลา 20:14 น. 1-5

ไม่ได้ขอให้ลบครับ แต่อยากให้เจ้าของกระทู้พิจารณาถึงความสมจริงนิดหนึ่ง


คือลองแทนตัวเองเข้าไปเป็นชาวบ้านสมัยนั้นดูครับ แล้วลองคิดว่าถ้าเราเป็นแค่ชาวบ้านธรรมดา เราจะอินกับข่าวนี้ถึงขนาดนั้นไหม


ถ้าสำหรับผม ผมมองว่าชาวบ้านคุยเรื่องสงครามโลกได้ แต่ไม่น่าจะคุยกันละเอียดถึงขนาดนี้ และไม่น่าจะอินถึงขั้นร้องไห้ อย่างมากก็แค่ถอนหายใจกลัดกลุ้มอะไรแค่นี้ก็พอ

0
Supakit2544 8 ธ.ค. 62 เวลา 20:18 น. 1-6

เออ ครับ แต่ถ้าจะให้พูดคุยสงครามโลกนะได้ แต่มันไม่ต้องละเอียดว่าเยอรมันต้องยึดที่ไหนอย่างไร และขอประมาณนี้ได้ครับว่า


"เยอรมันเข้าบุกฝรั่งเศสแล้ว ตอนนี้กำลังรุกคืบเข้าไปในดันเคิร์ก"


ประมาณนี้จะได้ไหมครับ ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำ

0
BackHand 8 ธ.ค. 62 เวลา 20:27 น. 1-7

ชาวบ้านธรรมดาสมัยนั้น รู้จักดันเคิร์กด้วย? ขนาดคนยุคปัจจุบัน ต่อให้มีหนังของโนแลนแล้วก็เถอะ ลองไปถามแถวข้างถนนดูครับว่ารู้จักดันเคิร์กซักกี่คน


ผมมองว่าคุณเขียนบทสนทนาไม่ค่อยเป็นธรรมชาติอ่ะนะ คือชาวบ้านน่าจะคุยกันแบบเข้าใจง่ายๆ นี่คุยกันยังกับเสนาธิการทหารก็ไม่ปาน


ถ้าคุณอยากใส่เกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ ย่อหน้าสุดท้ายน่ะทำได้ค่อนข้างโอเคแล้วครับ

0
Supakit2544 8 ธ.ค. 62 เวลา 20:29 น. 1-8

เออ ครับผมขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ เอาเป็นแค่ยุโรปพอนะครับ

0
BackHand 8 ธ.ค. 62 เวลา 20:37 น. 1-9
0
มู่เหลียน 8 ธ.ค. 62 เวลา 20:06 น. 3

ถามว่าจำเป็นไหม จำเป็น แต่ก็ต้องคัดเอาแค่ส่วนที่คนอ่านจำเป็นต้องรู้

แล้วก็พยายามดูไม่ให้มันประดักประเดิด กับตัวละครนั้น ๆ

วิธีใส่มีหลายวิธีตั้งแต่จับยัดหรือหยอด ๆ นิดหน่อย จนได้ภาพใหญ่


อย่างในตัวอย่าง ถ้าบอกในบทสนทนาแล้ว ย่อหน้าสุดท้ายก็ไม่จำเป็น

1
Supakit2544 8 ธ.ค. 62 เวลา 20:12 น. 3-1

หมายถึงอันนี้เหรอครับ?


ขณะที่เธอยืนอยู่ห่างๆ ในขณะที่กานท์กับแม่กำลังพูดคุยและวิตกกังวลถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่นี้ เหมือนสีหน้าของมาลาวัลย์นั้นเริ่มไม่สบายใจขึ้นมาทันที ด้วยตระหนักว่า สถานการณ์ในกำลังเกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ มาตั้งแต่เดือนกันยายน ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ กองทัพเยอรมันก็ทำการรุกรานโปแลนด์ กระทั่งในเดือนเมษายน ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ กองทัพเยอรมันรุกเข้าไปในเดนมาร์กและนอร์เวย์ ต่อมาเดือนพฤษภาคม กองทัพเยอรมันก็บุกเข้าฝรั่งเศส ตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยม นอกจากสถานการณ์ในยุโรปที่กำลังขึ้นในขณะนี้แล้วสถานการณ์ในเอเชียก็เช่นเดียวกันกับยุโรป ด้วยที่ญี่ปุ่นนั้นได้เดินรุกเกมเช่นเดียวกันกับเยอรมัน ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ ญี่ปุ่นเริ่มรุกรานจีนอย่างเต็มตัว และสถานการณ์ในจีนขณะนี้ยังไม่มีทีท่าว่าสงครามจะยุติแต่อย่างใด ซึ่งเช่นเดียวกันในยุโรป


ที่จะต้องตัดออกไปนะครับ

0
Supakit2544 8 ธ.ค. 62 เวลา 20:20 น. 4-1

ครับ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะครับ คือของผมเริ่มเรื่องแรกๆ มาตอนที่นางเอกเข้ามาเรียนในกรุงเทพนะครับ คือนิยายที่ผมเขียนเป็นแนวพีเรียดในช่วงเมืองไทยก่อนสงครามโลกและในสงครามโลกครับ

0
Rabbyz48 8 ธ.ค. 62 เวลา 20:29 น. 5

ผมว่าบทสนทนามันซีเรียสไปหน่อยนะครับ แลดูจริงจังยังไงไม่รู้ ชาวบ้านธรรมดาไม่น่าจะมา

นั่งกังวลเรื่องสงครามที่เกิดขึ้นนอกประเทศขนาดนี้ ยิ่งประเทศแถบทางยุโรป มันดูไกลตัว

ไปอีก ผมก็ไม่รู้ว่าวิทยุสมัยก่อนรายงานสถานการณ์ข้ามโลกแบบนี้ด้วยหรือเปล่านะครับ

แค่พูดตามความรู้สึกนะ

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/yy-10.png

0
ปล่อยอึ่ง 8 ธ.ค. 62 เวลา 21:00 น. 6

ทำเป็นของแถมเล็กๆ น้อยๆ ท้ายตอนจะดีกว่าครับ เหมือนกับที่คุณทำไว้ในบรรทัดสุดท้ายนั่นแหละ ทั้งข้อมูลเพิ่มเติม หรืออธิบายเพื่อความเข้าใจ อะไรได้ไม่ได้ก็ให้ดูว่ามันเกี่ยวกับเส้นเรื่องมั้ยแทน

1
Eliche 8 ธ.ค. 62 เวลา 21:22 น. 7

บิดวิทยุกลับ เพื่อปิดวิทยุทันที


อันนี้เราไม่แน่ใจนะ

วิทยุสมัยนั้นปุ่มเปิดปิด กับปุ่มเปิดเสียง เป็นปุ่มเดียวกันไหม

เพราะเหมือนเคยเห็น ว่า

วิทยุรุ่นเก่าๆ ต้องกดปุ่มเปิดปิดซึ่งจะวอร์มหลอดก่อนติด


ปุ่มเปิดปิดเสียงกับ เปิดปิดเครื่องอยู่ด้วยกัน ฟังเหมือนน่าจะเป็นรุ่นหลังๆมาแล้ว

0
.+*Vanessa*+. 8 ธ.ค. 62 เวลา 22:48 น. 8

เราว่าในตัวอย่างบทสนทนาระหว่างแม่ลูกไม่ดูเป็นชาวบ้านเท่าไหร่ คืองี้คนทั่วไปในสมัยร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 มักจะทราบข่าวจากวิทยุเป็นหลักหรือการส่งข่าวบอกต่อกัน โทรศัพท์อาจจะสำหรับครอบครัวที่มีเงินขึ้นมาหน่อย ดังนั้นเนื้อความที่จะมาถึงคุณแม่และลูกเนี่ย จะมาในแนวห้วนๆ สั้นๆ และดูไกลตัวเอามากๆ แต่กับชนชั้นปัญญาชนจะเริ่มมีเนื้อความที่ละเอียดและมีการวิเคราะห์มากขึ้น


เรื่องราวมันจะเริ่มใกล้ตัวก็ตอนมันเริ่มมีญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านประเทศ ซึ่งก็คือสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเราไม่มีบทบาทอะไรเลย สิ่งที่ควรแทรกคือข้อเท็จจริงที่ข้องเกี่ยวกับแม่ลูกคู่นี้ในด้านความเป็นอยู่ อาหาร ไฟฟ้า (ถ้ามีใช้) เครื่องอุปโภคบริโภค การคมนาคม คือดูจากที่ตอบเม้นต์อื่นๆ ดูเหมือนเรื่องสงครามเนี่ยเป็นแค่พื้นหลังของเรื่อง เราไม่ต้องพยายามมาเล่าทุกอย่างก็ได้ มันจะทำให้น่าเบื่อ และยิ่งมาสาธยายยาวๆ ขัดช่วงอารมณ์ ใจความมันถูกตัด ก็เลือกเอาว่าจะเขียนนิยายหรือสารคดีค่ะ


ขนาดก๋งเราไปรบในสงคราม ก๋งยังไม่มาเล่าละเอียดด้วยภาษาเหมือนสำนักข่าวบีบีซีอย่างแม่ของกานท์เลยค่ะ 555


ทางที่ดีแนะอีกอย่างค่ะ เช็คคำผิดในงานเสียหน่อย มันจะทำให้เนื้องานดูดีขึ้นค่ะ

2

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

จำปาลาว ชนิตร์นันท์ 9 ธ.ค. 62 เวลา 12:59 น. 9

เรื่องราวทางประวัติศาสตร์สำคัญค่ะ แต่คุณต้องย่อยให้เป็นนิยาย


ในเรื่องกานท์กับแม่ ถ้าสองแม่ลูกคุยกัน ภาษาควรจะกันเอง ความไม่สบายใจของแม่ควรจะบอกเล่าผ่านความรู้สึกด้วยไม่ใช่มาจากคำพูดเพียงอย่างเดียว


และบทสนทนาเรื่องสงคราม ในยุคนั้นแม่จะรับรู้เรื่องราวได้ละเอียดขนาดนั้นเลยเหรอ ถ้าเป็นรุ่นปู่ย่าเรา คงเป็นแค่ความห่วงใยต่อพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงอยู่ต่างประเทศหรือเปล่า หรือหากเป็นคนในกรุงเทพฯ แล้วเห็นคนต่างชาติมาป้วนเปี้ยนในไทย ก็อาจเป็นความวิตกว่าพวกเขาจะเข้ามายึดครองบ้านเมืองเราไหม แม่ไม่น่าจะพูดกับลูกได้เป๊ะๆ แบบนี้ อันนี้มันเป็นบทสรุปจากสงครามที่เราได้เรียนรู้ในยุคนี้นะ


แต่หากขยายสิ่งที่แม่ลูกคุยกันได้คนอ่านเข้าใจ คุณก็ขยายไว้ในความคิดของมาลาวัลย์แล้ว


ต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำที่คนไทยใช้เรียกประเทศต่างๆ ด้วยนะ ชาวบ้านเรียกแบบไหน ข้าราชการเรียกแบบไหน เช่น ชาวบ้านเรียก ญี่ปุ่นว่า 'ยุ่นปี่' ข้าราชการอาจไม่กล้าเรียกคำผวน เรียกเต็มคำว่า 'ญี่ปุ่น'


แต่ๆๆๆ ถ้าไม่ได้สำคัญกับเส้นเรื่อง เนื้อเรื่องที่ต้องเอ่ยถึงอีก ก็ไม่ต้องบรรยายเยอะก็ได้นะคะ นักอ่านจะอ่านข้ามมากกว่าค่ะ นิยายเราจะกลายเป็นไม่น่าสนใจ

0
ROSE TEA 9 ธ.ค. 62 เวลา 22:24 น. 10

ถ้าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นั้นๆ มันไม่จำเป็นสำหรับการดำเนินเรื่องก็ไม่ต้องเอามาก็ได้ค่ะ เหมือนเราเอาแค่ฉาก บรรยากาศ ขนบธรรมเนียมในสมัยนั้นมาเฉยๆ ส่วนตัวอย่างที่ยกมาก็ตามที่ท่านอื่นๆ ให้คำแนะนำเลยค่ะ

0
ศศิวิมาน 17 เม.ย. 63 เวลา 22:55 น. 11

อยากให้จำว่าเรากำลังเขียนนิยาย ไม่ใช่ตีพิมพ์บทความสารคดีประวัติศาสตร์ เราไม่จำเป็นต้องยัดทุกอย่างที่รู้ใส่ตัวละคร ค่อยๆให้เขาเผยออกมาทีละนิดอย่างเป็นธรรมชาติ


ลองเอาตัวเราไปแทนตัวละครนั้น ปิดกั้นความรู้ที่เรามีออกไปแล้วแทนด้วยสภาพแวดล้อมที่ตัวละครเจอ ถ้าเป็นชาวบ้านในยุคนั้นจะมีโอกาสน้อยมากที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ขนาดครอบครัวทหารตำรวจยังรู้กันแค่ผิวเผิน ค่อยๆ ปรับแก้ไปนะคะ

0