Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เพื่อนๆ บรรยายความคิดในหัวของตัวละครกันยังไงเหรอครับ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

คือถ้าผมใช้วิธีการบรรยายแบบสรรพนามบุรุษที่ 3 


ผมควรจะบรรยายความรู้สึกของตัวละคร หรือใช้เครื่องหมายอะไรที่จะทำให้นักอ่านรู้ว่าประโยคที่ผมกำลังบรรยายอยู่นี้ คือความในใจของตัวละครดีครับ?

แสดงความคิดเห็น

>

11 ความคิดเห็น

yurinohanakotoba 19 ก.ย. 65 เวลา 20:42 น. 3

ใช้ pov3 ก็เขียนบอกไปเลย

สมชายคิดว่าอาหารจานนี้แย่ที่สุด แย่จนเขาต้องเหลือบตาไปดูสีหน้าของคู่เดตขณะรับประทานอาหาร

0
white cane 19 ก.ย. 65 เวลา 20:56 น. 4

ถ้าไม่ใช่บทพูดในใจ ก็เขียนไปตามปกตินั่นแหละครับ 


ตัวอย่างเช่นว่า... วันนั้นที่เขาเดินผ่านหน้าร้านสะดวกซื้อ สังเกตุเห็นขอทานคนหนึ่ง ก็คิดในใจว่าทำไมมานั่งขอทานแบบนี้ ทั้งที่ร่างกายก็ครบ แต่ตอนนี้เขาก็ได้รู้คำตอบแล้วเมื่อดูข่าวที่ออกมาแฉว่าขอทานคนนี้มีรายได้วันละเกือบแสนบาท


แต่ถ้าเจ้าของกระทู้หมายถึงใช้สัญลักษณ์อะไรเพื่อเป็นบทพูดในใจ ของผมส่วนใหญ่จะใช้อัญประกาศเดี่ยว 


ตัวอย่างเช่นว่า.... "วันนี้เธอแต่งตัวสวยจังเลย" ฉันชื่นชมเพื่อนสนิท แต่ในใจตรงข้าม 'ตกลงนี่มันแต่งตัวจะไปเป็นขอทานหรือไง'


หรือไม่ก็ใช้สัญลักษณ์อะไรอื่น ไม่ว่าจะเป็นตัวเอียง ตัวหนา เป็นต้น

0
A.L. Lee 19 ก.ย. 65 เวลา 20:59 น. 5

บรรยายความรู้สึก เขียนตามปกติได้เลยค่ะ ส่วนบทพูดในใจ เราไม่ได้ใช้อะไรเลยค่ะ แต่จะเว้นให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ แยกความคิดออกจากบทบรรยายเอา บางทีอาจจะใช้ ... นำหน้า


https://image.dek-d.com/27/0124/4448/133087976 https://image.dek-d.com/27/0124/4448/133087947 https://image.dek-d.com/27/0124/4448/133087946



บางสำนักพิมพ์ ก็จะใช้ความคิดในใจของตัวละครเป็นตัวเอียงค่ะ

0
OwlDuke 19 ก.ย. 65 เวลา 22:59 น. 6

ผมก็เห็นว่ามีหลายวิธีมากนะ แต่ละเรื่องก็ใช้ไม่เหมือนกัน บางเรื่องก็ใช้ฟันหนู บ้างก็ตัวหนา บ้างก็ตัวเอียง...แต่สิ่งสำคัญคือ ถ้าใช้วิธีไหนไปแล้ว ก็ต้องใช้วิธีเดิมตลอด คนอ่านจะได้ไม่งง ถ้าไม่มั่นใจก็เขียนกำกับลงไปด้วยก็ได้ครับว่าตัวละครคิด

...ส่วนของผม ตัวเอกคิดในใจบ่อยอยู่แล้ว แถมเดินเรื่องผ่านตัวเอกด้วย ผมจึงใช้ [] แทนครับ

0
ซงลี่ 19 ก.ย. 65 เวลา 23:38 น. 7

การเล่ามุมมองบุคคลที่ 3 ไม่สามารถอ่านความคิดของตัวละครใดๆแม้แต่นิดเดียว ผู้เขียนอาศัยดูการกระทำหรือภาษากายของตัวละครแทน เพราะว่า ลักษณะการเล่าเรื่องผ่านมุมมองบุคคลที่ 3 คือผู้เขียนรู้ว่าเกิดอะไรกับตัวละครในที่เกิดเหตุ แต่ตัวเองไม่ใช่บุคคลในที่เกิดเหตุ


เพื่อนึกภาพออก เพื่อนพระเอกทำหน้านิ่งยิ้มแย้มแจ่มใส แล้วพูดด้วยสุขุมรักษาบรรยากาศภายในห้องประชุม แต่มือข้างขวาที่ถนัดกลับสั่นกำหมัดจนสมาร์ทโฟนแตกหักคามือแล้วเลือดออกติ้งๆ แค่นี้ก็เดาได้แล้วว่า เพื่อนพระเอกต้องการจะสื่ออะไรโดยไม่ต้องแสดงความคิดในหัวหรือพูดทางปากเลย วิธีนี้เรียกว่า Show, Do Not Tell พูดเสียงดังก็จริง แต่การกระทำชัดเจนกว่าคำพูด


อยากให้คนอ่านรู้ว่าตัวละครคิดอะไรผ่านมุมมองบุคคลที่ 3 ใช้ภาษากายดีที่สุด เพราะชีวิตจริงยังมีบางคนปากไม่ตรงกับใจด้วยนี่สิ

11
yurinohanakotoba 19 ก.ย. 65 เวลา 23:46 น. 7-1

ทำไมอ่านใจไม่ได้ล่ะครับถ้าผมให้มนุษย์มีพลังจิตเป็นบุคคลที่สามมาเล่าเรื่อง หรือให้พระเจ้าที่มองเห็นความคิดตัวละคล มองเห็นกระทั้งอดีตและอนาคตมาเป็นบุคคลที่สามเพื่อเล่าเรื่องก็ได้ไม่ใช่หรือครับ

หรืออย่างน้อยให้ตัวเอกเป็นบุคคลที่สามเล่าเรื่องราวของตัวเองเขาในอดีต เขาก็ต้องรู้ว่าตัวเองคิดอย่างไรในขณะนั้น


บุคคลที่สามต้องเป็นแบบไหนในความคิดของคุณเหรอครับ?

อันนี้แค่อยากแลกเปลี่ยนกันนะ

0
~Little Witch~ 20 ก.ย. 65 เวลา 00:33 น. 7-2

พอเริ่มอ่านตามที่เจ้าของเมนต์ว่าแล้ว เรากลับเริ่มเห็นด้วยค่ะ คือปกติแล้วถ้าเป็นมุมมองของบุคคลที่ 3 เราต้องเปลี่ยน Mind Set ว่า จริง ๆ แล้วคือ เราไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เขาคิดอยู่เลย สามารถอธิบายได้แค่การกระทำของตัวละครตามสิ่งที่เห็นผ่านแววตาเท่านั้น



อย่างตอนเราอ่านนิยายแปล หลาย ๆ เรื่องที่มีการดำเนินเรื่องแบบบุคคลที่ 3 ทั้งหมด (ทั้งหมดในที่นี้ คือ ทั้งหมดจริง ๆ นะคะ แบบว่าไม่ได้มีมุมมองของบุคคลที่ 1 โผล่มาให้เห็นเลย) ยกตัวอย่างเช่นเรื่อง 'น้องโล่สายแทงก์ แกร่งเกินร้อย' ของสำนักพิมพ์นกย่าง

คือในเรื่องจะไม่มีการเผยความคิดของตัวละครออกมาให้เห็นเลยค่ะ จะบรรยายแค่ว่าใคร ทำอะไร ยังไงแค่นั้น



และการเรียกตัวละครก็จะเรียกด้วย 'ชื่อ' ไปเลย



เราเลยคิดว่า ถ้าเป็นนิยายที่ใช้การบรรยายแบบบุคคลที่ 3 ล้วน ๆ ไม่น่าจะสามารถล่วงรู้ความคิดของตัวละครได้ค่ะ

0
ซงลี่ 20 ก.ย. 65 เวลา 00:45 น. 7-3

มุมมองบุคคลที่ 3 มีอยู่ 2 ประเภทย่อยคือ

1.มุมมองบุคคลที่ 3 แบบจำกัด ซึ่งผมพูดข้างต้นไปแล้ว

2.มุมมองบุคคลที่ 3 แบบพระเจ้า


เหตุผลไม่เลือกแบบพระเจ้า เพราะว่าผู้แต่งที่นิยมเขียนมุมมองบุคคลที่ 3 ส่วนมากจะแต่งแบบจำกัด โดยเฉพาะสิ่งที่ไม่ควรสปอยแก่คนอ่านล่วงหน้า บางทีรู้มากไปไม่ได้ช่วยเพิ่มความสนุกแก่คนอ่าน และผู้อ่านบางคนไม่ชอบเนื้อเรื่องยืดจนน้ำล้นแก้ว ขอแค่จับใจความพอสรุปได้พอแล้ว


แต่ถ้าอยากจะเล่าความคิดของตัวละครจนเข้าใจแรงจูงใจแท้จริงหรืออารมณ์ความรู้สึก สู้เล่าเรื่องบุคคลที่ 1 ดีกว่า อย่างเล่าผ่านมุมมองของนางเอก บทบรรยายเป็นตัวแทนของความคิดหรือความรู้สึกของนางเอก เพราะเล่าสิ่งที่เธอกำลังเผชิญด้วยตัวเอง บทพูดคือตัวแทนของคำพูดจากปากต่างหาก ส่วนตัวละครอื่น นางเอกต้องอาศัยการตีความจากฟังคำพูดหรือเสียงรอบตัว หรือดูการกระทำอีกฝ่ายแทน ไม่ใช่ทุกคนจะมีพลังจิตอ่านใจได้หรอก

0
yurinohanakotoba 20 ก.ย. 65 เวลา 01:42 น. 7-4

ไม่เคยเจอตำราเล่มไหนบอกอย่างที่คุณเขียนเลยครับ

แม้แต่ Third-person limited point of view ก็มีความหมายว่า เล่าเรื่อง จำกัดมุมมองผ่านตัวละครเดียว และสามารถรู้จิตใจของตัวละครนั้น ๆ ได้


Third-person omniscient point of view ก็มีความหมายว่า เล่าเรื่อง ผ่านมุมมองหลายตัวละคร และสามารถรู้ภายในจิตใจของตัวละคร ได้



ที่ผมรู้สึกกังวลคงเพราะ มันเป็น"ความเห็น"ของคุณ และความเห็นของคุณก็ได้ไปสร้างกรอบการเขียนขึ้นให้กับคนอื่น อย่างที่ความเห็น 7-2 เป็นก็ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน


มีคนเชื่อไปแล้วว่า "การเล่ามุมมองบุคคลที่ 3 ไม่สามารถอ่านความคิดของตัวละครใดๆแม้แต่นิดเดียว" อย่างที่คุณตอบ


ตำราเล่มไหนสอน? จะบอกว่าสังเกตุจากการอ่านนิยายเป็นร้อยเรื่อง มันก็ไม่น่าใช่ หรือคุณอ่านนิยายเป็นร้อยเล่มแล้วสรุปได้แบบนั้น ผมว่าอันนี้ก็น่ากลัวอยู่นะ


แต่ไม่ได้ผิดนะที่คุณจะเขียน POV3 โดยไม่รู้จิตใจของตัวละคร มันไม่ผิดเลย

ผมมีไอเดียอยากให้บุคคลที่สามเป็นสุนัขที่เล่าเรื่องให้สุนัขตัวอื่นฟังก็ทำได้


ลองหาตำราเขียนนิยายมาอ่านบ้าง อ่านในเวบก็ได้มีสอนเต็มไปหมด เพื่อให้รู้หลักการจริง ๆ เวลาเขียนส่วนที่เป็นความคิดเห็น (opinion) ลีลาภาษาจะได้สื่อสารออกไปว่ามันเป็น "ความคิดเห็น"

0
20 ก.ย. 65 เวลา 05:43 น. 7-5

ตามความเห็นที่ 7 นี่ไม่น่าใช่เล่าผ่านบุคคลที่3 นะ แต่เป็นเล่าผ่านบุคคลที่หนึ่ง ไม่ทราบว่าจำสับสนหรือเปล่า

ในความคิดความเข้าใจของเรา เขียนในมุมมองบุคคลที่3 คือคนอ่านเปรียบเหมือนพระเจ้าเลยนะ รู้ทุกอย่างทุกความคิด ทุกการกระทำของตัวละครทุกตัว ส่วนบุคคลที่1 จะรู้เพียงความคิดการกระทำของตัวเอกของเรื่องตัวเดียวเท่านั้น เหมือนเราเป็นคนเล่าเรื่องจึงไม่รู้ความคิดคนอื่นอาศัยสังเกตการกระทำและคำพูด

0
white cane 20 ก.ย. 65 เวลา 07:48 น. 7-6

เอ่อ... ที่คุณบอกมานั้น มันเป็นการเล่าบุคคลที่หนึ่งไม่ใช่หรือครับ


อันที่จริง การเล่ามีหลักหลายวิธีมากครับ แม้กระทั่งแถด้วยเหตุผลอันแฟนตาซีก็มี อิๆ


บางเรื่องที่เป็นเหล้ามุมมองบุคคลที่หนึ่ง อย่างเช่นนิยายเรื่องเพอร์ซีย์แจ็กสัน เรื่องนี้ผมคิดว่าคนเขียนอยากจะย้ายไปเล่ามุมมองของตัวละครคนอื่นด้วย แต่ไม่รู้จะทำไงในเมื่อเขียนเป็นมุมมองบุคคลที่หนึ่งแล้ว สุดท้ายยกให้ไปเป็นความสามารถพิเศษของพระเอก ที่สามารถแยกวิญญาณออกไปจากร่าง ไปแอบดูชาวบ้านคนอื่นได้ หรือที่เห็นได้ชัดที่สุดเลยก็คือเรื่องต่อมาของนักเขียนคนนี้ที่เป็นแนวเกี่ยวกับเทพเจ้าอียิปต์ เค้าใช้วิธีสลับมุมมองของตัวละครบุคคลที่หนึ่งโดยเป็นบทของใครของมัน แล้วก็เช่นเดิมใช้วิญญาณออกจากร่างเพื่อไปดูสถานการณ์ แต่คราวนี้ถอดหัวออกไปเลย ส่วนร่างกายนั้น.... ไปหาอ่านเอาเองก็แล้วกันครับ อิๆ


ส่วนเหล้ามุมมองที่สาม ความจริงมันยังแยกย่อยออกมาได้อีกสี่ประเภท... 


อย่างแรกก็เหมือนเรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์นั่นแหละครับ ส่วนใหญ่ไม่ได้เขียนความคิดอะไรของตัวละครลงไป ใช้เพียงคำพูดและการกระทำเพื่อสื่อสารให้ผู้อ่านตีความเอาเอง 


แยกย่อยที่สองคือเล่าทั้งหมด ทั้งที่เห็น ความคิด และการกระทำ ยกตัวอย่างให้เป็นเรื่องมังกรผู้เฝ้าหอคอยและเรื่องผลาญ เขาได้เขียนความรู้สึกนึกคิดของตัวละครลงไปด้วย ซึ่งการเขียนแบบนี้ก็ไม่ค่อยแตกต่างกับเหล้ามุมมองบุคคลที่หนึ่งมากนัก


อย่างที่สามคือการเขียนจำกัดอยู่ที่ตัวละครเดียว ก็คล้ายเหมือนเหล้ามุมมองบุคคลที่หนึ่งนั่นแหละครับ ไม่ย้ายไปที่ตัวละครใดเลยในเรื่องทั้งสิ้น เล่าอยู่เพียงแค่ตัวละครเอกเพียงตัวเดียวว่าไปพบไปเจออะไรมาบ้าง ตัวอย่างเช่นแฮร์รี่พอตเตอร์ หลังจากจบช่วงบทนำไปแล้ว เราจะสังเกตได้ว่าเนื้อหาทั้งหมดจะหมุนอยู่รอบตัวของแฮร์รี่พอตเตอร์เพียงคนเดียว และสำหรับอันนี้จะผสมผสานอย่างสองข้อย่อยข้างบนด้วยก็ได้


และแยกย่อยที่สี่ก็เหมือนกับหัวข้อย่อยๆที่สามนั่นแหละครับ มีความแตกต่างเพียงแค่การเล่าเหล่านั้นจะกระโดดข้ามไปข้ามมาระหว่างตัวละครเพื่อให้นักอ่านได้เห็นสถานการณ์แบบวงกว้าง


ทั้งหมดที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น ผมไม่ได้ศึกษามาจากที่ไหนทั้งสิ้น ผมสังเกตและจดจำเอาจากนักเขียนท่านอื่น ซึ่งก็ได้ข้อสรุปมาว่าการเขียนนั้นคือจินตนาการ ซึ่งจินตนาการก็คือไร้ขอบเขตครับ ดังนั้นไม่มีคำว่าใครผิดใครถูก ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้วิธีใดเพื่อสื่อสารให้นักอ่านเข้าใจครับ


นี่มาบอกให้รับรู้เฉยๆ จากนั้นผมก็เดินออกจากห้องประชุมอันดุเดือด อิๆ ไปแล้วจ้า

0
20 ก.ย. 65 เวลา 08:48 น. 7-7

อ่านเม้นท์นี้จบเมาเลย ก๊กเหล้าไปหลายไห ...เอาๆๆ ชนแก้ว... เอือก...

0
yurinohanakotoba 20 ก.ย. 65 เวลา 09:01 น. 7-8

7-6 ดื่มหนักไปนะ

อันนี้แลกเปลี่ยนกันธรรมดา ไม่ได้ใกล้เคียงคำว่าดุเดือดเลย

0
A.L. Lee 20 ก.ย. 65 เวลา 09:57 น. 7-9

เราเคยมีความคิดแบบ คห7 นี่แหละค่ะ ค่อนข้างจะฟิก POV ว่าเข้าถึงตัวละครเดียวเท่านั้น ไม่งั้นก็ห้ามเข้าถึงความคิดไปเลย


แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนแล้วค่ะ ไปศึกษามาแล้ว POV 3 แบบพระเจ้า เข้าถึงความคิดตัวละครได้ทุกตัวจริงค่ะ แต่ถ้าอยากจำกัดไม่เข้าถึงเลยก็ไ้ด้เช่นกัน


ทั้งนี้ คนเราจะเล่ายังไงก็ได้ค่ะ ขอแค่สื่อให้คนอ่านรู้เรื่องพอ เพราะอย่างไร ทฤษฎีการเขียนมันก็เกิดขึ้นมาทีหลังกันทั้งนั้น แต่ที่เขาแนะนำ ๆ กัน ก็เพราะเขาค้นพบแล้วว่าวิธีไหนมันง่าย มันเวิร์ก

ลองดูหลากหลายความเห็นได้ตามกระทู้ที่เราเคยตั้งค่ะ https://www.dek-d.com/board/view/3957191/

0
Hoshisora 24 ก.ย. 65 เวลา 12:23 น. 7-10

ไม่ใช่อะ PoV 3 ถ้าเป็นแบบพระเจ้า คือสามารถรู้ได้ทุกอย่างคับ ทำไมจะไม่ได้ PoV 3 แบบเพราะเจ้าคือลักษณะที่เราเป็นคนเล่า ซึ่งเราเป็นคนแต่ง ตัวละครจะไปรู้มากกว่าคนแต่งได้ยังไง ??


แต่ปรกติ เราจะไม่อธิบายทุกอย่างใน PoV 3 เพราะเราไม่ต้องการสปอย์เนื้อเรื่องมากกว่าคับ

0
จีลี่ 26 พ.ย. 65 เวลา 01:44 น. 7-11

Pov3 แบบไม่สปอยคือ pov3 แบบจำกัด ไม่ใช่แบบพระเจ้าเจ้าคะ

0
vector-raid 22 ก.ย. 65 เวลา 09:49 น. 8

ถ้าเป็นผมน่ะ ผมจะปรับให้ข้อความของคนที่คิดเป็นตัวเอียงครับ และระบุว่าคนๆนี้กำลังคิดอยู่ ไม่ได้เอ่ยหรือพูดนะครับ


1

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

Hoshisora 24 ก.ย. 65 เวลา 12:19 น. 10

บรรยายไปเลยคับ จะใช้ 'แบบนี้' แค่ในกรณีที่ตัวละครพูดในใจคับ ถ้าคิดเฉยๆ ก็อธิบายไปเลย

0