Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

นิยายจีน แต่เขียนโดยใช้สำนวนlight novel ได้ไหม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ถ้าเขียนนิยายจีน เช่น พวกกำลังภายใน wuxia ท่องยุทธจักร ทะลุมิติ แบบที่ขายดีช่วงนี้ ตัวละครก็เป็นคนจีน ดำเนินเรื่องในจีนแฟนตาซี


เราจะเขียนโดยใช้สไตล์light novel อ่านง่ายๆ แบบที่นิยายญี่ปุ่นชอบใช้ได้รึเปล่า

ถ้าทำแล้ว นักอ่านจะด่าหรือผิดหวังไหมว่า มาอ่านนิยายจีน แต่สำนวนเขียนไม่จีน แล้วเท

ปกติแล้วนิยายจีน รี้ดตงคาดหวังเสมอไปไหมว่าต้องเขียนสไตล์นิยายจีน

แล้วเพื่อนๆ เคยเห็นมีคนทำแบบนี้ไหม

ขอบคุณล่วงหน้าจ้า

แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น

yurinohanakotoba 19 มิ.ย. 66 เวลา 19:47 น. 1

คุณไปลุยอ่านนิยายจีนสักสิบเรื่อง(ไม่ใช่สิบเล่ม)ก็ซึมซับสำนวนได้มาเขียนได้ระดับหนึ่งแล้วล่ะ

อย่างไรก็ตามคิดถ้าอ่านนิยายจีนคาดหวังในสำนวนแบบนิยายจีนที่อ่าน


ถ้าไม่ใช่ อย่างน้อยก็ต้องน่าสนใจและอ่านลื่นไหลล่ะมั้ง ไม่เคยอ่านนิยายจีนที่เขียนแบบไม่ใช่สำเนียงแบบนิยายจีนจริง ๆ

0
white cane 19 มิ.ย. 66 เวลา 20:50 น. 2

ผมลองเขียนดูแล้ว ซึ่งมันยากมากที่เขียนแบบที่ให้ความรู้สึกจีนโบราณอย่างแท้จริง

แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น

ผมเคยเจอนักเขียนอยู่ท่านหนึ่ง เขาใช้สำนวนแบบนิยายจีนโบราณ ก็มีผลตอบรับออกมาเป็นสองฝั่ง

ฝั่งแรก ชื่นชอบสไตล์โบราณเหมือนบทกลอน เพราะเคยอ่านแนวแบบนี้มาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่อายุน่าจะเกือบครึ่งร้อยแล้วมั้ง อิๆ

ขณะที่อีกฝั่งหนึ่งเป็นเด็กรุ่นใหม่ กลับบอกว่าอ่านแล้วเข้าใจยากมาก

สรุปคือ ถ้าคุณอยากขายให้คนที่มีอายุหรือชอบอะไรที่แบบโบราณ คุณก็ต้องเน้นไปทางนั้นครับ แต่ถ้าคุณตั้งใจเขียนให้วัยรุ่นอาจ คุณก็ต้องเขียนภาษาปัจจุบัน

สำหรับผม ผมอ่านได้ทั้งสองแนวการเขียน แต่โน้มเอียงแนวแบบโบราณมากกว่า เพราะมันมีประโยชน์มากต่อนักเขียนอย่างเรา จะทำให้เรามีคลังคำศัพท์ในการแต่งนิยายมากขึ้น อย่างเช่นข้อความต่อไปนี้....

แดนดงหางพอระยะแลรับรู้ เนตรวกะมากลายตา สะท้อนวาบวับจันทราดุจแข่งขันเด่น กายปรากฏแย้งพลันหายเฉกภูตผี ย้ำซ้ำเหมือนสลับโยกย้าย แต่ล้วนนั้นมาใกล้ให้หวาดจิต

ลองแปลเล่นดูครับ 55555

3
kala mizuem 20 มิ.ย. 66 เวลา 11:51 น. 2-1

อย่าว่าแต่เด็กวัยรุ่นเลย ฉันอายุเกือบ 40 ปียังแกะกลอนไม่ออกเลย

0
white cane 20 มิ.ย. 66 เวลา 14:14 น. 2-2

อิๆ ข้อความนั้นต้องกลายเป็นหนึ่งในปริศนาลี้ลับของบอร์ดเด็กดีแน่นอน ขนาดตัวผมเองเมื่อแต่งจบแล้วย้อนกลับมาอ่านก็ยังงงเองเลย 55555 555


0
ปาฎวี 21 มิ.ย. 66 เวลา 06:46 น. 2-3

เราว่าบทบรรยายมันใช้ภาษาฟุ่มเฟือยไปค่ะ ทำให้อ่านแล้วรู้สึกจะกลอนก็ไม่กลอน จะบรรยายร้อยแก้วก็อ่านแล้วดูไม่อินดูรก ส่วนใหญ่ร้อยกรองหรือบทกวีที่อ่านแล้วต้องตีความมันจะมีความไพเราะเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับธรรมชาติหรือบริบทที่กระทำอยู่นั้นๆ



0
玉大神(Yùdàshén) 19 มิ.ย. 66 เวลา 22:22 น. 3

นิยายจีนที่สำนวนไม่จีนมันก็ไม่ต่างไปจากนิยายไทยที่แค่เปลี่ยนชื่อตัวละครเป็นจีนนั่นแหละค่ะ


เท่าที่จำได้เคยมีคนทำแล้วก็โดนนักอ่านสวดเอาอยู่นะ ถึงจะจำไม่ได้ว่าเป็นนิยายของใครก็เถอะ แต่ก็นับว่าเคยผ่านตาอยู่

0
ชาววีบ 20 มิ.ย. 66 เวลา 10:18 น. 4

พยายามให้เขียนสไตล์ไลท์โนเวล ก็ไม่ต่างจากคนญี่ปุ่นเขียนเรื่องเอง แถมนิยายมีวิธีการเขียนไม่เหมือนไลท์โนเวล ส่วนใหญ่ไลท์โนเวลจะเขียนให้คนวัยรุ่นอ่านไหว โดยเฉพาะฝึกการอ่านและเขียนคันจิ (พวกอักษรจีนของญี่ปุ่น) สังเกตว่าสำนวนไลท์โนเวลอ่านง่ายกว่านิยายหลายเท่า แปลไทยออกมาจึงง่ายตามไปด้วย


เคยมีเรื่องหนึ่งได้ทำทั้งเวอร์ชั่นนิยายกับไลท์โนเวลมากาอน นั้นคือ GATE: Jieitai Kano Chi nite, Kaku Tatakaeri ทั้งสองเวอร์ชั่นนี้เดินเรื่องเหมือนกัน แต่เวอร์ชั่นนิยายเขียนดิบกว่า เพราะเอามาจากนิยายเว็บ ทางสำนักพิมพ์จึงตีพิมพ์ครั้งใหม่ในรูปแบบไลท์โนเวล ขัดเกลาภาษาให้สอดคล้องขนาดของกระดาษที่ใช้ เพราะเล่มนิยายเน้นขนาด A4 หรือใกล้เคียง แต่ไลท์โนเวลนิยมใช้กระดาษ A5 ซึ่งเล็กกว่า พูดง่ายๆคือ ไลท์โนเวลของเรื่อง GATE คือ Remastered ver. พร้อมกับ Lite ver. เวลาจะเขียนเรื่องอะไร พยายามเลือกขนาดหน้ากระดาษให้ถูกต้องด้วย พวกย่อหน้าพวกพารากราฟตัวดีเลย

1
ชาววีบ 20 มิ.ย. 66 เวลา 11:19 น. 4-1

อะแฮ่ม รีบตอบเร็วไปหน่อย กำลังจะบอกที่มาของสำนวณไลท์โนเวลซะหน่อย


สำนวณไลท์โนเวลจากมุมมองของคนไทย จริงๆแล้ว มันคือการแปลไทยจากต้นฉบับเท่านั้นเอง ต้นฉบับเขียนเป็นภาษาอื่นอยู่แล้ว คนไม่รู้ภาษาต่างประเทศจะอ่านยังไงถึงจะรู้เรื่อง ก็แปลไทยสิครับ อย่างที่บอกไปข้างต้น ไลท์โนเวลถูกออกแบบมาเพื่อคนวัยรุ่นอ่านง่ายและพกพาง่าย ส่วนนิยายไม่ได้สนใจว่าลูกค้าส่วนใหญ่เป็นใคร อ่านไม่ไหวก็เรื่องของ- ทำให้ต้นฉบับจากไลท์โนเวลกับนิยายจึงมีความยากง่ายไม่เหมือนกัน


ยิ่งเป็นภาษาทางเอเชียตะวันออกอย่างญี่ปุ่น จีน และเกาหลี จะต้องเขียนสำนวณให้ผู้อ่านคุ้นเคยกับมัน ภาษาเกาหลีมีอักษรกี่คำไม่รู้ แต่ภาษาจีนประมาณ 5,000 ตัวออกเสียงโดดไปโดดมา และญี่ปุ่นมีคันจิ (อักษรจีนของเขา) ประมาณ 2,000 ตัว ผสมกับอักษรฮิรางานะกับคาตาคานะอีกที แถมออกเสียงเกือบ 110 แบบ จำกัดจำเขี่ยสุดๆ แถมไม่มีพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์เลย มีแต่คำโดดล้วนๆ (แต่ฮิรางานะกับคาตาคานะยังพอไปวัดไปวาหน่อย) เด็กวัยรุ่นก็เรียนอักษรจีนหรือคันจิไม่ครบ นักเขียนนิยายจะต้องเขียนแน่ใจว่า กลุ่มลูกค้าผู้อ่านรายหลักจะต้องอ่านอักษรจีนไหว


แต่แปลไทยเค้าไม่สนว่าอักษรเขียนยากหรือง่าย สนแค่แปลผลลัพธ์เท่านั้น ภาษาไทยยืดหยุ่นจะตายเทียบกับอักษรจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เพราะมีการผันสระและวรรณยุกต์ด้วย แปลเสร็จแล้วถึงจะเรียบเรียงว่าจะเขียนสำนวนยากหรือง่าย ขนาด Google Translate แปลได้แข็งทื่อชะมัด ใช้ฝีมือและสมองมนุษย์หน่อยถึงจะเรียบเรียงได้ และด้วยต้นฉบับมีความยากง่ายของมันอยู่แล้ว เรื่องไหนต้นฉบับเขียนง่ายก็ได้สำนวณแปลง่าย ต้นฉบับเขียนยากก็แปลมายังกะติวสอบภาษา


พูดง่ายๆ สำนวณไลท์โนเวลไม่เหมือนสำนวนทั่วไป เพราะไลท์โนเวลทางต้นฉบับส่วนใหญ่เขียนง่ายเอาใจกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นเป็นหลัก (แต่ไม่ห้ามวัยอื่นน่ะ จะบอกให้) ทำให้แปลไทยออกมาดูง่ายกว่านิยายบางเรื่อง

0
Furinkazan 24 มิ.ย. 66 เวลา 05:53 น. 5

ปกติอ่านนิยายจีนอยู่ สำนวนจีนจัด ๆ โดยมากเป็นเรื่องสิบกว่าปีก่อน ปัจจุบันไม่ขนาดนั้น แต่กลิ่นอายจีนยังไงก็ยังอยู่ สอดแทรกทุกอณูของโลกใบนั้น มากบ้างน้อยบ้าง เนียนบ้างดิบบ้าง

หากสำนวนไม่จีนคงไม่เป็นไร ถ้าแก่นยังอยู่


...แก่นคืออะไร ลองอ่านดูสักเรื่องสองเรื่องก็จะเห็นอยู่นะ เหมือนคนต่างชาติมาเที่ยวเมืองไทย แก่นของความเป็นไทยคืออะไร ลองฟังบทสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวดู โดยมากพูดตรงกัน สิ่งนั้นแหละดึงดูดให้คนเหล่านี้รักและมาเที่ยวบ้านเราบ่อย ๆ เช่นเดียวกับแก่นนั้นดึงดูดให้คนยังอ่านนิยายจีนอยู่เช่นกัน

0