วัสดีค่า.... น้องๆ สายอาชีพทุกคน บอกลาบ๊ายบายกับการแอดมิชชั่นปี 56 แล้วมาเริ่มต้นใหม่กับการแอดมิชชั่นของปี 57 กันดีกว่า ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีในการเริ่มต้นเลยค่ะ น้องๆ คงเปิดเทอมกันแล้วใช่มั้ยคะ? ก็ต้องรู้ตารางเรียนของตัวเองแล้ว ถ้าใครอยากจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ต้องเริ่มวางแผนการอ่านหนังสือเพื่อสอบกันตั้งแต่วันนี้เลยค่ะ
           คราวนี้พี่แป้งมีเคล็ดลับดีๆ ในการ
เตรียมตัวเพื่อสู้กับการแอดมิชชั่นปี 57 มาฝาก มีอะไรบ้างตามมาดูเลยค่ะ ^_^

ข้อแรก >> ถามตัวเองให้ชัดว่าอยากเรียนต่อด้านไหน?

        ก่อนอื่นเลยนะคะ ลองหาเวลาให้ตัวเองสักวัน 2 วันเพื่อค้นหาให้เจอว่า "เราอยากเรียนต่อด้านไหน" มีรุ่นพี่คนนึงแนะวิธีในการหาคำตอบนี้ว่า ให้นำกระดาษมา 1 แผ่น พับครึ่งแบ่งเป็น 4 ส่วน ด้านซ้ายให้แบ่งเป็นเรียนต่อ ปวส. ส่วนด้านขวาให้แบ่งเป็นเรียนต่อปริญญาตรี ด้านบนให้แบ่งเป็นข้อดีและด้านล่างให้แบ่งเป็นข้อเสีย (ก็เท่ากับว่ากระดาษจะมี 4 ช่อง) แล้วก็นั่งเขียนเลยค่ะว่าเราคิดว่าข้อดี-ข้อเสียของแต่ละทางที่เราเลือกคืออะไร จะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ถ้าทางที่จะไปคือ ปวส. ก็เตรียมสอบให้เกรดดี ๆ คะแนน V-NET ดี ๆ แล้วไปต่อโลด เอาให้ฝีมือดีไปข้างนึงเลย แต่ถ้าคิดว่าต่อปริญญาตรีดีกว่าก็ไปที่ข้อต่อไปเลยค่ะ


ข้อที่ 2 >> ค้นหาข้อมูล คณะ/สาขา ที่เราสนใจ

        เมื่อเราตัดสินใจแล้วว่า "ฉันจะต่อมหาวิทยาลัยให้ได้" เราก็ต้องมานั่งทำความเข้าใจก่อนค่ะว่า คณะ/สาขา ที่เราสนใจอยู่นั้นเรียนอะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ถ้าเราเรียนแล้วคิดว่าเราจะเรียนไหวหรือไม่ ฐานข้อมูลของการหาว่า คณะ/สาขา นั้นๆ เรียนอะไรบ้างก็เข้าไปที่เว็บไซด์ของแต่ละคณะเลยค่ะ
         ถ้าเกิดว่าไม่เข้าใจก็ลองเข้าไปดูที่
"คณะในฝัน" มีแยกหมวดคณะกว่า 19 สาย มีข้อมูลทั้งเรียนอะไรบ้าง ที่ไหนมีสอนบ้าง จบแล้วทำอย่างไรบ้าง รวมทั้งประสบการณ์สนุกๆ ในรั้วและนอกรั้วมหาวิทยาลัยด้วยค่ะ

ข้อที่ 3 >> ศึกษาคุณสมบัติทางการศึกษาของเราและของคณะในฝัน

        ส่วนการหาข้อมูลเรื่องคุณสมบัติทางการศึกษานั้นเป็นส่วนที่สำคัญมาก ก่อนอื่นน้องๆ ต้องเข้าใจก่อนว่าสายอาชีพได้แบ่งกลุ่มการเรียนเยอะมาก ดูได้จากบทความที่พี่เกียรติเคยเขียนเอาไว้ "วิทย์ ศิลป์ ถอยไป สาย...ของสายอาชีพกำลังมา"  แน่นอนค่ะว่าในระเบียบการการสมัครเพื่อสอบเข้าในระดับมหาวิทยาลัยจะกำหนดไว้อยู่แล้วว่า ปวช. สายใดสอบเข้าคณะนั้นๆ ได้บ้าง เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์รับเฉพาะสายช่างอุคสาหกรรม หรือ คณะเกษตรบางมหาวิทยาลัยรับเฉพาะสายเกษตรกรรมเท่านั้น
       ส่วนบางแห่งก็จะไม่กำหนดค่ะว่าต้องจบสายไหน เปิดกว้างให้กับน้องๆ ปวช.อยู่แล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องดูคือหน่วยกิตค่ะ บางโครงการที่สอบจะไม่กำหนดว่าเรียนสายไหนมา แต่จะกำหนดว่าวิชาเฉพาะบางตัวต้องมีหน่วยกิตตามกำหนด เช่น คณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต ภาษาไทย 9 หน่วยกิต เป็นต้นค่ะ ในส่วนของแอดมิชชั่นคุณสมบัติเหล่านี้จะศึกษาได้จากด้านหลังระเบียบการ น้อง ๆ สามารถศึกษาระเบียบการปีก่อน ๆ โดยเข้าไปโหลดที่ www.cuas.or.th ได้เลยค่ะ

ข้อที่ 4 >> ต้องสอบอะไรบ้างนะ?

        เมื่อคุณสมบัติผ่านแล้วก็ต้องมาดูค่ะว่าคณะที่เราอยากเข้ากำหนดว่าต้องสอบอะไรบ้าง สามารถศึกษาได้จากโครงการรับตรงปีก่อนๆ ค่ะ โดยคุณสมบัติที่จะสมัครแอดมิชชั่นได้ต้องมีคะแนน GAT PAT และ O-NET ค่ะ ถ้าเกิดว่าลังเลจะสอบอะไรดีให้ดูที่ระเบียบการแอดมิชชั่นปีก่อนๆ ได้เลยค่ะ หรือไม่ก็ดูที่บทความนี้ "สัดส่วนแอดมิชชั่นปี 56 (ฉบับปรับใหม่)" ถ้าปี 57 มีการเปลี่ยนแปลง พี่แป้ง จะรีบมาบอกแน่นอนค่ะ ยกตัวอย่างว่าอยากสอบเข้า คณะบริหารธุรกิจ น้องๆ ต้องมีคะแนน O-NET, GAT และ PAT 1 ค่ะ โดยคะแนนนี้ใช้ได้ทั้งสอบตรงและแอดมิชชั่นค่ะ


  
 ข้อที่ 5 >>
จัดตารางการอ่านหนังสือ

         เรื่องการจัดตารางอ่านหนังสือเป็นเรื่องที่สำคัญมากจริงๆ เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของแนวทางการอ่านหนังสือ ถ้าเรามีจุดมุ่งหมาย มีเวลาที่แน่นอน เราจะรู้ว่าเราควรทำอะไร ก่อนอื่นเลยต้องตัดความขี้เกียจออกไปก่อน เหลือเวลาอีกแค่ 1 ปีกับอนาคตเรา พี่แป้งเชื่อว่าทุกคนทำได้ค่ะ
        การแบ่งเวลาอาจวางแผนเช่น เรียนปกติจันทร์-ศุกร์
เวลา 2 ทุ่ม - 4 ทุ่มอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบ บางวันที่งานบ้านเยอะอาจลดลงเหลือ 1 ชั่วโมง ส่วนเสาร์-อาทิตย์ก็อ่านเป็นช่วงเช้าและช่วงบ่าย ตอนเย็นพักผ่อน คืนวันอาทิตย์พักผ่อน แบบนี้เป็นต้นค่ะ จะประสบความสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ตัวเองนะคะ เราบังคับตัวเองได้เท่านั้นค่ะ

 

ข้อที่ 6 >> ติดตามข่าวสารการสอบ O-NET GAT PAT

        อย่างที่พี่แป้งได้บอกไปข้างต้นว่าการสอบไม่ว่าจะเป็นสอบตรงหรือแอดมิชชั่นส่วนใหญ่แล้วจะใช้คะแนน GAT PAT ส่วน O-NET จะใช้รอบแอดมิชชั่นและหลังแอดมิชชั่นค่ะ มีเพียงไม่กี่โครงการรับตรงที่จัดสอบเองค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวิชาภาษาอังกฤษกับความถนัดวิชาเฉพาะต่างๆ ค่ะ ในเรื่องของการติดตามข่าวสารการสอบ GAT PAT และ O-NET จึงเป็นอะไรที่สำคัญมาก การสอบ GAT PAT นั้นจะจัดปีละ 2 ครั้งค่ะ ส่วนการสอบ O-NET จัดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แล้วที่สำคัญน้องๆ สายอาชีพต้องสมัครเองด้วยค่ะ ถ้าพลาดแล้วพลาดเลยไม่มีแก้ตัวนะคะ T_T

ข้อที่ 7 >> อย่าลืมตามข่าวสอบตรง!!!

         ในแต่ละปีนั้นมีโครงการรับตรงออกมาหลายร้อยโครงการเลยค่ะ ถ้าเกิดไม่อยากไปเสี่ยงในรอบแอดมิชชั่นก็สามารถสอบตรงก่อนได้ค่ะ โดยโครงการรับตรงแต่ละโครงการนั้นจะมีการกำหนดคุณสมบัติเอาไว้ว่าใครสอบได้บ้าง เช่น เป็นเป็นนักเรียนม.6 เท่านั้น หรือ เป็นนักเรียนชั้นเทียบเท่าได้ ถ้าเจอคำว่าเทียบเท่าล่ะก็มั่นใจได้เลยค่ะว่าสมัครได้แน่
         นอกจากนี้ยังมีกำหนดคุณสมบัติทางการศึกษา GPAX ต้องเท่าไหร่ มีผลสอบอะไรบ้าง บางโครงการนอกจากจะมี GAT PAT แล้ว อาจจะมีผลสอบภาษาอังกฤษด้วย เช่น TOEFL, CU-TEP, TU-GET ค่ะ ซึ่งผลสอบภาษาอังกฤษจะต้องการในโครงการภาษาอังกฤษหรือนานาชาติเท่านั้นค่ะ ข่าวสอบตรงก็ไม่ต้องไปตามหาให้วุ่นวาย ถ้าไม่รู้ว่าไปที่ไหนก็เข้าไปเลยที่ โปรแกรมค้นหารับตรง รับรองว่าไม่ตกข่าวแน่นอนค่ะ


         7 อย่างที่บอกไปไม่อยากเลยใช่มั้ยคะ? ถ้าเรามีความมุ่งมั่นตั้งแต่ตอนนี้ มั่นใจเลยว่าความสำเร็จไม่หนีไปไหนแน่นอนค่ะ ถ้าอยากรู้ว่าความอ่านหนังสือเล่มไหนยังไงดี พี่แป้งแนะนำว่าให้เริ่มจากการดูในบอร์ดเลยค่ะว่ามีหนังสือเล่มไหนรีวิวบ้าง จากนั้นก็ไปหาซื้อตามร้านหนังสือ ก่อนจะซื้อน้องๆ ต้องเปิดอ่านสำนวนการเขียนของผู้เขียนก่อนนะคะว่าเราเข้าใจหรือไม่ บางเล่มหนา เขียนละเอียดแต่เราไม่เข้าใจ ซื้อมาก็เปล่าประโยชน์ค่ะ

         สุดท้ายนี้ขอให้น้องๆ โชคดีกับการสอบทุกคนเลยนะคะ ไม่ว่าจะเลือกเรียนอะไรก็ตามขอให้เชื่อมั่นใจฝีมือตัวเอง ข้อได้เปรียบของเด็กสายอาชีพคือการเรียนที่ฝึกทักษะของงานนั้นๆ ไปในตัว มีทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ถ้าสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้ว บางส่วนที่เรียนในมหาวิทยาลัยน้องๆ จะได้เปรียบแจ่มแจ้งมากเลยค่ะ เริ่มไปพร้อมกัน เเล้วลุยให้เต็มที่เลย สู้ๆ ค่าาาาาา ......

บทความเพื่อทุกคน! รู้จักชาวอาชีวะ รายงานข่าวมิตรแท้ ปวช./ปวส. ใน  "คอลัมน์สายอาชีพ"
เด็กดีดอทคอม :: โหวตเลย เรื่องเพศพูดได้ไหม!
ยังมีโอกาสเรียนต่อที่หลากหลายรอคุณอยู่นะ+
เด็กดีดอทคอม :: โหวตเลย เรื่องเพศพูดได้ไหม!
เรียนพาณิชย์ก็มีดี ไม่ได้ไปตบตีกับใครนะ อย่าเหมา!
เด็กดีดอทคอม ::
เตรียมรับประชาคมอาเซียน อาชีวะได้ภาษาอังกฤษ
เด็กดีดอทคอม :: โหวตเลย เรื่องเพศพูดได้ไหม!
จะแก้ปัญหาอย่างไรดีนะ???


ร่วมกันสร้างสังคมเด็กสายอาชีพ รวมพลเด็กอาชีวะสร้างสรรค์
อ่าน เล่าเรื่อง ส่งต่อ/แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มาเลยที่นี่ Dek-D.com


kiatsuda@dek-d.com





พี่แป้ง
พี่แป้ง - Columnist นักข่าวสายรับตรง พร้อมเสิร์ฟข่าวสอบเข้าทุกมหา'ลัย เติมพลังได้จากชาเย็นหวานน้อย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

10 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ZombiePTL Member 22 พ.ค. 56 08:23 น. 4
เรื่องจริงมันไม่ได้เป็นปัญหาอะไรเลยนะครับ เรียนสายนี้
จบไปเพื่อความสามารถในการทำงาน จบปวช.ก็ต่อปวส. จบปวส.ก็ต่อปตรีเฉพาะทาง
โดยไม่จำเป็นต้องแอดมิชชั่นซะด้วยซ้ำ

ถ้ายังคิดจะสอบแอดอีกในความคิดผมก็อย่าเรียนสายนี้ไปเลยดีกว่ามันเสียเวลาจริงๆนะ



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 22 พฤษภาคม 2556 / 08:27
0
กำลังโหลด
berufsausbildung 23 พ.ค. 56 20:33 น. 5
คห ข้างบนมันต้องตายตัวเเบบนั้นหรอครับ? ความรู้อีกอย่าง จะมาเรียนอีกรูปเเบบหนึ่ง มันเป็นความต้องการปัจเจกเค้า ครับ บางคนทำงานเก็บเกี่ยวประสบการณ์ บางคนอาจมากกว่านั้น อาจไปต่อก่อน ของเเบบนี้มันไม่ตายตัวหรอกครับ
0
กำลังโหลด
mazorini Member 24 พ.ค. 56 18:01 น. 6
บางทีการเรียนสายอาชีพ เค้าก็แค่อยากเก็บประสบการณ์นะคะ อย่างเรา เราเรียนคอมพิวเตอร์ธุรกิจเพราะสนใจเกี่ยวกับศิลปะคอมพิวเตอร์ การสร้างสรรค์ผลงานด้วยคอมพิวเตอร์ เพียงแต่ว่าจังหวัดที่เราอยู่ไม่ได้มีสาขามัลติมีเดียโดยตรง ก้ต้องเลือกเรียนอะไรที่มันใกล้เคียงเท่านั้นเอง
0
กำลังโหลด
maysunny. Member 24 พ.ค. 56 23:31 น. 7
ตอนนี้ก็เข้ามหาลัยตามที่ใฝ่ฝันมานาน แต่ก็ยังติดตามเข้าเว็บเด็กดีทุกวัน 555
น้องๆ ทุกคนสู้ๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้ มาอยู่รั้วจุฬาฯ ด้วยกันนะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Aumfii Chanakan Member 30 พ.ย. 56 13:34 น. 9

พลาดสมัครโอเน็ตเพียงวันเดียว ทุกอย่างมันเหลือ0จิงๆ แอดมิชชั่นก็คงไม่ได้แล้วใช่ไหมค่ะ ไม่หน้าเรียนสายอาชีพเลยพลาดทุกอย่างจิงๆ แล้วก็ไม่ได้ถนัดเลย ถึงจะดีแต่ครูเขาไม่ช่วยอะไรได้เลยไม่เหมือนมัธยมเศร้าจัง

0
กำลังโหลด
คริษฐา น้องขิมค่ะ 1 ก.พ. 57 22:33 น. 10
เรียนต่อปวช.คหกรรม รร.จิตรลดา(สายอาชีพ) อยากทราบแนวข้อสอบค่ะ พอมีใครให้คำแนะนำได้บ้างคะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด