ขุดค้นชีวิต "เด็กเอกโบราณคดี" กับภารกิจออกฟิลด์สุดสตรอง แห่งเดียวในไทยที่ศิลปากร

        พักนี้เราจะเห็นกระแส #บุพเพสันนิวาส มาแรงครองท็อปเทรนด์ของไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะดีงามทั้งนักแสดงและเนื้อเรื่อง แถมยังแฝงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทยไว้ให้รับสาระกันเต็มๆ ด้วยเหตุนี้เอง ยอดผู้สมัครเข้าคณะโบราณคดีในระบบ SU-TCAS ของมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงพุ่งสูงเป็นอันดับ 1 (จาก 14 คณะ) โดยมีอัตราการแข่งขัน 1:66 คาดว่าแรงบันดาลใจก็อาจมาจากนักแสดง “เกศสุรางค์” และ “รอมแพง” ผู้แต่งเรื่องบุพเพสันนิวาส ที่ล้วนแต่เป็นบัณฑิตจากคณะนี้


 
        มหาวิทยาลัยสีเขียวเวอร์ริเดียนนี้เป็นแห่งเดียวในไทยที่เปิดคณะโบราณคดีขึ้น หากนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2498 จนถึงตอนนี้ก็มีอายุกว่า 60 ปีแล้ว! จุดมุ่งหมายเดิมคือสร้างนักโบราณคดีที่จะเข้าไปทำงานในสังกัดกรมศิลปากร ปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายภาควิชาที่น่าสนใจ ทั้งภาคโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มานุษยวิทยา ภาษาไทย ภาษาตะวันตก และภาษาตะวันออก ปกติแล้วที่ตั้งคณะจะอยู่ที่วังท่าพระ เขตพระบรมมหาราชวัง จ.กรุงเทพฯ แต่ตอนนี้ปิดปรับปรุงชั่วคราว จึงย้ายมาที่ศูนย์สันสกฤตศึกษา แถวๆ เขตทวีวัฒนา
 
        ...และในวันนี้ เราจะพาไปขุดเจาะสำรวจ "ภาควิชาโบราณคดี" (ต่อไปนี้จะเรียกว่าเอกโบราณ) ที่บอกเลยว่า มีเสน่ห์สำหรับคนที่หลงใหลเรื่องราวในอดีตมากกก แถมมีการออกฟิลด์ที่ทั้งเหนื่อย สนุก และท้าทาย แต่กระซิบนิดนึงว่าไม่สตรองจริงอยู่ไม่ได้นะ ถ้าออเจ้าพร้อมสำรวจแล้ว...ตามข้ามาเถิด!


 
        จำนวนนักศึกษาในรุ่น: ปกติจะวางกรอบไว้ว่ารับไม่เกิน 40 คน
        วิธีการสอบเข้า: ระบบ SU-TCAS ระบบสอบตรง และโควตาความสามารถพิเศษเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

 

เปิดห้องเรียนการศึกษาอดีตของมนุษย์

        เด็กเอกโบราณจะศึกษาพฤติกรรมความคิดของมนุษย์ในอดีตผ่านหลักฐานทางโบราณคดี และมีจุดเด่นคือการออกไปสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี หรือสิ่งที่หลงเหลือจากอดีตที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในอดีต เช่น กระดูกมนุษย์ กระดูกสัตว์ เครื่องมือหิน เครื่องประดับโลหะ เศษพืช เป็นต้น นักโบราณคดีจะรวบรวม วิเคราะห์ และแปลความหลักฐานทางโบราณคดีเพื่อให้เข้าใจถึงมนุษย์ในอดีตแง่มุมต่างๆ เช่น ความเป็นอยู่ อาหารการกิน โรคภัย เทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ ความเชื่อ  ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทั้งแนวคิดด้านมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ ร่วมกับแนวทางทางวิทยาศาสตร์ร่วมกันเพื่อให้เข้าใจทั้งหลักฐานทางโบราณคดีและมนุษย์ที่เป็นเจ้าของ ดังนั้นโบราณคดีเองจึงมีความเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ร่วมกันเสมอ

        ความท้าทายอย่างหนึ่งคือ ปกติเราจะไม่ค่อยได้ยินคำนี้ในระดับมัธยม อย่างมากก็แค่เรียนประวัติศาสตร์ในวิชาสังคมศึกษา ซึ่งก็ต่างกับโบราณคดีโดยสิ้นเชิง นักศึกษาเอกนี้จึงเหมือนได้มาเจออีกโลกนึงเลยค่ะ 


(สังเกตว่าคณะนี้ไม่ได้บังคับใส่ชุดนักศึกษาค่ะ)

        สำหรับสโคปเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ

        1. วิชาที่สอนให้เป็น "นักโบราณคดี" ได้แก่ สำรวจ (เรียนตอนปี 1) ขุดค้น (เรียนตอนปี 2) และแปลความ (เรียนตอนปี 3) ดังนั้นวิชาที่ต้องออกฟิลด์ของนักศึกษาแต่ละชั้นปีจะมีเป้าหมายไม่เหมือนกัน ซึ่งเราจะว่ากันต่อในพาร์ตการออกฟิลด์ค่ะ

        2. องค์ความรู้ที่ต้องรู้ต้องจำพร้อมทำงานจริง แต่ละปีเรียนไม่เหมือนกัน

       ปี 1 เรียนโบราณคดีเบื้องต้น
       ปี 2 เรียนโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ไทยประเทศไทยก่อนและหลังพุทธศตวรรษที่ 19 (ไล่ตามอายุสมัย ทวารวดี ศรีวิชัย เขมร สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี-รัตนโกสินทร์) และโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
       ปี 3 เรียนการทำวิจัยทางโบราณคดี (ฝึกให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์ และตอบคำถามอย่างเป็นระบบตามแนวทางโบราณคดี)
       ปี 4 หาประเด็นที่น่าสนใจและทำเป็นการวิจัยส่วนบุคคล โดยประยุกต์ใช้ความรู้จาก 4 ปีที่ผ่านมา 
 
        สำหรับเรียนวิชาที่เกี่ยวกับการทำงานทางโบราณคดี นักศึกษาเอกโบราณก็จะได้เรียนเช่นกัน เช่น ธรณีโบราณคดี เช่น ธรณีโบราณคดี พิพิธภัณฑสถานวิทยา การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม การทำผัง วาดภาพ และถ่ายภาพในงานโบราณคดี วิทยาศาสตร์โบราณคดี การวิเคราะห์กระดูกมนุษย์ เทคโนโลยีสมัยโบราณ เป็นต้น

       วิชาการวาดแผนผัง จะนำไปใช้ตอนทำงานจริง เพราะต้องวาดโบราณวัตถุ และวาดว่าแหล่งนั้นมีอะไรบ้าง
Photo Credit: Department of Archaeology. SU

       นอกจากวิชาทั้งกลุ่มทักษะและองค์ความรู้ที่จะช่วยเตรียมพร้อมให้นักศึกษาจบไปทำงานสายโบราณคดีได้ และมีความรู้เข้าใจประเด็นต่างๆ ที่ต้องประยุกต์ในการทำงานจริงแล้ว ยังมี "วิชาโท" ที่เด็กเอกโบราณต้องเรียนตอนปี 2 - 4 ซึ่งมีหลากหลายวิชาให้เรียนตามกลุ่มวิชานั้นๆ เช่น เลือกโทของภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ก็จะได้เรียนศิลปะต่างๆ เป็นต้น โดยการเลือกวิชาโทจะทำให้นักศึกษามีความรู้กว้างขึ้น และนำมาเชื่อมโยงกับวิชาหลักของตัวเองได้



        ส่วนวิทยากรที่เชิญมาให้ความรู้ ก็จะมีทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น นักโบราณคดีจากกรมศิลปากร หรือด้านวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับวิชาเรียน สำหรับเรื่องขุดๆ เจาะๆ ก็มีเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเช่นกันค่ะ เพราะพอไปอยู่หน้าไซต์งานจริงๆ อาจเจอปัญหาหลายรูปแบบที่ต้องอาศัยการเรียนรู้จากประสบการณ์หลายๆ คน

 

“การออกฟิลด์” เรื่องใหญ่ของเด็กโบฯ

        ถ้าได้เข้ามาเป็นนักศึกษาของเอกนี้แล้ว ไม่ต้องกลัวที่จะต้องอุดอู้อยู่แต่ในห้องเลกเชอร์เลยค่ะ เพราะ “การลงภาคสนาม” หรือที่เรียกว่า "การออกฟิลด์" คือเรื่องใหญ่ของเด็กโบราณฯ โดยเค้าจะกำหนดให้ออกฟิลด์ตั้งแต่ ปี 1 เทอม 2 ปกติจะออกหน้างาน 15 วัน (สำรวจและขุดค้น) และกลับมาทำงานที่คณะอีก 15-30 วัน (วิเคราะห์ แปลความ และเขียนรายงาน) 

        เป้าหมายหลักๆ ของการออกฟิลด์ คือ ค้นหาและประเมินแหล่งโบราณคดีและหลักฐานทางโบราณคดีด้วยวิธีการทางโบราณคดี คือ สำรวจและขุดค้น เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ในอดีตที่เคยอยู่ในพื้นที่ทำงาน โดยปี 1 เรียนสำรวจ ปี 2 เรียนขุดค้น และ ปี 3 เรียนการวิเคราะห์และแปลความ หน้าที่ในการออกฟิลด์จึงต่างกันออกไป ดังนี้

        ปี 1 มีหน้าที่ออกสำเร็จเป็นหลัก แต่จะกลับมาช่วยพี่ๆ ทำงานในหลุมขุดค้นเช่นกัน (แต่ยังไม่เข้มข้นมาก) ขณะที่ปี 2 - 3 จะได้ทำงานขุดค้นทางโบราณคดีเป็นหลัก สำหรับ ปี 3 จะเต็มที่หน่อยเพราะต้องเป็นพี่ใหญ่ฝึกการคุมงานภาคสนามและดูแลน้องๆ ในภาพรวมทั้ง 3 ปีจะทำร่วมกันและเกื้อหนุนกันและกันตลอด เพราะงานโบราณคดีไม่สามารถทำด้วยตัวคนเดียวได้    

    

        นักศึกษาเอกโบราณคนหนึ่งเล่าบรรยากาศให้ฟังว่า “การออกฟิลด์คือการที่เด็ก 30 คนของชั้นปี 1 - 3 รวมแล้ว 90 คน รวมอาจารย์อีก 10 ท่าน ไปอยู่ที่เดียวกัน เจอหน้ากันทั้งวัน เป็นเวลาสองสัปดาห์ พอไปปุ๊บจะได้รับอนุญาตให้ไปเที่ยวหรือให้พ่อแม่มาเยี่ยมได้แค่วันเดียวคือ “วันพักหลุม” ทุกวันจะไปหลุมขุดเพื่อทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้า อาจารย์ก็จะไกด์จุดประสงค์มาให้ แล้วแต่ละชั้นปีก็แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ เพราะแต่ละชั้นปีเรียนไม่เหมือนกัน แต่จะเกี่ยวข้องกัน”
 


Photo Credit: Department of Archaeology, SU
 
        ฟิลด์ใหญ่ของเอกโบราณจะจำลองชีวิตนักโบราณคดีจริงๆ เหมือนซักซ้อมการไปทำงานเป็นนักโบราณคดีในกรมศิลปากรเลยค่ะ นักศึกษาต้องจัดการอะไรเองทั้งหมด ตั้งแต่การขุดค้น ดีลกับคน หรือดีลกับชาวบ้านที่เค้าอาจไม่เห็นด้วยกับการขุดค้น ฯลฯ หากมีปัญหาอาจารย์จึงจะยื่นมือเข้ามาช่วย ทั้งนี้ ถ้าเราโดนอาจารย์ส่งกลับกลางคืนหรือไม่ไปในวันฟิลด์ จะต้องติด F แล้วลงเรียนใหม่ ดังนั้นเราจะไม่มีทางจบเอกนี้ได้เลยถ้าไม่ผ่านฟิลด์ครบ 3 ตัว

       ...และนี่เป็นหนึ่งในเหตุผลว่าทำไมเด็กเอกนี้ต้องสตรองค่ะ การออกฟิลด์คือช่วงวัดใจเลยว่าเราเหมาะกับทางนี้มั้ย เพราะหนึ่งในนักศึกษาเล่าว่า เพื่อนบางคนหายไปเลยหลังจากกลับจากฟิลด์ พูดง่ายๆ คือลาออกไปเรียบร้อย หรืออีกกรณีคือย้ายเอกเพราะเป็นโรคประจำตัว ทำให้ไม่สามารถออกฟิลด์ที่ทั้งเหนื่อยและหนักติดต่อกันหลายๆ วันแบบนี้ได้


Photo Credit: Department of Archaeology, SU
 


คำถามยอดฮิต “เด็กโบฯ จบไปทำอะไร?”

        คนที่จบเอกโบราณคดีจะได้วุฒิศิลปศาสตร์บัณฑิต (โบราณคดี) ดังนั้นจะมีอาชีพนักโบราณคดีรองรับอยู่แล้วค่ะ งานตรงสายก็จะมีทั้งนักโบราณคดีในกรมศิลปากร นักโบราณคดีอิสระ ภัณฑารักษ์ (ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการ) ฯลฯ และมีงานที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายด้วย เช่น เวลามีบริษัทใหญ่ๆ จะก่อสร้าง เขาก็ต้องดูว่ามันจะกระทบโบราณสถานมั้ย เลยต้องจ้างนักโบราณคดีมาตรวจสอบและเซ็นอนุมัติ

        นอกจากนี้เอกโบราณยังสอนให้ทำเป็นทุกอย่างและปรับตัวได้กับทุกสภาวะ นักศึกษาที่จบไปจึงทำงานอย่างอื่นได้ด้วย เช่น ครูประวัติศาสตร์ ครูสังคม อาจารย์ แอร์โฮสเตส นักเดินเรือ โบรกเกอร์ ฯลฯ แล้วแต่ความถนัดของคนๆ นั้น


 
      
 
     เรียกได้ว่าการขุดค้นเพื่อศึกษาอดีตจากหลักฐานที่ฝังอยู่ใต้ดิน คือเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของเอกนี้เลยค่ะ ถ้าชาว Dek-D คนไหนอ่านจบแล้วรู้สึกเหมือนเจอคณะที่ใช่ แล้วมั่นใจว่าตัวเองใจรักและสตรองพอจะเรียนเอกโบราณคดีซึ่งมีแห่งเดียวในไทยนี้ อย่ารอช้าที่จะเก็บไว้เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ พร้อมกับฟิตอ่านหนังสือเตรียมแข่งในสนามสอบด้วยนะคะ ^^
สายสืบเด็กดี

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

nashi* 1 เม.ย. 61 21:43 น. 3

เข้าเรียนเพราะตามกระแสละครนี่ไม่น่าจะอดทนเรียนจนจบไหวนะคะ
ทางทีดีเลือกตามสายทราตนถนัดหรือสนใจจริงๆดีกว่า จะได้ไม่เสียเวลาซิ่วทีหลัง

0
กำลังโหลด
Pankkie Member 2 เม.ย. 61 09:50 น. 4

คนที่สนใจเรียนตามละครก็ไม่ใช่ความผิดค่ะ แต่อย่างที่หลายคนบอก ถ้าเรียนในสิ่งที่ไม่ถนัดและไม่ได้รักจริงๆ จะเหนื่อยมากๆ แล้วจะอดทนไปจนเรียนจบยาก และยังต้องคิดด้วยนะว่ามันคือสิ่งที่จะอยู่กับเราไปทั้งชีวิตต่อจากนี้เลย

แต่ก็อย่างที่ในบทความบอกเลยค่ะ การออกฟิลด์ใหญ่นี่ตัววัดใจล้วนๆ คนไม่ชอบจริงๆ พอจบฟิลด์ใหญ่ปุ๊บโบกมือลากันหมด (บางคนก็ไปตั้งแต่เจอโบราณคดีอินเดียที่เรียนพร้อมวิชาสำรวจแล้ว 555)


ปล. ในฟิลด์ไม่ได้ตื่น 8 โมงไปทำงานนะคะ 8 โมงคือเวลาเริ่มทำงานนะไม่ใช่เวลาตื่น อย่าเข้าใจผิดเน่อ

0
กำลังโหลด
มัณทนา Member 30 มี.ค. 61 18:26 น. 1

น้องๆคนไหนที่เลือกคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ด้วยใจรักและชื่นชอบทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ก็เลือกไปเลยค่ะ

พี่สนับสนุน

ส่วนคนที่เลือกเพราะอยากดัง อยากเท่ อยากตามกระแสละคร และอยากเอาไปอวดพวกมนุษย์ป้าข้างบ้าน

เชิญไปเลือกคณะอื่นและสาขาวิชาอื่นที่เหมาะกับความถนัดของพวกน้องๆดีกว่าค่ะ

4
กำลังโหลด
KKKKKER Member 1 เม.ย. 61 20:56 น. 2

โบราณคดีมี7เอกค่ะ เอกที่เจ็ดคือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนะจ๊ะ ไม่ใช่ประวัติศาสตร์เฉยๆเด้ออออ

0
กำลังโหลด

5 ความคิดเห็น

มัณทนา Member 30 มี.ค. 61 18:26 น. 1

น้องๆคนไหนที่เลือกคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ด้วยใจรักและชื่นชอบทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ก็เลือกไปเลยค่ะ

พี่สนับสนุน

ส่วนคนที่เลือกเพราะอยากดัง อยากเท่ อยากตามกระแสละคร และอยากเอาไปอวดพวกมนุษย์ป้าข้างบ้าน

เชิญไปเลือกคณะอื่นและสาขาวิชาอื่นที่เหมาะกับความถนัดของพวกน้องๆดีกว่าค่ะ

4
กำลังโหลด
KKKKKER Member 1 เม.ย. 61 20:56 น. 2

โบราณคดีมี7เอกค่ะ เอกที่เจ็ดคือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนะจ๊ะ ไม่ใช่ประวัติศาสตร์เฉยๆเด้ออออ

0
กำลังโหลด
nashi* 1 เม.ย. 61 21:43 น. 3

เข้าเรียนเพราะตามกระแสละครนี่ไม่น่าจะอดทนเรียนจนจบไหวนะคะ
ทางทีดีเลือกตามสายทราตนถนัดหรือสนใจจริงๆดีกว่า จะได้ไม่เสียเวลาซิ่วทีหลัง

0
กำลังโหลด
Pankkie Member 2 เม.ย. 61 09:50 น. 4

คนที่สนใจเรียนตามละครก็ไม่ใช่ความผิดค่ะ แต่อย่างที่หลายคนบอก ถ้าเรียนในสิ่งที่ไม่ถนัดและไม่ได้รักจริงๆ จะเหนื่อยมากๆ แล้วจะอดทนไปจนเรียนจบยาก และยังต้องคิดด้วยนะว่ามันคือสิ่งที่จะอยู่กับเราไปทั้งชีวิตต่อจากนี้เลย

แต่ก็อย่างที่ในบทความบอกเลยค่ะ การออกฟิลด์ใหญ่นี่ตัววัดใจล้วนๆ คนไม่ชอบจริงๆ พอจบฟิลด์ใหญ่ปุ๊บโบกมือลากันหมด (บางคนก็ไปตั้งแต่เจอโบราณคดีอินเดียที่เรียนพร้อมวิชาสำรวจแล้ว 555)


ปล. ในฟิลด์ไม่ได้ตื่น 8 โมงไปทำงานนะคะ 8 โมงคือเวลาเริ่มทำงานนะไม่ใช่เวลาตื่น อย่าเข้าใจผิดเน่อ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด