....ฃ....

       ฃ (ขวด) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 3 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ข (ไข่) และก่อนหน้า ค (ควาย) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ ออกเสียงอย่าง ข (ไข่) มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฃ ขวด” เป็นอักษรที่ไม่นิยมใช้แล้ว ปัจจุบัน ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฃ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีการใช้อักษร ฃ ในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว รวมถึงมีการพูดถึงการฟื้นฟูการใช้งานอักษร ฃ ขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ตาม ในแบบเรียนอักษรไทย ยังคงมีอักษร ฃ อยู่ รวมถึงบนแป้นพิมพ์ก็ยังคงมีปุ่มสำหรับอักษร ฃ และ ฅ อยู่

       อักษร ฃ นี้เป็นอักษรของไทยดั้งเดิม ไม่ปรากฏในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ (หมายความว่า ในชุดอักษรภาษาอื่นๆ ที่ลำดับอักษร ก ข ค ฆ ง แบบอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ ล้วนไม่มีตัวอักษร ฃ) น่าจะเป็นการประดิษฐ์แทรกเช่นเดียวกับอักษร ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฯลฯ ที่ไทยได้เติมเข้าในวรรคอักษรแบบอินเดีย โดยเหตุผลเพื่อต้องการใช้แทนเสียงที่เรามีอยู่ให้ครบถ้วน

ประวัติการใช้ ฃ

       หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏการใช้ ฃ ในภาษาไทย คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือศิลาจารึกหลักที่ 1 มีการใช้ ฃ อยู่ 11 คำ ได้แก่ ฃับ (ขับร้อง), ฃ๋า (ฆ่า, ในสมัยนั้น เครื่องหมายกากบาท ตรงกับไม้โทในการเขียนแบบปัจจุบัน), ฃาม (มะขาม), ฃาย (ขาย), เฃา (ภูเขา), เฃ๋า (เข้า, ข้าว), ฃึ๋น (ขึ้น), ฃอ (ตะขอ), ฃุน (พระเจ้าแผ่นดิน), ฃวา (ขวา), แฃวน (แขวน) การใช้ ฃ ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นไปอย่างแม่นยำ หมายความว่า ไม่มีการใช้ ข ในคำที่ใช้ ฃ นั้นเลย

       หลังศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เริ่มมีการใช้ ข และ ฃ สับสน และใช้แทนที่กันในหลายแห่ง เช่น ใช้ ขุน บ้าง ฃุน บ้าง ครั้นมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา การใช้ ฃ เริ่มลดลงอย่างมาก แต่ก็ยังมีใช้ ทว่าไม่ปรากฏหลักเกณฑ์การใช้ ฃ ในตำราว่าด้วยอักขรวิธีของไทยในสมัยนั้น

       ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ระบุคำที่เขียนด้วย ฃ ในหนังสือชื่อ นิติสารสาธก เล่ม 1 ได้แก่ ฃอ, ฃ้อความ, ฃัน, ฃาน, ฃาด, ฃายหน้า, ฃำ, เฃา, เฃ้า, ฃุน, ไฃ, โฃก, ฃอง, เฃียน, ฃยัน และฃลุม

       ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการใช้ ฃ อยู่บ้าง แต่พบได้น้อยเต็มที ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อมีปทานุกรมของกระทรวงธรรมการ พ.ศ. 2470 ก็มีการระบุไว้ว่า “ฃ เป็นพยัญชนะตัวที่สามของพยัญชนะไทย แต่บัดนี้ไม่มีที่ใช้” เป็นอันหมดวาระของ ฃ ลง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 จนถึงฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2542 ก็ได้ให้คำอธิบายตัวอักษร 2 ตัวคือ ฃ และ ฅ ว่า "เลิกใช้แล้ว " ทั้งที่ไม่เคยมีการประกาศเลิกใช้ แต่อย่างใด

       ล่าสุด ใน วันภาษาไทยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ได้มีความพยายามในการรื้อฟื้นการใช้งานตัวอักษร ฃ และ ฅ ขึ้นใหม่ พร้อมกับเสนอให้แก้ข้อความในพจนานุกรมฯ ใหม่เป็นคำว่า "ปัจจุบันไม่ปรากฏที่ใช้งาน" แทนคำว่า "เลิกใช้แล้ว" เพื่อป้องกันความสับสนด้วย

ฃ หายไปไหน

       นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของพยัญชนะ ฃ และสันนิษฐานว่า ฃ นั้นเดิมมีฐานเสียงที่แตกต่างจากฐานเสียงของ ข โดยมีลักษณะเสียงเป็น พยัญชนะลิ้นไก่อโฆษะ ซึ่งพบได้ในภาษาต่างๆ ในกลุ่มภาษาไท และภาษาอื่น ทว่าในภายหลังหน่วยเสียงนี้ค่อยๆ สูญหายไป โดยออกเสียง ข แทน

       เป็นที่น่าสังเกตว่า ฃ มีใช้ในตำแหน่งที่เป็นพยัญชนะต้น ไม่ปรากฏในตำแหน่งตัวสะกดเลย นอกจากนี้ยังมีข้อที่น่าสังเกตว่าคำว่า "ขวด" ซึ่งเป็นชื่อของพยัญชนะตัวนี้ ก็ไม่เคยเขียนด้วย ฃ (นั่นคือ ฃวด) มาก่อนเลย

       สาเหตุที่ทำให้เลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) นั้น คงเนื่องมาจากพิมพ์ดีดภาษาไทยในสมัยแรก ๆ นั่นเองที่แป้นอักษรไม่มี ฃ และ ฅ เนื่องจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบางคำหรือเครื่องหมายตัวออกไปบ้าง


:: ( S O U R C E : สุริยา รัตนกุล. "ฃ ฅ หายไปไหน?". วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มิถุนายน-ตุลาคม พ.ศ. 2515 หน้า 29-59 )* ::

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

21 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
[Hu]•[Kang]•[Hang]•[Ped] Member 31 ม.ค. 49 18:32 น. 2
อยากให้นำกลับมาใช้อีก เพราะว่าในเมื่อได้มีอักษรแล้ว ทำไมถึงไม่ได้ใช้ อีกอย่าง สงสารเด็กๆ ต้องท่องตั้ง 44 ตัว ทั้งที่ 2 ตัว มันได้หายไปแร้ว ^_______________________^
0
กำลังโหลด
เหงามาก 31 ม.ค. 49 20:03 น. 3
อักษรแต่โบราณ มี

ก ข ค ฆ ง
จ ฉ ช ฌ ญ
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ต ถ ท ธ น
ป ผ พ ภ ม
ย ร ล ว ศ* ษ* ส ห ฬ

ส่วนสระก็มี

อะ อา อิ อี อุ อู ฤ* ฤๅ* ฦ* ฦๅ* ไอ เอา อํ

*ใช้เป็นภาษาสันสกฤต

ส่วน ค.คน ข.ขวด บ ฝ ฟ ฮ เป็นอักษรประดิษฐ์ใหม่

สมัยพ่อขุนฯมี ฟ.นะครับ เช่น
ไพร่"ฟ้า"หน้าใส หมายถึงประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข

และ ฮ.เข้าใจว่าใช้ตัวเดียวกับ ห

ฎ คือตัวเดียวกันกับ ฏ

************
อักษรต่ำ มี ค ฆ ง ช ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ภ ม ย ร ล ว ฬ
อักษรกลาง ก จ ด ต บ ป ฎ ฏ อ
อักษรสูง ข ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

อักษรลาว มี ฟ.
0
กำลังโหลด
เหงามาก 31 ม.ค. 49 20:05 น. 4
อักษรกลาง 9 ตัว ก จ ด ฎ ต ฏ บ ป อ
อักษรสูง 11 ตัว ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรต่ำ 24 ตัว ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

รวมของไทยครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
LiMo 2 ก.พ. 49 14:10 น. 8
แต่กว่าจะนำมาเป็นที่นิยมในการใช้ ก้อคงอีกนานแหละคับ โดยส่วนตัวก็ดีนะครับถ้าเอากลับมาใช้ใหม่ จะได้ไม่สับสนในการใช้คำบางคำน่ะครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
‘•’ซูชิจัง‘•’ Member 3 ก.พ. 49 19:49 น. 11
อีกหน่อยเด็กรุ่นหลังอาจจะไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับ ฃ ฅ เลยก็ได้นะ เพราะไม่มีการใช้งาน ฃ ฅ คงจะสูญหายไปแน่ๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เหงามาก 5 ก.พ. 49 11:54 น. 15
อย่ามีแหละดีแล้วครับ

ให้ลูกหลานรู้ว่าเคยมี *ฅ ฃ*ดีแล้วครับ

ถ้าหากใช้จริงๆ ต้องมานั่งแก้ตำราอีกล้านๆเล่มเลยครับ

และจะใช้กับคำว่าอะไรละ นอกจาก "ฃวด" และ "ฅน"

------------------
อักษรเขมรปัจจุบันเขาตัด ศ ษ ฟ ฝ เพราะไม่มีที่ใช้นะครับ เพราะภาษาเขมรไม่มีคำไหนที่ใช้ ฟ ฝ และคำที่ใช้ ศ ษ มันจะสะกดด้วย "ส" ซึ่ง ศ ษ เป็นพยัญชนะสันสกฤต

แต่เขาไม่ตัด ฤ ฤๅ...ออก ถ้าตัดออก คำจะไม่มีความหมายครับ
-------------------
อักษรลาว เก่ากว่าอักษรไทย ตอนนี้เขาตัดตัว ช นะครับ ภาษาลาว ไม่มีเสียง ช. แต่พยัญชนะลาวมีอักษร ช แต่จะอ่านออกเสียงเป็น ซ.โซ่ ไม่มี ช.ช้าง
และออกเสียง ร.ไม่ได้ อักษร ร.ของลาว จะออกเสียง ฮ.-ห. และเสียง ร.บางครั้งจะออกเสียง ล
-------------------
อักษรพม่า ก้ไม่มี ฅ ฃ ฟ ฝ...........เพราะไม่มีที่ใช้
-------------------
อักษรล้านนาล้านช้าง ก็ไม่มี
-------------------
อักษรมอญ ก็ไม่มี

*************

สรุปคือ อย่าเอามาใช้เลยครับ
0
กำลังโหลด
caramel 5 ก.พ. 49 22:10 น. 16
น่าจะนำกลับมาใช้นะ มี ต ตน ใช้ดี ๆ ไม่ชอบ เอา ค ควาย มาใช้แทน ต ตน ซะงั้น อย่างงี้น่ะสิ ตนไทยถึงได้...
0
กำลังโหลด
เด็ก inter หัวใจไทยแท้ !!! 6 ก.พ. 49 01:50 น. 17
ฅ.ฅน คือ ฅน
ค.ควาย ก็ คือควาย

อยากเป็นควายหรืออย่างไร
เหตุไฉนจึงมินำกลับมาใช้ใหม่เล่า
มันจะไปยากตรงไหนเล่า...จะไปสับสนตรงไหนเล่า
ในเมื่อไพร่ฟ้าบนผืนแผ่นดินไทยทุกฅน
ต่างจดจำได้ว่า ฅ.ฅน และ ฃ.ฃวด
มันจะแปลเป็นอย่างอื่น ก็หาได้มีไม่

จงภูมิใจ และอนุรักษ์ในสิ่งที่บรรพบุรุษไทยร่วมสร้างมาเทอญ

ฅ.ฅน และ ฃ.ฃวด...ปัจจุบันนี้มีในแป้นอักษรพิมพ์ดีดไทยแล้ว
ปัจจุบันนี้ มันมิได้หายไปแต่อย่างใดดอก

มันอยู่บน Enter นั่นเอง !!! (-_-")
0
กำลังโหลด
เด็ก inter หัวใจไทยแท้ !!! 6 ก.พ. 49 01:51 น. 18
ฅ.ฅน คือ ฅน
ค.ควาย ก็ คือควาย

อยากเป็นควายหรืออย่างไร
เหตุไฉนจึงมินำกลับมาใช้ใหม่เล่า
มันจะไปยากตรงไหนเล่า...จะไปสับสนตรงไหนเล่า
ในเมื่อไพร่ฟ้าบนผืนแผ่นดินไทยทุกฅน
ต่างจดจำได้ว่า ฅ.ฅน และ ฃ.ฃวด
มันจะแปลเป็นอย่างอื่น ก็หาได้มีไม่

จงภูมิใจ และอนุรักษ์ในสิ่งที่บรรพบุรุษไทยร่วมสร้างมาเทอญ

ฅ.ฅน และ ฃ.ฃวด...ปัจจุบันนี้มีในแป้นอักษรพิมพ์ดีดไทยแล้ว
ปัจจุบันนี้ มันมิได้หายไปแต่อย่างใดดอก

มันอยู่บน Enter นั่นเอง !!! (-_-")
0
กำลังโหลด
เหงามาก 6 ก.พ. 49 12:37 น. 19
ถ้าจะใช้ ฅ ฃ เพื่อมาเขียน ฅน ฃวด คำเดียว อย่ามีเลยดีกว่านะ

ถ้างั้นเราก็เขียน "ทีฆะ" เป็น "ฑีฆะ" ที่แปลว่ายาว ได้ดวยละสิ ทั้งๆที่ศัพท์เดิมเป็น "ทีฆะ" แต่บางคนก็ยังเขียน "ฑีฆะ"

เคยเห็นคำภาษาบาลี-สันสกฤต ที่ขึ้นต้นด้วย ง. ไหมละ แต่เขาไม่เลิกใช้นะครับ เพราะต้องใช้เป็นตัวสะกดครับ ไม่มีคำบาลีสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วย ง
ถ้าตัดออก ตารางพยัญชนะบาลีสันสกฤตมันจะไม่ครบนะครับ
ก ข(ฃ) ค(ฅ) ฆ "ง"
จ ฉ ช ฌ ญ
ฯลฯ
เกือบลืม

ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เป็นสระนะครับ ไม่ใช่พยัญชนะ
0
กำลังโหลด
อรวรรณ เกิดจันทร์ 9 ก.พ. 49 17:40 น. 20
ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะนำกลับมาใช้ได้อีกเพราะว่าในเมื่อมีอักษรแล้วทำไมถึงไม่ได้ใช้อีกอย่างสงสารเด็กๆต้องท่องตั้ง44ตัวทั้งที่2ตัวมันได้หายไปแล้วจากอักษรพยัญชนะไทย แต่ถ้ามีการนำกลับมาใช้และจะให้เป็นที่นิยมก็คงอีกนานเพราะเดี๋ยวนี้ก็ไม่ค่อยมีคนชินกับอักษร 2 ตัวนี้เท่าไหร่อีกหน่อยก็จะไม่มีคนรู้จักอักษร ฃ ฅอีกก็ได้ถ้าไม่มีการนำกลับมาใช้ใหม่
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด