7 สิ่งที่วัยรุ่นอยากได้จากผู้ใหญ่

 

1. ชมเชย

ทำดีเสมอตัว แต่ถ้าผิดนี่ทั้งตำหนิ ทั้งยกมาตอกย้ำกันทั้งเดือน


 
                  การชมเชยที่พอดีไม่ใช่การทำให้เด็กเหลิงค่ะ การชมย่อมทำให้วัยรุ่นรู้สึกดีกว่าการโดนด่าอยู่แล้ว อย่าให้เด็กรู้สึกว่า ทำอะไรดีๆ ก็แค่เสมอตัว แต่ถ้าทำอะไรแย่ๆ นี่โดนด่าตลอด เลยค่ะ แต่การจะพูดชมเชยต้องไม่ใช่การปกป้องหรือเป็นข้ออ้างในการที่ไม่ว่ากล่าวลูกหลานเลย ถ้าเขาทำผิดจริงๆ นะคะ ผิดก็ว่าไปตามผิดได้ แต่ก็อย่าลืมชมเชยเมื่อวัยรุ่นทำสิ่งที่ดีด้วยค่ะ การชมเป็นแรงบวกทำให้วัยรุ่นยิ่งอยากทำให้ดียิ่งขึ้นค่ะ จะทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจ มีกำลังใจ และรู้สึกถึงความมีคุณค่าของตัวเอง 



2. โอกาส

ฝึกให้วัยรุ่นช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว!


            ไม่ต้องช่วยลูกหลานทุกเรื่อง ลองให้คิดแก้ปัญหาเองในเรื่องต่างๆ เล็กๆ ก็ให้หิ้วกระเป่านักเรียนเอง พอโตก็ให้กลับบ้านเอง ให้ซักเครื่องชั้นในเอง ให้ตัดสินใจเรื่องสูบ่ ยาสีฟัน แชมพู โลชัน ของตัวเอง หรือเครื่องแต่งกายเองได้ วัยรุ่นก็แต่งหน้าแต่งตาใช้เครื่องสำอางบ้างเพื่อดูแลตัวเองได้ ฯลฯ ให้โอกาสตัดสินใจเรื่องต่างๆ รอบตัวบ้าง ให้อิสระได้ตราบเท่าที่สมควรโดยพูดตกลงกัน  สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้วัยรุ่นมีความคิดในการจัดการดูแลตัวเอง เป็นพื้นฐานของทักษะการคิดแก้ปัญหาด้วยค่ะ อย่าลืมว่าพ่อแม่ผู้ใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ช่วยเหลือลูกตลอดชีวิตแน่นอนค่ะ 




3. ข้อตกลงที่ต่อรองได้

ไม่มีใครได้ทุกอย่าง วัยรุ่นก็เช่นกัน 


           บางทีวัยรุ่นก็อยากได้อภิสิทธิ์เที่ยวเล่น บางทีก็อยากให้พ่อแม่ช่วยเหลือตนบ้าง อยากให้เพื่อนสนิทยอมรับ อยากได้ของสวยๆ แพงๆ บ้าง แต่จริงๆ แล้ว ไม่มีใครได้ทุกอย่างอย่างที่ต้องการค่ะ ผู้ใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องตามใจวัยรุ่น และตัววัยรุ่นเองก็ต้องรู้จักการรอคอยและอดทน กรณีคล้ายคลึงแบบนี้ เช่น ลูกอยากไปคอนเสิร์ตศิลปินที่ชอบ แต่ราคาบัตรแพงมาก พ่อแม่อาจจะอนุญาตแต่แนะนำให้ลูกเก็บเงินเอง พ่อแม่ออกเงินบางส่วน ทำบางอย่างแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม แต่ไม่ใช่การยอมให้ไปโดยตามใจค่ะ บางคนก็ติดนิสัยจนเป็นผู้ใหญ่ที่เอาแต่ใจ มันไม่ใช่อุปนิสัยที่ดีค่ะ



4. สติ

ต้องจัดการอารมณ์ได้+


            สอบตกครั้งแรกในชีวิต ทำผิดจนโดนดุ เพื่อนไม่เข้าข้าง ครูทำโทษแบบเหมาห้อง เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ทำให้วัยรุ่นเสียใจ ไม่พอใจได้ทั้งนั้น แต่พ่อแม่ต้องให้กำลังใจ หรือให้ข้อแนะนำโดยไม่ใช่การเออออห่อหมกส่งเสริมในทางที่ผิด ผู้ใหญ่ควรสอนให้ลูกหาทางออกของปัญหาด้วยการเริ่มต้นที่การจัดการอารมณ์ที่ถูกต้อง คนเราโกรธ เสียใจ ผิดหวัง ได้เสมอ โกรธได้แต่ไม่โวยวายพาพวกไปตบตี หรือแอบเจ้าคิดเจ้าแค้นเก็บไปเครียด เสียใจได้แต่ต้องกลับมาลุกขึ้นยืนได้ ฯลฯ นอกจากการแนะนำแล้วทำใจแล้ว วิธีที่เห็นชัดเจนกว่าคือ การเป็นแบบอย่างค่ะ เช่น ถ้าพ่อขับรถไปรับลูกมาจากโรงเรียน ระหว่างทางกลับบ้าน เจอรถชน พ่อก็ฉุนเฉียวออกไปชกคู่กรณีเข้าให้ทันที เมื่อลูกวัยรุ่นเห็นสิ่งที่พ่อทำ เมื่อเขาโตขึ้นมีปัญหาก็จะจัดการด้วยกำลังทันทีเช่นกันค่ะ 

 

5. การแก้ไขข้อผิดพลาด

ใครทำอะไรไว้ก็ต้องได้สิ่งนั้น

 
            สืบเนื่องจากการจัดการอารมณ์เลยค่ะ นอกจากระงับสติเพื่อพิจารณาปัญหาแล้ว อย่าลืมด้วยว่าแทบทุกปัญหา(ส่วนใหญ่)เป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมของตัวเราเองทั้งสิ้น ผู้ใหญ่ต้องพึงอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยใจเย็น ชี้ให้เห็นว่า "หากทำผิด นั่นเพราะเหตุอะไร" แต่ไม่ใช้ชี้เพื่อตอกย้ำว่ากล่าวด่าอย่างเดียว และควรให้โอกาสวัยรุ่นปรับปรุงตัว แก้ไขตัว  อธิบายเขาเช่น สอบตก เพราะวันก่อนสอบมัวแต่เล่นเกมจนนอนตื่นสาย ไปสอบแทบไม่ทัน และยังสอบแบบงงๆ เพราะนอนไม่พอ เป็นต้น 
           วัยรุ่นเองก็ควรรับรู้และเข้าใจเช่นเดียวกัน ทำอะไรไว้ผิดพลาดไม่ว่า ก็ต้องยอมรับผลของการกระทำตัวเอง และเก็บมาแก้ไขสิ่งผิดพลาดนั้นให้ถูกต้องค่ะ ผู้ใหญ่เป็นกำลังใจสำคัญในการช่วยให้วัยรุ่นปรับปรุงตัวค่ะ 




6. คุณค่าของตัวเอง

หนูก็เป็นหนู ทำไมหนูต้องเหมือนลูกคนข้างบ้านล่ะ! 


          สำหรับเด็กและวัยรุ่นแล้ว ความรู้สึกการยอมรับความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกตัวเองมีคุณค่า มาจากการที่ผู้ใหญ่และคนที่เขารักยอมรับในตัวตนของเขาค่ะ เด็กชายที่ตุ้งติ้งอยากเป็นผู้หญิง เด็กหญิงสุดเท่ที่อยากมีวิถีชีวิตแบบผู้ชาย เด็กที่เรียนไม่เก่งแต่เป็นกีฬา  เด็กที่วาดภาพเก่งแต่ไม่เคยได้ top วิชาเลข เด็กที่ติดตามศิลปิน ดนตรี การ์ตูน หรือสนุกอยู่กับเกม สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องยอมรับได้ในปัจจุบัน และก็ควรสนับสนุนให้วัยรุ่นได้เรียนรู้ทดลอง มากกว่าที่จะกีดกันและให้เป็นไปตามแบบแผนที่ตัวผู้ใหญ่คาดหวังค่ะ ถึงจะเป็นหมือนลูกข้างบ้านไม่ได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตค่ะ 




7. ที่พึ่ง

ต่อให้เป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว  แต่ถ้าสุขใจ บ้านแบบไหนก็อบอุ่น


       บรรยากาศในบ้านที่ดี ผู้ใหญ่ไม่ทำท่ารำคาญลูกหลาน ไม่พูดทำร้ายจิตใจ หรือเลี้ยงแบบตามเวรตามกรรม [บทความ: 9 เหตุผลที่เด็กยุคใหม่ไม่อยากคุยกับพ่อแม่] ไว้ว่าจะเป็นบ้านที่มีองค์ประกอบครอบครัวครบครัน หรือมีแค่พ่อหรือแม่เท่านั้นก็ตาม แต่ถ้ามีคนในบ้านที่พร้อมจะรอให้กำลังใจ ปลอบใจ แบ่งปันความสุขดีๆ ระหว่างคนในครอบครัว วัยรุ่นจะรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย เวลาที่วัยรุ่นรู้สึกมีปัญหาทางจิตใจ เขาจะนึกถึงครอบครัว และกล้ากลับมาขอคำปรึกษา ไม่เตลิดเปิดเปิงไปด้วยตัวเอง หรือคิดแก้ไขด้วยเส้นทางที่ไม่ถูกต้องค่ะ 
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Chawidee 7 ส.ค. 59 15:25 น. 5
ความเข้าใจหายไปไหน... บางทีอยากให้พ่อแม่เข้าใจและยอมรับเรื่องบางเรื่อง ไม่ใช่เอาแต่ค่านิยมตัวเองเป็นหลัก จนไม่สนใจความเป็นตัวของตัวเองของลูกหลาน บังคับให้ชอบนู่นบังคับให้ชอบนี่ เราตามค่านิยมอื่นก้หาว่าเราไม่รักค่านิยมไทย จริงๆแล้วการยอมรับและความเข้าใจเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
0
กำลังโหลด

6 ความคิดเห็น

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
Chawidee 7 ส.ค. 59 15:25 น. 5
ความเข้าใจหายไปไหน... บางทีอยากให้พ่อแม่เข้าใจและยอมรับเรื่องบางเรื่อง ไม่ใช่เอาแต่ค่านิยมตัวเองเป็นหลัก จนไม่สนใจความเป็นตัวของตัวเองของลูกหลาน บังคับให้ชอบนู่นบังคับให้ชอบนี่ เราตามค่านิยมอื่นก้หาว่าเราไม่รักค่านิยมไทย จริงๆแล้วการยอมรับและความเข้าใจเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด